Wednesday, 14 May 2025
LITE TEAM

10 มิถุนายน พ.ศ.2535 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่สอง

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในช่วงปี พ.ศ.2535 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย และวันนี้เมื่อ 29 ปีก่อน นายอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่สอง หลังเหตุการณ์คลี่คลายลง

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง ‘พฤษภาทมิฬ’ ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ทำให้พลเอก สุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พรรคร่วมเสียงข้างมาก ณ ขณะนั้น ได้ร่วมกันสนับสนุนให้ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ณ ขณะนั้น ได้ตัดสินใจเสนอชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ แทน

นายอานันท์ ปันยารชุน จึงได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2535 ทั้งนี้นายอานันท์ยังได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ โดยรัฐมนตรีส่วนใหญ่ เป็นรัฐมนตรีที่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อน ในสมัยที่นายอานันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก

๙ มิถุนายน วันอานันทมหิดล วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘)

วันอานันทมหิดล ตรงกับวันที่ ๙ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ ด้วยความสำนึกในพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ได้สร้างคุณูปการต่อวงการแพทย์และการศึกษา จึงถือเอาวันที่ ๙ มิถุนายนของทุก ๆ ปี เป็นวันอานันทมหิดล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ทรงพระราชสมภพ  เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมณี  ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒ ใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ได้ทรงศึกษาจากต่างประเทศและได้เสด็จนิวัตเมืองไทย  ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ จึงมีการลงมติเห็นชอบอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ 

ซึ่งขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะในระหว่างการศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ได้เสด็จนิวัตเมืองไทย เพื่อกลับมาเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฏร เมื่อพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ทรงเสด็จนิวัตเมืองไทยอีกครั้ง  ด้วยทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายในฐานะประมุขของประเทศ ระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จนิวัติเมืองไทยครั้งที่ ๒ นั้น พระองค์เสด็จสวรรคต เนื่องจากถูกพระแสงปืน ณ พระแท่นบรรทมในพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙หลังจากเสวยราชสมบัติอยู่เป็น เวลา ๑๒ ปี

8 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันทะเลโลก ‘World Ocean Day’ เพื่อตระหนักและอนุรักษ์ทะเลให้สวยงาม

รู้หรือไม่? วันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี คือ วันทะเลโลก (World Oceans Day)

วันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) ได้กำหนดขึ้นในคราวการประชุมสุดยอดระดับประเทศผู้นำว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UN Conference on Environment and Development: UNCEN) หรือการประชุม Earth Summit ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี 2535 โดยประเทศสมาชิกกว่า 178 ประเทศ รวมตัวกันเพื่อเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ส่งต่อไปยังประชาชนทั่วโลกผ่านเครือข่ายต่างๆ ที่มีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก พร้อมกับจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกช่วยกันปกป้องและรักษาทะเล โดยหลังจากนั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาทุกปี

จนกระทั่งปี 2551 องค์การสหประชาชาติ จึงกำหนดให้วันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันทะเลโลก โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2552 ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมในการดูแลรักษาทะเลและมหาสมุทรอย่างพร้อมเพรียง เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล 

7 มิถุนายน พ.ศ.2564 รัฐบาลประกาศ วันดีเดย์ ‘ฉีดวัคซีน’ ปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นวันดีเดย์ที่รัฐบาล ประกาศฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนทั่วประเทศ

ภายหลังจากที่ทั่วโลกได้เผชิญกับโรคระบาดโควิด-19 ที่ตรวจพบตั้งแต่ปลายปี 2562 ก่อนที่บริษัทผู้ผลิตยา จะสามารถคิดค้นวัคซีนป้องกันสำเร็จ ในอีก 1 ปีถัดมา

ขณะที่ประเทศไทย นับเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ได้จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาฉีดให้ประชาชน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด และลดอัตราการเสียชีวิต 

วันนี้เมื่อ 78 ปีก่อน โลกได้จารึกปฏิบัติการยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตร เปิดฉากบุกยึดคืนฝรั่งเศส จากนาซี จนนำไปสู่การชนะศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ในที่สุด

6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 วันดี เดย์ (D Day) เป็นวันที่ทหารกองกำลังสัมพันธมิตร 156,000 นาย ส่วนใหญ่เป็นทหารอเมริกัน อังกฤษ และแคนาดา ยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีเพื่อเริ่มปฏิบัติการปลดปล่อยประเทศที่ถูกนาซียึดครอง จึงเรียกว่าวันดีเดย์ (D-Day) ย่อมาจาก Deliverance Day ถือเป็นปฏิบัติการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เฉพาะวันแรกวันเดียวมีทหารล้มตายถึง 4,400 นาย

