Monday, 7 July 2025
ค้นหา พบ 49244 ที่เกี่ยวข้อง

'สุพัฒนพงษ์' ยัน ไม่ทบทวนเรื่องต่างชาติซื้อที่ดิน ชี้!! หากขายชาติจริง ก็ทำมาตั้งแต่ปี 2542

สุพัฒนพงษ์ย้ำให้ต่างชาติซื้อที่ดินในไทย ไม่ใช่กฎหมายขายชาติ ชี้หากทำจริงก็เริ่มตั้งแต่ปี 2542 โวระเบียบยุคนี้ 'เข้ม-เหนือกว่า' ในอดีต ยกนานาประเทศ ก็เปิดให้ครอบครองในลักษณะเดียวกัน

(3 พ.ย. 65) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ต่างชาติซื้อที่ดินในประเทศไทยเป็นกฎหมายขายชาติ ว่าเรื่องนี้ไม่มีประเด็น เพราะการดำเนินการไม่ต่างไปจากหลักเกณฑ์เดิม เพียงแค่ระยะเวลาเท่านั้นเอง โดยคนที่เราอยากให้ได้รับสิทธิเพื่อให้เข้ามาพำนักในประเทศมี 4 กลุ่ม ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของหลักเกณฑ์โดยจะแก้ไขเมื่อไหร่ก็ได้ เราก็ทดลองนำร่องไปก่อน ซึ่งดูแล้วว่าไม่มีอะไร เพราะประเทศอื่นเขาก็ซื้อและครอบครองกันได้ อาทิ มาเลเซีย, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป

‘พิธา’ ซัดขายที่ดินให้ต่างชาติเป็นทางลัดโบราณ หวั่นราคาบ้านในไทยพุ่งสูงเหมือนอังกฤษ - ฮ่องกง

หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้สดถามนายกฯ นโยบายต่างชาติซื้อที่ดินได้ มีการประเมินข้อดี-ข้อเสีย ของนโยบายหรือไม่ ชี้ มาตรการดึงต่างชาติลงทุน-อาศัยในไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นแนวคิดสุดโบราณ

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้ถามสดถึงนโยบายต่างชาติซื้อที่ดินว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีกฎกระทรวงที่ย้อนหลัง ไปถึงรัชกาลที่ 4 ที่มีบันทึกเรื่องของกฎหมายให้ชาวต่างชาติมาใช้ที่ดินในประเทศไทย แต่ในภาวะปัจจุบันนโยบายนี้เป็นนโยบายที่ผิดที่ผิดทาง เพราะผลบวกที่ได้ทางเศรษฐกิจยังไม่มีการประเมินที่แน่ชัด ในขณะที่ประชาชนชาวไทยจำนวนมากที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน

ปัญหาข้อแรก ตั้งคำถามถึงเป้าหมายที่ชัดเจนของการแก้กฎกระทรวงเพื่อให้ต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศไทยคืออะไร เพราะจากข้อมูลพบว่าในรอบ 20 ปี มีต่างชาติเพียง 8 คน เป้าหมายจากคำสัมภาษณ์ที่เห็นมีเพียงระบุกว้าง ๆ ว่า ต้องการดึงดูดชาวต่างชาติ 1 ล้านคน ซึ่งว่าการเปลี่ยนกฎกระทรวงในครั้งนี้ยังมองไม่เห็นเป้าหมายและความชัดเจนว่าต้องการอะไรกันแน่ แล้วตลอดหลายเดือนที่ผ่านมามีการเปลี่ยนตัวเลขกลับไปมา จึงไม่แน่ใจในเป้าหมาย

ปัญหาข้อที่สอง พิธา ตั้งคำถามถึงผลกระทบและข้อเสียงของการแก้ไขกฎกระทรวงว่าได้คำนึงถึงผลกระทบในทางลบที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ว่าหลังจากการปล่อยให้ต่างชาติเข้าไปซื้อที่ดินทำให้ราคาบ้านสูงเพิ่มขึ้นถึง 19% และตัวอย่างในประเทศฮ่องกงที่การเปิดเสรีเข้าซื้อที่ดินทำให้ราคาที่อยู่อาศัยสูงขึ้นจนคนในประเทศที่มีรายได้น้อยต้องอาศัยอยู่ในที่พักเล็ก ๆ ที่เป็นเหมือน “อพาร์ทเมนท์โรงศพ”

