Tuesday, 30 April 2024
Soft News Team

เรื่องที่พ่อแม่อาจมองข้ามไป!! เมื่อ COVID-19 พาเด็กออกห่างจากธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก พ่อแม่ต้องดูแลอย่างไร?

จากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อคนทุกช่วงวัย ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ สิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงคือเรื่องของสุขภาพ แต่ยังมีผลกระทบทางอ้อมที่คุณพ่อคุณแม่อาจมองข้ามไป ‘ครูเบิร์ด’ จากเพจปั้นลูกปลูกรัก ได้ร่วมพูดคุยในหัวข้อ "ความเครียด และการดูแลเด็ก" ในช่วง COVID ระบาดหนัก ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อ COVID-19 พาเด็กออกห่างจากธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างไร? 

งานวิจัยจากต่างประเทศ พบว่า เด็กๆ ที่เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสีเขียว เช่น สวน ต้นไม้ จะทำให้เด็กมีไอคิวที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 2-3 คะแนน ส่วนเด็กที่ไม่ได้เติบโตในสิ่งแวดล้อมสีเขียวเลย เด็กกลุ่มนี้จะมีไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40% หมายความว่า เด็ก 100 คนที่ไม่ได้เติบโตในธรรมชาติ 40 คนจะมีคะแนนไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นการยืนยันว่าเด็กที่เติบโตในพื้นที่สีเขียวจะทำให้ไอคิวดีขึ้น และยังมีงานวิจัยที่บอกว่านอกจากไอคิวที่ดีขึ้นแล้ว ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ Cognitive skill, EF และ Working memory ที่ดีขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้อย่างรอบด้าน

ครูเบิร์ดกล่าวว่า การเรียนรู้ในธรรมชาติเป็นการเรียนรู้แบบเปิด เด็กๆ สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ตามที่อยากเรียนได้เอง โดยที่คุณครูไม่ต้องคอยนำ เพราะธรรมชาติเป็นครูที่ดีสำหรับเด็กในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ แต่เมื่อ COVID-19 เข้ามา เด็กๆ ถูกแยกออกจากธรรมชาติมากขึ้น ข้อมูลทางวิชาการของมหิดล พูดถึงเด็กในช่วงวัยนี้ว่าเป็นช่วง Indoor Generation คือ 90% ของชีวิตอยู่กับอาคาร สิ่งแวดล้อมเทียมที่ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะอายุสั้นลงในอนาคต เพราะการที่เด็กถูกจำกัดอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันลดน้อยลง การเรียนรู้ต่างๆ แคบลง เรียนรู้แค่ผ่านโทรศัพท์มือถือ สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กขาดโอกาสในการพัฒนา

การที่เด็กถูกแยกออกจากธรรมชาติทำให้เด็กเกิดความเครียดมากขึ้น พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจะดูแลเด็กอย่างไร ซึ่งครูเบิร์ดแนะนำว่า สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้ คือการควบคุมอารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่เอง เพราะกฎในการดูแลเด็ก คือ Action = Reaction ถ้าคุณพ่อคุณแม่อารมณ์เสียใส่ลูก ลูกก็จะสะท้อนอารมณ์เสียนั้นกลับมา อีกสิ่งที่สำคัญคือ พ่อแม่ต้องเข้าใจในตัวเด็ก ว่าเด็กมีพฤติกรรมหรือมีธรรมชาติเป็นอย่างไร จัดตารางเวลาให้กับเด็กๆ โดยที่ต้องยอมรับธรรมชาติของเด็ก อาทิ

•  เด็กเป็นนักสำรวจ เป็นวัยที่ชอบมองหาสิ่งใหม่ๆ สนใจสิ่งต่างๆ ช่างค้นหา การยอมรับในสิ่งนี้จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ลดความเครียดลง

