Monday, 7 July 2025
ค้นหา พบ 49253 ที่เกี่ยวข้อง

3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ‘ไลก้า’ สุนัขตัวแรกของโลกถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ กรุยทางสู่การสำรวจอวกาศให้มนุษยชาติ

ไลก้า (Laika) สุนัขอวกาศโซเวียต ชื่อที่มีความหมายว่า ‘ช่างเห่า’ คือสุนัขและสัตว์ตัวแรกที่โคจรรอบโลก และก็เป็นตัวแรกที่ตายในวงโคจรด้วยเช่นกัน

ไลก้าเดิมเป็นสุนัขเร่ร่อน ชื่อ คุดร์ยัฟกา แปลว่า ‘เจ้าขนหยิกน้อย’ เข้าสู่การฝึกกับสุนัขอื่นอีกสองตัว ในท้ายที่สุดไลก้าได้รับเลือกเป็นผู้โดยสารไปกับยานอวกาศ สปุตนิก 2 ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)

เป็นที่รับทราบกันน้อยมากถึงผลกระทบของการบินในอวกาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิต ในภารกิจของไลก้านั้นเทคโนโลยีในการผละออกจากวงโคจรยังไม่ถูกพัฒนา จึงไม่มีการคาดว่าไลก้าจะรอดชีวิต นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามนุษย์จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้จากการปล่อยหรือสภาพของอวกาศ 

Alexa เอไอ ของ Amazon โชว์โหด!! แนะพ่อ ‘ต่อยคอเด็ก’ เพื่อให้หยุดหัวเราะ

พ่อชาวอังกฤษวัย 45 ปี สุดช็อกหลัง ‘Alexa’ ลำโพงเอไอของแอมะซอนที่เพิ่งได้มาตั้งคำถามถึงวิธีการเลี้ยงดูเด็กแนะนำให้เขาต่อยคอลูกเพื่อให้หยุดหัวเราะ แอมะซอนยืนยันรีบลบข้อมูลทันทีที่รู้เรื่อง

เดอะมิเรอร์ สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวันที่ (1 พ.ย. 65) ว่า พ่อชาวอังกฤษวัย 45 ปี อดัม แชมเบอร์เลน (Adam Chamberlain) จากเชฟฟิลด์ (Sheffield) ตกใจและเปิดเผยต่อสาธารณะหลังพบว่า ‘อเล็กซา’ (Alexa) ซึ่งเป็นเอไอลำโพงคอมพิวเตอร์แอมะซอน Echo ที่โด่งดังและเพิ่งได้มาใหม่นั้น ได้แสดงวิธีการเลี้ยงดูเด็กที่เป็นอันตราย

โดย แชมเบอร์เลน ได้โพสต์วิดีโอคลิปที่เป็นการถามตอบระหว่างเขาและอเล็กซา และกลายเป็นที่โด่งดังไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยในวิดีโอคลิปพบว่าคุณพ่อวัย 45 ปี ได้ตั้งคำถามถึงวิธีการทำให้เด็กหยุดหัวเราะ ซึ่งในคลิปเขาถามอเล็กซาว่า “อเล็กซา คุณจะหยุดเด็ก ๆ จากการหัวเราะได้อย่างไร”

และในวิดีโอคลิปพบว่าอเล็กซา ซึ่งเป็นเอไอตอบกลับมาว่า...

‘สุราก้าวหน้า’ กระสุนสั่งลาของ ‘ก้าวไกล’ แค่คนไม่ได้หน้าในฐานะผู้เคาะนโยบาย

หลังจาก พรบ. ภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ .. พ.ศ. …. ที่พรรคก้าวไกลเสนอเข้าสภาวาระ 2 – 3 ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 (เรียกย่อว่า พรบ. สุราก้าวหน้า) ถูกกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ออกตัดหน้า พรบ. สุราก้าวหน้า ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง

บรรดา ‘หัวก้าวหน้า’ ต่างก็ออกมาร่วมซัด กฎกระทรวงฉบับใหม่ ที่ว่ากันว่า ออกมาแย่งซีนบ้าง กันท่าบ้าง สาระสำคัญยังอวยยศให้นายทุนเหล้าเบียร์อยู่บ้าง แม้จะเป็นการออกมาร่วมกันสำทับแบบกลืนน้ำลายในคอ เพราะรู้ตัวดีว่ากฎกระทรวงใหม่นี้ ก็ไม่ได้มีอะไรที่หลุดจากพรบ.สุราก้าวหน้ามากมายก็ตาม 

ทั้งนี้ หากลองย้อนกลับไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายสุราก้าวหน้าในสภา โดย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.พรรคก้าวไกล แถลงเปิดตัวร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า อธิบายว่าร่างนี้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต มาตรา 153 เพื่อให้มีการ ‘ปลดล็อกการผลิตสุรารายย่อย’ อีกทั้งยังรวมถึงการ ‘ปลดล็อกอนุญาตให้ทำสุราเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน’ (แต่จริงๆ ก็เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ทำให้ตัวเองไม่สามารถทำคราฟต์เบียร์ได้เสรีแล้วก็โวยวายจนกลายเป็นร่างเสนอ) ซึ่งหากมองจากกฎกระทรวงใหม่ ก็มีการ ‘ปลดล็อก’ เงื่อนไขในแบบที่สอดคล้องกับ พรบ.สุราก้าวหน้า ในระดับหนึ่งกันเลยทีเดียว

ว่าแต่ การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ‘ปลดล็อก’ ของกฎกระทรวงใหม่ 2565 มีความต่างจากปี 2560 และสอดคล้องกับ พรบ.สุราก้าวหน้าอย่างไรบ้าง?

