Saturday, 28 June 2025
ค้นหา พบ 49076 ที่เกี่ยวข้อง

น่ายกย่อง!! หนุ่มวัย 24 ปีเสียชีวิต บริจาคอวัยวะมอบ 15 ชีวิตใหม่

ยกย่องคนจนผู้ยิ่งใหญ่ หนุ่มวัย 24 ปี รับจ้างตัดมะพร้าวอ่อน ชาวสมุทรสงคราม เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต บริจาคอวัยวะมอบ 15 ชีวิตใหม่ พ่อแม่เผย ลูกเป็นคนชอบช่วยเหลือผู้อื่นแม้ครอบครัวจะมีฐานะยากจน 

14 พฤศจิกายน 2565 เพจมูลนิธิโรงพยาบาลราชบุรี โพสต์ข้อความ “บริจาคอวัยวะ สร้างกุศลผู้ให้ สร้างชีวิตใหม่ผู้รับ 1 ผู้ให้ ช่วยได้ 8 ชีวิต” เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงพยาบาลราชบุรี นายแพทย์อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี ได้มอบหมายให้ คณะกรรมการ Service plan สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะโรงพยาบาลราชบุรี เป็นตัวแทนมอบเกียรติบัตร ให้แด่ญาตินายอชิระ กัญญา ผู้บริจาคดวงตาให้ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

โดยสภากาชาดไทยได้นำไปช่วยเหลือผู้ป่วยตามเจตนารมณ์แล้ว ส่วนกระดูกให้ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ ในพระอุปถัมภ์ฯ ขอกุศลกรรมที่ได้บำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่ผู้ป่วย จงเป็นอานิสงส์ดลบันดาลให้ผู้อุทิศประสบความเกษมสุขในสัมปรายภพชั่วนิรันดร์ พร้อมกันนี้ ได้มอบพวงหรีดเคารพศพผู้วายชนม์ จากศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย และศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย

ผู้ป่วยชายอายุ 24 ปี ประสบอุบัติเหตุจราจร ผู้ป่วยอยู่ในอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรง ถูกนำส่งตัวจากโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ส่งมายังโรงพยาบาลราชบุรีเพื่อเข้ารับการรักษา เมื่อมาถึงโรงพยาบาลราชบุรีพบว่าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบจึงได้เข้ารับการรักษาอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากอาการที่รุนแรง แพทย์ได้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะสมองตาย 

ทั้งนี้ บิดามารดาและยายผู้เลี้ยงดูผู้ป่วยมาตลอดรับทราบอาการและเข้าใจถึงความรุนแรงที่ผู้ป่วยได้รับ โดย พว.ชุลีพร ทองแพรว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาท 1 โรงพยาบาลราชบุรี จึงได้เจรจาเพื่อขอรับบริจาคอวัยวะ ดวงตามอบสู่สภากาชาดไทยเพื่อนำไปให้ผู้ที่รอคอยการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยญาติตัดสินใจบริจาคเพื่อเป็นการสร้างบุญใหญ่ให้กับผู้ป่วยโดยในการนี้ได้จัดเก็บดวงตามอบสู่สภากาชาดไทย และกระดูกมอบสู่ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ ในพระอุปถัมภ์ฯ

ขอเชิดชูเกียรติ แด่นายอชิระ กัญญา และครอบครัวที่ได้ร่วมสร้างบุญใหญ่ มอบอวัยวะเพื่อส่งต่อไปยังผู้รอคอยอวัยวะอย่างทุกข์ทรมาน ซึ่งในการนี้ยังได้เป็นอาจารย์ใหญ่ในการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ ความดีที่ไม่สิ้นสุด คือการบริจาคร่างกายและอวัยวะเมื่อยามสิ้นสูญ

ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลราชบุรี ได้จัดแถลงข่าวและยกย่องครอบครัวของ นายอชิระ กัญญา ผู้วายชนม์ โดยมีนายรณภพ เหลืองไพรโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และนายกเหล่ากาชาดราชบุรี พร้อมด้วยนายแพทย์อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี แพทย์หญิงปาจรีย์ อารีย์รบ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี และคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งกระดูก พร้อมด้วย นางสมพร แสงสี อายุ 60 ปี และ นายเฉลิม กัญญา อายุ 65 ปี ชาวบ้าน ต.นางตะเคียน อ.เมือง สมุทรสงคราม พ่อและแม่ของนายอชิระ กัญญา ผู้วายชนม์ ร่วมกันแถลงข่าว ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลราชบุรี โดยมีสื่อมวลชนจากหลายสำนักร่วมทำข่าว

นายแพทย์อนุกูล ไทยถานันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชบุรี ได้กล่าวแสดงความเสียใจกับครอบครัวของนายอชิระ กัญญา ผู้วายชนม์ อายุ 24 ปี อาชีพรับจ้างตัดมะพร้าวอ่อนในพื้นที่ วัดหลักห้า ต.ประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี มีภูมิลำเนาอยู่ ม.6 ต.นางตะเคียน อ.เมือง สมุทรสงคราม ได้รับอุบัติเหตุทางจราจร ญาติได้นำตัวส่งมาทำการรักษาที่ รพ.ดำเนินสะดวก

โดยผู้ป่วยอยู่ในอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงถูกนำส่งตัวจากโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ส่งมายังโรงพยาบาลราชบุรีเพื่อเข้ารับการรักษา เมื่อมาถึงโรงพยาบาลราชบุรีพบว่าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ แพทย์ได้ทำการรักษาอย่างสุดความสามารถ แต่ด้วยอาการบาดเจ็บที่รุนแรง ร่างกายของนายอชิระ ไม่ตอบสนองต่อการรักษาใด ๆ ทีมแพทย์ได้ลงความเห็นว่านายอชิระ เสียชีวิตแล้วด้วยภาวะสมองตาย สร้างความเศร้าเสียใจให้กับครอบครัวเป็นอย่างมาก

ก่อนหน้านี้นายอชิระ เคยแจ้งไว้กับคุณพ่อและคุณแม่ ว่าตนได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้กับทางโรงพยาบาล หากตนเสียชีวิตก็ขอบริจาคอวัยวะที่ยังใช้งานได้ให้กับผู้อื่นนำไปใช้ต่อ เพื่อเป็นการทำคุณประโยชน์และสร้างบุญกุศลครั้งสุดท้ายในชีวิต หลังแพทย์ทางโรงพยาบาลราชบุรี ได้แจ้งให้กับทางญาติได้ทราบ คุณพ่อคุณแม่จึงตัดสินใจแจ้งต่อแพทย์ ขอบริจาคอวัยวะของนายอชิระทั้งหมด เพื่อทำตามเจตนารมณ์ของลูกชาย

โรงพยาบาลราชบุรีได้ร่วมประสานงานกับสภากาชาดไทย และศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯ ในพระอุปถัมภ์ฯ ทำการผ่าตัดส่งมอบอวัยวะ ที่ยังใช้งานได้ คือดวงตาทั้ง 2 ข้าง เนื้อเยื่อ ผิวหนัง และกระดูกอีกจำนวน 12 ชิ้น เพื่อนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งกระดูก ได้จำนวน 15 ราย

ผู้บริหารโรงพยาบาลราชบุรี ศูนย์ประสานงานรับบริจาคอวัยวะโรงพยาบาลราชบุรี และเจ้าหน้าที่ทุกคนขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว และขออนุโมทนาบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ของนายอชิระ กัญญา ที่ท่านมีจิตเมตตาเสียสละบริจาคอวัยวะเป็นทานในครั้งนี้

พร้อมกันนี้ นายรณภพ เหลืองไพรโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และนายกเหล่ากาชาดราชบุรี ได้มอบเงินสดส่วนตัวจำนวน 4 พันบาท ให้กับพ่อและแม่ของนายอชิระ กัญญา ผู้วายชนม์ เพื่อเป็นค่าเช่าที่บ้านที่ทางครอบครัวต้องจ่ายให้กับทางเจ้าของที่ที่ให้เช่าที่สำหรับปลูกบ้าน พร้อมมอบประกาศเกียรติคุณยกย่อง นายอชิระ กัญญา ในการบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ในครั้งนี้

