Tuesday, 20 May 2025
ค้นหา พบ 48202 ที่เกี่ยวข้อง

ประชาชนต้องรับรู้ เคาะ!! ทุก ‘บล.’ ต้องเผย ‘ข้อมูล-งบการเงิน’ ผ่านทุกช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ 16 มิ.ย.นี้

📌เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 66 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ.9/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประกาศ รายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.2566

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 สำนักงานออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สธ. 4/2544 เรื่อง หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 

ข้อ 2 ให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลโดยวิธีการที่กำหนดดังต่อไปนี้ ในลักษณะที่พร้อมให้สำนักงานหรือประชาชนเรียกดูหรือตรวจสอบได้โดยพลัน ณ สำนักงานทุกแห่งของบริษัทหลักทรัพย์ที่ใช้ติดต่อกับประชาชน ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องถูกต้องครบถ้วน ชัดเจน เป็นปัจจุบัน และตรงต่อความเป็นจริง

(1) ใบอนุญาต สำเนาใบอนุญาต หรือเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงสถานะการได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของสำนักงาน โดยปิดประกาศหรือแสดงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือช่องทางอื่นใดที่สามารถเชื่อมโยงหรือเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นต้น 

(2) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงินของงวดการบัญชีหลังสุด โดยปิดประกาศหรือแสดงข้อมูลบนหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งติดตั้งไว้ที่บริษัทหลักทรัพย์

ข้อ 3 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามข้อ 2 ให้บริษัทหลักทรัพย์ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลนั้นให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และตรงต่อความเป็นจริงโดยพลัน

ข้อ 41 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566
นายธวัชชัย พิทยโสภณ
รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
 

15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตัดสินให้ ‘ปราสาทพระวิหาร’ เป็นของกัมพูชา

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ พิพากษาชี้ขาด คดีปราสาทเขาพระวิหาร ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศกัมพูชา 

ปราสาทหินแห่งนี้เป็นศิลปะขอม สร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ราวปี 1545-1593 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอม ภาษาเขมรเรียกว่า ‘เปรี๊ยะ วิเฮียร์’ (Phrea vihear) ตัวปราสาทสูง 657 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนทิวเขาพมนดงรักซึ่งกั้นระหว่างประเทศกัมพูชากับไทย ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านหน้าและทางขึ้นอยู่ในเขตประเทศไทย แต่ตัวปราสาทส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกัมพูชา 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ค้นพบปราสาทแห่งนี้เมื่อปี 2442 แล้วทรงจารึกพระนามของพระองค์และปีที่ค้นพบไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดีว่า ‘118 สรรพสิทธิ์’ เนื่องจากเขาพระวิหารตั้งอยู่ตรงรอยต่อของไทยกับกัมพูชา ซึ่งผลัดกันยึดครองดินแดนแถบนี้

จนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยได้ส่งทหารเข้ายึดครองพื้นที่บริเวณเขาพระวิหาร เจ้านโรดม สีหนุ จึงยื่นฟ้องต่อศาลโลกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2502 การไต่สวนพิจารณาคดีเป็นไปอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ปี มีการนัดพิจารณาสืบพยานทั้งหมด 73 ครั้ง จนในที่สุด ศาลโลกก็ตัดสินให้กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดีด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง ยังผลให้ประเทศไทยต้องยินยอมทำตามข้อเรียกร้องทั้ง 2 ข้อของกัมพูชา นับเป็นการเสียดินแดนครั้งล่าสุดของประเทศไทยในยุครัตนโกสินทร์ เสียพื้นที่ไปทั้งหมดประมาณ 150 ไร่ 

หลังจากแพ้คดี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยินยอมให้นักศึกษาเดินขบวนประท้วงคำตัดสิน และปิดทางขึ้นปราสาทซึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย เป็นการตอบโต้กัมพูชา เหลือเพียงทางขึ้นเป็นช่องเขาแคบ ๆ สูงชันและอันตราย ในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของกัมพูชา เขาพระวิหารก็ถูกสั่งปิด-เปิดให้เข้าชมอยู่หลายครั้งตามสถานการณ์ภายในประเทศ ก่อนจะเกิดความร่วมมือกันอีกครั้งระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบันนี้ เขาพระวิหารนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จ. ศรีสะเกษ
 

‘ดีอีเอส’ – ‘ดีป้า’ แถลงผลสำเร็จโครงการ The Smart City Ambassadors รุ่นที่ 2 สร้าง 'นักดิจิทัลพัฒนาเมือง' เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

