Sunday, 19 May 2024
Soft News Team

เฟซบุ๊ก สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความ เปิดข้อปฏิบัติในการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2563 มีดังนี้

ระเบียบการเข้าห้องสอบ

1.) ไม่มีเลขที่นั่งสอบ (ไม่มีสิทธิ์สอบ)

2.) ไม่มีบัตรแสดงตน (ไม่มีสิทธิ์สอบ)

3.) ไปผิดสนามสอบ (ไม่มีสิทธิ์สอบ)

4.) ไปสายเกิน 30 นาที (ไม่มีสิทธิ์สอบในวิชานั้น)

5.) ห้ามนําเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารเข้าห้องสอบ

6.) ให้นั่งสอบจนหมดเวลา

7.) อนุญาต ให้นํานาฬิกาเข้าห้องสอบ (ต้องเป็นนาฬิกาธรรมดาที่ใช้ดูเวลาเท่านั้น)

หลักฐานที่ใช้ในการเข้าห้องสอบ

บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือ บัตรที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่มีรูปถ่ายและยังไม่หมดอายุ

อุปกรณ์และหลักฐานที่อนุญาตให้นําเข้าห้องสอบ

1.) ปากกา ใช้สําหรับกรอกรายละเอียดต่าง ๆ บนหัวกระดาษคําตอบ

2.) ดินสอดํา 2B ใช้สําหรับระบายรหัสวิชา เลขที่นั่งสอบและคําตอบที่ต้องการเลือก

3.) ยางลบ

4.) กบเหลาดินสอ

5.) บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรประจําตัวนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือบัตรที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่มีรูปถ่ายและยังไม่หมดอายุ

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรูปถ่าย หรือบัตรที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่มีรูปถ่าย และยังไม่หมดอายุ.


ที่มา: https://www.facebook.com/bmaedustrategy/posts/1619905211529371

ประเทศจีน กำลังพิจารณาถอดภาษาอังกฤษ ออกจากวิชาภาคบังคับ เหตุเพราะมีการใช้งานจริงเพียงแค่ 10% ในการทำงาน เน้นให้ความสำคัญกับวิชาพลศึกษา ดนตรี และศิลปะมากขึ้น

เป็นอีกประเด็นที่นี่สนใจ ในการประชุมสองสภาของจีน

ในวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา 许进 Xǔ jìn ผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน ได้มีการเสนอให้ถอดภาษาอังกฤษออกจากวิชาภาคบังคับสำหรับชั้นประถมและมัธยม และให้ไปเน้นในวิชาพละ ดนตรี และศิลปะแทน

โดยให้เหตุผลว่า ภาษาอังกฤษนั้นมีการใช้งานจริงเพียงแค่ 10% ในการทำงาน อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีการแปลภาษาแบบ Real time ก็เข้ามาทลายอุปสรรคทางการสื่อสาร อันสังเกตได้จากอาชีพ ล่าม และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาที่น้อยลงเรื่อย ๆ

หลังจากที่ได้มีการถกเถียงกันบนโลก 微博 Wēi bó

China Youth Daily ได้ทำผลสำรวจเกี่ยวกับประเด็นนี้พบว่า มีผู้สนับสนุนสูงถึง 43% ในขณะที่ 48% เชื่อว่าภาษาอังกฤษยังจำเป็นสำหรับยุคโลกาภิวัตน์นี้

จากข้อมูลสถิติ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีผู้คนพูดมากที่สุดในโลกประมาณ 1.35 พันล้านคน ในขณะที่ภาษาจีนมาเป็นอันดับ 2 ที่จำนวน 1.12 พันล้านคน

แล้วคุณล่ะ มีความคิดเห็นอย่างไร


ที่มา : http://www.thatsmags.com/china/post/32411/lawmakers-propose-dropping-english-as-core-subject-again?fbclid=IwAR06xKKyuYCCOlnNBRFrZY8xC1MDhVuIaSD2FxkYyZKNYL_g66Iyam_SIbQ