•  เมื่อเด็กสำรวจเสร็จจะเกิดความคุ้นชินกับสถานที่ รู้สึกปลอดภัย เด็กจะเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีแบบแผนในชีวิตขึ้น นำไปสู่ตารางเวลา การที่เด็กมีตารางเวลาที่แน่ชัดจะช่วยให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตหรืออยู่ในพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างมีความสุข ลดความเครียดลง  

ซึ่งการจะช่วยไม่ให้เด็กไม่เบื่อ พ่อแม่ต้องมีกิจกรรม มีงานให้ทำ เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความฟุ้งซ่าน อย่าปล่อยให้เด็กว่าง พยายามจัดตารางเวลาให้เด็กมีกิจกรรมทำ เช่น วาดรูป ระบายสี ทำขนม รดน้ำต้นไม้ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง

ครูเบิร์ดฝากทิ้งท้ายว่า COVID-19 เป็นสถานการณ์ที่ทุกคนต้องเผชิญ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่พอทำได้คือการอยู่ร่วมกับมันอย่างมีความสุข อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตใหม่ บาลานซ์ระหว่างสุขภาพและการดูแลลูกๆ ให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดทั้งกับตัวพ่อแม่และตัวลูก


สามารถย้อนไปฟังการ LIVE หัวข้อที่น่าสนใจเหล่านี้เพิ่มเติมได้ที่ เพจดีต่อลูก
หัวข้อ : ความเครียด และการดูแลเด็ก #COVID
Link : https://www.facebook.com/299800753872915/videos/1643706599351050 
เขียนและเรียบเรียงเรื่องโดย: ภารวี สุภามาลา

วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง โจทย์ตรีโกณมิติ

THE STUDY TIMES X DekThai Online
.
????วันอังคารที่ 3 สิงหาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง โจทย์ตรีโกณมิติ

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

#DekThaiOnline
https://dekthai-online.com/browse

.

.
 

วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT Problem Solving

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม
วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT Problem Solving

โดย ครูพี่จึ๋ง สมนึก สงวนตระกูล
อันดับ 1 สอบ Pre ม.ปลาย ระดับประเทศ
นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbusho
#BMAT เรียนเตรียมสอบแพทย์ Critical Thinking, Problem Solving, Maths & Science

#DakThaiOnline 
https://dekthai-online.com/browse

.

.

 

THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์ที่สิบสอง พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชา

????THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม - วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564

⏰ทุกวัน เวลา 18.00 น.

พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ 5 รายวิชา 

????วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม
วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT Problem Solving

โดย ครูพี่จึ๋ง สมนึก สงวนตระกูล
อันดับ 1 สอบ Pre ม.ปลาย ระดับประเทศ
นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbusho
#BMAT เรียนเตรียมสอบแพทย์ Critical Thinking, Problem Solving, Maths & Science

????วันอังคารที่ 3 สิงหาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง โจทย์ตรีโกณมิติ

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

????วันพุธที่ 4 สิงหาคม
วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง สุริยุปราคา

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

????วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม
วิชาชีววิทยา: เรื่อง Cerebrum

โดย ครูหมอเมศ กฤษณะ ธรรมศิริ 
ปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#สอนชีววิทยาม.ต้น-ม.ปลาย

????วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม
วิชาปัญญาเลิศ 1: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบการเคลื่อนที่

โดย ดร.ถาวร ตันหยงมาศกุล (อ.บู้)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยบูรพา ปริญญาเอก
#คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับ ป.5-ม.3

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES
 

Coding คืออะไร เมื่อไหร่เด็กไทยจะได้เรียน? | เปิด(ปม)ภาคการศึกษา EP.4

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เครื่องมืออิเล็กทรอนิคต่างๆ ที่แลดูหน้าตาแปลกประหลาดขึ้นทุกวัน เรา....เข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง แล้วเด็กยุคนี้ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงรึเปล่าว การศึกษาในห้องเรียนพร้อมตั้งรับกับเรื่องพวกนี้รึยัง ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding เด็ก ๆ รู้จักกันไหม แล้วเมื่อไหร่เด็กไทยจะได้เรียน Coding คืออะไร?

