Monday, 12 May 2025
ค้นหา พบ 48008 ที่เกี่ยวข้อง

‘อ.ปริญญา’ เปิดค่าปรึกษากฎหมายศูนย์นิติศาสตร์ เผย ‘โทรปรึกษา-เจอตัว-แถลงข่าว’ มูลค่า 0 บาท

อ.ปริญญา เผยค่าปรึกษากฎหมายศูนย์นิติศาสตร์ โทรปรึกษา-เจอตัว-แถลงข่าว 0 บาท ใกล้ที่ไหนใช้บริการได้ที่นั่น ค่าใช้จ่าย 0 บาททุกรายการ

หลังจากทนายตั้ม หรือนายษิทรา เบี้ยบังเกิด ออกมายอมรับค่าแถลงข่าว 3 แสน แจงเป็นค่าเสี่ยงถูกฟ้องกลับ ยันจะเรียกเก็บต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนคำจากค่าแถลงข่าว เป็นค่าดำเนินการตามเรื่องและเงินสำหรับฟ้องร้อง พร้อมแจกแจงด้วยว่า ปกติคิดเงินค่าโทรศัพท์ปรึกษากับทีมงานเป็นเวลา 20 นาที ราคา 1,000 บาท ปรึกษากับตน 1,500 บาท หากมาพบตนที่สำนักงานครึ่งชั่วโมง 3,000 บาท ยืนยันว่าโปร่งใส สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ เพราะเสียภาษีอย่างถูกต้อง ไม่ผิดมารยาททนายความ

ล่าสุด นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า “ค่าปรึกษากฎหมายและคดี ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทรปรึกษา 20 นาที 0 บาท โทรปรึกษาทีม 20 นาที 0 บาท เจอตัวที่สำนักงาน 30 นาที 0 บาท แถลงข่าว 0 บาท

‘บิ๊กตู่’ เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงละศีลอด เดือนรอมฎอน อวยพรพี่น้องมุสลิมมีความสุข-ปลอดภัย-เจริญก้าวหน้า

นายกฯ เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงละศีลอด เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1444 อวยพรให้พี่น้องชาวมุสลิมมีจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง ดำรงตนเป็นคนดีของสังคม มีความอารีต่อสาธารณะ เป็นกำลังสำคัญสรรค์สร้างให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง 

(28 มี.ค.66) ที่โรงแรมอัล มีรอซ กรุงเทพ ถนนรามคำแหง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงละศีลอด เดือนรอมฎอน ปี ฮ.ศ. 1444 โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอรุณ บุญชม ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี เป็นผู้แทนจุฬาราชมนตรี เอกอัครราชทูตประเทศมุสลิมประจำประเทศไทย คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และตัวแทนมุสลิมเข้าร่วมงาน 

โดยเมื่อนายกรัฐมนตรีเดินทางถึง นายชาติชาย บัลบาห์ อัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมงานเลี้ยงละศีลอดรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์ ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1444 ในวันนี้ ซึ่งเป็นห้วงเวลาสำคัญทางศาสนาอิสลาม ที่พี่น้องชาวมุสลิมทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศและต่างประเทศ จะได้ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจอันประเสริฐยิ่งอย่างสมบูรณ์ตามหลักศาสนาที่ได้บัญญัติไว้อีกครั้ง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง ด้วยการถือศีลอดด้วยจิตใจที่มั่นคง แน่วแน่ และอดทน อันเป็นการส่งพลังแห่งศรัทธาต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และยังเป็นโอกาสอันดีที่พี่น้องชาวมุสลิมจะได้น้อมจิตรำลึกถึงพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้ เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำรงตนให้เป็นผู้ที่อยู่ในกรอบแห่งความดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นำมาซึ่งความรัก ความสามัคคี และความสุขต่อตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ รวมถึง การจัดงานเลี้ยงละศีลอดในวันนี้ เป็นวาระโอกาสแห่งความสิริมงคลในการเริ่มต้นเดือนรอมฎอน 

นายกรัฐมนตรี กล่าวขออวยพรให้พี่น้องชาวมุสลิมได้ปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ขอให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งมั่นไว้ และขออานุภาพแห่งองค์อัลลอฮ์ที่พี่น้องมุสลิมทุกคนนับถือ ได้โปรดประทานพรอันประเสริฐ ความสุขสวัสดีปลอดภัย และความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งอวยพรให้พี่น้องชาวมุสลิมมีจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง ดำรงตนเป็นคนดีของสังคม มีความอารีต่อสาธารณะ และเป็นกำลังสำคัญในการสรรค์สร้างให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป 