(วันนี้) 14 มิ.ย. 66 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ดีป้า โดย สำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย พร้อมเครือข่ายพันธมิตร ร่วมประกาศผลสำเร็จจากโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 ยกระดับทักษะดิจิทัลและทักษะสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ

และเตรียมความพร้อมเยาวชนคนรุ่นใหม่สู่การเป็น 'นักดิจิทัลพัฒนาเมือง' ก่อนนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาเป็นระบบบริการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาของเมืองในแง่มุมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงจุดและเป็นรูปธรรม เผยช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแผน Smart City มากกว่า 120 พื้นที่ทั่วประเทศ โดยประเมินว่าจะสามารถสร้างมูลค่าการลงทุนตามแผนฯ ได้กว่า 66,000 ล้านบาท

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่นักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ กัปตันเมืองท้องถิ่น และผู้นำเมืองร่วมขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ผลสำเร็จจาก "โครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2" (The Smart City Ambassadors 2 (SCA#2)) โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า คณะผู้บริหาร ผู้นำเมือง และหน่วยงานพันธมิตรร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียง

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า โครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่เป็นสิ่งที่ภาครัฐดำเนินการผลักดันมาอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกการพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมเป็นสะพานเชื่อมให้คนในพื้นที่สามารถเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตอบโจทย์การดำเนินชีวิต พร้อมยกระดับบริการจากหน่วยงานท้องถิ่นผ่านโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม

"โครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ กัปตันเมือง และผู้นำเมืองได้กลับไปพัฒนาบ้านเกิดของตนเองด้วยความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลและการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ได้รับ อีกทั้งช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับภูมิภาคให้เกิดขึ้น เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในทุกระดับ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว

ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า โครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ 446 คน จาก 170 หน่วยงาน 57 จังหวัดทั่วประเทศ ตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการยกระดับทักษะดิจิทัลและทักษะสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อก้าวสู่การเป็น 'นักดิจิทัลพัฒนาเมือง' ก่อนนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาเป็นระบบบริการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาของเมืองในแง่มุมต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างตรงจุดและเป็นรูปธรรม

"โครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 ยังสามารถขับเคลื่อนให้เกิดแผน Smart City ใหม่ 126 พื้นที่ โดยได้รับการประกาศเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะเพิ่มขึ้นกว่า 50 พื้นที่ ประเมินมูลค่าการลงทุนที่จะเกิดขึ้นตามแผนฯ กว่า 66,000 ล้านบาท พร้อมส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงการนำร่องต่อยอดระบบบริการเมืองอัจฉริยะและเป็นนวัตกรรมต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่มากกว่า 10 พื้นที่ สามารถส่งต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาเมืองแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานที่ร่วมโครงการฯ จำนวน 5,813 คน อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้เรื่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแก่ประชาชนในพื้นที่กว่า 10,000 คน ซึ่งถือเป็นการสร้างระบบนิเวศที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ต่อไป" ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ประชาชนต้องรับรู้ เคาะ!! ทุก ‘บล.’ ต้องเผย ‘ข้อมูล-งบการเงิน’ ผ่านทุกช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ 16 มิ.ย.นี้

ถึงเวลาโกยกำไร!! เมื่อยักษ์ใหญ่ด้าน Tech Company ในกลุ่มธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม พร้อมใจลดแคมเปญการตลาด แต่หันไปโฟกัสที่การสร้างรายได้มากขึ้น ส่งผลให้หลายบริษัทเริ่มเห็นผลกำไรเป็นบวกหลังติดลบมานานนับ 10 ปี นำโดยแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง ‘Lazada’ ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่พลิกทำกำไรได้เมื่อปี 2564 โดยมีกำไรสุทธิ 226 ล้านบาท 

จากนั้น ในปี 2565 Shopee และ Grab สามารถพลิกฟื้นจากที่มีตัวเลขผลประกอบการขาดทุน กลับมาทำกำไรได้เป็นครั้งแรกเช่นกัน 

ในขณะที่ Robinhood แพลตฟอร์มสัญชาติไทย ในเครือ SCB X แม้จะมีผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี แต่ทางบริษัทมั่นใจว่า จะพลิกกลับมาทำกำไรได้ในปี 2568 
 

