Thursday, 25 April 2024
TODAY SPECIAL

วันนี้เมื่อ 37 ปีที่แล้ว ‘เขาทราย แกแล็คซี่’ เจ้าของฉายาซ้ายทะลวงไส้ สร้างตำนานบทใหม่คว้าเข็มขัดแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBA

เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 หรือ เมื่อ 37 ปีก่อน ‘สุระ แสนคำ’ หรือ ‘เขาทราย แกแล็คซี่' ได้คว้าเข็มขัดแชมป์โลกมาครอง ซึ่งได้สร้างความปลื้มปีติให้แก่ชาวไทยทั้งประเทศ เมื่อ เขาทราย แกแล็คซี่ ยอดนักมวยขวัญใจชาวไทย ชนะน็อก ยูเซปิโอ เอสปินัล นักมวยชาวโดมินิกัน ซึ่งเป็นรองแชมป์โลก WBA อันดับ 2 ในรุ่นซูเปอร์ ฟลายเวท ในขณะนั้นได้สำเร็จ ทำให้ เขาทราย แกแล็คซี่ คว้าตำแหน่งแชมป์โลก รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท WBA มาครอง โดยเป็นตำแหน่งแชมป์โลกครั้งแรกของเขาทราย และเป็นแชมป์โลกคนที่ 9 ของไทย

หากพูดถึงชื่อ ‘เขาทราย แกแล็คซี่’ ฉายาที่คุ้นหูคนไทยคงไม่พ้น ‘ซ้ายทะลวงไส้’ อันมีที่มาจากการเป็นนักมวยถนัดซ้าย ที่มาพร้อมกับหมัดซ้ายที่หนักหน่วง และการชกตัดลำตัวที่ยอดเยี่ยม ในขณะที่ฉายาที่สื่อต่างประเทศมอบให้ คือ The Thai Tyson หรือ ไมค์ ไทสัน เมืองไทย

ครบรอบ 82 ปี กำเนิด ‘วงดนตรีสุนทราภรณ์’ ความยิ่งใหญ่ทางดนตรี และบทเพลงอมตะโดย ‘ครูเอื้อ สุนทรสนาน’

บุคคลสำคัญของโลก ที่ได้รับการยกย่อง โดยยูเนสโก และเป็นบุคคลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นเวลายาวนานตราบจนวาระสุดท้ายของบุคคลผู้นี้ คือ ‘ครูเอื้อ สุนทรสนาน’ หรือที่รู้จักกันในนามของ “สุนทราภรณ์” ผู้ก่อตั้งวงดนตรี “สุนทราภรณ์” อันโด่งดัง ซึ่งทุกวันนี้แม้ตัวคุณครูเองจะจากไปหลายปีแล้ว แต่วงดนตรีของท่านก็ยังคงอยู่ รวมทั้งเพลงต่าง ๆ ที่คุณครูแต่งหรือร่วมแต่งไว้กว่า 2,000 เพลง ก็ยังคงความไพเราะและเป็นอมตะ ได้รับการบรรเลงขับร้องจากนักร้องรุ่นหลัง ๆ เรื่อยมา โดยไม่มีวี่แววว่าประชาชนจะหลงลืมเพลงเหล่านี้แต่อย่างใดเลย

ครูเอื้อเกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2453 ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2524 และได้รับการยกย่องจากยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในสาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล ในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาล เมื่อ พ.ศ. 2552

ท่านก่อตั้งวงดนตรี “สุนทราภรณ์” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าวงดนตรีกรมโฆษณาการ หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน ครูเอื้อไม่ประสงค์จะใช้วงดนตรีของทางราชการไปรับงานแสดงส่วนตัว จึงได้ดำริจัดตั้งวงดนตรี “สุนทราภรณ์” ขึ้น เพื่อรับบรรเลงตามสถานที่ต่าง ๆ ในเวลานอกราชการ 

คำว่า “สุนทราภรณ์” ได้มาจากการนำนามสกุลท่อนแรกของท่าน คือ “สุนทร” มาสนธิกับชื่อสุภาพสตรีอันเป็นที่รักของท่าน ได้แก่ “อาภรณ์” (กรรณสูต) กลายเป็น “สุนทราภรณ์” ซึ่งเป็นทั้งชื่อวงดนตรีและนามแฝงในการขับร้องเพลงของท่านควบคู่กันไป เพลงของสุนทราภรณ์มีทุกแนว นับตั้งแต่เพลงปลุกใจ, เพลงสดุดีเทิดพระเกียรติ, เพลงประจำสถาบันต่าง ๆ, เพลงรัก, เพลงคติธรรมชีวิต ไปจนถึงเพลงรำวงและลีลาศอันสนุกสนาน หลาย ๆ เพลงยังคงความอมตะ และได้รับความนิยมสืบเนื่องจนกลายเป็นสมบัติของชาติเคียงคู่สังคมไทยตราบเท่าทุกวันนี้ ได้แก่ เพลงเทศกาลต่าง ๆ เช่น เริงสงกรานต์, รำวงสงกรานต์, รำวงลอยกระทง, สวัสดีปีใหม่, รื่นเริงเถลิงศก, รำวงปีใหม่ ฯลฯ เป็นต้น

