Sunday, 27 April 2025
ค้นหา พบ 47686 ที่เกี่ยวข้อง

5 Facts About 'ม.112'

5 เรื่องที่อยากให้รู้ กับมาตรา 112 ที่ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ไปดูกัน !!
 

 

ถอดสมการ MV = PY กลยุทธ์ ‘ตก’ กำลังซื้อ เวอร์ชั่นรัฐ ใต้ไอเดีย ‘ทำมื้อนี้ให้ดีที่สุด’

ถูกด่าก่อนสอบสวน!! น่าจะเป็นตัวอธิบายความได้ดีที่สุดของโครงการคนละครึ่ง

.

แต่จนแล้วจนรอดโครงการดังกล่าวก็กลายเป็นการแก้ปัญหาที่ดูจะถูกจุดเกินคาดของภาครัฐ ที่งวดนี้ปล่อยหมัดฮุกเข้าตรงจุดไปยังกลุ่มคนฐานราก ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการหมุนวงล้อเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

.

แล้วตอนนี้ก็เข้าใจว่า ‘โครงการคนละครึ่ง’ น่าจะกำลังถูกเคาะต่อไปยาวๆ หลังจากกระทรวงการคลังพยายามจะเปิดโอกาสให้ ‘ทุกคน’ ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ทั้งหมดในระลอกใหม่ต้นปีหน้า

.

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า!!

.

อันที่จริงรัฐบาลไทยดูจะพยายามหากลยุทธ์ที่เหมาะกับเศรษฐกิจประเทศ โดยการใช้เงินให้ตรงจุด ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะเข้าเป้าบ้างไม่เข้าเป้าบ้าง

.

แต่ทราบหรือไม่ว่าทุกๆ เม็ดเงินที่ถูกใส่ลงไปในระบบโยบายเชิงประชานิยม ที่มักถูกวิจารณ์ว่าไร้สติ (แต่คนด่านี่แหละคนกดลงทะเบียนก่อนเพื่อน) เป็นการแก้ปัญหาแบบ ‘ทำมื้อนี้ให้ดีที่สุด’ (ขอยืมคำบาบีก้อนมาใช้หน่อย)

.

ไม่ว่าจะชิม ช้อป ใช้เอย / เราไม่ทิ้งกันเอย / การเพิ่มวงเงินเฉพาะให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเอย หรือแม้แต่ล่าสุดกับโครงการ ‘คนละครึ่ง’

.

แน่นอนว่าเวลาพูดถึงนโยบายเชิงเศรษฐกิจ ภาพมันก็ต้องกระทบวงกว้าง ต้องใหญ่ ต้องเปลี่ยนประเทศ แต่มันก็ไม่ใช่แบบนั้นทั้งหมด

.

ยิ่งคิดจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ถึงขั้น ส่งให้ ‘ไทยรวย’ แบบฉับพลันต ยิ่งไม่ง่าย เพราะไหนจะปัญหาภายในประเทศ การเมือง สังคม รวมถึงโรคระบาดอย่างโควิด-19 มันไม่ได้ง่าย

.

ฉะนั้นแนวคิดแบบ ‘ทำมื้อนี้ให้ดีที่สุดก่อน’ จึงไม่ใช่แค่เหมาะ แต่ต้องทำ เพราะผลลัพธ์ถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศจริงๆ

.

สังเกตุจากโครงการคนละครึ่ง ที่พอมีการเปิดให้ลงทะเบียนรอบ 2 ก็ลงกันสิทธิ์อย่างรวดเร็ว มียอดการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ไปแล้วถึง 13,764 ล้านบาท กระจายสู่ร้ายหาบเร่แผงลอยได้กว่า 650,000 แสนร้าน และรอบ 3 ก็ปิดดีลได้อย่างว่อง

.

อันที่จริง หากมองข้ามเรื่องการเมือง แล้วมาคุยเรื่องเบาๆ (เบาชิบหาย) ในเชิงเศรษฐศาสตร์

.

สิ่งที่พอสะเดาะให้เข้ากับกลยุทธ์ของโครงการคนละครึ่งนี้ มีความเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีปริมาณทางการเงินอย่างน่าสนใจ

.

โดยทฤษฎีดังกล่าว ถูกย่อยลงมาบนสมการหนึ่งที่เรียกว่า ‘MV = PY’

.