ทั้งนี้ พิธา ระบุว่า ตนกังวลเรื่องความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงที่ดิน ขณะที่ทางรัฐบาลพยายามจะให้ชาวต่างชาติ 1 ล้านคนเข้ามาซื้อที่ดิน แต่ 75% ของคนไทยยังไม่สามารถเข้าถึงที่ดินทำกินของประเทศบ้านเกิดตัวเองได้ คนไทยธรรมดาที่มีที่ดินจริง ๆ มีเพียง 20 เปอร์เซ็นเท่านั้น โควตาของต่างชาติคนละ 1 ไร่ก็ไปเบียดเบียนที่ดินของพี่น้องประชาชนแล้ว ยังมีประชาชนที่มีรายได้น้อยที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ยกตัวอย่างข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ 1 ใน  5 ของคนจนไม่มีที่อยู่ และ 15 ปีต่อมา 1 ใน 3 ของคนจนไม่มีที่อยู่อาศัย พร้อมตั้งคำถามว่านายกรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องเรียงลำดับความสำคัญ ในขณะที่ประชาชนป่าสงวนหรือในพื้นที่อุทยานเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเข้าถึงที่ดินจำนวนมาก ต่างชาติกลับมีเงื่อนไขเพียง 5 บรรทัดเท่านั้น ก็ต้องตั้งคำถามถึงรัฐบาลว่าจะให้ความสำคัญกับการให้ต่างชาติมีที่ดินก่อน หรือประชาชนมีที่ทำกินก่อน

บิ๊กตู่ มั่นใจ 'เป้าหมายกรุงเทพฯ' จะบรรลุผลและนำไปสู่ความร่วมมือในภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม

ไม่นานมานี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุม Global Compact Network Thailand Forum (GCNT 2022) หัวข้อ ‘เร่งหาทางออกของภาคธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนและวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ’ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC)   

การเข้าร่วมการประชุม GCNT ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญและเป็นช่วงของการเตรียมตัวก่อนที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) โดยไทยได้ผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคในยุคหลังวิกฤตโควิด – 19 เพื่อให้ทุกประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน สมดุล และครอบคลุมมากขึ้น ภายใต้หัวข้อหลัก ‘Open. Connect. Balance.’  

รัฐบาลไทยยืนยันถึงเจตนารมณ์ “ความมุ่งมั่นและการลงมือทำของไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปค เพื่อลดสภาวะโลกร้อนและความเสียหายต่อธรรมชาติ” โดยภาคเอกชนและสหประชาชาติเป็นภาคีสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของไทย

ไทยตระหนักดีว่าการลดภาวะโลกร้อนมิใช่เพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤติธรรมชาติเท่านั้น แต่เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วย และได้เสนอหลักการ ‘การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG’ ที่คำนึงถึงการพัฒนาเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการเยียวยารักษาธรรมชาติอย่างมีสมดุล เป็นหัวใจของเอกสารผลลัพธ์ของเอเปค ที่เรียกว่า ‘เป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว’ 

สำรวจการใช้งาน ‘คอมพิวเตอร์ - มือถือ – อินเตอร์เน็ต’ ประเทศไทยไตรมาส 1 คนไทย ‘มีใช้’ กันมากน้อยแค่ไหน?

ผลการสำรวจจาก 27.4 ล้านครัวเรือน 
- มีคอมพิวเตอร์ 6.3 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 25.5%
- มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 22.0 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 89.1%
- มีโทรศัพท์มือถือ 23.9 ล้านครัวเรือน คิดเป็น 96.6%

ผลสำรวจประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป จำนวน 65.4 ล้านคน
- มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 56.7 ล้านคน คิดเป็น 86.6%
- ผู้มีโทรศัพท์มือถือ 57.5 ล้านคน คิดเป็น 87.9% 
- แบ่งเป็นโทรศัพท์มือถือ Smart phone 94.1%
- โทรศัพท์มือถือ Feature phone 6%

35 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ เข้ายื่นหนังสือขอ รมว.เฮ้ง ช่วยถอนร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... 

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นตัวแทนรับยื่นหนังสือจาก นายมานพ เกื้อรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ประธานสหภาพการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้นำยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยยื่นผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอีกจำนวน 35 แห่ง เข้ายื่นหนังสือด้วย เนื่องจากสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ มีมติไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... เพราะจะทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอ่อนแอลง อาจทำให้เกิดโอกาสทุจริตมากขึ้น จึงเรียกร้องคัดค้านให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกมาก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มาร่วมกันพิจารณาตามกระบวนการ ณ บริเวณโถงด้านล่างอาคารกระทรวงแรงงาน 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top