Friday, 16 May 2025
ECONBIZ NEWS

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! สับปะรดกระป๋องไทยครองตลาดโลก พร้อมกำชับแผนส่งเสริมศักยภาพการผลิต-การตลาด

‘โฆษกรัฐบาล’ เผย ‘นายกฯ’ ปลื้มผลไม้ไทยมีชื่อเสียง สับปะรดกระป๋องของไทยครองอันดับ 1 ของโลก และมะม่วงเบาสงขลา ขึ้นทะเบียน GI แล้ว กำชับทำงานเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

(4 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบถึงศักยภาพของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกสับปะรด และผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องไทยเป็นอันดับ 1 ของโลก มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ครองสัดส่วนตลาดโลกถึง 32% และชื่นชมการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนชื่อเสียงผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องของไทยจนมียอดส่งออกอันดับ 1

โฆษกประจำสำนักนายกฯ เผยว่า ไทยมีชื่อเสียงในฐานะประเทศผู้ส่งออกสับปะรด และผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องไทยเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ครองสัดส่วนตลาดโลก 32% อันดับ 2 ฟิลิปปินส์ 22% 

ทั้งนี้ พื้นที่และโรงงานสับปะรดส่วนใหญ่ของไทยอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเปรียบเสมือนมหานครสับปะรดของไทยและของโลก และรัฐบาลยังได้จัดทำแบบแผนพัฒนาสับปะรด 5 ปี (2566-2570) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตสับปะรด เพิ่มศักยภาพการผลิต การแปรรูป และการตลาด ทั้งนี้ยังมีแผนใช้กองทุนพัฒนาผลไม้เป็นกลไกสำคัญเพื่อยกระดับรายได้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสับปะรด อย่างยั่งยืนด้วยแนวทางเกษตรมูลค่าสูง

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 26 - 30 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก - ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 2 - 6 ม.ค. 66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 โดยผู้เดินทางเข้าประเทศไม่ต้องกักตัวแต่ต้องแสดงผลตรวจ RT-PCR เป็นลบภายใน 2 วันก่อนออกเดินทาง นอกจากนี้ อนุญาตให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ และให้ผู้ที่เดินทางมาเปลี่ยนเครื่องบินในจีนไม่ต้องขอ Visa ประกอบกับ วันที่ 27 ธ.ค. 65 นาย Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย ลงนามในพระราชกำหนดห้ามจัดส่งน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปรัสเซีย ให้แก่ชาติที่เข้าร่วมมาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) โดยน้ำมันดิบมีผลวันที่ 1 ก.พ.- 30 มิ.ย. 66 ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปจะประกาศภายหลัง เพื่อตอบโต้สหภาพยุโรป (EU) และกลุ่มชาติมหาอำนาจ G7 รวมทั้งออสเตรเลีย ที่ใช้มาตรการ Price Cap น้ำมันดิบรัสเซียที่ขนส่งทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 65  

สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 82 - 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยทิศทางตลาดน้ำมันมีแนวโน้มได้รับการสนับสนุนจากการเปิดประเทศของจีน

ด้านผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นาง Kristalina Georgieva ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 66 มีแนวโน้มเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากขึ้น โดยเศรษฐกิจของประเทศราว 1 ใน 3 ของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) และจีน ชะลอตัวในเวลาเดียวกัน ประกอบกับยอดการติดเชื้อ COVID-19 ในจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 66 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว

นอกจากนี้ ผลสำรวจนักวิเคราะห์ของ Reuters ในวันที่ 30 ธ.ค. 65 คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 66 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 89.37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วน NYMEX WTI อยู่ที่ 84.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 93.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 87.80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกเผชิญภาวะเงินเฟ้อ ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน

'สุริยะ' ชี้!! 6 เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลกธุรกิจในอีก 3 ปี ผู้ประกอบการต้องปรับ 'สินค้า-บริการ' ให้สอดคล้อง

กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ MIND แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับ 6 เมกะเทรนด์เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ พร้อมพุ่งเป้าปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด 'Industry 4.0' ที่ขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้พร้อมเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และยั่งยืน

(29 ธ.ค. 65) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ MIND เผย 6 เมกะเทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า ผู้ประกอบการควรพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งแบ่งเป็น 3 แนวทาง...

