Saturday, 20 April 2024
Soft News Team

THE STUDY TIMES STORY ⚠️ Come back ‼️ Rerun ↪️  (วันที่ 6 - 8 กันยายน) พบกับเรื่องราวชีวิตและการเรียน ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ

???? รายการ THE STUDY TIMES STORY ⚠️ Come back ‼️ Rerun ↪️ 

???? พบกัน 2 ทุ่มตรง

✨จันทร์ที่ 6 ก.ย. 

พบกับเรื่องราว สาวน้อยนักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ‘น้ำหวาน’ ภิรมณ กำเนิดมณี ได้ตั้งแต่

ปริญญาตรี-เอก ที่สหรัฐอเมริกา

✨อังคารที่ 7 ก.ย. 

พบกับเรื่องราว ไอดอลสาวสวย ‘ปิ่น’ ธัญชนก ปการัตน์ การเรียนรัฐศาสตร์ทำให้การมอง

โลกเป็นระบบมากขึ้น เอามาใช้กับการทำงานในวงการบันเทิงได้เป็นอย่างดี

✨พุธที่ 8 ก.ย. 

พบกับเรื่องราว ‘แองจี้’ ธนธร ศิระพัฒน์ จากคนที่ไม่ชอบภาษาจีน แต่เพราะสนใจศาสตร์

แพทย์จีน จึงก้าวข้ามอุปสรรคได้

????ติดตามรายการที่ช่อง THE STUDY TIMES

????Facebook : facebook.com/thestudytimes/

????YouTube : youtube.com/channel/UC2Sf0rVFuuSU2aQ5ioU34Lg

????TikTok : tiktok.com/@thestudytimes

หัวใจของการทำพิธีกรสัมภาษณ์ คือการฟังคู่สนทนาอย่างตั้งใจ การตั้งประเด็น เป็นที่มาของการตั้งคำถามในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง เมื่อตั้งประเด็นที่ใช่ การตั้งคำถามที่ใช่ก็จะตามมา และนำไปสู่คำตอบที่ใช่เช่นเดียวกัน

“การตั้งคำถามที่ดี จะนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง” คำสอนสำหรับพิธีกรสัมภาษณ์จากรุ่นพี่สู่พิธีกรรุ่นน้องเสมอๆ และทุกครั้งที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดคำสอนนี้ก็มักจะมีคำถามตามมาเสมอว่า แล้วคำถามที่ดี คำถามที่ถูก คือแบบไหนกันหรือ ? 

คำถามที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกดี ?
คำถามที่ใคร่รู้สงสัย ? 
คำถามที่ทำให้ผู้ฟังได้ประโยชน์ ? 
หรือคำถามแบบไหนกัน 

แต่ทุกครั้งที่ถามและตอบ แล้วทำให้ทั้งผู้ถามและผู้ตอบรู้สึกดีในบทสนทนา อย่างน้อยที่สุดก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตามหัวใจของการทำพิธีกรสัมภาษณ์ ไม่ใช่การพูด แต่คือการฟังคู่สนทนา ฟังอย่างตั้งใจ ฟังให้ได้ยินว่าเขาต้องการจะสื่ออะไร แล้วเราก็จะได้ประเด็นที่จะสามารถต่อยอดได้ 

เหมือนจะง่ายแต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการฟังจากการคุย ไม่เหมือนการฟังเพื่อจดเลคเชอร์ การควบคุมบรรยากาศ การแสดงท่าที การมีส่วนร่วมระหว่างกัน จะทำให้การพูดคุยนั้นสนุกและน่าสนใจ แต่หากพิธีกรสติไม่อยู่กับการฟังแต่ดันเพลินไปกับการพูดคุย ก็จะทำให้หลุดประเด็นในการสัมภาษณ์เช่นเดียวกัน 

การเป็นพิธีกรสัมภาษณ์จึงต้องมีการฝึกฝน ฝึกให้มาก ตั้งคำถามให้เยอะ แล้วจะตั้งคำถามจากพื้นฐานของอะไร ?

ก็ประเด็นยังไงหล่ะ ?  การตั้งประเด็น จึงเป็นที่มาของการตั้งคำถามในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง การตั้งประเด็นจึงมีความสำคัญมาก ว่าวันนี้อยากคุยในประเด็นไหน ประเด็นนั้นมีความน่าสนใจไหม ประเด็นนั้นให้อะไรแก่ผู้รับ ซึ่งนี่ต่างหากคือที่มาของการตั้งคำถาม เมื่อตั้งประเด็นที่โดน ที่ใช่ การตั้งคำถามที่ใช่ ก็จะตามมา และนำไปสู่คำตอบที่ใช่เช่นเดียวกัน 

แล้วจะฝึกการตั้งประเด็นที่คมมากพอได้อย่างไร ? เมื่อผู้ตั้งประเด็นมีข้อมูลพื้นฐานที่มากและรอบด้านมากพอที่จะทำให้เห็นว่าประเด็นไหนมีความน่าสนใจที่จะนำเสนอให้กับผู้รับสารนั้น 

สำหรับผู้เขียนซึ่งเป็นพิธีกรสัมภาษณ์ และต้องตั้งประเด็นสัมภาษณ์เองนั้น ก็ต้องบอกตามตรงว่ายังไม่เก่งนัก และต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ความท้าทายคือ เราต้องทำสิ่งนั้นอย่างสม่ำเสมอและมากขึ้นทุกวัน ไม่หยุดพัฒนา แล้ววันหนึ่งคำถามของเราจะนำไปสู่คำตอบที่ใช่ได้แน่นอน 


เขียนโดย: ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Program Director THE STUDY TIMES 

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว" EP.6 อยาก 'เรียนต่อต่างประเทศ' จะยากแค่ไหนเชียว

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว"

EP.6 อยาก 'เรียนต่อต่างประเทศ' จะยากแค่ไหนเชียว

????พบ (พี่อ๊อด) กิตติเชษฐ์ เกื้อมา วิทยากร

????(กันต์) ธนพัฒน์ แจ่มปรีชา ผู้ดำเนินรายการ

????น้องน้ำฟ้า ช่วง 'Easy English with น้ำฟ้า' ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว

⏰วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน เวลา 2 ทุ่มตรง !

ติดตามรายการที่ช่อง THE STUDY TIMES

????Facebook : facebook.com/thestudytimes/

????YouTube : youtube.com/channel/UC2Sf0rVFuuSU2aQ5ioU34Lg

????TikTok : tiktok.com/@thestudytimes

.

ลุยสวิตจนเก่งภาษา คว้าโอกาส เข้าทำงานบริษัทในสวิตสำเร็จ กับ คุณตาล วัณย์ทิศากร | Click on Crazy EP.3

บทสัมภาษณ์ Click on Crazy EP.3 
วัณย์ทิศากร พิณแพทย์ (คุณตาล)
สาวไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์กว่า 20 ปี

Q : แนะนำตัวหน่อยค่ะ 

A : วัณย์ทิศากร พิณแพทย์ค่ะ ทำงานอยู่ที่ Private Bank Julius Baer ทำอยู่ในแผนก Documentation ทำงานประมาณ 4 วัน หยุด 3 วันเพื่อที่จะได้มีเวลาไปท่องเที่ยวค่ะ 

Q : ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประมาณกี่ปี 

A : 20 ปีค่ะ ปีนี้เป็นปีที่ 20 

Q : จุดเริ่มต้นของการไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 

A : ในอดีตตัวคุณแม่ได้ไปทำงานบ้านคนสวิต ตัวพี่เองไปรับ – ส่งแม่ตลอดเวลาเช้าเย็น แล้วก็ได้เจอกันกับแฟนชาวสวิต ในตอนนั้นพี่เรียนอยู่ที่ ปวส.อยู่เทอม 2 สอบอีกเทอมหนึ่งก็จะจบแล้ว แต่ก็ตัดสินใจไปอยู่สวิตเพราะแฟนถามว่าสนใจไหม ชอบหรือเปล่า แฟนของพี่อยากให้ลองมาใช้ชีวิตที่สวิตดูก่อน เพราะว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตรงบริเวณที่พี่อยู่ไม่ใช่แถวเมืองหลวง มีแต่ธรรมชาติ หญ้า แพะ แกะ วัว แฟนของพี่ก็กลัว ตอนนั้นเราก็อายุน้อย กลัวพี่อยู่ไม่ได้ 

