Sunday, 28 April 2024
รถไฟไทย

ครม.เห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ 5.55 พันล้าน เสริมสภาพคล่องให้ ขสมก. และ รฟท. จัดบริการแก่ประชาชนต่อเนื่อง

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ว่า ครม.เห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 2,279 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 3,278 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 5,557 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

โดยเป็นวงเงินอุดหนุนจ่ายชดเชยผลขาดทุนให้กับ ขสมก. และ รฟท. ในรูปของเงินงบประมาณตามจำนวนส่วนต่างของประมาณการรายได้และต้นทุนการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้สามารถจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่องและลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในการดำเนินภารกิจ ซึ่งภาระงบประมาณที่รัฐต้องชดเชยดังกล่าว ยังคงไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด

'นักวิชาการ' ชำแหละ!! 'พระเอกลิเก' นักด้อยค่าความเป็นไทย ฝันจะเป็นนายกฯ

เมื่อไม่นานมานี้ นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์รูปภาพพร้อมข้อความในเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า...

สถานะ:
•พระเอกลิเก 
•นักด้อยค่าความเป็นไทย
•ฝันจะเป็นนายกฯ

รถไฟไทยที่ทันสมัยมีให้พูดถึง
แต่นักด้อยค่าความเป็นไทย เลี่ยงที่จะพูดถึง เพราะกลัวคนรู้ความจริงว่า 8 ปีกับรัฐบาลประยุทธ์ พัฒนาไทยก้าวไกลไปสูดกู่

รถไฟฟ้า BTS และ MRT ก็คือรถไฟ

จ่อเปิดรถไฟทางไกลอีก 5 เส้นทาง ปีนี้! พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม ยกระดับการเดินทาง บริการขนส่ง

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยรัฐบาลเร่งขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ยกระดับการเดินทางและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างเป็นระบบ เตรียมเปิดให้บริการอีก 5 เส้นทางภายในปี 2565 นี้

(19 ก.ย. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลเร่งพัฒนาขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศ ตามนโยบายเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดับการเดินทางให้สะดวกรวดเร็ว และแก้ปัญหาการจราจรที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ซึ่งโครงข่ายรถไฟทางไกลรองรับการขนส่งจากถนนสู่ระบบราง และจากทางเดี่ยวสู่ทางคู่ ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทาง ระยะทาง 985 กิโลเมตร  ประกอบด้วย เส้นทางที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ 1. ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางคลองสิบเก้า – ชุมทางแก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร เปิดให้บริการแล้วเมื่อปี 2562 และ 2. ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร เปิดให้บริการแล้วเมื่อปี 2563

โซเชียลแชร์ ประสบการณ์รถไฟไทยยุคใหม่ หัวรถจักรใหม่ QSY 'วิ่งได้เร็ว-ราบรื่น-ถึงก่อนกำหนด'

เมื่อ (27 พ.ย. 65) ผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ในชื่อ 'Todd Advisor' ได้ทวิตข้อความถึงมิติใหม่รถไฟไทย ว่า...

เมื่อเช้ารถไฟกำหนดถึงหาดใหญ่ 07.25 แต่ถึงจริงๆ 07.15 เร็วกว่ากำหนด 10 นาทีด้วยซ้ำ เพราะหัวรถจักรใหม่ QSY วิ่งได้เร็ว และ Smooth มาก และทางรถไฟรางคู่ช่วง หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ และ บางช่วงของชุมพรเสร็จแล้ว รถไฟไม่ต้องรอหลีกกัน …

ถือว่า รฟท.พัฒนามาถูกทาง เริ่มช้าดีกว่าไม่เริ่มเลย

ได้นั่งแน่! ไม่นานเกินรอรถไฟความเร็วสู่สายอีสานและรถไฟเชื่อมสามสนามบิน | TIME TO KNOW EP.4

TIME TO KNOW EP.4

ไม่นานเกินรอรถไฟความเร็วสู่สายอีสานและรถไฟเชื่อมสามสนามบิน

.

ดำเนินรายการโดย วสันต์ มนต์ประเสริฐ Content Manager

.