โดยแนวทางแรก คือ 2 เทรนด์ต้องเร่งทำ ได้แก่...

1) Digitalization หรือระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันกับการค้าในรูปแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เนื่องจากตลาดสินค้าและบริการในปัจจุบันกลายเป็น 'ตลาดของผู้บริโภค' ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สินค้ามีการหมุนเวียนเร็วขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว นำสินค้าเข้าสู่หน้าร้านออนไลน์ให้ไว ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความรวดเร็ว 

และ 2) Globalization หรือโลกาภิวัตน์ ที่เชื่อมโยงทุกสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน เป็นโอกาสและความท้าทายที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญ ผู้ประกอบการควรศึกษาการเข้าสู่ตลาดแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสเติบโตและขยายตลาดให้กว้างขึ้น พร้อมบริหารจัดการความเสี่ยง ควบคุมปัจจัยการผลิต
อย่างระมัดระวัง 

แนวทางที่ 2 คือ 2 เทรนด์ต้องเร่งเสริม ได้แก่...

1) New Technologies ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งทางด้านเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัล และเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งความรวดเร็ว แม่นยำ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการประหยัดงบประมาณได้มากขึ้น 

และ 2) Collaborative Business Models การผสานความร่วมมือทางธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ การร่วมมือและช่วยเหลือพึ่งพากันเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงและผลกำไรของกิจการระหว่างกันเป็นกลุ่มก้อนซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกภาคส่วน

ปตท. ขยายเวลาตรึงราคาก๊าซ NGV - LPG ช่วยลดผลกระทบต่อประชาชนในกลุ่มเปราะบาง

(27 ธ.ค. 65) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่มกราคม - เมษายน 2566) และขอความร่วมมือ ปตท. สนับสนุนรายได้จากธุรกิจโรงแยกก๊าซธรรมชาติ นั้น

ปตท. ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์วิกฤตพลังงานที่จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. ได้เห็นชอบมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยจัดสรรก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งพยายามจัดหา LNG ที่มีราคาเหมาะสม มุ่งลดต้นทุนเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท พร้อมมั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ 

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม ส่วนแบ่งยอดขายรถ EV ไทยสูงสุดในอาเซียน เร่งส่งเสริมการลงทุน - สร้างระบบนิเวศรองรับในอนาคต

นายกฯ ยินดีไทย มีส่วนแบ่งยอดขายรถ EV ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 65 มากที่สุดในภูมิภาค พร้อมเดินหน้าส่งเสริมการลงทุน-สร้างระบบนิเวศรองรับตลาด

(28 ธ.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ประเทศไทยมีส่วนแบ่งยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล (EV) ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2565 เกือบร้อยละ 60 ซึ่งมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

นายอนุชา กล่าวว่า ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากรายงานของบริษัทวิจัยตลาด Counterpoint ซึ่งเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล (EV) เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2564 และพบว่าประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายรถ EV สูงที่สุดในภูมิภาค คิดเป็นส่วนแบ่งทั้งหมดประมาณร้อยละ 59.2 ตามมาด้วยอินโดนีเซียร้อยละ25.2 และสิงคโปร์ ร้อยละ 11.8 

โดยรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle) มีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็นร้อยละ 61 ของทั้งหมด ในขณะที่เหลือเป็นแบบปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) โดยบริษัทที่มียอดขายสูงสุดอันดับแรกคือ Wuling ตามด้วย Volvo, BMW, ORA และ Mercedes-Benz ตามลำดับ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 19 – 23 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 26 – 30 ธ.ค. 65