Q : มีปัญหากับที่บ้านบ้างไหมในตอนนั้น

A : กับคุณแม่จะคอยซัพพอร์ต สนับสนุน คุณแม่ก็ได้มีการถามว่าจะไม่เรียนต่อ จะไม่สอบต่อใช่ไหม เหตุผลที่อยากไปคืออะไร พี่ก็ตอบไปว่า ถึงแม้จะเรียนปวสจบแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ใช้วุฒิตอนไปอยู่ที่นั้นอยู่ดี แต่กลับคุณพ่อไม่ยอม คุณพ่อบอกว่าต้องสอบก่อน ต้องเรียนให้จบก่อน เพราะคนที่เรียนไม่จบก็จะไม่มีค่าอะไร ค่านิยมคนไทยสมัยก่อน ต้องมีปริญญาบัตรติดฝาบ้าน แต่พี่ก็ไม่ยอม ก็ทะเลาะกับคุณพ่อไม่ยอมพูดด้วยเลย แล้วก็ตัดสินใจไปสวิตเซอร์แลนด์ 6 เดือน ในระหว่างนั้นก็โทรศัพท์คุยกับแม่ ไม่คุยกับคุณพ่อเลย 

Q : แล้วความรู้สึกแรกของการได้ไปใช้ชีวิตที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นอย่างไร เป็นอย่างที่เราคาดฝันไว้ไหม 

A : จริง ๆ พี่ไม่ได้คาดฝันอะไรไว้เลย นอกจากใส่กระโปรงสั้น ๆ รองเท้าบูท เดินแบบจูเลียร์ โรเบิร์ต (หัวเราะ) แต่ว่าพอถึงสนามบินผู้คนก็เยอะ พอเรานั่งรถไฟมาแล้วจริง ๆ ที่สวิตเซอร์แลนด์ให้ความรู้สึกเงียบ สงบ มีทะเลทราบซูลิค (Lake Zürich) วิวทิวทัศน์สวยงามมาก บ้านเมืองสะอาดมาก มีแต่หญ้า ไม่มีพื้นทราย พี่ก็รู้สึกตื่นเต้นเพราะเรายังเด็ก อากาศเย็นสบาย 

Q : มีเหตุการณ์แบบ Culture Shock บ้างไหม 

A : พี่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนปรับตัวเข้ากับทุกสิ่งได้ง่าย จะไม่ได้รู้สึกแบบ Culture Shock แต่มีความรู้สึกแบบ เอ๊ะ งง ๆ ในบางเหตุการณ์ เช่น การสั่งน้ำมูกบนโต๊ะอาหาร แล้วก็รู้สึกแปลกบางอย่าง อย่างตอนที่พี่อยู่ที่ประเทศไทยพี่ย้ายจากสัตหีบมาพัทยาแล้ว เมืองพัทยาเป็นเมืองที่ไม่เคยหลับใหล เปิดตลอดเวลา แต่พอมาอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ 6 โมงเย็นร้านค้าต่าง ๆ ก็ปิดหมดแล้ว ปิดเมืองเป็นเมืองร้าง วันอาทิตย์ก็ไม่มีอะไรเปิด ยิ่งถ้าเป็นวันหยุดเราต้องเตรียมเสบียงเพราะทุกอย่างจะปิดหมดเลย 

Q : พอเราไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์เราต้องไปเรียนภาษาบ้างไหม 

A : พี่เรียนภาษาที่นี่ประมาณ 4 เดือน เรียนที่โรงเรียน แล้วก็หลังจากนั้นก็เริ่มทำงาน เราเรียนภาษาแบบ Learning by Doing พูดคุยกับผู้คน มันก็ค่อย ๆ ซึมซับเข้ามาเอง 

Q : ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความหลากหลายทางด้านภาษาหรือไม่ 

A : ใช่ค่ะ เพราะว่าภาษาสวิตเป็นภาษาที่ไม่มีภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้พูดอย่างเดียว ภาษาเขียนก็จะใช้ตามพาร์ทของแต่ละภาษานั้น ๆ อย่างเช่นพี่อยู่ติดบริเวณประเทศเยอรมณี ก็จะใช้ภาษาเขียนของเยอรมณี เมืองที่ติดอยู่ใกล้ฝรั่งเศสก็จะใช้ภาษาเขียนของฝรั่งเศส อยู่ติดบริเวณไหนก็ใช้ภาษาเขียนนั้น ๆ

ตรงบริเวณที่พี่อยู่จะแปลกนิดนึงตรงที่เวลาเขียนใช้ภาษาเยอรมณีแต่พอพูดเราจะพูดภาษาสวิต เขาเรียกภาษาสวิต-เยอรมณี แล้วก็เราเวลาเราเรียนภาษาเยอรมณีเราก็จะเข้าใจ แต่คนเยอรมณีจะฟังภาษาสวิตไม่เข้าใจ ตรงกลางสวิตก็จะมีภาษาโรมัน แต่เป็นกลุ่มคนเล็ก ๆ ค่ะ

Q : การเรียนภาษาส่งผลให้ตัวคุณตาลได้เข้าทำงานที่ปัจจุบันหรือไม่

A : ใช่ค่ะ ทุกที่ ๆ พี่ทำงาน เวลาพี่ทำงานพี่ก็จะเขียนหนังสือส่งให้กับหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคล เพื่อที่จะขอเรียนต่อ คือเราไม่ต้องการจะเสียเงินเรียนเอง เราก็ต้องไปทำให้เขาเข้าใจว่าทำไมเราถึงอยากเรียนอันนี้ ถ้าเราเรียนแล้วเราจะสามารถพัฒนาองค์กรต่อไปได้อย่างไร พี่ก็เรียนไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จักเหนื่อย คนรอบข้างก็สงสัยว่าทำไมพี่ถึงต้องเรียนอีก 

Q : การเรียนทำให้คุณตาลได้เปรียบมากกว่าคนอื่นหรือไม่ 

A : แน่นอนค่ะ ตัวพี่เป็นคนที่ไม่รู้จักเบื่อที่จะเรียน หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกท้อและเหนื่อยในการเรียน แต่พี่รู้สึกว่าการเรียนทำให้ชีวิตเราดีขึ้น เอาจริง ๆ พี่มาประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยวุฒิม.6 ซึ่งมันไม่ได้อะไรอยู่แล้ว จุดมุ่งหมายของพี่เมื่อ 20 ปีที่แล้วคือพี่จะกลับมาทำงานออฟฟิศอีกครั้ง ตอนที่พี่อยู่เมืองไทยพี่เรียนไปด้วยและทำงานไปด้วย ด้วยความที่ร่างกายพี่ไม่ค่อยแข็งแรงพี่เลยอยากที่จะทำงานที่สบาย ๆ นิดนึง

อันนี้พี่พูดตรง ๆ นี่คือแรงจูงใจอีกอย่างนึง พี่เคยทำงานร้านสะดวกซื้อที่สวิตแล้วพี่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เพราะเรายกของหนักมาก ๆ เราก็คิดว่าเราคงไม่ไหวแน่ ๆ เราต้องได้งานดี ๆ ทำ เพราะฉะนั้นการเรียนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมาก ๆ เลยค่ะ แล้วก็พี่ประสบความสำเร็จแล้วก็ภูมิใจมาก ๆ ที่ได้ทำงานที่นี่

Q : ภาษาสวิตเซอร์แลนด์มีภาษาท้องถิ่นไหมคะ 

A : แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไป มีสำเนียงแตกต่างกันไปค่ะ ตรงที่พี่อยู่ใช้ภาษาสวิตเป็นหลักแต่จะมีสำเนียงเฉพาะตัว 