‘MV = PY’ คืออะไร? ไม่ต้องถาม เดี๋ยวจะบอกง่ายๆ เลย เพราะตอนแรกคนเขียนก็งง!! บนความรู้น้อยทางเศรษฐศาสตร์

.

อธิบายตามหลักการ ก็คือ สมการของการแลกเปลี่ยน

M = Money supply ปริมาณเงิน

V = Transaction velocity of money เงินมีการเปลี่ยนมือเร็วแค่ไหน

P = Price level ดัชนีราคาของสินค้าที่ซื้อขาย

Y = Real GDP ระดับผลผลิตที่แท้จริง

.

เป้าหมายของนโยบาย คือ V (Velocity) หรือต้องการให้ ‘เงินมีการเปลี่ยนมือเร็ว’ เพราะถ้า V เยอะจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวสูง จากเงินที่หมุนเป็นเฟืองต่อเฟือง

.

นั่นคือหลักเศรษฐศาสตร์!! ทีนี้มาลองนึกภาพตามแบบภาษาคนกันดูบ้าง

.

มีนักเศรษฐศาสตร์เปรียบเทียบให้เห็นนโยบายแบบ ‘คนละครึ่ง’ ว่าเหมือนกับเรามีถาดหมุนลูกบอลล็อตเตอรี่สักอัน

.

จากนั้นก็หยอดเหรียญเข้าไป 10 เหรียญ

.

ถ้าหมุน 10 รอบแบบเร็วๆ เราจะเห็นเหรียญที่หมุน ดูเยอะขึ้นๆ กว่า 10 เหรียญ

.

ทั้งๆ ที่เหรียญมีเพียง 10 เหรียญ แต่ทำไมแค่หมุนรอบ ทำให้เรามองเห็นว่าเงินมันดูเยอะขึ้น นั่นก็เพราะ ‘การหมุน’ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การที่เงินจากกระเป๋าหนึ่ง โยกไปหาอีกกระเป๋าหนึ่ง

.

มีตัวอย่างหนึ่งที่พอจะขยายภาพของการทำ V ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดเป็นผลลัพธ์ต่อนโยบายที่โยนออกไป นั่นก็คือ

.

...สมมุติแบงค์ชาติมีการพิมพ์ธนบัตร 100 บาทออกมา 1 ใบ

.

แล้วธนบัตรใบนั้น ได้เริ่มต้นไปอยู่ในมือของนาย A

.

Part 1

นาย A ยังไม่คิดจะใช้เงิน จึงเก็บเงินไว้ในกระเป๋าตัวเอง 10 บาท และเอาไปฝากธนาคารจำนวน 90 บาท

.

นาย B ไม่มีเงินแต่ต้องการใช้เงิน จึงไปยืมจากธนาคารที่นาย A ไปฝากมาจำนวน 90 บาท

.

จากนั้นนาย B เอาเงินไปซื้อของกับ นาย C ทำให้เงินจำนวน 90 บาทไปอยู่ที่นาย C

...เท่ากับขั้นตอนนี้มีการซื้อขายเกิดขึ้น คิดเป็น GDP = 90 บาท

.

Part 2

คราวนี้ลูปจะวันกลับมาใหม่!!

โดยเริ่มที่นาย C มีเงินอยู่ 90 บาท แต่เขายังไม่คิดจะใช้เงิน จึงเก็บเงินไว้ในกระเป๋าตัวเอง 10 บาท และเอาไปฝากธนาคาร 80 บาท (เหมือนกับนาย A)

.

นาย D ไม่มีเงิน แต่ต้องการใช้เงิน จึงไปยืมเงินจากธนาคารที่นาย C ไปฝากมาจำนวน 80 บาท

.

จากนั้นนาย D ก็ไปซื้อของกับ นาย E ทำให้เงินจำนวน 80 บาทไปอยู่ที่นาย E

...เท่ากับขั้นตอนนี้มีการซื้อขายเกิดขึ้น คิดเป็น GDP = 80 บาท

.

เมื่อนับไทม์ไลน์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจากแบงก์ชาติที่ให้เงินนาย A มา จนถึง GDP ของ Part1 ที่ 90 บาท + GDP ของ Part2 ที่ 80 บาท ได้ทำให้เกิด GDP รวมจาก ‘การหมุน’ ของเงิน 100 บาท เป็น 170 บาท

.

