Monday, 20 May 2024
TODAY SPECIAL

‘อิสรภาพ’ เป็นความชอบธรรมของมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ ซึ่งหากย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ 31 ปีก่อน ผู้ชายที่ชื่อ เนลสัน แมนเดลา ได้รับการปล่อยตัวจากการถูกคุมขังมายาวนานกว่า 27 ปี และต่อมา เขาก็ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในที่สุด

กล่าวถึง เนลสัน แมนเดลา เขาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในฐานะนักเคลื่อนไหวเพื่อการต่อต้านการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการต่อต้านในทุก ๆ วิธี ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา ทำให้ในเวลาต่อมา ต้องถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี

กระทั่งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 เนลสัน แมนเดลา ก็ได้รับอิสรภาพ ในเวลาคาบเกี่ยวกันนั้น การถูกคุมขังของเขาก็ถูกให้เป็นกรณีตัวอย่างของความอยุติธรรมของนโยบายถือผิว ที่ทั่วโลกต้องหันกลับมาไตร่ตรอง เมื่อเวลาผ่านไป เนลสัน แมนเดลา ก็ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ก่อนที่เขาจะก้าวสู่การเป็นประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้ในช่วงปี ค.ศ. 1994 - 1999 โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกของแอฟิกาใต้ที่ได้รับเลือกตั้งตามกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง

แมนเดลา ถือเป็นผู้นำที่ประชาชนแอฟิกาใต้ให้ความเคารพนับถือ เขาเคยได้รับรางวัลโนเบลเมื่อ ปี ค.ศ.1993 และภายหลังที่ลงจากตำแหน่ง ยังถูกยกย่องให้เป็น รัฐบุรุษอาวุโสของประเทศ แมนเดลาเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ยังความสูญเสียมาสู่ประชาชนขาวแอฟริกาใต้ รวมถึงผู้คนบนโลกนี้ ที่ต้องสูญเสียบุรุษที่มีความสามารถ และเป็นสัญลักษณ์ของความเท่าเทียมกันของผู้คนทั้งโลก


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99_%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2

นอกจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่คอยดูแลความปลอดภัยให้กับผู้คนในประเทศแล้ว ยังมีอีกหนึ่งบุคลากรที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือ ‘อาสารักษาดินแดน’ ซึ่งวันนี้ ครบรอบ 67 ปี ของการก่อตั้งกองอาสารักษาดินแดน และถูกยกให้เป็น ‘วันอาสารักษาดินแดน’ อีกด้วย

หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพเหล่าบุคลากรที่แต่งตัวเครื่องแบบคล้ายทหาร และเรียกกันจนติดปากว่า อส. ซึ่งที่มาของอาสารักษาดินแดนนี้ ต้องย้อนกลับไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้เป็นกองพลอาสาสมัครเพื่ออบรมข้าราชการและประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ

ต่อมา ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก พรบ.กำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2481 และ พรบ.ให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2484 ทั้งนี้เพื่อฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการป้องกันประเทศในเวลาสงคราม ด้วยกฎต่างๆ เหล่านี้เอง จึงทำให้มีบุคลากรเข้ามารับการฝึกอบรม จนค่อยๆ พัฒนากลายเป็นกำลังสำรองที่มีความพรั่งพร้อมในการป้องกันประเทศ ตลอดจนช่วยเหลือทุกข์สุขของประชาชนไปอีกทาง

เวลาผ่านมาอีกราว 13 ปี ก็ได้มีการประกาศใช้ พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ขึ้น ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 พร้อมทั้งกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันอาสารักษาดินแดน ไปด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันมีการเปิดรับสมัครบุคคลทั้งชายและหญิง เพื่อเข้ารับการอบรมเป็นอาสารักษาดินแดน โดยในวันนี้มีเจ้าหน้าที่ อส.อยู่กว่า 26,531 คน ประจำอยู่ 971 กองร้อยทั่วประเทศ คอยทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ถือเป็นกำลังสำรองที่มีความสำคัญและสร้างคุณประโยชน์กับประเทศชาติมาโดยตลอด


ที่มา: https://th.wikipedia.org/, https://hilight.kapook.com/view/97447, https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2568141

9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1895 126 ปี กำเนิด ‘วอลเล่ย์บอล’ หนึ่งในกีฬายอดฮิตของผู้คนทั่วโลก

