‘หมอธีระวัฒน์’ เผยรายงาน ‘วัคซีน mRNA’ ยิ่งฉีดมาก ประสิทธิภาพยิ่งลด ชี้ อาจเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ย้ำ!! ใครฉีดกระตุ้นแล้วไม่จำเป็นฉีดอีก

(17 ธ.ค. 66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงนี้ ว่า เรื่องการฉีดวัคซีนโควิดสำหรับคนทั่วไปที่มีการฉีดกระตุ้นมาก่อนแล้ว ณ ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นอีก

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม ว่า รายงานในวารสาร Science ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ธ.ค.2565 มีการอธิบายว่า เมื่อมีการฉีดวัคซีนชนิด mRNA มากขึ้น ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและการป้องกันอาการหนักจะยิ่งลดลงกว่าที่คิด และน่าจะอธิบายถึงว่าทำไมในยุคโอมิครอน จึงมีการติดซ้ำอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ ดังนี้

1.) จาก hybrid immune damping วัคซีนเมื่อฉีดไปแม้จะมากเข็มก็ตาม การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ทั้งแอนติบอดี ระบบบีและทีเซลล์ จะเป็นต่อสายพันธุ์บรรพบุรุษอู่ฮ้่น และเมื่อติดเชื้อโอมิครอนก็เป็นในลักษณะเช่นเดียวกัน (อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.science.org/doi/10.1126/science.abq1841?utm_campaign=SciMag&utm_source=Social&utm_medium=Twitter%20Hybrid%20immune%20damping )

2.) รายงานล่าสุด เมื่อได้รับวัคซีนมากขึ้น แอนติบอดีจะปรับเปลี่ยนเป็น IgG4 ซึ่งทำให้หน้าที่ในการฆ่าไวรัสด้อยลงเมื่อเทียบกับ IgG 1 และ 3 และ อาจอธิบายประสิทธิภาพที่ถูกจำกัดลง (อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.science.org/doi/10.1126/sciimmunol.ade2798)

“ยังเป็นไปได้ว่ายังมีระบบต่อสู้กับไวรัสที่ไม่ผ่านทางเส้นทางดังกล่าว ที่เป็นระบบนักฆ่า จาก innate immunity ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติมากกว่าที่ได้จากวัคซีน หมายความว่า ถ้าติดตามธรรมชาติและอาการไม่หนักและไม่เกิดภาวะลองโควิด ก็จะส่งผลดีได้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว และว่า จากการที่เบี่ยงเบนไปเป็น IgG4 และอาจเกี่ยวเนื่องไปถึงปรากฏการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นหลากหลาย และที่เราเห็นในโรคทางระบบประสาทและโรคทางสมองอีกหลายชนิด

3.) รายงานจาก รศ.พญ.ปารวี ชีวะอิสระกุล คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ใน วารสาร Nature Scientific report วันที่ 15 มกราคม 2023 พูดถึงวัคซีนหลังเข็ม 3 จะทำให้ T cell exhaustion หรือ T เซลล์ หมดแรง แม้ว่าแอนติบอดีจะขึ้นก็ตาม

ในคนที่ใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อมีถึง 24.4% ที่มีการติดเชื้อโดยไม่มีอาการใดๆ ทั้งสิ้น และผลของการติดเชื้อแม้ว่าไม่มีอาการ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเหมือนคนที่ติดเชื้อ

แต่จุดใหญ่สำคัญในรายงานนี้ก็คือ เมื่อพิจารณาถึงการตอบสนองในระบบทีเซลล์ T cell ซึ่งเป็นตัวสำคัญในระบบความจำและเป็นระบบเพชฌฆาตนักฆ่า การฉีดวัคซีนหลายเข็ม และเมื่อมีการติดเชื้อกลับทำให้ทีเซลล์หมดแรง เรียกว่า T cell exhaustion (https://www.nature.com/articles/s41598-023-28101-5)

ข้อมูลการศึกษาของรัฐบาลออสเตรเลียเอง ในสัตว์ทดลองจากการฉีดวัคซีน mRNA เข้าที่กล้ามเนื้อและดูการกระจายตัวของวัคซีนจากการติดตามตัวด้วย radioactive particle ซึ่งเป็นมาตรฐานในการศึกษาทั่วไป ทำในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 และข้อมูลไม่มีการเปิดเผยจนกระทั่งในปี 2023 ตามกฏหมายที่ต้องมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลทุกชิ้นจึงทำให้ทราบความจริง

การศึกษาพบว่า แม้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อก็ตาม จะแทรกซึมเข้าไปในกระแสเลือดและเข้าไปในทุกส่วนของร่างกาย หมายความว่า ตัววัคซีนนั้นจะเข้าไปกำหนดให้เซลล์ในอวัยวะต่างๆ ผลิตโปรตีนหนามขึ้นมา และหมายความว่าจะสามารถอยู่ในร่างกายได้นานกว่าข้อมูลที่เราได้รับทราบแต่ต้นว่าวัคซีนจะอยู่เฉพาะที่กล้ามเนื้อที่แขนตรงตำแหน่งที่ฉีดเท่านั้นและจะสลายหายไปภายในสองถึงสามวัน