ส่วนทางด้าน นายเฉลิม กัญญา และนางสมพร แสงสี พ่อและแม่ของ นายอชิระ กล่าวว่า ครอบครัวรู้สึกดีใจที่ การบริจาคร่างกายของลูกชาย เพื่อนำอวัยวะที่สามารถใช้ได้นำไปช่วยเหลือผู้อื่นได้อีก 15 คน เป็นไปตามความประสงค์ของลูกชายที่ได้พูดไว้เมื่อครั้งยังชีวิต แต่ก็ยังรู้สึกเศร้าโศกเสียใจที่สูญเสียลูกชายซึ่งเป็นที่รักของครอบครัว ลูกชายของตนเป็นคนดี คนขยันทำมาหากิน และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ตั้งแต่เล็กลูกชายจะอยู่กับพ่อและแม่ตลอด จนเขาทำงานก็ยังขี่รถจักรยานยนต์ไปที่ทำงานในอำเภอดำเนินสะดวก ราชบุรี กลับมาที่บ้านพักในจังหวัดสมุทรสงครามทุกวัน

ก่อนหน้าที่ลูกจะตาย ทางแม่ได้มีรางสังหรณ์นอนฝันถึงลูกชายว่ามีเลือดเต็มใบหน้าและนอนคว่ำลงกับพื้นมีเลือดไหลนอง แต่ก็ไม่กล้าที่จะมาเล่าให้ลูกฟังเพราะลูกบอกว่าแม่ชอบคิดมาก แต่ก็ไม่คิดว่าจะกลายมาเป็นเรื่องจริง และยังบอกอีกว่า “ร่างกายไม่ใช่ของเรา ให้โรงพยาบาลเขาไป เอาไปช่วยเหลือคนอื่นได้”
 

'อั๋น ภูวนาท' ตั้งคำถามรัฐ เอเปคครั้งนี้ไทยได้อะไร? ยันคนไทยไม่รู้เรื่องเลย นอกจากโปรโมตว่าไทยพร้อม

เมื่อไม่นานมานี้ ‘อั๋น ภูวนาท คุนผลิน’ นักร้อง นักจัดรายการวิทยุ และนักแสดงชาวไทยชื่อดัง ได้ไลฟ์พูดคุยกับแฟนคลับในช่องทางสื่อออนไลน์ส่วนตัว หลังจากนั้นช่อง ‘UNJA_FAMILY(แฟนคลับ)’ ในติ๊กต๊อกก็ได้ตัดบางช่วงบางตอนที่ ‘อั๋น ภูวนาท’ ได้พูดถึงการประชุมเอเปก 2022 ที่ในปีนี้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพ โดยมีเนื้อหาว่า…

“พี่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเอเปกเลย รู้แค่ไทยเป็นเจ้าภาพ ไม่ได้อคตินะว่ารัฐบาลนี้ทำอะไรก็ด่า แต่ถ้าทำดีพี่ก็ชมไง แต่พูดตรง ๆ นอกเหนือจากบอกว่าไทยกำลังจะมีเอเปก ควรบอกให้ประชาชนรู้หน่อยไหมว่าประเทศไทยจะได้อะไร”

“เราได้อะไร? ต้องได้แหละ แต่ได้อะไร? ต้องบอกกันหน่อยนะ เพราะให้หยุด 3 วันมันมีต้นทุนการหยุดอะ ไม่ได้บอกว่าเราไม่ได้ แต่อยากรู้ว่าเราได้อะไร บอกหน่อย จะได้ความรู้ จะได้เข้าใจ”

