Monday, 19 May 2025
NEWS FEED

'ทูตนริศโรจน์' เผย ข่าวคนไทยเก็บเห็ดในลาวได้ฉีดไฟเซอร์เป็นเฟกนิวส์

3 ส.ค. 64 นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Fuangrabil Narisroj ว่ารายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ช่อง 3 เมื่อวาน บอกว่า คนไทยทางอุบลหลงป่าเข้าไปเก็บเห็ดในลาว ก่อนปล่อยตัวจะได้รับการฉีด mRNA ทุกคน

มีช่อง 3 กับ Bright TV เสนอข่าว

รองผวจ.อุบล ก็แถลงข่าว แต่ไม่มีเรื่องนี้ บอกเพียงว่า ลาวจะนำไปกักตัว 14 วัน หรือไม่งั้นจะส่งตัวคืน

แหล่งข่าวที่ลาวของผมก็เช็กข่าวและรายงานว่าทางอธิบดีกรมสื่อมวลชนลาว ท่านแจ้งมาว่า เรื่องวัคซีน 'ไม่เป็นความจริง'


ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/112025

https://www.facebook.com/100010403598013/posts/1458415651181874/


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'นายกไก่'​ กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกอบจ.ฉะเชิงเทรา มอบโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา

(2 ส.ค. 64)​ นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา รับมอบโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา จากนายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายมณเฑียร คณาสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา แพทย์หญิงสมบัติ ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร หัวหน้าส่วนราชการ และบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมลงพื้นที่

ซึ่งโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการจัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมนี้ได้ตรวจดูความพร้อมก่อนลำเลียงผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าดูแลรักษา ณ โรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา หมู่ที่ 6 ต.สนามจันทร์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

นายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า อบจ.ฉะเชิงเทรา ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้งบประมาณมากกว่า 12 ล้านบาท โดยมีการดำเนินการดำเนินดังนี้... 
1. พื้นที่อาคารและบริเวณโดยรอบที่ปรับปรุง
2. เตียงสำหรับผู้ป่วยพร้อมเครื่องนอนและอุปกรณ์จำเป็น จำนวน 1,200 ชุด
3. ห้องพักสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 5 ห้อง พร้อมอุปกรณ์
4. ระบบบำบัดน้ำเสีย
5. ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 10 ตู้
6. พัดลมระบายอากาศ จำนวน 14 ตัว
7. เครื่องฟอกอากาศ จำนวน 5 เครื่อง
8. เครื่องผลิตไอน้ำระบายความร้อน จำนวน 3 เครื่อง
9. ระบบไฟฟ้า/แสงสว่าง ภายในและภายนอกอาคาร
10. ระบบประปาสำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
11. ระบบสื่อสาร แนะนำ ปรึกษาสำหรับผู้ป่วย
12. ห้องสุขา จำนวน 80 ห้อง รถสุขา จำนวน 5 คัน (60 ห้อง)

ทั้งนี้มีจัดตั้งระบบบริการดูแลรักษาพยาบาล ผู้ป่วยที่เข้าข่าย PUI ในกรณีที่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ตั้งแต่การคัดกรองผู้ป่วย การให้การวินิจฉัยดูแลรักษาแบบ One Stop Services สามารถรับผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ได้ดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน และให้การดูแลผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ใช้เป็นสถานที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการคงที่และได้รับการส่งตัวมาจากโรงพยาบาลหรือวิกฤตจนดีขึ้นแล้ว

นายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเตรียมรองรับผู้ป่วยไว้ 1,200 เตียง และมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเตียงกระดาษมาให้เพิ่มอีก 200 เตียง ซึ่งจะได้จัดเสริมเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อจะได้รองรับผู้ป่วยได้เพิ่มเป็น 1,400 เตียง

ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ “การจัดการปัญหาแรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19”

วิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 8 ในเดือนกรกฎาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “การจัดการปัญหาแรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้ง ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น จนส่งผลทำให้กำลังการผลิตลดลงและกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์หลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นี้ จึงเสนอให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ม.33 เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบการ รวมทั้งรักษาศักยภาพในการผลิตและการส่งออกของประเทศ

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 166 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่า อัตราการจ้างงานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดนั้น ส่วนใหญ่ภาคอุตสาหกรรมยังสามารถคงอัตราการจ้างงานเท่าเดิม...