หากจะไล่เรียง ‘กีฬามหาชน’ ที่คนไทยชื่นชอบ หนึ่งในนั้นต้องมี ‘กีฬาวอลเล่ย์บอล’ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่สร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งครองใจแฟนๆ กีฬาชาวไทยมานับ 10 ปี ซึ่งวันนี้มีความสำคัญกับกีฬาชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวันกำเนิด ‘กีฬาวอลเล่ย์บอล’ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก

ย้อนเวลากลับไปกว่า 126 ปี กีฬาวอลเล่ย์บอลเกิดขึ้นโดยนายวิลเลี่ยม จี. มอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A (Young Men’s Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความประสงค์อยากให้มีกีฬาในร่มไว้เล่นกันในช่วงฤดูหนาว

นายวิลเลี่ยมได้นำตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาใช้เป็นส่วนประกอบในกีฬาชนิดใหม่ที่เขาคิดค้นขึ้น และประดิษฐ์ลูกบอลแบบใหม่ ให้มีขนาด 25 - 27 นิ้ว รวมทั้งกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8 - 12 ออนซ์ พร้อมตั้งกติกาให้มีผู้เล่นข้างละ 6 คน สามารถตีลูกบอลได้ข้างละ 3 ครั้ง เพื่อให้ข้ามไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทีแรกเขาตั้งชื่อให้มันว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

กระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1896 จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วอลเล่ย์บอล และกลายเป็นกีฬายอดฮิตในอเมริกาในช่วงเวลาไม่นานนัก ผ่านมาถึงปี ค.ศ. 1964 กีฬาวอลเล่ย์บอลก็ได้ถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งครั้งนั้น ทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น และทีมวอลเล่ย์บอลชายแห่งสหภาพโซเวียต (ชื่อเดิมของรัสเซีย) ก็ได้ครองเหรียญทองโอลิมปิคเป็นหนแรก

ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการตั้งสมาคมวอลเล่ย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น ในปี พ.ศ.2500 ก่อนที่จะกีฬาชนิดนี้ จะได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ และกลายเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจทุกครั้งที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่นอกจากจะสร้างผลงานจนเป็นทีมในระดับหัวแถวของโลกแล้ว ครั้งหนึ่งยังเคยสร้างเหตุการณ์ ‘วอลเล่ย์บอลไทยฟีเวอร์’ มีผู้คนต่อแถวซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขันของพวกเธอยาวเป็นกิโลเมตรมาแล้ว

‘คนตกงาน’ เข้ามาตรการเราชนะ ส่วน ‘คนยังมีงาน’ สามารถเข้ามาตรการ ม.33 เรารักกัน แต่สำหรับ ‘คนเพิ่งตกงาน’ จะเข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือในมาตรการใดของรัฐกันดี?

ช่วงนี้มาตรการต่าง ๆ ของรัฐทยอยออกมาช่วยเหลือประชาชนมากมาย แต่ด้วยวัตถุประสงค์ที่อยากช่วยเหลือ ‘คนทุกกลุ่ม’ จึงเป็นธรรมดาที่จะมีความทับซ้อน หรือเกิดความสับสนขึ้นได้

ยกตัวอย่างมาตรการสุดฮอต 2 โครงการนี้ ‘เราชนะ’ และ ‘ม.33 เราช่วยกัน’ ก็มีส่วนที่ทับซ้อนกัน

โดยโครงการเราชนะ มุ่งช่วยเหลือผู้ที่ตกงาน ไม่มีงานทำ เพราะผลกระทบโควิด - 19 ส่วน ม.33 เรารักกัน มุ่งช่วยเหลือผู้ที่ยังมีงานประจำทำ แต่ก็ได้รับผลกระทบจากกโควิด - 19 เช่นเดียวกัน ทีนี้ยังมีเคสกรณีของ ‘คนที่เพิ่งตกงาน’ ซึ่งก็เป็นที่น่าสนใจว่า แล้วคนกลุ่มนี้ ต้องเข้ามาตรการใดในการช่วยเหลือของรัฐ?

ล่าสุดทางสำนักงานประกันสังคม ได้ชี้แจงเงื่อนไขต่างๆ ของกรณีทำนองนี้ออกมาแล้ว The States Times รวบรวมรายละเอียดมาให้ทราบกันดังนี้..

