Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48194 ที่เกี่ยวข้อง

นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 6/2566

พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า วันพุธที่ 28 มิ.ย.66 เวลา 13.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 6/2566  ณ ห้องศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.), ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรรมการ ก.ตร.วินัย, กรรมการ ก.ตร.ร้องทุกข์ และกรรมการ ก.ตร.บริหารทรัพยากรบุคคลเข้าร่วมประชุมฯ 

สำหรับการประชุมฯ ครั้งนี้ มีระเบียบวาระการประชุม ประกอบด้วยเรื่องการรายงาน
การดำเนินการของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจด้านวินัย, คณะกรรมการข้าราชการตำรวจด้านอุทรณ์ และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจด้านกฎหมาย รวมถึงเรื่องการเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2565 ครั้งที่ 2 

ครึ่งปีหลัง (1 ต.ค.65) ในโควตาสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด แก่ข้าราชการตำรวจผู้รับเงินเดือนระดับ ส.6 ขึ้นไป และการเลื่อนเงินเดือนประจำปี 2566 ครั้งที่ 1 ครึ่งปีแรก (1 เม.ย.66) แก่ข้าราชการตำรวจผู้รับเงินเดือนในระดับ ส.6 

ทั้งนี้ กรรมการข้าราชการตำรวจด้านวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์ และบริหารทรัพยากรบุคคล
ได้รายงานข้อมูลการกระทำผิดวินัยร้ายแรงของข้าราชการตำรวจประจำเดือน มิ.ย.66 มีข้าราชการตำรวจถูกลงโทษ จำนวน 14 นาย เป็นการไล่ออกจากราชการ จำนวน 13 นาย และปลดออกจากราชการ จำนวน 1 นาย โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย.66 มีข้าราชการตำรวจถูกลงโทษทั้งสิ้น จำนวน 97 นาย ซึ่งเป็นการไล่ออกจากราชการ จำนวน 79 นาย และปลดออกจากราชการ จำนวน 18 นาย

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบโอกาส “สร้างชีวิต” อย่างยั่งยืน .. ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน พร้อมมอบจักรยานให้แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” พร้อมจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี

เมื่อวันที่  ( 27 มิถุนายน 2566) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายวิชิต  ชินวงศ์วรกุล  รองประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายสุรพงษ์  เตชะหรูวิจิตร  กรรมการและรองเลขาธิการ นางสาวดวงชุตา  ติยะพจนพรกุล  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และนางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ  ร่วมในพิธีมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ (จังหวัดที่ 4 ของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวน 27 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 617,020 บาท (หกแสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันยี่สิบบาทถ้วน) โดยมี นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ  นายโดมทอง ดิเรกศิลป์ พัฒนาการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานร่วมในพิธี  ณ  บริเวณหอประชุมจังหวัดชัยภูมิ ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้มอบรถจักรยานให้แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน ในโครงการ “จักรยานเพื่อน้องสัญจร” จำนวน 4 โรงเรียน รวม 40 คัน เพื่อให้นักเรียนที่ประสบปัญหาในการเดินทางได้ยืมเรียน รวมถึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าพาหนะแก่ผู้ปกครองได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเสริมสร้างให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย เรียนรู้กฎจราจร การแบ่งปัน และดูแลรักษาสาธารณสมบัติร่วมกัน รวมมูลค่าการมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพ และรถจักรยานในจังหวัดชัยภูมิเป็นเงินทั้งสิ้น  681,915.50 บาท (หกแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยสิบห้าบาทห้าสิบสตางค์) รวมทั้ง ได้จัดทีมหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมแพทย์อาสาฯ และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย ตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา บริการตัดผม และ ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น  โดยมีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน  ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ซึ่งมูลนิธิฯ ได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การประกอบอาชีพมอบให้แก่ ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว

โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด รวม 98 ครัวเรือน ต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ 17 จังหวัด รวม 230 ครัวเรือน ซึ่งได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในขณะได้พิจารณาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ กาฬสินธุ์  ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ ยโสธร ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ สกลนคร เลย หนองคาย และ นครพนม โดยมูลนิธิฯ จะทยอยลงพื้นที่ในแต่ละจังหวัดเพื่อดำเนินการเป็นลำดับต่อไป

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ 
เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung  
 

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานการประชุมติดตามการให้ความช่วยเหลือครอบครัว และกำลังพล กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง พร้อมกับเร่งรัดเพื่อให้ได้รับสิทธิกำลังพลและสวัสดิการ อย่างครบถ้วน

วันที่ 28 มิ.ย.66 พล.ร.อ.สุวิน  แจ้งยอดสุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือและประธานกรรมการบูรณาการติดตามเรื่องสิทธิกำลังพล การสวัสดิการ และการช่วยเหลือกำลังพลกองทัพเรือที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และครอบครัว กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 4 เพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินการ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ในการนี้ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือเน้นย้ำให้คณะกรรมการฯ และหน่วยต้นสังกัดแจ้งความก้าวหน้าตลอดจนสอบถามถึงความเดือดร้อนของครอบครัว และกำลังพลที่ประสบเหตุฯ อย่างต่อเนื่อง โดยกองทัพเรือยังคงห่วงใยครอบครัวของผู้ประสบเหตุฯ และจะดำเนินการอย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการฯ ได้เร่งรัดดำเนินการในด้านต่าง ๆ ให้กับผู้เสียชีวิตและสูญหาย จำนวน 29 นาย ซึ่งมีความก้าวหน้าประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้

