Sunday, 27 April 2025
ค้นหา พบ 47686 ที่เกี่ยวข้อง

สสร. ใครกันล่ะเนี่ย?

ผลการลงมติ เมื่อวันที่ 17-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ก็ได้ออกมาแล้ว โดยทั้งสองญัตติที่ผ่านการลงมติล้วนเกี่ยวข้องกับการตั้งสสร. ซึ่งรายละเอียดต่างกันแค่ ‘จำนวน’ ของ สสร. เท่านั้น โดยญัตติแรก จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และญัตติที่ 2 จากพรรคร่วมรัฐบาล สสร. 200 คนมาจากการเลือกตั้ง 150 คน และแต่งตั้ง 50 คน  ว่าแต่ สสร.เป็นใครกันล่ะแล้วเคยมีเป็นครั้งแรกรึเปล่านะ ?

.

วันนี้ The States Times อยากจะพาไปย้อนดูกันสักหน่อยว่า สสร.เรามีมากี่ครั้ง แล้วเขาเหล่านี้มีบทบาทอะไรกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ?

.

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อยว่า ‘สสร.’ คืออะไร ?

‘สสร.’  หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ หน่วยงานที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแล้วเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งหน่วยงานนี้มักจะมีขึ้นตอนที่เรามีแต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วเราอยากจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรหรือต้องการประสานประโยชน์ ให้ตรงตามความต้องการทุกฝ่าย  จึงเกิดการตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาโดยจะปฏิบัติหน้าที่เพียงในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้นซึ่งในบ้านเราก็มีการจัดตั้ง สสร.มาแล้วทั้งหมด 4 ชุดด้วยกัน ได้แก่

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 1

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2) เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 ต่อสภา และให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 40 คน ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดแรกนี้ได้มีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 2

จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ร่างรัฐะรรมนูญและให้เป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติ และยังทำหน้าที่ในการคัดเลือกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกทั้งยังมีอำนาจที่จะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่ตนเองจัดทำด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 3

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 โดยชุดนี้มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ โดยกำหนดเวลาร่างภายใน 240 วัน นับแต่วันที่มีสมาชิกครบจำนวน โดยในการร่าง สสร. ต้องคำนึงถึงความเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และให้ สสร. กำหนดพื้นฐานที่จะพาไปสู่การปฏิรูปการเมืองโดยปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองขึ้นใหม่ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไว้ตลอดไป รัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดที่ 3 นี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540

.

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่ 4

จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มีหน้าที่ในร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 18) และต้องเสนอความเห็นพร้อมกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้วย เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน และการร่างรัฐธรรมนูญในชุดนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยการลงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งรัฐธรรมนูญของ สสร. ชุดนี้ได้ประกาศและบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

.

จะเห็นได้ว่าบ้านเรานั้นมีรัฐธรรมนูญที่ผ่านการร่างจาก ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ’หรือ สสร. มาแล้วทั้งหมด 4 ฉบับด้วยกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นที่ยอมรับของประชาชน จากการร่างบนพื้นฐานความเห็นของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญนอกจากจะเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญให้กับประชาชนทุกคนแล้วยังเป็นหน่วยงานที่ช่วยลดความร้อนระอุในการเมืองและประสานประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างแท้จริงอีกด้วย

คนเขาดูออก แบบนี้ต้องใช้กฎหมาย

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้กล่าวถึงสถานการณ์การชุมนุมว่า ทุกคนทราบเจตนาของแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งไม่ใช่การเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะถ้าจุดหมายคือประชาธิปไตยผู้ชุมนุมต้องมีความจริงใจในการทำอย่างไรให้มุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น

 

ซึ่งขณะนี้ทางด้านรัฐสภาเองก็ได้พิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทางผู้ชุมนุมก็ควรแสดงความเห็นตั้ง สสร. เพื่อจะได้ดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนผู้ชุมนุมไม่ได้สนใจในประเด็นสำคัญนี้ กลับมุ่งใช้ถ้อยคำหยาบคาย ก้าวล่วง จาบจ้วงสถาบัน ซึ่งประชาชนมองออกว่าเป็นจุดมุ่งหมายหลักของแกนนำผู้ชุมนุม

นายราเมศ ยังกล่าวต่อว่า “นี่คือสิ่งที่ทุกคนรับไม่ได้  นับวันยิ่งเหิมเกริม ทำสิ่งที่ไม่สมควร คนไทยไม่สามารถรับได้ การที่นายกรัฐมนตรีได้มีหลักในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด คือหลักการที่ถูกต้อง ต้องสนับสนุน เพราะการกระทำความผิดชัดเจน เข้าองค์ประกอบกฎหมาย ไม่มีทางอื่นใดเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการอย่างเฉียบขาด ผู้ชุมนุมควรยุติการกระทำต่างๆ ใช้สติปัญญาในการคิด อย่าคิดว่าประเทศนี้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง หรือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ประเทศเป็นของคนไทยทุกคน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือสิ่งที่คนไทยยึดมั่นตลอดระยะเวลาที่ผ่าน หากมีใครคิดมาทำลาย เชื่อว่าคนไทยไม่มีใครยอม ความคิดและการกระทำของผู้ชุมนุมที่แสดงออกมา เคยบอกไปแล้วว่าเราอยู่คนละข้างกัน เจ้าหน้าที่จึงต้องมีความจำเป็นที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นความวุ่นวายก็จะตามมา”

 

มาตรการเข้มจัดการฝุ่น PM 2.5

ช่วงเดือนสองเดือนนี้ วาระสำคัญที่อย่าเพิกเฉย หรือห้ามละเลย คือ ‘วาระแห่งฝุ่น’ เนื่องจากฝุ่น ไม่ได้หายไปไหน ฝุ่นยังอยู่กับเรา แม้ว่าเราจะไม่อยากอยู่กับฝุ่นก็ตามทีเถอะ  

 

ปลายสัปดาห์ก่อน กรุงเทพมหานครได้ประกาศมาตรการเข้มๆ ที่มีทั้งการป้องกัน และตัดตอน ปัญหาการเกิดฝุ่น PM 2.5 ในรอบเขตเมืองหลวง และปริมณฑล มาตรการไหนน่าสนใจบ้าง สรุปออกมาได้ดังนี้

สายโสด...สนไหม!! ททท. ปิ๊งไอเดียชวนคนโสดเที่ยว ‘สลัดคาน’

สายโสด...สนไหม!!

