Friday, 4 July 2025
ค้นหา พบ 49177 ที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กบอสศุภาลัย' มองต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยในไทย เสมือนส่งเสริมส่งออก โดยสินค้านั้นยังคงอยู่ในประเทศ

ดร.ประทีป บิ๊กบอสศุภาลัย เชื่อ ต่างชาติส่วนใหญ่แห่ซื้อคอนโด มากกว่าซื้อบ้าน – ที่ดิน

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 ดร.ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “ขายบ้านและที่ดินให้กับต่างชาติ =ขายชาติ”  มาตรการส่งเสริมชาวต่างชาติ เฉพาะกลุ่มให้มีสิทธิ์ซื้อบ้าน+ที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ในเขตเมือง เริ่มร้อนแรง มีการถกเถียงกันมากขึ้น ๆ และระบุว่า คือ 'ขายชาติ'

ส่วนการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวระยะสั้นนั้น คนไทยเกือบทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้คนไทยมีงานทำมากขึ้นมีรายได้ดีขึ้น

ขณะเดียวกัน คนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร  จึงรักผืนแผ่นดินมากซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้

ความคิดดังกล่าวข้างต้น จาก 1. การขาย  2. การเช่าระยะยาว  และ 3. การท่องเที่ยวระยะสั้น สามกรณี  ถ้านำมาประมวลและเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ จะเป็นดังนี้…

ถ้ามีชาวต่างชาติจะแต่งงานกับคนไทยตลอดชีวิต และคนไทยยอมแต่งด้วย จะถูกสรุปว่า 'ขายชาติ'

แต่ถ้าเขาขอแต่งงานด้วยระยะยาวไม่เกิน 30 ปี จะมีผู้รู้สึกว่าน่าจะยอมรับได้

แต่ถ้าเขาขอแต่งด้วยไม่กี่วัน โดยจ่ายค่าตอบแทนตามที่เราต้องการ  เราก็ถือว่าไม่น่าจะเสียหายอะไร กระนั้นหรือ?

ถ้าชาวต่างชาติซื้อบ้าน+ที่ดิน 1 ไร่ในราคา 40 ล้านบาท  จะเทียบเท่านักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาใช้จ่ายคนละ 50000 บาท 800 คน

หรือถ้าซื้อคอนโดมิเนียมราคา 10 ล้านบาทจะเทียบเท่านักท่องเที่ยวที่ใช้จ่าย 5 หมื่นบาท 200 คน

บางคนคิดว่าการยินยอมให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่จะก่อให้เกิดการเก็งกำไร ทำให้ที่ดินราคาแพงจนคนไทยซื้อไม่ไหว

ที่จริง  'การเก็งกำไร' นั้นประเทศไทยเราเปิดกว้างมานานแล้วให้ชาวต่างชาติทั่วโลกเข้ามาลงทุน/เก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ โดยยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก

อนึ่ง การลงทุนในหุ้นหรือหลักทรัพย์ ใช้เงินลงทุนเพียงหลักหมื่นก็ทำได้ อีกทั้งสภาพคล่องการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ก็สูงกว่าและดีกว่าอสังหาริมทรัพย์มาก

กล่าวคือ ถ้าต้องการขายหลักทรัพย์จะสามารถขายได้เกือบทุกวัน แต่ถ้าจะขายที่ดินส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาเป็นเดือน

ดังนั้น ชาวต่างชาติถ้าต้องการเก็งกำไรในประเทศไทยเขามีทางเลือกที่ดีกว่าง่ายกว่าการเก็งกำไรที่ดิน  ก็คือตลาดหลักทรัพย์ นั่นเอง หรืออาจจะหันไปเก็งกำไรเงินตราในสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย..

