Tuesday, 13 May 2025
POLITICS

ครม.อนุมัติกรอบวงเงิน 6.78 พันล้าน จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี พ.ศ.2569 และนครราชสีมา พ.ศ.2572 พร้อมยื่นประมูลเป็นเจ้าภาพ 7 ม.ค.นี้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติกรอบวงเงินจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 วงเงิน 2,500 ล้านบาท และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2572 วงเงินงบ 4,281 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 6,781 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทย 2)กระตุ้นเศรษฐกิจด้านธุรกิจการนำเข้า – ส่งออกผลผลิตการเกษตรและธุรกิจท่องเที่ยว 3)ส่งเสริมการต่อยอดการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตร ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีกำหนดยื่นประมูลสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 ในวันที่ 7 มกราคม 2565 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2572 ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 สำหรับรายละเอียดการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด มีดังนี้

1.งานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2569 (ระดับ B) วงเงิน 2,500 ล้านบาท กำหนดสถานที่จัดงานเป็นบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี รวม 1,030 ไร่ ตั้งเป้าหมายมีผู้เข้าชมงาน 3.6 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติร้อยละ 30 ตลอดระยะเวลาจัดงาน 134 วัน (ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2569 - 14 มี.ค. 2570) และมีประเทศเข้าร่วมงาน 20 ประเทศ สำหรับประเภทงานระดับ B หรือ International Horticultural Exhibition จะต้องใช้พื้นที่จัดแสดง 250,000 ตารางเมตร มีระยะเวลาจัดงาน 3-6 เดือน มีผู้เข้าร่วมงานจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 10 ประเทศ 

2.งานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2572 (ระดับ A1) วงเงินงบ 4,281 ล้านบาท กำหนดสถานที่จัดงานเป็นบริเวณพื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์โคกหนองรังกา ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา รวม 678 ไร่ ตั้งเป้าหมายมีผู้เข้าชมงาน 2.6 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติร้อยละ 15 ตลอดระยะเวลาจัดงาน 110 วัน (ระหว่างวันที่ 10 พ.ย. 2572 - 28 ก.พ. 2573) และมีประเทศเข้าร่วมงาน 30 ประเทศ สำหรับประเภทงานระดับ A1 หรือ World Horticultural Exposition จะต้องใช้พื้นที่จัดแสดง 500,000 ตารางเมตร มีระยะเวลาจัดงาน 3 - 6 เดือน มีผู้เข้าร่วมงานจากต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 10 ประเทศ

เฮ แรงงานประกันสังคมได้รับบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น 

น.ส.ไตรศุลี  ไตรสรณกุล  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ เพื่อกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2564 

ทั้งนี้กำหนดให้การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1-31 ม.ค. 2564 ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.45ของค่าจ้าง และกำหนดให้การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. -31 มี.ค. 2564 ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.3 ของค่าจ้าง

ครม. เห็นชอบ วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  จำนวน 3,185,000 ล้านบาท มอบหมาย หน่วยงานดำเนินการตามข้อสั่งการนายกฯ สร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ เร่งติดตามการขับเคลื่อนมาตรการของรัฐบาล

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3,185,000 ล้านบาท และ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1)เห็นชอบกรอบวงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,185,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 85,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้ (1)รายจ่ายประจำ จำนวน 2,390,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 16,990.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.72 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.04 ของวงเงินงบประมาณ (2)รายจ่ายลงทุน จำนวน 695,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 83,066.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.57 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.82 ของวงเงินงบประมาณ (3)รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 100,000 ล้านบาท เท่ากับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.14ของวงเงินงบประมาณ

2) รายได้สุทธิจำนวน 2,490,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 90,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 

3) งบประมาณขาดดุล จำนวน 695,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 5,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.71 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.89 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทั้งนี้วงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,185,000 ล้านบาท ดังกล่าว เท่ากับกรอบวงเงิน ตามแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2566 – 2569) ที่ครม. ได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2564 สำหรับงบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนด ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

ครม.อนุมัติกรอบวงเงิน 4,180 ล้านบาทให้ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน EXPO 2028 – Phuket, Thailand

น.ส.ไตรศุลี  ไตรสรณกุล  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 4,180 ล้านบาท ให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Specialised Expo ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน EXPO 2028 – Phuket, Thailand โดยครม.เคยมีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติในหลักการให้ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน EXPO 2028 – Phuket, Thailand และนายอนุทิน  ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในหนังสือเสนอตัวเป็นเจ้าภาพเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564