Q : คุณตาลเคยมีเหตุการณ์โดนบูลลี่บ้างไหมคะ จากเพื่อนร่วมงานหรือชาวสวิตบ้างไหมคะ  
A : จริง ๆ แล้วคนสวิตเป็นคนปิด จะไม่ค่อยเปิดเผย ส่วนใหญ่แล้วเขาก็จะเป็นคนเก็บความรู้สึกเก่ง แต่ก็จะมีบ้าง คนที่นี้จะคิดว่าเราเป็นคนใจดี บางครั้งบางคนก็จะคิดว่าเขาสามารถทำอะไรกับเราได้ก็มีบ้าง แต่ถึงขนาดบูลลี่พี่ยังเคยเจอ

เพราะแต่ละที่ ๆ ทำงานพี่ ทำงานให้เขาอย่างดี ไม่เคยมีปัญหาเรื่องความสามารถ แล้วก็เพื่อนพี่ส่วนใหญ่เป็นคนสวิต พี่รู้จักคนไทยที่นี่ไม่ค่อยเยอะ ส่วนใหญ่ก็จะพูดคุยกับคนสวิต คนไทยอยู่ในประเทศสวิตค่อนข้างเยอะ สังคมคนไทยก็จะรักกันเหนี่ยวแน่นมาก 

Q : ประสบการณ์การท่องเที่ยวของคุณตาลมีเหตุการณ์อะไรที่น่าประทับใจบ้าง

A : ต้องบอกก่อนว่าในแต่ละปีพี่จะตั้งเป้าหมายกับตัวเองไว้ 3 ข้อ มีข้อหนึ่งถึงเหมือนกันในทุก ๆ ปีเลยก็คือการไปท่องเที่ยวใน 3 ประเทศต่อปี ที่ทำงานก็จะมีเวลา vacation ประมาณ 5 อาทิตย์ เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องวางแพลนการท่องเที่ยวดี ๆ ถ้าถามว่าประเทศไหนที่ชื่นชอบที่สุดก็คือประเทศไอซ์แลนด์ พี่หลงรักในธรรมชาติของประเทศนี้มาก

อย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทิวทัศน์ธรรมชาติมีการจัดตกแต่ง แต่ประเทศไอซ์แลนด์เป็นทิวทัศน์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง แล้วพี่เคยไปเดินบนภูเขาไฟที่เคยระเบิดเมื่อ 150 ปีที่แล้ว พี่ขึ้นยืนบนนั้นแล้วมองลงมา ทำให้พี่รู้สึกว่าสิ่งที่เราอยู่มันช่างเล็กเหลือเกินเมื่อเทียบกับธรรมชาติ พี่เป็นคนที่ชื่นชอบธรรมชาติมากจริง ๆ เป็นอันดับหนึ่งในดวงใจ ส่วนอันดับสองก็น่าจะเป็น แคลิฟอร์เนีย ค่ะ 

Q : ในเรื่องของความสัมพันธ์คุณตาลมีอุปสรรคนเรื่องนี้หรือไม่ เนื่องจากเราเป็นคนไทย การใช้ชีวิต วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน

A : ไม่ค่อยนะคะ เพราะว่าพี่เป็นผู้หญิงไทยที่มีลักษณะนิสัยฝรั่งเยอะ พี่จะพูดตรง ๆ กับคนที่บ้านเรา กับคนอื่น ๆ เราอาจจะไม่ต้องพูดทุกคำกับคนที่เราคิดก็ได้ แต่กลับคนที่บ้านเราเราก็ต้องรู้ว่าเราจะพูดอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจกัน พี่จะไม่เก็บเอาไว้ถ้ามีอะไรที่พี่รู้สึกไม่ชอบใจ และแฟนพี่เองก็มีลักษณะนิสัยแบบคนไทยสูงมาก

ทำให้รู้สึกว่ามีความเข้ากันพอดี ส่วนเรื่องภาษาพี่มองว่าอาจจะไม่ได้เป็นอุปสรรคเท่าไร ตอนเริ่มที่จะคุยกันพี่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร คนเราถ้าอยากจะเข้าใจกันเราจะต้องหาทุกวิธีทางเพื่อที่จะได้เข้าใจกัน แต่ถ้าคู่ไหนที่ไม่อยากจะเข้าใจกันแล้วต่อให้พูดภาษาเดียวกันมันก็จะไม่เข้าใจกันอยู่ดี 

Q : คุณตาลมีเทคนิค เคล็ดลับในการเรียนทั้งภาษาและการเรียนเพิ่มทักษะส่วนตัวบ้างไหมคะ 

A : จริง ๆ พี่ไม่ได้มีเทคนิคส่วนตัวอะไรเลย พี่คิดอย่างเดียวคือพี่ต้องการใช้ชีวิตอยู่ที่สวิตอย่างเช่นคนสวิต ไม่ใช่คนต่างชาติ ถ้าเราตั้งธงเอาไว้แล้วให้เราเดินตามทางของเราได้เลย คือพี่ไม่อายที่จะพูดผิด ถ้าเราพูดผิดก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะไม่ใช่ภาษาของเรา และคนที่นี่ก็ไม่ได้มาหัวเราะที่เราพูดผิด แล้วเขาก็จะพยายามที่จะเข้าใจเรา แต่ถ้าคุณไม่พูดเลย คุณก็จะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย คนเราเรียนรู้จากความผิดพลาด 

Q : คุณตาลมีแพลนที่จะกลับมาเมืองไทยบ้างหรือไม่ 

A : ไม่เคยคิดที่จะกลับมาเมืองไทยเลย ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่แฟนก็ถามมาตั้งแต่แรกก่อนที่จะแต่งงานกันว่ามีแพลนจะกลับเมืองไทยไหม พี่ก็คิดว่าพี่ไม่ได้มีแพลนที่จะกลับมาเมืองไทยเลยนะ เพราะว่าถ้าเกิดพี่มีแพลนที่จะกลับไทย เราก็ต้องกลับมาทบทวนว่าเราควรจะอยู่ด้วยกันไหม แฟนพี่เขามีฟาร์มอย่างที่บอก เขารักและหวงมากเพราะเขาอยู่มาตั้งแต่เกิด เขาทำงานอยู่บริษัทไฟฟ้าและเขาก็ทำฟาร์มกับพี่ชายด้วย เขาทิ้งมันไปได้ เขาก็ถามตั้งแต่แรกเลยว่าอยากจะกลับไปอยู่ที่เมืองไทยไหม พี่ก็ตอบไปว่าไม่คิดเหมือนกัน ไม่คิดที่จะกลับไป

เพราะพี่ชินกับวัฒนธรรมที่นี้ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  พี่ชินกับความตรงต่อเวลา ขนส่งสาธารณะ พี่ก็ไม่รู้ว่าถ้ากลับไป พี่ก็มีพี่ชายอยู่คนเดียวแล้วก็ทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ พี่ก็ไม่รู้ว่าจะกลับไปเริ่มต้นอะไร แต่ในอนาคตพี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน

Q : เป้าหมายต่อจากนี้ของคุณตาล หรือความฝันต่อจากนี้คืออะไร 

A : เป้าหมายจริง ๆ ตอนนี้ไม่มีแล้ว คือเป้าหมายของพี่ก็ตั้งไปเรื่อย ๆ แต่ตอนนี้พี่บรรลุเป้าหมายแล้ว ณ ตอนนี้คือได้ทำงานที่นี้ ได้ทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ ชีวิตต่อไปนี้พี่ก็คงจะเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะชีวิตคือการเรียนรู้ การเรียนรู้มันไม่มีวันสิ้นสุด  เมื่อเราเรียนรู้ในอีกสเต็ปหนึ่งต่อไปเราก็อาจจะมีความคาดหวัง