- คิดเป็นร้อยละ 53.6 มีการจ้างงานลดลง 10 - 20%

- คิดเป็นร้อยละ 31.3 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 10 - 20%

- คิดเป็นร้อยละ 10.3 และมีการจ้างงานลดลงมากว่า 50% คิดเป็นร้อยละ 4.8

ในส่วนของผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ พบว่า...

- โรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลง น้อยกว่า 30% คิดเป็นร้อยละ 45.2

- โรงงานที่ไม่ได้รับผลกระทบ คิดเป็นร้อยละ 26.5

- โรงงานที่กำลังการผลิตลดลง 30 - 50% คิดเป็นร้อยละ 20.5

- และโรงงานที่กำลังการผลิตลดลงมากกว่า 50% คิดเป็นร้อยละ 7.8

เมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่...

1.) แรงงานบางส่วนต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาโรค หรือกักตัว รวมทั้งการปิดโรงงานชั่วคราวตามข้อกำหนด คิดเป็นร้อยละ 51.8

2.) สถานประกอบการไม่สามารถหาแรงงานสัญชาติไทยได้เพียงพอต่อความต้องการ คิดเป็นร้อยละ 49.4

และ 3.) มาตรการควบคุมการเดินทางเข้าออกพื้นที่ของแรงงานข้ามจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 41.6

สำหรับมาตรการที่ภาครัฐควรนำมาดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่...

1.) การสนับสนุนเงินอุดหนุนในการจ้างแรงงานไทย และขยายโครงการจ้างงานเด็กจบใหม่ คิดเป็นร้อยละ 50.0

2.) ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมทดแทนการใช้แรงงาน คิดเป็นร้อยละ 48.8

และ 3.) อนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้ MOU เฉพาะแรงงานที่ได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้ว มีการทำประกันสุขภาพ และต้องผ่านการกักตัว 14 วัน เข้ามาทำงาน คิดเป็นร้อยละ 45.8

ทั้งนี้ ในกรณีที่ภาครัฐจะมีการเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องใด พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่...

1.) การเตรียมความพร้อมระบบคัดกรอง ติดตาม และประเมินสถานประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว คิดเป็นร้อยละ 69.9

2.) จัดตั้งศูนย์ One Stop Service สำหรับนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว คิดเป็นร้อยละ 66.9

และ 3.) การปรับลดขั้นตอน เอกสารที่ไม่จำเป็น และปรับมาดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 65.1

ทั้งนี้ FTI Poll ยังได้เจาะลึกถึงมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานประกอบการอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่...

1.) การเร่งจัดหาวัคซีนและเร่งฉีดให้กับแรงงาน ม.33 คิดเป็นร้อยละ 92.8

2.) การสนับสนุนด้านการรักษาพยาบาลแรงงานที่ติดเชื้อ และสนับสนุนยา อาหาร และเวชภัณฑ์ให้แก่แรงงานที่ติดเชื้อในการรักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) คิดเป็นร้อยละ 69.9

และ 3.) การลดเงินสมทบประกันสังคม เหลือร้อยละ 1 ถึงสิ้นปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 66.9

นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ยังมองว่ามาตรการที่ภาคเอกชนมีความพร้อมและสามารถที่จะดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบการได้ พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่...

1.) การมีระบบคัดกรองแรงงานก่อนเข้าโรงงาน และการเฝ้าระวังผู้ปฏิบัติงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงตามมาตรการ Bubble & Seal คิดเป็นร้อยละ 83.1

2.) การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้แก่แรงงานในสถานประกอบการ คิดเป็นร้อยละ 68.1

และ 3.) การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด (D-M-H-T-T-A) คิดเป็นร้อยละ 65.7


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ร่วมแสดงความยินดี ผู้บริหาร "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี" รับรางวัลอันทรงเกียรติ ประจำปี 2564

วันที่ 2 สิงหาคม 2564 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี "ดร.พนธ์พันธ์ เลิศจันทรางกูร" ผู้อำนวยการสถาบันสปีดี้การเดินเรือ เเละ กลุ่มโรงเรียนเซ็นทรัลบริรักษ์อินเตอร์ / ที่ปรึกษาสมเด็จพระสังฆราช ราชอานาจักรกัมพูชา และตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการในองค์หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธ์ เดินทางเข้าพบ "ผศ.วรางคณา วุฒิช่วย" ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เพื่อร่วมแสดงความยินดีที่ท่านได้เกียรติรับ รางวัล "นักบริการวิชาการดีเด่น" ประจำปี 2564 ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์ เเละสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 9