ยุทธการนี้ใช้เรือถึง 7,000 ลำ ลำเลียงกำลังพล 156,000 นาย และยานพาหนะ 10,000 คัน ไปยังหาดทั้ง 5 แห่งตามแนวชายฝั่งนอร์มังดี รวมถึงมีการสนับสนุนกองกำลังทางอากาศและทางเรือซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชัยชนะมาได้

แม้เวลาจะผ่านไปนานกว่า 7 ทศวรรษแล้ว แต่ “การรบที่นอร์มังดี” (The Battle of Normandy) ยังเป็นมรดกของประวัติศาสตร์สงครามที่นักการทหารยังต้องเรียนรู้เสมอ อีกทั้งยังปรากฏในรูปของภาพยนตร์ให้คนรุ่นหลังได้ชมกัน และอย่างน้อยก็ทำให้คนไทยคุ้นเคยกับคำว่า “ดี เดย์” นั่นเอง

เสกผิวสวย ด้วย ‘สาธิดาเฮิร์บ’ ชาติหน้าไม่รอ ขอสวยชาตินี้

ฮัลโหลลทุกๆ คนขาาาา ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนเลย ชื่อริต้านะคะ วันนี้ก็อาจจะเป็นโพสต์แรกที่ทุกคนจะมารู้จักริต้า ซึ่งบอกเลอะ โดนป้ายยาสะบัดแน่ๆ! 😏

ทุกคนค่ะ อีกหนึ่งเสน่ห์ของคนเราเนี่ย ก็คือผิวของเรา แต่เอ๊ะ! ไม่ได้บอกว่าต้องผิวขาวนะคะ แต่กำลังบอกว่าต้องเป็นผิวที่ดูสุขภาพดีต่างหาก คำถามถัดมา แล้วแบบไหนเรียกว่าผิวดูสุขภาพดี? นั่นคือการที่มีผิวที่ดูใส ไม่หมอง ผิวเรียบ เนียนนุ่มมม🥰

แล้วนี่ "สครับและสบู่สาธิดาเฮิร์บ" ตอบโจทย์ได้ดี แถมริต้าใช้เองด้วย ซึ่งตอนนี้ใช้สบู่หมดไป 20 ก้อนได้ สครับก็จะ 10 กระปุกแล้ว เพราะของเขาดีจริงๆ ใช้ของสมุนไพรทั้งหมด ออร์แกนิก 100% เพราะริต้าเคยลองชิมแล้ว (แต่รสชาติก็…..อื้มม ของใช้อะเนอะ ไม่ใช่ของกิน อย่าหาทำ) 5555 

วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ร่วมเชิดชูเกียรติเกษตรกรไทย

ทุกวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี กำหนดให้เป็น วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เนื่องด้วยข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศไทย

ตามมติคณะรัฐมนตรีรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วันที่ 23 มิถุนายน 2552 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ” ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

ทั้งนี้ การกำหนดให้มี “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อประเทศและสังคมไทยอย่างยิ่ง นอกจากนี้ข้าวยังมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของคนไทย รวมทั้งเป็นความมั่นคงทางอาหารดังนั้น นโยบายหรือมาตรการใดที่เกี่ยวกับข้าวย่อมส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นไปของสังคมไทยอย่างมาก

4 มิถุนายน พ.ศ.2532 เหตุการณ์นองเลือด ‘จัตุรัสเทียนอันเหมิน’ เรื่องเศร้าในหน้าประวัติศาสตร์ประเทศจีน

เหตุการณ์นองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปีค.ศ. 1989 ที่เพิ่งครบรอบ 30 ปีไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2019 นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน ผู้ประท้วง และผู้ที่สูญเสียจากเหตุการณ์ในวันนั้นทุกคนต่างยังจำโศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้อย่างไม่ลืมเลือน จนทุกวันนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่ามีผู้เสียชีวิตกี่รายกันแน่ เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่เคยออกมาเปิดเผย รวมถึงมาตรการที่มุ่งเซนเซอร์ทุกอย่างที่กล่าวถึงเหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมินในโลกไซเบอร์ทั้งหมด ไม่เคยมีการจัดงานรำลึกอย่างเป็นทางการ เหตุการณ์ในวันนั้นถูกตัดออกจากหนังสือประวัติศาสตร์ในจีนโดยสิ้นเชิง และใครก็ตามที่ถูกมองว่าพยายายามปลุกปั่น ประท้วง และรื้อฟื้นเหตุการณ์นี้ขึ้นมา ก็สามารถถูกจับไปจำคุกได้ถึง 3 ปีครึ่ง

จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ จัตุรัสเทียนอันเหมิน - ช่วงปี 1988 ประเทศจีนประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อสูงกว่า 30% ในหลายเมือง ผู้คนต่างไม่พอใจกับผลงานของรัฐบาลในช่วงนั้นเป็นอย่างมาก ถัดมาอีก 1 ปี หู เย่าปัง อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ถือได้ว่าเป็นนักปฏิรูปในพรรคคอมมิวนิสต์ ถึงแก่อสัญกรรมไปวันที่ 15 เม.ย. 1989 กลุ่มผู้สนับสนุนเขาจึงพร้อมใจกันออกมาไว้อาลัย และประท้วงการปฏิรูปในจีนที่เป็นไปอย่างล่าช้า

พร้อม ๆ กันกับที่นักศึกษาจำนวนมากที่ออกมาเรียกร้องเสรีภาพออกมาชุมนุมพร้อมกันใจกลางกรุงปักกิ่งในวันนี้
การชุมนุมจัตุรัสเทียนอันเหมินที่เริ่มขยายวงกว้าง

การประท้วงเริ่มขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ มีการประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในเมืองซีอาน และฉางซา รวมถึงนักศึกษาจากกว่า 20 มหาวิทยาลัยในกรุงปักกิ่งประกาศชุมนุมต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด และเริ่มมีการอดอาหารประท้วงเกิดขึ้น

โดยหลักแล้วการชุมนุมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มสิทธิเสรีภาพประชาชน เรียกร้องประชาธิปไตย ยุติอำนาจเผด็จการ นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องสภาพเงินเฟ้อ การปรับค่าจ้างแรงงาน และการปฏิรูปที่อยู่อาศัยประชาชน จนถึงจุดที่มีประชาชนกว่า 1 ล้านคน ชุมนุมกันใจกลางกรุงปักกิ่ง

๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ในช่วงเวลานั้นพระองค์ทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551 ทรงใช้ชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป

ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุด เป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) ทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

ย้อนกลับไปในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ (ในเวลานั้นคือพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์) ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้ตามเสด็จในพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานฯ และปรากฏตัวอีกครั้งในวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในปีเดียวกัน

ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังได้เผยแพร่รายงานการเสด็จพระราชดำเนินที่พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติไปทอดพระเนตรพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเพิ่มเติมเป็น วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (มีหมายกำหนดการระบุชื่อสกุลดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน)

2 มิถุนายน ของทุกปี วันส้มตำสากล – International Somtum Day เมนูแซ่บของไทยที่นานาชาติยอมรับ

วันที่ 2 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันส้มตำสากล (International Somtum Day) วันที่นานาชาติให้การยอมรับว่าส้มตำไทยอร่อย และยกย่องให้ส้มตำเป็นอาหารสากล

รู้หรือไม่ วันที่ 2 มิถุนายนของทุกปีเป็น “วันส้มตำสากล” (International Somtum Day) เป็นวันที่นานาชาติให้การยอมรับว่าส้มตำไทยอร่อย และยกย่องให้ส้มตำเป็นอาหารสากล

“ส้มตำ” เป็นอาหารปรุงมาจากการทำตำส้ม คือการทำให้เปรี้ยว ในลาวเรียกว่า “ตำหมากหุ่ง” โดยนำมะละกอดิบที่สับแล้วฝานหรือขูดเป็นเส้นมาตำในครกเป็นหลัก พร้อมด้วยวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น มะเขือเทศลูกเล็ก,มะเขือสีดา,มะเขือเปราะ,พริกสดหรือพริกแห้ง,ถั่วฝักยาวมกระเทียม และปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา และมะนาว

โดยส่วนผสมและเครื่องปรุงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ส้มตำมีรสเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว โดยในภาคอีสานนิยมส้มตำรสเผ็ดเค็ม ส่วนไทยภาคกลางนิยมรสเปรี้ยวหวาน ซึ่งนิยมรับประทานกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยในบางครั้งรับประทานกับขนมจีน เส้นเล็กลวก เส้นหมี่ และแคบหมู 
 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top