Saturday, 4 May 2024
ECONBIZ NEWS

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) หรือ KMITL ผนึกต่างชาติ เปิดตัว ‘42 บางกอก’ (42 Bangkok) สถาบันโปรแกรมเมอร์แห่งแรกของไทย และแห่งที่ 3 ของเอเชีย ใต้แนวคิดเก๋ ‘ไม่มีอาจารย์ ไม่มีปริญญา ไม่มีค่าเทอม’

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันนโยบาย ‘ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์’ (Coding) ภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศด้วยนวัตกรรม (Digital Disruption) ที่มุ่งปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของคนไทยในทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถปรับตัวเข้าสู่โลกการทำงานยุคดิจิทัลได้เต็มศักยภาพ สู่การมีทักษะสำคัญอย่างน้อย 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล คิดเชิงคณิตศาสตร์ และการแก้ไขปัญหาอย่างมีหลักการ 
.
โดย สจล. ถือเป็นต้นสถาบันการศึกษาแห่งอนาคตของไทย ที่มีหัวคิดทันสมัยและปรับตัวได้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ความร่วมมือของ ‘เอกอล 42’ (Ecole42) สถาบันปั้นโปรแกรมเมอร์ระดับโลก เพื่อพัฒนาคนคุณภาพด้านโปรแกรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัล อันสอดรับกับนโยบายดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม 
.
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล. เล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาสของการมี ‘ซุปเปอร์โปรแกรมเมอร์’ เนื่องจากอาชีพดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์อาชีพที่เป็นที่ต้องการจากทุกองค์กรทั่วโลก อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโลกดิจิทัล 
.
ดังนั้น การจัดตั้ง ‘42 บางกอก’ (42 Bangkok) สถาบันปั้นโปรแกรมเมอร์ระดับหัวกะทิ แห่งแรกอาเซียน และที่ 3 ของเอเชีย ถือเป็นสนามปั้นสุดยอดโปรแกรมเมอร์ ระดับซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) ภายใต้มาตรฐานการสอนเดียวกับสถาบันต้นกำเนิดจากกรุงปารีส ฝรั่งเศส ที่ฉีกทุกกฎการเรียนรู้แบบไร้ข้อจำกัด ‘ไม่มีอาจารย์ ไม่มีปริญญา ไม่มีค่าเทอม’ นับเป็นจุดเปลี่ยนแรกของการศึกษาไทย ที่เปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เปิดโลกการทำงานระดับสากล ภายใต้เครือข่ายเอกอล 42 ทั่วโลก อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่า การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเฉพาะรูปแบบการสอนเดิมเท่านั้น แต่สามารถก้าวสู่โลกการทำงานสายดิจิทัลได้อย่างมืออาชีพ ตอกย้ำการเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลง (Change Maker) ของ สจล. อย่างแท้จริง
.
ด้าน ผศ.ดร.ชัยยันต์ เจตนาเสน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ Executive Director of 42 Bangkok กล่าวเพิ่มเติมว่า ‘42 บางกอก’ มีการเรียนการสอนในรูปแบบ Project Based Learning ที่เน้นการเรียนรู้จริงปฏิบัติเป็น และแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม ผ่านการฝึกคิดแก้โจทย์จริงจากภาคธุรกิจชั้นนำด้านคอมพิวเตอร์-เทคโนโลยี แบบเป็นขั้นตอน ซึ่งจะไต่ระดับจากง่ายไปยากใน 21 ระดับ โดยการเรียนในระยะแรก ผู้เรียนจะต้องเรียนการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และเมื่อเลื่อนขั้นแล้ว ผู้เรียนจะสามารถเลือกทำโปรเจกตามความสนใจ ซึ่งในบางระดับต้องไปฝึกงานเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อสั่งสมประสบการณ์ในสนามจริง
.
ทั้งนี้ เมื่อทำโปรเจกต์สำเร็จในแต่ละระดับ จะมีคะแนนสะสมเพื่อขอเลื่อนขั้นในระดับต่อไปได้ จนกระทั่งจบการศึกษาภายในระยะเวลา 2-4 ปี เพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานจริง โดยจะปูพื้นฐานด้วยภาษา C และ C++ พร้อมเพิ่มพูนทักษะด้วย Python Javascript เพื่อสร้างเว็บไซต์ หรือกระทั่งทำงานออกแบบเว็บไซต์ (Design) ให้มีฟังก์ชันที่รองรับการงานรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
“เพราะการเรียนที่ 42 บางกอก เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่มีอาจารย์สอน ไม่กำหนดเวลาเรียน ดังนั้น กระบวนการคัดเลือกผู้เรียนจึงมีการทดสอบแบบเข้มข้นใน 3 ด่านสำคัญ คือ ทดสอบออนไลน์ (Online Test) เพื่อวัดว่ามีตรรกะด้านการเขียนโปรแกรม ยืนยันสิทธิ์ (Check In) และ ด่านสุดท้าย ทำค่ายโปรเจก เวิร์คชอป (Piscine) การทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบ 24/ 7 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งเทียบเท่าการเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี ในคณะสายคอมพิวเตอร์ สำหรับในรอบนี้จะคัดเลือกในแต่ละกลุ่มเพียง 150 คน เพื่อเป็นนักศึกษาตัวจริงที่จะได้เรียนใน 42 บางกอก” ผศ.ดร.ชัยยันต์ กล่าว
.
สำหรับคุณสมบัติของผู้เรียนค่อนข้างเปิดกว้าง โดยเป็นบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ มีอายุอย่างน้อย 18 ปี ไม่ต้องมีวุฒิการศึกษาหรือเคยเรียนเขียนโปรแกรมมาก่อน ขณะเดียวกัน คนที่กำลังศึกษาด้านอื่นหรือทำงานอยู่ก็สามารถเรียนควบคู่ไปได้ และเมื่อเข้ามาเรียนได้ก็สามารถกำหนดรูปแบบการเรียนด้วยตนเองได้ ทั้งนี้ ปัจจุบัน 42 บางกอก อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้เรียนเข้าศึกษาต่อในเทอมแรก ซึ่งมีผู้สมัครจากทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 1,600 คน ครอบคลุม 81 ประเทศ โดยจะเริ่มเรียนในเดือน กรกฎาคม 2564 
.
ใครสนใจติดตามรายละเอียดได้ที่ www.42bangkok.com หรือติดต่อ สำนักงานกิจการต่างประเทศ สจล. โทรศัพท์ 02-329-8140 เว็บไซต์ https://oia.kmitl.ac.th, www.kmitl.ac.th หรือ https://m.facebook.com/42Bangkok/
.
ที่มา: https://techsauce.co/news/kmitl-open-42-bangkok-thailand-first-programmer-institute?fbclid=IwAR0Iig2VvOpjYrLGfj5OKuolswfdisBuBGnkcU2apg_CFDDqdC-hLcnfSr0