อย่างในตอนนี้หัวหน้าของพี่ก็จะเกษียณในปีหน้า เขาก็มาถามว่าอยากจะขึ้นเป็นหัวหน้าแทนเขาไหม เพราะฉะนั้นตอนนี้พี่ก็เลยต้องพัฒนาตัวเองเผื่อเราจะได้ไปอยู่ในจุดนั้น ถ้าพี่ได้เป็นก็ถือว่าเป็นความสำเร็จในชีวิตพี่แล้วล่ะ ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวก็ต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ เพราะยังมีอีกหลายที่ ๆ อยากจะไป เป็นธงหลักของเราเลย 

Q : คุณตาลมีอะไรอยากที่จะเรียนเพิ่มเติม อยากพัฒนาเพิ่ม

A : ณ ตอนนี้อาจจะยัง แต่ถ้าสมมุติว่าได้รับการเสนอชื่อเป็นหัวหน้าก็คงต้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการบุคคล คนที่เป็นหัวหน้าคนเขาอาจจะไม่ได้เรียนในสิ่งนี้ อาจจะทำงานแล้วได้เลื่อนตำแหน่งแล้วอาจจะไม่ได้ต่อยอด การปกครองคนต้องใช้หลักจิตวิยาเยอะ ถ้าพี่มีโอกาสก็อยากที่จะเรียนในจุดนี้เพิ่ม

Q : อยากให้คุณตาลฝากข้อคิด แนวทางถึงคนที่อยากมาอยู่ในต่างประเทศ

A : คือจริง ๆ แล้วการมาอยู่ที่ต่างประเทศอาจจะขึ้นอยู่กับเวลา เราไม่สามารถบอกได้ว่าเราเดินทางไปถึงจุดนั้นหรือเปล่า แต่สิ่งที่สำคัญคือการเตรียมตัว คุณต้องมีธงในใจและต้องพัฒนาตัวเอง มุ่งมั่น อย่าหยุดพัฒนาตัวเอง เมื่อใดที่คุณหยุดพัฒนาตัวเอง คุณก็จะอยู่กับที่ มันจะก้าวไปต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อย ๆ ทั้งด้านภาษาหรือทักษะอะไรก็ตาม อ่านให้เยอะ

อย่างเรื่องภาษาดูหนังให้เยอะ ฟังเพลง ก็ถือว่าเป็นการเรียนทั้งหมด ส่วนตัวพี่เองชอบร้องเพลงภาษาอังกฤษ เนี่ยคือการเรียนภาษา แต่พอมาอยู่สวิตแล้วก็ต้องมาเรียนภาษาสวิต แฟนพี่พาไปเที่ยวทุกที่และพี่ไม่เบื่อที่จะไป พี่ไปนั่งฟังเขาสื่อสารกัน พี่ไม่เบื่อเพราะนั้นคือการเรียนรู้ทั้งหมด อะไรที่เป็นการเรียนรู้ให้เราลงมือทำและเราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างแน่นอน พี่มีความเชื่อที่ว่าความสำเร็จไม่ใช่เรื่องที่บังเอิญ เพราะฉะนั้นต้องมุ่งมั่นและเดินทางไปยังจุดนั้นของตัวเองให้ได้

.

.

.

อว. ก้าวข้ามกรอบทำงานรูปแบบเดิม อนุญาตบัณฑิตทุน พสวท. ใช้ทุนด้วยการทำงานในภาคเอกชน เดินหน้าร่วมเอกชนพัฒนาไทยไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน 10 ปี

ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมบัณฑิตทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปปฏิบัติงานในภาคเอกชน ว่า ภาคเอกชนนับเป็นภาคส่วนที่มีสัดส่วนในการลงทุนวิจัยและพัฒนากว่า 1.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของการลงทุนวิจัยและพัฒนาทั้งหมดของประเทศ 

ซึ่งแน่นอนว่าความต้องการบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนก็ต้องเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อให้สามารถรองรับการลงทุนวิจัยและพัฒนาได้ การปลดล็อกเพื่อให้บัณฑิตทุนไปทำงานภาคเอกชน จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการกำลังคนที่มีศักยภาพสูงของภาคเอกชน 

ซึ่งขณะนี้ อว. ได้ร่วมมือกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงความต้องการของภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐและบัณฑิตทุนเข้าด้วยกัน ภายใต้ชื่อ Talent Thailand Platform ที่มีทั้งระบบการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนที่มีศักยภาพสูงที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายและงานวิจัยขั้นแนวหน้า และการพัฒนาแพลตฟอร์มการใช้ประโยชน์กำลังคนที่มีศักยภาพสูงของประเทศ 

โดยในการดำเนินงานจะมีการส่งเสริมให้บัณฑิตทุนทุกคนได้รับการบ่มเพาะเพื่อเตรียมความพร้อมในการร่วมงานกับเอกชน และ ส.อ.ท. จะนำความเชี่ยวชาญของบัณฑิตทุนแต่ละคนมาวิเคราะห์เพื่อดูความเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับสนับสนุนให้ไปทดลองงานกับภาคอุตสาหกรรมอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 เดือน และหากภาคอุตสาหกรรมสนใจที่จะว่าจ้างบัณฑิตทุนต่อ ก็สามารถจัดทำเป็นสัญญาเพื่อดำเนินการจ้างต่อได้ 

ถือเป็นอีกก้าวที่การอุดมศึกษาจะเข้าไปเติมเต็ม ช่วยแก้ปัญหาการทำงานของภาคเอกชน และได้ก้าวข้ามกรอบการทำงานรูปแบบเดิมที่นักเรียนทุนต้องทำงานกับภาครัฐเท่านั้น โดยมุ่งหวังที่จะสามารถนำเอาศักยภาพของบัณฑิตทุนมาช่วยพัฒนาประเทศร่วมกับภาคเอกชนและเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน 10 ปี 

ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีพลิกโฉม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การเข้าสู่สังคมสูงวัย รวมถึงการเกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด -19 ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเร่งฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 

ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนวิจัยและพัฒนา การพัฒนากำลังคน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากกำลังคนผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศผ่านการดำเนินงานของทั้งภาครัฐและเอกชน 

แม้ที่ผ่านมา ประเทศไทยจะมีระบบส่งเสริมการผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพสูงผ่านการให้ทุนการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สามารถสร้างนักเรียนทุนรัฐบาลที่เป็นกำลังสำคัญที่จะใช้ความรู้และความสามารถช่วยพัฒนางานวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและนำไปสู่การพัฒนาสังคมได้อย่างต่อเนื่อง 

แต่นักเรียนทุนรัฐบาลส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษาแล้วจะมีรูปแบบการชดใช้ทุนโดยการบรรจุเข้าทำงานในหน่วยงานของภาครัฐ สถาบันวิจัยของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาตามหน่วยทุนต้นสังกัด และข้อจำกัดจากเงื่อนไขการชดใช้ทุนนี่เองที่ทำให้นักเรียนทุนบางส่วนไม่ได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ งานที่ได้รับมอบหมายขาดความท้าทายและไม่สอดคล้องกับความรู้และทักษะที่มี ทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการใช้กำลังคนอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาประเทศ
.
ปัจจุบันประเทศไทยมีนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ อาทิ ทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ทุนโครงการปริญญาเอกกาญนาภิเษก (คปก.) และทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย 

ซึ่งมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วรวมประมาณ 9,000 คน และกำลังศึกษาอยู่ประมาณ 6,000 คน และคาดว่าจะมีนักเรียนทุนที่สำเร็จการศึกษาประมาณปีละ 500-700 คน และจากข้อมูลของ พสวท. พบว่า จากพลวัตรที่โลกปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว บางสาขาที่บัณฑิตทุนสำเร็จการศึกษามาอาจมีความล้ำหน้าหรือเจาะลึกและใช้เครื่องมือเฉพาะทางที่มีเฉพาะในห้องปฏิบัติการต่างประเทศ ซึ่งอาจไม่ตรงกับความต้องการของงานวิจัยและการศึกษาในภาครัฐของไทยในปัจจุบัน จึงส่งผลให้บัณฑิตทุน พสวท. ยังรอเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนอยู่ถึง 53 คน โดยเป็นบัณฑิตระดับปริญญาเอก 42 คน และระดับปริญญาโท 11 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564) 

ดังนั้น การเปิดโอกาสให้บัณฑิตทุน พสวท. สามารถไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนที่มีกิจกรรมวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มข้น จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการใช้ประโยชน์กลุ่มกำลังคนศักยภาพสูง 


ที่มา : https://www.nxpo.or.th/th/8759/

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว" EP.5 เตรียมพร้อม เข้ามหาวิทยาลัยในไทย ต้องทำอะไรบ้าง ?

