Saturday, 26 April 2025
NEWS

โควิด-19 ป่วนลีกบอลไทย งดเตะยาวทั้งเดือนมกราคม

โควิด-19 พ่นพิษไปทั่ว ไม่เว้นวงการฟุตบอลไทย ล่าสุดสมาคมฟุตบอลไทยประกาศเลื่อนโปรแกรมเตะตลอดเดือนมกราคมทั้งหมด โดยจะมีผลทั้งไทยลีก 1 ไทยลีก 2 และไทยลีก 3 ทั้งนี้โปรแกรมที่ถูกเลื่อนออกไป เบื้องต้นทางสมาคมจะย้ายให้ไปเตะในช่วงสัปดาห์ฟีฟ่าเดย์ (สัปดาห์ที่ลีกหยุด และเปิดให้ทีมชาติได้เตะอุ่นเครื่อง หรือกระชับมิตร) รวมถึงนำไปไว้ในช่วงกลางสัปดาห์แทน

ก่อนหน้านี้ ฟุตบอลลีกไทยถูกเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเตะใหม่ทั้งหมดมาแล้วในช่วงโควิด-19 ระบาดเมื่อช่วงต้นปีก่อน และล่าสุดนี้ ก็เพิ่งมีการเลื่อนออกไปอีก ย่อมส่งผลกระทบต่อโปรแกรมฟุตบอลทีมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไมได้

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลั่น ไร้บ่อนในกทม. ย้อนอธิบดีกรมควบคุมโรค ถ้ามีคนติดโควิดจากบ่อน ให้มาบอก พร้อมโยนเป็นหน้าที่ตำรวจ เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ระบุถึงกรณีที่นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคระบุว่า สอบสวนพบผู้ติดเชื้อมาจากบ่อนพนันในกทม.นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "อันนี้ไม่ทราบต้องถามนพ.โอภาสดู ถ้ารู้ก็ต้องมาบอก เรื่องของบ่อนไม่มีแล้วเพราะผิดกฎหมาย และตำรวจท้องที่ต้องดูแลให้ไม่มี"

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงความร่วมมือของประชาชนต่อมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่า "ต้องขอขอบคุณประชาชนทั่วไป ที่ช่วยกันดูแลในเรื่องนี้และให้ความร่วมมือกับทางราชการ ในการดูแลตัวเอง เพราะเราไม่อยากให้ระบาดออกไป"

ส่วนแนวโน้มการแพร่ระบาดของเชื้อยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "ก็ธรรมดา เพราะมีการเดินทางกันไปไหนต่อไหน เวลานี้ก็พยายามอย่าออกจากบ้าน เพื่อดูแลไม่ให้เกิดการระบาดออกไป"

ส่วนการลักลอบเข้ามาตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นหรือไม่ พล.อ.ประวิตร ยืนยันว่า "ไม่มีแล้วเพราะเราใช้กำลังทหารเพิ่มมากขึ้น และความจริง การดูแลเราก็ทำมานานแล้ว ซึ่งก็เกิดมาจากจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดระยอง ที่เราจะต้องดูแลให้มากและประชาชนต้องให้ความร่วมมือกับรัฐให้มากขึ้น สำหรับเรื่องการตั้งโรงพยาบาลสนาม เวลานี้ก็เรียบร้อยแล้ว"

ครม.มีมติเห็นชอบ ผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเลี่ยงการนำเข้าแรงงานต่างด้าว

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ซึ่งพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งในกลุ่มคนไทยและคนต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลโดยการนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ทำงานอย่างถูกต้อง และมีการหลบหนีเนื่องจากเกรงกลัวความผิด จึงควรมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบ คัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดมาตรการ เฝ้าระวัง ติดตาม ควบคุม และป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค จนส่งผลกระทบต่อชีวิต และสุขภาพอนามัยของประชาชนคนไทยและแรงงานต่างด้าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่อง การผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อกำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม ควบคุม และป้องกัน มิให้ส่งผลกระทบต่อชีวิต และสุขภาพอนามัยของประชาชนคนไทย โดยการผ่อนผันให้

