Saturday, 5 July 2025
ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล

‘Munira Abdulla’ บุคคลที่ฟื้นจากโคม่านานที่สุดในโลก หลังประสบอุบัติเหตุทำหลับไหลกว่า 27 ปี

Munira Abdulla บุคคลที่ฟื้นจากอาการโคม่านานที่สุดในโลก

เมื่อ Munira Abdulla หญิงชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รู้สึกตัวเป็นครั้งสุดท้ายในปี 1991 ขณะนั้น George Bush (ผู้พ่อ) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตก็กำลังใกล้ที่จะล่มสลายเต็มที และเป็นปีที่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกยุติลง ขณะอายุ 32 ปี นาง Munira ชาวเมือง Al Ain ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งทำให้เธอหมดสติ และอยู่ในสภาพผักเกือบตลอดสามทศวรรษต่อมา โดยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหมดสติจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่มีอาการไม่รู้สึกตัวเต็มที่ ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการตื่นตัว ตาปิด และไม่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่รู้สึกตัวแต่ไม่มีอาการรู้ตัว ส่วนกลุ่มที่รู้สึกตัวน้อยมากอาจรวมถึงช่วงที่ผู้ป่วยตอบสนองบางอย่าง เช่น ขยับนิ้วเมื่อถูกถาม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกลุ่มที่สามนี้มักเรียกกันว่า ‘โคม่า’ (Comas) และ Munira ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่สามนี้

หลังจากประสบอุบัติเหตุ Munira ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล และต่อมาก็ถูกส่งตัวไปยังกรุงลอนดอน ที่นั่น เธอถูกวินิจฉัยว่าอยู่ในอาการไม่ตอบสนอง แต่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ จากนั้นเธอถูกส่งตัวกลับไปที่เมืองอัลไอน์ ซึ่งเป็นเมืองในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่อยู่ติดชายแดนโอมาน ซึ่งเธออาศัยอยู่ และถูกย้ายไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ตามแต่ความเห็นชอบของบริษัทประกันภัย และ NMC ProVita International Medical Centre เธออยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายปี (2011-2015) โดยต้องให้อาหารผ่านทางสายยางและยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไป เธอเข้ารับการกายภาพบำบัดเพื่อให้แน่ใจว่า กล้ามเนื้อของเธอจะไม่อ่อนแรงลงจากการขาดการเคลื่อนไหว

Munira Abdulla กับ Omar Webair ลูกชาย

ในปี 2017 ครอบครัวของ Munira Abdulla ได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนของมกุฏราชกุมารแห่งนครรัฐอาบูดาบี (the Crown Prince Court Abu Dhabi) เพื่อย้ายเธอไปทำการรักษายังประเทศเยอรมนี ซึ่งที่นั่น เธอได้เข้ารับการผ่าตัดหลายครั้งเพื่อแก้ไขกล้ามเนื้อแขนและขาที่สั้นลงอย่างมาก และเธอได้รับยาเพื่อให้อาการของเธอดีขึ้นที่ Schön โรงพยาบาลเอกชนในเมือง Bad Aibling ใกล้นครมิวนิก ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ซึ่งแพทย์ได้ทำการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากอาการเจ็บป่วยที่ยาวนานของ Munira ด้วยการใช้แนวทางแบบองค์รวมในการรักษา โดยใช้ “การกายภาพบำบัด ยา การผ่าตัด และการกระตุ้นประสาทสัมผัส” 