“ราเมศ” เผย เลือกตั้งซ่อมชุมพร-สงขลา ปชช.ตอบรับดีมาก มั่นใจประชาชนเข้าคูหาเลือกผู้สมัครปชป.อย่างแน่นอน

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประสานงานส่วนกลาง กล่าวถึงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อมเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.ชุมพร และเขตเลือกตั้งที่ 6 จ.สงขลา ว่าจากการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครและพรรค ที่ได้นำเสนอทั้งแนวนโยบายพรรคและคุณสมบัติของผู้สมัครที่มีความพร้อมทั้งความรู้ความสามารถและที่สำคัญพร้อมทำงานให้กับ ประชาชนได้ทันที  โดยในเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.ชุมพร นายอิสระพงษ์ มากอำไพ ผู้สมัครของพรรคฯ เป็นคนรุ่นใหม่ที่ได้คลุกคลีทำงานในพื้นที่กับชาวบ้านมาโดยตลอด มีความรู้ความสามารถหากได้รับการเลือกตั้งสามารถเข้ามาทำหน้าที่ในสภา ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนตามนโยบายพรรคได้ทันที

เชื่อว่าปัญหาของประชาชนในพื้นที่จะนำไปแก้ปัญหาผ่านสภาฯอย่างมีประสิทธิภาพ และจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะมาสานต่อการทำหน้าที่ของนายชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในพื้นที่ประชาชนเป็นจำนวนมากต้องการคืนความเป็นธรรมให้กับนายชุมพล ที่ถูกเพิกถอนสิทธิจากการไปต่อสู้เพื่อความถูกต้องให้กับประเทศ โดยการเลือกผู้สมัครของพรรค

“เรืองไกร” ร้องกกต.สอบ “หมอชลน่าน” ปม “ทักษิณ” เป็นเจ้าของพรรคหรือไม่ เหตุ “พล.อ.พัลลภ” โวยถูกขับพ้นพรรคเพื่อไทย

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า จากกรณีการให้ข่าวของพล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตนายทหารยังเติร์ก แกนนำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 ( จปร.7) กล่าวอ้างว่าถูกนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปลดออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยนั้น อาจจะเป็นหลักฐานที่มีมูลอันควรเชื่อได้ว่าพรรคเพื่อไทยเข้าข่ายกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 28 หรือไม่ตามมาได้ กรณีดังกล่าวพล.อ.พัลลภให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าวยอมรับว่าถูกนายทักษิณ ปลดออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย โดยไม่ทราบสาเหตุและไม่แจ้งล่วงหน้า และได้โทรศัพท์สอบถาม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ทราบว่านายทักษิณให้ปลด ข้อเท็จจริงดังกล่าวพล.อ.พัลลภ ได้กล่าวอ้างและพาดพิงนพ.ชลน่าน และยังกล่าวอ้างว่านายทักษิณ เป็นเจ้าของพรรคด้วย กรณีจึงมีเหตุต้องขอให้กกต. ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากนพ.ชลน่าน ดังต่อไปนี้ 1.พล.อ.พัลลภ ได้โทรศัพท์หานพ.ชลน่านจริงหรือไม่ เบอร์โทรอะไร วัน เวลาใด 2.พล.อ.พัลลภ ถูกนายทักษิณปลดออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยจริงหรือไม่ 3.พล.อ.พัลลภ ถูกลบชื่อออกจากการประชุมใหญ่ประจำปีที่จ.ขอนแก่น จริงหรือไม่
4.นพ.ชลน่าน ทราบเรื่องที่นายทักษิณให้ปลดพล.อ.พัลลภ จริงหรือไม่ 5.การกล่าวอ้างของพล.อ.พัลลภ ทำให้พรรคเพื่อไทยเสียหายหรือไม่ และพรรคเพื่อไทยจะฟ้องร้องดำเนินคดีกรณีนี้อย่างไร หรือไม่

“เรืองไกร” เครื่องร้อน จ่อยื่น กกต. ถกปม “นายกฯ8 ปี” 10ม.ค.นี้ สอนมวย “ฝ่ายค้าน” รธน.เปิดช่อง ไม่ต้องรอถึง 24 ส.ค. เย้ย อ่านกฎหมายให้แม่น  ไม่สน “บิ๊กตู่” โกรธ