1.) คนต่างด้าวที่มีนายจ้าง/สถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน

2.) คนต่างด้าวที่ยังไม่มีนายจ้าง/สถานประกอบการจ้างงาน

และ 3.) ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายออกประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงาน และคนต่างด้าวทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ต้องดำเนินการตามแนวทางที่ประกาศทั้ง 2 ฉบับกำหนด เพื่อให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566

"นายจ้าง/สถานประกอบการ ต้องดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน และจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนี้

1.) คนต่างด้าวที่มีนายจ้าง/สถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี

- นายจ้าง/สถานประกอบการ ดำเนินการแจ้งรายชื่อคนต่างด้าว ผ่านระบบออนไลน์ โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานและรูปถ่ายคนต่างด้าว ตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

- นายจ้าง/สถานประกอบการ พาคนต่างด้าวเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และตรวจสุขภาพโรคต้องห้าม กับโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และซื้อประกันสุขภาพเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยต้องดำเนินการภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

- นายจ้าง/สถานประกอบการชำระค่าคำขอและค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงานผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ ธนาคารกรุงไทย จำนวน 1,900 บาท และยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และโรคต้องห้าม พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน จะต้องไปจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตรสีชมพู ตามวิธีการและขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

2.) คนต่างด้าวที่ยังไม่มีนายจ้าง/สถานประกอบการจ้างงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี

- คนต่างด้าวต้องยื่นเอกสารหลักฐานและรูปถ่ายตามที่กรมการจัดหางานกำหนด ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมี 4 ภาษา คือ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวจะใช้แบบแจ้งข้อมูลบุคคล ในการเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และตรวจสุขภาพโรคต้องห้าม กับโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และซื้อประกันสุขภาพเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยต้องดำเนินการภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจโรค จะต้องไปจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามวิธีการและขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดภายในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (คนต่างด้าวจะได้รับใบจัดทำทะเบียนประวัติ (ทร 38/1) เป็นหลักฐาน โดยที่ยังไม่ได้รับบัตรสีชมพู)

- คนต่างด้าวหานายจ้าง และลงทะเบียนรายชื่อคนต่างด้าวกับกรมการจัดหางาน และใช้บัญชีรายชื่อที่ได้การอนุมัติจากกรมการจัดหางาน ชำระเงินค่าคำขอและค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงานผ่าน เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ ธนาคารกรุงไทย จำนวน 1,900 บาท และให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ให้กับคนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และโรคต้องห้าม พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

- คนต่างด้าวไปปรับปรุงประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตรสีชมพู ตามวิธีการและขั้นตอนที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

สำหรับคนต่างด้าวที่ทำงานในกิจการประมงทะเล จะต้องไปจัดทำหนังสือ คนประจำเรือ หรือ Seabook (เล่มสีเขียว) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) โดยมีค่าธรรมเนียม 100 บาท และเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) พิจารณาเรียบร้อยแล้วคนต่างด้าวจะได้รับหนังสือคนประจำเรือ หรือ Seabook (เล่มสีเขียว) เป็นหลักฐาน ใช้คู่กับบัตรสีชมพูในการอยู่และทำงานในประเทศ" นายสุชาติฯ กล่าว

ทั้งนี้ นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 หรือที่ไลน์ @Service_Workpermit หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และแนะนำวิธีการดำเนินการ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 12 ปี ที่ Bitcoin ได้เปิดตัวระบบ cryptocurrency เงินดิจิตอลระบบใหม่ที่เคลมว่าจะเป็นเงินแห่งโลกอนาคตที่จะสามารถใช้แทนค่าเงินสกุลต่าง ๆ ได้ทั่วโลก

หลังจากผ่านมา 12 ปี วันนี้ Bitcoin ก็สร้างปรากฏการณ์พุ่งทะลุผ่าน 34,000 ดอลลาร์/ 1 บิทคอยน์ สร้างความฮือฮาในหมู่นักลงทุนเป็นอย่างมาก และเป็นมูลค่าสูงสุดตั้งแต่เปิดตัวสกุลเงินทีเดียว ซึ่งเป็นมูลค่าที่พุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

