Saturday, 20 April 2024
ECONBIZ NEWS

‘สุริยะ’ สั่งอุ้มโรงงานรับผลกระทบวิกฤตน้ำท่วม งัดมาตรการ ‘ป้องกัน-เยียวยา-ฟื้นฟู’ เร่งด่วน

‘สุริยะ’ สั่งการกระทรวงอุตสาหกรรมติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินสำหรับเฝ้าระวังสถานการณ์ ย้ำให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมมาตรการป้องกัน เยียวยา และฟื้นฟู ช่วยเหลือโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต พร้อมจัดม้าเร็วในการติดตาม ประสานงานสถานการณ์ในพื้นที่แบบทันที

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง เบื้องต้นได้รับรายงานจากศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤต กระทรวงอุตสาหกรรม ว่าขณะนี้มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, เพชรบูรณ์, ชัยภูมิ, สิงห์บุรี, ปราจีนบุรี, หนองบัวลำภู, มหาสารคาม, อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยมีผู้ได้รับผลกระทบแล้วจำนวน 59 ราย แบ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม 55 ราย เหมืองแร่ 1 ราย และวิสาหกิจชุมชน 3 ราย ซึ่งได้ สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว โดยมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเร่งด่วนสำหรับประเมินสถานการณ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ความช่วยเหลือได้ในทันที

พร้อมสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในด้านต่าง ๆ เช่น มาตรการด้านสินเชื่อ การจัดทีมงานทำความสะอาดและซ่อมแซมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม การจัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำทางธุรกิจ และการจัดเตรียมถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้มาตรการ 3 ระยะ ‘ป้องกัน เยียวยา ฟื้นฟู’ 

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมแผนการรับมือไว้แล้วตามนโยบายของรัฐมนตรีฯ สุริยะ ตามมาตรการ 3 ระยะ ได้แก่... 

'ทิพานัน' โชว์แผนเดินหน้าพัฒนาบุคลากรในเขต EEC มุ่งสร้าง 'คน-งาน-อาชีพ' กว่า 4.75 แสนตำแหน่ง

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีการผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อย่างจริงจัง ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม ทั้งนี้ได้มีการเตรียมกำลังคนเพื่อทำงานในพื้นที่ EEC โดยสถาบันการศึกษาผลิตคน เน้นที่ศักยภาพตามความต้องการของสถานประกอบการ (Demand Driven) เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงด้วยความสามารถ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาลโดย พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้วางแนวทางเรื่องการพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการไว้แล้ว โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 

1.) EEC Model Type A ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาหลักสูตร ที่ได้รับปริญญา (Degree) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) เน้นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้ตรงความต้องการและได้อัตราค่าจ้างที่สูงกว่าปกติ  

2.) EEC Model Type B เป็นการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีปริญญา (Non-Degree) เพื่อพัฒนาบุคลากรแบบเร่งด่วน โดยสถาบันการศึกษาและสถานประกอบร่วมกันออกแบบหลักสูตร โดยมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมหรือชั้นปีสุดท้ายของการศึกษาในระบบ หรือประชาชนทั่วไปให้มีความรู้และทักษะที่สามารถทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายได้ทันที

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ กล่าวว่า EEC ได้คาดการณ์เรื่องความต้องการบุคลากรไว้ว่า เมื่อโครงการสำเร็จลุล่วง จะมีสถานประกอบการที่ต้องการแรงงาน ในระดับอาชีวศึกษา 377 แห่ง และระดับอุดมศึกษา 277 แห่ง รัฐบาลจึงเดินหน้าผลักดันสำรวจความร่วมมือจากสถานศึกษา-สถาบันการศึกษา ให้เข้าร่วมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมกว่า 941 แห่ง โดยแบ่งเป็นทั้งในพื้นที่ EEC และนอกพื้นที่ EEC โดยในพื้นที่ EEC ตั้งแต่ระดับโรงเรียน 847 แห่ง อาชีวศึกษา 17 แห่ง มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ส่วนเครือข่ายสถาบันศึกษานอกพื้นที่ EEC ได้แก่อาชีวศึกษา 61 แห่ง มหาวิทยาลัย 9 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 14 แห่ง ที่จะสามารถรองรับและส่งเสริมหลักสูตรในอนาคตได้ นอกจากเรื่องสถาบันการศึกษายังมีในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ได้แก่ เทศบาล 111 แห่งและองค์การบริหารส่วนตำบล 161 แห่ง ที่จะสามารถเข้าร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้วย

