Sunday, 5 May 2024
หมอธีระวัฒน์

'หมอธีระวัฒน์' แนะ ฉีดวัคซีนเชื้อตายให้เด็กก่อน ตามด้วย mRNA ใน 'ปริมาณน้อยที่สุด'

'หมอธีระวัฒน์' ห่วง!! เด็กหัวใจผิดปกติหลังฉีดไฟเซอร์ แนะทางเลือก เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไปอาจเป็นเชื้อตาย 2 เข็มก่อน ตามด้วยวัคซีน mRNA ในปริมาณน้อยที่สุด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha' ระบุว่า หัวใจผิดปกติในเด็กชาย หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (162.2 คน ใน 1 ล้านคน)

การวิเคราะห์ข้อมูล โดย คุณหมอ Tracy Hoeg และคณะ จาก University of California, Davis ภาควิชา Physical Medicine and Rehabilitation

ทั้งนี้โดยใช้ข้อมูลที่มีการรายงานมาในระบบ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากวัคซีน ของชาติ (VAERS) โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 18 มิถุนายน 2564 เด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัวที่ได้รับวัคซีน mRNA ที่มีอาการและลักษณะเข้าได้กับกล้ามเนื้อหัวใจและเยี่อหุ้มหัวใจอักเสบ

>> เด็กผู้ชายอายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 162.2 ต่อล้าน

>> เด็กผู้ชายอายุ 16 ถึง 17 = 94 ต่อล้าน

>> เด็กผู้หญิงอายุ 12 ถึง 15 เกิดหัวใจอักเสบ 13.0 ต่อล้าน

>> เด็กผู้หญิงอายุ 16 ถึง 17 = 13.4 ต่อล้าน

‘หมอธีระวัฒน์’ ยกข้อดี ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง ภูมิขึ้นเท่ากับเข้ากล้ามเนื้อ-ลดผลข้างเคียง 10 เท่า

วันที่ 13 ม.ค. 65 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" ระบุว่า ...

ความเข้าใจที่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง

29-30/12/64
วัคซีนมีเพื่อป้องกันโรค ดังนั้นต้องมีความปลอดภัยสูงสุด การฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะเลี่ยงผลข้างเคียงได้มาก ทั้งจากปริมาณที่ใช้น้อยกว่าและที่สำคัญคือกลไกในการกระตุ้นต่างออกไป

1- ภูมิขึ้นเท่ากับเข้ากล้าม
2- ภูมิอยู่นานพอกัน
3- ผลข้างเคียงน้อยกว่า อย่างน้อย 10 เท่า
4- ฉีดสบายๆ

5- เรื่องของทีเซลล์ การฉีดชั้นผิวหนังจะมีตัวจับย่อยวัคซีนสองชนิดด้วยกัน ไม่ใช่ชนิดเดียวแบบในกล้ามเนื้อ และส่งผ่านไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาขั้นต้น คือ ที เชลล์ ถูกกระตุ้นโดยใช้เวลาประมาณสี่วัน ตามการศึกษาตั้งแต่ปี 2008 โดยใช้วิธี 2 photon microscopy และจะควบรวมสัมพันธ์กับบีเซลล์ในการสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองต่อการกระตุ้นทีเซลล์ ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยตัวคนแต่ละคน ที่แบ่งออกเป็นตอบสนองกับวัคซีนได้สูงกลางต่ำซึ่งทราบกันดีมาตั้งแต่ก่อนปี 2010

‘หมอธีระวัฒน์’ ชี้ชัดควรฉีดวัคซีนกี่เข็ม ลั่นไม่ต่อต้าน แต่ไม่อยากให้ฉีดมากไป

‘หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา’ ลั่นไม่เคยต่อต้านวัคซีน แค่ต้องการให้ฉีดไม่มากเกินไป เผยชัดแท้จริงต้องฉีดกี่เข็มกันแน่

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า

“ประกาศให้ทราบทั่วกันนะครับ ไม่เคยต่อต้านวัคซีนแต่ต้องการให้ฉีดไม่มากเกินไปคือ 3 หรือ 4 ถ้าเริ่มต้นด้วยเชื้อตายสองเข็มก็ต่อด้วย ชั้นผิวหนัง 2 เข็ม PZ หรือ MDN เริ่มต้นด้วย AZ 2 เข็ม ก็ต่อด้วย ชั้นผิวหนัง PZ หรือ MDN เข็มเดียวพอ

‘หมอธีระวัฒน์’ เปิดงานวิจัยมีเซ็กซ์ 21 ครั้ง/เดือน ช่วยท่านชายปลอดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เปิดงานวิจัยจากต่างประเทศ เผยว่ามีเซ็กซ์ 21 ครั้งต่อเดือน ปลอดมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้พบคนกลุ่มนี้ไม่ค่อยเป็นกลุ่มรักสุขภาพนัก กินเยอะ ดื่มเยอะ

วันนี้ (13 มิ.ย.) เฟซบุ๊ก ‘ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha’ หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ออกมาโพสต์งานวิจัยจากต่างประเทศ โดยระบุว่า ปั่มปั๊ม 21 ครั้งต่อเดือน ปลอดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ชายเราถึงอายุหนึ่งจะมีปัญหาเรื่อง ‘ฉี่’ กล่าวคือ ยืนตั้งนานไม่ออกสักที ออกก็ไม่ค่อยจะพุ่ง เสร็จแล้วก็เหมือนไม่เสร็จ มีปัญหาจนไม่ค่อยอยากจะฉี่ ยอมอดน้ำเลยลุกลามไปจนเลือดข้นหนืด ไปมีปัญหาต่อไต ต่อหัวใจ อัมพฤกษ์ต่อ

