Monday, 12 May 2025
ECONBIZ

'คริปโตมายด์' วิเคราะห์!! 'แอปฯ เป๋าตัง' ตัวเลือกน่าสนใจ หาก 'เพื่อไทย' จะปั้น Digital Wallet แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ บริษัทที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทย ภายใต้การกำกับดูแล ก.ล.ต. วิเคราะห์นโยบาย “พรรคเพื่อไทย” ความเป็นไปได้ของ Digital Wallet สำหรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

เมื่อวันที่ (12 เม.ย.66) หนึ่งในประเด็นใหญ่ในช่วงนี้ที่เป็นที่พูดถึงและถกเถียงในโลกโซเชียลกันอย่างแพร่หลาย ก็คือการประกาศนโยบายของพรรคเพื่อไทยว่าด้วยเรื่องการเติมเงินดิจิทัลจำนวน 10,000 บาทให้กับประชาชนคนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ใช้จ่ายใกล้บ้านในรัศมี 4 กิโลเมตร ผ่าน Digital Wallet โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับหมู่บ้าน ระดับชุมชน ในตลาดท้องถิ่น สร้างธุรกรรมระหว่างรายย่อย

หนึ่งในรายละเอียดของนโยบายที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องการนำ “เทคโนโลยีบล็อกเชน” มาสร้าง Digital Wallet เพื่อสร้างเงื่อนไขการใช้งานที่จะทำให้นโยบายเป็นไปได้อย่างตรงจุด ในประเด็นนี้นายอภินัทธ์ เดชดอนบม นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกของไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แสดงความคิดเห็นไว้ว่า การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาทำ Digital Wallet นั้นอาจไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลเรื่องข้อจำกัดด้านการออกแบบบางอย่างซึ่งมีข้อสังเกตดังนี้

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีข้อจำกัดในเรื่องของการออกแบบ เนื่องด้วยสิ่งที่เรียกว่า Blockchain Trilemma หรือหลักพื้นฐานบล็อกเชน 3 ประการ ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้พร้อมกัน อันประกอบด้วย ความปลอดภัย (Security), การขยายตัวเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต (Scalability) และการกระจายอำนาจ (Decentralization)

ซึ่งตัวเลือกแรกก็เป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก Security การที่จะทำระบบบล็อกเชนให้สามารถรองรับธุรกรรมมหาศาลจากประชากรหลายสิบล้านคน ก็จำเป็นต้องเลือก Scalability มาเป็นอันดับสอง นั่นหมายความว่าต้องยอมสูญเสีย Decentralization ไป
 
อีกทั้งการทำระบบการชำระเงินของรัฐบาลก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเป็นบล็อกเชนสาธารณะ (Public Blockchain) ที่เปิดรายละเอียดของโครงสร้างระบบให้คนทั่วไปเห็น ทำให้ตัวเลือกเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก Private Blockchain แต่การจะทำให้ประชาชนทุกคนใช้งานได้ โดยไม่ติดขัด Digital Wallet นี้ก็ต้องเป็นแบบ Custodial Wallet ที่ทำให้ Decentralization ลดลงไปอีก

ซึ่งทำให้ระบบโดยรวมนั้นอาจไม่ได้แตกต่างจากการใช้ระบบฐานข้อมูลแบบเดิมที่อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังไม่มี Case Study ของบล็อกเชนที่สามารถรองรับธุรกรรมได้มากระดับหลายสิบล้านธุรกรรมต่อวันได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้วยเหตุนี้ทางเราจึงมองว่าตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดในการทำ Digital Wallet นี้ก็คือ แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่มีอยู่ก่อนแล้ว และคาดว่า “แอปพลิเคชันเป๋าตัง” ก็สามารถกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวได้ไม่ยาก มีประวัติการรองรับธุรกรรมจากการใช้งานจริงจากโครงการก่อนหน้านี้

ประชาชนมีความคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันเป๋าตังอยู่แล้ว อีกทั้งการใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังที่มีอยู่เดิมก็จะสามารถประหยัดงบประมาณการพัฒนาระบบใหม่และดูแลรักษาได้อีกด้วย