หลังจากที่ Bitcoin พุ่งผ่านเพดาน 20,000 ดอลลาร์/บิทคอยน์ ไปเมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม 2020 และใช้เวลาไม่ถึง 3 สัปดาห์ ที่มูลค่าของ Bitcoin ขึ้นมาทำ New High ใหม่ ที่ 34,000/บิทคอยน์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนฟันธงแล้วว่า ปีนี้ 2021 Bitcoin มาแน่ และมันจะกลายเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้อย่างแพร่หลายอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้

แต่ก็มีความเห็นอีกฝ่ายออกมาบอกว่า การที่มูลค่าของ Bitcoin พุ่งทะยานอย่างก้าวกระโดดนั้น มาจากการที่ Paypal กระโดดเข้ามาร่วมวงโดยให้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันผ่านทางเว็บไซท์ Paypal ได้ง่ายๆ ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รวมถึงค่าเงินดอลลาร์ที่ตกต่ำ ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะไปถือ Bitcoin กันมากขึ้น

ดังนั้นอนาคตของ Bitcoin ยังต้องดูกันอีกในระยะยาว เพราะ Bitcoin ก็เคยมีช่วงที่มูลค่าดิ่งเหวเกือบ 50% เหลือเพียง 6,000 ดอลลาร์/บิทคอยน์ เท่านั้นตอนปี 2018 ที่ว่ากันว่าเป็นยุคฟองสบู่แตกของ Bitcoin

แต่ก็มีนักลงทุนก็ยังยืนยันว่า ยังไง Bitcoin ก็มาแน่ รวมถึงเงินสกุลดิจิตอลอื่น ๆ ที่จะกลายเป็นยุคเปลี่ยนผ่านสู่โลกแห่งเศรษฐกิจการเงินยุคใหม่

แต่ทั้งนี้ทุกอย่างก็เป็นเพียงการคาดเดา และทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ในปี 2021 Bitcoin จะมาแน่หรือไม่ ไม่มีใครทราบแต่ที่แน่ๆ คือแมลงเม่ามาแล้ว


แหล่งข้อมูล

https://www.theguardian.com/.../bitcoin-hits-record-high...

https://newsroom.paypal-corp.com/2020-10-21-PayPal...

https://en.m.wikipedia.org/wiki/Cryptocurrency_bubble

เครดิต : หรรสาระ By Jeans Aroonrat

เวียดนามฉลองปีใหม่ 2021 สุดคึกคัก

1 ปีที่เกิดโควิด-19 ..

แต่ไม่สามารถหยุดจิตวิญญาณของผู้คนไปร่วมตัวกันนับพัน

เพื่อรอต้อนรับปี 2021 บนท้องถนน

ในฮานอย โฮจิมินห์ และ ท้องถิ่นอื่น ๆ

ประชาชนต่างหลั่งไหลไปยังสถานที่ในตัวเมืองจำนวนมาก

เพื่อเพลิดเพลินกับคอนเสิร์ตกลางแจ้งและการแสดงพลุที่สุดยอด

ในการเฉลิมฉลองช่วงปีใหม่


เครดิต VnExpress International

เรื่องโดย: หนุ่มโคราช

สมาคมธนาคารไทยชี้แจง หากประชาชนต้องการแลกเปลี่ยนธนบัตรที่ระลึกเป็นธนบัตรหมุนเวียนปกติ สามารถติดต่อขอแลกหรือนำฝากได้ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง

สมาคมธนาคารไทย โดยนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ชี้แจงกรณีมีข่าวประชาชนนำธนบัตรที่ระลึกไปแลกที่สาขาธนาคารและสาขาธนาคารไม่รับแลก ดังนี้

1.) ธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา 1000 บาท และ 100 บาท สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกับธนบัตรหมุนเวียนปกติทุกประการ

2.) สาขาธนาคารสามารถให้บริการรับฝาก แลก และรับชำระหนี้ได้ตามปกติ เช่นเดียวกับธนบัตรหมุนเวียนปัจจุบัน