สำหรับบุรุษเพศสาเหตุใหญ่สำคัญคือ ต่อมลูกหมากโต และมีเยอะที่เป็นมะเร็ง ถ้ายังไม่เป็นและยังไม่อยากผ่าตัด คว้านต่อม ก็มียาซึ่งเดิมเป็นยาลดความดัน แต่ความที่ทำให้หูรูดในการฉี่บานได้ เลยเอามาใช้ในการนี้ แต่ควรต้องระวังความดันตก หน้ามืด ยาประเภทนี้ออกฤทธิ์ต้าน alpha receptor

ยาอีกกลุ่มทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลง ผ่านกระบวนการยับยั้งฮอร์โมน DHT ที่มาจากฮอร์โมนเพศชาย (5-Alpha Reductase Inhibitor) เช่น ยา Finasteride (Proscar) Dutasteride (Avodart) แต่แถมผลข้างเคียง คือ ลดความต้องการทางเพศ ไม่ค่อยแข็งตัว การขับเคลื่อนน้ำกาม (ejaculation) แปรปรวน แต่ที่ต้องระวังเป็นสำคัญคือยากลุ่มหลังนี้ทำให้การตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากที่ชื่อว่า PSA ได้ค่าลดลงจนถึงตรวจไม่เจอ เลยตายใจว่าไม่เป็นมะเร็งทั้ง ๆ ที่เป็น

รายงานในปี 2011 พบว่าแม้ยากลุ่มหลังนี้จะลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้บ้าง แต่ถ้าเป็นแล้วยากลุ่มนี้อาจกลับทำให้เป็นมะเร็งแบบชนิดที่มีความรุนแรงลุกลามมากขึ้น อาหารเสริมที่อ้างว่าทำให้ต่อมเล็กลงชื่อ Saw Palmetto สกัดจากผลของ Serenoa Repens พบว่าไม่มีประสิทธิภาพจริงและอาจทำให้การตรวจค่ามะเร็ง PSA ได้ผลลบปลอม

ถึงตอนนี้มาถึงคำโบราณที่พูดกันมาในกลุ่มผู้ชายทั้งหลายว่า หนทางสุขภาพ รวมทั้งกันต่อมลูกหมากโต กันมะเร็ง คือปฏิบัติการ “ล้างท่อบ่อยๆ” (keep the pipes clean!) และเป็นที่มาของการศึกษาฮือฮาทั่วโลก นับแต่มีการเสนอผลงานในที่ประชุมประจำปีของสมาคมระบบทางเดินปัสสาวะของอเมริกา และตีพิมพ์ในวารสาร European Urology (29 มีนาคม 2016)

ผลการศึกษาจากการติดตามโดยคณะศึกษาทางระบาดวิทยามะเร็งที่บอสตัน ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 31,925 คน ตั้งแต่ปี 1992 จนถึงปี 2010 โดยที่ ณ ปี 1992 อายุเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ประมาณที่ 59 ปี ในช่วง 18 ปีของการติดตามมี 3,839 รายเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และ 384 รายรุนแรงถึงชีวิต ขั้นตอนในการวิเคราะห์เจาะลึกตั้งแต่เริ่มต้นในปี 1992 มีการให้รายงานปริมาณจำนวนของการขับเคลื่อนน้ำกาม (แทนในที่นี้ด้วยปั่มปั๊ม) ในช่วงเวลาตั้งแต่อายุ 20-29, 30-39, 40-49 และ 50 เป็นต้นไป ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีส่วนให้เกิดมะเร็ง

‘หมอธีระวัฒน์’ ชี้ภัย ‘สารเพิ่มหวาน’ ในเครื่องดื่มไร้น้ำตาล เสี่ยง!! ‘หัวใจวาย-อัมพฤกษ์’ เริ่มเจอแล้วในต่างประเทศ

(3 ก.ค. 66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า...

สารหวานในเครื่องดื่ม ไร้น้ำตาล เสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์ (มีคำอธิบายว่าจะใช้หญ้าหวานได้หรือไม่ และมีคำอธิบายในเรื่องปริมาณขนาดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของเลือดข้นและมีผลต่อเส้นเลือด มีคำอธิบายที่มาของการศึกษาที่ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่รายงานในปี 2013 จนมาถึงปัจจุบันนี้)

นับเป็น 10 ปีมาแล้วที่มีการใช้สารน้ำตาลเทียมเพิ่มหรือแทนความหวานที่ได้จากน้ำตาล ทั้งนี้เพื่อตอบสนองกับคนที่มี โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เรียกว่า เมตาบอลิก ซินโดรม (Metabolic syndrome) ที่เป็นกลุ่มอาการที่จะต่อติดต่อเนื่อง ตามกันมาจากอ้วน ดื้ออินซูลิน เบาหวาน ไขมันสูง มีภาวะเส้นเลือดผิดปกติและนำไปสู่โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ จนกระทั่งถึงมะเร็ง ด้วยการที่มีสารอักเสบก่อตัวในร่างกาย ทุกระบบและในสมอง จนเร่งสมองเสื่อมให้เกิดขึ้นเร็วและรุนแรง และพิสูจน์แล้วว่าเร่งความแก่ชราให้มากขึ้น 

...และสารทดแทนเหล่านี้ ได้มีการรับรองความปลอดภัยจากองค์กรกลางต่าง ๆ ที่ทำการประเมินและมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก

แต่กระนั้น การติดตามภาวะสุขภาพในคนที่ได้รับสารหวานเทียมเหล่านี้ เริ่มมีรายงานออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ในปี 2000 เป็นต้นมา ถึงผลที่อาจไม่พึงประสงค์ รวมทั้งแทนที่จะเกิดประโยชน์ กลับมีโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับเส้นเลือดตีบ แต่เนื่องจากเป็นการศึกษาที่ไม่ทอดระยะเวลานานนัก และไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์หรือการเป็นสาเหตุได้ชัดเจน เนื่องจากมีตัวแปรและปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ข้อมูลยังมีความคลุมเครืออยู่