ในเบื้องต้นประมาณการความต้องการบุคลากรในพื้นที่ EEC อยู่ที่ 475,688 อัตรา อาทิ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 37,526 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมดิจิทัล 116,222 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 ตำแหน่ง,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 11,538 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี 14,630 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 ตำแหน่ง, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 166,992 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็น ระดับอาชีวศึกษา 253,114 ตำแหน่ง ระดับปริญญาตรี 214,070 ตำแหน่ง และระดับปริญญาโทร-เอก 8,610 ตำแหน่ง

'อ.วรัชญ์' เผย IMF ชี้ GDP ต่อหัวของไทย เพิ่มขึ้นสูงสุดในอาเซียน ทิ้งเวียดนาม 4 เท่า

ไม่นานมานี้ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

GDP ต่อหัว ของไทย เพิ่มขึ้นสูงสุดในอาเซียน

ข้อมูลจาก IMF อัปเดตข้อมูลเดือนตุลาคม 2565 พบว่า มีเพียงสามประเทศในอาเซียนที่มี GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับข้อมูลเดือนเมษายน 2565 คือไทย, เวียดนาม และกัมพูชา โดยที่ไทยเติบโตมากที่สุด ทิ้งห่างอันดับสองอย่างเวียดนามมากกว่า 4 เท่า ($181 ต่อ $40)

'ธนกร' ขอบคุณนายกฯ สั่งช่วยเหลือกลุ่ม SMEs หลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม

'ธนกร' ขอบคุณนายกฯ สั่งการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทุกกลุ่ม ล่าสุด บยส. รับไม้ต่อช่วยทันทีกลุ่ม SMEs ใน 25 จังหวัดพักชำระค่าธรรมเนียม-ค่างวดชำระ-ประนอมหนี้ นานสูงสุด 6 เดือน แนะฝ่ายค้านเพลาการเมืองหยุดสาดโคลนดิสเครดิตรัฐบาล

(16 ต.ค. 65) นายธนกร วังบุญคงชนะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอชื่นชมรัฐบาลที่ช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชน ผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบภัยน้ำท่วมขณะนี้ในทุกมิติ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือลูกหนี้สถาบันการเงินภาครัฐ ซึ่งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายการดูแลและช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วนและทันท่วงทีของรัฐบาลแล้ว 

นอกจากนี้ในส่วนของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ล่าสุดคณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ได้อนุมัติมาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ - ค่าจัดการค้ำประกันสินเชื่อ และ อนุมัติมาตรการช่วยลูกหนี้ ที่เข้าโครงการประนอมหนี้กับ บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 25 จังหวัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการ SMEs  สำหรับลูกค้าและลูกหนี้ค้ำประกันสินเชื่อ บสย. และติดตามให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ได้แก่

ILINK ปลื้ม!! คว้ารางวัล 'หุ้นยั่งยืน' (THSI) 2565 เป็นปีที่ 4 สะท้อนธุรกิจแกร่ง คู่คำนึงสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ILINK ปลื้ม คว้ารางวัล หุ้นยั่งยืน Thailand Sustainability Investment (THSI) 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คุณวริษา อนันตรัมพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และผู้นำเข้าและค้าส่งอุปกรณ์เครือข่ายส่งสัญญาณ ปราบปลื้มที่ ILINK คว้ารางวัล Thailand Sustainability Investment (THSI) หรือ หุ้นยั่งยืน ประจำปี 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