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงปัญหาการนับวาระพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครบ 8 ปีว่า จากการติดตามบรรดานักการเมือง นักกฎหมาย ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ สรุปได้ว่าวันที่ 24 ส.ค. 2565 จะยื่นเรื่องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย แต่ตนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรอถึงวันนั้น เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ให้สิทธิ์สามารถยื่นร้องผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ ฉะนั้น ตนจึงตั้งใจว่าวันที่ 10 ม.ค.นี้ จะไปยื่นสำนวนต่อกกต. ให้ศึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ แล้วส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และเมื่อถึงวันที่ 24 ส.ค. ศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถสั่งให้พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้เลย เพราะไม่เช่นนั้นหากมีคำสั่งการบริหารราชการต่างๆเกิดขึ้นในขณะนั้นจะยุ่งยาก 

รัฐบาลหนุนคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์-จักรยานยนต์ ช่วยลูกหนี้ไม่เจอโกง

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปี 2565 รัฐบาลกำหนดเป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน โดยเตรียมกำหนดหน่วยงานเพื่อเข้ามากำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อหรือธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อเพื่อให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ, พิจารณามาตรการดูแลประชาชนที่เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เช่น คนขับรถแท็กซี่ คนขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่เช่าซื้อรถมอเตอร์ไซต์ เกษตรกรที่เช่าซื้อรถไถมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้กำลังประสบปัญหาและไม่ได้รับความเป็นธรรม และ จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาจากกรณีเช่าซื้อรถและการทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรมเพื่อให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน 

สำหรับถึงการแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ปัจจุบันพบว่า ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแลธุรกิจเช่าซื้อ และไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกรรมเช่าซื้อเป็นการเฉพาะ ทำให้เกิดการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ล่าสุดคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ จึงได้เข้าไปแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในเบื้องต้นได้มีการออกประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ เพื่อคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้ถูกเก็บเงินในการทวงถามหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เกินความจำเป็น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา 

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม 4 มาตรการรัฐ โดนใจปชช. เผย ยอดใช้จ่ายพุ่งกว่า 2.5 แสนล้าน 

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม 4 มาตรการรัฐ ลดค่าครองชีพ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากผลกระทบโควิด-19 โชว์ตัวเลข ‘บัตรคนจน-คนละครึ่ง-ยิ่งใช้ยิ่งได้’ ยอดใช้จ่ายพุ่ง 2.5 แสนล้าน

เมื่อวันที่ 4 ม.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความยินดีที่กระแสตอบรับจากประชาชนพอใจ และชื่นชอบมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19 ปี 2564 ของรัฐบาล โดยทั้ง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สิ้นสุดระยะเวลาการใช้จ่ายไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 

นายธนกร กล่าวว่า ซึ่งกระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้รายงานตัวเลขยอดการใช้จ่ายมีผู้ใช้สิทธิสะสมทั้ง 4 โครงการรวม 41.5 ล้านราย ยอดใช้จ่ายสะสมทั้งหมด 254,281.7 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้ 

1.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมประมาณ 13.55 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 24,010 ล้านบาท 
2.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ผู้ใช้สิทธิสะสมประมาณ 1.51 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 2,183.3 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวว่า 3.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 26.35 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิจำนวน 27.98 ล้านราย และมีจำนวนผู้ใช้สิทธิครบ 4,500 บาท แล้วกว่า 10.87 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 223,921.8 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 113,936 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 109,985.8 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 88,712.9 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 36,037 ล้านบาท ร้าน OTOP 10,843.2 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 84,160.7 ล้านบาท ร้านบริการ 3,900.1 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 267.9 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวว่า และ 4.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 91,952 ราย จากผู้ได้รับสิทธิจำนวนกว่า 4.9 แสนราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชน 3,827.4 ล้านบาท มีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher 3,064 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม e-Voucher ทั้งสิ้นกว่า 353.8 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายสะสมส่วน e-Voucher 339.2 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมรวมส่วนประชาชนและ e-Voucher แบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 197.6 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 214.4 ล้านบาท ร้าน OTOP 441 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 3,167.6 ล้านบาท และร้านบริการ 146 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีมาตรการช้อปดีมีคืน 2565 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า และค่าบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หนังสือ e-Book และสินค้า OTOP ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2565 ซึ่งจะยื่นแบบและชำระภาษีในช่วงต้นปี 2566 โดยผู้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ที่เพิ่งสิ้นสุดโครงการไปเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 64 สามารถไปใช้โครงการสิทธิ์ช้อปดีมีคืนได้  