ความจริงดังกล่าวได้รับการยืนยันจากการติดตามผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ และรายงานในปี 2023 โดยพบว่าจะมีวัคซีนล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดได้นานอย่างน้อย 28 วันด้วยกัน และอาจจะเป็นเครื่องอธิบายได้ว่า ทำไมผลแทรกซ้อนของวัคซีนซึ่งดูเหมือนว่าตามรายงานว่าจะไม่มากก็ตาม แต่สามารถเกิดขึ้นได้ และยังเกิดได้ในระยะเวลาที่ห่างจากการฉีดได้เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนก็ได้ (จากผู้ป่วยที่เราได้รับและพิสูจน์ว่ามีส่วนของวัคซีนจริงในอวัยวะสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง) [https://youtu.be/fVNFFtmb9gA 
Vaccine encephalitis and myocarditis
]

รายงานผู้เสียชีวิต 21 วัน หลังจากได้รับ mRNA วัคซีนซึ่งเป็นเข็มที่สาม ด้วยอาการสมองอักเสบและหัวใจอักเสบ ครอบครัวเรียกร้องให้มีการตรวจสอบพิสูจน์ การพิสูจน์ศพ พบโปรตีนหนาม spike ในสมองและเนื้อเยื่อหัวใจ และการอักเสบ โดยไม่พบโปรตีนอื่นของโควิด nucleocapsid protein (NP) ซึ่งเป็นการยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโควิดเพราะถ้าเกิดจากการติดเชื้อจะต้องพบ NP ด้วย

การเกิดในสักษณะเช่นนี้ พวกเราที่ดูผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ต้องถามประวัติเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อและรวมทั้งประวัติการได้รับวัคซีนด้วย ทั้งนี้อาจจะมีการรักษาได้ทันท่วงที (https://www.mdpi.com/2076-393X/10/10/1651)

ดังนั้น การฉีดวัคซีน mRNA ต้องประเมินความเสี่ยงของหัวใจอักเสบ ถึงแม้เข้าใจว่าเกิดไม่มาก แต่ถ้าเกิดแล้วความรุนแรงอาจสูง

รายงานจากคณะแพทย์เยอรมัน ทางพยาธิวิทยาที่มีชื่อเสียง พิสูจน์จากการตรวจศพ ของผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA และเสียชีวิตเฉียบพลัน ภายใน 7 วัน จำนวน 25 ราย อายุ 45 -75 ปี โดยแสดงความผิดปกติในกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจ มีการอักเสบเป็นหย่อมๆ และทำให้สามารถสรุปได้ว่าทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติ รายงานวันที่ 27 พฤศจิกายน 2022 [Clinical research in cardiology (Springer verlag)]

ทั้งนี้ ตัวเลขจริงอาจจะมากกว่าที่ประเมิน และความรุนแรงของกล้ามเนื่อหัวใจอักเสบอาจจะมากกว่าที่เคยคิดหรือไม่ เนื่องจากการรายงานทั่วโลกเป็น retrospective แบบย้อนหลัง และมักตัดประเด็นเฉียบพลันออก โดยลักษณะของอาการเช่นนี้ เป็น sudden death คือหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน จากกระแสไฟฟ้าผิดปกติ ไม่ใช่หัวใจวาย ทujพอมีเวลาและมีอาการให้เห็นก่อน

ผลแทรกซ้อนของวัคซีนจากความเป็นไปได้ จะเพ่งเล็งประเด็นที่ (1) และ (2) โดยอาจมองข้าม (3)

1.) เรื่องเส้นเลือดในหัวใจตัน หรือ
2.) ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั่วไป คือหัวใจวาย แต่ในกรณีนี้
3.) เป็นกระจุกของเซลล์อักเสบที่อยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจและเยี่อหุ้มหัวใจ ที่ไปขัดขวางเส้นใยประสาทนำไฟฟ้าของหัวใจ ทำให้หยุดเต้นกระทันหัน และถ้ากระตุ้นหัวใจ ขึ้นมาได้ จะตามต่อด้วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั่วไป ทำให้หัวใจบีบตัวไม่ไหวตามด้วยหัวใจวาย

ศึกษาได้จาก VDO ซึ่งอธิบายรายละเอียดของรายงานชิ้นนี้ และ เอกสารตัวจริง และแสดงเนื้อเยื่อหัวใจที่มีการอักเสบเป็นหย่อมกระจุก
- https://youtu.be/j_DdSMn55cA
- https://link.springer.com/article/10.1007/s00392-022-02129-5#Sec3
- https://link.springer.com/article/10.1007/s00392-022-02129-5#Tab2

นอกจากนั้น มีการเปิดเผยผลข้างเคียงรุนแรงจากวัคซีน mRNA ในเดือนกันยายน 2022 ในวารสาร vaccine ทั้งนี้เป็นข้อมูลจริงที่ได้ระหว่างมีการดำเนินการศึกษาเฟสที่สามในมนุษย์ แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยมาก่อน

ผู้ศึกษาและวิจัยได้เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสอย่างชัดเจนและต้องประเมินประโยชน์และผลข้างเคียงรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งนี้โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดซึ่งเชื้ออ่อนกำลังลงไปมาก เมื่อฉีดไปมากขึ้นเรื่อยๆ
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36055877/