แม่ที่มี EQ สูงสามารถเลี้ยงลูกได้ดี แม้สถานการณ์บางอย่างไม่เอื้ออำนวย เธอก็ยังสามารถแยกแยะ และสามารถทำหน้าที่แม่ที่ดีได้อย่างไม่บกพร่อง

ผลงานวิจัย พบว่า ลูกเก่ง มาจากการเลี้ยงดูของแม่ที่มี EQ สูง

แม่ สำคัญต่อความสุข และความสำเร็จของคนในครอบครัวอย่างไร

จริงอยู่เรายกให้พ่อเป็นผู้นำครอบครัว แต่ แม่ คือ คนกำหนดบรรยากาศภายในบ้าน จะสังเกตได้ว่าถ้าวันไหนแม่อารมณ์ดี คนในบ้านก็มีแต่รอยยิ้ม ถ้าวันไหนแม่อารมณ์เสีย บรรยากาศในบ้านก็หม่นหมองไปด้วย

แต่ ผู้หญิงส่วนใหญ่มักเป็นแบบนี้

ผู้หญิงส่วนใหญ่ มักมีจุดศูนย์กลางของชีวิตไปขึ้นอยู่กับผู้ชาย (สามี) อารมณ์ก็จะขึ้นลงตามความรักของผู้ชาย กลายเป็นโลกทั้งใบคือนายคนเดียว เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่คาดคิด ที่ไปสั่นคลอนต่อความรัก จิตแม่ก็จะตก อารมณ์จะไม่มั่นคง ขาดจุดยืน อ่อนไหวทางด้านจิตใจ  คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือลูก ๆ ของเรานั่นเอง

แม่ที่ EQ สูงสามารถเลี้ยงลูกได้ดี แม้สถานการณ์บางอย่างไม่เอื้ออำนวยก็ตาม เธอก็ยังสามารถแยกแยะและสามารถทำหน้าที่แม่ที่ดีได้อย่างไม่บกพร่อง

ผู้หญิงที่มี EQ สูงมักเลี้ยงลูกแบบไหน​​​

1.) ให้ความรัก หมั่นพูดคุยกับลูก แสดงออกให้ลูกรับรู้ถึงความรักและความอบอุ่น

2.) เข้าใจพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย จะได้ปฎิบัติต่อเขาอย่างถูกต้อง เหมาะสม

3.) ให้ความเป็นส่วนตัว กิจกรรมพักผ่อน อยู่กับเพื่อนบ้าง ฟังเพลงที่เขาชอบ เล่นดนตรีที่เขารัก

4.) ส่งเสริมให้ลูกรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง ด้วยการสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ

5.) ให้โอกาสและอิสระในการตัดสินใจ จะช่วยให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่บังคับจิตใจ จะทำให้ลูกรู้สึกมีความภาคภูมิใจในตัวเอง

6.) สอนให้ลูกรักตัวเอง และรักคนอื่นเป็น จะได้มีความโอบอ้อมอารี เริ่มต้นจากเรื่องง่าย ช่วยเหลืองานบ้านเล็กๆ น้อยๆ รินน้ำให้ดื่ม ช่วยยกกระเป๋า

7.) มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่พอดี ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป ให้ลูกสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี ถ้าบังคับมากจนเกินไป จะทำให้ลูกมีความกดดันสูง เกิดความเครียดในการใช้ชีวิต

8.) ให้ลูกรู้จักคิดแบบเป็นเหตุและเป็นผล หมั่นอธิบาย ว่าอะไรควรไม่ควร เรื่องกาลเทศะ การรักษามารยาทเป็นเรื่องสำคัญที่ลูกต้องเข้าใจเหตุผล

9.) สอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ ฝึกให้มีวินัย ในกิจวัตรประจำวัน เวลาไหนเรียน เวลาไหนเล่น