อีกหนึ่งประเด็นที่เป็นที่พูดถึงก็คือความเกี่ยวข้องของ Digital Wallet กับ Central Bank Digital Currency (CBDC) ซึ่งในเรื่องนี้ทางเรามองว่าไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากทางแบงก์ชาติมีแนวทางพัฒนาของตัวเอง โดยในตอนนี้ Retail CBDC ก็กำลังอยู่ในช่วง Pilot Test ระหว่างช่วงปลายปี 2565 ไปจนถึงกลางปี 2566 ร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด

โดยหาก Pilot Test แล้วมีปัญหาหรือมีจุดต้องแก้ไขก็ต้องนำกลับไปพัฒนาใหม่ และ Pilot Test อีกครั้งไปเรื่อย ๆ จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งอาจกินเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เพราะ CBDC จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไม่สามารถรีบเร่งได้ ทำให้ไทม์ไลน์อาจไม่ตรงกับการบังคับใช้ นโยบายดังกล่าวหากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล

‘รัฐบาล’ ปลื้ม!! แนวโน้มตลาดรถ EV ไทยโตต่อเนื่อง พร้อมยกระดับไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค

(12 เม.ย.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในภาคการผลิตและส่งออกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฐานการการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ของภูมิภาค เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 

พร้อมทั้งรับทราบการเปิดเผยรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยซึ่งคาดการณ์ว่า ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า BEV ในไทยในปี 2566 นี้จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดถึง 271.6% เมื่อเทียบกับปี 2565 พร้อมประเมินว่าจะสามารถทำยอดขายได้กว่า 50,000 คัน สะท้อนถึงพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า BEV (Battery Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน โดยไม่มีการปลดปล่อยมลพิษ (Zero Emission) จากรถยนต์โดยตรง จึงได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า BEV ในไทย มีปัจจัยสนับสนุนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยด้านอุปสงค์มาจากความต้องการรถยนต์ BEV ที่ยังอยู่ในระดับสูงของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลของมาตรการกระตุ้นด้านราคาที่ถูกจุดจากทางภาครัฐและการเร่งกระจายจุดชาร์จรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งาน 

APM ยื่นไฟลิ่ง เพื่อนแท้ แคปปิตอล ออกหุ้นกู้ฯ มีประกัน ดอกเบี้ย 7.50% หลักประกัน 1.5 เท่า เตรียมขยายธุรกิจให้บริการสินเชื่อ

APM ยื่นไฟลิ่ง เพื่อนแท้ แคปปิตอล ต่อ ก.ล.ต. เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2566 ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ มีประกัน มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย คงที่ 7.50% ต่อปี เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ มูลค่าหุ้นกู้รวมไม่เกิน 100 ล้านบาท หลักประกันทางธุรกิจมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.5 เท่า เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ขยายธุรกิจให้บริการสินเชื่อ ขยายสาขา และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง คาดจองซื้อวันที่ 9-11 พ.ค. 2566 และคาดออกหุ้นกู้วันที่ 12 พ.ค. 2566

นายวุฒิศิลป์ จรัสบวรพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพื่อนแท้ แคปปิตอล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้ดำเนินธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงิน ดำเนินธุรกิจด้วยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจหลักในการให้บริการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด และ ธุรกิจนายหน้าธุรกิจประกันวินาศภัย โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง มีสาขาการให้บริการจำนวน 21 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ในนาม “เพื่อนแท้ เงินด่วน” โดยมีพอร์ตสินเชื่อประมาณ 347.12 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565) 