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

ใบไม้แลกเงิน เชียงใหม่ผุดไอเดียขายใบไม้โลละ 2 บาท นำร่อง 34 หมู่บ้าน หวังช่วงลดปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5

สมคิด ปัญญาดี ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดขึ้น ทางศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปันหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ได้หาทางจัดการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการชิงเผา การบริหารจัดการเชื้อเพลิง การเฝ้าระวังและจัดเจ้าหน้าที่เข้าดับไฟป่า แต่ในปีนี้ มีไฮไลท์สำคัญ เพราะนอกเหนือจากการเฝ้าระวังไฟป่าแล้ว ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเปลี่ยนใบไม้ให้เป็นเงินได้จริ

ปัจจุบันแนวคิดดังกล่าวได้ดำเนินการนำร่องไปแล้วทั้งหมด 34 หมู่บ้าน ในอำเภอต่าง ๆ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใบไม้ที่นำมานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นใบไม้ที่มาจากพื้นที่ป่า แต่เป็นใบไม้ที่ถูกจัดเก็บมาจากพื้นที่การเกษตรก็ได้ เช่น สวนลำไย นาข้าวและอื่น ๆ เมื่อได้ใบไม้มาเป็นจำนวนมากตามที่ต้องการ ก็เข้าสู่กระบวนการอัดให้เป็นก้อน ขึ้นอยู่กับจำนวนใบไม้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ จากนั้นก็นำไปจำหน่ายที่จุดรับซื้อ โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์บัญชาการฯ หมายเลขโทรศัพท์ 053-112808

