Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48185 ที่เกี่ยวข้อง

เรือดำน้ำชุดแรก 4 ลำ ที่รัฐบาลไทยสั่งซื้อ เดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงประเทศไทย

รู้หรือไม่ ในอดีตประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำที่สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น มาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2481 

29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่ 2) และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งต่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย

เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้รับการต่อที่อู่ต่อเรือ บริษัท มิตซูบิชิ ที่เมืองโกเบ เมื่อปี พ.ศ. 2479 ในสนนราคาลำละ 882,000 บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกันคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2479  ดังนี้ 

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 1 พ.ศ. ตุลาคม 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยนางมิตรกรรมรักษา เมื่อ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (มีการถ่ายทำภาพยนตร์โดย ร.ท.นิตย์ สุขุม)

ทำพิธีมอบเรือ ร.ล.มัจฉาณุ และร.ล.วิรุณ เมื่อ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 ถือวันนี้เป็น “วันที่ระลึกเรือดำน้ำ”

พิธีมอบเรือ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล เมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2481 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ถอนสมอเคลื่อนที่ออกจากท่าน้ำประเทศญี่ปุ่น สู่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 และเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2481 

หลังจากมาถึงประเทศไทยก็ได้ขึ้นระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 และปลดระวางประจำการพร้อมกันคือวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และ เรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนวอยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไปนับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป ปัจจุบันเรือหลวงมัจฉานุได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ

🔍เพศไหนก็เจ้าชู้ได้!!

ช่วงนี้ข่าวรัก ๆ เลิก ๆ ในวงการบันเทิงเกลื่อนเต็มหน้าฟีด มองเผิน ๆ ก็คงคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนวงการนี้ ที่พบเจอคนมากหน้าหลายตา อาจทำให้ใจหวั่นไหวไปบ้างในบางครั้ง แต่หากอ้างอิงผลสำรวจจากเว็บไซต์หาคู่ Victoria Milan จะพบว่าอาชีพที่มีโอกาส / แนวโน้มนอกใจคนรักมากที่สุดอันดับ 1 คือ ‘เจ้าหน้าที่ด้านการเงิน’ ส่วนลำดับอื่น ๆ ไปดูกัน…

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเสริมทักษะ พ.ร.บ.ฟอกเงิน แก่ข้าราชการตำรวจ รุ่นที่ 2 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีมาตรฐานเดียวกัน  

พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการตำรวจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พุทธศักราช 2542 ประจำปีพุทธศักราช 2566 รุ่นที่ 2 ณ ห้องประชุม โรงแรมคลาสสิก คามีโอ้ จังหวัดระยอง โดยมี นาย กมลศิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน , รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 , รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 , รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 , รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 , รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง , รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ สอท. , รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และผู้บังคับการกฎหมายและคดี ตำรวจภุธรภาค 5 ร่วมพิธี 

โดยการฝึกอบรมครั้งนี้ มีข้าราชการตำรวจผู้เข้ารับการอบรมจากตำรวจภูธรภาค 3 , 4 , 5 ,6 , กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง , กองบัญชาการ สอท. และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จำนวน 116 คน ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการตำรวจ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พุทธศักราช 2542 ประจำปีพุทธศักราช 2566 เป็นโครงการที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดขึ้นครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 27-30 มิถุนายน 2566 เพื่อให้ความรู้แก่ข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พุทธศักราช 2542 อาทิ  การดำเนินคดีฟอกเงินและชั้นตอนในกระบวนการของศาล แนวปฏิบัติที่ถูกต้องในทุกมิติ  การประสานงานกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เทคนิคการสืบสวนสอบสวนเพื่อนำไปสู่คดีอาญาฐานฟอกเงิน เป็นต้น เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินให้มีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ กล่าวว่า สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ตระหนักถึงความสําคัญของการดําเนินคดีมูลฐาน การสืบทรัพย์ การวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดําเนินคดีอาญาฟอกเงิน ซึ่งนําไปสู่การดําเนินการจับกุม ขยายผล และการยึดอายัดทรัพย์ทางแพ่ง นําทรัพย์ที่ได้จากการกระทําความผิดมาช่วยบรรเทาความความเสียหายแก่ประชาชน จึงได้าเนินการจัดโครงการนี้ ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อํานาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ พร้อมเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนสอบสวน  รวบรวมพยานหลักฐาน และการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน ด้วยความโปร่งใส เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน

ผบ.ตร. ออกแบบทดสอบให้ความรู้เบื้องต้นแก่ประชาชนเพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและการหลอกลวงออนไลน์ เป็นการสร้างวัคซีนไซเบอร์ หวังสร้างภูมิคุ้มกันโจรแก่ประชาชน

