Wednesday, 14 May 2025
LITE TEAM

30 มิถุนายน ของทุกปี วันโซเชียลมีเดีย (Social Media Day) สะท้อนความสำคัญต่อการสื่อสารทั่วโลก

รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 30 มิถุนายนเป็น ‘วันโซเชียลมีเดีย’ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยเว็บไซต์ Mashable.com เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและรำลึกถึงโลกโซเชียลมีเดีย ที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารและคนทั่วโลกในปัจจุบัน

ทั้งนี้ จากรายงาน Global Digital Report 2021 ของ We Are Social และ Hootsuite แพลตฟอร์มบริหารจัดการสื่อสังคมออนไลน์ ได้ออกมาเปิดเผยถึงสถิติตัวเลขล่าสุดของผู้ใช้โซเชียลที่พบว่า ในปีที่ผ่านมาการใช้งานโซเชียลมีเดียทั่วโลก มีผู้ใช้งาน 4.48 พันล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 500 ล้านคน ในเวลาเพียง 1 ปี 

29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เรือดำน้ำชุดแรก 4 ลำ ที่รัฐบาลไทยสั่งซื้อ เดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงประเทศไทย

รู้หรือไม่ ในอดีตประเทศไทยเคยมีเรือดำน้ำที่สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น มาแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2481 

29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เรือหลวงสินสมุทร, เรือหลวงพลายชุมพล, เรือหลวงมัจจาณุ (ลำที่ 2) และ เรือหลวงวิรุณ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำชุดแรกที่รัฐบาลไทยสั่งต่อมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย 

เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้รับการต่อที่อู่ต่อเรือ บริษัท มิตซูบิชิ ที่เมืองโกเบ เมื่อปี 2479 ในสนนราคาลำละ 882,000 บาท วางกระดูกงูและปล่อยลงน้ำไล่เลี่ยกันคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2479  ดังนี้ 

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 6 พฤษภาคม 2479

พิธีวางกระดูกงู ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 1 ตุลาคม 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.มัจฉาณุ และ ร.ล.วิรุณ โดยนางมิตรกรรมรักษา เมื่อ 24 ธันวาาคม 2479

ปล่อยลงน้ำ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล โดยพระมิตรกรรมรักษา เมื่อ 14 พฤษภาคม 2480 (มีการถ่ายทำภาพยนตร์โดย ร.ท.นิตย์ สุขุม)

28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ครบรอบ 90 ปี กำเนิด ‘รัฐสภาไทย’ วันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก

28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วันนี้ เมื่อ 90 ปีก่อน เป็นวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นวันกำเนิด ‘รัฐสภาไทย’

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปีพุทธศักราช 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ประเทศไทย (สยาม) ได้เปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นมา ประเทศไทยก็ขับเคลื่อนไปด้วยกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่เรียกว่า “ผู้แทนราษฎร” ทำหน้าที่ใช้สิทธิออกเสียงในการบริหารปกครองบ้านเมืองแทนประชาชน

เวลา 14 นาฬิกา ของวันที่ 28 มิถุนายน 2475 สภาผู้แทนราษฎรได้มีการประชุมเป็นครั้งแรก ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยจัดห้องประชุมเป็นลักษณะครึ่งวงกลมตามระนาบพื้นห้อง การประชุมเริ่มขึ้นเมื่อหลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) อ่านรายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง จำนวน 70 คน และเป็นผู้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิญาณตนในที่ประชุม จากนั้น เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ได้อัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอ่านเปิดประชุม เสร็จแล้วจึงได้ดำเนินการประชุมต่อไป จึงถือว่าวันนั้นเป็นวันก่อกำเนิดของรัฐสภาไทยมาจนถึงทุกวันนี้

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนั้น ที่ประชุมมีมติเลือกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และเห็นชอบให้หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก รวมทั้งมีมติเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) คนแรก จึงถือว่าคณะรัฐมนตรีได้ถือกำเนิดขึ้นในวันเดียวกันด้วย

27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 วันสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง มหาวิทยาลัยเปิดเพื่อราษฎรแห่งแรก