ผมจึงไม่คิดว่าชาวต่างชาติจะแห่กันมาซื้อบ้าน+ที่ดินมากอย่างที่พวกเราหลายคนเป็นห่วง เพราะตั้งแต่ถูกจำกัดด้วยคน 4 กลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจซึ่งได้แก่ผู้มีรายได้สูง คนเกษียณ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่ประสงค์พำนักเพื่อทำงาน

ผมยังเชื่อว่าชาวต่างชาติส่วนใหญ่จะนิยมซื้อคอนโดฯ หรือห้องชุดที่ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ซื้อได้มานานแล้ว

โดยจะซื้อมูลค่ากี่ร้อยล้านก็ได้โดยไม่จำกัดด้วยขนาดหรือราคาของห้องชุด เพียงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 49 ของแต่ละอาคารชุด

ราคาเหรียญ KUB วิ่งแรง เพิ่มขึ้นกว่า 40% ทั้งที่ ก.ล.ต.ให้แก้ไขคุณสมบัติเหรียญต่ำกว่ามาตรฐาน

ราคาเหรียญ KUB วิ่งแรงทะลุ 70 บาท เพิ่มขึ้นกว่า 40% ไม่สนคำสั่งก.ล.ต.ให้แก้ไขคุณสมบัติเหรียญต่ำกว่ามาตรฐาน ขาดคุณสมบัติเทรดในกระดาน พร้อมลาก 'JFIN-SIX' พุ่งพรวด บวก 10%

เมื่อวานนี้ (6 พ.ย. 65) ราคาเหรียญสัญชาติไทย 3 เหรียญ ประกอบด้วย KUB , JFIN และ SIX ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแรง โดยไม่มีปัจจัยสนับสนุนอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า มีการเข้ามาสร้างราคาของ Market Maker หรือไม่ โดยเฉพาะ KUB มีเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในรอบ 24 ชม.ที่ผ่านมา

โดย KUB แตะระดับสูงสุด 75.95 บาท ต่ำสุด 50.25 บาท ก่อนจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 70.85 บาท (ณ เวลา 23.40 น.) เพิ่มขึ้น 39.17% ขณะที่อยู่ที่ 20.91 บาท เพิ่มขึ้น 10.3% และ SIX อยู่ที่ 1.98 บาท เพิ่มขึ้น 10.08%

‘เพรียงทราย’ วัตถุดิบก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด รับผู้นำเอเปก โปรตีนทางเลือกคุณภาพสูงเทียบเท่าไข่ไก่

เมนูเด็ดประเทศไทยที่จะเตรียมเสริฟแก่ผู้นำ APEC นั่นก็คือ 'เพรียงทราย' ไส้เดือนทะเล วัตถุดิบเมนูก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด ต้อนรับผู้นำเอเปกโปรตีนคุณภาพสูงจาก 'ไส้เดือน'

จากที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก 2022 หรือ APEC 2022 ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.นี้ ได้มีการเตรียมพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ภายใต้ธีม 'เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล' หรือ 'Open. Connect. Balance.' และยังจัดเตรียมอาหารไทย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเมนูอาหารอนาคตจากการประกวด จะนำมาเป็นเมนูในการประชุมเอเปก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพด้านซอฟต์พาวเวอร์ อาหารไทย ไปสู่สายตาชาวโลก

แต่ละเมนูมีความหลากหลาย จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เมนูเสริมสุขภาพ และเมนูใช้นวัตกรรมเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของวัตถุดิบที่มาจากในประเทศไทย รวมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 8 เมนู 

1.) ข้าวถั่วลูกไก่ยำปักษ์ใต้ผัก 5 สี โปรตีนสูง 
2.) ราเมนจากเส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ 
3.) ไอศกรีมปราศจากนม เพิ่มรสชาติด้วยผัดเคล และเสาวรส 
4.) ห่อหมกวีแกนเพื่อสุขภาพ 
5.) ขนมชั้นสูตรลดน้ำตาลเสริมใยอาหาร และโปรไบโอติกส์ 
6.) โครเก็ตพะแนงแพลนต์เบส 
7.) ก๋วยเตี๋ยวจากเพรียงทราย โซเดียมต่ำ ภูมิปัญญาชุมชน 
และ 8.) ไอติมจากโปรตีนจิ้งโกร่ง