อีกทั้งยังได้ร่วมเเสดงความยินดีกับ "ผศ.ดร.สุปิยา ทาปทา" ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ที่ท่านได้เกียรติรับคัดเลือกรางวัล "เเม่ดีเด่น ราชภัฎ" ประจำปี 2564 ซึ่งถือได้ว่าบุคคลทั้ง 2 ท่าน สร้างความภาคภูมิใจ และเป็นแบบอย่างที่ดี พร้อมทั้งเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี นำไปเป็นแบบอย่างที่ดี สืบไป

 

กัมพูชาประกาศฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3 แบบผสมเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันประชาชน

รอยเตอร์สรายงานว่ากัมพูชาจะเริ่มฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 เข็มที่ 3 หรือบูสเตอร์โดยใช้วัคซีนของ AstraZeneca ควบคู่กับวัคซีน Sinopharm และ Sinovac ของจีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการรับมือกับการแพร่ะบาดของโควิด-19 ในประเทศ

โดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่าวัคซีนบูสเตอร์นี้จะถูกฉีดให้แก่บุคลากรด่านหน้าประมาณ 500,000 ถึง 1 ล้านคนเป็นสำคัญ

โดยระบุว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinopharm และ Sinovac ครบโดสแล้วควรได้รับ AstraZeneca เป็นเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สำหรับประชาชนที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบโดสแล้วควรให้ Sinovac เป็นเข็มที่ 3

ทั้งนี้ กัมพูชาสามารถควบคุมการแพร่ะบาดได้เกือบทั้งหมดในปีที่แล้ว แต่สถานการณ์กลับมาตึงเครียดอีกครั้งเมื่อมีการตรวจพบการแพร่ระบาดเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 77,919 ราย และเสียชีวิต 1,420 ราย

สัปดาห์ที่ผ่านมากัมพูชาได้ประกาศล็อกดาวน์ 8 จังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่กำลังแพร่ระบาดทั่วภูมิภาค

ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าพบไวรัสสายพันธุ์เดลตาในผู้อพยพที่เดินทางกลับจากประเทศไทยและขณะนี้พวกเขากำลังอยู่ในชุมชนท้องถิ่นแล้ว


ที่มา : https://www.posttoday.com/world/659526


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

สะพานบุญสายใย คนไทยไม่ทิ้งกัน "อิมพิเรียลเวิลด์" (สำโรง) มอบชุด PPE 30 ชุด และน้ำดื่ม 5,000 ขวด ให้สภากาชาดไทย

เมื่อวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 ณ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงทพฯ "นาย ภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์" เลขานุการคณะกรรมาธิการกระทรวงการต่างประเทศ , นาย กรศรัณย์ สิ้นเคราะห์รติกร ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานพรรคเพื่อไทย เขต2 , คุณสุรพงษ์ ปิ่นสุวรรณ , คุณ ทัศณี อุตะเสนา ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงาน , นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)

พร้อมด้วยสะพานบุญ "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล" ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร / นายโกสินธ์ จินาอ่อน บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์สยามโฟกัสไทม์ ที่ปรึกษาสมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม รวมพลังศรัทธา สร้างสรรค์ความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน บริจาคชุด PPE 30 ชุด / น้ำดื่ม 5,000 ขวด ให้กับทาง "สภากาชาดไทย" เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับทุกภาคส่วนนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนคนไทย คนพิการ คนยากไร้ คนด้อยโอกาส หน่วยงานของรัฐ  ที่มีความจำเป็นต้องการชุด PPE และน้ำดื่มเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์ เชื้อไวรัส covid-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจ ของภาครัฐ ภาคสังคม ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรค ที่เกิดขึ้นกับเราประชาชนคนไทยทั้งชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤติอันยากลำบากนี้ไปด้วยกัน เพื่อนำความสุข และรอยยิ้มของคนไทยกลับมาดังเดิม