27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 วันสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) (Thammasat University : TU) ชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งคือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)

ย้อนไปก่อนหน้านั้น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2476 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับเป็นมหาวิทยาลัยเปิดเพื่อราษฎรแห่งแรกตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรและ ดร.ปรีดี พนมยงค์ โดยหลักที่ 6 กล่าวว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร”

ต่อมา วันที่ (27 มิถุนายน 2477) สมเด็จฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่ 7 เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีสถาปนา โดยมี ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ กล่าวรายงาน

ในปีแรก มีผู้สมัครเรียน 7,094 คน

สำนักหอสมุดได้รับการก่อตั้งในปีเดียวกัน แต่เปิดให้บริการได้ครั้งแรก เมื่อปี 2479 เดิมเป็นแผนกตำราและห้องสมุด

พ.ศ. 2480 มีการตราข้อบังคับให้เปิดชั้นเตรียมปริญญา โดยกำหนดให้รับผู้สอบไล่ได้ชั้นมัธยมบริบูรณ์เข้าศึกษา 2 ปี เพื่อเตรียมคนเข้าศึกษาหลักสูตร “ธรรมศาสตร์บัณฑิต”

รู้จัก ‘เติร์ก อมรศักดิ์’ TikTokers สายภาษา มีคลังศัพท์ + ความฮา ยอดติดตามทะลุล้าน


สัมภาษณ์พิเศษ : คุณเติร์ก อมรศักดิ์ เดชห้วยไผ่ วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษในระดับองค์กร และเจ้าของเพจภาษาอังกฤษหยาบๆ



เปิดเคล็ดลับ TikTokers ด้านภาษา เบอร์ 1 ของไทย #ภาษาอังกฤษหยาบๆ รู้ศัพท์ กับความฮา ยอดฟอล 1.8 ล้าน

สวัสดีค่ะ ชื่อ เติร์กนะคะ จากเพจภาษาอังกฤษหยาบๆ หรือ รู้จักกันในนาม #พี่เติร์กภาษาอังกฤษหยาบๆ นั่นเอง ตอนนี้เป็น Content Creator เกี่ยวกับภาษาอังกฤษแบบสนุกๆ แบบวีดีโอสั้นใน TikTok และ Instagram และก็มีทำหนังสือบ้าง ทำคอร์ส และก็คลิปตลกสอดแทรกไปพร้อมๆ กัน 

2. ช่อง Turktk นำเสนอคอนเทนต์อะไรบ้าง
เติร์ก: ช่อง Turktk เราก็จะนำเสนอคอนเทนต์ที่หลากหลาย หลักๆ เลย เราจะก็ทำคอนเทนต์สอนภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ สนุกๆ มีทั้งคำศัพท์มีทั้งประโยค ศัพท์แสลง อีกทั้งเราก็มีคลิปตลก มุกตลก มีมตลกต่างๆ อีกด้วยค่ะ



3. ทำไมต้อง #ภาษาอังกฤษหยาบๆ ได้ไอเดียมาจากอะไร?
เติร์ก : จริงๆ เลย คือภาษาอังกฤษหยาบๆ เริ่มต้นมาจากที่เราสอนคำแสลงต่างๆ และบวกกับตอนนั้นยังไม่มีช่องภาษาอังกฤษสั้นๆ ในแพลตฟอร์ม TikTok นะคะ คือเราจะชินกับการที่ใครสอนภาษาอังกฤษก็จะทำวีดิโอแบบพิถีพิถันยาวๆ เป็นวีดิโอในเชิงการศึกษา 

แต่เราจะทำเป็นแบบว่า สั้นๆ ลวกๆ เป็นที่มาของคำว่าหยาบๆ ด้วย เพราะมันทำได้ในแอปพลิเคชันเลยคือกดถ่ายปุ๊บพูดๆๆ และก็โพสต์ได้เลยค่ะ มันก็จะแบบว่าหยาบๆ ง่ายๆ รวมถึงบุคลิกภาพของเราที่มีปากแจ๋วพอสมควร (หัวเราะ) เลยผนวกกันเป็น #ภาษาอังกฤษหยาบๆ 