ทีนี้พอมาเทียบกับโครงการคนละครึ่งแล้ว เลยกลายเป็นว่าการใส่เงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจของรัฐ มีส่วนช่วยอย่างมากให้เหรียญแค่ 10 เหรียญถูกแกว่งจนกลายเป็นภาพเหรียญที่มากกว่า 10 จากการซื้อ ยืม และเก็บวนไปเรื่อยๆ

.

โดยการหมุนตรงนี้ มีดีที่โฟกัสไปยังการหมุนวนเม็ดเงินกันระหว่างกลุ่มประชาชนฐานรากและฐานกลาง ที่ไม่เอื้อต่อฐานใหญ่ ซึ่งทำให้เม็ดเงินอุดเป็นคอขวด

.

นี่จึงเป็นอีกสูตรการกระตุ้น GDP ที่ควรทำในจังหวะที่ ‘กำลังซื้อ’ ของประชาชน ‘ชะลอตัว’ คนไม่มีเงิน ก็กล้าใช้เงิน เพราะมีรัฐช่วยค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง

.

ขณะเดียวกันคนที่มีเงินอยู่แล้ว ก็อยากดึงเงินออกมาใช้ให้มากกว่าเดิม เช่น เคยซื้อสินค้า 1 ชิ้น ในราคา 300 บาท แต่โครงการคนละครึ่ง ทำให้เสียแค่ 150 บาท จึงรู้สึกว่าการนำเงินส่วนต่างอีก 150 บาทไปใช้ต่อ ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เป็นจิตวิทยาเพิ่มความกล้าในการใช้จ่ายเงินโดยไม่รู้ตัว

.

แต่กว่าจะมาถึงสูตรนี้ได้ อยากรู้นักว่าก่อนหน้านี้ ปล่อยให้ใครชี้เป้าเศรษฐศาสตร์ จนเศรษฐกิจแป้กไม่เลิก…

.

อ้างอิง: https://www.asquareschool.com/2015/08/02/mv-py/

ไม่มีไม่ใช่หว่อง...5 เอกลักษณ์หนังแบบฉบับหว่องกาไว

จะบอกว่าช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาล ‘หนังหว่อง’ ก็ไม่ผิดนัก เรากำลังพูดถึง หว่อง กาไว ผู้กำกับชาวเอเชียที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ซึ่งถ้าเป็นนักดูหนังสายแข็ง หรือนักศึกษาที่เรียนด้านภาพยนตร์ ชื่อผู้กำกับคนนี้ถือว่าขึ้นหิ้งในระดับยอดเซียน 

 

ด้วยสไตล์หนังที่มีแนวของตัวเองชัดเจน จึงเป็นที่มาของวลีคลาสสิก นั่นคือ “กระทำความหว่อง” วลีนี้ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ แต่เกิดจากสิ่งที่ผู้กำกับฯ ชาวฮ่องกงคนนี้ ถ่ายทอดเทคนิคและมุมมองการเล่าเรื่องออกมาครั้งแล้วครั้งเล่าจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาพยนตร์สไตล์หว่อง ซึ่งแฟนๆ มักให้คำนิยามว่า “รู้สึกเหงาเงียบงันราวกับปลูกป่าช้าไว้ในใจ”

 

ศิลปะแห่งความเดียวดายและบรรยากาศชวนหลงใหลที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ของหว่อง กาไว ยังคงเต็มไปด้วยเสน่ห์ที่ดึงดูดให้นักดูหนังรุ่นใหม่ๆ ให้เข้าไปสัมผัสโลกของหว่องอยู่เสมอ ล่าสุดโรงภาพยนตร์เมืองไทยได้มีการนำภาพยนตร์ระดับขึ้นหิ้งของผู้กำกับคนนี้มาจัดฉายไปจนปลายปี The States Times Lite จึงขอยกเอา 5 เอกลักษณ์ในภาพยนตร์ของหว่องกาไวที่ครองใจแฟนๆ มานานกว่า 2 ทศวรรษ มาบอกเล่า ถือว่าเป็นออเดิร์ฟก่อนไปดูหนังของเขากัน...