“อีกอย่างหนึ่งคือเชิญผู้นำระดับโลกมาตั้งมากมาย agenda หลัก ๆ ที่รัฐบาลและผู้นำของไทยจะคุยกับผู้นำที่มารวมตัวกันที่ไทย มีเรื่องอะไรบ้างที่จะเจรจาเพื่อผลประโชยน์ของประเทศไทย เรารู้เรื่องไหมว่าเขาจะคุยเรื่องอะไร…ไม่รู้เรื่องเลยว่าจะขออะไร ผลักดันอะไร ขอความร่วมมืออะไร จากใคร และจะเสนออะไรให้กับประเทศไหน ในมุมไหน ไม่รู้เรื่องเลย”

ผลข้างเคียงจากการใส่หน้ากากอนามัย คาร์บอนฯ ในเลือดสูง ทำ ‘ปวดหัว-วิตกกังวล’

ผมได้อ่านบทความฉบับหนึ่งที่มีการตีพิมพ์ลงใน The New York Times ว่ามีการสำรวจจาก PN MEDICAL ในกลุ่มผู้สวมหน้ากากอนามัยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลต่อรูปแบบการหายใจและการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สวมใส่ ซึ่งพอได้อ่านมาเช่นนี้ สำหรับผมตื่นเต้นมากเพราะเราไม่เคยคิดถึงเลยว่าแค่สวมหน้ากากจะส่งผลต่อชีวิตเราขนาดนี้

ในการศึกษาระบุว่าการสวมหน้ากากจะส่งผลทำให้การหายใจของผู้สวมผิดปกติและจะทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดของผู้สวมหน้ากากเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่ไม่ได้สวมและแม้จะถอดหน้ากากออกแล้วก็ตามอาการนี้ก็ยังไม่หายไปอย่างทันที ซึ่งผลจากการที่มีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงจะส่งผลทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ปวดหัวและเกิดอาการของตะคริวได้

'อ.นิด้า' ทวงถามจริยธรรมสื่อดัง บิดเบือนกรณีปลากุเลา ชี้!! ทุกครั้งก็รับปากว่าจะแก้ไข แต่ก็ทำซ้ำเหมือนเดิม

เมื่อ (14 พ.ย. 65) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ได้ออกมาประณามช่อง ThaiPBS ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลบิดเบือนใส่ร้ายเชฟชุมพล และประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC 2022 ด้วยการกุเรื่องว่า ‘ปลากุเลาเค็ม’ ที่ขึ้นโต๊ะอาหารผู้นำเอเปคไม่ได้มาจากตากใบ

โดยเป็นการนำเสนอหัวข้อข่าวชื่อ ‘จับโป๊ะ Soft Power 'ปลากุเลาเค็ม' ขึ้นโต๊ะผู้นำเอเปค ไม่ได้มาจากตากใบ’ ซึ่งเป็นการไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านขายอาหารทะเลกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ได้บทว่า “ไม่มีใครมาซื้อปลากุเลาไปใช้ในงาน APEC” 

แต่ความจริงซึ่งถูกเปิดเผยโดยเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟมิชเชอร์ลินสตาร์ ที่เป็นหนึ่งในทีมทำอาหารเลี้ยงผู้นำเอเปค ก็คือ ทางทีมเชฟได้ซื้อปลามาจากร้าน ‘ปลากุเลาเค็มป้าอ้วนตากใบ’ ซึ่งอยู่ที่ 40/1 หมู่ที่ 3 ต.เจ๊ะเห อ.ตกใบ จ.นราธิวาส เบอร์โทรร้าน 086-9636422

ซึ่งทางร้านก็ได้ออกมาประกาศผ่าน Facebook ทางร้านว่า ร้านเป็นผู้จัดจำหน่ายปลากุเลาเค็ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาวของชุมชน โดยก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่มาซื้อปลากุเลาเค็มไป 1 ตัวเพื่อนำไปชิม และภายหลังมีการสั่งออนไลน์วันละหลายหมื่นบาทในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา

หลังข้อมูลปรากฏชัดเจน ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ได้ตั้งคำถามว่าไทยพีบีเอสทำแบบนี้ ไม่แน่ใจว่าทีมข่าวเรียนจบวารสารศาสตร์และมีกอง บก.หรือไม่ ทำไมจึงพยายามสร้างเนื้อหาที่ไม่สมเหตุผล ด้วยการไปสัมภาษณ์ร้านที่ไม่ได้รับการติดต่อซื้อ แล้วไปสรุปว่า 'ไม่มีการซื้อจริง'

