Sunday, 19 May 2024
NEWS FEED

'จุรินทร์' นำทัพเอกชนด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ สร้าง CEO GenZ จาก 94 สถาบันการศึกษา "วัยรุ่นชอบ-คนรุ่นใหม่ไปต่อด้วยการค้า" 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานให้โอวาทและมอบประกาศนียบัตร ในพิธีปิด โครงการ From Gen Z to be CEO พร้อมด้วยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขา กอศ. ผู้บริหาร TRUE ผู้บริหาร Huawei ผู้บริหาร EXIM Bank ผู้บริหาร Bitkub และผู้บริหารบริษัท TikTok (ไทยแลนด์) จํากัด ที่ True Digital Park สุขุมวิท 101

นายจุรินทร์ กล่าวว่า การจัดโครงการ Gen Z to be CEO เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เพราะเดิมกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA ช่วยกันสร้างนักธุรกิจหรือ CEO รุ่นใหม่ให้กับประเทศ ตั้งเป้าหมายว่าจะทำให้ได้ซัก 10,000 คน โดยใช้ระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการอบรม แต่เริ่มนับเดือนมิถุนายนปีที่แล้วก็เริ่มต้นที่ 12,000 คน และมีสมัครมาอีกสุดท้ายขึ้นเป็น 20,000 คน ดำเนินการครบ 20,000 คนแล้ว ถือว่าประสบความสำเร็จมาก ทุกคนที่เข้ามาเรียนได้รับความรู้การบริหารจัดการธุรกิจ การผลิตสมัยใหม่ การให้บริการยุค New Normal และการตลาด ซึ่งปัจจุบันเราจะทำแต่เรื่องการผลิตเหมือนสมัยในอดีตแล้วไปหาตลาดไม่ทันแล้ว เพราะมีความเสี่ยง ยุคนี้ต้องใช้ตลาดนำการผลิต เหมือนแนวคิดของกระทรวงพาณิชย์และแนวคิดของวิสัยทัศน์”เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด” CEO Gen Z ที่ได้รับการอบรมจะมีหลักสูตรต่างๆ และการใช้เทคโนโลยี การบริหารจัดการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การส่งออก โลกยุคใหม่

เป็นโอกาสดีที่น้องๆ 20,000 คนมีโอกาสเรียนสิ่งเหล่านี้ ถือเป็นโอกาสแรกๆที่ได้รับล้ำหน้าหลายคน ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆทั้งของ TRUE Huawei แนวคิด Bitkub การเข้าถึงแหล่งทุนจาก EXIM Bank และ TikTok โลกเศรษฐกิจการค้ายุคใหม่ ยุค New Normal หัวใจสำคัญ คือ ใช้เทคโนโลยีช่วยทำการค้า เป็นอีคอมเมิร์ซ ตนเจรจาการค้ามาหลายกลุ่มทั้ง FTA ทวิภาคี หรือแบบพหุภาคี  ไม่มีข้อตกลงทางการค้าไหนในปัจจุบันที่ไม่ระบุว่าเรื่องอีคอมเมิร์ซ หรือ Digital Economy สัปดาห์ที่แล้วตนประชุมรัฐมนตรีการค้า APEC Digital Economy เป็นหัวข้อที่มีความสำคัญยิ่ง และปีนี้เราจะเป็นเจ้าภาพรับไม้ต่อจากนิวซีแลนด์วันนี้และ RCEP เราให้สัตยาบันไปแล้ว จะมีผลบังคับใช้ต้นปีหน้า ก็มีบทบัญญัติว่าด้วยอีคอมเมิร์ซ จะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่ง น้องทุกคนเรียนจบแล้วก็จริงแต่ที่สำคัญต้องเรียนเพิ่มเติมแม้ผู้ที่เป็น CEO เชี่ยวชาญทำการค้าก็จำเป็นต้องศึกษากฎระเบียบ เพื่อแสวงหาความได้เปรียบในการทำธุรกิจการค้ากับโลกต่อไปในอนาคต

หลักสูตรปั้น GenZ เป็น CEO จึงทันต่อสถานการณ์และมีความทันสมัยอย่างยิ่ง ถือเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ เป็นความภาคภูมิใจ 3 ฝ่าย 1.น้องทั้ง 20,000 คน 2.น้อง 100 รายที่ประสบความสำเร็จ และน้อง Gen Z Ambassadors 3.กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะอาชีวศึกษา ที่นำมาทำ MoU กับกระทรวงพาณิชย์ให้นักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา 5,000 คน ร่วมโครงการ From Gen Z  to be CEO และกระทรวงอุดมศึกษาส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งเอกชนและภาครัฐ