“อนุทิน” ชง ศบค.เลื่อนเปิด “Test and go” รับมือโอมิครอน 

จากกรณีที่มีรายงานจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เพิ่มขึ้น 229 ราย สะสมทั้งหมด 1,780 ราย โดยจังหวัดที่พบมากที่สุดยังเป็นกรุงเทพมหานคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชลบุรี และภูเก็ต โดยยังคงพบการติดเชื้อในผู้เดินทางเข้าประเทศ เมื่อวันที่ 3 มกราคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ว่า 

การที่ทั่วโลกพบการติดเชื้อโอมิครอนเพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องประกาศชะลอการเดินทางเข้าประเทศในระบบ Test and go เพื่อประเมินสถานการณ์ จากที่กำหนดทีแรกว่าจะรอดู จนถึงวันที่ 4 มกราคม แต่ด้วยขณะนี้เรายังพบผู้เดินทางเข้าประเทศติดเชื้อโอมิครอน ส่งผลให้ในที่ประชุม EOC ของ สธ. ในวันนี้ ที่ มีปลัด สธ. อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้บริหาร สธ. และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่ต่างให้ความเห็นว่า สธ.ควรจะเสนอต่อ ศบค. พิจารณาเลื่อนมาตรการ test and go ออกไปจนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2565 ซึ่งตนให้การสนับสนุนการตัดสินใจนี้ และได้ออกคำสั่งไปแล้วว่าต้องรีบเสนอ ศบค.

“คุณหญิงกัลยา” ห่วงนักเรียน กำชับสถานศึกษาในกำกับเตรียมรับมือโอไมครอน พร้อมหนุนรัฐใช้พื้นที่วิทยาลัยเกษตรฯ เป็นโรงพยาบาลสนาม 

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ห่วงนักเรียน หวั่นเชื้อโควิดโอไมครอน ขยายวงกว้างสู่ชุมชนขึ้น หลังหยุดยาวในช่วงปีใหม่ กำชับสถานศึกษา วิทยาลัยเกษตรฯ-การศึกษาพิเศษ ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขเคร่งครัด พร้อมใช้วิทยาลัยเกษตรฯ เป็นโรงพยาบาลสนาม หากสาธารณสุขแต่ละพื้นที่ร้องขอ ย้ำช่วงนี้ครูและผู้ปกครองต้องช่วยดูแลเด็กเป็นพิเศษ 

นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) เปิดเผยว่า คุณหญิงกัลยา มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์โอไมครอน ที่ทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัด จึงได้สั่งการให้สถานศึกษาในกำกับทุกแห่งโดยเฉพาะวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และศูนย์การศึกษาพิเศษทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนประจำ ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ภายใต้มาตรฐาน Sandbox Safety Zone ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข โดยจำกัดบุคคลเข้าออกโรงเรียนอย่างชัดเจน มีการคัดกรองและเน้นการทำกิจกรรมในรูปแบบ Bubble and Seal เพื่อป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ในโรงเรียน

นอกจากนี้คุณหญิงกัลยาได้สั่งการให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่หากทางสาธารณสุขอำเภอ หรือทางจังหวัดขอความร่วมมือมา หาต้องการใช้พื้นที่เป็นสถานที่พักคอยสำหรับผู้สัมผัสเชื้อความเสี่ยงสูง และหากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นจนโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้เพียงพอก็ให้พร้อมจัดเตรียมเป็นโรงพยาบาลสนาม

ทั้งนี้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 47 แห่งทั่วประเทศ มีความพร้อม โดยได้มีการเตรียมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไว้ตั้งแต่การระบาดได้ทวีความรุนแรงในช่วงเดือนเมษายน 2564 โดย วิทยาลัยเกษตรฯ จะให้ใช้สถานที่ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดการพักคอย หรือใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม ในขณะที่สาธารณสุขในพื้นที่ก็จะส่งบุคลากรเข้ามาดำเนินการในเรื่องอาหาร ความสะอาด และการควบคุมโรคภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุขที่ถูกต้อง 

จับตา! ประชุมครม.นัดของแรกปี ตช. ของบฯปี 66 สร้างที่จอดรถ-แฟลตตำรวจ 

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ครั้งที่ 1/2565 นัดแรกของปีใหม่นี้ ผ่านระบบการประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ จากที่พัก เช่นเดียวกับ ครม.คนอื่นๆ ซึ่งประชุมจากที่พักหรือที่กระทรวง ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) ที่ให้ส่วนราชการปฎิบัติหน้าที่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน 