5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ ถนนสายหลักที่สร้างให้ชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงสู่วิถีอันทันสมัย

ถ้าเป็นสายฮิปสเตอร์ ชื่อ ‘ถนนเจริญกรุง’ ในวันนี้ คือถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้า คาเฟ่ บูติกโฮเทลเก๋ๆ ที่ผุดขึ้นมาเรียงรายสองฝั่งถนน แต่หากสืบย้อนกลับไป ถนนที่มีความยาวกว่า 8,575 เมตร สายนี้ ได้ชื่อว่า เป็นถนนสายหลักแห่งแรกของประเทศไทย

ถนนเจริญกรุง ถูกดำริให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยเหตุที่มีชาวต่างชาติ ได้เข้ามาทำธุรกิจห้างร้าน รวมถึงที่ทำการกงสุลต่างๆ ก็ถูกก่อสร้างขึ้นในย่านนี้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้ขอให้สร้างถนนสายสำหรับขี่ม้า หรือนั่งรถม้า พระองค์จึงทรงดำริให้มีการสร้างถนนที่มีมาตรฐานขึ้น แล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ. 2407

แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเรียกถนนสายนี้ว่า ถนนใหม่ ส่วนฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road) และชาวจีนเรียกว่า ซินพะโล้ว แปลว่า ถนนตัดใหม่ เช่นกัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า ‘ถนนเจริญกรุง’ ซึ่งมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

ถนนเจริญกรุงในยุคก่อน ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่ใหญ่และยาวที่สุด โดยแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ถนนเจริญกรุงตอนใน ตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็ก) และถนนเจริญกรุงตอนใต้ ตั้งแต่สะพานเหล็กออกไปนอกกำแพงพระนคร ต่อเนื่องไปถึงตลาดน้อย บางรัก จรดดาวคะนอง (ในปัจจุบัน)

เมื่อมีถนนหลักใหม่และงดงาม จึงนำมาซึ่งวิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างอาคาร ห้างร้าน บ้านเรือน ไปตลอดแนวถนน ต่อมามีการติดไฟฟ้านำทางส่องสว่าง และด้วยความสวยงามของท้องถนน ผู้คนจึงรู้จักที่จะออกมาใช้ชีวิตในยามค่ำคืนกันมากขึ้น จนเป็นที่มาของถนนที่ได้ชื่อว่า เป็นถนนที่ไม่มีวันหลับใหล ตราบจนทุกวันนี้ ‘เจริญกรุง’ ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน แม้สองข้างทางจะเก่าแก่ไปตามกาลเวลา แต่จิตวิญญาณของถนนที่ได้ชื่อว่า เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย ก็ยังคงปรากฎอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


ที่มา: https://sites.google.com/site/ibkkgroup3/home/yan-ceriykrung

‘ชื่อหวานๆ ต้องโครงการลุงตู่’ รวมรายชื่อโครงการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน ของรัฐบาลลุงตู่นับตั้งแต่ปี 2560-2564 ตีความง่าย ประชาชนเข้าใจได้เลย

ถามว่า อะไรเอ่ย ‘ชื่อเยอะ โครงการแยะ’ อันนี้ก็ต้องยกให้ ‘โครงการของรัฐบาลลุงตู่’ นิเอง ลองย้อนๆ เช็กดู ตั้งแต่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีมา 2 สมัย 7 ปี ทำเป็นเล่นไป มีโครงการช่วยเหลือประชาชนออกมามากมาย ไม่ต้องนับย้อนไปไกลมากถึง 7 ปีหรอก เอาแค่ 3-4 ปีให้หลังมานี้ ลุงตู่แอนด์เดอะแก๊งค์ ผุดสารพัดโครงการ ไม่ว่าจะเป็นแนวแก้ปัญหา เยียวยา หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทยอยมาเป็นชู๊ดดๆ

ช่วง 2 - 3 วันที่ผ่านมา ก็เพิ่งปล่อย ‘ม.33 เรารักกัน’ ลำพังแค่ได้ยินชื่อ ก็แอบหวานเห็นรอยยิ้มลุงตู่นำมากันเลยทีเดียว เราจึงลองสืบย้อนกลับไปดูบรรดารายชื่อโครงการมากมาย ก็พบว่า มีจุดเด่นคือ อ่านง่าย เข้าใจได้เลย และเป็นประโยคหวานๆซอฟท์ๆ อาทิ โครงการกำลังใจ, เราไปเที่ยวด้วยกัน (แนะนำว่า เวลาอ่านแต่ละชื่อ ขอให้นึกใบหน้าลุงตู่แย้มยิ้มไปด้วยนะจ๊ะ)