สำหรับใบไม้ที่นำมาจำหน่ายจะมีมูลค่ากิโลกรัมละ 2 บาท โดยเริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 15 - 24 มีนาคม 2564 ขณะนี้ได้ใบไม้อัดแท่งแล้วจำนวน 16.69 ตัน และมีความต้องการของบริษัทฯ ผู้รับซื้อสูงถึงจำนวน 50 ตัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนใบไม้ที่หาได้ ซึ่งการรับซื้อใบไม้ดังกล่าว ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในช่วงนี้ และยังเป็นการลดเชื้อเพลิงที่จะถูกเผาในพื้นที่ป่า ลดเชื้อเพลิงจากพื้นที่การเกษตร และจากการเผาของชาวบ้านในแหล่งชุมชน ที่จะส่งผลทำให้เกิดมลพิษในอากาศ เมื่อสะสมจำนวนมากก็จะทำให้ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานด้วย

ทั้งนี้หากในอำเภออื่น ๆ นอกเหนือจาก 34 หมู่บ้าน ต้องการดำเนินการรับซื้อขายใบไม้ก็สามารถทำได้ โดยสามารถอัดให้เป็นก้อนและนำมาจำหน่ายได้เช่นกัน หรือหากใครไม่มีเครื่องอัดใบไม้ ก็ให้นำใบไม้ใส่ไว้ในกระสอบ ใส่ถุง หรือบรรทุกด้านหลังรถยนต์กระบะ แล้วเดินทางไปพบกับเจ้าหน้าที่ตามจุดต่าง ๆ โดยปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ มีเครื่องอัดใบไม้ให้บริการจำนวน 2 เครื่อง และจะหมุนเวียนไปตามแต่ละอำเภอ เพื่อให้บริการกับพี่น้องประชาชน เมื่อบีบอัดใบไม้และมีการชั่งน้ำหนักที่จุดดังกล่าวแล้ว ก็จะได้รับเงินตามจำนวนใบไม้ที่นำมา

.

ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/local/462015?fbclid=IwAR2DDbOkrwDZev4V4lPkZfGRyYzC33AMRiLfU2EiKmJsr_UfvtZRFZyUveQ


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

คลังขยายเวลาเราชนะกลุ่มพิเศษถึง 9 เมษายน 64

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้ขยายระยะเวลาเปิดรับลงทะเบียนโครงการเราชนะ (เพิ่มเติม) สำหรับประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง) ที่ไม่สามารถเดินทางออกจากที่พักอาศัยได้และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 26 มีนาคม 2564 เป็นวันที่ 9 เมษายน 2564 เพื่อให้ครอบคลุมผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกคน

ส่วนความคืบหน้าของโครงการเราชนะ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2564 พบว่า มีผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการเราชนะแล้ว รวมทั้งสิ้น จำนวน 32.4 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 160,716 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” ร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการเราชนะ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเราชนะ จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.2 ล้านกิจการ

ธุรกิจไทยไปเมียนมาอ่วม วอนรัฐช่วย

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจในเมียนมา เพื่อหารือถึงผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือต่อธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในเมียนมา โดยมีการประเมินว่าเศรษฐกิจของเมียนมาจะชะลอตัวลง และหากการชุมนุมยืดเยื้อก็ยิ่งชะลอตัวมากกว่าเดิมอีก 

อย่างไรก็ตามกระทรวงพาณิชย์จะรวบรวมผลการหารือ และข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนครั้งนี้ เสนอให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เพื่อพิจารณาหาทางช่วยเหลือต่อไป เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น