🎥 ช่องทางรับชม

Facebook: THE STATES TIMES PODCAST

YouTube: THE STATES TIMES PODCAST

TikTok: THE STATES TIMES PODCAST

‘รฟท.’ จัดโปรฯ เที่ยวไทยสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยขบวนรถไฟ ‘KIHA 183’ ในธีม ‘ย้อนรอยประวัติศาสตร์’ กระจายรายได้-กระตุ้นการท่องเที่ยว

(31 มีค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย แผนเดินหน้าเพิ่มรายได้ขบวนรถไฟท่องเที่ยว KIHA 183 เชิญชวนประชาชนสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยว รถไฟไทย สไตล์ญี่ปุ่น ด้วยแนวคิด ‘ย้อนรอยประวัติศาสตร์’ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

“ในเดือนเมษายน 2566 รฟท. ได้จัดโปรแกรมท่องเที่ยวกับขบวนรถไฟ KIHA 183 ภายใต้แนวคิดย้อนรอยประวัติศาสตร์ โดยมีโปรแกรมท่องเที่ยวไปตามเส้นทางต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม เพื่อสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวในรูปแบบรถไฟไทย สไตล์ญี่ปุ่น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันที่ 1 - 2 เมษายน 2566 โปรแกรม แต่งกายย้อนยุค นั่งรถไฟ KIHA 183 ‘เที่ยวงานแก่งคอย ย้อนรอยอดีตสงครามโลกครั้งที่ 2’

วันที่ 8 - 9 เมษายน 2566 โปรแกรม นั่งรถไฟ KIHA 183 ‘ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองแปดริ้ว เติมความหวาน ในวันมะม่วงและของดีเมืองแปดริ้ว’

วันที่ 22 - 23 เมษายน 2566 โปรแกรม นั่งรถไฟ KIHA 183 ‘แต่งชุดไทย แลหาพี่หมื่น ตามหาออเจ้า ที่กรุงเก่าอโยธยา’

วันที่ 29 - 30 เมษายน 2566 โปรแกรม นั่งรถไฟ KIHA 183 ‘เที่ยวเมืองอาร์ต ราชบุรี ชมเชิดหนังใหญ่ – เพ้นท์โอ่ง (มังกร)’

นอกจากนี้ รฟท. ยังมีการจัดโปรแกรมท่องเที่ยวต่อเนื่องในทุกเดือน เช่น เดือนพฤษภาคม โปรแกรมท่องเที่ยว ในแนวคิด ‘ผจญภัยเหนือสายน้ำ’ เดือนมิถุนายน โปรแกรมท่องเที่ยวในแนวคิด ‘Save The World รักษ์โลก รัก(ของ)เรา’ ในเส้นทางจังหวัดต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

23 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 เกิดอุบัติเหตุรถไฟขบวนที่ 38 (รถเร็ว เชียงใหม่ - กรุงเทพ) ตกรางที่ระหว่างสถานีรถไฟผาคันและสถานีรถไฟปางป๋วย

เหตุการณ์รถไฟตกเหวที่จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2532 นับเป็นอุบัติเหตุทางรถไฟที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 เวลาประมาณ 20.30 น. ขบวนรถเร็วที่ 38 (เชียงใหม่-กรุงเทพ) (ปัจจุบันคือขบวนรถด่วนที่ 52 เชียงใหม่-กรุงเทพ) ตกรางช่วงระหว่างสถานีรถไฟปางป๋วย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กับสถานีรถไฟผาคัน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ (กม.ที่ 585-586) หัวรถจักรชนกับหน้าผาข้างทางอย่างรุนแรง ทำให้พนักงานขับรถไฟเสียชีวิต ส่วนช่างเครื่องและพนักงานรักษารถได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ขบวนรถไฟได้ตกลงไปในเหว จำนวน 8 คัน มูลค่าความเสียหายของการรถไฟฯ 3,539,677.63 บาท มีผู้โดยสารเสียชีวิต 8 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัส 32 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 107 คน