รายงานในวารสาร เนเจอร์ 27 กุมภาพันธ์ 2023 เป็นงานต่อเนื่องตั้งแต่การค้นพบความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้ กับการอักเสบ และเส้นเลือดตันที่รายงานในวารสารนิวอิงแลนด์และเนเจอร์ในปี 2013 ที่ตอกย้ำพิสูจน์ว่าการกินเนื้อแดง และไข่แดงจะเชื่อมโยงกับจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียไม่ดีในลำไส้ ที่สกัดและผลิตสารอักเสบออกมาชื่อ TMA และ TMAO ทั้งนี้ การลดการกินเนื้อและไข่แดง โดยที่หนักผัก ผลไม้ กากใย ถั่ว จะระงับการอักเสบดังกล่าว และเริ่มพบว่าสาร polyols ก็มีความสัมพันธ์ร่วม

งานในปี 2023 นี้พบว่าสาร erythritol ซึ่งอยู่ในกลุ่ม polyol ทำให้เกล็ดเลือดไวขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงของเส้นเลือดตัน

การศึกษาเริ่มจากเป็น un targeted metabolomics ในคน 1,157 รายที่มาประเมินความเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจ (discovery cohort) โดยได้ทำการสวนเส้นเลือดหัวใจ จนพบว่าระดับของสาร polyol โดยเฉพาะ erythritol สัมพันธ์กับโรคหัวใจและอัมพฤกษ์มากขึ้นหลังจากติดตามสามปี จากการตรวจด้วย GC-MS แต่ทั้งนี้ บอกได้คร่าว ๆ และยังไม่สามารถเชื่อมโยงกับระดับปริมาณที่ชัดเจนได้

การศึกษาต่อมาเฉพาะเจาะจง targeted metabolomics คนอเมริกัน 2,149 ราย และคนในยุโรป 833 ราย (validation cohort) ที่มาตรวจประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจ โดยมีข้อมูลความรุนแรงและการติดตามก่อนหน้านั้นหลายปี โดยใช้ตัวอย่างเลือดในคนอเมริกันจากรายงานของปี 2013 และควบรวมกับคนในยุโรป พบความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างระดับของ erythritol กับความเสี่ยงที่สูงขึ้น จากการตรวจด้วย LC-MS (fourth versus first quartile adjusted hazard ratio (95% confidence interval), 1.80 (1.18-2.77) and 2.21 (1.20-4.07), respecti vely) และการทดสอบการทำงานของเกล็ดเลือดพบว่ามีการกระตุ้นเพิ่มขึ้น ทั้งในหลอดทดลองและเพิ่มการเกิดเส้นเลือดตันในหนูทดลองการศึกษาต่อมา (interven tion study) เฉพาะเจาะจงโดยที่มีอาสาสมัคร 8 ราย กิน erythritol 30 กรัม ที่เป็นขนาดปกติในเครื่องดื่มหรือในไอศกรีมคีโต พบระดับในเลือดสูง ลอยมากอยู่จนถึงสองวันถัดมา

ทั้งนี้ ในผลิตภัณฑ์อาหารที่พบอยู่ได้ทั่วไปนั้น จะมีปริมาณของสาร erythritol ในขนาดสูงมากกว่า 30 กรัมด้วยซ้ำ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหวานให้มากขึ้น โดยที่อาจไม่ได้มีการระบุปริมาณที่ชัดเจนเนื่องจากถือว่าเป็นสารปลอดภัย ผลที่ได้จาก รายงานนี้ อาจต้องมีการหาความ สัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลเพิ่มขึ้น แม้ว่าการทดลองในราย งานนี้จะมีผลการศึกษาในหนูทดลองรวมกระทั่งถึงในอาสาสมัคร แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยเพียง 8 ราย แต่การทดสอบของเกล็ดเลือดนั้นแสดงถึงปฏิกิริยาที่สูงขึ้นในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเส้นเลือดได้

คณะผู้วิจัยได้จุดประเด็นที่ควรต้องทำต่อจากนี้ ก็คือการที่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้นควรที่จะแสดงปริมาณของสาร erythritol ทั้งนี้อาจจะเป็นสารเดี่ยวที่ใส่เข้าไปหรือใส่เข้าไปร่วมกับสารที่เสมือนมาจากธรรมชาติ เช่น จาก Monk fruit หล่อฮั่งก้วยและ Strevia หญ้าหวาน ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 ถึง 400 เท่า และในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้นอาจเพิ่มเติม erythritol เพื่อให้สะดวกแก่การผลิตในรูปของการบริโภคสำเร็จ แต่จะรอให้มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 นี้ ซึ่งไม่ทราบว่าจะต้องรอเวลาไปอีกกี่เดือนหรือกี่ปี

ควรหรือไม่ ที่ผู้บริโภคอาจจะต้องเตรียม ตัวเอง ในการเลือกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น ทั้งนี้ความหวานที่ได้จากผักผลไม้ ที่ต้องกินโดยที่เป็นในรูปของกากใยด้วย เป็นชิ้นเป็นผลเป็นเนื้อ โดยไม่ใช่คั้นเอาแต่น้ำและทิ้งกากใย ออกไป ในรูปลักษณะนี้ ความหวานที่ได้จะปลอดภัย และแม้ว่า erythri tol จะมีการสังเคราะห์ ขึ้นเองในร่างกายตามธรรมชาติ (endogenous) แต่ปริมาณที่เกิดขึ้นจะน้อยกว่าหรือต่ำกว่า ปริมาณที่มีผลกระตุ้นและทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นเลือดมาก

ความจำเป็นที่ต้องเข้าใกล้ธรรมชาติ เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง เนื้อสัตว์ แทนด้วยปลา และหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนด้วยสารเคมีและสารทดแทนเป็น เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและไม่เป็นภาระต่อตนเองครอบครัว สังคม และประเทศ

‘หมอธีระวัฒน์’ เปิดผลวิจัยของเคมบริดจ์ ปี 2022 พบ ‘อบร้อนซาวน่า’ ช่วยลดความเสี่ยง ‘สมองเสื่อม’

(3 ต.ค. 66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha’ ดังนี้...

