Wednesday, 17 April 2024
Soft News Team

ทุกๆ ปีมหาวิทยาลัยจีนแต่ละแห่ง มักจะสรรค์สร้างจดหมายตอบรับนักศึกษาใหม่ได้อย่างครีเอท แฝงไปด้วยความหมาย สตอรี่และลูกเล่นไว้มากมาย เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่นักศึกษาใหม่ก่อนก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย

ชวนทุกคนไปส่อง จดหมายตอบรับนักศึกษาใหม่ประจำปี 2021 ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งในแดนมังกร จะมีหน้าตาและความพิเศษยังไงกันบ้าง ไปดูกันเล้ย

1. มหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua university)

ม.ชิงหวา มหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของจีน สำหรับปีนี้จดหมายตอบรับเข้าเรียนของม.ชิงหวายังคงคอนเซ็ปต์คล้ายกับปีก่อนๆ คือในรูปแบบของการ์ดพับได้ และเมื่อเปิดออกมาจะมีโมเดลแกะสลักประตูโบราณอันเป็นสัญลักษณ์ของม.ชิงหวาแบบ 3 มิติเด้งออกมาจากการ์ด

ความพิเศษของจดหมายตอบรับเข้าเรียนม.ชิงหวา อยู่ที่เทคนิคการแกะสลักโดยใช้เลเซอร์ ซึ่งจะทำให้การ์ดมีสีสันสวยงามและคงทนยิ่งขึ้น ทั้งนี้โครงสร้างโมเดล 3 มิติก็แข็งแรงอีกด้วย

2. มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (Fudan University)

สำหรับใครที่เป็นนักศึกษาใหม่ของม.ฟู่ตั้น นอกจากจะได้รับเอกสารตอบรับเข้าเรียนแล้ว ยังได้รับของขวัญสุดน่ารักเป็นแท็กติดกระเป๋าเดินทาง และโคมกระดาษขนาดเล็กที่แกะสลักเป็นรูปฤดูกาล 4 ฤดูในม.ฟู่ตั้น

ทั้งนี้ นักศึกษายังสามารถเขียนความปรารถนาของตัวเองลงในการ์ดที่ติดอยู่กับโคมกระดาษได้อีกด้วย

3. มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiaotong University)

จดหมายตอบรับเข้าเรียนของม.เซี่ยงไฮ้เจียวทงในปีนี้มีการออกแบบที่แฝงไปด้วยประวัติอันยาวนานกว่า 125 ปีของมหาวิทยาลัย ภายนอกกล่องถูกดีไซน์แกะสลักเป็นรูปประตูมงคลสีแดง-ทอง เปรียบดั่งประตูต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่ พร้อมมีตราสัญลักษณ์ฉลองครบรอบ 125 ปีของมหาวิทยาลัยใช้เป็นกลอนสำหรับล็อคประตูมงคลนี้

4. มหาวิทยาลัยหนานจิง (Nanjing University)

สำหรับจดหมายตอบรับเข้าเรียนของม.หนานจิงปีนี้มาในธีมที่ชื่อว่า “จุดประกายจักรวาลที่ไม่สิ้นสุดของคุณ” ภายในบ๊อกซ์เซตจะแบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้บริเวณรอบๆ กล่องยังถูกออกแบบตกแต่งไปด้วยกลุ่มดวงดาวมากมาย

5. มหาวิทยาลัยหนานไค (Nankai University)

 

สำหรับม.หนานไค จะใช้สีม่วงดอกบัวชิงเหลียนเป็นหลัก เนื่องจากเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ด้านในถูกออกแบบให้มีลูกเล่นขยับเปลี่ยนภาพจากพระอาทิตย์เป็นพระจันทร์ได้ นอกจากนี้ม.หนานไคยังให้ของขวัญแก่นักศึกษาใหม่เป็นเมล็ดบัวจากเมืองเจียซิง มณฑลเจ้อเจียงจำนวน 2 เมล็ด เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) เพราะเมืองเจียซิงเป็นสถานที่ในการจัดประชุมครั้งแรกของพรรคคอมมิวนิสต์

6. สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน (Harbin Institute of Technology)

อีกหนึ่งจดหมายตอบรับที่ได้รับความสนใจ นั่นก็คือจดหมายของสถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน ซึ่งมีความโดดเด่นตรงที่ใช้วัสดุเลเซอร์ จึงทำให้ดูเหมือนสามารถส่องแสงได้ แต่ความจริงแล้ววัสดุนี้ไม่สามารถเปล่งแสงได้เอง ทว่าเมื่อเจอแสงส่องกระทบ ก็จะทำให้เรามองเห็นแสงสะท้อนเป็นสีต่างๆ จุดนี้ได้แฝงความหมายเอาไว้ว่า ตราบใดที่ยังมีเวทีมีแสงไฟ สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บินก็ยังคงส่องประกายแสงระยิบระยับเสมอ

7. มหาวิทยาลัยการบินพลเรือนหนานจิง (Nanjing University of Aeronautics and Astronautics)

