Sunday, 12 May 2024
LITE

22 มกราคม พ.ศ. 2486 ครบรอบ 78 ปี ประเทศไทยใช้คำว่า’สวัสดี’ เป็นการทักทายครั้งแรก

ไปไหนมาไหน เจอใคร คนไทยต้องยกมือไหว้ กล่าวคำว่า ‘สวัสดี’ ซึ่งคำ ๆ นี้ มีขึ้นมากว่า 78 ปีแล้ว โดยวันนี้เมื่อในอดีต ถือเป็นวันแรกในการประกาศให้คนไทย ใช้คำทักทายเวลาเจอกันว่า ‘สวัสดี’

และผู้ที่ออกประกาศนี้ก็คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้คนไทยยุคนั้นมีความเป็นชาตินิยม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อ ‘สยาม’ มาเป็นประเทศ ‘ไทย’ หรือเปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติไทยแต่เดิมมาเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน รวมไปถึงการประกาศให้คำว่า ‘สวัสดี’ เป็นคำทักทายในโอกาสแรกที่ได้พบกัน

การประกาศนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 โดยเป็นกรมโฆษณาการ (ชื่อเดิมของกรมประชาสัมพันธ์) ที่เป็นหน่วยงานออกประกาศข่าวนี้

กล่าวถึงคำว่า สวัสดี เป็นภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า ‘สุ’ แปลว่า ดี งาม หรือ ง่าย และคำว่า ‘อสฺติ’ เป็นคำกิริยาแปลว่า มี แผลงคำว่า ‘สุ’ เป็น ‘สว’ (สฺวะ) ได้โดยเอา ‘อุ’ เป็น ‘โอ’ เอา ‘โอ’ เป็น ‘สฺว’ ตามหลักไวยากรณ์ แล้วสนธิกับคำว่า ‘อสฺติ’ กลายเป็น ‘สวสฺติ’ อ่านว่า สะ-วัด-ติ แปลว่า ‘ขอความดีความงามจงมี (แก่ท่าน)’

โดยผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า ‘สวัสดี’ ในช่วงแรก คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ปรับเสียงของคำว่า ‘สวสฺติ’ ให้ง่ายต่อการออกเสียงของคนไทย จากคำสระเสียงสั้น (รัสสระ) ซึ่งเป็นคำตาย มาเป็นคำสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ซึ่งเป็นคำเป็น ทำให้ฟังไพเราะ รื่นหูกว่า จึงกลายเป็น ‘สวัสดี’ ใช้เป็นคำทักทายที่ไพเราะและสื่อความหมายดี ๆ ต่อกันของคนไทยตลอดมา

พิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ผ่านไปเรียบร้อย งานนี้เลยขอเก็บตกแฟชั่นหน้ากากอนามัยของเหล่าผู้นำสหรัฐฯ ทั้งคนเก่าและคนใหม่ ใครสวมใส่แบบไหนกันบ้าง เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์โควิด -19 กันเสียหน่อย

เข้ารับตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อย สำหรับ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐอเมริกา และแน่นอนว่า ภารกิจแรกที่นายโจ ไบเดน ประกาศหลังเข้ารับตำแหน่ง นั่นก็คือ การรณรงค์ให้ประชาชนสหรัฐฯ ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย เรียกว่าขอความร่วมมือให้ใส่กันตลอด 100 วันต่อจากนี้ เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ลงให้ได้

เมื่อคืนเป็นงานพิธีเข้ารับการสาบานตนเป็นประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน The States Times จึงไปส่องการสวมใส่หน้ากากอนามัยของเหล่าผู้นำทั้งหลายในงาน เบื้องต้นทุกคนสวมใส่กันเรียบร้อยดี แต่จะมีดีเทลหรือรายละเอียดอะไรกันบ้างนั้น ลองไปดู อ๊อ! ขออนุญาตเพิ่มเติม ‘ผู้นำประเทศไทย’ ด้วยอีกท่าน พอดีท่านสวมสีหวาน ๆ จึงขอนำมาอวดกันซะหน่อย (อิอิ)

ศบค.กทม.เตรียมชงเรื่องปลดล็อคธุรกิจร้านค้า ให้สามารถกลับมาประกอบกิจการกันได้อีกครั้ง หลังต้องปิดตัวเนื่องจาก ‘โควิด-19 ระลอกใหม่’ ธุรกิจไหนที่จ่อคิวได้กลับมาเปิดกันบ้าง ตามไปเช็กกันดูได้เลย