อบร้อนซาวน่า..สมองใส

ออกตัวไว้ก่อนนะครับ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องซาวน่า อบร้อน ออนเซ็น

แต่ทั้งนี้ เป็นรายงานจากคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (รายงานในวารสารเนเจอร์ ปี 2022) ที่ได้ทำการศึกษา ผลของความร้อนที่สูงกว่าปกติที่มนุษย์มีกัน คือ สูงกว่า 37 องศาเซลเซียส กลับมีประโยชน์ช่วยคลี่โปรตีนที่ทำท่าจะบิดเกลียวและรวมถึงที่บิดผิดปกติไปแล้ว จนกลายเป็นขยุ้มและจะเกิดผลร้ายต่อเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม

ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยยังได้กล่าวโยงไปถึงการศึกษาหลายชิ้นที่มีมาก่อนของผู้คนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย โดยมีการสังเกตว่า คนที่ใช้ซาวน่าเป็นประจำ ซาวน่าช่วยทำให้ความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมลดลง

ปกติแล้วในเซลล์ของมนุษย์ที่จะคงอยู่ได้ ไม่ตาย หรือ ตายช้าและยังทำงานได้อย่างสดใสสมบูรณ์ เนื่องจากมีกลไกในการปรับสภาพ เมื่อเผชิญกับความเครียดหรืออันตราย และแม้แต่การที่มีการบุกรุกล้ำ โดยเชื้อโรค ทั้งนี้ในเซลล์จะมีห้องฉุกเฉิน (กล่าวอุปมา) หรือ ER ซึ่งห้องฉุกเฉินนี้ คือส่วนที่เป็น Endoplasmic reticulum และเมื่อรับสัญญาณอันตราย ก็จะส่งต่อไปยังโรงพลังงาน ไมโตคอนเดรีย (Mitochon dria) ซึ่งอยู่ในเซลล์เช่นกัน โดยต่อมา ทำให้มีการปรับสภาพให้พอเหมาะ รวมทั้งในการทำให้มีขนาดที่เหมาะสม (fission และ fusion) ในการปฏิบัติหน้าที่ รวมไปจนกระทั่งถึงการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะจำศีลเมื่อคับขัน ใช้พลังงานประหยัดมัธยัสถ์ และรีไซเคิลขยะ ตลอดจนส่งสัญญาณในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อที่รุกล้ำ (autophagy และ immune signaling) และส่งสัญญาณในการปรับสภาพอินซูลินในสมอง ที่ป้องกันความเสื่อมของสมอง และที่ขาดไม่ได้คือระบบ UPR sig naling หรือกลไก unfolded protein response ที่ตอบสนองต่อโปรตีนที่สร้างขึ้นมาและผิดปกติ

ในสภาวะปกติ และเมื่อเผชิญอันตรายและความเครียดทั้งหลาย โปรตีนที่สร้างในเซลล์นั้นจะมีการพับ ซึ่งก็เป็นกลไกตามธรรมชาติ โดยต้องมีการดูแล ไม่ให้มีโปรตีนที่บิดเกลียวผิดปกติ (mis folded protein) และขัดขวางการทำงานของเซลล์ โดยมีการจับกลุ่มก้อน (aggregates) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ ดังนั้นจะต้องถูกขจัดทำลายไปให้หมดจนถึงศูนย์ได้ยิ่งดีใหญ่ (Zero aggregation)

หรือพยายามที่จะแก้เกลียวให้กลับคืนเป็นโปรตีนที่ดี โดยขณะนั้น มีการปรับลดการสร้างโปรตีนไปชั่วคราว พร้อมกับมีการกระตุ้นตัวช่วย เช่น โปรตีนพี่เลี้ยง (chaperones) และโดยที่ในที่สุดต้องมีการควบคุมคุณภาพของโปรตีนที่สร้างขึ้น

การค้นพบ พี่เลี้ยงที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ cyto solic Hsp 70 หรือ heat shock protein 70 โดยมีหน้าที่ช่วยแก้ไข เสริมเติม กลไกควบคุมคุณภาพของโปรตีน แต่ทั้งนี้ในเวลาที่ผ่านมานั้นยังไม่ชัดเจนว่าตัวพี่เลี้ยงนี้ หรือมีตัวอื่นใด เข้าไปทำงานประกบกันที่ ER ด้วยหรือไม่ และผลของการศึกษาต่อมา พบว่ามี Hsp ที่เรียกว่า BiP ใน ER ที่ทำหน้าที่นี้ด้วย

ความสำคัญของรายงานนี้ อยู่ที่การเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าเมื่อเผชิญกับความเครียด ซึ่งในที่นี้ก็คือ การให้เซลล์ถูกความร้อน แต่ผลที่ได้นั้น แทนที่จะเกิดโปรตีนบิดเกลียวจนกลับเป็นกลุ่มก้อน โดยกลไกต่อสู้ตามธรรมชาติสู้ไม่ไหว เอาไม่อยู่ กลับพบว่าสู้ได้สบายมาก

ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการทำลายโปรตีนผิดรูปดังกล่าว อย่างตรงไปตรงมา หรือขจัดทิ้งออกไปจากเซลล์ แต่กลับคลี่ เกลียว ของขยุ้มโปรตีน (disaggre gation) และกลับทำให้เกิดมีการม้วนแบบปกติขึ้น และทำให้กระบวนการสมดุลของระบบโปรตีน (prote ostasis) มีความเสถียรขึ้นไปอีก โดยโปรตีน BiP

การศึกษานี้ออกแบบโดยสามารถมองเห็นภาพปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเซลล์ที่มีชีวิตได้จริงๆ ในแต่ละเสี้ยวเวลาในสเกลเป็นนาโนของวินาที

ดังนั้น พอจะเห็นหรือนึกภาพออกได้แล้วว่าการอบร้อนซาวน่าที่ทำให้รู้สึกสบายตัว สมองโล่งแท้จริงแล้ว เริ่มสามารถพิสูจน์ได้โดยวิทยาศาสตร์ทางสมอง

ทั้งนี้ ซาวน่า คือ การอบตัวด้วยอุณหภูมิประมาณ 65 ถึง 90 หรือสูงถึง 100 องศาเซลเซียส โดยแหล่งกำเนิดความร้อนมีได้หลายรูปแบบ ทั้งการเผาท่อนไม้ ใช้เครื่องทำความร้อนด้วยวิธีต่างๆ

แต่คนที่ไปทำซาวน่าไม่ได้ตัวสุก ผิวหนังลวก เป็นตุ่มพุพองนั้น เกิดจากการที่ในห้องซาวน่าจะมีความชื้นเต็มเปี่ยม จนกระทั่งถึง 100% ดังนั้น อุณหภูมิที่สัมผัสจะกลายเป็นระดับอยู่ที่มนุษย์เรารับได้ประมาณ 50 องศา

การอบซาวน่าเข้าใจว่ามีที่มาแถบสแกนดิเนเวีย เช่น ประเทศฟินแลนด์ สวีเดน แต่เป็นที่แพร่หลายทั่วโลกไม่ใช่แต่ในยุโรป แต่ทั้งในเอเชีย ในประเทศจีน ญี่ปุ่น

นัยว่า ประเทศไทยเองนั้น ในสมัยก่อน สำหรับสตรีที่คลอดลูกใหม่ๆ มีการเข้ากระโจมร้อน อบสมุนไพร ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำติดต่อกันมา แต่ดูว่า ไม่ค่อยมีใครทำแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้ จากหลักฐานที่พบ คงเป็นเครื่องแสดงว่าที่คนสมัย ปู่ ย่า ตา ทวด ทำมานั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะขณะที่สตรีคลอดไปแล้ว จะเผชิญกับความเครียดมหาศาล และร่างกายต้องการซ่อมแซม ดังนั้น อาจจะเป็นวิธีอีกทางหนึ่ง ที่ทำให้ฟื้นกลับตัวเร็วขึ้น

ถึงตรงนี้แล้ว คงต้องศึกษาการอบซาวน่าให้ดีก่อนปฏิบัติด้วย เพราะจะเป็นการเสียเหงื่อ น้ำ และเกลือแร่ ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นควรต้องมีการประเมินสภาวะทางหัวใจและหลอดเลือด ยาที่รับประทานเป็นประจำ เพื่อหาซาวน่าที่เหมาะสม ทั้งในด้านอุณหภูมิระยะเวลาที่เข้า และจะทำถี่ บ่อยเพียงใด เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุด แต่ในขณะเดียวกันได้ความสดชื่นและสมองสดใสด้วยครับ

‘หมอธีระวัฒน์’ เผยรายงาน ‘วัคซีน mRNA’ ยิ่งฉีดมาก ประสิทธิภาพยิ่งลด ชี้ อาจเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ย้ำ!! ใครฉีดกระตุ้นแล้วไม่จำเป็นฉีดอีก

(17 ธ.ค. 66) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงนี้ ว่า เรื่องการฉีดวัคซีนโควิดสำหรับคนทั่วไปที่มีการฉีดกระตุ้นมาก่อนแล้ว ณ ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นอีก

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม ว่า รายงานในวารสาร Science ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ธ.ค.2565 มีการอธิบายว่า เมื่อมีการฉีดวัคซีนชนิด mRNA มากขึ้น ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและการป้องกันอาการหนักจะยิ่งลดลงกว่าที่คิด และน่าจะอธิบายถึงว่าทำไมในยุคโอมิครอน จึงมีการติดซ้ำอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ ดังนี้

1.) จาก hybrid immune damping วัคซีนเมื่อฉีดไปแม้จะมากเข็มก็ตาม การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ทั้งแอนติบอดี ระบบบีและทีเซลล์ จะเป็นต่อสายพันธุ์บรรพบุรุษอู่ฮ้่น และเมื่อติดเชื้อโอมิครอนก็เป็นในลักษณะเช่นเดียวกัน (อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.science.org/doi/10.1126/science.abq1841?utm_campaign=SciMag&utm_source=Social&utm_medium=Twitter%20Hybrid%20immune%20damping )

2.) รายงานล่าสุด เมื่อได้รับวัคซีนมากขึ้น แอนติบอดีจะปรับเปลี่ยนเป็น IgG4 ซึ่งทำให้หน้าที่ในการฆ่าไวรัสด้อยลงเมื่อเทียบกับ IgG 1 และ 3 และ อาจอธิบายประสิทธิภาพที่ถูกจำกัดลง (อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.science.org/doi/10.1126/sciimmunol.ade2798)