1.
กฎกระทรวง 2560 >> บริวผับ (บรรจุขวดขายไม่ได้) ต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดทุนจดทะเบียน

2.
กฎกระทรวง 2560>> บริวผับ (บรรจุขวดขายไม่ได้) ต้องมีกำลังผลิตขั้นต่ำ 100,000 ลิตร ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำและการกีดกันอื่นใด
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำ แต่ต้องมีเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด และ ***ปฏิบัติตาม กม. สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข***

3.
กฎกระทรวง 2560 >> โรงเบียร์ ต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ

4.
กฎกระทรวง 2560 >> โรงเบียร์ ต้องมีกำลังผลิตขั้นต่ำ 10 ล้านลิตรต่อปี
พรบ. สุราก้าวหน้า >> ห้ามกำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำและการกีดกันอื่นใด
กฎกระทรวง 2565 >> ไม่กำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำ ***แต่ต้องมีสายการผลิตที่ติดตั้งระบบพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษี และผ่านความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม***

สถาบันยานยนต์ ผนึก เกาหลี ร่วมเทสต์แบตเตอรี่รถอีวี เสริมศักยภาพการทดสอบแบตฯ รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศ

สถาบันยานยนต์ ร่วมมือ เกาหลี พัฒนาการทดสอบแบตฯ ยานยนต์ไฟฟ้า เสริมศักยภาพการทดสอบของประเทศไทย

เมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2565 สถาบันยานยนต์ (สยย.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOC (Memorandum Of Cooperation) ด้านการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ร่วมกับ Korea Conformity Laboratories (KCL) ประเทศเกาหลีใต้ ณ ห้องประชุม 301 สถาบันยานยนต์ สำนักงานกล้วยน้ำไท

โดย นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ และ นายคิม แจฮง (Mr. Kim 
Jae Hong) ประธานของ KCL เป็นผู้ลงนามความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ เทคโนโลยีด้านการทดสอบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมินผลการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนามาตรฐานการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และประเทศเกาหลีใต้ ให้เดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ดาวกระจาย!! ค่ายรถ EV จีน สะเทือนบัลลังก์ ‘ญี่ปุ่น-ตะวันตก’

ค่ายรถยนต์จีนกำลังบุกตลาดโลกต่อเนื่อง หวังต่อกรกับแบรนด์ดังจากค่ายรถยนต์ยุโรป รวมถึงกระโดดเข้ามากวาดตลาดที่กำลังเติบโตอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบไม่หยุด

ในประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในหมุดหมายของค่ายรถยนต์จีน และพร้อมเข้ามากระชากส่วนแบ่งออกจากอกค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ที่เดิมครองตำแหน่งเบอร์ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาดถึง 80% มาช้านาน 

โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดจีนค่ายดังอย่าง BYD  ประกาศที่จะสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้าสาขาต่างประเทศแห่งแรกของบริษัทที่ไทย โดยเลือกที่ทำเลที่จังหวัดระยองในการสร้างโรงงาน เพื่อผลิตรถยนต์ป้อนตลาดในอาเซียน 

ด้าน Great Wall Motor ค่ายรถยนต์จากจีนอีกแห่ง ที่มาเปิดโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ในระยองเช่นกันก็เพิ่งบรรลุเป้าหมายผลิตรถยนต์คันที่ 1 หมื่นได้สำเร็จ ส่วน Hozon New Energy ค่ายรถยนต์จากเซี่ยงไฮ้ขอชิมลางด้วยการเปิดโชว์รูมแห่งแรกในไทยที่เซ็นทรัล พระราม 2

ไม่เพียงแต่ค่ายรถที่เข้ามาเปิดโชว์รูม หรือสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในไทยเท่านั้น!! 

ในตลาดเมืองไทยเอง ก็ยังมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาจำหน่ายด้วย โดยปัจจุบันมียอดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากตัวเลขล่าสุดพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2565 ไทยนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนแล้วถึง 59,375 คัน ยอดเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 176% และทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของตลาดส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน รองจากเบลเยียม และอังกฤษ

สาเหตุที่ตลาดรถยนต์ของไทยเป็นที่ดึงดูดใจของค่ายรถยนต์จากจีน สืบเนื่องจากที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลกจนได้รับสมญาว่าเป็น ‘ดีทรอยต์แห่งเอเชีย’ 

นอกจากนี้ ไทยยังเป็นชาติแรกในภูมิภาคนี้ที่รัฐบาลอนุมัติเงินสนับสนุนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงเงินตั้งแต่ 15,000 - 180,000 บาท รวมกับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแล้ว รวมมูลค่าสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท เพื่อกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้นทดแทนรถยนต์น้ำมัน 

ในภาคการผลิต รัฐบาลไทยยังให้ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจนถึงสิ้นปี 2023 แลกกับการที่บริษัทรถยนต์จีนจะมาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไปโดยมีเป้าหมายว่า 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้ไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก และดึงดูดค่ายรถยนต์อื่นๆ นอกจากจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สอดคล้องกับกระแสการขับเคลื่อนสู่สังคมปลอดคาร์บอนที่เป็นวาระของโลก คาดการณ์ว่าไทยจะมีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 2.7 ล้านคันภายในปี พ.ศ. 2583


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top