เตรียมเฮกันดัง ๆ หลังมีข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร หรือ ศบค.กทม. เตรียมหารือเรื่องการคลายล็อค หรือผ่อนปรนมาตรการ การปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว หลังจากที่โรคโควด -19 กลับมาระบาดระลอกใหม่ โดยคาดว่าเตรียมจะอนุญาตให้กลับมาเปิดกิจการกันได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ ศบค.กทม.จะเข้าประชุมหารือกับคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ในวันนี้ (21 ม.ค. 64) ว่าเห็นควรให้ผ่อนปรนหรือไม่ หรือจะกำหนดให้มีมาตรการเสริมเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร บรรดาธุรกิจร้านค้าต่างๆ ต้องติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากว่ามีการผ่อนปรนขึ้นมาจริง กิจการที่จะได้รับการปลดล็อคในเบื้องต้น มีดังนี้..

21 มกราคม วันกอดสากล วันที่ชวนทุกคนมาแสดงความรักต่อกันด้วยการกอด วันนี้มีประวัติมายาวนานกว่า 34 ปีแล้ว

กอดใครครั้งสุดท้ายเมื่อไรครับ? บางคนเมื่อวาน บางท่านบอกแทบจำไมได้ว่าเคยเกิดขึ้นเมื่อไร เอาเป็นว่า กอดได้กอดกันในวันนี้เลยแล้วกัน เพราะวันนี้เป็นวันพิเศษที่เรียกกันว่า ‘วันกอดสากล’ หรือ National Hug Day

วันกอดสากลเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1986 หรือเมื่อ 34 ปีก่อน โดยบาทหลวงนามว่า เควิน ซาบอร์นีย์ ที่อาศัยอยู่ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เขาเห็นว่า ชาวอเมริกันอยู่ในสังคมที่ไม่ค่อยแสดงความรักต่อกันในที่สาธารณะ จึงพยายามรณรงค์ให้มีการกอดกัน 1 วันในทุก ๆ ปี โดยเลือกช่วงเดือนมกราคมที่เป็นฤดูอันหนาวเหน็บ และกำหนดให้ วันที่ 21 มกราคม เป็นวันแห่งการกอด นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา

ต่อมาการรณรงค์นี้ ก็ถูกเผยแพร่ออกไป เริ่มจากในเมืองคาโร แห่งรัฐมิชิแกน (ที่บาทหลวงอาศัยอยู่) ได้ขยายออกไปในวงกว้าง จากเมืองสู่รัฐ จากรัฐสู่ประเทศ จนกลายเป็นว่า มีประเทศนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา อาทิ แคนาดา เยอรมนี จอร์เจีย อังกฤษ ออสเตรเลีย บัลแกเรีย ฯลฯ ต่างกำหนดให้วันที่ 21 มกราคม เป็นวันกอดสากลเช่นเดียวกัน

วันกอดสากลนี้ กอดกันได้ทั้งเพื่อน คนรัก สัตว์ และสมาชิกในครอบครัว ที่ผ่านมาเคยมีผลการศึกษามากมาย ส่วนใหญ่ต่างระบุตรงกันว่า การสัมผัสร่างกายกันของมนุษย์ จะช่วยส่งเสริมให้อารมณ์และสุขภาพจิตดีขึ้น โดยเฉพาะ ‘การกอด’ ที่ช่วยพัฒนาทางด้านจิตใจ มากไปกว่านั้น ยังช่วยระบบย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ รู้อย่างนี้แล้ว วันนี้รีบมองหาคนกอดกันดีกว่าครับ!

พีค of the week Ep.2 รวมมิตรเรื่อง ‘พีคๆ’ รอบสัปดาห์

สัปดาห์ก่อน เรื่องการข่าว มาทั้งเรื่องดีๆ และเรื่องดราๆ (หมายถึงดราม่า) ทั้งข่าวมาตรการเยียวยา หรือดราม่าพิมรี่พาย ยังมีอีกหลายข่าวที่เราคัดสรรมาแล้วว่า ‘มันพีคจริงๆ แม่!’ ไปดูกันซะก่อนจะหมดวันนี้ เพราะเดี๋ยวพรุ่งนี้ คุณจะคุยกับเขา ไม่...รู้...เรื่อง!!