“ยังเป็นไปได้ว่ายังมีระบบต่อสู้กับไวรัสที่ไม่ผ่านทางเส้นทางดังกล่าว ที่เป็นระบบนักฆ่า จาก innate immunity ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติมากกว่าที่ได้จากวัคซีน หมายความว่า ถ้าติดตามธรรมชาติและอาการไม่หนักและไม่เกิดภาวะลองโควิด ก็จะส่งผลดีได้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว และว่า จากการที่เบี่ยงเบนไปเป็น IgG4 และอาจเกี่ยวเนื่องไปถึงปรากฏการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นหลากหลาย และที่เราเห็นในโรคทางระบบประสาทและโรคทางสมองอีกหลายชนิด

3.) รายงานจาก รศ.พญ.ปารวี ชีวะอิสระกุล คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ใน วารสาร Nature Scientific report วันที่ 15 มกราคม 2023 พูดถึงวัคซีนหลังเข็ม 3 จะทำให้ T cell exhaustion หรือ T เซลล์ หมดแรง แม้ว่าแอนติบอดีจะขึ้นก็ตาม

ในคนที่ใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อมีถึง 24.4% ที่มีการติดเชื้อโดยไม่มีอาการใดๆ ทั้งสิ้น และผลของการติดเชื้อแม้ว่าไม่มีอาการ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเหมือนคนที่ติดเชื้อ

แต่จุดใหญ่สำคัญในรายงานนี้ก็คือ เมื่อพิจารณาถึงการตอบสนองในระบบทีเซลล์ T cell ซึ่งเป็นตัวสำคัญในระบบความจำและเป็นระบบเพชฌฆาตนักฆ่า การฉีดวัคซีนหลายเข็ม และเมื่อมีการติดเชื้อกลับทำให้ทีเซลล์หมดแรง เรียกว่า T cell exhaustion (https://www.nature.com/articles/s41598-023-28101-5)

ข้อมูลการศึกษาของรัฐบาลออสเตรเลียเอง ในสัตว์ทดลองจากการฉีดวัคซีน mRNA เข้าที่กล้ามเนื้อและดูการกระจายตัวของวัคซีนจากการติดตามตัวด้วย radioactive particle ซึ่งเป็นมาตรฐานในการศึกษาทั่วไป ทำในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 และข้อมูลไม่มีการเปิดเผยจนกระทั่งในปี 2023 ตามกฏหมายที่ต้องมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลทุกชิ้นจึงทำให้ทราบความจริง

การศึกษาพบว่า แม้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อก็ตาม จะแทรกซึมเข้าไปในกระแสเลือดและเข้าไปในทุกส่วนของร่างกาย หมายความว่า ตัววัคซีนนั้นจะเข้าไปกำหนดให้เซลล์ในอวัยวะต่างๆ ผลิตโปรตีนหนามขึ้นมา และหมายความว่าจะสามารถอยู่ในร่างกายได้นานกว่าข้อมูลที่เราได้รับทราบแต่ต้นว่าวัคซีนจะอยู่เฉพาะที่กล้ามเนื้อที่แขนตรงตำแหน่งที่ฉีดเท่านั้นและจะสลายหายไปภายในสองถึงสามวัน

ความจริงดังกล่าวได้รับการยืนยันจากการติดตามผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ และรายงานในปี 2023 โดยพบว่าจะมีวัคซีนล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดได้นานอย่างน้อย 28 วันด้วยกัน และอาจจะเป็นเครื่องอธิบายได้ว่า ทำไมผลแทรกซ้อนของวัคซีนซึ่งดูเหมือนว่าตามรายงานว่าจะไม่มากก็ตาม แต่สามารถเกิดขึ้นได้ และยังเกิดได้ในระยะเวลาที่ห่างจากการฉีดได้เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนก็ได้ (จากผู้ป่วยที่เราได้รับและพิสูจน์ว่ามีส่วนของวัคซีนจริงในอวัยวะสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง) [https://youtu.be/fVNFFtmb9gA 
Vaccine encephalitis and myocarditis
]

รายงานผู้เสียชีวิต 21 วัน หลังจากได้รับ mRNA วัคซีนซึ่งเป็นเข็มที่สาม ด้วยอาการสมองอักเสบและหัวใจอักเสบ ครอบครัวเรียกร้องให้มีการตรวจสอบพิสูจน์ การพิสูจน์ศพ พบโปรตีนหนาม spike ในสมองและเนื้อเยื่อหัวใจ และการอักเสบ โดยไม่พบโปรตีนอื่นของโควิด nucleocapsid protein (NP) ซึ่งเป็นการยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโควิดเพราะถ้าเกิดจากการติดเชื้อจะต้องพบ NP ด้วย

การเกิดในสักษณะเช่นนี้ พวกเราที่ดูผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ต้องถามประวัติเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อและรวมทั้งประวัติการได้รับวัคซีนด้วย ทั้งนี้อาจจะมีการรักษาได้ทันท่วงที (https://www.mdpi.com/2076-393X/10/10/1651)

ดังนั้น การฉีดวัคซีน mRNA ต้องประเมินความเสี่ยงของหัวใจอักเสบ ถึงแม้เข้าใจว่าเกิดไม่มาก แต่ถ้าเกิดแล้วความรุนแรงอาจสูง

รายงานจากคณะแพทย์เยอรมัน ทางพยาธิวิทยาที่มีชื่อเสียง พิสูจน์จากการตรวจศพ ของผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA และเสียชีวิตเฉียบพลัน ภายใน 7 วัน จำนวน 25 ราย อายุ 45 -75 ปี โดยแสดงความผิดปกติในกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจ มีการอักเสบเป็นหย่อมๆ และทำให้สามารถสรุปได้ว่าทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติ รายงานวันที่ 27 พฤศจิกายน 2022 [Clinical research in cardiology (Springer verlag)]