โฆษกรัฐบาล เปิดรายละเอียด แก้หนี้ 8 กลุ่ม รวม ครู-ตร. ย้ำคำ นายกฯ '65 ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้โพสต์ผ่านเพจ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Cha-o-cha" ย้ำความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ผลักดันให้ปี 2565 นี้ เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” ให้สำเร็จให้ได้  ซึ่งนายกรัฐมนตรียอมรับว่า วิกฤตโควิด-19 ซ้ำเติมให้ปัญหา"ปัญหาหนี้สินครัวเรือน"  มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่ นายกรัฐมนตรีจะเดินหน้าทุกวิถีทาง เพื่อช่วยบรรเทาภาระและความเดือดร้อนของทุกกลุ่มลูกหนี้  ล่าสุดได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 21 ธันวาคม 64  ผลักดันร่างพ.ร.บ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....   เข้าสู่รัฐสภาพิจารณา  โดยหวังจะได้รับความร่วมมือสมาชิกรัฐสภา ผ่านร่าง พ.ร.บ. โดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อการแก้หนี้นักเรียน นักศึกษาและผู้คำ้ประกันกว่า 5 ล้านคน

นายธนกร กล่าวว่า ความก้าวหน้าของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรีฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน  เป็นประธาน ในการดำเนินการตามข้อสั่งการของพล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ครอบคลุม 8 กลุ่มหนี้ ได้แก่ 

1) การแก้ปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  (กยศ.)  ปฏิรูปรูปแบบการชำระหนี้ อาทิ การปรับปรุงรูปแบบการจ่ายชำระหนี้คืน จาก “รายปี” เป็น “รายเดือน” เป็นชำระคืนค่างวดแบบเฉลี่ย “เท่ากันทุกเดือน” ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระจาก 15 ปี เป็น 25 ปี  การเริ่มชำระหนี้ ให้ผูกกับ “การมีงานทำ” ปรับปรุงลำดับการตัดชำระหนี้ โดยนำไปตัด “เงินต้น” ก่อน แล้วจึงนำมาตัด “ดอกเบี้ย”  ปรับลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เหลือ 2% ต่อปี ยกเลิกผู้ค้ำประกันตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 เป็นต้น

2) การกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ ผ่านกลไกธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินของรัฐ โดย ธปท. จะออกประกาศเรื่อง “การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจอย่างยั่งยืน” เพื่อช่วยให้ SFIs สามารถปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้โดยไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการถูกลงโทษตามกฎหมาย  ประกาศของ ธปท. และข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

3) การแก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์  เช่น การประกาศกรอบอัตราค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ที่ช่วยคุ้มครองลูกหนี้ ไม่ให้ถูกเรียกเก็บเงินในการทวงถามหนี้เกินความจำเป็น  โดยอัตราค่าทวงถามหนี้กรณีทั่วไปรวมจำนำทะเบียน ให้คิดไม่เกิน 50 บาทต่อรอบการทวงถามกรณีค้างชำระ 1 งวด และคิดไม่เกิน 100 บาทต่อรอบการทวงถาม กรณีค้างชำระมากกว่า 1 งวด   คิดอัตราค่าทวงถามหนี้สำหรับปฏิบัติการลงพื้นที่ติดตามถามหนี้ สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ไม่เกิน 400 บาทต่อรอบการทวงถาม  กำหนดค่างวดที่ถึงกำหนดชำระที่ต่ำกว่า 1,000 บาท ไม่ให้มีการเก็บค่าทวงถามหนี้ 

4) การแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการครูและข้าราชการตำรวจ อาทิ การยุบยอดหนี้โดยใช้ทรัพย์สินและรายได้ในอนาคตของครู   การปรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลงเหลือไม่เกิน 5% เพื่อให้สอดคล้องกับสินเชื่อหักเงินเดือนข้าราชการที่มีความเสี่ยงต่ำ   การปรับลดค่าธรรมเนียมทำประกันชีวิตและการค้ำประกันโดยบุคคลที่ไม่จำเป็น การยกระดับระบบการตัดเงินเดือนของข้าราชการให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากขึ้น 

การแก้ไขปัญหาหนี้ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ขอความร่วมมือไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจเพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในการพักชำระหนี้เงินต้น การปรับลดอัตราการถือหุ้นรายเดือน การจัดทำโครงการปล่อยเงินกู้ระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกในครอบครัว และการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสมาชิกที่มีหนี้เงินกู้

