ขบวนรถไฟขนส่งระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา ออกขบวนแล้ว!! ช่วยลดต้นทุน ยกระดับการขนส่ง เพิ่มขีดความสามารถทางการค้า

เมื่อไม่นานนี้ การรถไฟฯ ได้เดินรถไฟขนส่งสินค้าขบวนทดลอง มาบตาพุด - ด่านคลองลึก (ฝั่งไทย) - ด่านปอยเปต (ฝั่งกัมพูชา) - พนมเปญ เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการพัฒนาเส้นทางเชื่อมระหว่างประเทศ ไทย-กัมพูชา

ซึ่งประเทศไทยมีส่วนในการสนับสนุน ร่วมกับหลายๆ ประเทศ ในการปรับปรุงเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศนี้ ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อีกครั้ง หลังจากถูกทำลายไปในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชา

ซึ่งถ้าการทดสอบเป็นไปได้ด้วยดี ผู้ประกอบการ รวมถึงกลุ่ม ปตท. ก็มีการวางแผนขบวนขนส่งสินค้า ทั้งคอนเทนเนอร์ทั่วไป และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี จากมาบตาพุด ไปส่งกัมพูชาทางรถไฟอีกด้วย

ทราบหรือไม่ว่า เส้นทางรถไฟไทย-กัมพูชา มีอายุมากกว่า 68 ปี เปิดให้บริการครั้งแรกใน พ.ศ. 2498 แต่ถูกปล่อยทิ้งร้าง จากปัญหาควาามขัดแย้งระหว่างประเทศ และความไม่สงบในกัมพูชาไปกว่า 45 ปี

จนกระทั่งกลับมาเปิดด่านและสถานีรถไฟ ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก และด่านปอยเปต ในปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ ไทยมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เป็นจุดที่ 3 ต่อจาก ปาดังเบซาร์ และ หนองคาย

เส้นทางรถไฟระหว่างประเทศ สำคัญอย่างไร?
แน่นอนว่าหลายๆ คน อาจทราบอยู่บ้างว่า รถไฟเป็นระบบขนส่งทางบกที่ถูกที่สุด และมีความสามารถในการขนส่งต่อขบวนในปริมาณมาก ทำให้ช่วยลดการขนส่งสินค้าทางรถยนต์ได้มาก โดยเฉพาะการขนส่งสินค้า ซึ่งประเทศไทยมีสินค้าที่ส่งออกไปกัมพูชาในกลายกลุ่ม เช่น
- วัตถุดิบในการก่อสร้าง (ปูน กระเบื้อง สุขภัณฑ์) ซึ่งไทยเราเป็นผู้นำในระดับโลก
- กลุ่มปิโตรเคมี น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
- อาหาร สิ่งอุปโภค บริโภค

โดยการเปลี่ยนมาขนส่งผ่านระบบรถไฟ จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้าได้มาก ทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น (ถนนไทย-กัมพูชา ยังอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์) ที่สำคัญคือ การเปิดด่านเหล่านี้ จะเป็นการสนับสนุนนโยบายการเปิดการเพิ่มผู้ให้บริการ เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าข้ามชายแดนได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ที่มา : โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
https://www.facebook.com/100067967885448/posts/pfbid02EzWjJW7Fbpt9qCVKyZQjNnDW1XtdvDGQp9npC3yR6MRajsC5cX59VmEnUKkxEWVPl/?mibextid=cr9u03