จดหมายตอบรับเข้าเรียนของม.การบินพลเรือนหนานจิงปีนี้ ได้สร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับเหล่านักศึกษาใหม่ เพราะมาในธีมของ ‘Blind Box’ หรือกล่องสุ่ม

ภายในประกอบไปด้วยรูป 3 มิติของจรวด Long March 5 ดาวเทียมเป่ยโต่ว และรูปเครื่องบินโดยสาร C919 ทีกำลังทะยานทะลุเมฆสู่ท้องฟ้า ทั้งหมดนี้เป็นผลงานสำคัญระดับประเทศที่ม.การบินพลเรือนหนานจิงได้ร่วมวิจัยและพัฒนาขึ้นมานั่นเอง

บอกได้เลยว่าแต่ละมหา’ลัย แฝงทั้งความครีเอทและสตอรี่ที่น่าสนใจแบบไม่มีใครยอมใคร แล้วเพื่อนๆ ล่ะคะชอบของที่ไหนกันบ้างเอ่ย?


ที่มา :

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=327409505697161&id=113059767132137
http://en.people.cn/n3/2021/0630/c90000-9867030-5.html
https://www.globaltimes.cn/page/202106/1227416.shtml
https://mp.weixin.qq.com/s?__biz=MzIxNzUzODY1OA%3D%3D&idx=1&mid=2247528024&sn=1f4cf793f1ec06f2e0f554d3fddca426
http://thai.cri.cn/20210630/33b473db-b47d-ceb8-5977-d59cee1462fe.html
 

อิทธิพลสื่อมีมากขึ้น ทำให้เด็ก ๆ ได้รับสื่อจากต่างประเทศ วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลให้ลูก ๆ มีความชื่นชอบ และ ติดตามอย่างบ้าคลั่งจนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนเรียกว่า “ ติ่ง “ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีการรับมือหรือพูดคุยอย่างไร

คุณหมอจริง พญ. ชญานิน ฟุ้งสถาพร เป็นคุณหมอที่มีประสบการณ์ทางด้านจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความหมายของติ่งว่าจริง ๆ แล้วอาการของการเป็นแฟนคลับหรือติ่งทางจิตวิทยาเรียกอาการเหล่านี้ว่า “Celebrity worship syndrome” ซึ่งอาการนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับด้วยกันคือ 

1.) ระดับบันเทิง คือ เป็นการดูสื่อหรือสิ่งที่ชอบเพื่อความบันเทิง ชื่นชอบในรูปแบบให้ความเพลิดเพลิน เพื่อความจรรโลงใจ นอกจากนี้ยังมีการนำสิ่งที่เราชื่นชอบไปเป็นคนต้นแบบหรือเรียกว่าเป็น Idol ของคน ๆ นั้นได้ เช่นในเรื่องของความพยายาม หรือการตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งในระดับนี้ก็อาจจะมีสังคมที่ชื่นชอบสิ่ง ๆ นั้นไปด้วยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 

2.) ระดับหมกมุ่น คือ ระดับที่นำสิ่งที่ชื่นชอบหรือศิลปินมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะต้องมีสิ่งที่ชอบหรือศิลปินนั้นเข้ามาเกี่ยวโยงด้วยทุกครั้ง สะสมหรือใช้ของตามศิลปิน เก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่ศิลปินมีหรือใช้ตาม บางคนถึงขั้นศัลยกรรมให้หน้าตาเหมือนศิลปินเลยทีเดียว

3.) ระดับรุนแรง คือ เหล่าแฟนคลับที่ชื่นชอบในตัวศิลปินมาก ๆ ถึงขนาดอยากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งหรืออยากใช้ชีวิตกับศิลปิน คอยติดตามขั้นรุนแรง อย่างที่ประเทศเกาหลีจะเรียกกลุ่มแฟนคลับเหล่านี้ว่า “ซาแซง” ซึ่งจะคอยตามศิลปินไปทุกที่ รู้ลึกถึงขนาดรู้เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ของตัวศิลปิน และอาจมีขั้นร้ายแรงที่สุดคือทำร้ายตัวศิลปิน ไม่ให้ศิลปินไปรักใครได้อีก ซึ่งระดับนี้ควรได้รับการรักษาโดยจิตแพทย์ 

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนที่มีลูกเป็นแฟนคลับหรือติ่งศิลปินอาจจะสงสัยว่าถ้าลูกของตนมีอาการที่ชื่นชอบศิลปินมากแต่ไม่รู้ว่าจะต้องพูดคุยอย่างไร จริง ๆ แล้วในช่วงวัยรุ่นของคุณพ่อคุณแม่เองก็อาจจะมีความชื่นชอบในตัวศิลปินหรือสิ่งที่ชอบเหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันที่ยุคสมัยที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลมากขึ้น ทำให้วัยรุ่นสามารถรับสื่อได้ทั่วโลก และทำให้ตัวของลูกคุณอาจจะเจอกับสิ่งที่ชอบ ศิลปินที่เขารัก มากกว่าในสมัยของคุณพ่อคุณแม่ 