 

1) มีความวุ่นวายของฮ่องกงเป็นฉากหลัง

หว่องมักเลือกใช้ฮ่องกงในยุค ‘60s เป็นฉากหลัง เนื่องจากเป็นช่วงวัยเด็กที่เขาใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางห้วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะนับตั้งแต่เหมาเจ๋อตงได้เปลี่ยนการปกครองของจีนเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม ส่งผลให้ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่มาอาศัยอยู่ในฮ่องกงยังคงผูกพันกับบ้านเกิดเมืองนอน พวกเขาสร้างชุมชนของตนเองที่พูดภาษาถิ่น มีวัฒนธรรม พิธีกรรม มีการดูหนังฟังเพลงที่แตกต่างจากชาวฮ่องกง ซึ่งหว่องเติบโตมาในสภาพแวดล้อมแบบนั้น ซึ่งความทรงจำมีผลให้เขาอยากทำหนังที่เต็มไปด้วยบรรยากาศและห่วงอารมณ์แห่งการระลึกถึงบางสิ่งบางอย่าง  

 

2) ว่าด้วยเรื่องความเหงาและสัมพันธภาพที่ไม่มั่นคง

“แม้เวลาจะเยียวยาหลายสิ่งหลายอย่างได้ แต่หัวใจที่แตกสลายก็เป็นข้อยกเว้น” ประโยคเด็ดของหว่องที่แฟนหนังรู้จักกันดี เชื่อมโยงกับลักษณะการเล่าเรื่องราวของความรักความสัมพันธ์ที่ไม่สมหวัง การเก็บซ่อนความรู้สึก นำไปสู่อารมณ์เหงาเดียวดายที่แฟนๆ เรียกกันว่า “กระทำความหว่อง” แน่นอนว่าเป็นความรู้สึกสากลที่มนุษย์เชื่อมโยงเข้ากับความรู้สึกของตนเองได้ แต่เรื่องธรรมดาเช่นนี้เมื่อไปปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ของหว่อง เขากลับถ่ายทอดออกมาได้อย่างมีเสน่ห์ น่าค้นหา เป็นเรื่องเล่าที่มีทั้งความบันเทิงและความงดงามทางศิลปะ โดยเฉพาะฉากควันบุหรี่และแสงสลัวที่สื่อถึงความไม่ชัดเจนและความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคงของแต่ละตัวละคร

 

3) ตัวละครมีความทรงจำที่เชื่อมเข้าหากัน

ปกติภาพยนตร์ทั่วไปจะมีการแนะนำตัวละครเมื่อเริ่มเรื่อง แต่สำหรับผลงานสไตล์หว่อง ตัวละครส่วนใหญ่มักไม่มีที่มาที่ไป ดำเนินเรื่องด้วยการกระทำและบทสนทนาเลย ไม่ตัดสินว่าตัวละครใดคือตัวดี-ตัวร้าย มีความเป็นสีเทา มีความเป็นมนุษย์สูงมาก ผู้ชมจะได้รู้จักพื้นเพตัวละครจากการฟังบทสนทนาและติดตามดูการกระทำ ซึ่งแต่ละตัวละครมักจะมีปมบางอย่างซ่อนอยู่ มักเป็นเรื่องราวทางครอบครัว โดยมีค่านิยมบางอย่างของสังคมเป็นกรอบกำกับตัวละครไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ จารีต อาชีพ วัฒนธรรม ฯลฯ แต่เมื่อเรื่องดำเนินมาถึงจุดหนึ่งผู้ชมจะพาว่าเรื่องราวของตัวละครมักเชื่อมเข้าหากันอย่างกลมกลืน

 

4) เหลียง เฉาเหว่ย นักแสดงขาประจำ

นักแสดงนำชายชาวฮ่องกงที่แจ้งเกิดจากภาพยนตร์เรื่อง Days of Being Wild ของหว่องในปี 1991 นับตั้งแต่นั้นเขากลายเป็นชื่อนักแสดงขาประจำที่ต้องคู่กับภาพยนตร์ของผู้กำกับฯ คนนี้ สำหรับเรื่องที่สร้างชื่อเสียงที่สุดคือ In The Mood For Love ที่ทำให้เขาเป็นชาวฮ่องกงคนแรกที่ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ สำหรับภาพยนตร์ของหว่องที่เหลียง เฉาเหว่ย ร่วมแสดงและโด่งดังเป็นที่รู้จักมีดังนี้ Days Of Being Wild, Chungking Express, Happy Together, In The Mood For Love และ 2046