ในการนี้ "เภสัชกรหญิงจิราวรรณ สันติพิทักษ์" ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ได้กล่าวขอบคุณ ที่ทุกท่าน เห็นความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทยในเรื่อง "น้ำดื่ม" เพื่อการบริโภค ซึ่งในสถานการณ์ในปัจจุบัน "น้ำดื่ม" ถือเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นหัวใจหลักในการดำรงชีวิตที่จะขาดมิได้ ส่วน ชุด "PPE" และ "น้ำดื่ม" ที่ได้รับมอบมา จะนำไปจัดสรรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ในการต่อไป

นักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษเชื่อเกือบจะแน่นอนที่จะมีตัวกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตัวใหม่ ซึ่งจะทำให้วัคซีนทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถรับมือได้ พร้อมแนะ ต้องลดการแพร่เชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดโอกาสเกิดตัวกลายพันธุ์ใหม่

นักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษเชื่อว่า เกือบจะแน่นอนที่จะมีตัวกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตัวใหม่ ซึ่งจะทำให้วัคซีนทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถรับมือได้ พร้อมแนะนำว่าต้องลดการแพร่เชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดโอกาสเกิดตัวกลายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อต่อวัคซีน

มุมมองดังกล่าวแสดงอยู่ในเอกสารที่จัดทำโดยบรรดานักวิชาการ บนสมมติฐานต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับวิวัฒนาการระยะยาวของ SARS-Cov-2 ซึ่งถูกหยิบยกไปปรึกษาหารือและเผยแพร่โดยกลุ่มที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์สำหรับเหตุฉุกเฉินของสหราชอาณาจักร (Scientific Advisory Group for Emergencies - SAGE)

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในเบื้องต้นที่ยังไม่ผ่านการทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer-reviewed) เป็นเพียงหลักทฤษฎีและไม่ได้มีข้อพิสูจน์ใด ๆ ว่าตัวกลายพันธุ์ลักษณะดังกล่าวกำลังวนเวียนอยู่ในตอนนี้

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า เอกสารดังกล่าวลงวันที่ 26 กรกฎาคม และเผยแพร่โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรในวันศุกร์ (30 ก.ค.)

บรรดานักวิทศาสตร์เขียนว่าสืบเนื่องจากการขุดรากถอนโคนไวรัสดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ พวกเขาจึงเชื่อมั่นเป็นอย่างสูงว่าตัวกลายพันธุ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกือบแน่นอนว่าจะค่อย ๆ เกิดเปลี่ยนแปลงของแอนติเจน ที่ท้ายที่สุดจะนำมาซึ่งความล้มเหลวของวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน

พวกเขาแนะนำให้เจ้าหน้าที่ลดการแพร่เชื้อให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดโอกาสเกิดตัวกลายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อวัคซีน

บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังแนะนำการวิจัยวัคซีนใหม่ อย่ามุ่งเน้นเพียงป้องกันการป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลและการติดเชื้อเท่านั้น แต่มันควรนำมาซึ่งภูมิคุ้มกันแบบเยื่อเมือกในระดับสูงและทนทาน นอกจากนี้ พวกเขาระบุด้วยว่าเป้าหมายควรเป็นการลดการติดเชื้อและแพร่เชื้อจากบุคคลที่ฉีดวัคซีนแล้วเช่นกัน

ทั้งนี้ หลายบริษัทกำลังดำเนินการวิจัยสำหรับผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่สามารถจัดการกับตัวกลายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้

ในเอกสารระบุว่า ตัวกลายพันธุ์บางตัวที่อุบัติขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ได้ลดภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีน แม้ยังไม่มีตัวไหนเล็ดลอดการดักจับของวัคซีนไปได้ทั้้งหมด

อย่างไรก็ตาม พวกเขาเตือนว่าตัวกลายพันธุ์เหล่านั้นปรากฏตัวขึ้นก่อนมีการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวาง และพอมีการฉีดวัคซีนกว้างขวางขึ้น ไวรัสตัวหนึ่ง ๆ ที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการได้รับวัคซีนก็จะฉวยโอกาสแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งในประเด็นดังกล่าวทาง SAGE เคยออกมาเตือนก่อนหน้านี้แล้ว

ในรายงานจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม บรรดานักวิทยาศาสตร์ของ SAGE ระบุว่า การผสมผสานกันระหว่างความชุกของผู้ติดเชื้อในระดับสูงกับอัตราผู้ฉีดวัคซีนในระดับสูง ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นไปได้อย่างที่สุดว่าตัวกลายพันธุ์ที่สามารถเล็ดลอดภูมิคุ้มกันตัวหนึ่ง ๆ จะอุบัติขึ้น พวกเขาบอกในตอนนั้นว่า "ยังไม่ทราบว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน แต่ตัวกลายพันธุ์ดังกล่าวจะมีความเสี่ยงอย่างมากทั้งในสหราชอาณาจักรและนานาประเทศ"


ที่มา : ซีเอ็นเอ็น

https://mgronline.com/around/detail/9640000075331


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รพ.สนาม ทบ.พร้อมรองรับผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น เน้นบูรณาการร่วม สธ. ดูแลผู้ป่วยในชุมชน ลดการแพร่เชื้อ

พ.ต.หญิง ปวีณา ศรีบัวชุม ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นและมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วประเทศ กองทัพบกได้ให้ความสำคัญ และถือเป็นนโยบายเร่งด่วน ในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 กองทัพบก เพื่อติดตามสถานการณ์ บริหารจัดการ และให้ความช่วยเหลือประชาชนในทุกมิติ ตั้งแต่ 26 มี.ค.63 ทั้งการระดมศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ การใช้ยุทโธปกรณ์ และสถานที่ของหน่วยทหารสนับสนุนสาธารณสุขในภารกิจการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ และการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว
สิ่งสำคัญที่กองทัพบกได้ระดมสรรพกำลังในการช่วยเหลือประชาชนตลอดมา คือการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่มากขึ้น ทั้งส่วนโรงพยาบาลสนามที่สนับสนุนกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้กำลังพลของกองทัพบกช่วยบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ จัดเตรียมเตียงผู้ป่วย เครื่องนอน และสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ใน 26 แห่ง ทั่วประเทศ รองรับผู้ป่วยได้ 4,941 เตียง (1 ส.ค.64) ทั้งนี้ จากสถานการณ์ล่าสุด ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กองทัพบกเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม 


เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้น และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคในครอบครัวและชุมชน กองทัพบกจึงได้ระดมศักยภาพจัดตั้ง รพ.สนามกองทัพบก ในพื้นที่ รพ.สังกัดกองทัพบกทั่วประเทศ รวม 37 พื้นที่ รองรับผู้ป่วยได้ 3,635 เตียง เพื่อให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นกำลังพลและครอบครัวของกองทัพบก รวมทั้งประชาชนทั่วไป เพื่อลดภาระของสาธารณสุขในพื้นที่อีกด้วย โดยขณะนี้ได้เตรียมขยายขีดความสามารถเพื่อจัดตั้ง โรงพยาบาลสนามศูนย์คัดกรอง ในส่วนภูมิภาค เพื่อเป็นจุดให้บริการคัดกรองผู้ป่วย และเป็นจุดพักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลักหรือโรงพยาบาลสนามต่อไป


นอกจากนี้ ในส่วนภูมิภาคนั้นโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบกทั้ง 37 แห่ง ได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม รวมทั้งการบริหารจัดการตามแนวทางการแยกกักผู้ป่วยในชุมชน (Community Isolation) ซึ่งเป็นการบูรณาการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, บุคลากรทางการแพทย์, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) และ อาสาสมัครกิจการพลเรือน (อส.กร.) ในการดูแลผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว) หรือผู้ที่อยู่ระหว่างการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) โดยได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบกอย่างใกล้ชิดผ่านทางระบบออนไลน์ มีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด สามารถนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้ทันทีหากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง

 รวมทั้งการดูแลกำลังพล ครอบครัว และประชาชนในพื้นที่รอบหน่วยทหาร ครอบคลุมทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพทางใจ เน้นสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันตนเองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 ทั้งการสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากอนามัย, การใช้เจลแอลกอฮอล์ วิธีการล้างมืออย่างถูกต้อง รวมทั้งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในส่วนบุคคลและส่วนรวมตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, การรณรงค์และให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในชุมชนตามการจัดสรรจากระบบลงทะเบียนของรัฐบาล, การตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชนทหารและชุมชนรอบหน่วย เพื่อแยกผู้ป่วยและผู้ที่มีความสี่ยง ลดการแพร่ระบาดในชุมชน เป็นต้น