แต่ด้วยความห่วงใยอยากที่จะพูดคุยกับลูก กลัวว่าลูกจะเสียการเรียน ไม่มีอนาคต จริง ๆ แล้วในช่วงวัยนี้สมองส่วนเหตุผลและความคิดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้สมองส่วนอารมณ์จะเจริญเติบโตมากกว่าจะทำให้เห็นว่าลูกของคุณมีอารมณ์ที่แปรปรวน พอลูกของคุณอายุ 25 ปีหรือเมื่อเริ่มโตขึ้นสมองส่วนเหตุผลและความคิด ตรรกะการใช้ชีวิตก็จะมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูว่าลูกของคุณมีอาการเป็นติ่งในระดับไหน 

ถ้าเป็นในระดับบันเทิงก็สบายใจได้ เพราะลูกของคุณอาจจะยกศิลปินมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมด้วยว่าลูกของคุณมีทิศทางในการใช้ชีวิตแนวทางไหน คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะกังวล กลัวว่าลูกของตัวเองนั้นอาจจะไม่สนใจการเรียน และเอาเวลาไปเป็นแฟนคลับ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะต้องคอยดู สังเกตและที่สำคัญคือการพูดคุย เปิดใจกัน โดยไม่ใช้อารมณ์ และ สอนวิธีการคิดหรือลองปรับเปลี่ยนเป็นพูดคุยในสิ่งที่ลูกชอบหรือสนใจ เพื่อคอยดูว่าลูกจะมีปฏิกิริยาอย่างไร 

เชื่อหรือไม่ว่าบางคนก็นำศิลปินหรือไอดอลมาเป็นแรงบันดาลใจในการเรียน เหมือนกับว่ายิ่งเห็นศิลปินมีความพยายามทำเป้าหมาย ความฝันได้สำเร็จ อดหลับอดนอนเพื่อซ้อมเป็นศิลปิน เหล่าแฟนคลับในวัยเรียนก็จะพยายามตั้งใจเรียนและนำศิลปินมาเป็นแบบอย่างในการตั้งใจเรียน ตั้งใจอ่านหนังสือ และหลาย ๆ คนเมื่อเรียนจบก็มีการถ่ายรูปคู่กับแท่งไฟ หรือ สิ่งของที่มาจากศิลปิน เป็นการบรรลุเป้าหมายของตัวเองว่าทำตามความฝันสำเร็จแล้ว ถ้าลูกของคุณเห็นศิลปินเป็นแบบอย่างที่ดีก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ 

มีคำ ๆ หนึ่งที่คุณหมอจริงได้กล่าวว่า “Children must be taught how to think, Not want to think” คือการสอนลูกให้รู้จักวิธีคิด ไม่ใช่การยัดความคิดให้ลูก ด้วยความที่โลกสมัยใหม่มีเทคโนโลยี มีสื่อต่าง ๆ มากมายที่ลูกของคุณสามารถค้นหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง เราควรสอนวิธีการคิด อย่างในเรื่องติ่งหรือแฟนคลับอาจจะถามถึงข้อดีของตัวศิลปินหรือสิ่งที่ลูกชอบแล้วให้ลูกของคุณลองคิดและให้ลูกลองเลือกข้อดีและทำตามในสิ่งที่ดี เช่น ถ้าลูกของคุณเป็นแฟนคลับศิลปินเกาหลี ก็สนับสนุนลูกด้วยการให้เรียนภาษาเพิ่มเติม หรือสนับสนุนให้ลูกทำวิดีโอเกี่ยวกับศิลปินเกาหลี เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการหารายได้เสริมก็จะเป็นการสนับสนุนลูกในทางที่ดีและเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวได้ดีอีกด้วย 

คุณหมอจริงฝากข้อคิดไว้ว่า นอกจากการพูดคุยแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การฟัง” ให้ลูกได้พูดในสิ่งที่เค้าอยากทำ สิ่งเค้าชื่นชอบ จะทำให้เราได้เห็นว่าลูกมีความคิดอย่างไร มีความฝันในทางไหน และคุณพ่อคุณแม่ก็คอยสนับสนุนลูกให้ทำตามความฝันให้สำเร็จ เพียงเท่านี้ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็จะดีขึ้น ทำให้เราไม่ได้เป็นส่วนเกินในชีวิตของเขาอีกด้วย


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก
หัวข้อ : ลูกวัยรุ่นกับการเป็นติ่ง
Link : https://www.facebook.com/foryourchildz/videos/933889133821053
เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: สถาพร สุตจิตจูล 
 

วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอังคารที่ 10 สิงหาคม

วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT

โดย ครูพี่จึ๋ง สมนึก สงวนตระกูล

อันดับ 1 สอบ Pre ม.ปลาย ระดับประเทศ

นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbusho

#BMAT เรียนเตรียมสอบแพทย์ Critical Thinking, Problem Solving, Maths & Science

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

.