หลังจากผ่านไป 27 ปี เธอก็ได้ตื่นขึ้นมาในเดือนมิถุนายน ปี 2018 Omar Webair ลูกชายวัย 32 ปีของเธอ ซึ่งอายุเพียง 4 ขวบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เล่าว่า ไม่กี่นาทีขณะเดินทางจากโรงเรียนเพื่อกลับบ้าน รถของเขากับแม่นั่งก็ชนเข้ากับรถโรงเรียน ทำให้ Munira วัย 32 ปีในขณะนั้นได้รับบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง Omar ซึ่งอยู่ในอ้อมแขนของแม่ซึ่งพยายามกอดเขาไว้ก่อนที่ก่อนจะเกิดการชน ทำให้เขารอดชีวิตมาได้ โดยมีรอยฟกช้ำบริเวณศีรษะ “แม่ของผมนั่งอยู่ที่เบาะหลังกับผม เมื่อแม่เห็นว่ารถจะชน แม่ก็กอดผมไว้เพื่อปกป้องผมจากผลของแรงกระแทก” เขากล่าว “สำหรับผม เธอเปรียบเสมือนทองคำ ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร เธอก็ยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้น” 

นพ. Friedemann Müller

นพ. Friedemann Müller ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท หัวหน้าแพทย์ประจำ Schön โรงพยาบาลเอกชนที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศเยอรมนี กล่าวว่า Munira อยู่ในภาวะหมดสติกลุ่มที่ 3 เขาบอกว่า มีเพียงไม่กี่กรณีที่เหมือนกับเธอ ที่ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวหลังจากหมดสติเป็นเวลานาน โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่า Munira กำลังฟื้นตัวเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อปี 2017 เมื่อเธอเริ่มเรียกชื่อลูกชายของเธอ สองสามสัปดาห์ต่อมา เธอเริ่มท่องบทต่าง ๆ ในคัมภีร์อัลกุรอานที่เธอเคยเรียนรู้เมื่อหลายสิบปีก่อน “ตอนแรกเราเองก็ไม่เชื่อ” นพ. Müller กล่าว “แต่ในที่สุดก็ชัดเจนมากว่าเธอเรียกชื่อลูกชายของเธอ” นพ. Müller เองก็ไม่ได้คาดหวังว่า Munira จะฟื้นตัวได้เร็วขนาดนี้ เธอเข้ารับการรักษาอาการชักและกล้ามเนื้อบิดเบี้ยวที่คลินิกในประเทศเยอรมนี ซึ่งทำให้ร่างกายของเธอเคลื่อนไหวได้ยาก และทำให้เธอไม่สามารถนั่งรถเข็นได้อย่างปลอดภัย ส่วนหนึ่งของการรักษาคือ การติดตั้งอุปกรณ์ที่ส่งยาโดยตรงไปยังกระดูกสันหลังของเธอ ซึ่ง นพ. Müller กล่าวว่า ปัจจัยนี้อาจเป็นสิ่งที่ทำให้เธอฟื้นตัวได้

Schön โรงพยาบาลเอกชนในเมือง Bad Aibling ใกล้นครมิวนิก ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี

Terry Wallis ฟื้นจากโคม่านานถึง 19 ปี มีชีวิตอยู่อีก 19 ปี และเสียชีวิตในปี 2022

มีเพียงไม่กี่คนที่ทราบกันดีว่าสามารถฟื้นตัวได้ในลักษณะเดียวกัน อาทิ Terry Wallis ชาวเมือง Ozark Mountains มลรัฐ Arkansas สหรัฐอเมริกา บาดเจ็บสาหัสและหมดสติเมื่อรถของเขาลื่นไถลลงจากสะพาน ในวันที่ 13 กรกฎาคม 1984 และหมดสตินานถึง 19 ปี การฟื้นตัวเมื่อ 11 มิถุนายน 2003 ของเขาค่อนข้างผิดปกติมาก จนนักวิทยาศาสตร์ใช้โอกาสนี้ในการศึกษาการทำงานของสมองเพื่อช่วยในการพิจารณาว่า ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายทางสมองอย่างรุนแรงอย่างไรจึงจะมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีที่สุด เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกถึงสิทธิของบุคคลที่จะเลือกการมีชีวิตอยู่หรือตาย ด้วยการดูแลทางการแพทย์ในปัจจุบันผู้ป่วยบางรายอาจอยู่ในสภาวะที่หมดสติไปนานหลายทศวรรษ เช่นกรณีของ Aruna Shanbaug พยาบาลชาวอินเดีย อยู่ในสภาวะดังกล่าวเป็นเวลานานกว่า 40 ปี จนกระทั่งเสียชีวิตในวัย 66 ปี ในปี 2015 เธออยู่ในสภาพผักถาวรหลังจากถูกรัดคอด้วยโซ่โลหะระหว่างที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