 

20 มกราคม ค.ศ. 1885 วันแรกของการจดสิทธิบัตร ‘เครื่องเล่นรถไฟเหาะตีลังกา’

ใครๆ ก็รู้จัก ’รถไฟเหาะตีลังกา’ แต่จะมีใครรู้ไหมว่า วันนี้เมื่อ 136 ปีก่อน เป็นวันแรกที่มีการจดสิทธิบัตรเครื่องเล่นประจำสวนสนุกชนิดนี้ 

สมมติถ้าจะให้คะแนน ‘เครื่องเล่นสวนสนุกสุดยอดขวัญใจ’ เชื่อเหลือเกินว่า คะแนนของ ‘รถไฟเหาะตีลังหา’ ต้องมาเป็นลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่า เจ้าเครื่องเล่นชนิดนี้ มีอายุอานามมากว่า 136 ปีแล้วนะ

ไอเดียของรถไฟเหาะตีลังกานั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 18 เมื่ออุตสาหกรรมถ่านหินในอเมริกาค่อย ๆ ถูกยกเลิก รางรถไฟเดิมที่ใช้สำหรับลำเลียงถ่านหิน ก็ถูกนำไปปรับปรุงให้เป็นขบวนรถนำเที่ยวชมภูเขา แถมมันยังได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ความหวาดเสียวเล็ก ๆ เวลาที่ผู้โดยสารนั่งไปบนรางสูง ๆ และมีความคดเคี้ยวระหว่างทาง จุดนี้เองที่เป็นจุดแรกเริ่มที่ถูกนำไปสร้างเป็นรถไฟเหาะในเวลาต่อมา 

โดยมันเกิดจากชายที่ชื่อว่า Lamarcus Adna Thompson หรือ L.A. Thompson นักธุรกิจชาวเจอร์ซีย์ ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เขาเป็นผู้หนึ่งที่ได้สัมผัสกับประสบการณ์นั่งรถไฟนำเที่ยวชมภูเขาด้วยเช่นกัน จึงเริ่มคิดค้นและออกแบบระบบรถไฟเหาะชื่อ Switchback Gravity Railway และเปิดให้บริการในปี ค.ศ.1884 ที่สวนสนุก Coney Island ซึ่งถือเป็นรถไฟเหาะเจ้าแรกในอเมริกา

ทว่าไอเดียนี้กลับถูกคู่แข่งสวนสนุกนำไปสร้างรถไฟเหาะได้หวือหวากว่า เป็นเหตุให้ L.A. Thompson ลงทุนจดสิทธิบัตรการสร้างรถไฟเหาะในนามของตัวเองขึ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1885 หรือวันนี้เมื่อกว่า 136 ปีก่อนและหลังจากนั้น เขาก็คิดค้นปรับปรุงรถไฟเหาะตีลังกาให้มีความสนุกและปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด เขาก็ได้ชื่อว่า เป็น ‘บิดาแห่งรถไฟเหาะ’ ที่ผู้คนในโลกต่างยอมรับ

รวมพลคนไม่รับเงินเยียวยา 3,500 บาท ใครเข้าข่ายกันบ้าง โปรดเช็ก!

เสียงเคาะมติกันดังโป๊งป๊าง! วันนี้แนวร่วมประชาชนมีเฮกันดัง ๆ กับมติ ครม. โครงการเยียวยา 3,500 บาท เราชนะ แต่เดี๋ยวก่อน!! ในเสียงเคาะมติโป๊งป๊างนั้น แอบได้ยินเสียงถอนหายใจ เฮ้ออออ!!

เพราะมีผู้ (ไม่) ชนะ หรือไม่เข้าข่ายได้รับเงินเยียวยาน่ะสิ! เฮ้อออ! คนอกหักพักบ้านนี้ เอ้ย! มารวมกันที่นี่ ไหนใครอดเงินกันบ้าง ช่วยมาเม้นกันหน่อย อย่างน้อย เราก็คนหัวอกเดียวกัน!!

ชวนทำความเข้าใจหลักการฉีดวัคซีนโควิด -19 ที่ควรรู้ หากว่าจะถึงคิวฉีดขึ้นมาในวันหนึ่ง

เป็นข่าวฮือฮามาตั้งแต่เมื่อวาน กรณีบริษัทยา ‘แอสตราเซเนกา’ ขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด -19 ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งคาดว่า ทาง อย. ต้องใช้เวลาในการพิจารณาเอกสารต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนกว่า 1 สัปดาห์ (ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงการขอเอกสารเพิ่มเติมจากบริษัทผู้ผลิต) และหลังจากนั้น ก็จะมีการประกาศผลรับรองไม่ทางใดก็ทางหนึ่งต่อไป