'ทิพานัน' โชว์ผลงาน EEC ดูดนักลงทุนต่างชาติ ย้อนเกล็ด!! เขตธุรกิจใหม่ 4 ภาคของ 'เพื่อไทย'

'ทิพานัน' ย้อน 'เพื่อไทย' นโยบายเศรษฐกิจล้าหลัง เลื่อนลอยล่าช้า โชว์ผลงาน EEC ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ 3 ไตรมาสแรกปี 65 มูลค่ากว่า 4 หมื่นล้านบาท ชู 4 ปี งบลงทุนเกินเป้า 1.8 ล้านล้านบาท เงินไหลเข้าประชาชนทุกพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม     

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา (ม.ค. - ก.ย.) ของปี 2565 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 436 ราย โดยในจำนวนนี้มีนักลงทุนชาวต่างชาติ ที่สนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 80 ราย คิดเป็น 18% ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC กว่า 40,555 ล้านบาท คิดเป็น 41% ของเงินลงทุนทั้งหมด สะท้อนถึงความสำเร็จของ EEC ในส่วนการดึงดูดนักลงทุน และเม็ดเงินเข้ามาลงทุนไหลเข้าสู่ประเทศ 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แม้โครงการจะเผชิญอุปสรรคปัญหาต่างๆ จากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 วิกฤติเศรษฐกิจโลก สถานการณ์สู้รบในยูเครนและผลกระทบต่อราคาพลังงาน แต่ในพื้นที่ EEC กลับมีผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม โดยมีงบลงทุนสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท เกินจากเป้าหมายในแผนแรกของ EEC ที่กำหนดไว้ 1.7 ล้านล้านบาทใน 5 ปี 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ในกรณีที่ พรรคเพื่อไทยโดยผอ. ศูนย์นโยบายพรรค ได้กล่าวถึงนโยบาย EEC โดยเปรียบเทียบกับนโยบาย 'เขตธุรกิจใหม่' 10 ข้อ ของพรรคเพื่อไทยนั้น จึงขอชี้แจงให้สังคมรับทราบข้อเท็จจริง เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนและเสียโอกาสดังนี้...

1.) อีอีซี ได้สร้างระบบนิเวศน์ใหม่ทั้งระบบแล้ว มีการวางโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล และยังมีสิทธิประโยชน์เสนอให้นักลงทุนโดยเฉพาะ ครอบคลุมการแก้ไขตั้งแต่ต้นตอเรื่องการลงทุน มีสิทธิประโยชน์ชุดใหม่และมีกลไกแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างกฎหมายธุรกิจชุดใหม่ ที่สร้างความล่าช้าในการนำมาใช้ ตามที่เพื่อไทยเสนอที่ไม่รู้ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มตระกูลใดเป็นการเฉพาะหรือไม่ 

2.) อีอีซี มีกฎหมายพิเศษในอีอีซี คือกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิประโยชน์และยังครอบคลุมทุกด้าน เช่น ใบอนุญาต ที่ดินทำกิน ป้องกันการผูกขาดและการแข่งขันทางการค้า การนำเข้าส่งออก แรงงาน วีซ่า ภาษี สิทธิประโยชน์ ธุรกรรมการเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา ระบบยุติธรรม ดังนั้นจึงขอให้ทีมงานเพื่อไทยศึกษา พรบ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2561 ให้ละเอียดโดยเฉพาะหมวด 4 การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหมวด 5 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และอีอีซีไม่มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย มีการพิจารณาปลดล็อกกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคมาโดยตลอด 

3.) อีอีซี มีการส่งเสริม 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve industries) ที่จะสร้างศักยภาพความสามารถเทคโนโลยีของประเทศ และทักษะฝีมือของแรงงานไทยให้เพิ่มขึ้น และมีการสนับสนุน เปิดโอกาสทุนย่อย และ SMEs จึงไม่มีการผูกขาดอุตสาหกรรมใด

4.) อีอีซี มีสิทธิประโยชน์ด้านการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนารูปแบบและเงื่อนไข เพื่อทันต่อการใช้งานและให้เข้ากับสถานการณ์การเงินทั่วโลก เช่น ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้เตรียมทดสอบระบบเงินบาทดิจิทัลแล้