ข้อดีอีกประการที่หากสังเกตจะทำให้รู้ว่า บรรดาโครงการเหล่านี้ มีวิธีให้ผู้คนทุกระดับต้องเอาตัวเข้าไปสู่ ‘โลกดิจิตัล’ หรือพูดง่ายๆ คือ ต้องหัดลงทะเบียน เบิกจ่าย สั่งจอง ผ่านโลกออนไลน์ทั้งสิ้น แรก ๆ มีเสียงคัดค้านว่ายากต่อการเข้าถึง แต่ถึงวันนี้ คุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณยาย มีสารพัดแอปฯ ของรัฐกันเรียบร้อย มันอาจจะยุ่งวุ่นวายกันบ้างในช่วงแรก แต่นี่คือกุศโลบายในการเดินหน้าเข้าสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ไปโดยไม่รู้ตัว

เล่ามาถึงตรงนี้ The States Times เลยไปรวบรวมบรรดาชื่อโครงการอ่านง่าย เข้าใจได้เลย ของรัฐบาลลุงตู่ มาให้ได้ดูกัน งานนี้ขออนุญาตย้อนถามคุณสักหน่อยว่า ชอบชื่อไหนกันบ้าง วานบอก...

4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ย้อนที่มา ‘ม็อบกู้ชาติ’ ของ สนธิ ลิ้มทองกุล สู่ ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ การรวมมวลชนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เอ่ยคำว่า "ม็อบ" อาจเป็นคำหนึ่งที่อยู่คู่กับเมืองไทยมากว่า 15 ปีให้หลังมานี้ แต่หากจะย้อนเวลาไปหา "จุดแรกเริ่ม" ของม็อบในช่วงตลอด 15 ปีที่ผ่านมา มันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 หรือวันนี้เมื่อ 15 ปีก่อนนี่เอง

สนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของสื่อในเครือผู้จัดการ คือผู้นำมวลชนเมื่อ 15 ปีก่อน ให้ออกมารวมตัวกันเรียกร้อง "กดดันให้ ทักษิณ ชินวัตร" ในฐานะนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น ลาออก!

สืบย้อนกลับไป สนธิ ลิ้มทองกุล ดำเนินรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ที่ช่อง 9 อสมท. โดยวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความไม่ชอบมาพากลในการบริหารประเทศของ ทักษิณ ชินวัตร มาตลอด กระทั่งรายการถูกถอดออกจากผังของสถานี แต่เมืองไทยรายสัปดาห์ยังเดินหน้าต่อในรูปแบบของการสัญจรจัดรายการไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นว่า มีผู้คนติดตามมากขึ้นเรื่อย ๆ

สถานการณ์เดินทางมาจนถึงเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เมื่อนายสนธิประกาศนัดชุมนุมใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า "กู้ชาติ" เพื่อกดดันทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยชนวนสำคัญมาจากการขายหุ้น 49.6% ของทักษิณในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของทางการสิงคโปร์ ในราคา 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีความไม่โปร่งใส และเข้าข่ายหลีกเลี่ยงภาษี!

ในเวลาต่อมา จากกลุ่มกู้ชาติ ก็ได้กลายเป็นการจัดตั้ง "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" หรือที่ผู้คนเรียกติดปากว่า "ม็อบเสื้อเหลือง" ซึ่งการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯ ในช่วงแรกสิ้นสุดลง ภายหลัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่เมื่อพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2551 สนธิและแกนนำพันธมิตรฯ ก็ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง

การชุมนุมของพันธมิตรฯ และสนธิ จบลงเมื่อ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชนและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี ถือเป็นอันยุติ "ม็อบเสื้อเหลือง" ที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ปีลง


ที่มา: https://www.posttoday.com/politic/analysis/452915

 https://th.wikipedia.org

3 กุมภาพันธ์ ‘วันทหารผ่านศึก’ วันแห่งการรำลึกถึงทหารผู้กล้า ที่เสียสละปกป้องแผ่นดิน

ประเทศไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาจนถึงวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีเหล่าทหารหาญที่เป็นเสมือนแนวหน้า คอยปกป้องแผ่นดินยามเมื่อมีวิกฤติ และวันนี้ ก็ถือเป็นวันสำคัญของเหล่าทหารผู้เสียสละ เพราะถูกยกให้เป็น "วันทหารผ่านศึก"

ที่มาของวันสำคัญนี้ เกิดขึ้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง พบว่าทหารที่ไปร่วมรบประสบกับอาการบาดเจ็บ บางคนถึงกับพิการ ส่งผลให้ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพ รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาในการช่วยเหลือ

โดยใน พ.ศ. 2490 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่กลับจากปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ แต่ก็ยังเป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการ เวลาผ่านไปไม่นาน

จึงได้เสนอเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น โดยผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ด้วยเหตุนี้ จึงได้ยึดเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก ด้วยนั่นเอง