หากว่ากันในเชิงปฏิบัติ หากวัคซีนนี้ได้รับการอนุมัติ จะมีผลไปสู่การผลิตวัคซีนตัวเดียวกันที่จะผลิตในประเทศอีกกว่า 26 ล้านโดส (ซึ่งเป็นการลงนามร่วมมือกันของบริษัทและรัฐบาลไทยก่อนหน้านี้) โดยจะได้รับการอนุมัติได้ง่ายขึ้น แน่นอนว่า จะส่งผลต่อการได้รับการฉีดวัคซีนของคนไทยในวงกว้างมากขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะฉีดด้วยวัคซีนชนิดใด จำนวนมากแค่ไหน สิ่งที่ ‘เรา’ (หมายถึงคนถูกฉีด) ควรรู้เอาไว้เป็นพื้นฐานนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง The States Times ไปรวมมาให้อ่านกันแบบง่าย ๆ ดังนี้

19 มกราคม พ.ศ. 2545 ครบรอบ 19 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันนี้เมื่อ 19 ปีก่อน เป็นวันสำคัญของเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

กล่าวถึง ‘ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ’ ชื่อ สุวรรณภูมิ มีความหมายว่า ‘แผ่นดินทอง’ อันเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทาน โดยใช้แทนชื่อเดิมคือ ‘หนองงูเห่า’

นอกจากนี้ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถูกออกแบบโดย เฮลมุต ยาห์น (Helmut Jahn) สถาปนิกชาวอเมริกัน-เยอรมัน มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยเหล็กและแก้ว ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่า เป็น ‘สถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ ๒๑’

ภายหลังจากเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 ต่อมาอีกราว 4 ปี สนามบินสุวรรณภูมิก็เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถูกยกให้เป็นสนามบินที่มีการให้บริการสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

18 มกราคม ‘วันกองทัพไทย’ วันที่ระลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา

วันนี้ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงชนะศึกยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชา ถือเป็นการทำยุทธหัตถีที่มีความสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ตรงกับวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954

เมื่อกาลเวลาผันผ่าน ต่อมาจึงยกให้วันนี้เป็น ‘วันกองทัพไทย’ เพื่อสดุดีต่อพระปรีชาสามารถของพระองค์ โดยแรกเดิมที กำหนดให้ตรงกับวันที่ 8 เมษายนของทุกปี ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 25 มกราคม แต่เมื่อนักประวัติศาสตร์มาสืบย้อนดูอย่างละเอียดถี่ถ้วน พบว่า วันที่ทรงกระทำยุทธหัตถี น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคมมากกว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 จึงได้ประกาศเปลี่ยนให้ ทุกวันที่ 18 มกราคม ถือเป็นวันกองทัพไทย แทน

โดยนอกจากเป็นวันแห่งกองทัพไทยแล้ว ยังอาจเรียกได้ว่าเป็น ‘วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช’ หรือ ‘วันยุทธหัตถี’ รวมทั้งยังเป็นวันสถาปนากระทรวงกลาโหมอีกด้วย

16 มกราคม วันครูแห่งชาติ...วันแห่งการน้อมระลึกถึงผู้ให้ความรู้และการพัฒนา

 

‘ไม่มีใคร ไม่มีครู’ แม้จะไม่ใช่ประโยคที่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่เชื่อว่า คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ‘ไม่เคยมีครู’ และในวันนี้ ก็ถือเป็นวันสำคัญ โดยถูกกำหนดให้เป็น ‘วันครูแห่งชาติ’

 

ที่มาของวันสำคัญวันนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา กระทั่งเวลาผ่านมาอีกราว 11 ปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็น ‘วันครูแห่งชาติ’ และได้มีการจัดงานวันครูขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500

 

โดยจุดประสงค์ในการมีวันครู เพื่อให้นักเรียนได้ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ ที่ได้อบรมสั่งสอนเรามาตั้งแต่เด็ก ทำให้คน ๆ หนึ่ง กลายเป็นคนดีรู้วิชา ครูจึงเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญ และถือเป็นกำลังสำคัญที่จะทำให้สังคมก้าวหน้า ตลอดจนตั้งอยู่บนจริยธรรมความดี

 

โลกอาจจะหมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน ทำให้ทุกวันนี้เราสามารถเรียนหนังสือผ่านสื่อออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย แต่ความสำคัญของครูก็ไม่ได้ลดน้อยลงไป เพราะตราบใดที่มนุษย์ยังต้องเรียนรู้ คำว่า ‘ครู’ ก็ยังคงมีความหมายตลอดไป