????คุยกับพี่อ๊อด "คุยง่ายๆ เรื่องการศึกษาใกล้ตัว"

EP.5 เตรียมพร้อม เข้ามหาวิทยาลัยในไทย ต้องทำอะไรบ้าง ?

????พบ (พี่อ๊อด) กิตติเชษฐ์ เกื้อมา วิทยากร

????(กันต์) ธนพัฒน์ แจ่มปรีชา ผู้ดำเนินรายการ

????น้องชมพู่ ช่วง 'ลมตะวันออก' ความรู้ดีดีและข่าวสาร จาก โลกตะวันออก

⏰วันเสาร์ที่ 4 กันยายน เวลา 2 ทุ่มตรง !

ติดตามรายการที่ช่อง THE STUDY TIMES

????Facebook : facebook.com/thestudytimes/

????YouTube : youtube.com/channel/UC2Sf0rVFuuSU2aQ5ioU34Lg

????TikTok : tiktok.com/@thestudytimes

.

.

ปริศนา กัมพูสิริ (โบว์ลิ่ง) | Click on Clever EP.16

บทสัมภาษณ์ รายการ Click on Clever EP.16
ปริศนา กัมพูสิริ (โบว์ลิ่ง) อาจารย์ นักแสดง พิธีกร นางสาวไทยประจำปี 2555
เปิดเคล็ดลับ สาวเก่งดีกรีนางสาวไทย เรียนดี กิจกรรมเด่น เป้าหมายต้องชัดเจน!!


Q: บทบาทในวงการบันเทิงหลากหลาย ทั้งพิธีกร นักแสดง วันนี้ผันตัวมาเป็นอาจารย์ อะไรคือจุดตัดสินใจให้มาเอาจริงเอาจังในฐานะ “ครู”

A: ตอนเด็กๆ เราเป็นเด็กที่พ่อแม่บอกให้เรียนอะไรแล้วเราก็จะเรียนตามที่พ่อแม่ชอบ แล้วก็ไม่เคยคิดเลยว่าอนาคตโตขึ้นไปฉันจะเป็นอะไร จนเราอยู่ ม.6 ตอนนั้นน่ะเป็นครั้งแรกที่เราได้เป็นกรรมการนักเรียนแล้วก็เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ พูดหน้าเสาธงที่โรงเรียนครั้งแรกเลย แล้วก็คือช่วงเวลาแรกในชีวิตที่เรารู้สึกว่าเราเจอสิ่งทำได้ดี คือการพูดต่อหน้าคนเยอะๆ แล้วเราก็รู้สึกมีความสุขมากที่สิ่งที่เราพูดออกไปมันมีประโยชน์ มีคนฟัง มันก็เลยทำให้ตอนนั้นเราคุยกับตัวเองว่าจบไปอยากเป็นอะไร 


 

ซึ่งเราก็มองความฝันไว้ 3 อย่าง คือ 1. ฉันจะต้องเป็นพิธีกร หรือ 2. ฉันต้องเป็นอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น เพราะตอนนั้นอินภาษาญี่ปุ่นมาก 3. ทำงานเกี่ยวกับในวงการ ที่เป็นการนำเสนออะไรบางอย่าง คือตอนนั้นเรายังไม่รู้หรอกว่ามันจะไปทางไหน แต่เรารู้ว่าเราชอบที่จะสื่อสาร เราก็เลยมองสามอาชีพนี้ ซึ่งเราก็ไม่รู้นะว่าในวันนี้เราจะได้ทำครบทุกอย่างที่เราเคยคิดเอาไว้ว่าเราอยากทำ

ความเป็นอาจารย์มันหายไปจากชีวิตช่วงนึง พอเรียนจบ ม.6 สอบติด มศว เอกการแสดงและกำกับการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ ตอนนั้นเราก็จอยมากกับการเรียนการแสดง พร้อมๆ กับเริ่มงานพิธีกรในวงการบันเทิง เพราะฉะนั้นความฝันที่มองไว้เราก็ปักธงว่าต้องเป็นนักแสดงกับพิธีกร โชคดีมากที่ตอนนั้นได้เริ่มงานในวงการตั้งแต่อยู่ปี 2 ก็คือเริ่มทำพิธีกร ก็เลยเหมือนเห็นความจริงในอาชีพว่าเราสามารถทำงานตรงนี้ได้ สามารถเติบโตได้ สามารถรับผิดชอบตัวเองได้จากอาชีพพวกนี้ ก็เลยทำให้เริ่มต้นการเป็นพิธีกรมาตลอด จนได้เป็นนางสาวไทยก็เลยได้เป็นนักแสดงด้วย 

แล้วถามว่าอาชีพอาจารย์กลับมาได้เมื่อไหร่ เราเป็นคนชอบการแสดงมาก พอเราได้ทำงานในวงการบันเทิงมันถึงจุดหนึ่งที่เราอิ่มตัว เรายังคงสนุกกับการแสดงมากนะคะ แต่มันไม่เหมือนฟิลลิ่งตอนสมัยเรียน เหตุผลเพราะตอนเรียน เราเรียน Pure Art หมายความว่าคุณสามารถที่จะคิด คุณสามารถที่จะสร้างสรรค์งานอย่างเต็มที่ในความเป็นคุณ มันคือศิลปะการแสดงแท้ๆ 

แต่วันนี้พอมาอยู่ในโทรทัศน์ เราว่ามันคือ commercial art มันจะไม่ได้มีกระบวนการขยี้ ค้นหาตัวละคร workshop เยอะๆ เหมือนสมัยเรียน เราก็สนุก มันมีความสนุกของมันอยู่ แต่ถึงวันนึงเราก็รู้สึกโหยหา Pure Art เราก็เลยรู้สึกว่ามันก็สนุกดีนะแต่เราได้เล่นบทกับช่อง 8 กี่เรื่องก็ต้องเรียบร้อย เราอยากเล่นแบบอื่น แต่ตรงเนี้ยมันไม่มีพื้นที่ให้เราทำ ด้วยภาพลักษณ์นางสาวไทยของเราด้วย เราก็รู้สึกว่าชีวิตมันเหี่ยวจังเลย มันมีอะไรที่ท้าทายที่เราอยากทำมากกว่านั้น เราก็เลยคิดว่าฉันก็โตแล้ว จบป.โท แล้ว ถ้าฉันทำไม่ได้ฉันไปสอนเด็กดีไหม มันก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามองหาอาชีพอาจารย์ 

Q: พอได้ไปสอนจริงมันตอบคำถาม หรือเติมเต็มเราไหม?

A: ดีมาก มีความสุขมาก พอได้มาสอนมันเหมือนเรามีมิชชั่นใหม่ในชีวิต ทุกปีเราก็จะเจอเด็กที่ต่างกันออกไป แล้วก็จะมีกิจกรรมให้เขาทำ ทำโปรเจคละครเวที ตอนนี้สิ่งที่เรากำลังพยายามทำอยู่คือผลักดันเด็กลงประกวดให้เยอะที่สุด มันสนุกมาก ทำให้เรากลับมามีชีวิตชีวาและมีแรง 

Q: เป็นเลิศทางวิชาการ และยังโดดเด่นเรื่องกิจกรรม เคล็ดลับสมัยเรียน ทั้งเรียนดี กิจกรรมเด่นคืออะไร?