ทั้งนี้ บริษัทมุ่งเน้นการให้บริการการปล่อยสินเชื่อที่มีโฉนดที่ดินหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนลูกหนี้เงินให้สินเชื่อที่มีโฉนดเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันจำนวน 97% นอกนั้นเป็นการบริหารความเสี่ยงโดยการอนุมัติสินเชื่อที่มีทะเบียนรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ หรือ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ตามลำดับ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของกลุ่มผู้บริหารในด้านการบริหารความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลโดยมีโฉนดค้ำประกันมากกว่า 20 ปี สะท้อนให้เห็นจากความสามารถในการบริหารอัตราการผิดนัดชำระของสินเชื่อ (Non-Performing Loans: NPL) ของบริษัทอยู่ในระดับ 3.62% โดยในปี 2565 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตของยอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 42.33% 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM กล่าวว่าบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้มีประกันของ บริษัท เพื่อนแท้ แคปปิตอล จำกัด ครั้งที่ 1/2566 ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2568 ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มีอายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 7.50% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ มูลค่าหุ้นกู้รวมไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจสิทธิเรียกร้องที่ผู้ออกหุ้นกู้มีอยู่กับลูกหนี้การค้า ประเภทไม่เฉพาะเจาะจงลูกหนี้แห่งสิทธิ โดยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1.5 เท่า ของมูลค่าหุ้นกู้ที่ออกและเสนอขายได้ทั้งหมด

นายสุริยา ธรรมธีระ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM กล่าวว่า บริษัทยื่นแบบแสดงรายการต่อ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2566 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขออนุมัติจาก ก.ล.ต. คาดว่าจะกำหนดวันจองซื้อในช่วงระหว่างวันที่ 9-11 พ.ค. 2566 และคาดว่าสามารถออกหุ้นกู้ในวันที่ 12 พ.ค. 2566 

การออกและเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้ เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ เพื่อขยายธุรกิจให้บริการสินเชื่อ และ ขยายสาขาการให้บริการ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง 

EA รับโล่ประกาศเกียรติคุณ -เข็มเชิดชูเกียรติ ‘คนดีเก่ง คนกล้า สปน.’

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.เพ็ชร ชินบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก.พลังงานมหานคร บริษัทในกลุ่ม บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมี นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในงานพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ‘คนดีเก่ง คนกล้า สปน.’ ณ ห้องประชุม 108 อรรถไกวัลวที ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

อัปเดต!! มอเตอร์เวย์ 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี คืบหน้ากว่า 90% คาดปี 2568 ได้ใช้ ร่นเวลาเดินทางถึงกาญจนบุรีเพียง 45 นาที

(11 เม.ย.66) เพจ 'โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure' เผย มอเตอร์เวย์ 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี คืบหน้าแล้วกว่า 90% เหลืองานด่าน, ระบบเก็บค่าผ่านทาง และเปิดประมูลจุดพักรถ เตรียมเปิดให้บริการ 2568 ร่นเวลาเดินทาง กาญจนบุรีเพียง 45 นาที!!! รายละเอียดดังนี้...

วันนี้เอาความคืบหน้าของ มอเตอร์เวย์ M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี ซึ่งสร้างมากว่า 6 ปีผ่านหลายปัญหา ทั้งเรื่องแบบ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของหน้างาน และที่ใหญ่ที่สุดคือปัญหางบประมาณเวนคืนที่ดิน ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ล้านบาท

ตอนนี้ ความคืบหน้าด้านโยธาไปแล้วกว่า 90% แต่ในส่วนสัญญางานด่านเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา O&M (ให้บริการ และซ่อมบำรุง) ซึ่งจ้างเอกชน (BGSR) เพื่อก่อสร้าง และให้บริการตลอดสัญญา 30 ปี ในรูปแบบ PPP Gross Cost 

โดยในปัจจุบันยังเหลืองานที่ยังไม่ประมูลอีก 1 งานคือ การร่วมทุนสร้างศูนย์บริการทางหลวง และจุดพักรถ ทั้งหมด 6 จุด

>> รายละเอียดการประมูล PPP จุดพักรถ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1346449295793546/?mibextid=tejx2t
—————————
>> รายละเอียดโครงการ มอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี ล่าสุด...