“วันส้วมโลก” จุดเริ่มต้น! การรณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสะอาดของการใช้ห้องน้ำ - ห้องส้วม ให้มีสุขอนามัยที่ดี

“วันส้วมโลก” (World Toilet Day) หรือวันสุขาโลก ได้ถูกตั้งขึ้นโดยองค์การส้วมโลก (World Toilet Organization หรือ WTO) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 กับประเทศสมาชิก 15 ประเทศ เพื่อดำเนินการปรับปรุงส้วมและสุขอนามัยทั่วโลก โดยมุ่งเน้นไปที่ห้องส้วมมากกว่าด้านประปา ซึ่งต้องการให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาของสุขาภิบาล ความสำคัญของความสะอาดของห้องน้ำห้องส้วม และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของสาธารณสุขมากขึ้น เนื่องจากยังมีผู้คนทั่วโลกอีกมากมายที่ยังใช้ส้วมที่ไม่ได้มาตรฐานอยู่ โดยใช้ความพยายามกว่า 12 ปี ในการดำเนินงาน

จนกระทั่งวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในที่ประชุมของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้บรรจุวันส้วมโลกอยู่ในวันของสหประชาชาติ และ กำหนดวันที่ 19 พฤศจิกายน ของทุก ๆ ปี เป็นวันสุขาโลก เพื่อเรียกร้องให้สมาชิกช่วยกันส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และออกนโยบายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถเข้าถึงระบบสุขาภิบาล และหยุดการถ่ายอุจจาระในที่เปิดโล่ง และวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ได้มีมติอย่างเป็นทางการ เพื่อเน้นย้ำแสดงให้เห็นถึงชะตากรรมของผู้คนถึง 2.5 พันล้านคน ที่ยังไม่มีห้องน้ำขั้นพื้นฐาน ตามที่สหประชาชาติเคยกล่าวไว้ว่า ในบรรดาประชาชน 7 พันล้านคนของโลก มีเพียง 4.5 พันล้านคนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงห้องสุขาหรือส้วมได้ และมีอีก 1,100 ล้านคน ที่ยังขับถ่ายในที่สาธารณะ ซึ่งคุกคามต่อการสาธารณสุข

93 ปี! “Mickey Mouse Day” เปิดตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ เรื่อง ‘วิลลี่เรือกลไฟ’ เป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่มีดนตรี และเสียงพูดประกอบเรื่องแรกของโลก!!

มิกกี้ เมาส์ เป็นคาแรกเตอร์การ์ตูนของวอลต์ ดิสนีย์ ที่ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง Steamboat Willie ซึ่งเข้าฉายครั้งแรกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928 เป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่มีเสียงพูดเรื่องแรกของโลก และเป็นภาพยนตร์การ์ตูนประกอบเสียง และดนตรีเรื่องแรกของโลก ซึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “มิกกี้ เมาส์” ก็กลายเป็นตัวละครขวัญใจของแฟน ๆ ดิสนีย์จากการรับบทนำในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว

วันนี้ในอดีต ‘จอมพลถนอม กิตติขจร’ ก่อการปฏิวัติรัฐประหารตนเอง จัดตั้งรัฐบาลคณะปฏิวัติขึ้นปกครองประเทศ จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร!!

หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 ‘จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจ ได้แก่ ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ ที่เขียนจดหมายในนาม ‘นายเข้ม เย็นยิ่ง’ ถึง ‘ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง’ (หมายถึงจอมพลถนอมนั่นเอง)

จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้ ‘จอมพลถนอม กิตติขจร’ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

จอมพลถนอม กิตติขจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพลถนอม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตเป็นจำนวนมาก

ย้อนรอย 41 ปี เหตุสะเทือนขวัญกลางกรุง ‘คลังแสงบางซื่อ’ ระเบิด

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เกิดเหตุสะเทือนขวัญคนไทยทั้งประเทศ นั่นก็คือเหตุ ‘คลังแสงบางซื่อ’ ระเบิด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้มีคนเสียชีวิตกว่า 38 ศพ และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 350 คน

ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้การระเบิดครั้งนี้มีความรุนแรงอย่างมากก็เพราะ นี่คือการระเบิดของจรวดกว่า 4,800 ลูก สร้างแรงสั่นสะเทือนมหาศาลกินพื้นที่ไปกว่า 3-5 กิโลเมตร!!