10.) การศึกษาที่ดี การฝึกจิตใจที่ดี มีผลต่อการมี EQ สูง พยามให้ลูกได้เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง พยายามแยกแยะให้ลูกเข้าใจระหว่าความจริง กับความเห็น

สายตาที่ลูกมองมา ต้องการเห็นอะไร

“ลูก” อยากเห็นแม่ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีเหตุมีผล เป็นตัวของตัวเอง มากกว่าแม่ที่อ่อนไหวอารมณ์แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ลูกต้องการเสาหลักไว้ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ ในขณะที่พวกเขายังแกร่งไม่มากพอ

สำหรับลูก ๆ ที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออนาคต ถ้าวันหนึ่งเจอกับความผิดหวัง เจ็บปวดอย่างแสนสาหัส ในเวลานั้นทุกคนต้องการพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับไว้เยียวยาตัวเอง และที่แห่งนั้น ก็คือ “บ้าน” ขอให้ทุกคนกลับไปบ้าน  เพราะที่นั่น มี “แม่” ที่จะคอยซับความทุกข์ของลูกให้คลายลง แม่ที่คอยโอบกอดให้ความเจ็บปวดลดน้อยลง

แม่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เข้มแข็งและอดทน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แม่จะยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งต่อไปไม่มีวันหยุด “แม่ คือผู้สร้างโลก” โลกที่สวยงามเสมอสำหรับลูก

วิธีคิดที่ถูกต้องนำมาสู่ชีวิตที่ถูกต้องเสมอ

ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้กับ “คุณแม่” ทุกคน ขอให้มีชีวิตที่ทรงพลังในทุกๆวันคะ


เขียนโดย อ.นิธิมา กุญชร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากร โปรเฟสชั่นนอล เทรนเนอร์

#Talktonitima

อ้างอิงจาก

https://th.theasianparent.com/

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/

'พลอย พิชามญชุ์' สาวน้อยนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง (สายวิทย์) ปีล่าสุด ! | Click on Clever EP.6

จากการอบรมบ่มเพาะจากครอบครัวคุณพ่อคุณแม่เป็นหมอ ที่มองเห็นศักยภาพความเป็นเลิศทางวิชาการและสนับสนุนสาวน้อยมหัศจรรย์วัย "พลอย พิชามญชุ์ อัศวผดุงสิทธิ์" มาอย่างต่อเนื่อง เธอเรียนจบมัธยมปลายโรงเรียนเตรียมอุดม โครงการพัฒนาความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ ( Gifted Math) เกรดเฉลี่ย 4.00 , เหรียญทอง เคมีโอลิมปิกระดับนานาชาติ (International Chemistry Olympiad : 50th IChO)

ปัจจุบันนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง (สายวิทย์) ประจำปี 2563 ได้รับการตอบรับเข้ามหาวิทยาลัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) เธอไม่ได้แค่เป็นเลิศทางวิชาการเท่านั้น แต่วิธีคิดในการมองชีวิตให้สนุกกับคณิตศาสตร์และเคมียังเป็นเลิศอีกด้วย

.

.

.

กำหนดการสอบวัดความพร้อม เพื่อพิจารณานักเรียนเข้าศึกษา ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2564

กำหนดการสอบวัดความพร้อม เพื่อพิจารณานักเรียนเข้าศึกษา ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2564

07.50 น. : ผู้เข้าสอบเริ่มขึ้นบนอาคารและเข้าห้องสอบ

08.15 น. : ผู้กำกับห้องสอบชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ

08.30 - 09.30 น. : สอบวิชาคณิตศาสตร์

09.30 - 10.15 น. : สอบวิชาวิทยาศาสตร์

10.15 - 11.00 น. : สอบวิชาภาษาไทย

11.00 - 11.45 น. : สอบวิชาสังคมศึกษา

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.20 น. : ผู้เข้าสอบหลักสูตรโครงการ EPTS เริ่มขึ้นบนอาคารและเข้าห้องสอบ