Munira Abdulla ในวัย 65 ปีได้กลับมาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จนทุกวันนี้

ผู้ป่วยที่ฟื้นตัวจากภาวะที่รู้สึกตัวในระดับต่ำเป็นเวลานาน (ซึ่งพบได้บ่อยในช่วงไม่กี่ปีแรก) มีแนวโน้มที่จะมีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและถาวร พวกเขายังคงต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดูแลในแต่ละวัน และขาดความสามารถในการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับชีวิตของตนเอง พวกเขาอาจมีอาการมึนงง จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา และสามารถสนทนาได้เพียงเล็กน้อยเมื่อได้รับคำพูดกระตุ้น กรณีของ Munira Abdulla นั้น เกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ มีเพียงไม่กี่กรณีที่คนจะฟื้นคืนสติได้หลังจากผ่านไปหลายปี และแม้จะเป็นเช่นนั้น การฟื้นตัวก็ยังต้องยืดเยื้อต่อไป ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าโอกาสที่ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหมดสติจะดีขึ้นจะเป็นอย่างไร ผู้ที่ฟื้นคืนสติส่วนใหญ่มักมีอาการพิการร้ายแรงเนื่องมาจากสมองได้รับความเสียหาย หลังจากเธอฟื้นคืนสติขึ้นมาแล้ว สามารถตอบสนองได้ดี และมีความรู้สึกเจ็บปวดและสนทนาได้บ้างแล้ว เธอจึงได้เดินทางกลับมาที่นครรัฐอาบูดาบี ซึ่งเธอได้รับการกายภาพบำบัดและการฟื้นฟูเพิ่มเติม โดยส่วนใหญ่แล้วเพื่อปรับปรุงท่าทางการนั่งของเธอและป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหดตัว และ Munira Abdulla ในวัย 65 ปีได้กลับมาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จนทุกวันนี้

‘กำแพงเบอร์ลิน’ แยกคนชาติเดียวเป็น 2 ประเทศ สัญลักษณ์แห่งจุดเริ่มต้นและจุดจบ ‘สงครามเย็น’

กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) การปิดกั้นเบอร์ลิน (Berlin Blockade) และปฏิบัติการขนส่งทางอากาศเพื่อเบอร์ลิน (Berlin Airlift) 

เรื่องราวทั้งสามเรื่องนี้เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอันเนื่องมาจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยุติลงในปี 1945 โดยเยอรมนีแกนนำหลักของฝ่ายอักษะ (Axis) เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ต้องถูกฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied) แบ่งประเทศออกเป็น 4 ส่วน ตามสนธิสัญญาปอตสดัม (Treaty of Potsdam) โดยประเทศมหาอำนาจตะวันตก คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้ครอบครองดินแดนเยอรมนี 3 ส่วนร่วมกัน ขณะที่อีกส่วนหนึ่งให้สหภาพโซเวียตยึดครอง เหตุการณ์นี้นำไปสู่การแบ่งแยกเยอรมนีเป็น 2 ประเทศ และแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร เป็น ‘วิกฤตการณ์เบอร์ลิน 1949’ ดินแดนเยอรมนี 3 ส่วน หรือเยอรมนีตะวันตกได้ตั้งเป็นประเทศ ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (เยอรมนีตะวันตก) และสหภาพโซเวียตได้ตั้งเขตปกครองของตนในเยอรมนีตะวันออกเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมนีตะวันออก) เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมันตะวันออกอพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้โซเวียตต้องสร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นกลางในปี 1961 จึงทำให้กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงเก่าของเยอรมนีต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรตะวันตกเรียกว่า ‘เบอร์ลินตะวันตก’ และส่วนถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียตเรียกว่า ‘เบอร์ลินตะวันออก’

กำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) กรุงเบอร์ลิน นครหลวงของเยอรมนีมีที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเยอรมนีตะวันออก ดังนั้น เบอร์ลินฝั่งตะวันตก จึงถูกปิดล้อมด้วยพื้นที่ของเยอรมนีตะวันออกโดยรอบ ในระยะแรกนั้น การเดินทางเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตกเป็นไปอย่างเสรี จนกระทั่งเมื่อเกิดการอพยพของชาวเยอรมันตะวันออกไปยังดินแดนของเยอรมนีตะวันตกเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกต้องเร่งสร้างกำแพงเพื่อปิดกั้นการอพยพย้ายถิ่นของชาวเยอรมัน ตะวันออก วันที่ 13 สิงหาคม 1961 เป็นวันแรกที่มีการสร้างกำแพงเพื่อปิดล้อมกรุงเบอร์ลินตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น (Cold war)

กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมนีตะวันออก และเยอรมนีตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้

- กำแพงรุ่นที่ 1 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 1961 เป็นแนวรั้วลวดหนาม เป็นแนวป้องกันชั่วคราวเพื่อป้องกันการอพยพของประชาชน เป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด
- กำแพงรุ่นที่ 2 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ถูกสร้างขึ้นแทนกำแพงรั้วลวดหนามทันทีที่กำแพงรั้วลวดหนามเสร็จสมบูรณ์ แต่กำแพงก่ออิฐถือปูนนี้ก็ไม่แข็งแรงพอที่ปิดกั้นความปรารถนาในการแสวงหาเสรีภาพของประชาชน มีความพยายามในการหลบหนีด้วยการทำลายกำแพงเกิดขึ้นหลายครั้ง
- กำแพงรุ่นที่ 3 เป็นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความสูงเพิ่มขึ้น
- กำแพงรุ่นที่ 4 ถูกสร้างในปี 1975 เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 3.6 เมตร จำนวนกว่า 45,000 แผ่นถูกต่อเป็นแนวรอบกรุงเบอร์ลินตะวันตกเชื่อมต่อด้วยท่อคอนกรีตที่ด้านบนกำแพง กำแพงรุ่นนี้ถูกใช้งานจนกระทั่งถึงการล่มสลายในปี 1989 และเป็นกำแพงเบอร์ลินที่ชิ้นส่วนถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ในการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ 4 ใช้งบประมาณสูงถึงกว่า 1,650 ล้านมาร์กในขณะนั้น 

ตำรวจเยอรมันตะวันออกนายหนึ่งขณะหนีจากเบอร์ลินตะวันออกด้วยการกระโดดข้ามลวดหนาม

ระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง การลอบข้ามกำแพง เป็นความเสี่ยงที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต ด้วยรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกมีกฎที่ว่าผู้หลบหนีจะถูกยิงทิ้งทันทีที่พบเห็น โดยมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างพยายามหลบหนีข้ามกำแพงนี้ราว 136-264 คน กำแพงเบอร์ลินถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของสงครามเย็น และเริ่มต้นถูกทำลายไปใน 1989 ขณะที่ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียตในขณะนั้นได้ยินยอมให้เยอรมนีทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซง ภายหลังจึงมีการรวมเยอรมนีเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า ‘สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี’

การปิดกั้นเบอร์ลิน (Berlin Blockade) ในขณะที่คณะผู้บริหารร่วมฝ่ายสัมพันธมิตร (สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส) ได้บริหารและทำการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในเยอรมันตะวันตก โดยที่สหภาพโซเวียตมุ่งเน้นการปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออก มีนาคม 1948 สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสดำเนินการปฏิรูปเงินตรา เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กลับมีผลทำให้สหภาพโซเวียตเสียหาย เพราะประชาชนในเยอรมนีตะวันออกต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในเขตของตนตามนั้นบ้าง