วันที่ 28 มิ.ย. เวลา 11.30 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท. ธ เทพ ไชยชาญบุตร รองโฆษก เชิญชวนให้ประชาชนทำแบบทดสอบความรู้เบื้องต้นเพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและหลอกลวงออนไลน์ ตร. เป็นการทดสอบและเพิ่มพูนระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหลอกลวงออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ 

รองโฆษก ตร. เปิดเผยว่า แม้ว่าหลังจากที่ พรก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ได้ประกาศบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.66 ที่ผ่านมา สถิติคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีลดลงได้ระดับหนึ่ง  แต่ทั้งนี้ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติ และประชาชนตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก  จึงต้องเร่งบูรณาการทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในทิศทางเดียวกัน  ทั้งวิธีการรับแจ้งจากผู้เสียหาย  การอายัด  การระงับธุรกรรม การส่งต่อข้อมูล  ตลอดจนการดำเนินคดีให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด   

พ.ต.ท. ธ เทพ กล่าวต่อไปว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ได้จัดทำแบบทดสอบ Cyber Vaccine จำนวน 80 ข้อ โดยจัดทำเป็นลิงก์ออนไลน์ให้ประชาชนสแกน QR Code ทำบททดสอบ เป็นการฉีดวัคซีนไซเบอร์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการหลอกลวงออนไลน์ รูปแบบกลโกงต่างๆ โดยเน้นในเรื่องแผนประทุษกรรมคนร้ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน วิธีการรับมือ วิธีการตรวจสอบ หลักคิดเพื่อมิให้ตกเป็นเหยื่อ และความรู้กฏหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประชาชนสามารถเข้าทดสอบได้ผ่าน QR Code ที่แนบมาพร้อมนี้

รองโฆษก ตร. เพิ่มเติมว่า ผบ.ตร.  ได้เน้นย้ำให้มีการประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนทราบว่า “ในกรณีที่ประชาชนได้รับความเสียหายจากคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ขอให้ติดต่อสายด่วนธนาคารที่ตนเป็นเจ้าของเพื่อระงับบัญชีโดยเร็ว โดยธนาคารจะออก Bank ID ผ่านข้อความ sms และขอให้ผู้เสียหายไปแจ้งความกับตำรวจที่ใดก็ได้โดยเร็ว  โดยไม่ต้องคำนึงถึงท้องที่เกิดเหตุภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อให้ระงับความเสียหายอย่างทันท่วงทีและดำเนินคดีต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว  ทั้งนี้ หากประชาชนประสงค์จะแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ทาง https://thaipoliceonline.com  สายด่วน 1441 หรือโทรศัพท์สอบถาม ปรึกษา ขอคำแนะนำได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 081 866 3000 ตลอด 24 ชั่วโมง”

ก.แรงงาน ติวเข้มเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ มุ่งไทยสู่เทียร์ 1

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงานและโฆษกกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ รุ่นที่ 4 ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร และอบรมทางไกลผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมี นายพงศ์ธร ศุภการ ผู้แทนสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการ

นายวรรณรัตน์ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2566 (TIP Report 2023) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยประเทศไทยได้รับการจัดระดับให้อยู่ใน Tier 2 ติดต่อเป็นปีที่ 2 ซึ่งรายงานดังกล่าวยังคงมีข้อเสนอแนะให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถนำแนวปฏิบัติตามมาตรา 6/1 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไปใช้ในการคัดแยกผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้ทีมสหวิชาชีพประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมและมีประสบการณ์เพียงพอในการปฏิบัติงานด้านการค้ามนุษย์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้เสียหาย และเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจข้อบ่งชี้ของการค้ามนุษย์ เช่น การบังคับทำงานใช้หนี้ การทำงานเกินเวลามากเกินจำเป็น การยึดเอกสารของลูกจ้างและการทำงานโดยไม่จ่ายผลตอบแทน

นายวรรณรัตน์ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานสำคัญและเป็นหน่วยงานหลักในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านความมั่นคง โดยรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพหลักในการป้องกันการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ในการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองดูแลและป้องกันไม่ให้แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (SOP) ในการคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการบังคับใช้แรงงาน และการนำแผนปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติฯ (NRM) นำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นการยกระดับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้เทียบเท่ากับมาตรฐานขั้นต่ำในกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2000 (TVPA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา

“กระทรวงแรงงาน พร้อมผนึกกำลังกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมการอบรมจากหน่วยงานทีมสหวิชาชีพจากส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กรมการปกครอง และเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 

ทั้ง 19 จังหวัด ในการขับเคลื่อนการต่อต้านการค้ามนุษย์ ขจัดการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์
ในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของสหรัฐฯ และได้รับการจัดอันดับในรายงานการค้ามนุษย์ให้อยู่ในระดับ Tier 1 ต่อไป”นายวรรณรัตน์ กล่าวท้ายสุด


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top