Monday, 7 July 2025
ค้นหา พบ 49241 ที่เกี่ยวข้อง

'คนใกล้ชิดธนาธร' อัดกองทัพทำเรื่องบ้าบอกรณีลาซาด้า เพียงเพื่อความมั่นคงในตำแหน่งของตัวเอง

(10 พ.ค. 65) ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน คนใกล้ชิดนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thanapol Eawsakul ว่าเห็นกองทัพทำอะไรบ้าๆ บอๆ เกี่ยวกับลาซาด้าแล้ว ชี้ชัดว่าสิ่งที่กองทัพทำนั้นไม่ได้เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชนแต่อย่างใด

แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นการแสดงเพื่อความมั่นคงในตำแหน่งของตัวเองเท่านั้น

'มาครง' ชี้!! อีกหลายสิบปียูเครนถึงจะได้เข้าสหภาพยุโรป แนะตั้ง 'ประชาคมการเมืองยุโรป' รับรองแทนอียู

เมื่อวันจันทร์ (9 พ.ค.) ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ระบุว่า คงต้องใช้เวลา "นานหลายทศวรรษ" สำหรับผู้สมัครหนึ่งๆ อย่างเช่นยูเครน จะได้เข้าร่วมสหภาพยุโรป ดังนั้นแนะนำให้จัดตั้งประชาคมทางการเมืองที่ครอบคลุมและมีขอบเขตนอกเหนือจากกลุ่มอียูขึ้นมา ในนั้นอาจรวมถึงสหราชอาณาจักร

แนวคิดนี้ได้รับการขานรับในแง่บวกทันทีจาก โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ซึ่งระบุว่ามันเป็น "คำแนะนำที่น่าสนใจ" และบอกว่าเขา "มีความยินดียิ่ง" ที่จะหารือในเรื่องนี้กับผู้นำฝรั่งเศส

ยูเครน ซึ่งกำลังต่อสู้ต้านทานการรุกรานกับรัสเซีย กำลังหาทางเป็นสมาชิกอียู และทางคณะกรรมาธิการยุโรปบอกว่าจะตอบกลับคำร้องขอในเดือนหน้า ก้าวย่างสำคัญก่อนนำประเด็นนี้สู่การพิจารณาของบรรดารัฐสมาชิกต่อไป

อย่างไรก็ตาม มาครง กลบฝังความหวังของยูเครนในการรับเป็นสมาชิกอียูอย่างรวดเร็ว และแนะนำว่าการพิจารณาสร้างชมรมทางการเมืองนอกเหนืออียูอาจมีประสิทธิผลมากกว่า

"ผมขอพูดเรื่องนี้ด้วยความจริงใจ ด้วยความสัตย์จริงที่เรามีต่อชาวยูเครน" มาครงกล่าว "เราสามารถมีกระบวนการที่รวดเร็ว ในการตอบรับสถานะรัฐผู้สมัครของยูเครน แต่เรารู้ว่าด้วยมาตรฐานและบรรทัดฐานของเรา บางทีมันอาจใช้เวลาหลายทศวรรษสำหรับยูเครน ในการได้เข้าร่วมสหภาพยุโรปจริงๆ"

อย่างไรก็ตาม มาครง เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ยุโรปต้องความสำคัญกับยูเครนและผู้หวังเป็นสมาชิกอียูรายอื่นๆ อย่างเช่นมอลโดวาและจอร์เจีย โดยเขาเรียกร้องให้จัดตั้ง "ประชาคมการเมืองยุโรป" ขึ้นมา

มาครงกล่าวระหว่างต้อนรับการมาเยือนของโชลซ์ ว่าสหราชอาณาจักรก็อาจเข้าร่วมในประชาคมนี้เช่นกัน "สหราชอาณาจักรตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป แต่พวกเขาอาจมีที่ว่างในประชาคมทางการเมืองนี้"

‘ตระกูลมาร์กอส’ หวนกลับครองอำนาจอีกครั้ง หลัง ‘บองบอง’ คว้าชัยเลือกตั้งผู้นำฟิลิปปินส์ถล่มทลาย

เป็นไปตามคาด นายมาร์กอส จูเนียร์ หรือ บองบอง บุตรชายของอดีตผู้นำเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์อย่างถล่มทลาย พาตระกูลมาร์กอส กลับขึ้นมาครองอำนาจอีกครั้ง

เจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งฟิลิปปินส์ แถลงว่า ฟิลิปปินส์เริ่มนับคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีทันที หลังหน่วยเลือกตั้งปิด โดยผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการหลังนับคะแนนได้แล้ว 2 ใน 3 พบว่า นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ บุตรชายของอดีตผู้นำเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มากอส ผู้ล่วงลับ มีคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งคนสำคัญเกินครึ่ง 

หน่วยเลือกตั้งปิดอย่างเป็นทางการในเวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่ยังต่อแถวรอหย่อนบัตรลงคะแนนได้จนหมด โดยชาวฟิลิปปินส์หลายล้านคนแห่หย่อนบัตรแน่นหน่วยเลือกตั้งเมื่อวันจันทร์ ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูงมากที่ตระกูลมาร์กอสจะกลับคืนสู่อำนาจ หลังเฟอร์ดินาน มาร์กอส ผู้พ่อ ถูกพลังประชาชนโค่นอำนาจเมื่อ 36 ปีก่อน 