 

15 มกราคม พ.ศ. 2551 บันทึกสำคัญหน้าทีวีไทย เมื่อ ‘ไอทีวี’ ถูกยุติออกอากาศ เป็นที่มาการเปลี่ยนผ่านสู่สถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ ‘ไทยพีบีเอส’

วันนี้เมื่อ 13 ปีก่อน ถือเป็นอีกหนึ่งบทหน้าบันทึกของวงการโทรทัศน์เมืองไทย เมื่อสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถูกยุติออกอากาศ พร้อมเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานีโทรทัศน์แห่งใหม่ที่มีชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

 

กล่าวถึงสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 โดยการเรียกร้องของประชาชนในยุคนั้น ที่ต้องการสื่อที่นำเสนอข่าวได้โดย ‘อิสระ’ กระทั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้เปิดการให้สัมปทานช่องใหม่ โดยต้องมีสัดส่วนรายการข่าวและสาระ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และรายการบันเทิง ไม่เกินร้อยละ 30

 

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มออกอากาศ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เริ่มด้วยรายการข่าวภาคค่ำ โดยสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับสื่อโทรทัศน์ไทย ด้านการนำเสนอข่าวที่มีความตรงไปตรงมา รวดเร็วฉับไว วิเคราะห์ลึก แต่ต่อมาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 ได้มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้น จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนการแก้ไขสัมปทาน รวมทั้งสัดส่วนของรายการแต่เดิมที่ตกลงกับสปน.

 

ด้วยประเด็นนี้เอง จึงนำมาซึ่งการถูกฟ้องร้อง ผลพวงจากคดี เป็นเหตุให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานเท่าเดิมที่ตัวเลข 1,000 ล้านบาทต่อปี พร้อมกับถูกปรับย้อนหลังอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเวลาผ่าน ทางสถานีไม่สามารถจ่ายเงินดังกล่าวได้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานสถานี รวมระยะเวลาการออกอากาศทั้งสิ้น 10 ปี 8 เดือน 6 วัน 5 ชั่วโมง

 

ผลจากการยกเลิกสัมปทาน ทำให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถูกโอนย้ายไปสังกัดกรมประชาสัมพันธ์นับตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 กระทั่งสถานีเดิมถูกเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ‘ทีวีสาธารณะ’ โดยในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 สถานีโทรทัศน์ไอทีวีเดิม ก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นทีวีสาธารณะเต็มตัว พร้อมกับชื่อใหม่ว่า สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS-Thai Public Broadcasting Service) และทำการออกอากาศต่อเนื่องจนถึงวันนี้ 13 ปีมาแล้ว

 

1 ปีกับโควิด-19 มีเหล่านักรบเสื้อกาวน์มากมาย และนี่คือ ‘5 แนวรบหมอสู้โควิด’ ที่คนไทยทั้งประเทศสุดคุ้นเคย!!

เป็นเวลากว่า 1 ปีมาแล้ว ที่โควิด-19 เข้ามาในประเทศไทยแล้วไม่ยอมจากไปไหนเสียที โดยเรื่องหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือการมีคุณหมอออกมาแถลงสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงอีกหลาย ๆ ท่านที่ออกไปสู้รบกับเจ้าเชื้อไวรัสชนิดนี้ ในบรรดาคุณหมอเหล่านี้ มี 5 นักรบเสื้อกาวน์ ที่เรามักจะได้เจอกันอยู่บ่อย ๆ ถึงตรงนี้ คงไม่มีคำไหนจะเอ่ยได้ดีเท่า ’ขอบคุณ’

ขอบคุณคุณหมอทั้ง 5 และมากไปกว่านั้น ขอบคุณ ‘เหล่าคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน’ ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ขอเป็นกำลังใจให้เหล่าคุณหมอ สู้ต่อไป แล้วพวกเราจะตอบแทนด้วยการดูแลตัวเองอย่างดีเช่นกัน!!