3.) ธนบัตรที่ระลึกรุ่นนี้ ปัจจุบันไม่สามารถใช้กับเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติได้ เพราะแต่ละธนาคารต้องมีการแก้ไขและปรับปรุงโปรแกรม ให้สามารถตรวจสอบธนบัตรที่ระลึกที่เครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติทั่วประเทศ

เนื่องจากธนบัตรที่ระลึก มีการจัดพิมพ์ในปริมาณจำกัด ดังนั้น หากประชาชนต้องการฝากธนบัตรที่ระลึก สามารถติดต่อขอฝากได้ที่สาขาของธนาคารทั่วประเทศ

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สาขา หรือ Call Center ของธนาคารที่ท่านใช้บริการ

ส่อง 'พรก.ฉุกเฉิน'​ ดัน​ 8​ ข้อ​ คุมโควิดระลอกใหม่​ เริ่ม​แล้ววันนี้ | News มีนิสส One minute

ส่อง 'พรก.ฉุกเฉิน'​ ดัน​ 8​ ข้อ​ คุมโควิดระลอกใหม่​ เริ่ม​ 6​ โมงเช้า​ 4​ ม.ค.64

.

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (3 มกราคม พ.ศ.2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 315 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 7,694 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 64 ราย รักษาหายเพิ่ม 38 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,337 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3,293 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 315 ราย เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จากบาร์เรน 1 ราย ,ปากีสถาน 3 ราย , คูเวต 1 ราย,สหรัฐอเมริกา 4 ราย ,รัสเซีย 2 ราย ,อิตาลี 1 ราย,อินโดนีเซีย 1 ราย ,กาตาร์ 2 ราย ,อียิปต์ 3 ราย,เอธิโอเปีย 1 ราย , อินเดีย 1 ราย ,สหราชอาณาจักร 1 ราย

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 274 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 20 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 157ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 381 ราย รักษาหายแล้ว 362 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.58 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.26 แสน เสียชีวิต 22,555 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.17 แสน ราย รักษาหายแล้ว 94,492 ราย เสียชีวิต 483 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.26 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.09 ราย เสียชีวิต 2,711 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.77 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.4 แสน ราย เสียชีวิต 9,253  ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,662 ราย รักษาหายแล้ว 58,476 ราย เสียชีวิต 29 ราย

ประเทศเวียดนาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1,482 ราย รักษาหายแล้ว1,337 ราย เสียชีวิต 35 ราย

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (2 มกราคม พ.ศ.2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 216 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 7,379 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 64 ราย รักษาหายเพิ่ม 26 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,299 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3,016 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 216 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ จากอินเดีย 1 ราย ,สหรัฐอเมริกา 1 ราย

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 182 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 32 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 157ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 379 ราย รักษาหายแล้ว 362 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.51 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.18 แสน เสียชีวิต 22,329 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.15 แสน ราย รักษาหายแล้ว 91,171 ราย เสียชีวิต 474 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.25 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.08 ราย เสียชีวิต 2,697 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.76 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.4 แสน ราย เสียชีวิต 9,248 ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,629 ราย รักษาหายแล้ว 58,449 ราย เสียชีวิต 29 ราย

ประเทศเวียดนาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1,474 ราย รักษาหายแล้ว1,325 ราย เสียชีวิต 35 ราย

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (1 มกราคม พ.ศ.2564)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 279 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 7,163 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 63 ราย รักษาหายเพิ่ม 33 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,273 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 2,827 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 279 ราย เป็นคนไทย 1 ราย ,สัญชาติเยอรมัน 1 ราย,อิตาลี 1 ราย,สโลวีเนีย 1 ราย,จีน 2 ราย เดินทางมาจากต่างประเทศ จาก เยอรมนี 1 ราย ,สหราชอาณาจักร 2 ราย ,เขตบริหารพิเศษฮ่องกง 1 ราย ,สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ราย ,สหรัฐอเมริกา 1 ราย ผ่านการคัดกรองและเข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 257 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 16 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 157ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 378 ราย รักษาหายแล้ว 362 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.43 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.11 แสน เสียชีวิต 22,138 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.13 แสน ราย รักษาหายแล้ว 88,941 ราย เสียชีวิต 471 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.25 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.07 ราย เสียชีวิต 2,682 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.74 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.4 แสน ราย เสียชีวิต 9,244 ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,599 ราย รักษาหายแล้ว 58,449 ราย เสียชีวิต 29 ราย

ประเทศเวียดนาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1,465 ราย รักษาหายแล้ว1,325 ราย เสียชีวิต 35 ราย

สถานการณ์ COVID-19 ประเทศไทยและอาเซียน (31 ธันวาคม พ.ศ.2563)

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน โดยประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 194 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมอยู่ที่ 6,884 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 61 ราย รักษาหายเพิ่ม 28 ราย รวมผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,240 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 2,583 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยรายใหม่ 194 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ตุรกี 2 ราย,ฮ่องกง 1 ราย,แคนาดา 1 ราย,สหราชอาณาจักร 1 ราย,สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ราย,มาเลเซีย 1 ราย,อินโดนีเซีย 1 ราย,เกาหลีใต้ 1 ราย,ญี่ปุ่น 1 ราย,คูเวต 1 ราย,รัสเซีย 1 ราย โดยเข้าพักสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้

ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ไม่เข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ สัญชาติเมียนมา 1 ราย มาจาก เมียนมา 1 ราย
รักษาตัวที่เมียนมา

ผู้ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 172 ราย

ผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว (คัดกรองเชิงรุกในชุมชน) 9 ราย

ขณะเดียวกันสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการอัพเดทดังนี้

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 157ราย รักษาหายแล้ว 149 ราย เสียชีวิต 3 ราย

ประเทศกัมพูชา ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 366 ราย รักษาหายแล้ว 361 ราย  ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศอินโดนีเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 7.35 แสน ราย รักษาหายแล้ว 6.04 แสน เสียชีวิต 21,944 ราย

ประเทศลาว ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 41 ราย รักษาหายแล้ว 40 ราย ไม่มียอดผู้เสียชีวิต

ประเทศมาเลเซีย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.1 แสน ราย รักษาหายแล้ว 87,460 ราย เสียชีวิต 463 ราย

ประเทศพม่า ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1.24 แสน ราย รักษาหายแล้ว 1.06 ราย เสียชีวิต 2,664 ราย

ประเทศฟิลิปปินส์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 4.73 แสน ราย รักษาหายแล้ว 4.4 แสน ราย เสียชีวิต 9,230 ราย

ประเทศสิงคโปร์ ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 58,569 ราย รักษาหายแล้ว 58,411 ราย เสียชีวิต 29 ราย
ประเทศเวียดนาม ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 1,456 ราย รักษาหายแล้ว1,323 ราย เสียชีวิต 35 ราย

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เผยแนวโน้มตลาดสุกรปี 64 สดใส คาดความต้องการบริโภคเพิ่มทั้งในไทยและภูมิภาค ขณะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้นในภูมิภาคเอเชีย ที่ยังปลอดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในหมู

นายสัตวแพทย์ วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมสุกรในปี 64 ภาพรวมยังคงสดใส แม้จะมีความท้ายทายจากวิกฤติโควิด-19 และสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู (ASF) ที่ยังพบการระบาดในประเทศรอบ ๆ ไทย แต่มองว่ายังมีความต้องการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย

ขณะที่ปริมาณการผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีนี้ จากภาวะโรค ASF และโรคเพิร์ส (PRRS) ที่ยังต้องเฝ้าระวัง และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงลดความเสี่ยง สอดคล้องกับการผลิตสุกรทั่วโลกที่ลดลงจากปัจจัยดังกล่าว และเชื่อว่าสุกรจะยังคงเป็นสินค้าปศุสัตว์เดียวที่เหลืออยู่ ที่จะสามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้ในวิกฤติโควิด-19 เช่นนี้

สำหรับปี 63 เป็นปีที่อุตสาหกรรมสุกรทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค ASF ในสุกร แต่ไทยนับเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่คงสถานะปลอดโรค ASF จนถึงปัจจุบัน ช่วยตอกย้ำถึงมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยทางอาหารของสุกรไทยได้เป็นอย่างดี