ตั้งแต่ก่อนเช้ามืด ประชาชนที่ส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัย พากันมาต่อแถวยาวเพื่อรอหย่อนบัตรเลือกตั้งตามหน่วยเลือกตั้งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 70,000 แห่ง โดยมีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 10 คน ที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีโรดรโก ดูแตร์เต แต่มีเพียงมาร์กอส จูเนียร์ และเลนี โรเบรโด รองประธานาธิบดี คู่แข่งของเขาเท่านั้น ที่มีโอกาสเป็นผู้ชนะมากที่สุด

นอกจากเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว ฟิลิปปินส์ยังจัดการเลือกตั้งอีกประมาณ 18,000 ตำแหน่งในคราวเดียวกันนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นรองประธานาธิบดี, สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, นายกเทศมนตรี, ผู้ว่าการจังหวัด และสมาชิกสภาท้องถิ่น

ผลการสำรวจความคิดเห็น ปรากฏว่า มาร์กอส จูเนียร์ หรือ “บงบง” วัย 64 ปี มีคะแนนนิยมนำคู่แข่งคนอื่น ๆ มากกว่า 30 จุด ถือว่าสูงที่สุดในปีนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่า หากโรเบรโดจะเป็นผู้ชนะ เธอต้องได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นในช่วงสุดท้าย หรือไม่ก็มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์น้อย 

‘บิ๊กตู่’ เตรียมพบ ‘โจ ไบเดน’ ถกความร่วมมือในภูมิภาค ระหว่างร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม มีกำหนดพบ โจ ไบเดนและผู้แทนระดับสูงของสหรัฐฯ เตรียมผลักดันความร่วมมือการขับเคลื่อนการฟื้นฟู และการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค ระหว่างเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค.นี้

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565 ตามคำเชิญของ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 โดยการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 2 นี้ สหรัฐฯ เป็นฝ่ายเสนอจัดขึ้น โดยเสนอทาบทามมาตั้งแต่ปลายปี 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

วันนี้เมื่อ 211 ปีก่อน คือ วันถือกำเนิดของแฝดสยามคู่แรกของโลก

ย้อนไปเมื่อ 211 ปีก่อน ในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ฝาแฝดอิน-จัน ได้ถือกำเนิดในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีบิดาเป็นชาวจีนอพยพแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ชื่อ นายที มารดาเป็นคนไทยชื่อ นางนาก (บันทึกของชาวตะวันตกเรียกว่า นก (Nok)) ซึ่งฝาแฝดคู่นี้สามารถเติบโตและใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แตกต่างไปจากแฝดติดกันคู่อื่น ๆ ที่มักเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน 

เนื่องด้วยเกิดที่ประเทศสยาม แฝดอิน-จัน จึงได้รับการขนานนามว่า “แฝดสยาม (Siamese Twins)” ซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และยังเป็นคำเรียกฝาแฝดที่เกิดมามีตัวติดกันอีกด้วย 

โดยในปี พ.ศ. 2367 นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษ หรือที่คนไทยสมัยนั้นเรียกว่า "นายหันแตร" ได้พบแฝดคู่นี้กำลังว่ายน้ำเล่นอยู่ ด้วยความประหลาดและน่าสนใจ นายฮันเตอร์จึงคิดที่จะนำฝาแฝดคู่นี้ไปแสดงโชว์ตัวที่สหรัฐอเมริกา จึงเข้าทำความสนิทสนมกับครอบครัวของฝาแฝดอยู่นานนับปี จนพ่อแม่ของทั้งคู่ไว้วางใจ ในที่สุดนายอาเบล คอฟฟิน กัปตันเรือสินค้า เดอะ ชาเคม (The Sachem) ซึ่งขณะนั้นได้เข้ามาทำการค้าในประเทศไทย ได้เป็นผู้นำตัวคู่แฝดออกเดินทางจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2372 ขณะนั้นอิน-จัน อายุได้ 18 ปี จากนั้นเมื่อถึงอเมริกา คู่แฝดได้ออกเดินทางแสดงทั่วอเมริกาและยุโรปนานนับ 10 ปี 

กระทั่ง เมื่ออายุได้ 28 ปี ใน พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) ทั้งคู่ก็ได้ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านแทรปฮิลล์ (Traphill) เขตชานเมืองวิลส์โบโร (Wilkesboro) เคาน์ตีวิลส์ ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยลงทุนซื้อที่ดิน 11 เอเคอร์ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน โดยใช้ชื่อว่า เอ็ง-ชาง บังเกอร์ (Eng and Chang Bunker) พร้อมกับได้แต่งงานกับหญิงชาวอเมริกัน อินสมรสกับ Sarah Ann Yates (1822 - 1905) และจันสมรสกับ Adelaide Yates Bunker (1823 - 1917) และมีลูกด้วยกันหลายคน จัน 10 คน อิน 11 คน ซึ่งระหว่างที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น มีความพยายามหลายครั้งจากหลายบุคคลที่จะทำการผ่าตัดแยกร่างทั้งคู่ออกจากกัน แต่ท้ายที่สุดก็มิได้มีการดำเนินการจริง ๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top