ทั้งนี้ กองทัพบกทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยังคงยืดหยัดทุ่มเทปฏิบัติงานเพื่อช่วยดูแลผู้ป่วย COVID-19 ทั้งที่เป็นกำลังพล ครอบครัว และประชาชนทั่วไป ในทุกมิติ ทั้งการดูแลรักษาพยาบาลและการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นนโยบายที่ พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ให้ความสำคัญและเน้นย้ำให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ยืนหยัดเคียงข้างช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ทบ.เผย 3 เดือนภารกิจรับ-ส่งผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 กว่า 13,227 ราย ล่าสุดส่งผู้ป่วยสีเขียวกลับภูมิลำเนาแล้ว 405 ราย

พ.ท.หญิง พัชรินทร์ บุศยกุล ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า อีกหนึ่งภารกิจของกองทัพบก ที่สนับสนุนรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์โควิด-19 โดยใช้ศักยภาพของกำลังพล ทรัพยากรและยานพาหนะของศูนย์การเคลื่อนย้าย ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองทัพบก (ศคย.ศปม.ทบ.) คือภารกิจอำนวยความสะดวก รับ-ส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่งต่อยังสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษา ครอบคลุมในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยดำเนินการตามนโยบายของพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่ 27 เม.ย.64 เป็นต้นมา

ร่วมกับกองทัพภาคที่ 1 และกรมขนส่งทหารบก ผ่านกลไกของศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิด กองทัพบก ในการรับข้อมูลความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และประสานเชื่อมต่อข้อมูลไปยังส่วนงานราชการของสาธารณสุข เพื่อบริหารจัดการนำเข้าสู่กระบวนการรักษา และส่งข้อมูลให้ ศคย.ศปม.ทบ. อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมายปลายทาง โดยใช้ยานพาหนะ 3 ประเภทได้แก่ รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก(รถกระบะ), รถโดยสารขนาดเล็ก(รถตู้) และรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ 6 ล้อ รวมจำนวน 103 คัน ปัจจุบัน รับ-ส่งผู้ติดเชื้อ รวม จำนวน 12,587 ราย (1 ส.ค.64) นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกเคลื่อนย้ายผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ไปประกอบพิธีฌาปนกิจศพ ณ ศาสนสถานต่างๆ โดยดำเนินการมาตั้งแต่ 3 พ.ค.64 ที่ผ่านมา ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว จำนวน 640 ราย

พ.ท.หญิง พัชรินทร์ กล่าวว่า ล่าสุด จากนโยบายของรัฐบาล “คนไทยไม่ทิ้งกัน พาคนกลับบ้าน” เพื่อบริหารจัดการผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนมากขึ้นให้เข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็ว ในสถานพยาบาลตามภูมิลำเนาของตนเองทั่วประเทศ ซึ่งกองทัพบกโดย ศคย.ศปม.ทบ. ได้บูรณาการร่วมกับกรมแพทย์ทหารบก, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน และกอ.รมน.จังหวัด ดำเนินการประสานและเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อสีเขียวที่ประสงค์จะกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนาของตนเอง ตั้งแต่ 11 ก.ค.64 ที่ผ่านมา โดยดำเนินการส่งผู้ติดเชื้อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ จังหวัดลพบุรี, ร้อยเอ็ด, อุดรธานี, นครสวรรค์, พิษณุโลก, พิจิตร, น่าน,ตาก และลำปาง รวมทั้งสิ้น 405 ราย (1 ส.ค.64) นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกรับ-ส่งสิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆที่ให้กับผู้ป่วยที่กักรักษาตัวบ้าน (Home Isolation) อาทิ ถังออกซิเจน ยารักษาโรค และมอบเครื่องอุปโภค-บริโภค ที่ได้รับบริจาคส่งต่อให้ผู้ป่วยตามบ้านเรือนอีกด้วย