โดยหลังเกิดเหตุมีการพบเศษชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์กระจัดกระจายทั่วบริเวณ แต่เนื่องจากรายงานว่ามีการระเบิดจากจรวดหลายพันลูก ที่ล้วนเป็น “จรวดทำลายรถถัง” และ “ระเบิดทำลายติดปีกเครื่องบิน” 

จึงทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยถึง ความรุนแรงของการระเบิดที่ควรมีรัศมีที่กว้างกว่านี้ รวมไปถึงจำนวนผู้เสียชีวิต ที่อาจถึงหลักหลายร้อยเสียด้วยซ้ำ

ซึ่งได้มีผู้อยู่ในเหตุการณ์ ออกมาเปิดเผยถึงเหตุระเบิดที่ยิ่งตอกย้ำให้ข้อสังเกตนี้ อาจเป็น ‘ความจริง’ โดยได้เล่าว่าตนอยู่ในเหตุการณ์เพราะอาศัยในบ้านพักราชการที่นั่น ซึ่งเหตุร้ายในครั้งนี้เกิดขึ้น ในเช้าวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 10 โมงเช้า 

88 ปี การเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ‘ครั้งแรก’ และ ‘ครั้งเดียว’ ของไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่หนึ่งในประเทศไทย และเป็น "การเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" ตราบจนปัจจุบัน โดยเกิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476

ที่มาของการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังที่เหตุการณ์กบฏบวรเดชยุติลงในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาว่ารัฐบาลได้ปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อบ้านเมืองสงบแล้ว จำต้องมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

ในขณะนั้นประเทศไทย (ยังคงใช้ชื่อว่า สยาม) แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด มีจังหวัดทั้งสิ้น 70 จังหวัด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แล้ว สามารถเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่หนึ่ง ได้ทั้งหมด 78 คน โดยส่วนใหญ่จะสามารถเลือกผู้แทนฯ ได้จังหวัดละคน 

มีบางจังหวัดที่มีผู้แทนฯ ได้มากกว่าหนึ่งคน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดนครราชสีมา มีผู้แทนฯ ได้ 2 คน ขณะที่จังหวัดพระนครและจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้แทนฯ ได้ 3 คน ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดอัตราประชากร 200,000 คนต่อการมีผู้แทนฯ ได้หนึ่งคน และบวกรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นอีก 78 คน รวมทั้งสิ้นเป็น 156 คน

14 พฤศจิกายน ของทุกปี ตรงกับ ‘วันพระบิดาแห่งฝนหลวง’

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง 

เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ซึ่งโครงการฝนหลวงนี้ มีประโยชน์ต่อราษฎรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิธีการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน ได้ในยามแล้งน้ำ

โครงการฝนหลวง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยาก ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภคและบริโภค รวมไปถึงการใช้ในทางเกษตรกรรม เนื่องจากสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งพบได้บ่อยในฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยความแห้งแล้งเกิดจากการคลาดเคลื่อนของฤดูตามธรรมชาติ เช่น ฤดูฝนล่าช้าหรือหมดไวกว่าปกติ

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงศึกษาสภาพอากาศ ลักษณะต่าง ๆ รวมไปถึงภูมิประเทศของไทย ที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน ทำให้อยู่ในอิทธิพลของมรสุมทวีปเอเชีย โดยเฉพาะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝนและเป็นฤดูเพราะปลูกประจำปีของประเทศไทย พระองค์จึงดำริว่าจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อให้เกิดฝนตกได้

ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนมั่นพระทัย ใน พ.ศ. 2499 จึงได้พระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้ ม.ล. เดช สนิทวงศ์ การรับสนองพระราชดำริ

'พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5' ครั้งเสด็จเมืองตราด หลัง 'จังหวัดตราด' กลับคืนสู่พระราชอาณาเขตสยาม!! ในวันนี้เมื่อปี 2450

เนื่องในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสจังหวัดตราด ในโอกาสที่ได้กลับคืนสู่พระราชอาณาเขตอีกครั้ง หลังเสด็จกลับจากยุโรป ก่อนเสด็จนิวัตพระนคร ร.ศ. 126 หลังจากที่เมืองตราดถูกฝรั่งเศสยึดครองกว่า 2 ปี ด้วยน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้าหลวงที่ทรงเห็นประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวสยามที่อยู่ใต้ร่มฉัตรของพระองค์โดยแท้