29 มีนาคม พ.ศ.2493 วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

29 มีนาคม พ.ศ. 2493 วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา

และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันนี้ของ 73 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2493 คือวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 

คนไทยผ่านน้ำตาแห่งการสูญเสียอันยิ่งใหญ่มานับหลายครั้งหลายครา เช่นเดียวกับครั้งที่หัวใจปวงชนชาวไทยต้องแหลกสลาย เมื่อรับทราบข่าวร้ายเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล แบบปัจจุบันทันด่วน

ไม่มีใครได้เตรียมตัวเตรียมใจ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในพระชนมายุเพียง 20 ย่าง 21 พระชันษา ได้เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง

ทั้ง ๆ ที่ทรงตั้งพระทัยเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวร และจะทรงรับการบรมราชาภิเษก หลังจากที่ทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

โดยการสิ้นพระชนม์นั้น เกิดขึ้นก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วันเท่านั้น

ทั้งนี้ หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันเดียวกันนั้นเอง รัฐสภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป

จากนั้น ก็ได้มีการอัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง จากนั้นมีกำหนดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง

ระหว่างนั้น ในวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เวลาผ่านไปจนกระทั่งวันที่ 5 มีนาคม 2493 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อประกอบพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพ, พระราชพิธีอภิเษกสมรส, และบรมราชาภิเษก (จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง)

โดยเฉพาะวันพระถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้นตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2493 น้ำตาของคนไทยได้ท่วมแผ่นดิน!

เมื่อทุกอย่างผ่านไปเรียบร้อยสมบูรณ์ วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น

หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานทองกลาง ชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

กระทั่งวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม 

สำหรับ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร หรือ ล้นเกล้า ร.8 นั้น มีดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงประสูติกาลเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

ผบ.ทหารสูงสุด พร้อม ผบ.เหล่าทัพ สังเกตการณ์ฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

วันนี้ (28 มีนาคม 2566) พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เดินทางไปตรวจเยี่ยมและสังเกตการณ์การยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น - สู่ - พื้น แบบ Harpoon  โดย เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นเรือยิงหลัก และเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือยิงสำรอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566  


โดยมีพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พลอากาศเอก ชานนท์  มุ่งธัญญา รองผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมสังเกตการณ์บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ในพื้นที่ทะเลอันดามัน บริเวณระยะ 55 ไมล์  จากแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต โดยมี พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้อำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566 ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ในกองอำนวยการฝึกฯ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ

 

ตามที่กองทัพเรือ ได้จัดให้มีการฝึกกองทัพเรือประจำปี มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงความพร้อมของหน่วยต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามแผนป้องกันประเทศ แบ่งการฝึกเป็นวงรอบทุก 2 ปี ตามสถานการณ์ที่ถูกกำหนดขึ้น  


สำหรับการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2566 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ถึง 22 มิถุนายน 2566 มีพื้นที่การฝึกทั้งในทะเลและบนบก โดยแบ่งการฝึกเป็น 2 ส่วน คือ การฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise: CPX) มีระยะเวลาการฝึกรวม 3 สัปดาห์ ทำการฝึกระหว่าง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 17 มีนาคม 2566  มีวัตถุประสงค์ เพื่อฝึกการควบคุมบังคับบัญชา และทดสอบแนวความคิดในการใช้กำลังและหลักนิยมต่าง ๆ ของหน่วยบังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ และการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (Field Training Exercise: FTX) ทำการฝึกระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - ถึง 12 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติการของหน่วยกำลังรบประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล รวมทั้งเป็นการทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการต่าง ๆ รวมถึงการยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น - สู่ - พื้น แบบ Harpoon ในครั้งนี้
   

นอกจากนั้น ยังมีการฝึกในหัวข้อสำคัญที่จะทำการฝึกในห้วงต่อไป คือ การปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การยิงอาวุธประจำหน่วย และการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ของกำลังภาคพื้นดิน ทั้งกำลังจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง รวมทั้งกองทัพบก และกองทัพอากาศ ที่ได้จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้ด้วย  

   
ในขณะเดียวกัน ได้มีการฝึกด้านการส่งกำลังบำรุง (Logistics Exercise: LOGEX) เพื่อทดสอบขีดความสามารถด้านการส่งกำลังบำรุงและการปฏิบัติของหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ พร้อมกันไปด้วย และที่สำคัญ คือ การฝึกในครั้งนี้ ได้มีการเชิญ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ( ศรชล. ) กองทัพบก และกองทัพอากาศ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกในหัวข้อการฝึกต่าง ๆ อีกด้วย