หวังว่าน้องทุกคนที่ผ่านหลักสูตรนี้จะมีอนาคตที่งดงามต่อไป ปี 2564 จะมีนักศึกษาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยจบการศึกษา 290,000 คน คำถามคือ จะไปทำอะไรหรือจะหางานได้ที่ไหน และปี 2565 อีก 280,000 คน รวม 2 ปีที่เจอวิกฤตโควิด 570,000 คนเป็นภาระหนักของรัฐบาลที่จะต้องเข้ามาช่วยให้น้องๆมีงานทำ อย่างน้อยที่สุด 20,000 คนนี้ คิดว่าได้เปรียบไม่แพ้คนอื่น ถือเป็นแต้มต่อและขออวยพรให้น้องๆทั้ง 20,000 คน ที่เข้าร่วมอบรมสำเร็จได้ดังฝัน ขอให้ทุกคนสามารถก้าวต่อไปเป็นแม่ทัพ เจนเนอเรชั่นใหม่ให้กับประเทศไทย เพื่อทำรายได้ให้กับตัวเอง ครอบครัว องค์กรและประเทศของเราต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "หัวเว่ยเชื่อมั่นว่า การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลเป็นพื้นฐานสำคัญ  เป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของท่านรองนายก คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ให้ความความสำคัญที่ในการยกระดับขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทย  ขอขอบคุณท่านรองนายกฯรวมถึงทางภาครัฐที่ให้ได้รับความไว้วางใจและร่วมมือกับหัวเว่ย ประเทศไทย ในการช่วยต่อยอดศักยภาพของบุคคลากรไทย เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 โดยหัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรและอุตสาหกรรมด้านไอซีทีของไทยต่อไปภายใต้พันธกิจ Grow in Thailand, Contribute to Thailand เพื่อผลัดดันประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลและมีการเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน”

นายกฯ-ศบค. ไฟเขียว ก. แรงงาน ออกมาตรการเข้ม นำเข้าแรงงานต่างด้าว รองรับความต้องการภาคการผลิต

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผอ.ศบค. รับทราบและเห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน ตามที่กระทรวงแรงงานนำเสนอ เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการสามารถดำเนินกิจการ ซึ่งจะสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินกิจการทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน 

โดยมีมาตรการ ดังนี้
 1) ยื่นแบบคำร้องขอนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ โดยสามารถยื่นได้ที่กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ 1-10  
2) ส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งกรมการจัดหางานจะมีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง 
3) ประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และทำ Name List ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทย และกรมการจัดหางานจัดส่ง Name List ให้กับนายจ้าง 
4) เตรียมเอกสารยื่นขอใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ได้แก่ หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 (ถ้ามี) หลักฐานการซื้อประกันสุขภาพบริษัทประกันภัย 4 เดือน โดยนายจ้างต้องแจ้งขึ้นทะเบียนประกันสังคม 
5) การอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ กรมการจัดหางานจะมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทาง เพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร 

6) การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องแสดงเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ 
1. หนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงานพร้อมบัญชีรายชื่อ
 2. ผลตรวจโควิด-19 (วิธี RT-PCR) ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทางเข้ามา หรือผลรับรองการตรวจ ATK 
3. หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 (ถ้ามี) 
4. ตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร 2 ปี 
5. เดินทางไปยังสถานที่กักตัวโดยยานพาหนะที่แจ้งไว้ 7) สถานที่กักตัว กรณีฉีดวัคซีนครบโดส เข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 7 วัน ขณะอยู่ในสถานกักตัวตรวจโรคโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ไม่เกินวันแรกของการกักตัว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 ของระยะเวลากักตัว) กรณีฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์หรือยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 14 วัน ขณะอยู่ในสถานที่กักตัวต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ไม่เกินวันแรกของการกักตัว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-13 ของระยะเวลาที่ถูกกักตัว กรณีตรวจโรคโควิด-19 พบเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาโรค โดยค่าใช้จ่ายนายจ้างและกรมธรรม์เป็นผู้รับผิดชอบ และ 8) เมื่อคนต่างด้าวกักตัวครบกำหนด นายจ้างต้องไปรับคนต่างด้าวมายังสถานที่ทำงาน เพื่อทำการอบรมผ่าน Video Conference และแจ้งเข้าทำงานขอรับในอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด

'นายก' ห่วงผู้ประกันตนทุพพลภาพตาบอด สั่ง รมว.เฮ้ง ส่ง ‘ที่ปรึกษา’ มอบเงินเยียวยาและสิทธิประโยชน์ทดแทนถึงบ้านที่นนทบุรี

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่มอบสิทธิประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้จำนวน 2,400 บาทต่อเดือน ตลอดชีวิต และเงินเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 10,000 บาท
แก่นางสาวบุษกร เจริญชัย อายุ 48 ปี ซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ทุพพลภาพพิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง 

ณ บ้านของผู้ประกันตน ใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติ ซอย 10 ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยมี นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม มอบหมายให้ นางสาวลัดดา  แซ่ลี้ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดยนางธิวัลรัตน์ กล่าวว่า กรณีของนางสาวบุษกร กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้รับข้อร้องเรียนผ่านรายการ เรื่องนี้คุณต้องรู้ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ตนเป็นผู้พิการตาบอดทั้ง 2 ข้าง มีสถานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลแต่ไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ เพื่อรับเงินเยียวยาได้

เนื่องจากเป็นบุคคลที่เคยถูกศาลมีคำสั่งให้ล้มละลาย ทันทีที่ทราบข่าวท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีความห่วงใยพี่น้องแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคมลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนและเงินเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งนางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม ได้ลงพื้นที่ไปยังบ้านของนางสาวบุษกร เพื่อให้ความช่วยเหลือกรอกข้อมูลรับเงินเยียวยา พร้อมให้ยื่นเอกสารเป็นผู้ทุพพลภาพเพื่อพิจารณาจ่ายเงินทดแทน

 

“ประวิตร” ลงพท.นครสวรรค์ ดูระบบระบายน้ำ พื้นที่เจ้าพระยาตอนบน พร้อมติดตามความคืบหน้าการพัฒนาบึงบอระเพ็ด และการช่วยเหลือน้ำท่วม

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ จ.นครสวรรค์  รับฟังการบรรยายสรุปการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภาพรวม จากส่วนราชการต่างๆ ณ ศาลากลางจังหวัด เพื่อติดตามความคืบหน้าการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนบน และการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 

ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวย้ำว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับ จ.นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ด้านทรัพยากรนำ้ของประเทศ รวมทั้งเป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา และแหล่งน้ำธรรมชาติบึงบอระเพ็ด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังคงเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมและปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในช่วงฝนทิ้งช่วงในคราวเดียวกัน 

พล.อ.ประวิตร จึงได้กำชับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และ จ.นครสวรรค์ ให้การสนับสนุน สทนช. เร่งขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ให้มีความคืบหน้า โดยเฉพาะโครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนวัดไทรย์ ให้เสร็จสิ้นทันรองรับสถานการณ์น้ำหลากในปีถัดไป  

'จีน' ผ่านมติประวัติศาสตร์ ปูทาง 'สี จิ้นผิง' กุมอำนาจยาว

12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 16 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 19 ที่มีประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นประธาน เริ่มต้นมาตั้งแต่วันจันทร์และปิดฉากลงแล้วในวันเดียวกันนี้ ได้ผ่าน "มติประวัติศาสตร์" ปูทางให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ครองอำนาจต่อไปอีกยาวนาน

ที่ประชุมของคณะกรรมการกลางซึ่งมีสมาชิกประมาณ 350 คน ได้ผ่านมติว่าด้วย "ความสำเร็จครั้งใหญ่และประสบการณ์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์การต่อสู้รอบ 100 ปีของพรรค" ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อ 100 ปีก่อน ที่คณะกรรมการกลางพรรคฯ ผ่านมติประวัติศาสตร์ เพื่อเพิ่มอำนาจผู้นำสูงสุด โดยครั้งแรกในยุคท่านประธานเหมา เจ๋อตง และครั้งที่ 2 ในยุค เติ้ง เสี่ยวผิง 

1 ฟรี 1 !! ‘สวนนงนุชพัทยา’ กระตุ้นการท่องเที่ยว! แบบ “ไทยเที่ยวไทย” หลังเปิดเมือง จัดโปรโมชั่นสุดพิเศษแบบ 1 ฟรี 1!!