Coding คือ การเขียนชุดคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย “โค้ด (Code)” เพื่อให้โปรแกรมทำตามคำสั่ง อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำตามที่เราต้องการ โดยการใช้ภาษาของคอมพิวเตอร์ เช่น C++, PHP, Java หรือ Python
เรียน Coding ได้อะไร?

เป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแตกปัญหาออกเป็นส่วน ๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละเปลาะ อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนการเขียนโค้ดจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน เมื่อฝึกฝนไปสักพักก็จะทำให้เข้าใจหลักการและจับประเด็นได้ดีขึ้น

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า โค้ด คือรหัส การทำสัญลักษณ์ ส่วนการโค้ดดิ้ง คือ การเขียนสัญลักษณ์ บอกลำดับขั้นตอน ความคิด เพื่อการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน เช่น การแต่งเพลง การวางลําดับตัวโน๊ตดนตรี 

การเรียนโค้ดดิ้ง ไม่ใช่ให้เด็ก ๆ โตขึ้นไปทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ แต่คือการปลูกฝังกระบวนการความคิด ลำดับขั้นตอน และแนวทางการแก้ปัญหา ให้เด็ก ๆ นำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ถือเป็นทักษะพื้นฐาน ที่มีความสำคัญเทียบเท่าพอ ๆ กับการอ่านออก เขียนได้ เลยทีเดียว

คุณส้ม สิริพิลาส แจ่มประวิทย์ ผู้ประสานงานโครงการ Oracle Academy ปี 2015 - 2019 ได้จัดฝึกอบรมบุคลากรครู นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านเทคโนโลยี  ได้ให้ข้อมูลกับ THE STUDY TIMES ว่า กว่า 50% ของครูผู้สอน ที่เป็นหัวใจสำคัญนั้น ไม่มีพื้นฐานในเรื่อง Coding สิ่งที่ต่างไปคือ mindset ของคนที่อยู่ในวงการการศึกษา  

มองว่าอาชีวะเป็นความรู้ที่ลดระดับ ลงมาจากอุดมศึกษา แต่ความเป็นจริงนั้น ครูอาชีวะมีความรู้ที่ตรงกับสายงาน เด็กมีศักยภาพสามารถตอบโจทย์ของตลาดแรงงานได้ เป็นอย่างดี 

หลายองค์กรทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ หากเด็กไทยได้เริ่มต้นเรียนรู้ทักษะภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ Coding ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจเป็นส่วนสำคัญให้เด็กมีโอกาส ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน โดยไม่จำเป็นต้องมุ่งสู่สายสามัญตามค่านิยม

.

.

ความรู้สึกรักกับชอบนั้นแตกต่างกันอย่างไร? ความรักบางครั้งไม่ใช่การครอบครอง แต่ความรักคือการได้ชื่นชม มองเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ

เวลาที่ความรู้สึกบางอย่างของเราที่มีต่อใครบางคนก่อตัวขึ้นในใจ เคยสำรวจความรู้สึกนั้นไหมว่าเป็นความชอบ ความรัก หรือแค่ความหลงใหล หวั่นไหวเพียงชั่วครู่ มีคนมากมายออกมานิยาม ให้ความหมาย จัดหมวดหมู่ความรู้สึกว่ารู้สึกแบบไหน เรียกว่าอะไร แตกต่างและรับมือยังไง 

แต่สำหรับเราแล้ว คำตอบของการแยกแยะความรู้สึกที่ตอบโจทย์และชัดเจนที่สุด มีที่มาจากข้อความหนึ่ง ที่เราเองก็จำไม่ได้ว่าไปเจอมาจากที่ไหน อาจจะเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ที่หลายคนแชร์ต่อๆ กันมา แต่จำได้ว่าแค่เห็นผ่านตาเพียงครั้งเดียวกลับจำได้ขึ้นใจ ข้อความนั้นเขียนว่า 

