Monday, 7 July 2025
ค้นหา พบ 49241 ที่เกี่ยวข้อง

'ย้ง ทรงยศ' ประกาศยุติทุกบทบาท ‘นาดาว’ ชี้ ถึงเวลาแยกย้าย ปล่อยทุกคนเป็นอิสระ

หลังมีข่าวลือมาพักหนึ่งแล้วว่า บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด กำลังจะปิดค่าย ล่าสุด ‘ย้ง ทรงยศ’ ร่อนหนังสือประกาศยุติบทบาทของบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยทางด้านของ "ย้ง ทรงยศ สุขมากอนันต์" ผู้กำกับดังหนึ่งในผู้บริหารได้ออกหนังสือเผยว่า เรื่องนี้มีการพูดคุยนานแล้วและการยุติบทบาทครั้งนี้ก็เพื่อให้แต่ละคนได้เติบโตในสิ่งที่แต่ละคนต้องการ โดยเนื้อหาในหนังสือระบุว่า

“นาดาว บางกอก ขอแจ้งให้ทราบว่าทางบริษัทจะยุติบทบาทการเป็นบริษัทพัฒนาและดูแลศิลปิน รวมถึงการเป็นผู้ผลิตซีรีส์ ละคร หรือผลงานเพลงต่าง ๆ ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้

"ตลอดระยะเวลา 12 ปีของ นาดาว บางกอก หน้าที่หลักของพวกเราคือ การพัฒนาและดูแลศิลปิน โดยมีความตั้งใจในการค้นหา พัฒนา และดูแลให้เกิด นักแสดง หรือศิลปิน ที่มีความสามารถ มีคุณภาพในทุกด้านเพื่อที่จะเป็นทางเลือกใหม่ ๆ และสร้างความหลากหลายให้อุตสาหกรรมบันเทิงไทย"

"โดยมีงานเสริมที่ตามมา คือ การผลิตซีรีส์ ละคร และผลงานเพลง ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อสร้างงาน และสร้างโอกาสให้นักแสดง หรือศิลปินในสังกัดได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเป็นพื้นที่ฝึกฝนฝีมือ และประสบการณ์ ในส่วนนี้ทำให้เราได้มีโอกาสสร้างคนทำงานเบื้องหลังรุ่นใหม่ ๆ ตามมาด้วย"

"พวกเราชาว นาดาว บางกอก รู้สึกขอบคุณ พี่ ๆ น้อง ๆ ในอุตสาหกรรมบันเทิง ผู้ใหญ่ที่เคารพทุกท่าน พาร์ตเนอร์ที่คอยสนับสนุน และอยู่เคียงข้างเรามาตลอด พี่ ๆ น้อง ๆ สื่อมวลชนที่ให้โอกาสศิลปิน นักแสดง และผลงาน นาดาว บางกอก ได้มีพื้นที่แนะนำตัว และประชาสัมพันธ์ รวมถึงแฟน ๆ ทุกคนที่ติดตาม และให้การสนับสนุนศิลปิน และผลงานนาดาวเสมอมา เราคงไม่สามารถดำเนินการมาจนถึงปีที่ 12 โดยขาดการสนับสนุนจากทุกคน"

ว่าด้วย...กำลังทหารของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น

หลังจากการเยือนราชอาณาจักรไทยของนายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ก็มีคนไทยบางคนอ่านข่าวไม่ทันจบหรือไม่ทันได้ทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ได้ออกมาโวยว่า...

ครั้งนี้รัฐบาลไทยไปทำความตกลงกับญี่ปุ่นสารพัดเรื่อง ทั้งๆ ที่การทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน รัฐบาลไทยจึงจะไปทำความตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศได้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประเด็นหารือจึงใช้คำว่า ‘การเสริมสร้าง’

รัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490

โดยเฉพาะเรื่องของความมั่นคง ที่รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ตามหมวด 2 (ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่น) ‘การสละสิทธิ์สงคราม’ มาตรา 9 ซึ่งได้ระบุเอาไว้ว่า...ความมุ่งประสงค์อย่างแท้จริงในสันติภาพระหว่างชาติ โดยมีความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ชนชาวญี่ปุ่นยอมสละจากสงครามไปตลอดกาลนาน ซึ่งให้ถือเป็นสิทธิสูงสุดแห่งชาติ ทั้งสละจากการคุกคามหรือการใช้กำลังเพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างชาติ เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ในวรรคก่อน...จะไม่มีการธำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ กับทั้งศักยภาพอื่นๆ ในทางสงคราม รวมถึงไม่มีการรับรองสิทธิในการเป็นพันธมิตรในสงคราม

ชาวญี่ปุ่นเพียง 27% เห็นด้วยกับการแก้มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญ ยินยอมให้ญี่ปุ่นกลับมามีกองทัพอย่างเป็นทางการ และสามารถประกาศสงครามได้ โดยมีผู้ไม่เห็นด้วยถึง 67%

มาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น เป็นบทในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นที่ห้ามพฤติการณ์แห่งสงครามโดยรัฐ รัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในข้อความนี้ รัฐสละสิทธิอธิปไตยในสงครามและห้ามการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศผ่านการใช้กำลัง มาตรานี้ยังแถลงว่า เพื่อบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้ จะไม่มีการธำรงกองทัพที่มีศักย์สงคราม แต่ญี่ปุ่นยังคงธำรงกองทัพอยู่โดยพฤตินัยนั้น คือ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้นได้หลีกเลี่ยงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยได้อนุมัติการตีความ มาตรา 9 ซึ่งรัฐธรรมนูญอันสละสิทธิ์สงครามขึ้นใหม่

รัฐธรรมนูญ (ฉบับใหม่) ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ร่างขึ้นภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตรให้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และตั้งใจแทนที่ ‘ระบบแสนยนิยม’ (Militarism: แนวคิดนิยมทหาร) และสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิมของประเทศญี่ปุ่นด้วยประชาธิปไตยเสรีนิยมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขได้ยากมาก จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ นับแต่มีมติเห็นชอบ

แม้ว่าในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติการตีความ มาตรา 9 ซึ่งรัฐธรรมนูญอันสละสิทธิ์สงครามใหม่ ที่อาจสร้างความกังวลและความไม่เห็นด้วยจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอนุญาตให้ใช้กำลังทหารเพื่อโจมตีประเทศอื่นและเข้าสู่สงคราม รวมถึงการใช้กำลังทหารเพื่อการนี้ถูกพิจารณาว่ามิชอบด้วยกฎหมายและเป็นอันตรายร้ายแรงต่อประชาธิปไตยของญี่ปุ่น

แต่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้หลีกเลี่ยงกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลวิวัฒต่อความหมายของหลักการมูลฐานในรัฐธรรมนูญโดยคำสั่งของคณะรัฐมนตรี โดยปราศจากการอภิปรายหรือลงมติของสภาไดเอต (สภาผู้แทนราษฎร) และยังไม่ได้ผ่านประชามติความเห็นชอบจากสาธารณะเลย

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defend Force : JSDF หรือ JSF หรือ SDF) 

กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (Japan Self Defense Force : JSDF หรือ JSF หรือ SDF) เป็นกำลังทหารของญี่ปุ่นซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงเพื่อแทนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ถูกยุบเลิก และฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ามาทำการยึดครองญี่ปุ่นในช่วงหลังสงคราม

โดยกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นถูกใช้งานในเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศอธิปไตยชาติเพียงอย่างเดียวและไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่ถือว่า เป็นการป้องกันตนเองภายในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจมีภารกิจในต่างประเทศอาทิ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นขณะสวนสนาม

แต่ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นใหม่ และสรุปได้ว่า ญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารสังกัดกองกำลังป้องกันตนเองไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้ (Collective Self Defense) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งชาติใดจากการถูกรุกรานได้ และญี่ปุ่นจะสามารถส่งกำลังทหารไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่ถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของญี่ปุ่นและไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตของชาวญี่ปุ่น

แม้จะผลิตเองจะต้องจ่ายแพงกว่าการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ แต่ญี่ปุ่นก็เต็มใจจ่าย

ในด้านการพัฒนาอาวุธ รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นได้กำหนดห้ามการพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ขณะที่การห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์นั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเมื่อปี พ.ศ. 2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎห้ามส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยสามารถส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ และสามารถมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ กับนานาชาติได้ แต่ญี่ปุ่นจะไม่ส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ประเทศที่ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง หรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ

‘จีน’ แฉ!! ทุน NED ปั้นชาติ ปชต.จอมปลอม ก่อเหตุจลาจล เพื่อหนุนประโยชน์ให้มะกัน

เค้าลางการปะทะทางการทูตและเศรษฐกิจ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ดูจะระอุมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ ปักหมุดรุกคืบในเอเชีย-แปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง เพื่อพุ่งเป้าปิดล้อมจีน รวมถึงโดดเดี่ยวรัสเซียอย่างออกนอกหน้าไม่ปิดบัง 

อย่างไรก็ตามทางการจีนได้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและการทหาร โดยไม่ยอมเป็นฝ่ายถูกกระทำแต่ฝ่ายเดียว ผ่านท่าทีของเจ้าหน้าที่จีน และคำพูดของผู้นำที่ยกระดับเข้มข้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศจีนได้เผยแพร่รายงานเปิดโปงพฤติกรรมบ่อนเซาะ แทรกแซงของสหรัฐฯ ในโลกอย่างหมดเปลือกว่า แผนการร้ายทำลายประเทศอื่นๆ นั้นผ่านเข้ามาในฉากหน้าของประชาธิปไตยโดยหน่วยงานเอ็นจีโอหลักที่เรียกว่า NED 