4. คลิปไหนที่ทำให้เราเป็นที่รู้จักมากที่สุด
เติร์ก : ก็น่าจะเป็นคลิปแรกๆ เลยค่ะ เป็นที่มาของภาษาอังกฤษหยาบๆ เนี่ยละค่ะ สอนคำแสลงหรือคำที่แบบ...ชาวต่างชาติหรือฝรั่ง ที่เขาใช้เอาไว้กัด จิก ด่ากัน ก็คือเป็นหยาบๆ แรงๆ นิดนึง ก็จะได้รับกระแสความสนใจเป็นอันมาก แต่เราก็ถ่ายทอดออกมาให้มาดูน่ารัก

อีกคลิปนึง ก็น่าจะเป็นคลิป Drive Thru สั่งกาแฟเป็นภาษาอังกฤษ คลิปนี้ก็ทำให้คนรู้จักมากยิ่งขึ้น เยอะเลย และก็อีกคลิปนึงก็จะ #ก็คนมันรวยอ่าจ้า คลิปนี้ก็จะทำให้คนขยายวงกว้างมากขึ้นก็คือคนที่ชอบอะไรตลกๆ บันเทิงๆ ก็จะรู้จักตัวตนเรามากขึ้น นอกจากสอนภาษาอังกฤษค่ะ ก็รุ่งเลย เป็นล้านวิวภายในไม่ถึง 3 ชั่วโมง จากนั้นเราก็ทำออกมาอีกเรื่อยๆ ก็รุ่งไปเรื่อยเลย โดยไม่ได้คาดคิดว่ามันจะปัง 

5. มีคลิปไหนที่ทำออกมาแล้วรู้สึกคาดไม่ถึง ทั้งคลิปรุ่ง และคลิปร่วง 
เติร์ก : สำหรับคลิปรุ่งที่คาดไม่ถึงเลยก็น่าจะเป็น #ก็คนมันรวยอ่าจ้า คือไม่คาดคิดจริงๆ เพราะว่าตอนที่ถ่าย คือถ่ายแบบเล่นๆ แบบกดกล้องถ่ายง่ายๆ และก็กดลงเลย คือไม่ได้คิดอะไรเลย (หัวเราะ) 

ส่วนคลิปที่ร่วง ก็เป็นคลิปที่เราจะพยายามคิดเยอะ โปรดักชันเยอะ ซึ่งเราเคยทำคลิปสอนภาษาที่สร้างสถานการณ์จริงจัง มีตัวละคร มีมุมกล้องถ่ายจากกล้องใหญ่ และค่อยมาลง และตัดต่อดีๆ สุดท้ายก็ร่วงเฉยเลยก็มีนะคะ (หัวเราะ)
 

26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 วันเกิด พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก 

พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตามสันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวง อยู่ในพระราชวังหลัง บิดามารดาเลิกร้างกันตั้งแต่สุนทรภู่เกิด บิดาออกไปบวชที่วัดป่า ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดากลับเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง และได้ถวายตัวเป็นนางนม ของพระธิดาในกรมฯ นั้น  

ในปฐมวัยสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชวังหลัง และได้อาศัยอยู่กับมารดา สุนทรภู่ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลัง และที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักการแต่งกลอน ยิ่งกว่างานอื่น ครั้นรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้  

เมื่ออายุราว 20 ปี ได้ลอบรักกับหญิงสาวชาววังชื่อ "จันทร์" จึงต้องเวรจำทั้งชายหญิง เมื่อกรมพระราชวังหลัง ทิวงคตจึงพ้นโทษ ต่อมาจึงได้แม่จันทร์เป็นภรรยา แต่อยู่ด้วยกันไม่นานก็เกิดระหองระแหงคงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์  

สมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ ใกล้ชิด ระยะนี้สุนทรภู่ได้หญิงชาวบางกอกน้อย ชื่อ นิ่ม เป็นภริยาอีกหนึ่งคน ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุรา อาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษ เพราะความสามารถในทางกลอนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 สถานีรถไฟหัวลำโพง เปิดใช้งานวันแรก มรดกทรงคุณค่าจากในหลวง รัชกาลที่ 5