ผลการสอบสวนหาสาเหตุพบว่า ระบบห้ามล้อของหัวรถจักรมีปัญหาติดขัด และมีการตรวจซ่อมแก้ไขที่สถานีรถไฟนครลำปางจนใช้การได้ แต่เกิดอาการขัดข้องอีกช่วงผ่านสถานีรถไฟแม่เมาะ เมื่อขบวนรถวิ่งผ่านสถานีรถไฟปางป๋วย เจ้าหน้าที่สังเกตว่าขบวนรถมีอาการสะบัด โคลงตัว และได้แจ้งพนักงานขับรถทราบ และพยายามดึงเบรกฉุกเฉิน ในช่วงนั้นเป็นทางลงเขามีความลาดชัน จากเทปบันทึกการเดินรถในหัวรถจักรระบุว่า ขบวนรถวิ่งด้วยความเร็วถึง 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยความเร็วปลอดภัยที่กำหนดไว้เพียง 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขบวนรถจึงหลุดจากราง และพุ่งเข้าชนหน้าผา

อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่ เพราะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุด้วย 2 ราย

เหตุใดถนนสายบันเทิง อย่าง ‘RCA’ ถึงเป็นทางโค้ง? พร้อมเตรียมประมูลใหม่ เพื่อรองรับรถไฟฟ้าสายสีส้มในอนาคต

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 66 เพจเฟซบุ๊ก ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของ ‘โค้ง RCA’ ที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยทราบมาเล่าให้ฟังกัน

เคยสงสัยกันหรือไม่? ว่าเพราะเหตุใด ‘ถนน RCA’ ถึงเป็นโค้งเชื่อมไปที่ทางรถไฟสายตะวันออก ที่สถานีรถไฟคลองตัน

แล้วทราบหรือไม่? ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เคยมีโครงการรถไฟเลี่ยงกรุงเทพชั้นใน (บางซื่อ-คลองตัน) เพื่อรับและเชื่อมโยงรถไฟสายตะวันออก กับ เหนือ-ใต้ โดยไม่ผ่านสามเหลี่ยมจิตรลดา ซึ่งพื้นที่ RCA ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนั้น แต่ยิ่งกว่านั้น ถนนรัชดาภิเษก ช่วง ต่างระดับรัชวิภา-ศูนย์วัฒนธรรม และ ถนนศูนย์วัฒนธรรม ก็เป็นเขตพื้นที่ทางรถไฟ คลายข้อสงสัยกับหลายๆ คนว่าทำไม การรถไฟฯ ถึงมีที่ดินให้เช่าอยู่บนถนนรัชดา-RCA

แม้ตอนนี้อาจจะไม่ได้เห็นการพัฒนาทางรถไฟในเส้นทางนี้แล้ว แต่เส้นทางนี้ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่เพื่อการพัฒนา มาเป็นแหล่งรายได้ในการสนับสนุนการรถไฟฯ ในอนาคต ซึ่งที่ดินแปลง RCA นี้กำลังจะหมดสัญญา และจะถูกเปิดประมูลใหม่ ภายใต้การดูแลของ ‘SRTAsset’ (บริษัทบริหารสินทรัพย์ การรถไฟฯ) โดยจะมีการยกระดับการพัฒนาจากการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า สายสีส้ม ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งอยู่ต้นทาง RCA ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อย

‘บิ๊กป้อม’ เคาะ!! ‘EIA รถไฟรางคู่สายใต้’ งบ 5.7 หมื่นล้าน เชื่อมต่อ ‘สุราษฎร์ฯ–หาดใหญ่–สงขลา’ ระยะทาง 321 กม.

เมื่อไม่นานนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผ่านระบบ VTC ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด โดยที่ประชุมรับทราบเรื่องสำคัญ ประกอบด้วย รายงานสถานการณ์มลพิษฯ ปี 2565 สรุป คุณภาพน้ำ ทั้งแหล่งผิวดิน น้ำทะเลชายและน้ำบาดาล โดยรวมอยู่ในเกณฑ์คุณภาพดี คุณภาพอากาศและเสียงมีแนวโน้มดีขึ้นขยะมูลฝอยชุมชนของเสียและสารอันตรายพบว่าขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นมีการขัดแยกและกำจัดขยะถูกต้องเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันของเสียอันตรายและวัตถุอันตรายมีปริมาณเพิ่มขึ้นกากอุตสาหกรรมที่มีอันตรายมีการแจ้งและนำเข้าสู่ระบบการจัดการเพิ่มขึ้นมูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้นและได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

