1 ปีแห่งความพยายามเพื่อประเทศ ของ ‘เศรษฐา ทวีสิน’
🗓เกือบ 1 ปีมานี้ ก็ถือว่าท่านพยายามทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างเต็มที่อยู่นะ!!

🗓เกือบ 1 ปีมานี้ ก็ถือว่าท่านพยายามทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างเต็มที่อยู่นะ!!
(15 ส.ค. 67) ที่รัฐสภา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รักษาการรองนายกฯ และ รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พร้อมด้วยสมาชิกพรรค ร่วมกันแถลงภายหลังการประชุมพรรค โดยนายพีระพันธุ์ กล่าวว่า จุดยืนของพรรคขอสนับสนุนให้แคนดิเดตของพรรคเพื่อไทยเป็นนายกฯ อย่างไรก็ตาม พรรครวมไทยสร้างชาติยังยืนยันว่าต้องไม่มีนโยบายที่จะแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112
เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่จะให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี กลับมาเป็นนายกฯ? นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า "พล.อ.ประยุทธ์ คงไม่กลับมา เพราะเป็นองคมนตรีแล้ว อย่าเอาข่าวแบบนี้มาทำให้มีปัญหาเพราะองคมนตรีไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง อีกทั้งตามมารยาทแล้ว พรรครวมไทยสร้างชาติเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแต่แรก ก็ต้องให้สิทธิกับพรรคแกนนำรัฐบาลก่อน ทั้งนี้ การทำงานของรัฐบาลยังคงต่อเนื่อง เพียงแค่เปลี่ยนตัวนายกฯ เท่านั้น โดยโควตาของรัฐมนตรีเท่าที่ทราบมา ทุกพรรคก็ทำงานต่อเหมือนเดิม ส่วนความพึงพอใจนั้นพรรครวมไทยสร้างชาติก็พอใจการทำงานที่ผ่านมา ส่วนพรรคอื่นต้องไปถามเอาเอง"
เมื่อถามถึงความกังวลในด้านสุขภาพของนายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย? นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า "ตนก็ไม่ทราบเพราะจากข่าวก็ยังไม่มีการสรุปว่าแคนดิเดตจะเป็นนายชัยเกษม ซึ่งจากข่าวที่ออกมาก็ทราบเพิ่มว่าพรรคเพื่อไทยจะประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคอีกครั้งในช่วงบ่ายวันนี้ เรื่องโดยมารยาทต้องเป็นเรื่องของพรรคแกนนำ ส่วนเรื่องปัญหาก็ต้องให้พรรคหลักเป็นผู้จัดการ"
เมื่อถามว่าทางพรรคพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของพรรคเพื่อไทยต่อใช่หรือไม่? นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า "ในเรื่องของนโยบายยังยึดเช่นเดิม แม้ว่าก่อนหน้านี้พรรครวมไทยสร้างชาติจะกังวลว่านโยบายนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จนกระทั่งมีการชี้แจงจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และกระทรวงการคลังว่าสามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องให้พรรคเพื่อไทยเป็นผู้ชี้แจงว่าจะมีปัญหาหรือทำต่อไปได้หรือไม่"
(15 ส.ค. 67) นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ ‘ถ้านายกฯ เป็น ชัยเกษม’ ระบุว่า…
ชัยเกษม เป็นอดีตอัยการสูงสุด ที่ใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้อง คดีอาญา พิชิต ชื่นบาน คดีถุงขนม
พิชิต ชื่นบาน ทำให้ เศรษฐา ทวีสิน พ้นนายกฯ สภาทนายความให้ พิชิต ชื่นบาน ผิดจริยธรรมร้ายแรง ศาลปกครองยืนตามสภาทนายความ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ เศรษฐา พ้นนายกฯ เพราะ พิชิต ชื่นบาน
ชัยเกษม นิติสิริ เกี่ยวพันทางจริยธรรมคดีตั้งแต่ต้น ถ้าชัยเกษม เป็นนายกฯ มีคนไปร้อง จริยธรรมเรื่องดุลพินิจมิชอบ เรื่องนี้เป็นจุดบอดระบอบทักษิณอีกเรื่องในอนาคต
กรณีที่มีกระแสข่าวว่าบ้านจันทร์ส่องหล้าเคาะจะส่งนายชัยเกษม นิติสิริ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ในวันพรุ่งนี้ (16 ส.ค.) ว่า…
จริง ๆ มีการพูดคุยกัน แต่ตนไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ตนอยู่ที่สภาฯ เพื่อเคลียร์วาระการประชุมต่าง ๆ กับวิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาล อย่างไรก็ตามแม้จะมีข่าวออกมาแล้ว แต่ตนก็มองว่าเป็นแค่การพูดคุยกัน ส่วนเรื่องอื่นต้องรอสรุป หลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรคบ่ายวันนี้
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า เหมือน สส. ส่วนใหญ่จะสนับสนุน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นบุคคลที่จะเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี นายสรวงศ์กล่าวว่า จริง ๆ แล้วพรรคเพื่อไทยยังเหลือแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีอีก 2 คน ซึ่งต้องดูความเหมาะสม และจะมีการประชุม กก.บห. ซึ่งจะมีการประชุม สส. เพื่อเรียกกำลังใจกลับมา การที่เราจะปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป ส่วนเรื่องของฝ่ายบริหารขอให้เป็นมติของที่ประชุม กก.บห.