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในช่วงรัชสมัย ร.6 

สถานีรถไฟหัวลำโพง  เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็ว สถานีกรุงเทพ จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับหัวลำโพงตลอดมา ผ่านยุคสมัย นำมาซึ่งผู้คนที่เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานมากมายจากทุกทิศทั่วไทย มีส่วนทำให้ชุมชนเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวและเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเป็นสถานีชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน และเป็นต้นทางในการนำความเจริญออกไปทั่วประเทศไทยในทุกทิศ จากภาคกลาง สู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามเส้นทางรถไฟสายต่าง ๆ ที่สร้างครอบคลุมทั่วประเทศไทย ที่มาจากจุดกำเนิดเดียวกัน คือ สถานีกรุงเทพ 

แม้ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้นและแบ่งความเจริญไปบนเส้นทางถนนจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่ตลอดมา ตามบทบาทและตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจนถึงยุคปัจจุบัน ถึงแม้ว่าในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไปสู่ยุครถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง อาจทำให้สถานีกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต แต่สถานีกรุงเทพ ยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไปในอนาคต และยังคงต้องอยู่กับคนไทย ไปอีกตราบนานเท่านาน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟเพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 และได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพแห่งแรกที่อยู่บริเวณหลังอาคารกรมรถไฟหลวง ไม่สามารถรองรับการให้บริการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ กรมรถไฟหลวง จึงริเริ่มที่จะสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพที่มีความทันสมัย สวยงามเป็นศรีสง่าแก่พระนคร โดยมีคุณค่าในด้านต่าง ๆ กล่าวคือ 

24 มิถุนายน พ.ศ.2475 วันเปลี่ยนการปกครองประเทศไทย ครบ 90 ปี การอภิวัฒน์สยาม สู่ ประชาธิปไตย

วันที่ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทย เพราะเป็นวันที่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเช่นทุกวันนี้

สำหรับกลุ่มที่ทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนการปกครอง หรือ คณะราษฎรนั้น เกิดจากการประชุมของคณะผู้ก่อการ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและนักเรียนทหารที่ศึกษางานที่ทวีปยุโรป ที่หลายคนคุ้นชื่อก็จะมี ปรีดี พนมยงค์ ,ประยูร ภมรมนตรี ,แปลก ขีตตะสังคะ ทั้งหมดได้วางแผน ร่วมมือกันเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง โดยตกลงว่าจะใช้วิธีการ ยึดอำนาจโดยฉับพลัน หลีกเลี่ยงการนองเลือดแบบที่เคยเกิดขึ้นที่ฝรั่งเศส 

วันที่ (24 มิถุนายน 2475) แผนการก็ได้เริ่มขึ้น คณะราษฎรได้นำกองกำลังทหารบก ทหารเรือ มารวมตัวกันบริเวณรอบพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม หลังจากนั้นให้ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านคำประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 

โดยเนื้อหาหลักก็เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ประโยคหนึ่งที่เรามักเห็นตามข่าวบ่อย ๆ ก็มาจากเหตุการณ์นี้ ประโยคนั้นคือ

 “ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่หลอกลวง”

โดยใจความหลักก็เป็นการอธิบายถึงหลักการของคณะราษฎรในครั้งนี้ ว่าทำเพื่ออยากให้บ้านเมืองดีขึ้น และให้บ้านเมืองบรรลุเป้าหมาย 6 ประการได้แก่

1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
.
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่

5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

6. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เกิดจลาจลเผา รง.แทนทาลัม ที่ จ.ภูเก็ต จุดเปลี่ยนสำคัญจากพึ่งพาเหมืองแร่สู่การท่องเที่ยว

วันนี้ในอดีต (23 มิ.ย. 2529) ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นที่ จ.ภูเก็ต จากการที่ผู้ชุมนุมประท้วงจุดไฟเผาโรงงานแทนทาลัมจนวอดวาย ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกำหนด สุดท้ายต้องย้ายไปสร้างที่อื่น