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2564

✏️หากมีคนประสบประมาทว่า คุณจะประสบความสำเร็จได้แค่ไหน จงก้าวหน้าให้ไกล จนคนเหล่านั้นไม่ได้ยินเสียงคำตอบของคุณ

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ทฤษฎีจำนวนสำหรับ สอวน. คณิต

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ทฤษฎีจำนวนสำหรับ สอวน. คณิต

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล

อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย

#DakThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

.

???? ประกาศผล นักเรียนแพทย์ที่จบจากต่างประเทศ และได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ฝึกหัดประจำสถาบันการแพทย์ในไทย ประจำปี 64????????‍⚕

???? ประกาศผล นักเรียนแพทย์ที่จบจากต่างประเทศ และได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ฝึกหัดประจำสถาบันการแพทย์ในไทย ประจำปี 64????????‍⚕????

**โดยนักเรียนที่เรียนจบแพทย์ ณ ต่างประเทศ สามารถได้รับสิทธิอาชีพหมอในไทย เช่นเดียวกับผู้ที่เรียนจบแพทย์ในประเทศไทย

"โปรแกรมเมอร์" เบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจยุคโซเชียลกับ คุณบิว อธิศนันท์ | Click on Crazy EP.1

บทสัมภาษณ์ Click on Crazy EP.1
คุณบิว อธิศนันท์ กีรติณัตินันท์
โปรแกรมเมอร์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนิวสเปคทีฟ กรุ๊ป 

Q : จุดเริ่มต้นของสายงานอาชีพ “โปรแกรมเมอร์”

A : คือจริงๆแล้วก็ไม่คิดไม่ฝันเหมือนกันว่าตัวเองจะมาเป็นโปรแกรมเมอร์เพราะว่าเรียนจบบริหารธุรกิจนะคะในสายคอมพิวเตอร์ธุรกิจ แล้วก็เรียนจบมาเนี่ยก็ทำงานในสายของแอดมิน เป็นคนคอยคีย์ข้อมูลเข้าระบบอะไรประมาณนี้ค่ะ

ทีนี้เนี่ยก็มีการปรับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ระบบมาเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ยังไงก็เกิดจากการที่เราคีย์ข้อมูลเข้าระบบนี้แหละแล้วเรามีความรู้สึกว่าระบบเนี่ยถ้าเกิดว่ามีการเขียนโปรแกรมและไม่มีการคีย์ข้อมูลซ้ำๆเข้าไปแล้วสามารถที่จะดึงข้อมูลมาแล้วคีย์สต็อกได้เนี่ยมันน่าจะทำงานได้ง่ายมากขึ้นเราก็เลยเกิดความคิดขึ้นมาก็เลยเดินเข้าไปคุยกับเจ้าของบริษัทว่าเราคิดว่าเราจะทำตรงนี้ให้ได้นะอย่างนั้นเราขอโอกาสว่าเราเป็นคนเขียนโปรแกรมได้ไหมก็ถือว่าเป็นงานที่เปิดทางให้เราได้ก้าวจากแอดมินทั่วไปมาเป็นโปรแกรมเมอร์นั้นก็คือจุดเริ่มต้น

Q : ประกอบอาชีพโปรแกรมเมอร์มาทั้งหมดกี่ปี 

A : ประมาณ 17 ปีค่ะ 

Q : คำว่า “โปรแกรมเมอร์” คือในความหมายของคุณบิวคืออะไร

A : โปรแกรมเมอร์ หรือ Programmer developer ก็คือเป็นผู้พัฒนาเป็นผู้สร้างเป็นผู้คิดพัฒนาระบบขึ้นมา หลายคนที่ดูจากภายนอกเข้ามาอาจจะมองว่าต้องเก่งมากๆเลย จริงๆ แล้วเป็นงานที่ไม่สายเลยนะคะใช้ความคิดค่อนข้างมาก ระยะเวลาในการทำงานเนี่ยบางครั้งเนี่ยจะต้อง Coding ถึง 10 ชั่วโมงขึ้นไปโดยส่วนใหญ่โปรแกรมเมอร์เหมือนความคิดของเขาเนี่ยมันจะมีกระบวนการซึ่งเขาจะต้องเชื่อมต่อระบบในหัวตลอดเวลา หลาย ๆ คนเลยบอกว่าโปรแกรมเมอร์เข้าถึงยาก อาจจะเป็นเพราะการทำงานของแต่ละคน

Q : ทำไมถึงชื่นชอบในอาชีพ “โปรแกรมเมอร์”

A : จริง ๆ ทุก ๆ สายงานมีเสน่ห์เฉพาะตัวของมันไม่ว่าจะเป็นบัญชีหรือผู้สื่อข่าวก็จะมีความพิเศษเฉพาะของอาชีพนั้น ๆ แต่ในส่วนของโปรแกรมเมอร์เนี่ยมันก็มีเสน่ห์ของมันสิ่งหนึ่งที่เป็นความภูมิใจคือเวลาที่ทำงานชิ้นหนึ่งของมาแล้วทำให้คนหรือบริษัทได้ใช้งานได้ง่ายขึ้นจากการที่เขาเคยอ่านต้องมานั่งคีย์ที่ระบบหลายขั้นตอน เราก็สามารถทำงานให้ระบบออกมาเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นคืออันนั้นคือความภูมิใจของโปรแกรมเมอร์ที่จะได้ทำงานออกไปแล้วให้คนที่ใช้งานได้ง่ายขึ้นก็เหมือนเราทำงานให้มันน้อยลงพยายามลดขั้นตอนในการทำงาน

