‘อัษฎางค์’ ขุดนโยบายหาเสียงชัชชาติ ก่อนเป็นผู้ว่าฯ กทม. แซะ ตอนหาเสียงโม้ทำได้จริง ส่วนปัจจุบัน ทำแล้วแต่ ‘ได้แค่นี้’
(17 มี.ค.66) นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ‘เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค’ หัวข้อ ‘ตอนหาเสียง ทำได้จริง Vs ตอนทำงาน ทำงาน ทำงาน ทำเต็มที่แล้ว ได้เท่านี้’ มีเนื้อหาดังนี้…
‘ตอนหาเสียง ทำได้จริง Vs ตอนทำงาน ทำงาน ทำงาน ทำเต็มที่แล้ว ได้เท่านี้’
เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2564 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว แนะวิธีลดค่าโดยสาร รถไฟฟ้า โดยได้ระบุข้อความว่า “เรื่องอัตราค่าโดยสารใหม่ของ BTS คงเป็นเรื่องกังวลใจของพวกเราหลาย ๆ คน มีทางไหนไหม ที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง? วิธีหนึ่งที่หลาย ๆ ประเทศในโลกใช้กัน คือ เพิ่มรายได้ในส่วนของ Non-Fare รายได้จากกิจการรถไฟฟ้าหรือ กิจการขนส่งทั่ว ๆ ไป เราอาจมีรายได้ในสองรูปแบบคือ
1. Fare Revenue รายได้จากค่าตั๋วโดยสาร
2. Non-Fare Revenue รายได้จากกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าโฆษณา ค่าเช่าพื้นที่ ประโยชน์จากการเชื่อมต่อสถานี
จำนวนผู้โดยสารที่ผ่านระบบมากถึง 700,000 คน-เที่ยวต่อวัน ทำให้พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้า ในขบวนรถไฟฟ้า ราวจับ รวมถึงรอบตัวรถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเสาโครงสร้างรถไฟฟ้า มีมูลค่าสำหรับการโฆษณาสูงมาก เราคงจะไม่เห็นพื้นที่ไหนที่มีการโฆษณามากเท่ากับพื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้าแล้ว
ผมเชื่อว่าถ้าเราบริหารจัดการให้ดี ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนให้ดี เราสามารถนำรายได้ในส่วนของ Non-Fare มาช่วยเสริมรายได้จากค่าโดยสารอีกไม่น้อยกว่า 20%
รายได้จากการโฆษณาและให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้า BTS ในปี 2562-2563 สูงถึง 2,183.89 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 30% ของรายได้จากค่าโดยสาร
ในอนาคต เมื่อสัมปทานปัจจุบันสิ้นสุดลง ถ้าเรามีการประมูลที่โปร่งใส ยุติธรรมกับทุกฝ่าย มีการนำรายได้อื่นๆ จากรถไฟฟ้ามาช่วยสนับสนุนค่าโดยสาร จะช่วยทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลงได้ครับ”
ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564
สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ สำนักข่าว The Reporters จัดเสวนาออนไลน์หัวข้อ ‘รถไฟฟ้าต้องถูกลง ทุกคนต้องขึ้นได้ ผู้ว่าฯ กทม. ช่วยได้หรือไม่’
โดย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พูดถึงเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
“ถ้าไม่เอากำไรแสนล้านบาท ค่าโดยสาร 25-30 บาทเป็นไปได้ กทม. ต้องรีบเจรจา เปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถถึง 2585 ให้ชัดเจนว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเอกชนเท่าไร สัญญาเป็นธรรมหรือไม่ รัฐเสียเปรียบไหม ถ้าจ้างเอกชนแพงกลายเป็นว่าต้องไปปรับค่าโดยสารขึ้น