แยกเป็น 2 ช่วง คือ บางใหญ่-บ้านโป่ง และ บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ช่วงที่จะไปชะอำ ต่อไปจากบ้านโป่ง-ชะอำ 

ตามลิงก์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/595019377603212?s=1160002750&sfns=mo

>> เอาล่ะครับ เรามาดูรายละเอียดปัจจุบันกันดีกว่า 

ลิงก์ที่มาข้อมูล
http://eiadoc.onep.go.th/eialibrary/monitor/3transport/61_1_59_9832.pdf

มอเตอร์เวย์สายนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ...
- ช่วงบางใหญ่-นครปฐมตะวันตก จะเป็นถนน 6 เลน 
- ช่วงนครปฐมตะวันตก-กาญจนบุรี จะเป็นถนน 4 เลน
และเขตทางเผื่อการขยายเส้นทางเป็น 8 เลนตลอดเส้นทาง

มีรั้วแบ่งแยกจราจร ตลอดเส้นทาง และมีทางบริการ คู่ขนานมอเตอร์เวย์เป็นช่วงๆ 

มีศูนย์บริการทางหลวง 2 ระดับ คือ...
1.ศูนย์บริการทางหลวง 2 แห่งคือ นครชัยศรี (กม.19) และ นครปฐม (กม.47) 
2.ที่พักริมทาง 1 แห่ง คือ ท่ามะกา (กม.70)

มอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี เริ่มต้นจากสามแยกบางใหญ่ บริเวณ ตรงข้ามเยื้องเซ็นทรัลเวสเกต โดยอ้อมตลาดบางใหญ่ไป เพื่อลดผลกระทบกับชาวบ้านและลดค่าเวนคืนให้ต่ำสุด (แต่ก็ยังแพงอยู่ดี) ช่วงนี้จะยกระดับ จากต่างระดับบางใหญ่ - กม. ที่ 2 ก่อนจะถึงด่านบางใหญ่จะเป็นยกระดับยาว

จากด่านจะวิ่งตรงไปด้านทิศตะวันตก ผ่านจุดตัดกับ ถนน 3233 เป็นต่างระดับ และ ด่านนครชัยศรี 

พอตรงมาทางทิศตะวันตก อีก 5 กม. จะเป็นต่างระดับ ใหญ่ เพื่อมีกิ่งหนึ่งตัดกับถนนเพชรเกษม  พร้อมมีด่านอีกด่านหนึ่ง เพื่อเชื่อมต่อกับถนนเพชรเกษม และ มีปลายทางเปิดไว้เพื่อต่อกับมอเตอร์เวย์ นครปฐม-ชะอำ และอีกด้านหนึ่งเว้นไว้เพื่อจะเป็นมอเตอร์เวย์ สาย 92 เป็นวงแหวนของกรุงเทพ รอบที่ 4

ตรงมาทางด้านตะวันตกอีก 8 กม จะผ่านจุดตัดกับถนน 3036 ซึ่งเป็นต่างระดับ และด่านนครปฐมตะวันออก

มอเตอร์เวย์ก็จะวิ่งขนานเมืองนครปฐม ไปอีก 8 กม จะผ่านจุดตัดถนน 321 (มาลัยแมน) ซึ่งเป็นต่างระดับ และด่านนครปฐมตะวันตก

พอผ่านจากนครปฐม มอเตอร์เวย์จะปรับแนวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปอีก 19 กม จะผ่านจุดตัดถนน 3394 ซึ่งเป็นต่างระดับ และด่านท่ามะกา 

วิ่งต่อไปทางทิศตะวันตก อีก 13 กม จะผ่านจุดตัดถนน 3081 ซึ่งเป็นต่างระดับ และด่านท่าม่วง

พอเลยจากด่านท่าม่วงมีแผนต่อไปด่านพรมแดนพุน้ำร้อน ซึ่งเดี๋ยวผมมาเล่าให้ฟังวันหลักอีกที (แต่น่าจะเกิดยาก ถ้าทวายไม่เกิด และ ITD ไม่ลงทุนมอเตอร์เวย์สายนี้เอง)

และสุดท้าย มอเตอร์เวย์ก็จะไปสิ้นสุดที่ถนน 324 (กาญจนบุรี-อู่ทอง) ซึ่งจะเป็นต่างระดับ และด่านขวางปลายทาง 

‘รฟม.’ เผยความคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย ชี้!! ‘สายสีเหลือง-สายสีชมพู’ พร้อมเปิดใช้งานปี 66

เมื่อวานนี้ (9 เม.ย.66) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานความคืบหน้าของการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย  ภายใต้ความรับผิดชอบของ ‘รฟม.’ เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2566 โดยระบุว่า

อัปเดต !!! ความคืบหน้าเดือนมีนาคม ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 โครงการ ระยะทางรวม 116.6 กม. 