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 19 – 23 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 26 – 30 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 1-2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อุปทานน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัว โดยรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Alexander Novak ประกาศจะลดการผลิตน้ำมันดิบลง 5-7% (ประมาณ 500,000-700,000 บาร์เรลต่อวัน) จากระดับการผลิตในปี 2565 ภายในต้นปี 2566 เพื่อตอบโต้สหภาพยุโรป (EU), กลุ่มประเทศ G7 และออสเตรเลีย ซึ่งกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันดิบรัสเซีย ตั้งแต่ 5 ธ.ค. 65 ทั้งนี้คาดว่ารัสเซียผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 220,000 บาร์เรลต่อวัน) อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ ราคาน้ำมันดิบลดลง จากความกังวลต่อจีน ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้น และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอย กดดันอุปสงค์พลังงาน 

National Weather Service (NWS) ของสหรัฐฯ ประกาศประชาชนกว่า 200 ล้านคน (ประมาณ 60% ของประชากรทั้งหมด) กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ Bomb Cyclone เกิดพายุหนาวจัดพัดรุนแรงหลายพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงฉับพลัน โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 23 ราย และเตือนประชาชนอาจเผชิญวันคริสต์มาสที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี ท่าอากาศยานนานาชาติเดนเวอร์ (Denver International Airport) ในรัฐ Colorado ทางตะวันตก อุณหภูมิลดลงจาก 5.56 องศาเซลเซียส สู่ -15 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งนี้เว็บไซต์ข้อมูลการเดินทาง FlightAware.com ระบุเที่ยวบินในสหรัฐฯ ในช่วง 21-23 ธ.ค. 65 ถูกยกเลิกกว่า 2,000 เที่ยว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวน

อย่างไรก็ตาม เมื่อ 23 ธ.ค. 65 โรงกลั่นบริเวณอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ กำลังรวมกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หยุดดำเนินการ จาการกลั่นปกติที่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้การผลิตน้ำมันดิบในรัฐ North Dakota ทางเหนือ ลดลงประมาณ 300,000-350,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของระดับปกติที่ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

‘สุริยะ’ เผยดัชนี MPI 11 เดือน โต 1.55% คาดปี 2566 จะขยายตัวช่วง 2.5 – 3.5%

กระทรวงอุตสาหกรรม เผย MPI เดือน พ.ย. ปี 65 ขยายตัวจากเดือนก่อน 1.55% รับเศรษฐกิจในประเทศฟื้น คาดปีหน้าดัชนีภาคอุตฯ ขยายตัวต่อเนื่องหลังเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวขยายตัว 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 อยู่ที่ 95.11 ขยายตัวร้อยละ 1.55 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 62.63 สำหรับภาพรวมดัชนี MPI สะสม 11 เดือนของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 98.68 ขยายตัวร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิต สะสม 11 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.02 เป็นผลจากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาข้อจำกัดในการผลิตได้คลี่คลายลง อาทิ ค่าระวางเรือมีทิศทางลดลง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2566

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวร้อยละ 5.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงใหญ่ของโรงงานในอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ซึ่งจะกลับมาผลิตเป็นปกติในเดือนธันวาคม 2565 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2565 ยังคงเป็นยานยนต์ จากรถบรรทุกปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดกลาง ที่สามารถผลิตได้ต่อเนื่อง น้ำมันปาล์มจากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หลังจากราคาปาล์มน้ำมันในปีก่อนปรับสูงขึ้น จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงต้นและลูกปาล์ม ส่งผลให้ปีนี้ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อน และเครื่องปรับอากาศที่กลับมาเร่งผลิตได้อีกครั้ง ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าดัชนี MPI จะขยายตัวจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลาย ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องสามารถกลับมาเร่ง การผลิตได้อีกครั้ง รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม อุปสงค์สินค้าในตลาดโลกเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด ด้วยตลาดส่งออกสำคัญมีแนวโน้มจะเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยจากภาวะเงินเฟ้อและราคาพลังงาน

ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนี MPI ปี 2566 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 – 3.5 จากแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและติดตาม ได้แก่ ราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูง การปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนกระทบต่อภาคการส่งออก และทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

'บิ๊กตู่' ช่วยค่าครองชีพกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.2 ล้านคน จัดงบ 2.6 พันล้านบาท เติม 200 บาทต่อคนในเดือนม.ค.66

(27 ธ.ค.65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษ แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนมกราคม 2566 โดยอนุมัติงบกลาง 2,644 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีบัตรฯ จำนวน 13.2 ล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม 65 ) โดยเป็นการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 200 บาท/คน เป็นระยะเวลา 1 เดือน ประจำเดือนมกราคม 2566 โดย...

(1) ผู้มีบัตรฯ ที่เคยได้รับวงเงิน 200 บาท/คน/เดือน (จำนวน 3.54 ล้านคน) จะได้รับเพิ่มอีก 200 บาท รวมเป็น 400 บาท/คน/เดือน 

‘เอกชน’ เชื่อ!! จีนยกเลิกคุมโควิด-19 ส่งผลดีต่อไทย คาด!! เศรษฐกิจคึกคัก ผู้ประกอบการเตรียมรับมือ

จีนประกาศยกเลิกมาตรการคุมโควิด-19 การกักตัวสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ ส่งผลดีต่อไทยและเศรษฐกิจไทยทุกด้าน คาดปี 2566 นักท่องเที่ยวเพิ่มเกิน 5 ล้านคน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กรณีประเทศจีนได้ประกาศยกเลิกมาตรการกักกันโรคโควิด-19 นักเดินทาง โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.66 มองว่า จะมีผลดีต่อประเทศไทยและเศรษฐกิจไทยในทุกด้านถือว่าเป็นข่าวดีและสุดยอดอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ทราบแม้จีนจะเปิดประเทศช้า แต่เชื่อว่าแนวทางเลิกมาตรการกักกันโควิด-19 ครั้งนี้ จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถออกไปท่องเที่ยวทั่วโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่เริ่มมีอากาศหนาวเย็นและเป็นเมืองที่ชาวจีนต้องการเข้ามาท่องเที่ยวเป็นอันดับ 1 ของโลก และไม่เพียงคนจีนเท่านั้น หลายเชื้อชาติสนใจเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น โดยเห็นว่าไทยมีจุดสนใจเที่ยวมากกว่าประเทศอื่น

ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากจีนยกเลิกมาตรการกักกันโควิด เชื่อว่าในปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเข้ามาเที่ยวในไทยเกินกว่า 5 ล้านคน และยิ่งปัญหาโควิด-19 เบาลงคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะเข้ามาไทยมากกว่านี้แน่นอน แต่สิ่งที่ภาคเอกชนยังกังวลคือ การเตรียมการต้อนรับของไทยมีความพร้อมแค่ไหน เพราะในเวลานี้แม้เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 3 จนถึงไตรมาสที่ 4 แต่โดยภาพรวมความพร้อมของภาคธุรกิจ เช่น โรงแรม สถานที่พักบุคคลกรและอื่นๆของไทยยังไม่กลับมาเต็มที ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวหลายชาติกลับมาเที่ยวในไทย แต่คนไทยยังไม่มีความพร้อมเต็มที่จะมีปัญหาได้ ภาครัฐบาลจะต้องเร่งหาทางแก้ไขและเตรียมความพร้อมเป็นการด่วน

‘ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ’ ชี้!! เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง เตือน!! “ตลาดจะลงโทษนโยบายที่โง่ๆ”

(27 ธ.ค. 65) ดูเหมือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงดูตึงเครียดหนัก หลังจากที่ IMF ออกมาเตือนว่า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังไม่มาถึงเลย พร้อมหั่นการคาดการณ์ GDP ในปีหน้าจนเหี้ยน ทำให้ต้องเริ่มกังวลแล้วว่า เศรษฐกิจโลกจะไปในทิศทางไหน แล้วสำหรับประเทศไทยจะเอาอย่างไร? จะไปต่อได้ไหวหรือไม่? จะแข็งแกร่งแค่ไหนกัน?