มีผลผลิตสุกรมากกว่า 22 ล้านตัว พิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่การผลิตอยู่ที่ 20.43 ล้านตัว ปริมาณการผลิตขยายตัวตามจำนวนประชากร ประกอบกับราคาสุกรมีชีวิตจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต หลังจากที่ช่วงกลางปี 2562 ราคาสุกรตกต่ำเป็นอย่างมากจากปัญหา Over supply และมีปัจจัยเสริมจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ASF ทำให้เกษตรกรทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ ต่างระมัดระวังในการเข้าเลี้ยงสุกรมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปีก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ การผลิตสุกรของไทย ยังคงเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณ 97% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทยอยู่ที่ปริมาณ 1.49 ล้านตันในปี 63 เพิ่มขึ้น 0.68% จากปี 62 โดยการผลิตสุกรยังคงเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ ไม่เคยมีปัญหาขาดแคลน

สำหรับการส่งออกมีการขยายตัวจากความต้องการสุกรของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย โดยเฉพาะ จีน เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา ที่ประสบปัญหา ASF ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ และราคาสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัวจากภาวะปกติ ตามกลไกตลาด จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไทย

เนื่องจากไทยมีระบบฟาร์มมาตรฐานที่แข็งแกร่งทั้งฟาร์มเชิงพาณิชย์ ที่เลี้ยงภายใต้มาตรฐาน GAP และมาตรฐาน GFM ในฟาร์มขนาดเล็ก ที่กรมปศุสัตว์ผลักดันให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองมาตรฐานมุ่งเน้นการปกป้องฟาร์มและฝูงสัตว์ ด้วยจัดการฟาร์มให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity System) ที่เข้มงวด

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประเมินส่งออกไทยปี 64 ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดโต 4% หลังสัญญาณเศรษฐกิจ การค้าโลกดี แต่ยังต้องจับตาการล็อกดาวน์ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และบาทแข็ง

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า

กรมฯ ได้ประเมินทิศทางการส่งออกของไทยในปี 2564 ว่าจะกลับมาขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัว 4% ซึ่งสอดคล้องกับหลายหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าปี 2564 เศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการขยายตัวที่ 5.2% จากติดลบที่ 4.4%

ในปี 2563 โดยประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่ม Emerging Markets ในเอเชีย (จีน อินเดีย และอาเซียน 5 ประเทศ) จะมีการฟื้นตัวเร็วที่สุดเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ และองค์การการค้าโลก (WTO) คาดว่าการค้าโลกในปี 2564 จะสามารถกลับมาขยายตัวที่ 7.2% ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนการส่งออกของไทยให้ฟื้นตัวขึ้นได้

ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการส่งออก ได้แก่ การคิดค้นและริเริ่มการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์แพร่ระบาดและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งส่งผลสืบเนื่องให้ภาคอุปสงค์มีแนวโน้มขยายตัว , มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงเริ่มมีคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกัน การส่งออกยังได้รับผลดีจากทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย โดยประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ (นายโจ ไบเดน) มีนโยบายเน้นการยึดถือกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศภายใต้กรอบ WTO มากขึ้น และความสำเร็จของการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) จะส่งผลดีต่อการขยายตัวของการค้าในภูมิภาคอาเซียน และนอกภูมิภาคอาเซียน อีก 5 ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) โดยจะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนและไทยฟื้นตัวได้เร็วขึ้นในปีหน้า