สวนนงนุชพัทยา นำโดยนายกัมพล ตันสัจจาประธานสวนนงนุชพัทยา จัดโปรโมชั่นสุดพิเศษ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากเปิดเมือง ในพื้นที่เมืองพัทยาโดยเฉพาะซื้อบัตรผ่านประตู 1 ท่าน ฟรี 1 ท่าน เที่ยวชมสวนนงนุชพัทยา

นายกัมพล กล่าวว่าทางสวนนงนุชพัทยาได้ปฏิบัติตานนโยบายการเปิดเมืองร่วมโครงการ Pattaya move on โดยสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบไทยเที่ยวไทย ตลอดระยะเวลาการจัดโปรโมชั่น 2 เดือนที่ผ่านมานั้น ได้รับความสนใจจากคนไทยเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของภาคตะวันออก สวนนงนุชพัทยา จึงจัดโปรโมชั่นเฉพาะซื้อบัตรผ่านประตู 1 ท่าน ฟรี 1 ท่านสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยตามโครงการ”ไทยเที่ยวไทย”ที่เข้ามาเยี่ยมสวนใหม่ที่มีการออกแบบเพิ่มเติม

อาทิ เช่น สวนลอยฟ้า,สวนกระถาง,สวนตะบองเพชร,หุบเขาไดโนเสาร์,สวนไม้ด่าง,เนิสร์เซอร์รี่พันธ์ไม้ต่างๆและสร้างไดโนเสาร์เพิ่มเติมกว่า 60 ชนิด หรือเรียกได้ว่าเป็นสวนนงนุชใหม่ บนพื้นที่ 1,700 ไร่

“เฉลิมชัย” ควง “อลงกรณ์” ลุยเพชรบุรี! เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วม สั่งกรมชลประทานระดมเครื่องสูบน้ำ ผันน้ำลงทะเลโดยเร็ว!!

วันนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.กษ. / นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร รักษาราชการผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี / นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการ รมว.กษ. / ดร.กัมพล สุภาแพ่ง / นายอรรถพร พลบุตร อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และคณะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมเพชรบุรี โดยสั่งการให้กรมชลประทานและหน่วยงานในสังกัดเร่งช่วยเหลือประชาชนโดยบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วน

ซึ่งกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 27 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 16 เครื่อง และมีแผนติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม คาดว่าระดับน้ำจะต่ำกว่าตลิ่ง และสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ใน 2 วันนี้

ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ เมื่อระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่งจะใช้เครื่องสูบน้ำสูบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดกับประชาชนโดยเร็วที่สุด ยิ่งกว่านั้นยังกำชับให้เร่งดำเนินการเยียวยาความเสียหายทางกาคเกษตรให้กับเกษตรกรภายใน 60 วันหลังจากทางจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติ

 

รมว.แรงงาน เผยโควตา ปี 65  อิสราเอลรับแรงงานภาคเกษตร 6,500 คน

กรมการจัดหางาน เปิดรับสมัคร และคัดเลือกคนหางานเพื่อไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย – อิสราเอลเพื่อการจัดหางาน” (TIC) ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 15 – 25 พฤศจิกายนนี้

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแรงงานไทยให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อมีงานทำ นำรายได้ ประสบการณ์และทักษะที่ได้รับจากการทำงานในต่างประเทศมาพัฒนาตนเองหรือต่อยอดกิจการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐอิสราเอลเพิ่มโควตารับแรงงานภาคเกษตรจากประเทศไทยเป็น 6,500 คน มากกว่าปีที่แล้วที่ให้โควตาไว้ 5,000 คน  ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://toea.doe.go.th  ระหว่างวันที่ 15 – 25 พฤศจิกายน 2564