พ.ท.หญิง พัชรินทร์ กล่าวว่า การปฏิบัติภารกิจเคลื่อนย้ายดังกล่าวนี้ ถือเป็นความร่วมมือระหว่างกองทัพ, ภาครัฐและสาธารณสุข ที่ดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อคลี่คลายสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น บรรเทาความเดือดร้อน อำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลได้เร็วขึ้น ตลอดจนช่วยผลักดันนโยบายส่งผู้ป่วยกลับไปรักษาต่อในพื้นที่ภูมิลำเนาที่มีศักยภาพและพร้อมดูแลผู้ติดเชื้ออย่างทั่วถึง ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด-19 ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถประสานศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิด กองทัพบก ได้ตลอด 24 ชม. ผ่าน CALL CENTER โทร 02-270-5685-9, 02-092-7766 (30 คู่สาย), 091-0100118-9, 090-980-9948-9 และ 088-984-7605-10 หรือ ID line : @covidtv5hd1

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนใช้บริการเดินรถโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ก่อนจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือน พ.ย. 64

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดให้ประชาชนใช้บริการเดินรถโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-ตลิ่งชัน ขบวนปฐมฤกษ์ ผ่านระบบ Video Conference จากตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ก่อนจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือน พ.ย. 64

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี (2561-2580) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาขนส่งทางรางซึ่งเป็นรูปแบบการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลมุ่งมั่นส่งเสริมการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการคมนาคมหลักของประเทศ เพื่อช่วยให้การเดินทางคล่องตัว ลดการจราจร รักษาสิ่งแวดล้อม ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ลดการใช้พลังงาน

โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง นอกจากจะเป็นทางเลือกให้ประชาชนสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปปริมณฑลได้สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย ยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมโอกาสทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจตลอดแนวเส้นทาง

นอกจากนี้ ในระยะยาวจะขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมและการขนส่งทางรางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน และนับเป็นก้าวสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และจะมีการเร่งรัดขยายไปยังเส้นทางอื่น ๆ ในแต่ละภูมิภาคด้วย

ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายเหนือช่วงบางซื่อ-รังสิต มีระยะทาง 26 กิโลเมตร จำนวน 10 สถานี ใช้ระยะเวลาเดินทาง 25 นาที และสายตะวันตก ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีระยะทาง 15 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี ใช้ระยะเวลาเดินทาง 15 นาที โดยมี บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯ เป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง

การเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง 2 เส้นทางถือเป็นปฐมฤกษ์จะให้บริการฟรีโดยไม่เสียค่าโดยสาร สามารถใช้บริการฟรีไปจนถึงปลายปี 64 ตั้งแต่เวลา 6.00-20.00 น. และในช่วงเวลาเร่งด่วนจะเดินรถทุก 15 นาที และช่วงปกติจะเดินรถทุก 30 นาที แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะจำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 50% เพื่อรักษาระยะห่าง โดยจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบในเดือน พ.ย. 64

รถไฟชานเมืองสายสีแดงยังได้บูรณาการเชื่อมต่อกับการเดินทางอื่นเพื่อความสะดวก โดยมีการเชื่อมต่อเส้นทางรถประจำทาง การเชื่อมต่อทางถนนกับรถประจำทาง ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ขสมก. มีการปรับเส้นทางรถโดยสารประจำทาง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อสถานีสายสีแดง มีการบริหารจัดการระเบียบรถแท็กซี่ รถโดยสารสาธารณะต่าง ๆ เพื่อไว้รองรับประชาชนที่มาใช้บริการ

และการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ โดยที่สถานีบางซื่อจะมีการเดินทางใต้ดินที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีบางซ่อน ทางเดินสกายวอล์คเชื่อมกับสนามบินนานาชาติดอนเมือง รวมทั้งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่สถานีหลักสี่ และอยู่ระหว่างสร้างสกายวอล์คเพื่อเชื่อมต่อกับโรงพยาบาล ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนี้จะทำให้ประชาชนที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของกรุงเทพ สามารถใช้รถไฟชานเมืองสายสีแดงเพื่อเข้าสู่กรุงเทพชั้นในด้วยความสะดวกรวดเร็วปลอดภัย

นอกจากนี้ รฟท.ยังอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการส่วนต่อขยายสายสีแดง ไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, สถานีศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล, สถานีธนบุรี ศิริราช, สถานีหัวหมาก, สถานีหัวลำโพง เพื่อให้โครงข่ายสายสีแดงขยายไปทุกทิศทาง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น

