Saturday, 17 May 2025
ค้นหา พบ 48160 ที่เกี่ยวข้อง

“ประชาธิปัตย์” ยินดีพิจารณาข้อเสนอ5ข้อของภาคประชาชนพร้อมเดินหน้าโฉนดชุมชน ธนาคารหมู่บ้าน สิทธิชุมชน สวัสดิการรัฐและกระจายอำนาจ ยืนยันส่งตัวแทนพรรคร่วมเวทีดีเบตธรรมศาสตร์

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์แถลงวันนี้(1เม.ย.)ว่า พรรคประชาธิปัตย์ยินดีพิจารณาข้อเสนอ5ข้อของภาคประชาชนและจะส่งตัวแทนพรรคร่วมเวทีภาคประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


“ส่วนใหญ่พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง บางส่วนเป็นนโยบายที่ประกาศไปแล้ว เช่น โฉนดชุมชน ธนาคารที่ดิน การกระจายการถือครองที่ดิน การปฏึรูปที่ดิน การจัดที่อยู่อาศัย 1  ล้านหลัง การออกโฉนดที่ดิน 1 ล้านแปลง การออกกรรมสิทธิ์ทำกินในที่ดินของรัฐทุกประเภท การกระจายอำนาจ การปฏิรูประบบราชการและกระบวนการยุติธรรม นโยบายเพศสภาพและชาติพันธ์ นโยบายรัฐสวัสดิการ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจมีรายละเอียดในทางปฏิบัติที่จะต้องประชุมหารือกับภาคประชาชนกันอย่างใกล้ชิดซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มีคณะกรรมการนโยบายหลายชุดที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอทั้ง5 รวมทั้งบางประเด็นบางนโยบายที่จะหยิบยกขึ้นหารือเพิ่มเติมกับภาคประชาชนเช่น การปราบปรามการทุจริตที่ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การแก้ไขปัญหาหนี้สิน การพัฒนาศึกษาและการสาธารณสุข เป็นต้น


สำหรับข้อเสนอระดับนโยบาย 5 ด้านที่ภาคประชาชนประกอบด้วย ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน ในนามเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด นำโดย นายสมนึก พุฒนวล นางณัฐธยาน์ แท่นมาก นางกันยา ปันกิตติ นางอารี สุขสม นายบุญ แซ่จุง ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ข้อเสนอนโยบายภาคประชาชนต่อพรรคการเมืองต่างๆ ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ความว่า เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สมาชิกพีมูฟ (P-Move) เป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการยึดแย่งทรัพยากรธรรมชาติ และไร้โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จําเป็นในการดำรงชีวิต เป็นกลุ่มขบวนชาวบ้านที่อยู่ในสภาวะของการดิ้นรนต่อสู้เพื่อแสวงหาปัจจัยการผลิตที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิต โดยเคลื่อนไหวผลักดันเรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม สิทธิของประชาชนในทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และ “สิทธิชุมชน” ซึ่งเป็น 1 ใน 8 เครือข่ายขบวนประชาชนจากทั่วประเทศ มีดังนี้

(Part 3/3) คุยเฟื่องเรื่องพม่า | TIME TO LISTENING EP.15

วันนี้ TIME TO LISTENING EP.15 ตอน คุยเฟื่องเรื่องพม่า Part 3 จากประสบการณ์ตรงของ คุณวรกร ล้ำประเสริฐ (หม่องเอ) คนไทยที่ไปทำงานที่พม่าเกือบสิบปี ซึ่งใน EP นี้หม่องเอ เล่าถึงวิถีชีวิตในพม่า เศรษฐกิจเป็นอย่างไร ระบบการศึกษา แตกต่างกับไทยหรือไม่อย่างไร  ติดตามได้ใน EP นี้ครับ

ดำเนินรายการโดย ไอยรา อัลราวีย์
Content Manager THE STATES TIMES

แขกรับเชิญ คุณวรกร ล้ำประเสริฐ (หม่องเอ)
นักธุรกิจไทย ที่เคยทำงานประเทศพม่า

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES PODCAST
และสามารถรับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ :  https://youtube.com/playlist?list=PL60bae1syuyLBnnkZJ5-QgtyID5DqrnG4

🎥 ช่องทางรับชม
Facebook: THE STATES TIMES PODCAST
YouTube: THE STATES TIMES PODCAST
TikTok: THE STATES TIME PODCAST

‘พปชร.’ ติวเข้มผู้สมัครทุกเขต เรื่องค่าใช้จ่ายในการหาเสียง สร้างความเข้าใจ-ทำตามขั้นตอน กกต. ลดช่องว่างถูกร้องเรียน

(1 เม.ย. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมฝึกอบรม ว่าที่ผู้สมัครและตัวแทนว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. พ.ศ.2566 เพื่อให้ดำเนินการจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ประจำปี 2566 ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ในเรื่อง กำหนดจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง โดยมีนายวรวงศ์ ระฆังทอง นายกสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรให้ความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมอบรมครั้งนี้