ผู้สื่อข่าวถามเพิ่มว่า มติ สส. ที่สนับสนุน น.ส.แพทองธาร จะสามารถสู้มติของกก.บห.พรรคได้หรือไม่ นายสรวงศ์ กล่าวว่า แน่นอนว่ากก.บห.ก็ ฟังมติของสส. ฉะนั้นหากมีประชุม ยกเหตุผลมาแล้ว ก็น่าจะสรุปได้ในบ่ายวันนี้
(15 ส.ค. 67) ที่รัฐสภา นายสุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและรักษาการรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าหารือที่บ้านจันทร์ส่องหล้า เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้หลายคนมองว่าแทรกแซงจากบุคคลภายนอก ว่า เขารู้จักกันก็เรียกไปปรึกษาหารือเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นทางการ ปรึกษาหารือธรรมดา
ต่อข้อคำถามว่า ‘ห่วงว่าจะมีคนยื่นเอาผิดภายหลังหรือไม่ กรณีคนนอกเข้ามาแทรกแซงพรรค?’ นายสุทิน กล่าวว่า ไม่น่ามีอะไรถึงขั้นนั้น เพราะสถานการณ์เป็นแบบนี้ คนรู้จักกัน ต้องหารือกัน ซึ่งการหารือดังกล่าว ไม่ใช่การเคาะชื่อนายชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย ให้เสนอชื่อโหวตเป็นนายกฯ ทั้งนี้ชื่อดังกล่าวเป็นการคาดหมายกันเท่านั้น เพราะการเสนอชื่อต้องเป็นมติพรรคที่ต้องออกมาอย่างเป็นทางการ
เมื่อถามถึง ‘ความพร้อมของนายชัยเกษมต่อการรับตำแหน่งนายกฯ เพื่อบริหารประเทศ’ นายสุทิน กล่าวว่า ดูแล้วล่าสุดนายชัยเกษมสุขภาพดี แข็งแรง ไม่มีปัญหา และโดยความรู้ความสามารถประสบการณ์ไม่ได้เป็นรองใคร ดังนั้นหากพรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อนายชัยเกษมต่อสภาฯ มั่นใจว่า จะได้รับเสียงโหวตเพราะพรรคเห็นด้วย แต่หากที่ประชุมมีมติไม่ส่งชื่อนายชัยเกษมแสดงว่าพรรควิเคราะห์แล้วว่าไม่ได้รับการยอมรับ
“เราเป็นพรรคเดียวกันและทำงานต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาต่อความเชื่อมั่น อีกทั้งยังทำงานเป็นทีมและมีทีมที่ดีจึงไปต่อไป ทั้งนี้ผมเชื่อว่าหากสส. และสภาฯ ยอมรับก็ขายได้ ส่วนประชาชนจะยอมรับหรือไม่ ที่ผ่านมานายชัยเกษมเสนอตัวเป็นแคนดิเดตนายกฯ ตั้งแต่ต้น ถือว่าผ่านการเสนอตัวและพิจารณาจากประชาชนมาแล้ว” นายสุทิน กล่าว
เมื่อถามถึง ‘ปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีหลังจากนี้’ นายสุทิน กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ต้องรอหลังจากได้ตัวนายกฯ แล้ว
สุดท้ายเมื่อถามย้ำว่านายสุทิน ‘ยังดำรงตำแหน่งรมว.กลาโหมต่อหรือไม่’ นายสุทิน กล่าวว่า ไม่แน่ เรากำหนดตัวเองไม่ได้ ไม่รู้จะอยู่ที่ไหนอย่างไร เมื่อถามว่าเหนื่อยหรือยังกับตำแหน่งนี้ นายสุทิน กล่าวว่า “ยังฟิตอยู่ อยู่ที่โอกาส”
เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 67 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้จัดกิจกรรมเสวนา 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' และรับชมภาพยนตร์ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำหรับการเสวนาในหัวข้อ 'มายาธิปไตย 2475 #เทสที่สร้างร่างที่เป็น' นั้น หนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายได้แก่ นางสาวปัณฑา สิริกุล ผู้เขียนบทภาพยนตร์แอนิเมชัน ‘2475 Dawn of Revolution รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ’ ได้เล่าถึงเส้นเรื่องของประวัติศาสตร์และตั้งข้อสังเกตถึงบางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์ที่ไม่ปรากฏในตำราและหนังสือใด ๆ โดยเฉพาะการฉ้อโกง และดำเนินคดีกับผู้เห็นต่างทางการเมืองของคณะราษฎร ประกอบกับการนำข้อมูลของศาลพิเศษของหลวงพิบูลสงครามมาเป็นข้อมูลประกอบในหนังสือซึ่งขาดความน่าเชื่อถือ เพราะจากการสืบค้นและตรวจสอบข้อมูลพบว่า การให้การภายในศาลพิเศษนั้น ล้วนเต็มไปด้วยคำให้การเท็จเป็นจำนวนมาก