นอกจากนี้ สินค้าส่งออกที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยเฉพาะสินค้าอาหาร สินค้าสุขอนามัย และสินค้าเพื่อความบันเทิงในที่พักและการทำงานที่บ้าน (work from home) ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากมีการกลับมาระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในหลายประเทศ รวมถึงบริการดิจิทัลคอนเทนต์และบริการสุขภาพ ขณะที่ระบบโลจิสติกส์ ไม่มีการหยุดชะงัก และคู่ค้ามีความมั่นใจในสินค้าไทยที่ปลอดเชื้อจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องระวัง คือ การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า ซึ่งเรื่องนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีการประชุมร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยและภาคเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้แล้ว ทั้งการเร่งนำเข้าตู้เปล่า ซ่อมตู้เก่า ส่งออกโดยไม่ใช้ตู้ สนับสนุน SMEs รวมตัวจองตู้ และหาทางให้เรือ 400 เมตรเทียบท่าที่ท่าเรือแหลมฉบังได้ รวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่า ที่จะกระทบต่อการแข่งขัน ความไม่แน่นอนของโควิด-19 ที่จะทำให้มีการล็อกดาวน์ในบางประเทศ และการกีดกันทางการค้าที่จะมีมากขึ้น เช่น มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม

ครม.อนุมัติปรับปรุงเงื่อนไขโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน พร้อมขยายไปจนถึง 31 ธันวาคม 2564 เพื่อให้ลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ครบ 1 สิทธิ์ 1 ปี ต่อ 1 คน

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.อนุมัติปรับปรุงเงื่อนไขโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ โดยปรับคุณสมบัติผู้จบการศึกษาใหม่ คือ เป็นผู้มีสัญชาติไทย มีอายุไม่เกิน 25 ปี หากอายุเกิน 25 ปี ต้องจบการศึกษาปี 2562 เป็นต้นไป

ส่วนเงื่อนไขสำหรับนายจ้าง ปรับใหม่เป็น ให้เป็นไปตามข้อตกลงการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง โดยรัฐบาลให้การอุดหนุนเงินเดือน ไม่เกิน 50% ต่อคนต่อเดือน

โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนเป็นไปตามวุฒิการศึกษา ได้แก่ ปริญญาตรี ไม่เกิน 7,500 บาท ปวส. ไม่เกิน 5,750 บาท ปวช. ไม่เกิน 4,700 และ ม.6 ไม่เกิน 4,345 บาท จากเดิมที่กำหนดไว้ คือ ค่าจ้างตามวุฒิการศึกษา ได้แก่ ปริญญาตรี ไม่เกิน 15,000 บาท ปวส. ไม่เกิน 11,500 บาท ปวช. ไม่เกิน 9,400 และ ม.6 ไม่เกิน 8,690 บาท

ทั้งนี้เงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ลูกจ้าง ปรับใหม่เป็น ‘รัฐจ่ายเงินอุดหนุน 3 ครั้งต่อเดือน’ จากเดิมที่กำหนดให้ นายจ้างจ่ายค่าจ้างเดือนละ 1 ครั้ง (ภายในสิ้นเดือน) เพื่อให้สอดคล้องกับรอบการจ่ายเงินค่าจ้างของนายจ้าง ดังนี้

1.) นายจ้างจ่ายค่าจ้างภายในสิ้นเดือน รัฐจ่ายเงินอุดหนุนภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป

2.) นายจ้างจ่ายค่าจ้างหลังสิ้นเดือน (ภายในวันที่ 1-5 ของเดือนถัดไป) รัฐจ่ายเงินอุดหนุนภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

และ 3.) นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามข้อ 1 และ ข้อ 2 แต่การจัดทำเอกสารในระบบไม่สมบูรณ์ รัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ขยายระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ จากเดิม คือ ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน (ปีงบประมาณ 2564 เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564) ขยายไปจนถึง 31 ธันวาคม 2564 เพื่อให้ลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ครบ 1 สิทธิ์ 1 ปี ต่อ 1 คน ระยะเวลาการจ้างงานครบ 12 เดือน แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2564