A: จริงๆ แล้วเราไม่ได้มองว่าเราเป็นเลิศ แต่เรามองว่าเราเป็นบ้า เรามีความบ้าอะไรบางอย่างอยู่ ที่แบบฉันจะทำและฉันต้องทำให้ได้ อาจจะโชคดีที่เราได้เจอสิ่งที่รัก เราก็เลยรู้สึกไม่เหนื่อยเวลาที่เราทำมัน แล้วก็เลยสนุกกับมันแบบมากๆ เราก็เลยทำมันได้ค่อนข้าง…อาจจะไม่ได้ดีที่สุดหรอก แต่มันดีในระดับที่เราพอใจ

อยากตอบในสองประเด็น ประเด็นแรกคือประเด็นว่าตัวเราเวลาทำงาน เราคิดยังไง กับประเด็นที่สองคือเวลาเด็กเราทำงาน เราคิดกับเด็กยังไง มันไม่เหมือนกัน ถ้าสมมุติเวลาเราทำงาน ทำไมเราทำงานแล้วสำเร็จ อย่างที่บอกว่าเราโชคดี มันเป็นงานที่เราชอบ มันเป็นงานที่เรารัก เพราะฉะนั้นเราไม่ใช่คนเก่ง แต่เราคือคนขยัน ซึ่งคนอื่นจะบอก ไม่จริงอ่ะ เก่ง แต่ความจริงเรารู้ตัวว่ากว่างานมันจะออกมา 1 ชิ้น เราใช้เวลากับมันเยอะมาก คนเห็นมันแค่ปลายทางที่สำเร็จ คนก็เลยตัดสินว่าเราเก่ง ทั้งที่ความจริงเขาไม่มาเห็นกระบวนการว่าเราทำเยอะแค่ไหน 

มันเป็นสิ่งที่คนอื่นตัดสินเรา แต่ความจริงเรารู้ตัวว่าเราแค่ทุ่มเทกับมัน อย่างที่บอกว่าเราเป็นคนบ้า เวลาเราบ้าอะไรสักอย่างเราจะอินมันมาก เพราะฉะนั้นเรามองว่างานมันไม่มีคำว่าดีที่สุดหรอก มันมีแค่ดีที่สุดเท่าที่เราทำได้ ณ เวลานั้น เราเลยไม่ตัดสินว่าดีที่สุดคืออะไร แต่เราแค่คิดว่าดีที่สุดเท่าที่เราทำได้ ณ เวลานั้น มันก็คือคอมพลีทในความรู้สึกเราแล้ว เราก็เลยไม่อยากให้ทุกคนคาดหวังกับคำว่าดีที่สุด เริ่ดที่สุด เรารู้สึกว่าถ้าคุณเต็มที่แล้วมันดีที่สุดเท่าที่ทำได้ มันคือจบ

แต่กลับกันพอพูดถึงเรื่องเด็ก มันมีประเด็นหนึ่งที่เราคุยกับเด็กบ่อยมาก แล้วเราอยากแชร์ เด็กหลายๆ คนจะบอกว่า อาจารย์โชคดี ได้ทำสิ่งที่รัก อาจารย์เจอว่าชอบอะไร แต่หนูไม่มี แล้วถ้าหนูไม่ชอบจะทำดีที่สุดได้ยังไง เราก็เลยมานั่งคิด สิ่งที่เราพูดกับเด็กเสมอคือ คนทุกคนนะอุดมคติมันจะบอกว่า เฮ้ย เราต้องเรียนสิ่งที่เราอยากจะเป็น เราต้องเรียนจบไปแล้วได้ทำในสิ่งที่ฝันเอาไว้ เราต้องประสบความสำเร็จ นั่นคืออุดมคติ แต่ในความเป็นจริงชีวิตมนุษย์ทุกคนไม่ได้เป็นแบบนั้น 

เราก็เลยรู้สึกว่าอุดมคติคือให้หาความฝันให้เจอ ถ้าคุณเจอแล้วคุณได้ทำ คุณคือคนโชคดี แต่ถ้าเกิดคุณไม่เจอล่ะ เราก็จะบอกเด็กกลุ่มนั้นว่า ไม่ผิด เพราะในชีวิตความเป็นจริงมันไม่ใช่อุดมคติแบบนั้น ถ้าคุณไม่รู้ว่าคุณชอบอะไร ไม่รู้ว่าจบไปแล้วจะสำเร็จไหม คุณคือคนส่วนมากค่ะ

เราคิดว่าสิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากความฝันคือ เป้าหมาย ในชีวิตคนเราควรจะมีเป้าหมายบางอย่าง เพราะถ้าเกิดคุณไม่มีเป้าหมายเลยคุณจะใช้ชีวิตลอยไปเรื่อยๆ แต่กลับกันเมื่อไหร่ที่คุณเริ่มตั้งเป้าหมาย มันจะทำให้คุณรู้ว่าคุณต้องเดินไปที่ไหน แล้วจะเดินไปยังไง เราก็เลยบอกเด็กว่า ถ้าจบไปแล้วตอนนี้คุณไม่รู้ว่าคุณอยากเป็นอะไร ไม่ผิดเลยค่ะ แต่คุณต้องตั้งเป้าหมาย 

Q: ทำงานมาเยอะ และกำลังศึกษาปริญญาเอก เป็นว่าที่ ดร. คิดว่าดีกรี มีความสำคัญมากน้อยขนาดไหนในการหางาน? 

A: สาบานเลยนะไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเรียน ป.เอก เป็นสิ่งที่เราไม่อยากทำ แต่เรารู้ว่าถ้าอยากเป็นอาจารย์ สิ่งนี้จำเป็น เราจึงต้องทำ ถึงแม้เบื้องต้นเราจะไม่อยากทำ แต่เราก็ทำมันอย่างเต็มที่นะคะ แล้วก็ตั้งใจทำมันมากๆ ด้วย เพราะมันคือเป้าหมาย คือความจำเป็นในชีวิตของหน้าที่การงานทางสายวิชาชีพครู 

การศึกษาที่เป็นวุฒิมันไม่ได้สำคัญเท่ากับประสบการณ์ชีวิต เรามองว่าความฉลาด ความเก่งของเด็กมันมีหลายทาง เพียงแต่ประเทศไทยของเราหรือวงการการศึกษามันอาจจะยังมีกรอบของเรื่องวุฒิ แต่จริงๆ เรามองว่า คุณค่าความฉลาดของคนมันไม่ได้วัดกับการศึกษาอย่างเดียว เด็กบางคนเรียนไม่เก่ง แต่ว่าเขาอาจจะมีความพิเศษบางอย่างซึ่งเก่งมากก็ได้ การศึกษามันไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน ไม่มีประโยชน์เลยถ้าคุณเรียนเก่งมาก แต่ใช้งานมันไม่เป็น เราเป็นสายปฏิบัติ เลยไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องเรียนป.เอก แต่อย่างที่บอกว่ามันคือความจำเป็นในสายวิชาชีพ เราก็เลยต้องเรียนแล้วเราก็ต้องตั้งใจทำ

Q: ตอนนี้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ไหนคะ?

A: ตอนนี้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาค่ะ สาขาวิชาสื่อดิจิตอล เป็นสาขาเปิดใหม่ก็เลยยังรู้สึกสนุกกับการทำหลักสูตรและท้าทายมาก

Q: ทำงานทั้งในวงการบันเทิงและวงการการศึกษา ในยุค Digital Disruption และถูกเร่งด้วยโควิด-19 ทำงานยากขึ้นมากไหม?