วันที่ 12 มิถุนายน 1948 สหภาพโซเวียตได้ประกาศ 'ปิดปรับปรุง' ถนน Autobahn ซึ่งเป็นถนนจากเยอรมนีตะวันตกที่มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน อีกสามวันถัดมา การจราจรทางบกระหว่างเยอรมนีในส่วนยึดครองของโซเวียตกับส่วนอื่น ๆ ถูกตัดขาด และในวันที่ 21 มิถุนายน การจราจรทางน้ำสู่กรุงเบอร์ลินถูกตัดขาด วันที่ 24 มิถุนายน สหภาพโซเวียตประกาศว่าจะไม่มีรถไฟเข้าสู่กรุงเบอร์ลินอีกต่อไปเนื่องจาก 'ปัญหาทางเทคนิค' วันถัดมา สหภาพโซเวียตประกาศเลิกจัดส่งอาหารให้กรุงเบอร์ลินส่วนของประเทศมหาอำนาจตะวันตก แต่ฝ่ายตะวันตกก็ไม่ได้เจรจาต่อรองใด ๆ กับสหภาพโซเวียต

พลเอก Lucius D. Clay ผู้บัญชาการยึดครองเยอรมนีส่วนของสหรัฐอเมริกา รู้สึกว่า โซเวียตทำเป็นเสแสร้งว่าไม่ต้องการให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สาม เขายื่นข้อเสนอให้ส่งขบวนรถติดอาวุธจำนวนมากไปตามถนน Autobahn มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเบอร์ลินตะวันตกอย่างสันติ แต่อาจใช้อาวุธได้หากถูกขัดขวางหรือถูกโจมตี ซึ่งประธานาธิบดีทรูแมนเห็นว่า การกระทำนี้ "เสี่ยงเกินไปที่อาจจะทำให้ผลลัพธ์ที่รุนแรงตามมาในเดือนกรกฎาคม 1948 โซเวียตได้ปิดกั้นเส้นทางคมนาคมทางบกที่ผ่านไปยังเบอร์ลินตะวันตก ทำให้พันธมิตร 3 ชาติ ไม่สามารถส่งอาหารและสินค้าต่าง ๆ ไปยังเบอร์ลินตะวันตกได้ เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน การปิดล้อมครั้งนี้ใช้เวลาเกือบ 1 ปี

ขณะนั้นกรุงเบอร์ลินมีอาหารที่จะทำให้ทั้งเมืองอยู่ได้อีก 35 วัน และมีถ่านหินที่จะใช้ได้อีก 45 วัน ทหารอเมริกันและทหารอังกฤษมีจำนวนน้อยกว่าทหารโซเวียตมาก เพราะการลดขนาดกองทัพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หากเกิดสงครามขึ้น ฝ่ายตะวันตกจะต้องสูญเสียกรุงเบอร์ลินให้โซเวียตอย่างแน่นอน ซึ่งพลเอก Clay กล่าวเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ว่าจะไม่ยอมถอยออกจากเยอรมนีเด็ดขาด "แม้จะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรักษาตำแหน่งของเราในเบอร์ลินไว้ได้ แต่มันจะต้องไม่ถูกประเมินด้วยเหตุผลนั้น... เรามั่นใจว่าการอยู่ในเบอร์ลินของเรานั้นสำคัญต่อเกียรติยศของเราในเยอรมนีและในยุโรป ไม่ว่ามันจะดีหรือร้าย สิ่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความมุ่งหมายของอเมริกาไปแล้ว"