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ในเดือนพฤศจิกายนนี้กรมการจัดหางานจะเปิดรับสมัครและคัดเลือกคนหางานเพื่อไปทำงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย – อิสราเอลเพื่อการจัดหางาน” (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers : TIC) ครั้งที่ 16 ตำแหน่งคนงานภาคเกษตร (เพศชาย) ซึ่งจะมีระยะเวลาการจ้างงานตามสัญญาจ้าง 2 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี 3 เดือน โดยคนหางานจะได้รับเงินเดือนขั้นต่ำก่อนหักภาษีเดือนละ 5,300 เชคเกลอิสราเอล หรือ ประมาณ 55,954 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนเงินวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564) คุณสมบัติของผู้สมัคร มีสัญชาติไทย เป็นเพศชายที่พ้นภาระการรับราชการทหาร เกิดระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 – 25 พฤศจิกายน 2541 ไม่มีประวัติอาชญากรรม ไม่มีคู่สมรส บุตร หรือบิดาและมารดาพำนักอยู่ในประเทศอิสราเอล และไม่เคยทำงานในประเทศอิสราเอล สุขภาพแข็งแรง ตาไม่บอดสี ไม่เสพสารเสพติด และต้องมีประสบการณ์ทำงานภาคการเกษตร (ปลูกพืช/ เลี้ยงสัตว์) 

“ผู้สนใจสมัครสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ https://toea.doe.go.th ลงทะเบียนระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนคนหางาน และผู้สมัครงานสามารถตรวจสอบสถานะการสมัครได้ที่ E-Mail ของตนเอง หรือที่เว็บไซต์ https://toea.doe.go.th ในหัวข้อ “ดูรายการสมัครไปทำงานโดยรัฐจัดส่ง”กรณีผู้สมัครไม่สามารถ

“ โฆษกรัฐบาล” สวน “หญิงหน่อย” ถ้านโยบายดีจริง ชาวนาไม่ต้องทนทุกข์ตั้งแต่รัฐบาลก่อน 

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย ระบุว่า นโยบายประกันราคาข้าวไม่สามารถแก้ปัญหาข้าวเปลือกตกต่ำ เป็นความทุกข์ซ้ำซากของชาวนา หากพรรคไทยสร้างไทยได้เป็นรัฐบาล จะเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้ชาวนาหายจนหมดหนี้ มีรายได้อย่างมั่นคง ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยืนยันมาตลอดว่าจะดูแลเกษตรกรทั่วประเทศ ขณะนี้เร่งให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันวิเคราะห์แนวโน้มราคาพืชผลทางการเกษตร เพื่อหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการบิดเบือนกลไกตลาด รวมถึงเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างเป็นระบบด้วย

นอกจากนี้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการประกันราคาข้าว รวมทั้งยังส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ชุมชน และโรงสีข้าวอินทรีย์ของเครือข่าย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนราคา ให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นวิธีที่อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน

นายธนกร กล่าวว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ชี้แจงชัดเจนแล้วว่าราคาข้าวจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้น ดังนั้นจะเอาข้าวที่มีความชื้นมาเทียบราคาข้าวแห้งที่ไม่มีความชื้นไม่ได้ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติโครงการประกันรายได้ ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานอื่น วงเงิน 18,000 ล้านบาท ขณะที่เงินประกันรายได้นั้นจะจ่ายให้ 33 งวด งวดที่ 1 และ 2 จ่ายไปแล้วเมื่อวันที่ 9-10 พ.ย.ที่ผ่านมา วงเงิน 13,000 ล้านบาท ส่วนงวดที่เหลือจะจ่ายสัปดาห์ละครั้ง แต่จะจ่ายครั้งละเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับราคาข้าวที่เป็นจริงในขณะนั้นด้วย ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางและยาวนั้น รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ข้าวระยะ 5 ปี จะลดต้นทุนการทำนาของชาวนาจาก 6,000 บาทต่อไร่ เหลือ 3,000 บาทต่อไร่ภายใน 5 ปี รวมถึงภายในปี 2567 จะเร่งพัฒนาส่งเสริมในการใช้พันธุ์ข้าว 12 ชนิด ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การตลาดนำการผลิต 

'นายกฯ' ปาฐกถา เวที APEC CEO Summit ย้ำแนวคิด ไทยมุ่งมั่นจะทำให้ APEC เปิดกว้าง-เชื่อมโยง-สมดุล ในทุกมิติ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เวลา 07.06 น. ตามเวลาประเทศไทย (หรือเวลา 13.06 น. ของเมืองโอ๊คแลนด์) ณ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวปาฐกถาในการประชุม APEC CEO Summit ภายใต้หัวข้อ “ประเด็นสำคัญการเป็นเจ้าภาพของไทยในปี 2565” (Thailand’s Priorities for APEC 2022) ผ่านระบบการประชุมทางไกล 

นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีกับ ABAC นิวซีแลนด์ที่จัดการประชุมครั้งนี้ออกมาได้เป็นอย่างดี โดยในปี 2564 เป็นอีกปีที่ท้ายเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดี APEC ภายใต้การเป็นเจ้าภาพของนิวซีแลนด์ และด้วยจิตวิญญาณแห่งความร่วมมือ ได้พิสูจน์ว่า APEC สามารถยืนหยัดเอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ฟื้นฟูการสาธารณสุข เปิดพรมแดน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน โลกที่เราอยู่อาศัย และความมั่งคั่งร่วมกัน โดยตัวอย่างความสำเร็จของ APEC คือ ความพยายามร่วมกันในการเพิ่มการเข้าถึงวัคซีน และการอำนวยความสะดวกในการขนส่งวัคซีนและเวชภัณฑ์ ซึ่งในประเด็นนี้ต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจากภาคเอกชนด้วย

เวลานี้เป็นโอกาสในการเปลี่ยนทัศนคติไปสู่ “ความพอดี” สร้างสังคมหลังการแพร่ระบาดที่มีความยั่งยืนและสมดุล โดยประเทศไทยได้นำโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 และโมเดลนี้จะขับเคลื่อนประเด็นสำคัญในการเป็นเจ้าภาพ APEC ของไทย นอกจากนี้ ไทยมุ่งมั่นสานต่อการทำงานที่ผ่านมาของ APEC และเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 โดยแปลงวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ ผ่านปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ 3 ประการ ได้แก่ 1) การค้าและการลงทุน 2) ดิจิทัลและนวัตกรรม และ 3) ความยั่งยืนและการมีส่วนร่วม โดยการรับรองแผนปฏิบัติการของวิสัยทัศน์ปุตราจายาในคืนนี้จะเป็นความสำเร็จที่สำคัญของนิวซีแลนด์ในการแปลงวิสัยทัศน์ของผู้นำ APEC ไปสู่แผนการทำงานที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง

ในปี 2565 ประเทศไทยมุ่งมั่นจะทำให้ APEC “เปิดกว้าง” สำหรับทุกโอกาส “เชื่อมโยง” ในทุกมิติ และ “สมดุล” ในทุกด้าน วาระการเป็นเจ้าภาพ APEC ของไทยจะสอดคล้องกับเป้าหมายและการดำเนินการที่มีอยู่แล้วของ APEC แต่นำเสนอภายใต้แนวคิดแบบใหม่ โดยประเด็นสำคัญมีอยู่ 3 ประการ ดังนี้

ประการแรก การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน สานต่อการเปิดตลาดผ่านการส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคี พยายามฟื้นการหารือเรื่องการจัดทำเขตการค้าเสรีในเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) หลังยุคโควิด-19 ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล และการรับมือกับประเด็นทางการค้าใหม่ ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาธารณสุข และการพัฒนาที่ครอบคลุม ซึ่งไทยหวังว่าจะได้ทำงานอย่างแข็งขันร่วมกับภาคเอกชนในเรื่องนี้

ประการที่สอง การฟื้นฟูความเชื่อมโยง ไทยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูการเดินทางข้ามพรมแดนที่ปลอดภัยและไร้รอยต่อ โดยตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ไทยได้เปิดประเทศเพื่อรับนักเดินทางทางอากาศจาก 63 ประเทศและอาณาเขต ซึ่งเขตเศรษฐกิจ APEC ส่วนใหญ่ก็รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ไทยจะผลักดัน ไทยจะดำเนินการตามคำแนะนำของ ABAC ในการจัดตั้งคณะทำงานด้านการเดินทางอย่างปลอดภัย เพื่อร่วมมือกันเชื่อมโยงภูมิภาคเข้าด้วยกันอีกครั้ง 

ประการที่สาม การส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ไทยยืนยันว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของ APEC จะครอบคลุมและยั่งยืน โดยในที่ประชุม COP26 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำประเทศต่าง ๆ ได้ยืนยันความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนและการมีสภาพภูมิอากาศที่ดี โดยไทยจะศึกษาโมเดลทางเศรษฐกิจ และการดำเนินการทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึง โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งให้ความสำคัญกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top