หน่วยงานต้นสังกัดเร่งปรับปรุงและยกระดับระบบการตัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ อาทิ กำหนดยอดเงินที่ข้าราชการสามารถกู้ได้โดยไม่เกินศักยภาพในการชำระคืนจากเงินเดือน กำหนดกติกาว่าหลังหักชำระหนี้ ข้าราชการต้องเหลือเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 30% เพื่อป้องกันการกู้ยืมนอกระบบ  

 5) การปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม และการออกมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ของลูกหนี้ ล่าสุดกระทรวงการคลังได้ปรับลดเพดานเงินกู้สินเชื่อ PICO Finance ลงจาก 36% เหลือ 33% สำหรับลูกหนี้ที่วางหลักประกัน  ล่าสุด  16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ธปท. ได้ออกมาตรการแก้ไขหนี้สินระยะยาวเพิ่มเติม ด้วยการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (Refinance) และการรวมหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19  สามารถนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว นอกจากนี้  ธปท. ลดข้อจำกัดการทำ   รีไฟแนนซ์ (Refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย 

6) การแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีการจัดตั้ง “คลินิกแก้หนี้” เพื่อเป็น platform กลางในการแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ปกติมักมีเจ้าหนี้หลายราย ที่ผ่านมาช่วยเหลือแก้หนี้หลายหมื่นบัญชี    ธปท. ยังจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์  ได้ช่วยประชาชนรายย่อยมากกว่าสองแสนราย  

โฆษกรัฐบาล โชว์ตัวเลข 4 มาตรการรัฐ ลดค่าครองชีพ ฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากผลกระทบ โควิด-19 บอก บิ๊กตู่ ปลื้ม

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความยินดีที่กระแสตอบรับจากประชาชนพอใจ และชื่นชอบมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19 ปี 2564 ของรัฐบาล โดยทั้ง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ สิ้นสุดระยะเวลาการใช้จ่ายไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 

นายธนกร กล่าวว่า ซึ่งกระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้รายงานตัวเลขยอดการใช้จ่ายมีผู้ใช้สิทธิสะสมทั้ง 4 โครงการรวม 41.5 ล้านราย ยอดใช้จ่ายสะสมทั้งหมด 254,281.7 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้ 1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมประมาณ 13.55 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 24,010 ล้านบาท 2) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ผู้ใช้สิทธิสะสมประมาณ 1.51 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 2,183.3 ล้านบาท 

นายธนกร กล่าวว่า 3) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 26.35 ล้านราย จากผู้ได้รับสิทธิจำนวน 27.98 ล้านราย และมีจำนวนผู้ใช้สิทธิครบ 4,500 บาท แล้วกว่า 10.87 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 223,921.8 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 113,936 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 109,985.8 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 88,712.9 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 36,037 ล้านบาท ร้าน OTOP 10,843.2 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 84,160.7 ล้านบาท ร้านบริการ 3,900.1 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 267.9 ล้านบาท 

นายธนกร กล่าวว่า และ 4) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 91,952 ราย จากผู้ได้รับสิทธิจำนวนกว่า 4.9 แสนราย โดยมียอดใช้จ่ายสะสมส่วนประชาชน 3,827.4 ล้านบาท มีมูลค่าการใช้จ่ายสะสมที่นำมาคำนวณสิทธิ e-Voucher 3,064 ล้านบาท และคิดเป็นมูลค่าสะสม e-Voucher ทั้งสิ้นกว่า 353.8 ล้านบาท และมูลค่าการใช้จ่ายสะสมส่วน e-Voucher 339.2 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมรวมส่วนประชาชนและ e-Voucher แบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 197.6 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 214.4 ล้านบาท ร้าน OTOP 441 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 3,167.6 ล้านบาท และร้านบริการ 146 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีมาตรการช้อปดีมีคืน 2565 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า และค่าบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หนังสือ e-Book และสินค้า OTOP ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2565 ซึ่งจะยื่นแบบและชำระภาษีในช่วงต้นปี 2566 โดยผู้ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งเฟส 3 ที่เพิ่งสิ้นสุดโครงการไปเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.64 สามารถไปใช้โครงการสิทธิ์ช้อปดีมีคืนได้  

อาเซียนจะฉวยประโยชน์อย่างไรกับยุทธศาสตร์ตัดแขน-ขาจีนของสหรัฐฯ และพันธมิตร | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.35

อาเซียนจะฉวยประโยชน์อย่างไร? ในจังหวะที่การเมืองโลกจาก ‘สหรัฐฯ - พันธมิตร’ กำลังปั้นทุกยุทธศาสตร์ เพื่อตัดแขน-ขาจีน

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top