ต่อจากนั้น ที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาและให้ความเห็นชอบ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี – ชุมทางหาดใหญ่ – สงขลา นอกจากนั้น ยังให้ความเห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า เพื่อควบคุมและแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง

โดยรองนายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ร่วมกันทำหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นและมุมมองต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อเนื่องที่ผ่านมา พร้อมย้ำโครงการสาธารณะขนาดใหญ่ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ขอให้ใช้ความรอบคอบทั้งหลักวิชาการและสภาพจริง รวมทั้งต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมและรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อย่างรอบด้าน

พร้อมกำชับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถึงปัญหาสถานการณ์มลพิษ ทั้งคุณภาพน้ำ อากาศและเสียง รวมทั้งขยะมูลฝอยชุมชน ของเสียและวัตถุอันตราย บางพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม จำเป็นต้องให้น้ำหนักเข้าไปแก้ปัญหาให้ทั่วถึง สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการทำการเกษตรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปล่อยปริมาณน้ำเสียลงผิวดินเพิ่ม ประกอบกับระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชนที่ไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องประสานการทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยขอให้มีแผนงาน มาตรการรองรับและมีการกำกับที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำผลการประชุมดังกล่าว เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และดูแลกำกับโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนด

เปิด 4 มาตรฐานใหม่ ยกระดับรางรถไฟไทย ปลอดภัยขั้นสุด

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 66 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานการขนส่งทางราง ครั้งที่ 8-2/2566 พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมมนังคสิลา ชั้น 2 อาคาร ณ ถลาง กรมการขนส่งทางราง และผ่านระบบ Zoom cloud meetings  

โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างมาตรฐาน จำนวน 4 มาตรฐาน ได้แก่...

1. มาตรฐานองค์ประกอบทางรถไฟ (Track Components) เพื่อใช้กำหนดมาตรฐานการทดสอบและการรับรองคุณสมบัติและประสิทธิภาพขององค์ประกอบทางรถไฟ ซึ่งประกอบด้วย ราง เชื่อมต่อราง อุปกรณ์ยึดเหนี่ยวราง และหมอนรองราง สำหรับทางรถไฟขนาดกว้าง 1.000 เมตร และขนาด 1.435 เมตร

2. มาตรฐานตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ (Railway Track Transition Zone) เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดมาตรฐานและเทคนิคในการออกแบบก่อสร้างและปรับปรุงในตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟขนาดกว้าง 1.000 เมตร และขนาด 1.435 เมตร ที่เชื่อมต่อระหว่างทางรถไฟที่มีหินโรยทางกับทางรถไฟที่ไม่มีหินโรยทางหรือทางรถไฟบนพื้นคอนกรีต รวมไปถึงตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ ที่เชื่อมต่อกับสะพาน (Bridge) อุโมงค์ (Tunnel) ท่อทางลอดระบายน้ำ (Culvert) และบริเวณอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็งเกร็งแบบทันทีทันใด เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงทางรถไฟบริเวณตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ

3. มาตรฐานการออกแบบทางรถไฟชนิดมีหินโรยทาง (Ballasted Track Design) เพื่อใช้สำหรับเป็นข้อกำหนดมาตรฐานและเทคนิคในการออกแบบทางรถไฟชนิดมีหินโรยทาง บนทางรถไฟขนาดกว้าง 1.000 เมตร และขนาด 1.435 เมตร ให้มีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัย

4. มาตรฐานระบบระบายน้ำบนทางรถไฟสำหรับระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง (Track Drainage System for Intercity Rail) เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดด้านเทคนิคสำหรับการระบายน้ำบนทางรถไฟในเขตทางรถไฟของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานทั้ง 4 มาตรฐานดังกล่าว โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะผู้จัดทำ นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุง ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นไปบังคับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top