ตั้งแต่สมัยโบราณมา ‘แร่ดีบุก' นับเป็นทรัพยากรสำคัญที่สร้างรายได้หลักให้กับภูเก็ตมาตลอด แต่ตั้งแต่ปี 2524 ราคาดีบุกในตลาดโลกเริ่มต่ำลง การค้าดีบุกจึงซบเซาพร้อม ๆ กับปริมาณ ‘ดีบุก' ที่มีการขุดพบลดลง

ในระหว่างที่อุตสาหกรรมการผลิตและการค้าดีบุกชะลอตัว ก่อนหน้านั้นชาวภูเก็ต ได้รับรู้และพบว่า 'ขี้ตะกรันดีบุก' หรือ ‘สะแหลกดีบุก' เป็นแร่ที่สามารถขายได้ในราคาดี เพราะมีแร่โคลัมไบต์–แทนทาไลต์ ซึ่งเป็นแร่ยุทธปัจจัยใช้สำหรับทำยานอวกาศหรือหัวจรวดนำวิถีและขีปนาวุธต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติพิเศษที่ทนต่อความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เสียดสีของอากาศได้สูงมาก แร่โคลัมไบต์–แทนทาไลต์ มีราคากิโลกรัมละ 60–70 บาทและเมื่อนำมาผ่านกระบวนการสกัดต่อจนได้ ‘แร่แทนทาลัม'จะมีราคาสูงกว่าแร่แทนทาไลต์หรือขี้ตะกรันดีบุกประมาณ 40-50 เท่า

เมื่อชาวบ้านทราบว่า 'ขี้ตะกรัน' เป็นของมีราคาจึงแตกตื่น ส่งผลให้บรรดานายทุนต่าง ๆ ยื่นประมูลต่อทางการขอขุดถนนเก่า ๆ ทุกสายในตัวเมืองภูเก็ต โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อขุดเสร็จแล้วจะสร้างถนนใหม่ทดแทน ส่วนบ้านที่ปลูกสร้างอยู่บนเตาถลุงที่มีขี้ตะกรันฝังอยู่มาก ๆ ก็จะถูกรื้อหรือทุบพื้นทิ้งเพื่อขุดเอาขี้ตะกรันดังกล่าวขึ้นมา ในขณะนั้นคนภูเก็ตสามารถทำรายได้จากการขุดขาย 'ขี้ตะกรันดีบุก'  หรือรับจ้างขุด สูงถึงวันละ 180 บาท 

ผลจากการตื่นตัวใน 'แร่แทนทาลัม' ส่งผลให้เกิดแนวคิดที่จะสร้าง 'โรงงานถลุงแทนทาลัม' ขึ้น โดยในวันที่ (28 ธ.ค. 2522) บริษัท ไทยแลนด์ แทนทาลัม อินดัสตรี จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท โดยมีโครงการก่อสร้างโรงงานที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ต่อมาได้รับใบอนุญาตให้สร้างโรงงานในปี 2526 จนก่อสร้างแล้วเสร็จ และคาดว่าจะเปิดดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2529 แต่โรงงานไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ เพราะประสบปัญหาการคัดค้านจากหลายภาคส่วนทั้งในระดับจังหวัดและประเทศอย่างรุนแรง เนื่องจากชาวภูเก็ตได้รับข้อมูลจากฝ่ายคัดค้านการเปิดโรงงานว่า โรงงานแทนทาลัมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของภูเก็ต จนนำมาสู่ความขัดแย้งแผ่ขยายตัว

22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ครบรอบ 150 ปี วันมรณภาพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

วันนี้ในอดีต (22 มิ.ย.2415) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก ‘สมเด็จโต’ ‘หลวงปู่โต’ หรือ ‘ขรัวโต’ พระเกจิอาจารย์รูปสำคัญแห่งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มรณภาพ สิริอายุรวม 84ปี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง

สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" เนื่องจากเป็นเปรียญธรรมจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top