‘พงษ์ภาณุ’ สะท้อน!! ความจำเป็น ‘จัดเก็บภาษี-กู้เงิน’ ในวันที่ประเทศต้องพัฒนาและปวงประชาต้องมีสวัสดิการ

(9 เม.ย. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กล่าวถึงแหล่งที่มาของเงินเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ โดยข้องเกี่ยวกับภาษีที่ประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องจ่าย รวมถึงความจำเป็นในการกู้เงินเพื่อนำมาต่อยอดประเทศในด้านต่างๆ ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 66 ระบุว่า…

ถ้าย้อนความเรื่องของการจัดเก็บภาษี ก็ต้องบอกว่ามีมาช้านานแล้ว และไม่ใช่เพียงแค่ในรูปแบบของเงินเท่านั้นด้วย โดยในสมัยก่อนยังมีเรื่องของการเสียภาษีเป็นทาส กล่าวคือ การเอาคนมาเป็นทาส ถือเป็นการเก็บภาษีจากแรงงานของคน โดยไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ เป็นต้น

แต่แน่นอนว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไป รูปแบบการจัดเก็บภาษีก็เปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถเข้ากับรูปแบบสังคมในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นไปในรูปแบบของการจัดเก็บเงินได้แบบที่เราคุ้นเคยกัน แต่จะมีความต่างจากในสมัยก่อน เพราะเงินภาษีที่ประชาชนยอมสละส่วนหนึ่งไปให้รัฐฯ นั้น ก็เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อ ไม่ได้หายไปเปล่า ๆ เหมือนดั่งเช่นในอดีต

ฉะนั้น เมื่อมักมีคนถามถึงเหตุผลที่รัฐฯ เข้ามาบังคับจัดเก็บภาษี ว่าเก็บไปเพื่ออะไร และทำไมจึงต้องมีการจัดเก็บภาษีเท่านั้นเท่านี้...

ผมก็ต้องเรียนตามตรงว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นเชิงปรัชญา เช่น เวลาเราถามว่า รัฐฯ คืออะไร และต้องใหญ่ขนาดไหน ซึ่งบางทีก็ต้องไปดูความต้องการของรัฐฯ ในประเทศนั้น ๆ ต้องการมีส่วนแบ่งในระบบเศรษฐกิจมากเพียงใด ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะผูกพันและเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละประเทศ แต่ละศาสนา แต่ละสังคมที่ไม่เหมือนกันด้วย

'กรมการขนส่งทางบก - ปตท.' ลงนามความร่วมมือ โครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV ยกระดับมาตรฐานการตรวจ-ทดสอบที่สถานีบริการ ปตท. ทั่วไทย

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม อาคาร 10 ชั้น 3 กรมการขนส่งทางบก 
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และ นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมขนส่งทางบกและ ปตท. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV 

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบกมุ่งมั่นในการรณรงค์และเสริมสร้างทัศนคติการตระหนักถึงความปลอดภัย รวมถึงยกระดับมาตรฐานในการตรวจสอบการใช้งานรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (NGV) เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ตามนโยบายของ รัฐบาล กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบกได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในโครงการรณรงค์ความปลอดภัยรถ NGV กับ ปตท. เพื่อบูรณาการร่วมกันในการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจและทดสอบรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (NGV) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และข้อมูลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมการขนส่งทางบก โดยการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบรถ NGV ที่เข้ามารับบริการเติมก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV ของ ปตท. ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ใช้รถก๊าซ NGV

‘อ.ต่อตระกูล’ แง้ม!! รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของ BYD จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนแทนลิเทียมเป็นครั้งแรก

(7 เม.ย. 66) ‘อ.ต่อตระกูล’ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า...