- สิทธิกำลังพล ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ประกอบด้วย การเลื่อนชั้นเงินเดือน 3 - 5 ชั้น , การแต่งตั้งยศและการขอพระราชทานยศ (จ่าเอก - พลเรือโท) , และการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย - ตริตาภรณ์ช้างเผือก)

- สวัสดิการต่างๆ ของหน่วย ประกอบด้วย เงินประกันภัยกลุ่มแบบ “เฉพาะกิจกองทัพเรือ” , เงินกองทุนน้ำใจไทยเพื่อผู้เสียสละในจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่รับผิดขอบของกองทัพเรือ , เงินสงเคราะห์กรมสวัสดิการทหารเรือ , เงินฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี และเงินช่วยเหลืออื่นๆ รายละ 1.4 - 3.5 ล้านบาท

- การบรรจุทายาททดแทน ประกอบด้วย การบรรจุรับราชการในกองทัพเรือ จำนวน 11 นาย , เห็นชอบให้พิจารณาบรรจุแล้ว จำนวน 12 นาย (อยู่ในระหว่างการศึกษา) , อยู่ในระหว่างการขอบรรจุ จำนวน 2 นาย และสละสิทธิ์ จำนวน 4 นาย

- ทุนการศึกษาสำหรับบุตร โดยได้รับค่าเล่าเรียนตามระดับการศึกษา ปีละ 5,000 - 15,000 บาท

- การมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติราชการเพื่อชาติ “เหรียญบางระจัน” ให้แก่กำลังพลที่เสียชีวิต และสูญหาย จำนวน 29 นาย เมื่อ 1 มิ.ย.66

- ผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 27 นาย ได้รับความช่วยเหลือนายละ 68,000 - 104,000 บาท และได้รับเครื่องแบบใหม่

- ผู้ประสบภัย (ไม่ได้รับบาดเจ็บ) จำนวน 49 นาย ได้รับความช่วยเหลือนายละ 58,000 บาท และได้รับเครื่องแบบใหม่

- การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น ทุนการศึกษาสำหรับบุตร (อยู่ในระหว่างการดำเนินการ)

เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารเรือที่ต้องการดูแลกำลังพล และครอบครัวจากกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในด้านต่างๆ อย่างเต็มกำลัง และดีที่สุด

“อนุทิน” เปิดมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 20 ชูแนวคิด “สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจไทย”

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ภายใต้แนวคิด “สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจไทย” นำเสนอการใช้ภูมิปัญญาไทยดูแลสุขภาพ พร้อมกิจกรรมสาธิต นิทรรศการ จับคู่ธุรกิจ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยมาตรฐานกว่า 500 ร้านค้า ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม นี้ ที่ ฮอลล์ 11-12 อิมแพ็ค เมืองทองธานี คาดผู้เข้าร่วมงานกว่า 200,000 คน เงินสะพัดกว่า 400 ล้านบาท

วันนี้ (28 มิถุนายน 2566) ที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง สมาชิกวุฒิสภา นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะผู้บริหาร เปิดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ภายใต้แนวคิด “สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย เศรษฐกิจไทย” พร้อมมอบรางวัลหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2566 แก่ พ่อหมอบุญมา มุงเพีย “หมอ 10 บาท รักษาทุกโรค” จากจังหวัดสกลนคร, นายประวิทย์ แก้วทอง เจ้าของแนวคิด “หมอไม่หวงวิชา สอนให้ใครก็ได้ลูกหลานใครก็ได้ที่สนใจ ถ้าไม่ให้วิชาก็จะตายไปกับตัว ถ้าให้เด็กก็จะได้สานต่อช่วยคนอีกเป็นหมื่นเป็นแสน” จากจังหวัดสงขลา มอบรางวัลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 5 รางวัล และรางวัลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นชมรมผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 จำนวน 3 รางวัล

 นายอนุทินกล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญต่อการนำสุขภาพมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Health for Wealth) มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยเฉพาะสมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย ถือเป็นจุดแข็งที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้ โดยการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้เกษตรกร นำเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และต่อยอดใช้ในระบบสุขภาพ ซึ่งการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้าถึงและใช้บริการการแพทย์แผนไทยฯ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย ยกระดับความสามารถในการแข่งขันในตลาด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ประชาชนเชื่อมั่น ใช้ยาสมุนไพรดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นจาก 1.48% เป็น 15% มีบริการที่เป็นเลิศ โดยเลือกใช้บริการการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก เมื่อเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นจาก 4.58% เป็น 20% รวมถึงบริโภคสมุนไพรในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 90,000 ล้านบาท และเป็น 1 ใน 3 ของเอเชีย ภายในปี 2570 