A: เราว่าทั้ง 2 วงการถูก Disruption ทั้งคู่ เพียงแต่ช่วงเวลาของการ Disrupt อาจจะแตกต่างกัน จริงๆ มันมีบทความวิจัยเกี่ยวกับ Digital Disruption ของต่างประเทศอยู่ เขาบอกว่าอย่างแวดวงสื่อสารมวลชนมันจะอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า short fuse big bang หมายความว่า พอเกิด Digital ขึ้นเนี่ย ชนวนมันสั้นมาก ติดแปบเดียว ผลกระทบระเบิดรุนแรงมาก สื่อสารมวลชนถูก Disruption เร็วและแรงมาก ก่อนโควิดจะมาแล้วด้วยซ้ำ ถามว่า Covid มามันกระทบมากไหม มันกระทบแหละ กองถ่ายละครอะไรก็หยุดหมด มันรุนแรงแต่ว่ามันเกิดมาพักใหญ่ๆ แล้ว และมันก็มีหลายคนที่เขาเริ่มปรับตัวได้ เพราะฉะนั้นเรามองว่ามันแรงมันเร็ว แต่มันก็มีกลุ่มคนที่ปรับตัวได้ คนที่ปรับตัวช้าหน่อยอาจจะลำบาก

แต่กลับกันวงการการศึกษา จากงานวิจัยเขาบอกว่า วงการการศึกษาเป็น long fuse big bang หมายความว่า หลังเกิด Digital Disruption ขึ้นมาเนี่ยกินเวลาเป็น 10 ปี นานกว่าเราจะได้รับผลกระทบ แต่เขาบอกว่า เมื่อได้รับผลกระทบแล้ว อนาคตการศึกษาจะเป็นยังไง เด็กจะไม่ต้องมาเรียนที่มหาลัย เด็กจะเรียนออนไลน์ อยากเรียนอะไรก็เรียน ไม่ต้องจบปริญญา พอโควิดมามันเหมือนบังคับมาเขย่าวงการการศึกษาว่าทุกคนต้องโดดลงไปในแพลตฟอร์มเดี๋ยวนี้ มันกระทบทุกวงการ แต่การศึกษากระทบหนักมาก 

Q: คำแนะนำเพื่อการปรับตัวของคนทั้งในวงการบันเทิงและวงการการศึกษา 

A: มันก็กลับไปที่เรื่องเดิม อะไรที่เราต้องทำ ในฐานะที่เราเป็นนักแสดงในวงการ เรามองว่าเราอาจจะเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ไม่ใช่คนที่จะสามารถขับเคลื่อนทั้งหมดได้ แต่เราพร้อมที่จะสนับสนุนให้ความร่วมมือ หมายความว่าถ้ากองถ่ายขอความร่วมมืออะไร เรายินดีที่จะให้ความร่วมมือแล้วก็เดินไปกับเขา แต่เราไม่ใช่ตัวเฮด เพราะฉะนั้นเราอาจจะเป็นแค่ฟันเฟืองเล็กๆ ในการที่จะขับเคลื่อนมัน เราอาจจะมีบทบาทในส่วนนี้ไม่มากเท่าไหร่ 

แต่กลับกันในวงการการศึกษา ในฐานะที่เป็นอาจารย์ เราเป็นเหมือนหัวเรือที่จะต้องวางแผน คิด ทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เด็กเดินตามไปกับเรา ตอนนี้เราค่อนข้างจะโฟกัสกับเรื่องกระบวนการศึกษามากกว่า 

Q: เป้าหมายในการทำงานในวงการการศึกษาคืออะไร?

A: ณ วันนี้ด้วยความที่สาขาเราใหม่ เด็กยังไม่เยอะ เครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์เราอาจจะไม่มีเท่ากับมหาลัยที่เขาเปิดมานานแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือเด็กที่จบไปของเรา เขารู้สึกว่าเขาสู้สถาบันใหญ่ๆ ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เรารู้สึกว่า อาจารย์ที่สาขาเราเจ๋งนะ อย่างคนที่เป็นหัวหน้าสาขาก็เป็นผู้กำกับจริง ที่ตอนนี้ก็ยังทำงานกำกับอยู่ในแวดวงโฆษณา เพราะฉะนั้นคนที่มาสอนคุณน่ะคือคนที่มีประสบการณ์ทำงานจริง เป็นผู้กำกับจริง ทุกวันนี้ก็ยังอยู่ในวงการจริง ก็เลยวางเป้าหมายปีนี้เอาไว้เลยว่า จะส่งเด็กทุกคนประกวด ถ้าเราผลักดันให้เขาประกวด แล้วเขาได้รางวัลกลับไป อันนี้คือสิ่งที่อาจจะสร้างความมั่นใจให้เขามากขึ้น 

Q: อะไรที่เป็นแรงผลักดันในการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพมากขึ้นในทุกๆ ย่างก้าว? 

A: จากใจเลย ไม่เคยคิดว่าฉันจะใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ ไม่เคยคิดเลยว่าฉันจะต้องประสบความสำเร็จ แค่ตอนนี้เราทำอะไรอยู่ และอยากทำให้มันดีที่สุด อาจจะเพราะมีความ perfectionist นิดนึง เราจะรู้สึกมีความสุขเวลาเราทำอะไรบางอย่างสำเร็จ แล้วมันดี มีคนชมหรือเห็นคุณค่า เราจะรู้สึกว่านี่แหละ! 

ด้วยความที่ธรรมชาติเราอาจจะเป็นคนแบบนี้อยู่แล้ว ก็เลยรู้สึกสนุกกับสิ่งต่างๆ ที่มันเข้ามาในชีวิต แล้วทำให้รู้สึกว่าเราอยากทำ แล้วด้วยความที่เราไฮเปอร์ อะเลิทด้วย เราก็เหมือนมีแรงที่จะทำอะไรตลอดเวลา

.

.

.

.

อว. เดินหน้าโครงการ "อว. ลดค่าเทอม" ตามนโยบายรัฐบาล เบิกจ่ายเงินส่งให้มหาวิทยาลัยที่ยืนยันข้อมูลครบถ้วนแล้ว 29 แห่ง จำนวน 2,250 ล้านบาท ย้ำเงินทุกบาทที่รัฐสนับสนุนต้องถึงมือนักศึกษา

ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ อว. ดำเนินโครงการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 นั้น ขณะนี้ ได้เริ่มการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการ "อว.ลดค่าเทอม" แล้วตั้งแต่วันที่พฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564 

สำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง เสนอครบถ้วนแล้ว มีจำนวน 29 แห่ง รวมเป็นเงิน 2,250 ล้านบาท ซึ่งมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาจะนำไปใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2564 ในสัดส่วนเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ได้แจ้งไปแล้ว โดยเน้นย้ำให้กระบวนการอนุมัติงบประมาณมีความรวดเร็ว รอบคอบ รัดกุม ขั้นตอนจ่ายเงินขอให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส สามารถติดตามตรวจสอบการจ่ายเงินทุกขั้นตอน ไม่ให้เกิดการทุจริตอย่างเด็ดขาด

รมว.อว. กล่าวต่อว่า ทางอว. ได้เร่งติดตามและตรวจสอบระบบการเบิกจ่ายเงินอย่างใกล้ชิด โดยเงินทุกบาทที่รัฐบาลสนับสนุน ต้องถึงมือนิสิตนักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยจะจ่ายเงินคืนกับนิสิตนักศึกษาที่ได้ชำระค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาไปแล้วหรือใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับผู้ที่กำลังจะชำระเงิน โดยทางมหาวิทยาลัยไม่เก็บเงินดังกล่าวไว้แต่อย่างใด

ด้าน ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. รายงานเพิ่มเติมว่า สำนักงานปลัด อว. ได้ตั้งศูนย์ประสานงานเรื่องดังกล่าวและทำงานร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.), ที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล( ทปอ.มทร.), สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษานอก อว. กันอย่างใกล้ชิด ใช้ระบบฐานข้อมูลการอุดมศึกษากลางของประเทศ ซึ่งดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมาก 

โดยเมื่อสภาพัฒน์ สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังได้ตรวจสอบโครงการแล้ว ส่งต่อให้กรมบัญชีกลางเพื่อโอนเงินโครงการนี้มาให้ อว. ซึ่ง อว. ได้สั่งการเบิกจ่ายไปยังมหาวิทยาลัยที่ได้จัดส่งและยืนยันข้อมูลเข้ามาครบถ้วนแล้วในสัปดาห์เดียวกันเลย