ข่าวดี ๆ วันศุกร์

BYD ประกาศโฉมหน้ารถ EV ขนาดเล็ก ชื่อ ‘ซีกัล’ (Seagull) ราคาคาดการณ์ 3-4 แสนบาท ประกาศเปิดตัวที่จีนวันที่ 18 เมษายน นี้

ทว่าไฮไลต์อยู่ที่ จะเป็นรถไฟฟ้า คันแรก ที่จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แทนแบตเตอรี่ลิเทียม

บีโอไอ ฟุ้งยอดส่งเสริมอุตสาหกรรม EV สุดปัง ไฟเขียวลงทุนกว่า 1 แสนล้าน ผลิตแบต-ชิ้นส่วน

บีโอไอ เผยยอดส่งเสริม EV กว่า 1 แสนล้านเร่งกระตุ้นลงทุน ทั้งการผลิตรถยนต์ แบตเตอรี่ ชิ้นส่วน และสถานีชาร์จ เร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมลงทุน รองรับทิศทางอุตสาหกรรมและดีมานด์ในประเทศขยายต่อเนื่อง

(6 เม.ย. 66) นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ในส่วนของบีโอไอ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกิจการยานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมมุ่งเป้าตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ของไทย โดยได้มีมาตรการให้สิทธิประโยชน์กับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า รถจักรยานไฟฟ้า และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนและอุปกรณ์ สถานีอัดประจุไฟฟ้าและสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด บีโอไอได้ให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนสำคัญ และสถานีชาร์จ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 114,000 ล้านบาท

ทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงเชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต  นวัตกรรมใหม่ตลาดทุนไทย ตอบโจทย์องค์กรปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

เมื่อวานนี้ (4 เม.ย.66) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทย) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ บริษัท PTT International Trading Pte Ltd ประเทศสิงคโปร์ (PTTT ถือหุ้น 100% โดย ปตท.) ในการเข้าทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงเชื่อมโยงคาร์บอนเครดิต หรือ Carbon Credit Linked Derivatives ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของตลาดทุนไทย ที่ธนาคารได้ออกแบบและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของ ปตท. รวมถึงเป็นการส่งเสริมเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งสองบริษัท 

นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างองค์กรในประเทศ โดย PTTT ประเทศสิงคโปร์ จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาคาร์บอนเครดิตที่มีมาตรฐานให้เพื่อใช้สำหรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมต่างๆ ในอนาคต นอกจากนี้ ข้อตกลงยังครอบคลุมถึงการบรรลุเป้าหมายด้าน ESG ของ ปตท. 

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของ United Nations Development Programme (UNDP) โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทิศทางที่ผู้บริโภค และธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยล่าสุดธนาคารลงนามบันทึกข้อตกลงกับ ปตท. และ บริษัท PTTT ประเทศสิงคโปร์ ในการเข้าทำสัญญาอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน (Derivatives) ที่เชื่อมโยงกับคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Linked Derivatives) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ข้อตกลงยังครอบคลุมถึงการบรรลุเป้าหมายด้าน ESG ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นพัฒนาและการเป็นผู้นำตลาด ESG Financial Solution ของธนาคาร ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ และสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)

เคลียร์ชัด!! 'หนี้สาธารณะ' มุมมองที่หลายคนอาจเขิน หากนำไปแถแบบไม่เข้าใจ

หลายคนอาจจะยังคงสงสัยกับคำว่า ‘หนี้สาธารณะ’ และอาจเคยได้ยินว่า ‘คนไทย’ มีหนี้ต่อหัวสูงมาก แต่เคยรู้หรือไม่ว่า ในความเป็นจริงแล้วการกู้หนี้สาธารณะ นับเป็นการลงทุนในระยะยาวอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลตอบแทนสูง 

สำหรับเรื่องนี้ นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เคยให้สัมภาษณ์ในรายการ ‘เศรษฐกิจติดบ้าน’ ทางช่อง Thai PBS เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 ดดยบางช่วงบางตอนได้ระบุว่า…