Q : หลังจากได้ทำงาน “โปรแกรมเมอร์” รู้สึกว่าตัวเองมีการพัฒนาอะไรมากยิ่งขึ้น

A : หน้าที่ของโปรแกรมเมอร์เนี่ยเดิมทีต้องเป็นคนที่ออกแบบ สร้างและพัฒนาดูแลและ support โปรแกรมเมอร์เนี่ยจะต้องมีทักษะเหล่านี้อยู่ฉะนั้นเวลาที่เราได้รับงานมาเนี่ยเราก็ต้องมีการวางแผนก่อนบางครั้งโจทย์ที่ได้รับมาอย่างเช่นให้ทำระบบบัญชีอย่างล่าสุดที่เข้ามาอยู่ใน Newspective ทางบริษัทให้ทำเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับระบบบริหารธุรกิจ ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะจบบริหารมาแต่เราก็ไม่รู้ระบบ PO เราไม่ได้รู้ระบบเกี่ยวกับบัญชี ตอนเราได้โจทย์มาว่าจะต้องทำโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เพื่อที่จะทำให้คนใช้งานสามารถเปิด po ออนไลน์ได้สามารถที่จะเปิด invoice ออนไลน์ได้สามารถที่จะเบิกค่าใช้จ่ายอะไรได้ทุกอย่างเราก็ต้องทำการรีเซ็ตตัวเองก่อน การเป็นโปรแกรมเมอร์เนี่ยก็จะได้มีสะสมประสบการณ์จากการที่เราเขียนโปรแกรมเหล่านี้ การ Research ขั้นตอนกับเจ้าของโปรแกรมว่าต้องการอะไร เราก็เอากระบวนการทำงานของเขาเนี่ยมันคิดเป็นระบบแล้วก็เขียนโปรแกรมออกมาได้เรียนรู้ใหม่ตลอด 

Q : ถ้าเราเขียนโปรแกรมแล้วเกิดปัญหาอย่างการติด Bugs มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร 

A : อย่างการเกิด Bugs จะเกิดหลังจากที่เราเขียนโปรแกรมเสร็จแล้วก็คือหลังจากที่ User เข้ามาทำการทดลองใช้งาน บางครั้งโปรแกรมเขียนจะไม่เจอปัญหา แต่คนอื่นจะมาเจอปัญหาที่ว่าในขณะการใช้งานการแก้ไขปัญหาในเรื่องบางเรื่องไม่ต้องซีเรียสเลยเพราะว่าโปรแกรมเมอร์จะรู้แล้วว่าจะ Error โปรแกรมก็ต้องฟ้องว่า Error เพราะอะไรเกิดจากอะไรและข้อมูลของมาไม่ครบหรือเกิดจากการที่ข้อมูลค้างอยู่แล้วส่งไปไม่ได้อันนี้ก็คือเป็นหน้าที่เราที่เข้าไปแก้ไขแล้วก็ไปดูว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหน เกิดจากอะไรและเราก็ทำการแก้ไขให้สามารถทำงานได้เอง คือปัญหาเหล่านี้จริง ๆ แล้วเป็นของคู่กันกับโปรแกรมเมอร์อยู่แล้วซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยแล้วถ้าเกิดปัญหาเหล่านี้มาหลังจากที่เขียนเสร็จแล้ว 

Q : ในการเป็นโปรแกรมเมอร์มาตลอด 17 ปี ส่วนไหนของการเขียนโปรแกรมยากที่สุด

A : สำหรับตัวเองไม่เคยมองว่าการเขียนโปรแกรมจะยาก แต่ความยากอาจจะเกิดจากการทำงานในสภาวะแวดล้อมและบุคคล ที่เราเลือกทำอาชีพนี้เพราะเราต้องการที่จะไม่ปะทะกับคนสักเท่าไหร่เวลาเราเขียน Coding มีแค่เรากับ Code แล้วก็เรา คือเราคุยกับสิ่งที่เราจะสร้างโดยที่เราไม่ได้คุยกับคนข้างนอกเลยมันก็เลยกลายเป็นว่ามันเป็นการเขียนโค้ดมันเป็นการที่ดิ่งลงไปแล้วเราต้องใช้เวลาส่วนตัวของเราในการสร้างผลงานนี้ขึ้นมาเอง ปัญหาของโปรแกรมเมอร์เนี่ยมันก็เลยกลายเป็นว่าเวลาที่มีการ Coding หรือว่าใช้สมาธิสูงในการเขียน สำหรับพี่เนี่ยมองว่าการเขียนโปรแกรมมันไม่ได้ยากเพราะว่าสุดท้ายแล้วการเขียนโปรแกรมอย่างมันจะมีทางออกของมันอยู่แล้วเราจะหาของมันไปจนแก้ปัญหานั้นได้แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ยากที่สุดก็คือภาวะของสภาพแวดล้อมของตัวเราและอารมณ์ของเราที่มีกับคนข้างนอกมากกว่า ทุก ๆ สายงานมีความยากง่ายที่แตกต่างกัน 