14 มกราคม ค.ศ. 2016 ‘อลัน ริคแมน’ ศาสตราจารย์เซเวอรัส สเนป แห่งภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เสียชีวิต

วันที่ 14 มกราคมของเมื่อ 5 ปีก่อน คอหนังหลายคนพากันใจหายไปตาม ๆ กัน เมื่อมีข่าวช็อก นักแสดงคนดัง ‘อลัน ริคแมน’ เสียชีวิต

หลายคนรู้จักเขาในฐานะนักแสดงมากความสามารถ ผู้คว่ำหวอดในวงการภาพยนตร์มากว่า 40 ปี แต่สำหรับแฟนหนังแนวแฟนตาซี นักแสดงคนนี้ คือศาตราจารย์ผมยาว ผู้มีบุคลิกลึกลับ นามว่า ‘เซเวอรัส สเนป’ แห่งมหากาพย์ภาพยนตร์เรื่องยิ่งใหญ่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ นั่นเอง

อลัน ริคแมน เป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด เขาเคยเป็นนักออกแบบกราฟิก ก่อนที่จะตัดสินใจเรียนการแสดงเพิ่มเติม และก้าวเข้าสู่แวดวงการแสดง จนเริ่มเป็นที่รู้จักจากหนังเรื่อง Les Liaisons Dangereuses ในปี ค.ศ. 1985 รวมถึงได้รับบทบาทตัวร้ายที่โดดเด่นในหนังเรื่องดังอย่าง Die Hard

ชื่อของ อลัน ริคแมน มาโด่งดังเป็นพลุแตกอีกครั้ง จากการที่เขาเข้ามารับบทบาทเป็นหนึ่งในอาจารย์ของโรงเรียนพ่อมด ‘ฮอกวอตส์’ ในหนังแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งตัวละคร ‘สเนป’ ทำให้คนดูต้องติดตามความลึกลับของเขา ถือเป็นตัวละครในหนังแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่หลายคนจดจำได้ดี

กระทั่งในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2016 จู่ ๆ ก็เกิดมีข่าวร้ายกับวงการฮอลลีวู้ด เมื่อมีรายงานข่าวว่า อลัน ริคแมน เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งตับอ่อน ในวัย 69 ปี แต่ถึงแม้ตัวจะจากไป ชื่อเสียงและความสามารถ โดยเฉพาะกับภาพศาสตราจารย์สเนป ก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ อยู่เสมอ

เช็กเงื่อนไข ใครได้ ใครอด เงินเยียวยา 3,500 จาก ‘โครงการเราชนะ’

ฮือฮาท่ามกลางลมหนาว เห็นจะเป็นข่าว ‘โครงการเราชนะ’ ที่นายกฯ และครม. เคาะกันออกมาแล้วว่า จะจ่ายเงินเยียวยาให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาดระลอกสอง คนละ 3,500 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน

งานนี้เหมือนได้ตัวช่วยเป็นไออุ่นท่ามกลางลมหนาว แถมจำนวนผู้ที่ได้รับสิทธิ์หนนี้ ยังครอบคลุมประชาชนไปทั้งประเทศ ทุกระดับ กว่า 40 ล้านคน โดยรัฐจะใช้ฐานข้อมูลการลงทะเบียนจาก ‘โครงการเราไม่ทิ้งกัน’ มาเป็นข้อมูลพิจารณา

ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใหม่ จะมีแค่เฉพาะกลุ่มเกษตรกร ที่ลงทะเบียนเยียวยาเกษตรไปรอบที่แล้วประมาณ 7 ล้านคน ที่จะต้องลงทะเบียนใหม่ เพราะข้อมูลไม่ได้อยู่ในระบบที่เชื่อมกับโครงการนี้

ย้ำอีกทีว่าไม่ต้องกังวลเรื่องการแย่งสิทธิ หรือที่เรียกว่า มาก่อนได้ก่อน เพราะโครงการนี้จุดประสงค์คือ เยียวยาทุกคนที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ถ้าเคยอยู่ในระบบไหน ที่รัฐมีข้อมูลอยู่แล้ว ขอแค่รอให้ระบบคัดกรองว่า ‘เข้าเกณฑ์’ ก็พร้อมโอนได้ทันที คาดว่าจะมีผลปลายเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นไป

เอาเป็นว่า ตอนนี้รอรายละเอียดความชัดเจนหลังจาก ครม.อนุมัติในวันที่ 19 มกราคมอย่างเป็นทางการเสียก่อน แต่เบื้องต้นมาเช็กดูเงื่อนไขไปพลางๆ ว่าเราเป็นผู้ที่เข้าข่าย หรือไม่เข้าข่าย การรับเงิน 3,500 บาท กันเสียก่อน เช็กกันซะให้ชัวร์ๆ ว่าเงินเยียวยาหนนี้ เรามีสิทธิ์หรือไม่!? ไปดู!


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top