 

5) คริสโตเฟอร์ ดอยล์ ช่างภาพคู่บุญ

ผู้ที่อยู่เบื้องหลังภาพสวยๆ บรรยากาศเหงาๆ ก็คือ ‘คริสโตเฟอร์ ดอยล์’ เรียกได้ว่าเป็นผู้กำกับฯ ภาพคู่บุญที่หว่องไว้วางใจ ให้อิสระเต็มที่ในการควบคุมโทนภาพของภาพยนตร์แทบทุกเรื่อง จนหว่องเคยให้สัมภาษณ์ว่าเอกลักษณ์นี้ได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าไปแล้ว แต่อาจจะมีบางครั้งที่คิวของคริสโตเฟอร์ ดอยล์ ไม่ว่าง หว่องก็ได้หันไปใช้บริการตากล้องคนใหม่อย่าง หลี่ผิงปิง ซึ่งทำให้ภาพที่ออกมามีเนื้อหาอารมณ์ของภาพยนตร์ที่นำเสนอให้เห็นมุมมองใหม่ๆ แต่ยังไม่ทิ้งลายเซ็นเดิมไปเสียทีเดียว

 

หมายเหตุ: มงคลซีนีม่าจัดเทศกาล The World of Wong kar-Wai’s Retrospective นำภาพยนตร์เรื่องดังมาจัดฉายใหม่ในฉบับรีมาสเตอร์ 4K เริ่มมาตั้งแต่ 29 ตุลาคม จนถึงธันวาคมเดือนหน้า โดยเลือกเฟ้น 5 ภาพยนตร์ของผู้กำกับระดับตำนานมาฉายในโรงภาพยนตร์ House Samyan รวมถึงเครือ SF Cinema และ Major Cineplex มีกำหนดฉายดังนี้

 

IN THE MOOD FOR LOVE

กำหนดฉาย 29 ตุลาคม 2563

HAPPY TOGETHER

กำหนดฉาย 12 พฤศจิกายน 2563

FALLEN ANGELS

กำหนดฉาย 26 พฤศจิกายน 2563

2046

กำหนดฉาย 10 ธันวาคม 2563

CHUNGKING EXPRESS

กำหนดฉาย 24 ธันวาคม 2563

 

26 พฤศจิกายน...วันขนมเค้ก (แผลบๆ)

ถ้าพูดถึง ‘วันเกิด’ หรือวันพิเศษๆ ขึ้นมา มีขนมชนิดหนึ่งที่มักจะกลายเป็นพระเอกของงานอยู่เสมอ นั่นคือ ‘ขนมเค้ก’

 

ขนมเค้ก เป็นเมนูขนมหวานที่ผู้คนทั่วโลกต่างรู้จักและโปรดปราน หากย้อนเวลากลับไป มันถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรีกและอียิปต์โบราณโน่นแล้วล่ะ ขนมเค้กถูกปรุงขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา รวมถึงงานวัฒนธรรมในท้องถิ่นของผู้คนยุคก่อน

 

แรกเริ่มเดิมที ขนมเค้กหน้าตาคล้ายขนมปัง และมีรสหวานของน้ำผึ้งนำ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นวงกลม เพราะขึ้นรูปด้วยมือ แถมยังค่อนข้างจะมีน้ำหนัก มันมักถูกนำมาเสิร์ฟหลังจากจบมื้ออาหารหลักไปแล้ว

 

แม้จะเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลอง รวมไปถึงการมีวาระพิเศษต่างๆ แต่ในช่วงศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจทั้งโลกตกต่ำ ชาวอเมริกันหลายล้านคน ก็ได้อาศัยขนมเค้กเป็นหนึ่งในเมนูสำคัญ เนื่องจากเป็นอาหารที่หาได้ไม่ยาก และมีราคาถูก เมื่อเวลาผ่านไป ขนมชนิดนี้ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนทั้งโลก

 

วันนี้ถูกยกให้เป็น ’วันขนมเค้กโลก’ หลายสถานที่มีการเชิญชวนให้แต่ละครอบครัวทำขนมเค้กเพื่อเฉลิมฉลอง ถือเป็นวันพิเศษแบบเบาๆ แต่ก็อย่ากินเยอะเกินไปล่ะ เพราะน้ำหนักตัวจะไม่เบาตามเค้กเอานะ

 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top