จังหวัดตราดเคยอยู่ใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 2 ปีกว่า เหตุใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 5 ทรงยอมยกเมือง พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตร.กม. ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราดเล็ก ๆ ที่มีเนื้อที่ประมาณ 2,900 ตร.กม. จนได้กลับมาอยู่ใต้การปกครองของประเทศไทย ตามสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 (จังหวัดตราดถือเอาวันนี้เป็นวันตราดรำลึก) จากนั้น วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 มีพิธีส่งมอบเมืองตราดให้กับไทย ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ยุโรป ทรงมีราชโทรเลขกลับมาถึงชาวตราดว่า

เกิดเหตุโศกนาฏกรรม!! ‘เครื่องบินชนกันกลางอากาศ’ ที่จรรขีทาทรี เมื่อปี พ.ศ. 2539 นับได้ว่าเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ตามมาด้วยการสูญเสียกว่า 349 ชีวิต

ในวันนี้เมื่อปี 2539 ได้เกิดโศกนาฏกรรมกลางเวหาครั้งใหญ่ จากอุบัติเหตุเครื่องบินชนกันกลางอากาศที่ประเทศอินเดีย โดยตำแหน่งที่เกิดเหตุ อยู่ใกล้กับเมืองจรรขีทาทรี รัฐหรยาณา

ลำหนึ่ง เป็นเครื่องบินโบอิง 747 ของ ‘สายการบินซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์’ เที่ยวบินที่ 763 ที่ที่กำลังจะบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติ ‘อินทิรา คานธี’ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เพื่อมุ่งหน้าไป ‘ซาอุดีอาระเบีย’

ส่วนอีกลำหนึ่ง คือ เครื่องบินอิลยูชิน อิล-76 ของ ‘สายการบินคาซัคสถานแอร์ไลน์’ เที่ยวบินที่ 1907 ที่กำลังจะลงจอดที่ท่าอากาศยาน ‘อินทิรา คานธี’

โดยในส่วนของเครื่องบินโบอิง 747 นั้น ขณะที่เกิดเหตุเครื่องบินลำนี้มีผู้โดยสาร 289 คน และลูกเรือ 23 คน ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย ที่ประกอบไปด้วยผู้เดินทางไปทำงานและไปแสวงบุญที่ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงยังมีชาวต่างชาตินอกเหนือจากอินเดียและซาอุดีอาระเบียอยู่ด้วยอีก 17 คน

ส่วนเที่ยวบินที่ 1907 ซึ่งเป็นเที่ยวบินเหมาลำเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติชิมเคนต์ เมืองชิมเคนต์ ทางตอนใต้ของประเทศคาซัคสถาน มีคนบนเครื่องบินเพียง 37 คน โดยเป็นลูกเรือ 10 คน และผู้โดยสาร 27 คน

>> 5 ไทม์ไลน์ช่วงเวลาระทึกขวัญ!!

1.) คาซัคสถานแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 1907 ใกล้ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี ได้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศของเดลีตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่สั่งให้เที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงมาที่ 15,000 ฟุต 

2.) ขณะเดียวกัน ด้าน ซาอุดีอาระเบียนแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 763 ก็ได้ทำการขึ้นบินจากท่าอากาศยาน และมุ่งหน้าไปในเส้นทางบินเดียวกัน ซึ่งกำลังจะสวนทางกับเที่ยวบินที่ 1907 โดยไต่ระดับขึ้นไปที่ 14,000 ฟุต

3.) เสี้ยวนาทีนั้น เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งเตือนให้เที่ยวบินที่ 1907 ทราบว่า มีเที่ยวบินที่ 763 กำลังมุ่งหน้าสวนทางกัน และให้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต

4.) แต่อันที่จริงแล้วเที่ยวบินที่ 1907 ไม่ได้รักษาระดับความสูงอยู่ที่ 15,000 ฟุต หากแต่กำลังลดระดับลงมา โดยในขณะนั้นอยู่ที่ระดับความสูง 14,500 ฟุตและกำลังลดระดับลงไปอีก

5.) มัจจุราชมาเยือน เมื่อเที่ยวบินที่ 1907 ลดระดับลงไปอีกประมาณ 310 ฟุต ทำให้เกิดการปะทะกับเที่ยวบิน 763 เข้าอย่างจัง เครื่องทั้งสองแตกระเบิดเป็นเสี่ยง ๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top