ททท. ปิ๊งไอเดียชวนคนโสดเที่ยว ‘สลัดคาน’

.

โอกาสทองของคนที่ Need เที่ยวไปด้วย แถมอาจฟลุ้กได้ ‘สลัดคาน’ ไปในตัวมาถึงแล้ว หลังนโยบายใหม่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปี 64 ได้ออกมาวางทริปเส้นทางท่องเที่ยว หรือแห่งท่องเที่ยวใหม่เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่ม

.

หนึ่งในแนวคิดของ ททท. เป็นการคลิกไอเดีย ‘เส้นทางท่องเที่ยวสละโสด’ ทั้งในเส้นทางเที่ยวบนเครื่องบิน หรือเส้นทางล่องเรือแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไปทำกิจกรรม เช่น ไหว้พระและทำบุญ

.

โดยเป้าหมายของแนวคิดนี้ เป็นการสร้างสัมพันธ์ใหม่ให้คนโสดได้เจอ ‘เนื้อคู่’ (รอลุ้นว่าจะออกมาหน้าตายังไง) เพื่อต้อนรับเดือนแห่งความรัก (ก.พ.)

.

อย่างในส่วนเส้นทางเรือนั้น เบื้องต้นได้หารือกับทางผู้ประกอบการเรือแล้ว และน่าจะนำร่องในเส้นทางนี้ได้ก่อนในช่วงต้นปีหน้า

.

ส่วนทางอากาศ ได้มีการดึง ‘การบินไทย’ เข้ามาช่วยทริปการไหว้ขอคู่ ซึ่งจะเป็นการไหว้บนเครื่องบินทั่วประเทศไทย ในทริปชื่อ ‘บินทั่วไทยได้มงคลทั่วทิศ’ ระยะที่ 2 (เคยทำมาแล้ว)

.

แต่ครั้งนี้อาจมีเพิ่มเติมนอกจากบินวนบนฟ้า เช่น การบินลงไปไหว้พระในวัดป่า หรือวัดสำคัญๆ ที่คนต้องการลงไปไหว้ขอพร โดยใช้เครื่องบินของการบินไทย แอร์บัสเอ 380

.

...อย่างไรเสียต้องขอย้ำว่าทริปนี้เป็นการ ‘เปิดให้คนโสด’ เท่านั้นที่จะขึ้นไปเที่ยวในเส้นทางที่จะแจ้งในอนาคต

.

นอกจากนี้โปรเจ็กต์พาเที่ยวของททท. ในปีหน้า (64) น่าจะยังมีอีกเพียบ ทั้งทริปเพื่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความชื่นชอบทางด้านอาหารทุกประเภท กลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานด้านดิจิทัล หรือ ดิจิทัล นอแมด กลุ่มเส้นทางศรัทธาทัวร์ กลุ่มที่ต้องการไปสถานที่เพิ่มพลังฟื้นฟูสุขภาพ หรือสมดุลในร่างกาย และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์

.

เรียกว่าแต่ละกลุ่มนั้นจะมีเส้นทางการท่องเที่ยวของตัวเอง ซึ่งถือเป็นสินค้าการท่องเที่ยวหนึ่งที่จะออกมาในปี 64 หวังดึงนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ กลุ่มชาวต่างชาติที่พำนักในไทย หรือ เอ็กซ์แพท และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเปิดให้เดินทางเข้ามาในปีหน้าไปในตัว

.

แต่เอาใกล้ๆ ตอนนี้ใครอยากเที่ยวและอยากสมหวังในความรักในเวลาเดียวกัน รอตามข่าวจากทางททท. ได้เป็นระยะๆ โลด...

.

ที่มารูป: https://www.lamarieeauxpiedsnus.com/en/real-weddings-en/un-mariage-aux-forges-de-paimpont-en-bretagne/

 

กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางเท่าไร?

เมื่อรายได้หลักหด...รายได้เสริมต้องมาให้ไว!!

.

ในปี 2562 บริษัท วัชรพล จำกัด เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มีรายได้รวม 1,706.03 ล้านบาท รายจ่ายรวม 1,722.93 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 36.04 ล้านบาท นับเป็นการขาดทุนเป็นปีแรก ภายหลังจากปี 2560 มีกำไรสุทธิ 603.79 ล้านบาท และปี 2561 มีกำไรสุทธิลดลงมา 313 ล้านบาท

.

ฉะนั้นจะเรียกว่ามาถูกทางหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ตอนนี้ไทยรัฐเองก็กำลังเตรียมโกทูธุรกิจใหม่ อย่างธุรกิจขนส่ง (Logistics) ที่กล้าพูดได้เลยว่า ธุรกิจจนส่งรุ่นพี่ๆ มีเสียวกันถ้วนหน้าแน่นวล...

.

เพราะ 'สปีดคาร์' คันเขียว ผู้เชี่ยวชาญการย่อระยะทางแบบว่า กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ขอแค่ 4 ชั่วโมงพอ น่าจะเป็นอีกทีเด็ดของธุรกิจสายขนส่งของกลุ่มสื่อหัวเขียว ก็เป็นได้ๆๆ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top