การเขียนโปรแกรมไม่ใช่เป็นการเขียนให้มันจบ ให้มันเสร็จ ๆ ไป แต่การเขียนโปรแกรมมันคือชีวิตของคนอื่นด้วยนะคือหนึ่งในเรื่องของความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลต่างๆในการรั่วไหลในเรื่องของความปลอดภัยของระบบ ความคิดของเรามันมีหลายชั้นมาที่เราจะต้องต้องดูแล มันคืองานที่ล้ำค่ามากสำหรับตัวเรานะ คือเขียนงานหนึ่งเราเขียนเสร็จแล้วเนี่ยมันมีผลกระทบอะไรกับใครถ้าเกิดเขียนไปแล้วเนี่ยความปลอดภัยดีมากแค่ไหนเราก็ต้องดูในเรื่องนี้ด้วย 

Q : จุดไหนที่คุณบิวคิดว่า การเขียนโปรแกรมจะต้องคำนึงในเรื่องของความปลอดภัยของคนอื่น ด้วยนอกจากระบบ 

A : จากการเคยทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ที่โรงพยาบาลหัวเฉียว ด้วยความที่เป็นระบบโรงพยาบาลจะเชื่อมโยงหมดทุกจุดตั้งแต่คนไข้ หมอ ยา คือหนึ่งเป็นความลับของคนไข้ สองเป็นความปลอดภัยของคนไข้อย่างการเขียนระบบถ้าเราไม่มีความรับผิดชอบ ทำงานไม่ละเอียด ไม่คิดให้ถี่ถ้วนผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่ระบบผิดพลาดแต่มันหมายถึงชีวิตคน ๆ หนึ่งนี่คือจุดเปลี่ยนของเวลาทำงานเลยค่อนข้างที่จะละเอียดและระวังในเรื่องนี้พอสมควร ก็ต้องขอบคุณโรงพยาบาลหัวเฉียวด้วย 

ถ้าเกิดข้อผิดพลาดไปคือชีวิตคนหนึ่งเลยถ้าเราคิดผิดระบบผิดไปเราไปแจ้งคนไข้ก็ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โปรแกรมเมอร์ไม่ใช่คนใช้โปรแกรม แต่เป็นคนออกแบบโครงสร้างและประมวลผลออกมา ถ้าสมมุติว่าเราเขียนระบบใดระบบหนึ่งแล้วเราเขียนด้วยความที่ไม่ตั้งใจ ไม่ตรวจสอบให้มันถี่ถ้วนก่อนแล้วพอคนใช้งาน ปรากฏว่าเราผิดแค่ตัวอักษรเดียวมันอาจจะทำให้ผลของคนไข้คนนั้นผิดไปหรือไปดึงของคนอื่นมาใส่อีกคนนึง การรักษาก็จะไม่ถูกต้อง

การเป็นโปรแกรมเมอร์เนี่ยสำหรับพี่ถือว่าเป็นอาชีพที่ทรงคุณค่าเหมือนกันนะเพราะว่ามันเป็นอาชีพที่ไม่ใช่ทำงานแล้วจบ ในทุก ๆ กระบวนการมีความสำคัญอยู่ในทุกขั้นตอน ความยากง่ายขึ้นอยู่ขึ้นอยู่กับโจทย์กับองค์กรที่เราทำงานอยู่ องค์กรที่เราทำงานด้วยต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความถูกต้องของข้อมูลของคนทุกคน อย่างในโรงพยาบาลด้วยความที่ระบบมันใหญ่มากคือมีทั้งข้อมูลของผู้ป่วยข้อมูล ยา และข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เป็นข้อมูลที่จะต้องเก็บถึง 10 ปีอย่างนี้ฉะนั้นถ้าเราเขียนโปรแกรมแล้วเราทำผิดก็อาจจะทำให้คนไข้คนนั้นได้รับยาผิดไปก็ได้

นี่คือสิ่งที่เราต้องคำนึงเหมือนกันระบบทั่วไปทุกวันนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากคือการขายของออนไลน์ถ้าเราเปลี่ยนระบบเช่นเราดึงข้อมูลผิดชื่อ นามสกุล ลูกค้าสั่งของชิ้นนี้แล้วปรากฏว่าเราเขียนผิดไปดึงอีกคนหนึ่งมาซึ่งไม่ใช่สินค้าของคนนี้แล้วส่งผิดคน คือความเสียหายมันไม่ได้มันเกิดแค่ที่บริษัทอย่างเดียว โปรแกรมก็ผิดด้วย โปรแกรมเมอร์จึงต้องมีละเอียด ถี่ถ้วน 