ในบางช่วงบางตอน โดยนางสาวปัณฑาระบุถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุกบฏบวรเดชว่า “ความโชคร้ายของประเทศไทย คือ…กบฏบวรเดชทำให้เกิดหลวงพิบูลสงครามขึ้น และต่อมาก็เกิดศาลพิเศษ ที่จำเลยไม่มีทนาย ไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อพิพากษาเสร็จให้บังคับคดีได้เลย”
(14 ส.ค. 67) จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญ มีมติโดยเสียงข้างมาก (5 ต่อ 4) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5)เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) แล้ว รัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้นำมาตรา 168 วรรคหนึ่ง (1) มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต่อไป ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น
สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 5 คน เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160 (4) และ (5) ประกอบด้วย...
1.นายปัญญา อุดชาชน
2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน
4.นายจิรนิติ หะวานนท์
5.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 4 คน เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรม นูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) ประกอบด้วย...
1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
2.นายนภดล เทพพิทักษ์
3.นายอุดม รัฐอมฤต
4.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ
(14 ส.ค.67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดใจแถลงหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยมติ 5 ต่อ 4 โดยระบุว่า…
ขอบคุณตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ให้โอกาสทุกฝ่ายชี้แจง ตนเคารพในคำวินิจฉัย โดยตลอดเวลาเกือบ 1 ปี พยายามทำทุกอย่างให้ทุกอย่าง ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต และยืนยันไม่ได้ทำตัวขัดแย้ง
ต่อข้อคำถาม ‘คาดคิดไว้หรือไม่?’ นายเศรษฐา กล่าวว่า ผลออกได้ทั้งซ้ายและขวา โดยไม่ได้คาดเดาผลที่จะออกมา ตนเสียใจเพราะจะถูกว่าเป็นนายกฯ ไม่มีจริยธรรม ซึ่งตนไม่ใช่คนแบบนั้น ซึ่งบ้านเมืองมีคนเก่งอีกหลายท่าน โดยนายภูมิธรรมกำลังเดินทางกลับมาอยู่ หากไม่ทันยังมีนายสุริยะ
“ยืนยันผมไม่ใช่คนแบบนั้น ไม่เชื่อมีใครวางยา โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคงตัดสินตามข้อมูล ไม่เกี่ยวว่าเข็ดกับการเมือง”
สุดท้ายต่อข้อคำถาม ‘ได้บทเรียนราคาแพง?’ นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนไม่อยากมองในแง่ลบ อย่าไปกล่าวล่วงว่าใครวางยาดีกว่า ขอให้ดำเนินต่อไปในการสรรหานายกฯ คนต่อไป
(14 ส.ค.67) ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 40 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5 ) หรือไม่