13.30 น. : ผู้กำกับห้องสอบชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ

13.40 - 15.20 น. : สอบวิชาภาษาอังกฤษ (สำหรับผู้เข้าสอบที่สมัครสอบหลักสูตรโครงการ ETPS)


ที่มา: https://www.satitpatumwan.ac.th/?p=16211

Quotient หรือความฉลาดด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีการศึกษาในเชิงจิตวิทยาพัฒนาตัวเองนั้น ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีการนิยามศัพท์การพัฒนาตัวเองมากถึง 7Q จากเมื่อก่อนจะได้ยินเพียงแค่ IQ หรือ EQ เท่านั้น

“จิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ “ ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยกล่าวเอาไว้ และคำว่า “มนุษย์” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีใจสูง” นั้น จึงอยู่คู่กับการพัฒนาเสมอ หากมนุษย์คนไหน หยุดพัฒนาตัวเอง ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่นั่นเอง บทความนี้จึงอยากจะมานำเสนอให้เห็นว่า ความฉลาด 7 ด้าน ที่เป็นทักษะการพัฒนาชีวิต เพื่อพิชิตความสำเร็จนั้น มาทำความรู้จักกันสักนิด

1.) IQ ( Intelligent Quotient )

ความฉลาดทางสติปัญญา ความฉลาดด้านนี้เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ คำนวณ และการใช้เหตุผล การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ การทดสอบ IQ เป็นที่นิยมสำหรับการวัดระดับความรู้เชิงวิชาการ

คนที่มี IQ สูง มักจะเป็นคนเก่งวิชาการ ประกอบอาชีพประเภทแพทย์ วิศวกร นักการเงิน เป็นต้น

2.) EQ ( Emotional Quotient )

ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดด้านนี้เป็นความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และยับยั้งชั่งใจ แสดงออกอย่างเหมาะสม

คนที่มี EQ สูงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้าอกเข้าใจผู้อื่น ทำงานเป็นทีมได้ดีอีกด้วย

3.) CQ ( Creativity Quotient )

ความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ ความฉลาดด้านนี้เป็นความสามารถในการจินตนาการ สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ เช่น การเล่น งานศิลปะ และงานประดิษฐ์สิ่งของ

4.) MQ ( Moral Quotient)

ความฉลาดทางศีลธรรม รู้จักผิดชอบชั่วดี มีความซื่อสัตย์ ซึ่งความฉลาดทางด้านนี้เป็นการปิดจุดอ่อนความฉลาดทางด้านอื่น ที่ว่าเก่งไปหมดแต่ไม่มีศีลธธรรมก็ไม่ดีต่อสังคม การพัฒนาตัวเองจึงควรมีความฉลาดทางด้านนี้ด้วย ซึ่งความสามารถทางด้านนี้ต้องใช้เวลาในการอบรมบ่มนิสัย และขัดเกลาเป็นเวลานาน ซึ่งสถาบันครอบครัวจะมีส่วนมากในการเสริมสร้างความฉลาดด้านนี้

5.) HQ ( Health Quotient )

การมีสุขภาพที่แข็งแรง ข้อนี้มีความสำคัญมากและเป็นพื้นฐานให้กับความฉลาดทางด้านอื่น เพราะหากร่างกายไม่แข็งแรง การพัฒนาความฉลาดในด้านอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ยากขึ้น

6.) AQ ( Adversity Quotient )

ความฉลาดในการแก้ปัญหา หมายถึงการยืดหยุ่นและปรับตัวในการเผชิญกับปัญหาได้ดี และสามารถเอาชนะอุปสรรคด้วยความยากลำบาก อดทน ไม่ท้อถอย มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายและกล้าฟันฝ่า

7.) SQ ( Social Quotient )

ความฉลาดทางสังคม เป็นความสามารถในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ความสามารถด้านนี้จะทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และทำให้สังคมเกิดความสงบสุขด้วย