นางนฤมล กล่าวว่า พรรคมีความเป็นห่วงใยในว่าที่ผู้สมัครของพรรคทุกคน ในเรื่องข้อปฎิบัติ และระเบียบ กกต.เนื่องจากการจัดการเลือกตั้งแต่ละปีมีความแตกต่างกันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2554, ปี 2562 และ ปี 2566 แต่ละปีมีระเบียบการแสดงบัญชีรายจ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงกฎระเบียบ ไม่เฉพาะเรื่องการเงิน แต่รวมถึงวิธีการรณรงค์หาเสียงที่เปลี่ยนไป ดังนั้น สำคัญอย่างยิ่ง ว่าที่ผู้สมัคร 400 เขต ต้องมีความเข้าใจในระเบียบ และวิธีปฏิบัติและการลงบัญชีให้ถูกต้อง เพื่อลดช่องว่างการถูกร้องเรียนจากการเลือกตั้ง เพราะว่าที่ผู้สมัครส่วนใหญ่กว่า 300 คนเป็นว่าที่ผู้สมัครหน้าใหม่ ไม่เคยลงรับเลือกตั้งในสนามใหญ่ จำเป็นต้องให้ความรู้และความช่วยเหลือ เพื่อการเตรียมความพร้อมการเข้าไปทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาฯได้อย่างสมบูรณ์

“พรรคพร้อมให้การสนับสนุนทุกเรื่องอย่างเต็มที่ หากมีข้อข้องใจ พร้อมให้คำปรึกษาในการจัดทำบัญชี และการแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบทุกประการ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องการให้สมาชิกของพรรค ทุกคนมีแผน และความพร้อมทุกด้านในการลงพื้นที่ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่มีปัญหา อุปสรรคใด ๆ ในระหว่างการหาเสียง เพื่อให้ทุกคนสามารถมีโอกาสเป็นตัวแทนของพรรค โดยไม่ถูกโต้แย้งหรือร้องเรียนจากทุกฝ่าย” นางนฤมล กล่าว

‘พิธา’ กร้าว!! ปลดล็อก ‘สวัสดิการผู้สูงอายุ’ ชี้!! เคาะแล้วตกมื้อนึงได้ไข่ต้มแค่ฟองเดียว

‘พิธา’ ควงผู้สมัครปักธงชัย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ชูนโยบาย 4 ป. ปลดล็อกสวัสดิการ-ที่ดิน-หนี้สิน-ท้องถิ่น แก้ปัญหาประชาชน ก่อนขนทัพใหญ่เปิดเวทีปราศรัย ‘ก้าวไกล’ กลางเมืองพิษณุโลกเย็นนี้ เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครครบ 5 เขต

(1 เม.ย.66) แกนนำพรรคก้าวไกล นำโดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล, น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล, น.ส.เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล และ นายวาโย อัศวรุ่งเรือง ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ร่วมกิจกรรมหาเสียงร่วมกับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล จังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 5 เขต ก่อนที่จะร่วมเปิดเวทีปราศรัยในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้

ในส่วนของนายพิธา ได้ร่วมกิจกรรมเดินหาเสียงพบปะประชาชนในเขตชุมชน ที่ อ.นครไทย ร่วมกับนายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก เขต 5 ตามด้วยการเปิดเวทีพูดคุยพบปะประชาชน ที่วัดหนองกะท้าว ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย และที่ ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง ร่วมกับ โชคดี สายนำพามีลาภ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก เขต 3 โดยประชาชนส่วนมากประสบปัญหาร่วมกันในเรื่องที่ดินทำกิน

นายพิธากล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มต้นการทำงานในสภาฯ มาตั้งแต่ครั้งเป็นพรรคอนาคตใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการที่ดินฯ ตนได้เดินทางมา จ.พิษณุโลกบ่อยครั้ง เพราะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีปัญหาที่ดินหลายกรณีมาก และนั่นเป็นเหตุผลที่ตนต้องมาที่นี่อีกครั้ง เพื่อนำข้อเสนอ ‘4 ปลดล็อก’ มาเสนอเพื่อแก้ปัญหาให้กับทุกคนที่นี่ รวมถึงประชาชนทั่วประเทศที่เผชิญปัญหาแบบเดียวกัน จากปัญหาระยะสั้นไปถึงปัญหาระยะยาว ให้แก้ปัญหาไปถึงอนาคตของลูกหลานทุกคน

ปลดล็อกที่หนึ่ง คือปลดล็อกสวัสดิการผู้สูงอายุ จากที่ตนได้เห็นงบประมาณของประเทศที่ถูกจัดสรรผ่านมาทั้ง 4 ปี พบว่ามีงบประมาณที่ถูกนำไปใช้อย่างไม่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะงบประมาณของกองทัพ มากมายกว่างบประมาณที่เอามาดูแลประชาชนเสมอ ปัจจุบันสวัสดิการที่ให้กับผู้สูงอายุ เริ่มต้นที่ 100 บาท เฉลี่ยออกมาได้แค่วันละ 20 บาท หรือเป็นค่ากินแค่มื้อละ 7 บาท ได้ไข่ต้มแค่ฟองเดียว ไม่สอดคล้องกับสังคมสูงวัย ของแพงค่าแรงถูกในปัจจุบัน