พร้อมระบุว่า ไทยพีบีเอส จะรับผิดชอบอย่างไรต่อชื่อเสียงของเชฟชุมพล และชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC และไทยพีบีเอสยังเคยทำเรื่องแบบนี้มาหลายครั้ง และทุกครั้งก็รับปากว่าจะแก้ไข แต่ก็ทำซ้ำเหมือนเดิมเรื่อย ๆ จนมาถึงครั้งนี้

สุดท้ายประชาชนเสียเงินภาษีปีละ 2,000 ล้านบาทเลี้ยงช่องไทยพีบีเอส ก็ควรได้ช่องข่าวที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ไม่ใช่ได้ช่องทีวีที่ผลิต Fake News 

ข้อความของ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต

“จับโป๊ะ” ใครกันแน่? 

กรณีการลงข่าวนี้ ข่าวไทยพีบีเอสจะ 'จับโป๊ะ' รัฐบาล หรือว่าข่าวไทยพีบีเอส จะถูก 'จับโป๊ะ' เสียเอง? 

เนื้อหาข่าวไทยพีบีเอส เป็นการให้สัมภาษณ์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ตากใบ 'บางคน' ที่ให้ข้อมูลว่าไม่เห็นรู้เรื่องว่ามีการซื้อปลากุเลาเค็มจากร้านใดร้านหนึ่งใน 9 ร้านที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัดไปเลย จึงสรุปได้ว่า ที่รัฐบาลโปรโมตว่าจะนำเอาปลากุเลาเค็มไปทำอาหารในการประชุมเอเปคนั้น 'ไม่จริง'

ซึ่งต่อมาเชฟชุมพล และรองโฆษกรัฐบาล ก็ออกมาให้ข้อเท็จจริงว่า เชฟชุมพลซื้อปลากุเลาเค็มมาจากตากใบจริง จากร้านป้าอ้วน เพราะเป็นร้านเดียวที่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งต่อมาเฟซบุ๊กของร้านป้าอ้วนก็ออกมายืนยันว่ามีการสั่งซื้อไปจริง แต่ด้วยการที่ร้านขายจำนวนมาก ก็ไม่รู้ว่าใครซื้อไปบ้าง (แล้วก็คงบอกกันไปในกลุ่มว่า ไม่รู้เรื่องที่ขายปลาเค็มไปทำอาหารเอเปค เพราะไม่เห็นมีใครมาติดต่อแจ้งอย่างนั้น)

ผมไม่แน่ใจว่านักข่าวที่ทำข่าวนี้ เรียนจบวารสารศาสตร์มาหรือไม่ หรือบก. ที่ตรวจข่าวนี้ (มีไหม) ใช้หลักการอะไรในการปล่อยให้ข่าวนี้ออกมาได้ แต่ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ ผมก็มีคำถามที่คนทั่วไปก็น่าจะสงสัยเหมือนกัน คือ ทำไมนักข่าวที่ทำข่าวนี้ถึง ... 

1.) เชื่อมั่นว่าไม่มีการซื้อจริง ด้วยคำบอกเล่าของร้าน (บางคน) ทำไมไม่คิดว่า คนที่ไปสัมภาษณ์นั้น เขารู้จริงหรือไม่ เข้าใจผิดหรือไม่ รู้ได้อย่างไรว่าไม่มีคนซื้อไปทำอาหารเอเปค การหาข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานนี่คือหลักการวารสารศาสตร์เบื้องต้นเลย

2.) ถ้าไม่แน่ใจว่าร้านค้าจะรู้ข้อมูลหรือไม่ ทำไมไม่ทำสิ่งที่ง่ายที่สุด ก็คือถามไปที่ต้นตน นั่นคือเชฟชุมพล หรือทางสำนักนายกก็ได้ ว่าซื้อจริงไหม ซื้อยังไง ใครซื้อ การหาข้อมูลจากอีกฝั่ง ก็เป็นหลักวารสารศาสตร์เบื้องต้นสุด ๆ เช่นกัน (ถ้าติดต่อไม่ได้ ก็ระบุไปว่ายังไม่ได้รับคำตอบ) 