จะเห็นว่าการพัฒนาของมนุษย์นั้นมีหลายด้าน ประกอบกันเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พัฒนาการเหล่านี้หากได้รับการพัฒนาตั้งแต่ยังเด็กก็จะสามารถทำให้เด็กคนนั้นมีศักยภาพและภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตในสังคมได้ดีและง่ายขึ้น หรือแม้จะเป็นผู้ใหญ่ การพัฒนาตัวเองก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่จำกัดอายุ ลองไปปรับใช้และพัฒนาตัวเองกัน เพราะมนุษย์พัฒนาได้เสมอ


เขียนโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Head of Content Editor THE STUDY TIMES

อ้างอิงข้อมูล: ความฉลาดของเด็กยุคใหม่ไม่ได้มีแค่ IQ และ EQ แต่มีถึง 7Q (hellomagazine.com)

7Q เพื่อความสำเร็จในการทำงาน (7Q for Success) (happy-training.com)

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2563) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 รอบที่ 2 (Portfolio) ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2564

คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2563) คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (PCCMS-CRA) โดยความร่วมมือกับ UCL สหราชอาณาจักร (iBSc/MD Programme) เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 รอบที่ 2 (Portfolio) จำนวน 7 คน ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2564

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.pccms.ac.th/ucl2nd64/

สมัครเข้ารับการศึกษาได้ที่ : http://admission.pccms.ac.th/

คติประจำใจจาก 'Albert Einstein' (นักฟิสิกส์ยอดอัจฉริยะเจ้าของทฤษฎีและสมการพลิกโลก)

“Learn from yesterday, live for today, hope for tomorrow. The important thing is not to stop questioning.”

“เรียนรู้จากวันวาน ใช้ชีวิตอยู่ในวันนี้ มีความหวังกับวันพรุ่งนี้ สิ่งสำคัญคืออย่าหยุดตั้งคำถาม”


Albert Einstein (นักฟิสิกส์ยอดอัจฉริยะเจ้าของทฤษฎีและสมการพลิกโลก)

รักในวัยเรียน อาจจะไม่ใช่การจุดเทียนกลางสายฝนเสมอไป หากรู้จักจัดลำดับความสำคัญ และรักอย่างเหมาะสม ในวัยที่รักเป็นเรื่องรอง

รักในวัยเรียน ก็เหมือนจุดเทียนกลางสายฝน ประโยคยอดฮิตที่ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนชอบพูดกับเด็กในวัยที่กำลังศึกษาอยู่ เพราะคงอยากอยากให้ตั้งใจเรียนมากกว่าสนใจเรื่องความรักที่พวกเขามองว่ายังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม จริง ๆ แล้ว การมีความรักในวัยเรียน ไม่ดีจริงหรือ?

ทุกคนมีความรักครั้งแรกเข้ามาทักทายตอนอายุเท่าไหร่กันคะ อาจจะเป็นตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม หรือตอนขึ้นมหาวิทยาลัยเลย แล้วเราก็เชื่อว่าวัยรุ่นทุกคนที่โตมาต้องเคยได้ยินประโยคเด็ดที่ว่า ‘รักในวัยเรียน ก็เหมือนจุดเทียนกลางสายฝน’ ฟังดูก็แสนจะโบราณเหลือเกิน แต่ลองมองดี ๆ ในมุมของผู้ที่เตือน หรือก็คือผู้ใหญ่ที่อาบน้ำร้อนมาก่อน นั่นก็เพราะความหวังดีและเป็นห่วง

พวกเขามองว่าความรักในวัยเรียน อย่างไรก็ไม่มีทางยั่งยืน เพราะความเป็นเด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะมากพอ ไม่มีทางที่จะพาความสัมพันธ์ให้ไปกันรอด เปรียบกับเทียนที่ถูกจุดขึ้นกลางสายฝน จุดอย่างไรก็ไม่มีทางติดได้ สู้เอาเวลาที่จะมาคิดเรื่องนี้ไปตั้งใจเรียน โฟกัสที่หน้าที่ของตัวเองดีกว่าไหม เพราะเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ดูจะไร้สาระ รังแต่จะสร้างความรำคาญใจตามมา