จากช่องยูทูบ ‘Property Expert Live’ โดยคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า… 

IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2023 โดยระบุว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังไม่มาถึง และมากกว่า 1 ใน 3 ขอเศรษฐกิจโลก จะเข้าสู่สภาวะ Recession พร้อมจะพบเห็น GDP ติดลบ 2 ไตรมาสติด ๆ ขณะที่ GDP ของประเทศยักษ์ใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน จะยังคงชะลอตัวต่อไป

โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ในปี 2023 มีอยู่ 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่... 

1. สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ยังคงเกิดขึ้นต่อไปไม่มีวี่แว่วว่าจะหยุด 
2. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพยังคงสูงขึ้น 
3. เศรษฐกิจของประเทศจีนยังคงชะลอตัวอยู่

ทั้ง 3 สาเหตุนี้เป็นปัจจัยหลักให้เศรษฐกิจทั่วโลกต่างเกิดการผันผวนในปี 2023 และปัญหาเงินเฟ้อในปีหน้าก็ยังคงสูงอยู่เช่นเดิม

โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปีหน้ายังคงสูงกว่า 6.5% ซึ่งหากมองคร่าว ๆ ก็ยังคงสูงอยู่ แต่ก็อาจะค่อย ๆ ชะลอตัวลงลดเหลือ 4.1% ในปี 2024 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า จุดนี้จึงปฏิเสธไม่ได้ที่จะยังคงเป็นแรงกดดันมหาศาลของทั้งโลกอยู่

คุณคิม ยังกล่าวอีกว่า ในฟากของฝั่งไทยนั้น การที่ IMF ออกมาหั่นการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2023 ให้เหลือการขยายตัวเพียงแค่ 3.6% นั้น (จะบอกว่า ‘เพียงแค่’ ก็ไม่ถูกนัก เพราะก่อนหน้านี้คาดการณ์ไว้ถึง 4%) จะพิจารณาได้จากปัจจัยหลักสำคัญอย่างเศรษฐกิจของจีน, ยุโรป หรือสหรัฐอมริกา ที่เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจ ไม่ค่อยจะฟื้นตัว บ้างชะลอตัว บ้างถึงขั้นถดถอยด้วย ซึ่งทำให้การบริโภคเริ่มลดลง บวกกับไทยเราเป็นประเทศผู่ส่งออก จึงได้รับผลกระทบตรงนี้ไปด้วย

อย่างไรก็ตามในฝั่งของ ‘ปัจจัยบวก’ ก็มีด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวดีเกินคาด ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้ามาในประเทศและส่งผลให้ลดดุลทางการค้าได้นั่นเอง และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เงินบาทของไทยค่อนข้างแข็งขึ้นมาในช่วงนี้ (อยู่ที่ประมาณ 34.84 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ฯ)

ทั้งนี้เชื่อได้ว่า หลายคนน่าจะมีคำถามที่แสดงถึงความกังวลว่า การที่ GDP เติบโตประมาณ 3.6% นั้นเป็นผลดีหรือไม่อย่างไร? ซึ่งเรื่องนี้ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้ออกมาบอกว่า จริง ๆ แล้วเศรษฐกิจไทยค่อนข้างทนทานและเข้มแข็งอย่างมาก แม้จะมีการปรับลด GDP ลงไป แต่เหตุผลมันก็มาจากปัจจัยภายนอก (ต่างชาติปรับเพิ่มดอกเบี้ย) แต่ในตัวเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งอยู่


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top