Q : ตอนนี้เป็นโปรแกรมเมอร์ให้กับทาง Newspective Group  เป็นอย่างไรบ้าง 

A :  ก็หลังจากที่ออกจากหัวเฉียวมาก็มาร่วมงานกับทาง Newspective Group งานแรกเลยที่เข้ามาทำระบบในเรื่องของระบบบริหารทั่วไป แต่ว่าก็มีโครงการสตาร์ทอัพเข้ามาส่งเข้าประกวดซึ่งตอนนั้นเนี่ยไม่ได้คิดอะไรมากก็สั่งอะไรให้ทำก็ทำ ตามที่เขา Request มาแต่ว่าสิ่งที่เป็นแรงกดดันจากงานนี้คือระยะเวลามันสั้นมากคือต้องเสร็จภายใน 20 วันในใจคิดว่าจะทำได้ไหมแต่ทางผู้ใหญ่บอกว่าถ้าทำได้องค์กรเราจะดียิ่งขึ้น เราก็เลยมองว่าถ้าเกิดอะไรที่ทำให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าได้เราก็พร้อมที่จะลุยอันนี้ก็คือเป็นนิสัยของเราก็เห็นว่าช่วยคนอื่นได้ด้วย 

เราไม่เคยประกวด การแข่งขันอะไรแบบนี้เลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกแล้วก็ได้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของการประกวด บริษัทสตาร์ทอัพลงประกวดเยอะ ทำให้เห็นว่าคนไทยเนี่ยเก่งเยอะมากแต่แค่ว่าเราแค่ไม่มีโอกาสให้ได้นำเสนอในสิ่งที่เราคิดแค่นั้นเอง จริง ๆ มันไม่ใช่ผลงานของพี่ทั้งหมดพี่เป็นเพียงคนเขียนโปรแกรมตามที่เราได้รับมอบหมายมา ทางทีมช่วยกันไม่ว่าจะเป็นทีมการตลาดและคิดระบบเราก็ทำตามโจทย์ว่าระบบอยากได้อะไรเราก็ทำตามเงื่อนไขนั้นให้สำเร็จ

Q : เว็บไซต์สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIMES เว็บไซต์ที่คุณบิวเขียนขึ้นมาด้วยตัวเอง 

A : ใช่ค่ะ เป็นคนทำคนเดียว โจทย์คือเว็บไซต์สำนักข่าวต้องขึ้นภายใน 1 เดือน ซึ่งเว็บไซต์นี้ก็ถือว่ายากพอสมควร ปัจจุบันสายอาชีพนี้มีความแตกต่างจากสมัยก่อนเมื่อเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็คือว่าสมัยที่พี่ทำงานเนี่ยคือเขาเรียกว่าเป็นลักษณะของการเขียนคนเดียวออกแบบคนเดียว หลังๆมาช่วง 5 ปีหลังมานี้เป็นลักษณะของการพัฒนาระบบ ซึ่งมีการแบ่งงานกันทำ แต่อย่างในเว็บไซต์นี้ค่อนข้างกดดัน เพราะทำเองคนเดียว ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะต้องเจองานที่เรากลัวจะทำไม่ทันถือว่าเป็นความท้าทายตัวเองด้วยเหมือนกัน

Q : เป็นโปรแกรมเมอร์จำเป็นต้องเรียนเก่งจริงหรือ ?

A : ตอนที่พี่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เกรดเฉลี่ยแค่ 1.88 เอง ในช่วงตอนเรียนที่โรงเรียนก็ไม่สนใจเรียนคือเรียกว่าติด 0 ติดรอด้วยซ้ำ เป็นเด็กฝ่ายกิจกรรม เมื่อก่อนอยู่วงโยธวาทิตของโรงเรียน ก่อนที่จะมาเข้าสู่การเป็นโปรแกรมเมอร์ในความฝันจริง ๆ คือการเป็นนักดนตรี สอบเข้าจุฬาได้ด้วยแต่ด้วยความที่ฐานะทางบ้านเนี่ยไม่ได้ ก็เลยมาเรียนสายบริหารคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Q : อาชีพ “โปรแกรมเมอร์” อาชีพที่ไม่ตกงานในช่วงยุคโควิด-19

A : โปรแกรมเมอร์ถือได้ว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ไม่ตกงานในยุคโควิด แล้วหลังจากนี้สายโปรแกรมเมอร์จะแรงขึ้นเรื่อยๆเพราะว่าทุกอย่างจะอยู่บนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์และโลกออนไลน์ทั้งหมดถ้าคุณอยากทำอะไรสักอย่างเช่นคุณจะเปิดร้านขายของออนไลน์ก็ต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์เหมือนกัน อีกทั้งการต่อยอดของสายอาชีพนี้เยอะมากเพราะเนื่องจากสายอาชีพนี้เป็นสายอาชีพที่ยังไงบริษัทหลายแห่งก็ต้องการขึ้นอยู่กับว่าคน ๆ นั้นสามารถต่อยอดตัวของเขาเองได้