ตำรวจไซเบอร์ รวบตำรวจเก๊หลอกเอาเงินหมอ

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 66 แพทย์หญิงจากโรงพยาบาลในจังหวัดกำแพงเพชร ได้มาแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกำแพงเพชร ว่าได้มีโทรศัพท์แอบอ้างว่าเป็นตำรวจ สภ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย แจ้งว่า ตนเองได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินยาเสพติด อีกทั้งมีการพูดจาโน้มน้าวจนแพทย์หญิงคนดังกล่าวหลงเชื่อ และโอนเงินไปเพื่อตรวจสอบบัญชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ตามที่คนร้ายกล่าวอ้าง โดยโอนไปยังหมายเลขบัญชี ธนาคารออมสิน ชื่อบัญชี นางสาวกัลญาณี ซึ่งได้โอนไปทั้งหมด จำนวน 3 ครั้ง รวมแล้วเป็นยอดเงินจำนวน 819,100 บาท หลังจากตนได้โอนเงินไปแล้วมาทราบทีหลังว่าถูกหลอก จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

กระทั่งวันที่ 14 มิ.ย.66 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.๒ บก.สอท.๔ นำโดย พ.ต.ท.พร้อมพล นิตย์วิบูลย์ พร้อมชุดสืบสวนนำกำลังเข้าจับกุม นางสาวกัลญาณี อายุ 37 ปี ชาวจังหวัดมหาสารคาม ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดกำแพงเพชร ในความผิดฐาน “เปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้องหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน” โดยจับกุมได้ที่ถนนสาธารณะ หน้าร้านอู๋แซ่บเวอร์ ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย

เบื้องต้น ผู้ต้องหา ให้การรับสารภาพว่าตนเองได้เปิดบัญชีธนาคารออมสิน ที่ถูกใช้ในการกระทำความผิด มาประมาณ 8 ปี แล้ว และเมื่อเดือน พ.ค.66 ที่ผ่านมาตนตกงาน และได้ค้นหาแอปกู้เงินออนไลน์ และได้พบแอปหนึ่งซึ่งมีหน้าโปรไฟล์เป็นรูปโลโก้ของธนาคารหนึ่ง ตนเองหลงเชื่อว่าเป็นแอปของธนาคารจริง จึงได้ทำการติดต่อไปเพื่อขอกู้เงินและเจ้าของแอปดังกล่าวก็ได้ให้ตนทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เช่นการ แสกนใบหน้า ส่งรูปบัตรประจำตัวประชาชนหน้าหลังและให้ตนส่งหมายเลขบัญชีให้ หลังจากที่ทำรายการเสร็จแอปดังกล่าวแจ้งว่ารอการอนุมัติเงินกู้จากธนาคารจากนั้นไม่นานตนได้รับแจ้งธนาคารว่ามีเงินว่าได้มีเงินเข้าบัญชีธนาคารของตนแบบผิดปกติให้ตนตรวจสอบหลังจากที่ตนเองตรวจสอบพบว่ามีเงินเข้ามาในบัญชีธนาคารของเป็นเงินเกือบ 2 ล้านกว่าบาท และได้มีการกดเงินออกจากบัญชีของตนเช่นกัน โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นคนทำธุระกรรมดังกล่าวเลย และหลังจากนั้นก็มีเงินเข้ามาในบัญชีดังกล่าวของตนเรื่อยมา จนเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งกับธนาคารเพื่อทำการอายัติบัญชีของตน จากการตรวจสอบบัญชีทราบว่าตอนนี้มียอดเงินที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งอายัติกับธนาคารไว้เป็นเงินในบัญชีกว่า 2 ล้านบาท

เตือนภัย กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ขอเตือนพี่น้องประชาชนว่าอย่าหลงเชื่อการโทรมาหลอกว่าว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น ตำรวจ ศาล อัยการ สรรพกร เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. เจ้าหน้าที่ธนาคารต่างๆ เป็นต้น ว่าตนเองได้มีการกระทำความผิดกฎหมายต่างๆ และให้หลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินให้ ซึ่งตอนนี้มีแก็งมิจฉาชีพจำนวนมากซึ่งคอยหาวิธีการต่างๆเพื่อมาหลอกลวงพี่น้องประชาชน ก่อนที่จะโอนเงิน หรือทำธุระกรรมต่างๆ ควรตรวจสอบให้ดีก่อน เพื่อที่จะไม่ได้ตกเป็นเหยื่อของแก็งมิจฉาชีพต่อไป

ผลการปฏิบัติภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์  วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท.,พล.ต.ต.วิวัฒน์ 
คำชำนาญ รอง ผบช.สอท.,พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอท.4, พ.ต.อ.อนุชา  ศรีสำโรง ผกก.2 บก.สอท.4,พ.ต.ท.วีระพล กันธวงศ์ สั่งการ พ.ต.ท.พร้อมพล นิตย์วิบูลย์  สว.กก.2 บก.สอท.4 พร้อมชุดสืบสวนดำเนินการจับกุม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top