สำหรับ อาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน ได้พัฒนาโดยบริษัท McDonnell Douglas Astronautics Company ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นอาวุธปล่อยนำวิถี แบบ พื้น - สู่ - พื้น และอากาศ - สู่ - พื้น เพื่อใช้ทำลายเรือผิวน้ำ ด้วยความเร็ว 60 ไมล์ทะเล ต่อชั่วโมง มีคุณสมบัติถูกออกแบบให้มีหัวรบมีอำนาจทำลายสูง ด้วยดินระเบิดขนาด 500 ปอนด์ สามารถโจมตีเป้าหมายซึ่งมองเห็นได้ หรือที่อยู่ไกลเกินขอบฟ้า สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องในทุก ๆ สภาวะอากาศ เครื่องค้นหาเป้ามีสมรรถภาพสูง ตรวจจับเป้าได้ในระยะไกล มีขีดความสามารถติดตามเป้าในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งระยะยิงของอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน ที่ไกลที่สุด คือ 75 ไมล์ทะเล และสามารถค้นหาเป้าเรือผิวน้ำภายในพื้นที่รัศมีวงกลมได้มากกว่า 17,500 ตารางไมล์ สามารถทำการยิงได้จากเรือผิวน้ำ ด้วยการใช้แท่นยิงที่ติดตั้งบนเรือผิวน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นแท่นยิงของตัวระบบฮาร์พูนเองหรือแท่นยิงของระบบอาวุธอื่น ๆ ซึ่งได้ปรับปรุงให้สามารถทำการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูนได้


ทั้งนี้  กองทัพเรือ ได้เริ่มนำอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน แบบพื้น - สู่ - พื้น เข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยติดตั้งมากับเรือคอร์เวตชุด เรือหลวงรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้ทำการปรับปรุง เครื่องบินแบบ F - 27 MK 200 เมื่อปี พ.ศ.2533 ให้สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน แบบอากาศ - สู่ - พื้น เพื่อใช้โจมตีเรือผิวน้ำ ต่อมาเรือที่เข้าประจำการในกองทัพเรือหลายลำ ก็ได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูนเป็นอาวุธหลัก ได้แก่ เรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร 2 ลำ ( เรือหลวงนเรศวร และ เรือหลวงตากสิน ปัจจุบันประจำการอยู่ใน กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ) เรือฟริเกตชุด เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2 ลำ เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย ปัจจุบันปลดประจำการ)            

โดยการยิงอาวุธปล่อย นำวิถี ฮาร์พูน ในครั้งนี้ ใช้เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ เป็นเรือยิง มี พลเรือตรี วรพาท รัตตะสังข์ ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เป็นผู้บังคับหมวดเรือยิงอาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน ซึ่งผลจากการยิง อาวุธปล่อยนำวิถี สามารถทำลายเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป 55 ไมล์ ( 101.86 กิโลเมตร) ได้อย่างแม่นยำ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอาวุธปล่อยนำวิถีชนิดนี้

กองทัพเรือ นำกำลังพลบริจาคโลหิต ครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี เสด็จเตี่ยอย่างพร้อมเพรียง ยึดตามรอยพระปณิธาน ในการช่วยเหลือประชาชนโดยไม่แยกชนชั้น

วันที่ 28 มี.ค.66 พล.ร.อ.วรวุธ  พฤกษารุ่งเรือง หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน การจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต “รวมใจปันโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ เทิดพระเกียรติ ครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” โดยมี พล.ร.ท.ชาติชาย  ทองสะอาด รองเสนาธิการทหารเรือ (สายงานกิจการพลเรือน) รองประธานกรรมการจัดงานครบรอบวันสิ้นพระชนม์ 100 ปี ฯ และประธานอนุกรรมการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติฯ  หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ/ผู้แทน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้การต้อนรับ ณ โถงชั้นล่าง อาคารกองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน 


ในการนี้ ทัพเรือภาคที่ 1 , 2 และ 3 ได้ร่วมจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตฯ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการดำเนินการรับบริจาคโลหิตนั้น กรมแพทย์ทหารเรือ/คลังเลือดในพื้นที่ได้จัดเจ้าหน้าที่ เวชภัณฑ์ พร้อมอุปกรณ์มาดำเนินการรับบริจาคโลหิต จากข้าราชการ  ทหารกองประจำการ  ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ของหน่วยต่างๆ คาดว่าจะมียอดบริจาคโลหิตรวมทั้งสิ้น ประมาณ 600 ถุง เป็นปริมาณโลหิต  270,000 ซีซี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top