Q : ฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเป็นโปรแกรมเมอร์ 

A : สำหรับพี่เนี่ยคืออันดับแรกต้องถามตัวเองก่อนว่าเราอยากเป็นอะไร ซึ่งปัจจุบันนี้ทุกวันนี้โปรแกรมเมอร์เนี่ยใน YouTube หรือว่า Social Media ต่าง ๆ มีสอนเยอะมากแล้วก็โอกาสของเด็กยุคใหม่เนี่ยมีโอกาสพัฒนาเร็วแล้วก็มีข้อมูลค่อนข้างเยอะมากกว่ายุคพี่ กว่าพี่จะหาความรู้ได้เนี่ยคือพี่ต้องอ่านหนังสือค่อนข้างเยอะเลยแล้วก็ในอินเทอร์เน็ตแทบจะไม่มีคนแชร์ข้อมูลเลยแต่ในปัจจุบันเนี่ยถ้าเกิดเราค้นพบตัวเองแล้วว่า เฮ้ย..ฉันอยากเป็นโปรแกรมเมอร์จริง ๆ ฉันมีความรักในเรื่องของโปรแกรมเมอร์แต่เราต้องชอบความเป็นโปรแกรมเมอร์แล้วเราต้องถามตัวเองว่าเราสามารถที่จะนั่งเขียนโปรแกรมเนี่ยมากกว่า 10 ชั่วโมงได้ไหมด้วยโปรแกรมเมอร์เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งคืนหนึ่งการทำงานเนี่ยงานหนักในที่นี่คือใช้สมองเยอะสมาธิเยอะความกดดันเยอะ

อย่างความกดดันคือหนึ่งกดดันจากตัวเองแล้วกดดันจากเวลาที่เราได้รับงานมาอีกต่างหาก ซึ่งถ้าเกิดว่าเราตอบโจทย์ว่าเราสามารถทำได้ ถ้าเกิดเรารักในงานใดงานหนึ่งต่อให้งานนั้นยากมาก เราก็จะผ่านมันไปได้ถ้าเกิดว่าชอบจริง ๆ เหมือนตอนที่พี่เขียนโปรแกรมเพราะว่าพี่สามารถอยู่กับงานนี้ได้ เราสามารถอยู่กับมันได้ทั้งวัน เหมือนเราพยายามที่จะแก้ปัญหาให้ได้เพราะว่าเกิดจากที่เรารักมันถ้าเกิดเราตอบตัวเองว่าเราชอบงานนี้จริง ๆ เราก็ลุยเลยเพราะว่าพี่คิดว่าโปรแกรมเมอร์ไม่ยากแต่ว่าเราจะต้องฝึกเยอะ ๆ

ทุกวันนี้ที่พี่ยังมองว่าพี่ยังต้องพัฒนาอยู่ทุกวันเพราะเนื่องจากว่าระบบเนี่ยมันมีการพัฒนาทุกวันแล้วก็มีอะไรใหม่ๆมาตลอดคือการที่เป็นโปรแกรมเมอร์เนี่ยเราไม่สามารถที่จะหยุดนิ่งได้เพราะว่าการเขียนโปรแกรมเมื่อ 10 ปีที่แล้วกับวันนี้เขียนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงมันไม่สามารถเอาสิ่งที่เรียนเมื่อ 10 ปีที่แล้วมาใช้กับวันนี้ได้แต่พื้นฐานมันยังคงเดิมอยู่แต่เราต้องรู้จักมันต้องมีการประยุกต์ใช้ให้มันแล้วแต่ยกเว้น Generation ที่มันพัฒนาไปนี่ก็คุยกับตัวเองว่าเอาจริงไหมเราเอาจริง ให้ลุยเลย แล้วสายงานนี้เนี่ยก็อย่างที่ทุกคนเห็นก็คือรายได้ดีแต่ก็แต่ก็มาพร้อมกับความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบที่เราต้องรับผิดชอบอย่างมากเลยทีเดียว 
.

.

.

.

THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์ที่สิบสาม พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชา

????THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม - วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564

⏰ทุกวัน เวลา 18.00 น.

พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ 5 รายวิชา 

????วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ทฤษฎีจำนวนสำหรับ สอวน. คณิต

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

????วันอังคารที่ 10 สิงหาคม
วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT 

โดย ครูพี่จึ๋ง สมนึก สงวนตระกูล
อันดับ 1 สอบ Pre ม.ปลาย ระดับประเทศ
นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbusho
#BMAT เรียนเตรียมสอบแพทย์ Critical Thinking, Problem Solving, Maths & Science

????วันพุธที่ 11 สิงหาคม
วิชาชีววิทยา: เรื่อง Neuron

โดย ครูหมอเมศ กฤษณะ ธรรมศิริ 
ปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#สอนชีววิทยาม.ต้น-ม.ปลาย

????วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม
วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง ปรากฏการณ์แสงโลก

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

????วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม
วิชาปัญญาเลิศ 1: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบการเคลื่อนที่

โดย ดร.ถาวร ตันหยงมาศกุล (อ.บู้)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยบูรพา ปริญญาเอก
#คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับ ป.5-ม.3

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top