 ด้านนพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายกว่า 230 องค์กร ร่วมกันจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 และได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมาก โดยในปีนี้มีทั้งกิจกรรมสาธิตและนิทรรศการ ภายใต้แนวคิด “Thai Herbs & Medical Cannabis for Health and Wealth” นำเสนอ Innovation and Product, Wellness and Thainess Tourism รวมถึงภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพ การให้บริการและคำปรึกษาด้านสุขภาพโดยไม่มีค่าใช้จ่าย อาทิ “สุขสำราญนิทราคลินิก” รักษาอาการปวดเรื้อรังและนอนไม่หลับมิติใหม่ การรักษาแบบองค์รวมครบวงจร การบำบัดฟื้นฟูและลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction Model) และการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Palliative Care) รวมถึงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมอาทิ เกาหลี มาเลเซีย ศรีลังกา รัสเซีย ลาว และมีบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยมาตรฐานกว่า 500 ร้านค้า       
                                                        
นอกจากนี้ ยังมีการสัมมนาแลกเปลี่ยนด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพร ร่วมกับต่างประเทศ (International Medical Cannabis Conference 2023) และการประชุมกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคในอนุทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (BIMSTEC) การประชุมวิชาการประจำปีภายในประเทศ การประกวดผลงานวิชาการประจำปี อบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อส่งเสริมอาชีพและการดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งคาดว่าจะได้รับความสนใจจากประชาชนกว่า 200,000 คน และมีเงินสะพัดภายในงานกว่า 400 ล้านบาท


เจนกิจ นัดไธสง รายงาน

ผช.ผบ.ทร. ประชุมติดตามการให้ความช่วยเหลือครอบครัวและกำลังพล เรือหลวงสุโขทัยอับปาง

 

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.66 พล.ร.อ.สุวิน  แจ้งยอดสุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ (ผช.ผบ.ทร.) และประธานกรรมการบูรณาการติดตามเรื่องสิทธิกำลังพล การสวัสดิการ และการช่วยเหลือกำลังพลกองทัพเรือที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และครอบครัว กรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 4 เพื่อเร่งรัดติดตามการดำเนินการ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ในการนี้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เน้นย้ำให้คณะกรรมการฯ และหน่วยต้นสังกัดแจ้งความก้าวหน้า ตลอดจนสอบถามถึงความเดือดร้อนของครอบครัว และกำลังพลที่ประสบเหตุฯ อย่างต่อเนื่อง โดยกองทัพเรือ ยังคงห่วงใยครอบครัวของผู้ประสบเหตุฯ และจะดำเนินการอย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการฯ ได้เร่งรัดดำเนินการในด้านต่างๆ ให้กับผู้เสียชีวิตและสูญหาย จำนวน 29 นาย ซึ่งมีความก้าวหน้าประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้

- สิทธิกำลังพล ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ประกอบด้วย การเลื่อนชั้นเงินเดือน 3 - 5 ชั้น , การแต่งตั้งยศและการขอพระราชทานยศ (จ่าเอก - พลเรือโท) , และการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย - ตริตาภรณ์ช้างเผือก)

- สวัสดิการต่างๆ ของหน่วย ประกอบด้วย เงินประกันภัยกลุ่มแบบ “เฉพาะกิจกองทัพเรือ” , เงินกองทุนน้ำใจไทยเพื่อผู้เสียสละในจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่รับผิดขอบของกองทัพเรือ , เงินสงเคราะห์กรมสวัสดิการทหารเรือ , เงินฌาปนกิจสงเคราะห์แห่งราชนาวี และเงินช่วยเหลืออื่นๆ รายละ 1.4 - 3.5 ล้านบาท

- การบรรจุทายาททดแทน ประกอบด้วย การบรรจุรับราชการในกองทัพเรือ จำนวน 11 นาย , เห็นชอบให้พิจารณาบรรจุแล้ว จำนวน 12 นาย (อยู่ในระหว่างการศึกษา) , อยู่ในระหว่างการขอบรรจุ จำนวน 2 นาย และสละสิทธิ์ จำนวน 4 นาย

- ทุนการศึกษาสำหรับบุตร โดยได้รับค่าเล่าเรียน ตามระดับการศึกษา ปีละ 5,000 - 15,000 บาท

- การมอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติราชการเพื่อชาติ “เหรียญบางระจัน” ให้แก่กำลังพลที่เสียชีวิต และสูญหาย จำนวน 29 นาย เมื่อ 1 มิ.ย.66

- ผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 27 นาย ได้รับความช่วยเหลือนายละ 68,000 - 104,000 บาท และได้รับเครื่องแบบใหม่

- ผู้ประสบภัย (ไม่ได้รับบาดเจ็บ) จำนวน 49 นาย ได้รับความช่วยเหลือนายละ 58,000 บาท และได้รับเครื่องแบบใหม่

- การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น ทุนการศึกษาสำหรับบุตร (อยู่ในระหว่างการดำเนินการ)

เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารเรือ ที่ต้องการดูแลกำลังพล และครอบครัวจากกรณีเรือหลวงสุโขทัยอับปาง ในด้านต่าง ๆ อย่างเต็มกำลัง และดีที่สุด

นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี ชลบุรี 0909535645


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top