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ชลบุรี ให้กำลังใจ เจ้าหน้าที่-ประชาชนสู้โควิด-19 ลั่นจะแก้ปัญหาบ่อน-ซ่อง ให้ได้ ขอสามัคคีกันเพื่อผ่านพ้นสถานการณ์ ยืนยัน ยังไม่ล็อคดาวน์ประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และคณะลงพื้นที่ตรวจสถานกักกันโรค และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กับประชาชน ที่โรงแรมแกรนด์ เบลลา แหลมบาลีฮาย จ.ชลบุรี โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน หน้ากากอย่าถอด ใส่ให้ถูกวิธี ตนเองทำอะไรก็ต้องระวัง เพราะมีคนเตือนมาว่านายกฯป่วยไม่ได้ จึงต้องระวัง ปัญหาต่าง ๆ ต้องแก้ให้ได้ด้วยมือคนไทยทุกคน ถ้ารักกัน สามัคคีกัน แก้ได้ทุกปัญหา

จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลติดตามสถานการณ์ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง น่าเสียใจที่ช่วงปีใหม่มาเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ส่วนมาตรการต่าง ๆ คงต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ตัดสินใจ และสถานการณ์ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้จากข้อมูลทางด้านสาธารณสุขพบว่าติดกันง่ายขึ้น จึงต้องใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยเราได้มากขึ้น ใครไปพื้นที่เสี่ยงกลับมาบ้านก็ต้องดูแลตัวเอง อย่าให้ติดที่บ้าน เราปลอดภัย ครอบครัวปลอดภัย เพื่อนบ้านปลอดภัย

และไม่ใช่เฉพาะเรื่องโควิด-19 ทั้งเรื่องบ่อน เรื่องซ่อง ตนรับรู้ทั้งหมด ที่ผ่านมาเราก็ทำอยู่ เพียงแต่ว่าบางเวลาบางสถานการณ์ก็เกิดปัญหาขึ้น จึงต้องหาทางแก้ให้ได้ ยืนยันว่าจะต้องรื้อทุกปัญหา เพราะรัฐบาลต้องหามาตรการที่เหมาะสมในการบริหารราชการ และทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาการทุจริต ตนยินดีรับข้อมูล ใครมีข้อมูลสามารถส่งมา เขียนจดหมายมาถึงตนที่ทำเนียบรัฐบาลได้เลย จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนเองยืนยันจะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดร่วมกับเจ้าหน้าที่ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ประชาชน ประชาสังคม ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาโควิด-19 เราต้องช่วยกันอุดรูรั่วทุกรูด้วยความรักสามัคคีกัน ถ้าเรามัวแต่ต่อต้านการทำงานมันจะทำงานไม่เสร็จ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อน ปีหน้าจะมีวันหยุดชดเชยให้

พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า ตนติดตามการรายงานมาตลอด วันนี้เมื่อมีการคัดกรองมากขึ้นก็เจอมากขึ้น ที่สำคัญคือควบคุมได้หรือไม่ แต่ที่ตนเป็นห่วงคือ คนที่ไม่แสดงอาการ แต่ทุกคนรู้ว่าตัวเองเสี่ยงหรือไม่ ไปสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดหรือไม่ ต้องรู้ด้วยตัวเอง เป็นห่วงตัวเอง เป็นห่วงครอบครัว เป็นห่วงชุมชน สังคม วันนี้เราต้องรักกันให้มาก สร้างจิตสำนึกที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ทุกเรื่องจะแก้ปัญหาได้ ถ้ายังแตกแขนง คิดกันไปกันมา ใส่ร้ายป้ายสีกัน แก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตนหรือใครก็แก้ไม่ได้ ถ้าทะเลาะกันเสียก่อนจะแก้ได้หรือไม่

ทั้งนี้ ในส่วนว่า จะมีการประกาศล็อคดาวน์ประเทศหรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่ถึงจุดนั้น วันนี้จังหวัดเขาประเมินอยู่แล้ว ให้เขารับผิดชอบไป ถ้าประชาชนรู้จักการควบคุมตัวเอง รู้จักกักตัวเอง ถ้าคนที่สงสัยว่าติดเชื้อก็ไปตรวจสอบ แบบนี้จะเบาไปเยอะ สื่อก็ต้องระวังเพราะเจอคนเยอะ จะเป็นอะไรไปไม่ได้ เพราะเป็นปากเสียงให้ตนด้วย ถ้าเราพูดคนละทางไปไม่ได้หมด อย่าขัดแย้งกัน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top