คิด ๆ ดูแล้วสิ่งที่ผู้ใหญ่กำลังจะสื่อสารก็เข้าใจได้ แต่ก็มีส่วนที่เรายังไม่เห็นด้วย การมีความรักในวัยเรียนสำหรับเราไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะในหนึ่งชีวิตมีหลายพาร์ทมากกว่านั้น กลับกัน เรามองว่าเป็นเรื่องดีซะอีก เราได้เรียนรู้ที่จะรักและรู้จักความรักในแต่ละช่วงวัย เป็นประสบการณ์และความทรงจำที่ทำให้เราเติบโต แต่เรื่องบทบาทหน้าที่ของนักเรียนนักศึกษานั้นอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญ การวางตัว และการบริหารจัดการตัวเองมากกว่า

เราอาจจะมีความรักหรือคนพิเศษในช่วงขณะที่ใช้ชีวิตบนเส้นทางการศึกษา สิ่งที่ผู้ใหญ่เป็นห่วงคือความวอกแวก การเอาใจไปใส่กับอะไรที่ยังไม่ถึงเวลา จนหลงลืมหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งเรามองว่าถ้าความรักหรือความสัมพันธ์นั้นดีพอ จะยิ่งก่อให้เกิดข้อดีด้วยซ้ำ เพราะสิ่งนั้นจะเป็นแรงผลักดันให้เราทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีขึ้น การมีกำลังใจที่สำคัญ มีคู่หูที่คอยรับฟัง มีคนให้คำปรึกษา มีเพื่อนอ่านหนังสือ มีความฝันและเป้าหมายร่วมกัน ความรักจะกลับกลายเป็นพลังและแรงผลักดันให้เราพยายามพิสูจน์ตัวเองมากขึ้น สุดท้ายผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นตัวยืนยันข้อครหาทั้งหมด

แต่เพราะภาพคนที่สมหวังและจับมือไปถึงเป้าหมายร่วมกัน มีน้อยกว่าคนที่อกหักร้องไห้ฟูมฟาย การที่จะพิสูจน์ให้คนอื่นเชื่อมั่นและลดความเป็นห่วงจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากเกิดสิ่งผิดพลาดขึ้นมา นั่นหมายความถึงผลกระทบต่อเส้นทางในอนาคต

เราเชื่อมั่นว่าคนเราสามารถมีความรักและรักการเรียนควบคู่กันไปได้ ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากตัวเราเอง เรามีแฟนคนแรกตอนอยู่มหาวิทยาลัยปี 3 มีช่วงที่อินเลิฟ เที่ยวเล่น พากันอ่านหนังสือ แบ่งปันเรื่องราวทั้งสุขและทุกข์ แต่บทที่ต้องเลิกราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าร้องไห้ฟูมฟายเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ถึงขนาดนั่งเรียนไปร้องไห้ไปก็มี แต่ก็ยังแบกตัวเองไปเรียนได้ แถมวิชานั้นก็ยังได้เอมา (อวด)

อย่างที่บอกว่าสุดท้ายมันอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญ การจัดการอารมณ์ความรู้สึก รู้จักแยกแยะและไม่ลืมหน้าที่ของตัวเอง เสียใจได้ ผิดหวังได้ แต่สุดท้ายก็ต้องก้าวข้ามผ่านความเจ็บปวด เติบโตจากความผิดหวังและพลั้งพลาด เป็นการเรียนรู้รสชาติชีวิตนอกเหนือจากการเรียนเอาความรู้ในตำรา


เขียนโดย เพลิน ภารวี สุภามาลา Content Editor THE STUDY TIMES


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top