ทั้งนี้ ตัวเลขจริงอาจจะมากกว่าที่ประเมิน และความรุนแรงของกล้ามเนื่อหัวใจอักเสบอาจจะมากกว่าที่เคยคิดหรือไม่ เนื่องจากการรายงานทั่วโลกเป็น retrospective แบบย้อนหลัง และมักตัดประเด็นเฉียบพลันออก โดยลักษณะของอาการเช่นนี้ เป็น sudden death คือหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน จากกระแสไฟฟ้าผิดปกติ ไม่ใช่หัวใจวาย ทujพอมีเวลาและมีอาการให้เห็นก่อน

ผลแทรกซ้อนของวัคซีนจากความเป็นไปได้ จะเพ่งเล็งประเด็นที่ (1) และ (2) โดยอาจมองข้าม (3)

1.) เรื่องเส้นเลือดในหัวใจตัน หรือ
2.) ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั่วไป คือหัวใจวาย แต่ในกรณีนี้
3.) เป็นกระจุกของเซลล์อักเสบที่อยู่ในกล้ามเนื้อหัวใจและเยี่อหุ้มหัวใจ ที่ไปขัดขวางเส้นใยประสาทนำไฟฟ้าของหัวใจ ทำให้หยุดเต้นกระทันหัน และถ้ากระตุ้นหัวใจ ขึ้นมาได้ จะตามต่อด้วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั่วไป ทำให้หัวใจบีบตัวไม่ไหวตามด้วยหัวใจวาย

ศึกษาได้จาก VDO ซึ่งอธิบายรายละเอียดของรายงานชิ้นนี้ และ เอกสารตัวจริง และแสดงเนื้อเยื่อหัวใจที่มีการอักเสบเป็นหย่อมกระจุก
- https://youtu.be/j_DdSMn55cA
- https://link.springer.com/article/10.1007/s00392-022-02129-5#Sec3
- https://link.springer.com/article/10.1007/s00392-022-02129-5#Tab2

นอกจากนั้น มีการเปิดเผยผลข้างเคียงรุนแรงจากวัคซีน mRNA ในเดือนกันยายน 2022 ในวารสาร vaccine ทั้งนี้เป็นข้อมูลจริงที่ได้ระหว่างมีการดำเนินการศึกษาเฟสที่สามในมนุษย์ แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยมาก่อน

ผู้ศึกษาและวิจัยได้เรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสอย่างชัดเจนและต้องประเมินประโยชน์และผลข้างเคียงรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งนี้โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดซึ่งเชื้ออ่อนกำลังลงไปมาก เมื่อฉีดไปมากขึ้นเรื่อยๆ
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36055877/

‘หมอธีระวัฒน์’ ชี้!! ‘แสงแดด’ มีคุณประโยชน์นานัปการ เปรียบเสมือน ‘ยาอายุวัฒนะ’ ทำให้ชีวิตยืนยาว-ป้องกันโรคภัย

(26 ธ.ค.66) นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ‘ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha’ ระบุข้อความว่า…

แดดช่วยชีวิตได้จริงๆ…แสงแดดและรังสี อัลตราไวโอเลตหรือยูวี ในสมัยก่อน ตั้งแต่ปี 1928 ที่พบว่า รังสี ยูวี ทำให้เกิดมะเร็งของผิวหนังได้เลยทำให้มีการหลีกเลี่ยงแสงแดดกันมาตลอด ตราบจนกระทั่งประมาณปี 1980 เป็นต้นมา เป็นที่ประจักษ์ว่าแสงแดดมีคุณประโยชน์นานัปการ

แสงแดด เปรียบเสมือนกับเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นและยังสามารถป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดทั้งร่างกาย รวมกระทั่งถึงสาเหตุการตายต่างๆ จนถึงมะเร็ง

ทั้งนี้ยังปรับสมดุลย์การทำงานของตับทำให้ต้านพิษ ได้เก่งขึ้นและทำให้โรคที่เรียกว่าโรคเมตาบอลิค อ้วน ลงพุง เบาหวาน ไขมันความดันสามารถชะลอหรือควบคุมได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ แสงแดดกับสุขภาพที่ดีนั้นไม่สามารถอธิบายได้จากการที่แสงแดดทำให้เกิดการสังเคราะห์วิตามินดี เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าการเสริมวิตามินดี ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการตายและการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดต่างๆรวมกระทั่งถึงมะเร็ง

ผิวหนังเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงกับระบบต่อมไร้ท่อ ทั้งนี้ โดยที่มีเซลล์ที่เป็นตัวรับฮอร์โมนหลายชนิด และยังมีการสร้างสารเอนโดฟิน วิตามินดี และฮอร์โมน เอสโตรเจน เป็นตัน

รวมทั้ง ฮอร์โมน Ghrelin โดยตัวที่ผลิตฮอร์โมนนี้มาจากเซลล์ Adipocytes ที่ผิวหนัง เมื่อกระทบกับแสงยูวีบี โดยผ่านกลไกของ p53 หรือ ที่เราเรียกว่า เป็นโปรตีนที่เป็นเทวดาอารักษ์ของจีโนม (Guardian Of Genome)

ทั้งนี้ หน้าที่โดยสังเขป คือควบคุมวงจรชีวิตของเซลล์ให้มีการซ่อมแซม ดีเอ็นเอ เมื่อเจอกับอันตราย และที่จะก่อมะเร็ง รวมทั้งความแก่ชราและในความสั้น ยาวของเส้นทีโลเมียร์ (telomere) ที่เกี่ยวกับอายุ และควบคุมความเสถียรของยีน (genomic stability)