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 65 สำนักข่าวโกลบอลไทมส์ รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยรายงาน การบริจาคเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ โดยองค์กร NED ของสหรัฐ หรือ The National Endowment for Democracy ซึ่งมีสถานะหนึ่งเหมือน ‘ทหารราบ’, ‘ถุงมือขาว’ และ ‘ครูเสดประชาธิปไตย’ ของรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลังการจลาจลแบ่งแยกดินแดน การปฏิวัติสี และวิกฤตทางการเมืองทั่วโลก โดยเอกสารข้อเท็จจริงที่เผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศจีน เมื่อวันเสาร์ที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า... 

รัฐบาลหุ่นเชิดในประเทศต่างๆ และการปลูกฝังกองกำลังหุ่นเชิดที่สนับสนุนสหรัฐฯ เกิดขึ้นภายใต้ข้ออ้างว่าส่งเสริมประชาธิปไตย

ประเทศจีนเป็นเป้าหมายหลักของกิจกรรมการแทรกซึมและการโค่นล้มของ NED มานานแล้ว NED ลงทุนมหาศาลในโครงการต่อต้านจีนที่มุ่งแบ่งเขตซินเจียง ทิเบต และฮ่องกงออกจากจีน 

อย่างไรก็ตาม จะสังเกตได้ว่าความพยายามใดๆ ที่จะเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ในนามของประชาธิปไตยนั้น ล้วนไม่เป็นที่นิยม และในที่สุดก็ประสบกับภาวะที่ล้มเหลว เฉกเช่นกรณีที่ฮ่องกง

ในรายงานดังกล่าว ยังระบุอีกว่า สหรัฐฯ ใช้ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือและอาวุธมานานแล้ว เพื่อบ่อนทำลายประชาธิปไตยในนามของประชาธิปไตยจอมปลอม ยุยงให้เกิดความแตกแยกและการเผชิญหน้า และเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายตามมา คือ NED ได้ล้มล้างรัฐบาลที่ถูกกฎหมาย และปลูกฝังกองกำลังหุ่นเชิดของสหรัฐฯ ทั่วโลกภายใต้ข้ออ้างในการส่งเสริมประชาธิปไตย

“ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ทัพเรือภาคที่ 3 ร่วมกับจังหวัดกระบี่ และหน่วยงานต่างๆ บูรณาการฝึกซ้อมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล”

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น. ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ 3 ร่วมกับจังหวัดกระบี่ และหน่วยงานต่างๆ บูรณาการฝึกซ้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล ณ บริเวณหน้าหาดอ่าวนาง (ลานประติมากรรมปลาใบ) ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ โดยมี พลเรือโท ก้องเกียรติ สัจวุฒิ รองเสนาธิการทหารเรือ / รองเสนาธิการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ และพลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ / หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ นายกิตติพนธ์ วุฒิวงศ์ หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ร่วมชมการสาธิตในครั้งนี้

กก.ชายแดนไทย - กัมพูชา ประชุม RBC ครั้งที่ 28 พัฒนาความร่วมมือ เพื่อความผาสุกประชาชนทั้งสองประเทศ

วันนี้ (10 พ.ค.) การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 28 ระหว่างกองทัพภาคที่ 1 กับภูมิภาคทหารที่ 5 หรือ RBC - 28 ณ สถานที่พักฟื้นและพักผ่อนกองทัพบก สวนสนประดิพัทธ์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพลโท สุขสรรค์ หนองบัวล่าง แม่ทัพภาคที่ 1 ฝ่ายไทย และพลเอก แอก ซอมโอน รองผู้บัญชาการทหารบกผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ 5 ฝ่ายกัมพูชา เป็นประธานร่วม มีนายปริญญาโพธิสัตย์ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วคณะกรรมการคณะทำงานทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม

ในการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหา ทบทวนถึงความก้าวหน้า และพัฒนาการในด้านต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนส่งเสริมความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนเสริมสร้างความเจริญด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ

ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันได้แก่ ความร่วมมือทวิภาคี ความร่วมมือการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก การสกัดกั้นการลักลอบสร้างสิ่งก่อสร้างที่ผิดกฎหมาย และการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงตามแนวลำคลองบริเวณชายแดน ไทย - กัมพูชา การประสานงานเรื่องปราบปรามการลักลอบตัดไม้ การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย การกระทำผิดตามแนวชายแดน ปัญหายาเสพติด การลักลอบนำเข้าข้าวเปลือก การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติ โครงการร่วมมือเก็บกู้ทุ่นระเบิดตามแนวชายแดน การจัดกิจกรรม การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม และกีฬา ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการแพทย์ทหารระหว่างกองทัพ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top