“การลงทุนของผู้ประกอบการรายย่อยของไทยในเมียนมา ได้รับผลกระทบมากพอสมควร เพราะยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ได้ โดยบริษัทส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจปิดกิจการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงและกำลังอยู่ในช่วงของการขาดสภาพคล่อง”
 

กระทรวงแรงงาน จับมือ ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ เสิร์ฟตำแหน่งงานกว่า 5 พันอัตรา เพื่อคนหางานใน “BANGKOK JOB FAIR 2021”

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมาย นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน Bangkok Job Fair 2021 ณ ฟอร์จูนสตรีท ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ กรุงเทพมหานคร พบปะ 40 สถานประกอบการชั้นนำ และคนหางาน

นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดำริให้จัดงาน BANGKOK JOB FAIR 2021 ในวันนี้โดยมีเป้าหมายในการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 และลดปัญหาการว่างงาน โดยส่งเสริมการมีงานทำให้แก่ ผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้าง ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และคนไทยทุกคนที่ประสงค์จะหางานทำ ด้วยการจัดกิจกรรมเพิ่มโอกาสสมัครงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการจำนวนมากโดยตรงในคราวเดียว รวมทั้งเพิ่มโอกาสคัดเลือกตำแหน่งงานว่างที่ตรงกับความรู้ความสามารถ

“กระทรวงแรงงาน นำนโยบายรัฐบาล ภายใต้การนำของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยการพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้คนในวัยแรงงานสามารถเลือกทำงานได้ตามความรู้และความถนัดของตน ยกระดับจากผู้ใช้แรงงาน เป็นผู้ใช้พลังสมอง ที่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน นวัตกรรม เทคโนโลยี และข่าวสารข้อมูลได้สะดวก มีทักษะในการทำงาน มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน “เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ขอเชิญชวนผู้สนใจสมัครงาน ผู้กำลังมองหาไอเดียในการประกอบอาชีพเสริม และประชาชนผู้สนใจทุกท่าน เข้าร่วมงานได้ในวันศุกร์ที่ 26 และวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.30 น. ที่บริเวณลานฟอร์จูนสตรีท (หน้าอาคาร) ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ กรุงเทพมหานคร กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน ได้จัดกิจกรรมนัดพบแรงงาน โดยมีนายจ้าง/สถานประกอบการชั้นนำเข้าร่วมรับสมัครงาน จำนวน 40 แห่ง อาทิ บริษัท ซีพี แลนด์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เอกชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น 

ซึ่งกิจการที่เปิดรับสมัครมีทั้งประเภทกิจการธุรกิจค้าปลีก กิจการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ กิจการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ กิจการร้านอาหารและเครื่องดื่ม กิจการให้บริการด้านการเงิน และกิจการบริการขนส่งสินค้าและขนส่งสาธารณะ มีตำแหน่งงานว่างซึ่งต้องการแรงงานในทุกระดับการศึกษา จำนวนกว่า 5,000 อัตรา ตำแหน่งงานที่น่าสนใจ ได้แก่ วิศวกรโยธา สถาปนิก เขียนแบบ ผู้ช่วยผู้จัดการร้าน พนักงานบัญชี เจ้าหน้าที่ธุรการ พนักงานบริการ และพนักงานทั่วไป (ฝ่ายผลิต) เป็นต้น โดยแยกเป็นวุฒิปริญญาตรี 2,106 อัตรา วุฒิปวส. 461 อัตรา วุฒิปวช. 179 อัตรา วุฒิม.6 และต่ำกว่า 2,842 อัตรา รวมทั้งมีการสาธิตการประกอบอาชีพอิสระ วันละ 10 อาชีพต่อวัน รวมทั้งสิ้น 20 อาชีพ  และการแสดงการประกอบ อาชีพอิสระในรูปแบบ Food Truck จำนวน 4 คัน