ในต่างประเทศนั้นมี ‘วันทหารผ่านศึก’ เช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันในการกำหนดวันที่ โดยเป็นวันที่เชิดชูเกียรติแก่เหล่าทหารหาญที่ปกป้องแผ่นดิน ซึ่งจะมี ‘ดอกป๊อปปี้สีแดง’ เป็นสัญลักษณ์ประจำวันสำคัญนี้ โดยในวันนี้ จะมีการรณรงค์ซื้อดอกป๊อปปี้เพื่อเป็นกำลังใจ รวมทั้งนำรายได้กลับไปช่วยครอบครัวเหล่าทหารผ่านศึกอีกด้วย

2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 วันแรกแห่งการจดสิทธิบัตร ‘กังหันน้ำชัยพัฒนา’ สิ่งประดิษฐ์ในพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์

2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 หรือวันนี้เมื่อ 28 ปีก่อน ถือเป็นวันสำคัญของประชาชนชาวไทยอีกวันหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย และช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ ทั้งนี้ยังนับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลก ที่ได้รับสิทธิบัตร รวมทั้งยังเป็นครั้งแรกของโลก ที่มีการออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์อีกด้วย

กล่าวถึง "กังหันน้ำชัยพัฒนา" เกิดขึ้นจากการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาน้ำเสีย และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญกับเรื่องราวดังกล่าว จึงมีพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย โดยได้ทรงนำแนวทางของ "หลุก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านา อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน มาเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น ก่อนจะถูกพัฒนาร่วมกับกรมชลประทาน ผลิตออกมาเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบทุ่นลอยขึ้นในเวลาต่อมา และใช้ชื่อว่า "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

ด้วยพระอัจฉริยภาพอันเปี่ยมล้น ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันนักประดิษฐ์ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ รวมถึงเป็นวันที่ระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวาย แด่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงคิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ สามารถแก้ปัญหาและรักษาสิ่งแวดล้อม

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 วันนี้ในอดีต รัฐบาลโดยการนำของ ทักษิณ ชินวัตร ประกาศปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทยชนิดเข้มข้น หลังการประกาศเพียง 3 เดือน เกิดคดีการฆ่าตัดตอนขึ้นนับพันราย

หลายคนจดจำ ‘รัฐบาลทักษิณ’ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2547 กับสโลแกน ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ กันได้ดี แต่หนึ่งในเหตุการณ์ที่ต้องถือว่าเป็นไฮไลท์ในยุคที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ นั่นก็คือ การปราบปรามยาเสพติด

โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 อดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ ได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า จะทำสงครามกับขบวนการค้ายาเสพติดในประเทศไทยชนิดเด็ดขาด! และนับจากเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเมษายนของปีนั้น เกิดการฆาตกรรมที่เชื่อมโยงมาจากการปราบปรามยาเสพติดกว่า 2 พันราย!

ในภาพของการณรงค์อย่างจริงจังนั้น กลับมีข้อมูลอีกด้านหนึ่งสะท้อนออกมา เนื่องจากการปราบปรามดังกล่าว พบว่ามีผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเสียชีวิตในจำนวนที่สูงจนน่าตกใจ จนนำมาซึ่งประโยคอันร้อนแรงในตอนนั้น นั่นคือ ‘การฆ่าตัดตอน’

แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความรุนแรง และความเข้มข้นของมาตรการปราบปราม แต่เหรียญมักมีสองด้านเสมอ เพราะในข่าวความรุนแรงเหล่านั้น ต่อมากลับมีการทำผลสำรวจถึงความพึงพอใจ ในเรื่องการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล พบว่า กว่าร้อยละ 66.77 พอใจกับการปราบปรามปัญหายาเสพติดในยุครัฐบาลทักษิณ ซึ่งสูงกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างชัดเจน

ปัญหายาเสพติดถือเป็นปัญหาร้ายแรงที่อยู่กับสังคมไทยมาเนิ่นนาน แต่มาตรการที่เข้มข้นก็นำมาซึ่งการสูญเสีย ที่สุดคงยากจะหาความพอดี แต่ที่ทำได้แน่ๆ คือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง และคนรอบข้าง เมื่อมีชีวิตที่ดี ผู้คนมีความคิด อย่างน้อยก็จะเป็นตัวช่วย ‘ตัดตอน’ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ไม่ให้มันมาเข้าใกล้ ไม่ว่าจะในชีวิตของเราหรือคนรอบตัวเราก็ตามที


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top