สำหรับสถานีกลางบางซื่อที่เป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายรถไฟทางไกลของการรถไฟฯ รวมถึงการเชื่อมต่อระบบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 68 นอกจากนี้ สถานีกลางบางซื่อยังมีแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งภายในตัวสถานีและพื้นที่รอบสถานีเพื่อให้มีการพัฒนาสถานีและพัฒนาเมืองในลักษณะ Smart City ควบคู่กันไปด้วย

การพัฒนารถไฟชานเมืองสายสีแดงได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือกับประเทศไทยในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ามาแล้วหลายโครงการ นับเป็นความร่วมมือที่ทำให้ความสัมพันธ์ไทยและญี่ปุ่นแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การพัฒนาโครงข่ายด้วยระบบรางมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑลได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดการดำเนินการสถานีกลางบางซื่อและโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสำคัญยิ่ง ในการเดินทางระบบรางของประเทศ

โดยเฉพาะสถานีกลางบางซื่อ ถือว่าเป็นศูนย์กลางระบบรางของประเทศไทย และเป็นสถานีกลางที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอาเซียน มีรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่สามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าในทุกเส้นทาง เป็นศูนย์กลางรถไฟทางไกลสู่ทุกภูมิภาค และยังเป็นศูนย์กลางของรถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทางที่จะเชื่อมต่อประเทศไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมโยงเส้นทางสายใหม่ยุคใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 โดยจะเปิดใช้เต็มรูปแบบในเดือน พ.ย. 64 นี้

ในการเปิดให้ทดลองใช้รถไฟชานเมืองสายสีแดงในวันนี้ (2 ส.ค.) ไปจนถึงปลายเดือนพ.ย. 64 สถานีกลางบางซื่อได้แบ่งพื้นที่ 2 ส่วน พื้นที่แรกเป็นการให้บริการขนส่งมวลชนทางราง จะใช้บริเวณประตูที่ 1 และอีกพื้นที่เป็นศูนย์กลางฉีดวัคซีนบางซื่อเป็นสถานที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชน โดยใช้ประตูที่ 2-4 ที่แยกสัดส่วนชัดเจน และเปิดบริการทางเชื่อมทางไปรถไฟสายสีน้ำเงิน

"รถไฟสายสีแดง จะเปิดให้บริการฟรีไปจนถึงเดือนพ.ย. นี้ แต่ทั้งนี้ คงจะต้องรอดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อีกครั้ง ว่าจะเป็นอย่างไร สำหรับการเดินรถ ให้รฟท.พิจารณารายละเอียดมากกว่าปกติ โดยเฉพาะการบริหารความถี่เดินรถที่เหมาะสม ในช่วงที่มีคนเดินทางมาก ช่วงมีคนใช้น้อย เพื่อความคุ้มค่าเพราะการเดินรถแต่ละเที่ยวจะมีค่าใช้จ่ายคงที่ ต้องดูรายได้ที่จะเข้ามาด้วย

อย่างไรก็ตาม ขอเชิญชวนประชาชนมาร่วมทดลองใช้ เส้นทางบางซื่อ-รังสิตใช้เวลา 25 นาที เส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน ใช้เวลา 15 นาทีเท่านั้น ขณะที่รถยนต์ ใช้เวลามากกว่า 1 ชม."

สำหรับอัตราค่าโดยสาร รถไฟสายสีแดง เป็นค่าแรกเข้าที่ 12 บาท ส่วนราคาในการเดินทางแต่ละสถานี จะอยู่ที่ประมาณ 2.1 บาท/กม. ปัดเศษเหลือ 2 บาท ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 42 บาท ในแต่ละเส้นทาง และได้มอบหมายให้ สนข.และกรมรางศึกษาตั๋วพิเศษ ตั๋วเดือน สำหรับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ด้อยโอกาส เพื่อช่วยลดค่าครองชีพได้อีก

ส่วนเดินทางเชื่อมต่อ จากรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมายังสายสีแดงจะไม่คิดค่าแรกเข้าหรือจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวที่ต้นทาง ส่วนการเดินทางจากสีแดงเชื่อมเข้าระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินนั้นเบื้องต้นยังคงต้องจ่ายค่าแรกเข้า MRT โดยจะมีการเจรจากับเอกชน เพื่อให้เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!

A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!!

>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท

>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ

>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต

>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย

***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top