“หนี้สาธารณะ คือ หนี้ของประเทศจริงๆ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ ตามคำนิยาย พ.ร.บ.หนี้ของไทยค่อนข้างกว้าง รวมตั้งแต่ หนี้ของกระทรวงคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวที่จะกู้เงินให้ประเทศได้ หนี้รัฐบาลกลาง หนี้รัฐวิสาหกิจ ถึงแม้บางแห่งจะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่การก่อหนี้ก็จะนับเป็นหนี้สาธารณะด้วยเช่นกัน รวมถึงหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ด้วย” 

“คำนิยามหนี้สาธารณะของไทยกว้างมาก กว้างกว่าประเทศอื่นๆ เยอะ ไม่ใช่ว่าประเทศไม่มีเงินจึงต้องก่อหนี้ แต่เพราะจริงๆ แล้ว การก่อหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ คือการก่อหนี้เพื่อการลงทุน และเพื่อโครงการที่เป็นสังคม สาธารณะประโยชน์”

'รัฐบาล' ปลื้ม!! โมเดลเศรษฐกิจ BCG ไปไกล หลังวงประชุม UNCTAD หนุนนักธุรกิจ-นักวิจัยผู้หญิง

(5 เม.ย.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ ว่า ผู้แทนรัฐบาลไทย โดย น.ส.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สกสว. ได้เข้าร่วมการประชุม Commission on Science and Technology for Development (CSTD) ครั้งที่ 26 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อระหว่างวันที่ 26-30 มี.ค.ที่ผ่านมา  

โดยร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโมเดลเศรษฐกิจสีเขียวให้กับนักธุรกิจและนักวิจัยหญิง จากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 15 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 ที่กรุงเทพฯ ผ่านโครงการ STI Capacity Building Programs on Female Researchers and Entrepreneurs to promote Bio – Circular – Green Economic (BCG) MODEL 

INTERLINK หนุน 'สร้างงาน สร้างคน สร้างอาชีพ' เสริมทักษะความรู้ สร้างกูรูสายสัญญาณป้อนไทย

(4 เม.ย.66) บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพ กับสถาบันเทคโนโลยี หนุนสร้างงาน สร้างคน สร้างอาชีพ ส่งเสริมทักษะความรู้เฉพาะด้านการเป็นผู้นำด้านสายสัญญาณของประเทศไทยที่แข็งแกร่ง นำสู่การต่อยอดอาชีพในอนาคตได้อย่างเติบโต ต่อเนื่อง และยั่งยืน

โดยมี คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ และ ดร. ชลิดา อนันตรัมพร ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ฯ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา และประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ทางวิชาการระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ณ ห้องประชุมสภา สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 27 - 31 มี.ค.66  จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 3 - 7 เม.ย.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากนักลงทุนคลายความวิตกต่อวิกฤติภาคธนาคาร ประกอบกับท่อขนส่งน้ำมันดิบ Kirkuk - Ceyhan (0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ที่สูบถ่ายน้ำมันดิบจากเขตปกครองพิเศษเคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรักสู่ตุรกีปริมาณ 4 - 4.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ต้องระงับการสูบถ่ายชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 66 หลังอิรักชนะอนุญาโตตุลาการข้อพิพาทการส่งออกน้ำมันเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 66 

อย่างไรก็ดี วันที่ 2 เม.ย. 66 รัฐบาลอิรักและรัฐบาลท้องถิ่นเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Regional Government: KRG) บรรลุข้อตกลงกลับมาส่งออกน้ำมันดิบแล้ว และคาดว่าจะเริ่มส่งออกน้ำมันได้ในวันที่ 3 เม.ย. 66

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 80 – 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัว หลังประเทศสมาชิก OPEC+ จำนวน 7 ประเทศ ประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบโดยสมัครใจ ปริมาณรวม 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ค. - ธ.ค. 66 เพิ่มเติมจากโควตาเดิมของ OPEC+ ซึ่งลดการผลิต 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ย. 65 - ธ.ค. 66 ประกอบกับรัสเซียประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบ 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. - ธ.ค. 66 ซึ่งจะสนับสนุนราคาน้ำมัน โดย Goldman Sachs ปรับประมาณการณ์ราคาน้ำมันดิบ Brent ในปี 66 และ 67 เพิ่มขึ้น 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากคาดการณ์เดิม มาอยู่ที่ 95 และ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top