“กรมการจัดหางาน ร่วมมือกับศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ จัด “BANGKOK  JOB  FAIR 2021” โดยมุ่งหวังให้คนหางานได้รับความสะดวกสบายและประโยชน์สูงสุด สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงานสามารถสมัครงานง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน คือ 1. เลือกบริษัทที่ต้องการ 2. แสกนคิวอาร์โค้ด 3. เลือกตำแหน่งงานและกรอกข้อมูลส่วนบุคคลแล้วกดส่ง นายจ้าง/สถานประกอบการจะได้รับข้อมูล และผู้สมัครงานเข้ารับการสัมภาษณ์กับนายจ้าง/สถานประกอบการได้ทันที ในส่วนของการเดินทางได้เลือกจัดงานใจกลางเมืองที่มีความสะดวกในการเดินทาง โดยศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพระราม 9 ติดกับโรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน และเทสโก้ โลตัส สามารถเดินทางทั้งด้วยรถยนต์ส่วนตัว  ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ลงสถานีพระราม 9 ทางออกที่ 1  หรือรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ต่อรถเมล์ หรือรถตู้ปรับอากาศ มีนบุรี-อนุสาวรีย์ (ลงหน้า อสมท.) หรือลงสถานีอโศก ต่อรถไฟใต้ดินลงสถานีพระราม 9 ทางออกที่ 1 หรือเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ สะพานใหม่-อสมท., งามวงศ์วาน-อสมท., มีนบุรี-อนุสาวรีย์ (ลงหน้า อสมท.) หรือเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางสาย 172, 98 ,171 ,36 ,73 ,73ก ,137 ,168 ,204 ,206 ,514 ,517 ,528 และ 529” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694

รัฐบาลปลื้ม 3 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ชวนใช้สิทธิ์ “คนละครึ่ง” ก่อนสิ้นสุดโครงการ 31 มี.ค. นี้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่โครงการคนละครึ่งจะหมดเขตในวันที่ 31 มีนาคมนี้ อยากเชิญชวนให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์ เร่งใช้จ่าย เพื่อจะได้ใช้วงเงินสิทธิ์ครบเต็มจำนวน ขณะนี้ มีผู้ใช้สิทธิ์ครบ 3,500 บาท แล้ว 6.38 ล้านคน จากจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ 14.79 ล้านราย โดยมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นรวม ณ 20 มี.ค. จำนวน 100,042 ล้านบาท เป็นการใช้จ่ายจากภาคประชาชน 51,214 ล้านบาท รัฐช่วยจ่าย 48,828 ล้านบาท สำหรับโครงการฯ ในเฟส 3 ทางกระทรวงการคลังแจ้งว่าอยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ ซึ่งจะออกมาได้หลังจากที่โครงการเราชนะ และ ม.33เรารักกัน สิ้นสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564

ในส่วนของจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์โครงการเราชนะ ขณะนี้มี 32.4 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 1.53 แสนล้านบาท ขณะที่โครงการม33เรารักกัน มีผู้ได้รับสิทธิ์แล้ว 7.4 ล้านคน เริ่มโอนเงินงวดแรก 1 พันบาท แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ เมื่อ 22 มีนาคมมียอดการใช้จ่ายประมาณ 750 ล้านบาท และจะเปิดให้ยื่นทบทวนสิทธิ์ ถึงวันที่ 28 มีนาคมนี้ ทาง www.ม33เรารักกัน.com โดยประกาศผล วันที่ 5-11 เมษายน 64 ทางเว็บไซต์เช่นเดียวกัน 

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ทั้ง 3 โครงการของรัฐบาล สามารถแบ่งเบาภาระประชาชนจากผลกระทบโควิด-19 ได้มาก รวมถึงเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบคาดว่าไม่ต่ำ 2.5 แสนล้านบาท ตัวเลข ณ วันที่ 25 มีนาคม ซึ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯทั้งสิ้นมากกว่า 1.5 ล้านกิจการ รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากก็ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างมากด้วย

ทางหลวงชนบท สรุปการประชุมการศึกษาความเหมาะสม EIA เชื่อมเกาะลันตา ต.เกาะกลาง - ต.เกาะลันตาน้อย จ.กระบี่ เลือกเป็นแบบสะพานคานขึง เน้นความทนทานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) สรุปผลการประชุมและปัจฉิมนิเทศ โครงการศึกษาความเหมาะสมผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในขั้นรายละเอียด (EIA) สะพานเชื่อมเกาะลันตา ตําบลเกาะกลาง - ตําบลเกาะลันตาน้อย อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อนําไปประกอบแผนการดําเนินงานก่อสร้างในอนาคตให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่มากที่สุด

นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ทช.ได้เล็งเห็นความจําเป็นของการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างบ้านหัวหิน ตําบลเกาะกลาง กับเกาะลันตาน้อย ตําบลเกาะลันตาน้อย อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ กระจายความเจริญ สู่ชุมชน อํานวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรม การท่องเที่ยว และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนบนเกาะลันตา ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ในการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงแก้ไขปัญหาความยากลําบากในการเดินทางของประชาชน

เนื่องจากปัจจุบันการเดินทางไปเกาะลันตาจะต้องผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 สู่บ้านหัวหิน ซึ่งเป็นจุดลงแพขนานยนต์ ท่าเรือบ้านหัวหินไปยัง ท่าเรือบ้านคลองหมาก ซึ่งท่าเรือดังกล่าวเชื่อมระหว่างเกาะกลางไปยังเกาะลันตาน้อย หลังจากนั้นจะมีสะพานสิริลันตาเชื่อมเกาะลันตาน้อย - เกาะลันตาใหญ่ จึงจะถึงตัวเมือง ย่านชุมชน/การค้า และตรงต่อไปยังหาดต่าง ๆ จนไปสุดถนนที่ท้ายเกาะบริเวณที่ทําการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ซึ่งการใช้แพขนานยนต์ แม้จะเป็นระยะทางสั้นเพียง 1.53 กิโลเมตร แต่เนื่องจากแพขนานยนต์บรรทุกรถได้น้อย มีจํานวนจํากัดและให้บริการในช่วงเวลา 06.00 - 22.00 น. เท่านั้น ส่งผลให้การเดินทางเป็นไปอย่างล่าช้าในช่วงเวลาเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดําเนินโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทช.จึงได้จัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยได้เชิญกลุ่มเป้าหมาย อาทิ ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เป็นต้น โดยแบ่งเป็น การประชุมปฐมนิเทศโครงการ, การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 (2 กลุ่ม) และการประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 (รวมทั้งหมด 3 ครั้ง) เพื่อสรุปแนวทางเลือกที่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันคัดเลือกเส้นทางพื้นที่ศึกษาจุดเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 ไปบรรจบกับจุดสิ้นสุดทางหลวงชนบทสาย กบ.5035 ความยาวสะพานรวมเชิงลาดประมาณ 2,240 เมตร

รูปแบบโครงการ สรุปได้ว่าเป็นแบบสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) ซึ่งเป็นรูปแบบสะพานที่มีความยาวช่วงสะพานมากกว่าสะพานทั่วไปทําให้เกิดความสะดวกสบายในการสัญจรทางน้ำ มีขั้นตอนในการก่อสร้างซึ่งรบกวนระบบนิเวศน้อยที่สุด

ต่อมา ทช.ได้จัดการประชุมหารือมาตรการและประชุมปัจฉิมนิเทศ เพื่อนําเสนอแนวสายทาง รูปแบบโครงการ พร้อมผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันแก้ไขลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงสรุปผลการศึกษาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยในส่วนของโครงสร้างที่อยู่ในทะเลนั้น จะมีมาตรการป้องกัน การสั่นไหวเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ป้องกันการกัดเซาะ ป้องกันการเกิดสนิม ซึ่งสายเคเบิลสะพานที่เป็นเหล็กได้ถูกออกแบบให้สามารถป้องกันการเกิดสนิม โดยลักษณะการป้องกันสนิมที่สายเคเบิ้ล ประกอบด้วย