แต่ไม่ครับ นักข่าวที่ทำข่าวนี้ ไม่ได้ทำทั้งสองข้อ แล้วก็ลงข่าวพร้อมพาดหัวเลยว่า 'จับโป๊ะ' ที่แปลว่า 'จับโกหก'

จับตาวิสัยทัศน์ไทย ชู BCG บนเวที APEC 2022 คนไทยจะได้อะไร? พัฒนาอย่างไรให้สอดคล้อง?

(15 พ.ย. 65) จากเพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า...

คุณรู้รึเปล่าว่า ประชุม APEC ครั้งนี้ มีหัวข้อหลักคือ BCG (Bio-Circular-Green Economy)

แล้วคุณเข้าใจคำว่า BCG รึยัง???

BCG คืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมเป็นหัวข้อหลักของการประชุม APEC แล้วจะมาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และระดับโลกอย่างไร….

วันนี้ขอเกาะกระแส การประชุม APEC ซึ่งเป็นหนึ่งในการประชุมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญที่สุดในโลก ซึ่งประเทศที่อยู่ใน APEC มีปริมาณประชากร ถึง 1 ใน 3 ของโลก 

ซึ่งจะมีการจัดประชุมประเทศสมาชิกทุกปี โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ไทยเราเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง หลังจากปี 2546 

แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการประชุม คือการแสดงวิสัยทัศน์ ของประเทศ 

โดยในการประชุมครั้งนี้ ไทย เรานำเสนอ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อความยั่งยืน หรือ BCG (Bio-Circular-Green Economy) มาเป็นจุดเชื่อมโยงการพัฒนาในอนาคต

แล้ว BCG คืออะไร คนไทยจะได้อะไร? ประเทศไทยจะพัฒนาอย่างไรให้สอดคล้องกับ BCG

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก BCG กันก่อน ซึ่งมาจาก 3 คำคือ Bio Circular Green ซึ่งเป็นการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน แบ่งออกมาเป็นข้อๆ คือ...

- Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ 

เป็นการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ เช่นการแปรรูป สินค้าทางการเกษตร เป็น Bio Plastic ที่ย่อยสลายได้

- Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน

เป็นการนำวัสดุ และผลิตภัณฑ์ ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้งานใหม่

- Green Economy หรือ เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสิ่งแวดล้อม

เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาสังคม

ซึ่งทั้งหมดนี้ ไทยเรามีพื้นฐานรองรับทั้งหมดแล้ว โดยสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (Sustainable Economy) 

โดยการพัฒนา BCG จะมุ่งเน้นการพัฒนาจากทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกระบวนการผลิต และในการนำไปใช้

ซึ่งจะเน้นกับอุตสาหกรรม 4 ด้าน ได้แก่...
- เกษตรและอาหาร 
- สุขภาพและการแพทย์ 
- พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ 
- การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

แล้วปัจจุบัน อุตสาหกรรม BCG มีอะไรเกิดขึ้นแล้วบ้าง??? เรามาดูกันทีละด้านเลย

1. Bio Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ 

- การพัฒนาธุรกิจน้ำตาล จาก อ้อย สู่น้ำตาล แปรรูปเป็น เอทานอล พร้อมกับการสกัดขั้นสูง (Bio Refinery) สู่ Bio Plastics และ Bio Chemical 

- การพัฒนาน้ำมันจากธรรมชาติ (Oleo Chemical) ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของไขมันพืชและสัตว์ 

ปัจจุบันนั้นมีการนำไปใช้งานหลากหลายมาก เนื่องจากเป็นสารกลุ่มชนิดที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และนำกลับมาใช้ได้อีก จึงเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

- การพัฒนาอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ (plant base meat)

2. Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน

- การจัดการขยะชุมชน และขยะจากเศษอาหาร เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน

- การแปรรูปขยะพลาสติก เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่นเสื้อผ้า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top