จากกรณี นายเศรษฐา ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้ หรือ ควรรู้อยู่แล้วว่า นายพิชิต ขาดคุณสมบัติ หรือ มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา สิ้นสุดลงได้
ส่งผลให้ นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30
ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญ ‘รับคำร้อง’ ไว้วินิจฉัย ด้วยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 โดยตุลาการเสียงข้างมาก 6 เสียง ประกอบด้วย 1.นายปัญญา อุดชาชน 2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน 4.นายจิรนิติ หะวานนท์ 5.นายนภดล เทพพิทักษ์ และ 6.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
ส่วนตุลาการฯ เสียงข้างน้อย 3 เสียง ประกอบด้วย 1.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2.นายอุดม รัฐอมฤต และ 3.นายสุเมธ รอยกุลเจริญ
ขณะเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ไม่สั่งให้ นายเศรษฐา หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ
โดยตุลาการฯ เสียงข้างมาก 5 เสียง ประกอบด้วย 1.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2.นายนภดล เทพพิทักษ์ 3.นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 4.นายอุดม รัฐอมฤต และ 5.สุเมธ รอยกุลเจริญ
ส่วนตุลาการฯ เสียงข้างน้อย 4 เสียง ประกอบด้วย 1.นายปัญญา อุดชาชน 2.นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 3.นายวิรุฬห์ แสงเทียน 4.นายจิรนิติ หะวานนท์
คนไทย ใครก็ตาม หากได้รับการยกย่องว่าเป็น 'ศิลปินแห่งชาติ' บทเบื้องต้นย่อมต้องรู้ซึ้งใน 'แก่นของชาติ’ ก่อนอย่างอื่น ยังต้องมีมาตรฐานทาง 'สามัญสำนึก' เหนือกว่า 'ศิลปินข้างถนน' เช่นผม หรือใครอีกมากมาย
นั่นก็เพื่อให้ภาพของการเป็นแบบอย่างในทางดีงามเปล่งแสงเรืองรอง เปรียบคือ 'หลักของความดี' ยืนโดดเด่นอยู่ตรงกันข้ามกับเหล่า 'มนุษย์ใจบาป' ที่คอยเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบัน ไม่ใช่การไปสนับสนุนอุ้มชู ผลักดัน แสดงออกถึงการเห็นอกเห็นใจเมื่อ 'โจรคิดล้มล้างการปกครอง' ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดจน 'ซ่องโจร' แตกกระเจิง
เป็น 'ศิลปินแห่งชาติ' แต่กลับให้กำลังใจกลุ่มคนที่คิด 'ล้มล้างสถาบันหลักของชาติ' มันถูกหรือ?
หรือคำว่า 'ชาติ' ที่ผมรู้จักมาตั้งแต่ชั้นประถม อาจจะเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเก่าถ้าวันข้างหน้าผมมีอายุมากขึ้น โด่งดังหรือร่ำรวยมากขึ้น สำนึกความเป็น 'คนแห่งชาติ' ก็จะต่ำเตี้ยเรี่ยดินจนหมามันเยี่ยวรดเล่นได้ง่าย ๆ กระนั้นหรือ?
ถามเพราะ...สงสัย
บริษัทค่ายเพลงต่างชาติ แม้จะมีคำว่า 'ไทยแลนด์' ต่อท้ายชื่อ จะดูหมิ่นศาล หรือเชียร์พรรคการเมืองที่ย้อนแย้งและกลิ้งกลอก ก็ไม่น่ารังเกียจเท่า 'ศิลปินแห่งชาติไทยแลนด์' ดูแคลนการตัดสินของศาลไทย และเทใจเข้าข้างเหล่ามนุษย์ที่ทำผิดกฎหมาย แถมมีเจตนาร้ายต่อสถาบันหลักของชาติเสียเอง
ที่จริง ถ้ามองไม่เห็นคุณงามความดีของสถาบัน ถึงขนาดที่ว่ากล้าเอ่ยให้กำลังใจกลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็นขบวนการเดินหน้า 'เอาเท้าเหยียบย่ำ' สถาบันมาตลอดหลายปี ก็น่าจะเอาคำยกย่องที่คนในชาติหยิบยื่นให้คืน อย่าให้ใครเรียกขานอีกต่อไปเลยว่าเป็น 'ศิลปินแห่งชาติ'
เปลี่ยนมาใช้ 'ศิลปินแห่งส้ม' บันทึกลงวิกิพีเดียน่าจะ 'ยืนยง' กว่า