การป้องกันด้วยท่อพลาสติกหุ้มอยู่ภายนอก ป้องกันไอน้ำทะเล และแสง UV, ภายในท่อพลาสติกดังกล่าว มีการอัดน้ำปูน-ทราย หุ้มสายเคเบิ้ลไว้อีกชั้นหนึ่ง ทําให้ไม่มีช่องว่างให้อากาศชื้นที่มีความเค็มของไอทะเลเข้าไปอยู่ภายในท่อพลาสติกได้, การป้องกันสนิมที่ตัวสายเคเบิ้ล โดยมีสารเคลือบป้องกันสนิมโดยตรงตามมาตรฐานสากล ตลอดจนมีระบบตรวจสอบสภาพการเกิดสนิมและใช้ระบบไฟฟ้าสถิตเหนี่ยวการเกิดสนิม ไม่ให้เกิดที่สายเคเบิ้ล แต่ให้มาเกิดที่บ่อดักสนิมด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตแทน การป้องกันสนิมด้วยวิธีนี้เรียกว่า ระบบแคโทดิก เป็นการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกําเนิดภายนอกเพื่อยับยั้งการเกิดสนิมของโลหะ

สําหรับขั้นตอนกระบวนการหลังจากการประชุมปัจฉิมนิเทศนั้น ทช.จะส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ไปยัง สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 7 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 เดือน ทั้งนี้ ขั้นตอนสุดท้ายจะเข้าสู่คณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบและเสนอของบประมาณในปี 2565 คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 1,600 ล้านบาท


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

ช่วยเกษตรกรข้าวโพด! จุรินทร์ นำเคาะ "รับประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2564 ให้เกษตรกร"

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ) ครั้งที่ 2/5264 ที่ประชุมได้มีมติให้ความเห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 วงเงินงบประมาณ 311,418,600 บาท 

สำหรับ พื้นที่ประกันภัย 2.86 ล้านไร่ ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัย และเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือของรัฐในการรองรับต้นทุนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยช้างป่า วงเงินคุ้มครอง 1,500 บาทต่อไร่ ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด วงเงินคุ้มครอง จำนวน 750 บาทต่อไร่ 

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า โดยกรณีเป็นที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ของ ธ.ก.ส. รัฐบาลจะรับจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ 96 บาท/ต่อไร่ ธ.ก.ส. รับชดเชย 64 บาท/ต่อไร่ รวมเป็น 160 บาท/ต่อไร่ กรณีเกษตรกรทั่วไปที่ไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. จะแบ่งการรับประกันเป็น 3 พื้นที่ คือ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 150 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 350 บาทต่อไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 550 บาทต่อไร่

นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถซื้อประกันภัยเพิ่มเติมจากที่ได้เอาประกันภัยข้างต้นแล้ว โดยเกษตรกร จะเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันภัยเองตามระดับความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่  คือ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 90 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 100 บาทต่อไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 110 บาทต่อไร่ วงเงินคุ้มครอง 240 บาท/ต่อไร่ เมื่อประสบภัยพิบัติธรรมชาติ 7 ภัย และ 120 บาท/ต่อไร่ เมื่อประสบภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด

"ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้นำเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป โดยมีระยะเวลาขายประกันภัย แบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบที่ 1 สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และรอบที่ 2 สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 15 มกราคม 2565 " รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

ชง ศบศ. เปิดประเทศรับคนฉีดวัคซีนไม่ต้องกักตัว คาดนำร่อง ภูเก็ต-พัทยา-เชียงใหม่

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบศ. วันที่ 26 มีนาคมนี้ กระทรวงกหารท่องเที่ยวจะรายงาน แนวทางการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบ 2 โดสแล้วสามารถมาเที่ยวไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว แต่จะทำเป็นแซนด์บ็อกซ์ หรือจำกัดพื้นที่เพื่อทำการทดสอบ เบื้องต้นมองว่ามี 3 พื้นที่ที่มีความพร้อม คือ จังหวัดภูเก็ต ชลบุรี (พัทยา) และเชียงใหม่ แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าทดลองทำเรื่องนี้จะต้องมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดให้ได้อย่างน้อย 70% ก่อนจึงจะเริ่มต้นทำได้