และถ้ามีความเสียหายเกินที่จะเยียวยาได้ ก็จะกำหนดให้เซลล์ตาย (programmed cell death) และยังเกี่ยวพันกับ ระบบการควบคุม การคลี่และบิดเกลียวของโปรตีน ที่จะเป็นพิษทำให้เซลล์ตาย (unfolded protein response และ ubiquitinylation) 

Ghrelin ถูกสร้างจากกระเพาะ แต่ก็เป็นเพียงในจำนวน 60% เท่านั้น

ปัจจุบันมี ความกระจ่างชัด ขึ้นว่า p53 จะปฏิบัติตัวเป็นฟัลครัม หรือ เหมือนจุดคานงัดไม้กระดก และไม่เพียงแต่เป็นเทวดาอารักขาการอยู่หรือตายของเซลล์ และการป้องกันการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งเท่านั้น ยังมีตัว Ghrelin เป็นตัวกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมดีเอ็นเอที่เสียหายไป ในส่วนของสมดุลในระดับเซลล์นี้ยังเกี่ยวพันกับฮอร์โมน Leptin ซึ่งออกฤทธิ์ตรงข้ามกับ Ghrelin

วงจรของผิวหนังฮอร์โมนยังเชื่อมโยงประสานกับสมองผ่านทางกลูตาเมท ซึ่งกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง และ Ghrelin ยังมีการเชื่อมกับระบบที่ทำให้ผ่อนคลายความวิตกกังวล รวมกระทั่งปกป้องสมองจากภยันตรายต่างๆ มีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบช่วยปกป้องหัวใจและควบคุมความดันทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคทางหัวใจและเส้นเลือด รวมกระทั่งบรรเทาภาวะดื้ออินซูลิน ในโรค เมตตาบอลิค ซินโดรมต่างๆ และระบบภูมิคุ้มกัน

ความสำคัญของแสงแดดที่ผ่านกระทบมาถึงระบบผิวหนังและส่งต่อในการสร้างสมดุลการทำงานของทุกระบบของร่างกาย รวมกระทั่งถึง สมอง หัวใจ เส้นเลือดและระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ให้ไม่เกิดความวิปริตแปรปรวน

และเราคงจะได้คำขวัญของ ”แสงแดด เดินวันละ 10,000 ก้าว และเข้าใกล้มังสวิรัติ” ก็จะอายุยืน สุขภาพดี ไม่มีโรค ไปทั้งหมดนะครับ

'หมอธีระวัฒน์' ฉะแรง!! นักวิชาการรับเงินต่างชาติ ทำทุกอย่างตามที่สั่ง ถอดรหัสพันธุกรรม สร้างไวรัสใหม่ พอระบาดแล้ว ค่อยสร้างวัคซีน-ยา

(19 มี.ค.67) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า…

“ถึงเวลาต้องเปิดโปงนักวิชาการโสเภณี รับเงินต่างชาติ ทำทุกอย่าง...ตามที่มันสั่ง เช่น ได้ 3.7 ล้านเหรียญ ตอนแรกได้ 399,743 เหรียญ

ยังมีอีกในห่วงโซ่ธุรกิจข้ามชาติรับใช้ คนให้เงิน หาไวรัส ถอดรหัสพันธุกรรม สร้างไวรัสใหม่ ระบาด แล้วสร้างวัคซีน ยา และยารักษามะเร็งที่สร้างขึ้นแล้วสร้างโรคระบาดใหม่

เป็นคนไทย หรือมาจากนรก?”

'หมอดื้อ' เตือน!! หยุด 'มัน' เดี๋ยวนี้ ต้องเปิดโปงผู้ได้รับผลประโยชน์จาก 'มัน'

(21 มี.ค.67) นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

หยุด 'มัน' เดี๋ยวนี้และเปิดโปงผู้ได้รับผลประโยชน์จาก 'มัน'

1- มันไม่ได้อยู่ที่ต้นแขนเท่านั้น
2- มันเลื้อยเข้ากระแสเลือด
3- มันซึมเข้าไปในเซลล์ทุกแห่งในเนื้อเยื่อและทุกอวัยวะ
4- มันบังคับให้เราสร้างโปรตีนหนามในเซลล์
5- โปรตีนหนามเป็นพิษต่อเซลล์
6- โปรตีนหนามยังเป็นเป้าล่อให้ร่างกายพยายามทำลายเลยเกิดการอักเสบในร่างกาย
7- สิ่งที่หลุดรั่วออกมาจากผนังเซลล์และเนื้อเยื่อมีปฏิกิริยาเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดโปรตีนชนิดใหม่เป็นอะไมลอยด์โปรตีน เข้าไปในหลอดเลือด ทำลายไม่ได้ เป็นสารวัตถุคงทนยืดเหนียวเหมือนหนังสติ๊ก
8- มันยังมีสิ่งแปลกปลอมเพราะกระบวนการผลิตมีดีเอ็นเอปนเปื้อนและยังมียีนส์ที่ทำให้มันเข้าไปเสียบในโครโมโซมของมนุษย์
9- คุณสมบัติของอนุภาคนาโนไขมันที่มีขยะอยู่มากและพร้อมที่จะเข้าไปเสียบในโครโมโซมของมนุษย์โดยเฉพาะที่พิสูจน์แล้วคือโครโมโซมที่เก้าและ 12
10- สิ่งที่ควรทำและต้องทำคือต้องหยุดการฉีดมันเข้าร่างกายมนุษย์

สมควรแล้วหรือไม่ที่มีเทคโนโลยีนี้นำมาใช้ในโรคชนิดต่างๆ ที่ทยอยกันออกมา 

สมควรหรือไม่ที่ต้องออกมารับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียชีวิตและพิการตลอดชีวิต 

หยุด 'มัน' เดี๋ยวนี้และเปิดโปงผู้ได้รับผลประโยชน์จาก 'มัน' 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top