“รักกับชอบต่างกันยังไง
หากคุณชอบดอกไม้ คุณจะเด็ดมัน แต่หากคุณรักดอกไม้ คุณจะรดน้ำให้มัน”    

แค่เพียงเลื่อนผ่านก็ต้องหยุดชะงักเพื่อไล่อ่านข้อความนั้นซ้ำอีกครั้ง ความหมายแฝงที่ไม่ได้บอกคำตอบตรงๆ แต่เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของความรู้สึกได้ลึกซึ้งและกินใจที่สุด เราได้ลองไปหาที่มาของข้อความนี้จากอินเทอร์เน็ต จนได้พบกับคำพูดของนักปราชญ์ชาวอินเดียท่านหนึ่งที่มีความหมายในเชิงเดียวกัน ไม่แน่อาจดัดแปลงกันมาอีกที ข้อความนั้นเป็นภาษาอังกฤษ ใจความว่า

“If you love a flower, don’t pick it up. 
Because if you pick it up it dies 
and it ceases to be what you love. 
So if you love a flower, let it be. 
Love is not about possession. 
Love is about appreciation.”

— Osho นักปราชญ์ชาวอินเดีย

ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า… 

“หากคุณรักดอกไม้ อย่าได้เด็ดมันขึ้นมา
เพราะเมื่อคุณเด็ดมันขึ้นมา มันก็จะตาย
และยุติการเป็นสิ่งที่คุณรัก
ดังนั้นหากคุณรักดอกไม้ ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนั้น
ความรักไม่ใช่การครอบครอง
ความรักคือการชื่นชม เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น”

สิ่งที่ประโยคทั้งสองต้องการสื่อ ผ่านการตีความของเราคือ หากคุณรู้สึกชื่นชอบหรือหลงใหลในใครสักคน คุณคงรู้สึกเพียงแค่อยากจะดึงเขาหรือเธอมาครอบครองอยู่กับตัว ไม่สนว่าจะเป็นเช่นไร เพียงได้มีสิ่งนั้นไว้ข้างกาย เหมือนการเดินผ่านดอกไม้ที่ถูกใจ จนต้องขอเด็ดดอกไม้ดอกนั้นมาไว้กับตัว ซึ่งดูเป็นความคิดที่ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของตัวเองเป็นหลัก 

ขณะที่หากคุณมีความรู้สึกรักในใครสักคนแล้ว คุณคงจะอยากเห็นเขาหรือเธอเติบโต เบ่งบาน สิ่งที่ทำได้อาจเพียงแค่เฝ้ามอง หวังดี และคอยทะนุถนอมอย่างสุดกำลัง โดยไม่จำเป็นต้องครอบครองเป็นเจ้าของ เพราะความรักที่แท้จริงไม่ใช่การครอบครอง ก็เหมือนกับการที่คุณหลงรักดอกไม้ดอกหนึ่ง สิ่งที่คุณต้องทำคืออย่าได้เด็ดมัน เพราะสุดท้ายมันก็จะเหี่ยวเฉาและตายลง สิ่งที่พอจะทำได้คือการเฝ้าดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ยพรวนดิน เพื่อทำให้มันเติบโต งอกงามเป็นดอกไม้ดังเดิมที่ได้อยู่ในที่ของมัน ขอแค่ได้เฝ้ามองอยู่ไกลๆ รับรู้และมองเห็นความสวยงามและคุณค่าของมัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของดอกไม้นั้นก็ได้ 

นิยามความรักสอนใจมีอยู่มากมาย แต่สุดท้ายอยู่ที่ตัวเราว่าจะเลือกหยิบไปใช้กับรูปแบบความรักของตัวเองได้ไหม บางครั้งความรักกับความชอบที่หลายคนเฝ้าค้นหานิยามอาจจะง่ายๆ แค่นี้เอง แท้จริงแล้ว ความรักไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย มันง่ายในตัวมันเอง เพียงแต่ผู้คนนั่นแหละที่ทำให้มันยาก 


เขียนโดย เพลิน ภารวี สุภามาลา Content Editor THE STUDY TIMES


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top