 “การดำเนินงานต่างๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม อว. ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ให้เร่งตรวจสอบและยืนยันข้อมูลนักศึกษาส่งมาที่กระทรวงโดยเร็ว เพื่อดำเนินการอนุมัติเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาต่อไป” ปลัด อว. สรุป


ที่มา : Facebook Page : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://www.facebook.com/184257161601372/posts/4931132673580440/

กระทรวงศึกษาธิการ โอนเงินเยียวยานักเรียน 2,000 บาท เริ่ม 1-7 ก.ย. เช็กช่องทางตรวจสอบสิทธิ ผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ https://student.edudev.in.th

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีมาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนักเรียนและนักศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ขณะนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินการ โดยมีความคืบหน้าดังนี้

กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้เริ่มการเบิกจ่ายเงินสำหรับโครงการ “อว.ลดค่าเทอม” แล้วตั้งแต่ 26 ส.ค. 64 สำหรับมหาวิทยาลัยและสถาบันที่ได้จัดส่งข้อมูลผ่านการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง ขณะนี้มีจำนวน 29 แห่ง รวมเป็นเงิน 2,250 ล้านบาท ซึ่งมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาจะนำไปใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคเรียนที่ 1/2564 ในสัดส่วนเงินสนับสนุนจากรัฐบาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้เร่งติดตามและตรวจสอบระบบการเบิกจ่ายเงินอย่างใกล้ชิด เงินทุกบาทที่รัฐบาลสนับสนุน ต้องถึงมือนิสิตนักศึกษา คืนให้กับคนที่ได้ชำระค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาไปแล้ว หรือใช้ลดค่าเทอมและค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับผู้ที่กำลังจะชำระเงิน โดยมหาวิทยาลัยไม่เก็บเงินดังกล่าวไว้แต่อย่างใด 

ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้เร่งตรวจสอบและยืนยันข้อมูลนักศึกษาส่งมาที่กระทรวงโดยเร็ว เพื่อดำเนินการอนุมัติเบิกจ่ายแก่สถาบันที่เหลือ อีกประมาณ 100 กว่าแห่ง ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาต่อไป

ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 2,000 บาท กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับงบประมาณ จำนวน 1.95 หมื่นล้านบาท สำหรับเด็กนักเรียน 9.79 ล้านคน เมื่อ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา และทำการจัดสรรไปยังหน่วยงานที่กำกับดูแลแล้ว ได้แก่

 - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท ทั้งการรับเงินโอนเข้าบัญชี หรือรับเงินสดที่โรงเรียน

- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท ทั้งการรับเงินโอนเข้าบัญชี หรือรับเงินสดที่โรงเรียน

- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท ทั้งการรับเงินโอนเข้าบัญชี หรือรับเงินสดที่สถานศึกษา

- สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รับเงินเยียวยานักเรียน คนละ 2,000 บาท โดยรับเงินสดที่สถานศึกษา 

ทั้งนี้ ผู้ปกครองที่ไม่ได้รับเงินภายในเวลาดังกล่าว ขอให้ติดต่อโรงเรียนที่บุตรหลานศึกษาอยู่ หรือโทร หมายเลข 1579 / 1693

“นายกรัฐมนตรีกำชับให้ทั้งสองกระทรวง ติดตามตรวจสอบระบบการจ่ายเงินอย่างใกล้ชิด ทุกขั้นตอน ไม่ให้มีการทุจริต ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และต้องถึงมือผู้ปกครองนักเรียน และนักศึกษาอย่างครบถ้วน ” น.ส.รัชดา กล่าว

สำหรับ ช่องทางเช็กสิทธิรับเงินเยียวยา 2,000 บาท สามารถเข้าตรวจสอบสิทธิ ได้ที่ https://student.edudev.in.th โดยระบบจะให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนของนักเรียน เลขประจำตัวนักเรียน เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
 

จีนออกคำสั่งเฉียบขาด!! หั่นชั่วโมงเล่นเกมเด็กจีนเหลือเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน เฉพาะสุดสัปดาห์ สกัดโรคติดเกม ละลายชั่วโมงครอบครัวบนโลกเสมือน

รัฐบาลจีนได้ออกคำสั่งตรงถึงผู้ให้บริการเกมออนไลน์ในจีน จำกัดการเข้าถึงของผู้เล่นเกมที่เป็นเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ให้สามารถล็อคอินเล่นเกมได้ในช่วงเวลา 20.00 - 21.00 น. เฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าเด็กจีนสามารถเล่นเกมออนไลน์ได้เพียง 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จีนมีนโยบายจำกัดการเล่นเกมออนไลน์ของเยาวชน เมื่อปี 2019 จีนได้ออกระเบียบที่ระบุว่าเยาวชนไม่ควรเล่นเกมเกินวันละ 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อป้องกันปัญหาการติดเกมในเยาวชน ที่เปรียบเหมือนกับการติดยาเสพติดทางจิตใจที่จะส่งผลเสียต่อเด็กทั้งทางสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอย่างมากในอนาคต

นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังระบุว่า ผู้สมัครใช้บริการเกมออนไลน์ จะต้องลงทะเบียนด้วยชื่อจริง และข้อมูลจริงเท่านั้น และจำกัดวงเงินในการเติมเกมสำหรับผู้เล่นเยาวชนอายุต่ำกว่า 16 ปี ใช้ได้ไม่เกิน 200 หยวนต่อเดือน หากอายุ 16-18 ปีใช้ได้ไม่เกิน 400 หยวนต่อเดือน โดยทางการจีนจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบระบบผู้ให้บริการออนไลน์อยู่เสมอเพื่อให้มั่นใจว่า มาตรการใหม่นี้จะมีการบังคับใช้จริงอย่างเคร่งครัด

มาคราวนี้มีการยกระดับให้เข้มยิ่งกว่าเดิม จำกัดช่วงเวลา เหลือเพียง 1 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า คำสั่งของรัฐบาลจีนนี้มีผลกระทบกับผู้ให้บริการเกมออนไลน์ รายใหญ่ของจีนอย่าง Tencent และ NetEase ที่มีข่าวว่าหุ้นร่วงลงทันทีที่รัฐบาลจีนออกมาตรการจำกัดการเล่นของผู้ใช้งานกลุ่มเยาวชน ที่มีมากกว่า 110 ล้านคนทั่วประเทศ และที่สำคัญ จีนมีตลาดเกมออนไลน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น

จึงไม่แปลกที่นโยบายการจำกัดชั่วโมงเล่นเกมออนไลน์ของเด็กจีน ถูกโยงไปถึงนโยบายของรัฐบาลจีน ที่ต้องการตัดตอนบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยี ที่มีเครือข่ายผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์จำนวนมหาศาลในจีน อย่าง Alibaba, Tencent, Baidu, Didi หรือ Meituan ไม่ให้มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในจีนมากเกินไป

แต่ทั้งนี้ จีนก็ได้ออกมาตรการหลายๆ อย่าง เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพเยาวชนจีนรุ่นใหม่ อาทิ การยกเลิกระบบการสอบในชั้นเรียนของเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี เพื่อลดความกดดันในการสอบแข่งขันตั้งแต่ในวัยเด็ก

นโยบายงดการเรียน การสอนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ห้ามธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และต้องจดทะเบียนในรูปแบบองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง ที่ต้องเสียให้แก่โรงเรียนกวดวิชานอกชั่วโมงเรียน แทนที่เด็กจะเรียนอย่างเต็มที่ในชั้นเรียน และมีเวลาว่างเหลือให้ใช้ร่วมกับครอบครัวในวันหยุด

แต่สุดท้าย การพัฒนาคุณภาพของเด็กจีนจะดีขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาลหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคนในครอบครัวเป็นสำคัญ ว่าจะสามารถดึงความสนใจของเด็กจากหน้าจอ สู่ครอบครัวได้มากน้อยเพียงใด

.

อ้างอิง

BBC

The Guardian


โดย Jeans Aroonrat


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top