“ส่วนตัวมองว่าอยากให้เริ่มได้ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้  ที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้คุยกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แล้ว รวมไปถึงทางจังหวัดทั้ง 3 แล้ว โดยจะเริ่มต้นจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน คือ ภูเก็ต จากนั้นจึงทำที่พัทยา โดยขอให้ทางจังหวัดนำเสนอมาว่าต้องการวัคซีนจำนวนเท่าใด ล่าสุดทางภูเก็ต แจ้งมาว่าต้องการ 9.25 แสนโดส และพัทยา 9.5 แสนโดส ส่วนเชียงใหม่ยังไม่ได้แจ้งตัวเลขมา โดยรูปแบบการทำแซนด์บ็อกซ์นั้น จะทำก่อนในจังหวัดที่มีสนามบิน และเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวได้ในพื้นที่ หรือเส้นทางที่กำหนดไว้ หากครบ 7 วันไม่มีการติดเชื้อแน่นอน ก็สามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ”

ทั้งนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยังได้รับหนังสือจาก 8 สมาคมท่องเที่ยว ประกอบด้วย สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว(แอตต้า) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ สมาคมสายการบินแห่งประเทศไทย สมาคมสปาไทย และสมาคมธุรกิจสายการบินประเทศไทย ซึ่งได้เสนอแผนการบริหารจัดการวัคซีนและแผนการเปิดประเทศโดยไม่ต้องกักตัว 1 กรกฎาคม เพื่อต่อลมหายใจให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว จากผลกระทบของโควิด-19 ที่ยาวนานกว่า 1 ปี

“สุพัฒนพงษ์” เผย รัฐบาล เตรียมความพร้อม ​เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว​ไตรมาส​ 4 ด้านภูเก็ต นำร่องจังหวัดแรก​

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน​ กล่าวก่อนประชุม​คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า ที่ประชุมจะพิจารณา​ความก้าวหน้า​ของคณะกรรมการและที​มงานปฏิบัติการเชิงรุกด้านเศรษฐกิจที่ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของประชาชน​ และจากการติดตามข้อมูลผ่านเวทีเสวนา​ต่างๆ​ มองเห็นถึงโอกาสของประเทศไทยหลังโควิด-16 คลี่คลาย​ จะเป็นประเทศที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ​ โดยเฉพาะการขยายฐานการผลิตรวมถึงยังมีกลุ่มผู้สูงอายุที่จะเดินทางมาพักอาศัยในประเทศไทยหลังเกษียณ​ที่จะสามารถทำประกันสุขภาพได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม​ทางการแพทย์​ 

นายสุพัฒนพงษ์​ กล่าวว่า ส่วนแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวตามกำหนดการเดิมที่จะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในไตรมาส​ที่ 4​ ก็จะมีการพิจารณาจังหวัดท่องเที่ยวที่เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะพื้นที่แถบอันดามัน​มาเป็นจังหวัดนำร่อง​ แต่เนื่องจาก​ยังไม่ทราบจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาเนื่องจากทุกประเทศเพิ่งจะเริ่มฉีดวัคซีน​โควิด-19​ จึงต้องมีการประเมินสถานการณ์​ภาพรวมอีกครั้งว่า มีความคุ้มค่าหรือไม่ที่จะเปิดประเทศ​ เบื้องต้นมี จ.ภูเก็ตที่แสดงความจำนงเป็นจังหวัดนำร่อง​โดยเสนอขอ​เปิดจังหวัดก่อนไตรมาส​ 4​ และจะเสนอมายังภาครัฐว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง​

สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อดำเนินการแล้วจะต้องมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพื่อความคุ้มค่าและต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ด้วย​ ทั้งนี้ได้ให้ทุกฝ่ายไปทำการบ้านในทุกมิติ​ ทั้งเชิงรุก-เชิงรับ ​โดยเฉพาะความพร้อมรองรับหากเกิดการแพร่ระบาดขึ้น​ โดยถอดบทเรียนจากจังหวัดสมุทรสาคร​ได้​ นอกจากนี้จะมีการรายงานการใช้ประโยชน์​จากโครงการต่างๆของรัฐบาล​ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน​เศรษฐกิจ​และบรรเทาความเดือดร้อนด้วย​ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top