5.) อีอีซี มีแผนพัฒนา 8 แผน ครบวงจร ซึ่งแต่ละแผนจะเชื่อมโยงกัน นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างสมบูรณ์แบบเป็นรูปธรรมและยั่งยืนในทุกมิติ ดังนั้นที่กล่าวหาว่า 'อีอีซี คือจิกซอว์ไม่ครบวงจร' จึงเป็นข้อวิจารณ์ของพรรคเพื่อไทยที่ขาดความรู้ สิ่งที่กล่าวอ้างว่า 'จะมี' ในเขตธุรกิจใหม่นั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลขณะนี้รองรับไว้หมดแล้ว และเกินกว่าที่เพื่อไทยคิดไปมาก ดังนั้นที่กล่าวหาว่าอีอีซีเน้นมิติเดียว ขาดกลไกนอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ในการดึงเงินต่างชาติ จึงไม่ถูกต้อง

6.) อีอีซี เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาคเอเชียอย่างครบวงจร ซึ่งจะเชื่อมตลาดโลกได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว จะเห็นได้จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการคมนาคมแบบไร้รอยต่อทั้งทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ ดังนั้นจึงเป็นการขยายตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งที่พรรคเพื่อไทยกล่าวอ้างว่า อีอีซี ไม่ตลาดเล็กจึงไม่จริง

7.) อีอีซี กำหนดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค ที่กำหนดประเภทอุตสาหกรรมของแต่ละภาคเพราะต้องการดึงศักยภาพที่พร้อมและเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานรากตามศักยภาพในท้องถิ่นนั้น ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งประเทศเชื่อมโยงกับอีอีซีอย่างเป็นระบบ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในย่านอีอีซีจะได้โฟกัสระบบต่างเฉพาะทาง หากใช้แผนของพรรคเพื่อไทยที่เขตธุรกิจใหม่ เปิดกว้างครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมก็จะเกิดความซ้ำซ้อน สะเปะสะปะ ไม่ได้ดึงศักยภาพการใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่มาใช้เลย เป็นแผนการพัฒนาที่ลงทุนมากผลตอบแทนน้อย

8.) อีอีซี สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC เพียงเท่านั้น แต่ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงและภาพรวมของประเทศยังได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ที่จะได้มีโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก ระบบสาธารณสุข ระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย มีโอกาสมีงานทำ และรายได้ที่ดีขึ้น เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต อีกทั้งยังเกิดการมีส่วนร่วม เช่น อีอีซีสแควร์ บัณฑิตอาสา เยาวชนต้นแบบ โครงการต้นแบบสวนภาษาอังกฤษ และจีน หลักสูตรอีอีซีกับการบริหาร องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคาดการณ์ว่าไทยจะเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างน้อย 5% ต่อปี

9.) อีอีซี มีกฎหมายพิเศษในอีอีซี ที่เพื่อส่งเสริมการลงทุน ปลดล็อกข้อจำกัด และยังได้สิทธิประโยชน์และครอบคลุมทุกด้าน อย่างเป็นธรรมและง่ายต่อการลงทุน

10.) อีอีซี ปัจจุบันมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการลงทุนไว้แล้ว ตามนโยบายและพื้นที่การลงทุนแต่ละพื้นที่ ทำให้รองรับผู้ลงทุนและเงินลงทุนทั้งในและนอกประเทศ อย่างไร้ขีดจำกัดได้ทันที 

'ไทยสมายล์บัส' เปิดเดินรถเมล์ไฟฟ้าเพิ่มอีก 2 สาย เชื่อม 'กทม.ตะวันออก-ชั้นใน' ได้อย่างสะดวก-ปลอดภัย

วันนี้ (12 ต.ค. 65) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในงาน เปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ของบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ฝั่งรามคำแหง สาย 2-24 (44) เคหะคลองจั่น-ท่าเตียน และสาย 3-53 แอร์พอร์ตลิ้งค์ รามคำแหง-เสาชิงช้า ภายใต้แนวคิด 'Seamless Connecting Charming Bangkok' ยลเสน่ห์กรุงเทพ ด้วยการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ 

โดยนางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) นางสาวออมสิน สิริ ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายงานสนับสนุน) บล.บียอนด์ (BYD) นายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ก พ้อยท์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ณ ไทย สมายล์ บัส ศูนย์รามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อมกับแขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนมาร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้


 

‘สายสีเหลือง’ ทดสอบเดินรถพรุ่งนี้ ก่อนเปิดให้บริการบางช่วงต้นปี 66

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส แจ้งว่า ในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 นี้ บริษัท อีสเทิร์นบางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) เตรียมทดสอบระบบเดินรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ตั้งแต่สถานีศรีเอี่ยม-ลาดพร้าว จำนวน 16 สถานี  

ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า การทดสอบเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) จะเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.65 เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งในระหว่างนี้จะขอให้เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้บริการฟรีด้วย ก่อนจะเปิดให้บริการบางช่วงอย่างเป็นทางการในเดือน ธ.ค.นี้

‘สุริยะ’ ลุยยกระดับการผลิตภาคอุตสาหกรรม มุ่งเติบโตอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

‘สุริยะ’ เดินหน้ายกระดับผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรม พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย พร้อมเพิ่มขีดแข่งขัน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากวิกฤตการณ์โควิด - 19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังรัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการเปิดประเทศ ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และการบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้น ดังนั้น ก้าวใหม่ของอุตสาหกรรมไทยในยุคความปกติถัดไป (Next Normal) จะต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมศักยภาพของประเทศหรือเป็นห่วงโซอุปทาน (Supply Chain) ให้กับอุตสาหกรรมศักยภาพ และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย 

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดทำมาตรการและแนวทางการเพิ่มผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ได้กำหนดเป้าหมายให้ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในอัตราร้อยละ 4.6 และมีการขยายตัวของผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 2.2

'คณะบัญชีจุฬาฯ' ผนึก 'พีทีจี' สร้างแนวคิด Ed-Enterprise เปิดบริษัทจริงในมหาวิทยาลัย ดันนิสิตฯ เรียนรู้คู่การทำงาน

โครงการคณะบัญชี จุฬาฯ สร้างแนวคิด Ed-Enterprise เปิดบริษัทจริงในมหาวิทยาลัย ต้นแบบแห่งการเรียนรู้คู่การทำงานจริง โดยการสนับสนุนจาก บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างบริษัท Chula Business Enterprise เพื่อให้กลายเป็น Real Business in the School ครั้งแรกของโลกการศึกษาเป็น New Model of Business Ed-Enterprise นำร่องคณะด้านบริหารธุรกิจที่นิสิตได้กลายเป็นผู้เรียนและทำงานในบริษัทควบคู่กันไปผ่านแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยโครงการแรกเป็นความร่วมมือกับ พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (PTG)

การก่อตั้งบริษัท Chula Business Enterprise จะเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตเรียนรู้ธุรกิจจริง ปฏิบัติงานจริงในรูปแบบบริษัท ที่สนับสนุนโดย PTG ซึ่งนิสิตสามารถปฏิบัติงานได้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาเรียน โดยการร่วมมือกันครั้งแรกนี้ คณะบัญชี จุฬาฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ PTG ที่เริ่มต้นด้วยการสนับสนุนการสร้างพื้นที่ CBS Lounge ที่เป็น Co-working space พื้นที่ในการสรรสร้างไอเดียทางธุรกิจของนิสิตและยังมีการสร้างธุรกิจแบรนด์ร้านกาแฟ CBS Cafe’ ที่สนับสนุนโดยกาแฟพันธุ์ไทย และ สร้างธุรกิจร้านสะดวกซื้อ CBS Mart ที่สนับสนุนโดย PT Max Mart เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตได้ทำงานจริงควบคู่ไปกับการเรียน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top