พรรคก้าวไกล จึงมีนโยบายที่จะเปลี่ยนงบกองทัพที่ไม่จำเป็น เอามาทำเป็นงบประมาณ เพิ่มเบี้ยสูงอายุจาก 600 เป็น 3,000 บาทต่อเดือน นี่คือรัฐสวัสดิการที่ทำให้ผู้สูงอายุอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี คนหนุ่มสาวกล้าเสี่ยงเดินตามความฝันโดยไม่ต้องกังวลถึงพ่อแก่แม่เฒ่า

ปลดล็อกที่สอง คือการปลดล็อกที่ดิน หลายพื้นที่ เช่น อ.นครไทย แห่งนี้ มีสถานะเป็นเหมือนขนมชั้น คือ ส.ป.ก. ครอบทับกับกรมป่าไม้ ดูแลกันสองหน่วยงาน อำนาจบางส่วนทับซ้อนกัน ทำให้เวลาชาวบ้านไปเดินเรื่องก็ทำอะไรไม่ได้ เกี่ยงกันเป็นเก้าอี้ดนตรี พรรคก้าวไกลจึงมีนโยบาย เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ทวงคืน ส.ป.ก. จากนายทุนทั่วประเทศ 4 ล้านไร่ หาที่ดินเพิ่มให้ประชาชนอีก 6 ล้านไร่ รวมเป็น 10 ล้านไร่ ซึ่งแม้ยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับที่ดิน 320 ล้านไร่ที่ประเทศไทยมีอยู่ แต่อย่างน้อยนี่จะเป็นกระดุมเม็ดแรกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดินในระยะยาว

ปลดล็อกที่สาม คือปลดล็อกหนี้สิน โดยเฉพาะในภาคเกษตร สั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าสำหรับใครก็ตามที่เป็นหนี้ ธ.ก.ส. มีอายุเกิน 60 ปี และชำระหนี้เกินครึ่งของเงินต้นไปแล้ว นโยบายคือการปลดหนี้ให้ทันที

เจาะนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารและปฏิรูปกองทัพ พรรค 'ก้าวไกล-เพื่อไทย-เสรีรวมไทย' คิดอะไรกันอยู่?

วิเคราะห์นโยบายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๖

การเกณฑ์ทหารคือ การระดมและเตรียมพร้อมสรรพกำลังของชาติ เพื่อดำรงคงไว้ซึ่ง ‘ศักย์สงคราม’ (War Potential) เพื่อให้ประเทศชาติมีความพร้อมต่อภัยคุกคามจากอริราชศัตรู

หลาย ๆ คนที่ตั้งคำถามว่า เราจะเตรียมทหารให้พร้อมเพื่อรบกับใคร การรบครั้งล่าสุดของกองทัพไทยเกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาคือ กรณีการปะทะกับกัมพูชาตามแนวชายแดน อันเนื่องมากจากข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่อง ‘เขาพระวิหาร’ พ.ศ. 2553 และพึ่งจะครบ 35 ปี ในกรณีการปะทะกับสปป.ลาว อันเนื่องมากจากข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่อง ‘ชายแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก’   

อีกทั้งบนโลกใบนี้มีสงครามและความไม่สงบเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา การดำรงคงไว้ซึ่ง ‘ศักย์สงคราม’ เพื่อให้ประเทศชาติมีความพร้อมในการป้องกันประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยถือเป็นการประกันเอกราชและอธิปไตยของชาติ

นอกจากนั้นแล้ว หน่วยทหารของเราตลอดแนวชายแดนไม่ว่าทางบกหรือทางน้ำ ต้องทำหน้าที่สกัดกั้นหยุดยั้งภัยคุกความต่อความมั่นคงและสังคม ไม่ว่าจะเป็น การจับกุมคาราวานยาเสพติด การค้าอาวุธ การค้ามนุษย์ การจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมือง สินค้าหนีภาษี การบ่อนทำลายทรัพยากรธรรมชาติของชาติ เช่น การลักลอบตัดไม้ การจับสัตว์น้ำ ฯลฯ ด้วยกำลังและยุทโธปกรณ์ของหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบภารกิจนั้น ๆ ไม่เพียงพอต่อภารกิจที่ต้องดูแลรับผิดชอบ

กองทัพไทยยังต้องรับผิดชอบดูแลสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้นับแต่เหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือค่ายปิเหล็ง ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ซึ่งถูกมองว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในระลอกใหม่ ต่อเนื่องยาวนานมากว่า 19 ปีแล้ว 

และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เมื่อเกิดบรรดาพิบัติภัยต่าง ๆ ขึ้น ก็ต้องอาศัยกำลังพลตลอดจนยุทโธปกรณ์ของกองทัพในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ในทุกมิติ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top