3 บทวิเคราะห์ผลกระทบ เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

ผลกระทบของเงินบาทที่อ่อนค่าต่อราคาสินค้านำเข้า ทำให้เราเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศ โดยเฉพาะราคาสินค้าโภคภัณฑ์และวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจาก supply disruption ที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 เงินบาทที่อ่อนค่าลงทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้นอีก และทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศเพิ่มขึ้นได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาคือการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีก ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมาก ผนวกกับการอ่อนค่าของเงินบาท

นี่คือบทวิเคราะห์ 3 ประการ สำหรับสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าที่เกิดขึ้น

>> ผลกระทบของค่าเงินบาทต่อราคาสินค้านำเข้า ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า และอำนาจตลาดของผู้นำเข้าเป็นสำคัญ

ในการประเมินการส่งผ่านของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังราคาสินค้านำเข้า ผลโดยรวมพบว่าราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.6% เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง 1% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการส่งผ่านในลักษณะที่เรียกว่าไม่สมบูรณ์ (incomplete) แต่ก็สะท้อนว่าผู้นำเข้าต้องเป็นฝ่ายรับความเสี่ยงบางส่วนจากความผันผวนของค่าเงินแต่การส่งผ่านของอัตราแลกเปลี่ยนมายังราคาสินค้านำเข้าแตกต่างกันมากในแต่ละกลุ่มสินค้า โดยราคาของสินค้าบางกลุ่มอ่อนไหวมากต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน อาทิ ผลิตภัณฑ์จากแร่และสินค้าจำพวกเคมีภัณฑ์ 

ขณะเดียวกัน สินค้าบางกลุ่มเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่น้อยกว่า อาทิ สินค้าประเภทยานพาหนะ รวมถึงเครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์  ผลการศึกษายังพบว่าผู้นำเข้าที่มีอำนาจตลาดสูง กล่าวคือ มีสัดส่วนการนำเข้าจากตลาดสินค้าหนึ่ง ๆ ในปริมาณมาก จะสามารถเจรจาต่อรองราคาได้ง่าย แต่ในกรณีของไทย พบว่า ผู้นำเข้าไทยส่วนใหญ่มีอำนาจตลาดค่อนข้างต่ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ส่งออกจากต่างประเทศผลักภาระให้ผู้นำเข้าไทยต้องเป็นฝ่ายแบกรับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินได้

>> สกุลเงินที่ใช้ในการตั้งราคาสินค้านำเข้า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อขนาดการส่งผ่านของค่าเงิน
ผลการศึกษาพบว่าสินค้านำเข้าส่วนมากมักจะอยู่ในรูปสกุลเงินหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์ สรอ. ในกรณีของไทยพบว่าสินค้านำเข้าตั้งราคาอยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. เป็นสัดส่วนสูงถึง 75% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด  ขณะที่การตั้งราคาผ่านสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออก (เช่น ตั้งราคาสินค้าที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่นในรูปสกุลเงินเยน) หรือเรียกว่า Producer Currency Pricing (PCP) คิดเป็นสัดส่วน 16% ส่วนการตั้งราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทหรือที่เรียกว่า Local Currency Pricing (LCP) มีเพียงแค่ 8% เท่านั้น 

สกุลเงินที่ใช้ในการตั้งราคาสินค้าทำให้การส่งผ่านของค่าเงินมีความแตกต่างกัน โดยหากราคาสินค้านำเข้าอยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. หรือสกุลเงินของผู้ส่งออก ผู้นำเข้าจะต้องเผชิญกับการส่งผ่านของค่าเงินที่ค่อนข้างสูง โดยจากผลการศึกษาพบว่าในระยะสั้น ราคาสินค้านำเข้าจะสูงขึ้นมากกว่า 0.7% เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง 1% เปรียบเทียบกับในกรณีที่ราคาสินค้านำเข้าอยู่ในรูปเงินบาทที่พบว่าราคาสินค้านำเข้าแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของค่าเงิน ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งออกจากต่างประเทศเป็นผู้แบกรับต้นทุนหรือความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนแทนผู้นำเข้า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top