ปฏิบัติการขนส่งทางอากาศเพื่อเบอร์ลิน (Berlin Airlift) ระยะเวลาตั้งแต่ 19 มิถุนายน 1948  –  23 พฤษภาคม 1949 ชาติพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ ตัดสินใจใช้ปฏิบัติการขนส่งทางอากาศเพื่อช่วยให้เบอร์ลินอยู่รอด นักบินจาก สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ ได้ช่วยกันใช้เครื่องบินลำเลียงสิ่งของ เช่น อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรคให้แก่ชาวเบอร์ลินตะวันตก ในแต่ละวันระหว่าง 3,475-12,941 ตัน รวมน้ำหนักตลอดภารกิจ 2,334,374 ตัน ซึ่งเกือบสองในสามเป็นถ่านหิน  รวม 278,228 เที่ยวบิน คิดเป็นระยะทางบินรวม 92ล้านไมล์ มีอุบัติเหตุเครื่องบินตก 25 ลำ ผู้เสียชีวิตรวม 101 นาย ซึ่งส่วนใหญ่การเสียชีวิตไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางอากาศ หลังจากการเจรจาอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลาพอสมควร การปิดกั้นของโซเวียตได้สิ้นสุดลงภายในหนึ่งนาทีหลังเที่ยงคืนวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 สหรัฐฯ อังกฤษ และพันธมิตรสามารถขนส่งทางบกเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน(ตะวันตก) ได้อีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ ‘วิกฤตการณ์เบอร์ลิน’ เป็นผลทำให้สภาพเผชิญหน้ากันในสงครามเย็นทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น และมีการร่วมมือกันของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกกับสหรัฐอเมริกา และประเทศเสรีประชาธิปไตย เพื่อขจัดการแทรกแซงและขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเป็นระบบ เช่น สหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกับประเทศโลกเสรีก่อตั้งองค์การความมั่นคงตามสนธิสัญญาทางทหาร เช่น องค์การนาโต้ องค์การซีโต้ องค์การนานารัฐอเมริกา ตลอดจน การตั้งฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศทั่วโลก โดยปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีที่ตั้งทางทหารนอกประเทศราว 800 แห่ง และยังคงเป็นประเทศที่มีกำลังทหารอยู่ภายนอกประเทศมากที่สุดในโลก แม้ว่าสงครามเย็นจะสิ้นสุดลงพร้อมทั้งการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยผลจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตประเทศแกนนำหลักของลัทธิคอมมิวนิสต์แล้วก็ตาม

‘กบฏนักมวย’ ประวัติศาสตร์ที่คนจีนยากจะลืมเลือน เมื่อชาวรากหญ้าหาญกล้าลุกขึ้นต่อกรผู้รุกราน 8 ชาติ

วลีที่ว่า "ประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะ" มักจะเป็นจริงเสมอ ดังที่ปรากฏในบันทึกของประเทศนักล่าอาณานิคมตะวัตกที่ล่าเมืองขึ้นเพื่อดินแดนและทรัพยากรของอาณานิคมที่ตนครอบครอง เรื่องราวของ "‘กบฏนักมวย’ (Boxer Rebellion)" ก็เช่นเดียวกัน หากเราท่านได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของจีนที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดแล้ว จะพบว่า ข้อเท็จจริงคือ ‘กบฏนักมวย’ เป็นการต่อสู้ของชาวจีนผู้รักชาติกับพันธมิตร 8 ชาติที่รุกรานจีน อย่างที่เคยเขียนในหลายบทความให้ท่านผู้อ่านได้ทราบแล้วว่า การล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกและตะวันออกบางประเทศ คือ การปล้นแผ่นดินดี ๆ นั่นเอง ซึ่งเป็นการกระทำเยี่ยงเดียวกับโจรที่ชอบตามกฎหมายของประเทศแม่ของ ‘นักปล้น’ เหล่านั้น

‘กบฏนักมวย’ (Boxer Rebellion) หรือ “ศึกพันธมิตรแปดชาติ” เป็นการต่อต้านจักรวรรดินิยมและคริสต์ศาสนา ของชาวจีนซึ่งนำโดย "สมาคมอี้เหอถวน" ในศตวรรษที่ 19 ชาวต่างชาติได้เข้ามาค้าขายในประเทศจีนเป็นจำนวนมาก เมื่อนานเข้าก็เริ่มมีบทบาทและอิทธิพล มีการส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและมิชชันนารีเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจีน ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นที่หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเมืองชานตง อันเนื่องจากปัญหาที่ดินของวัดพุทธและโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มิชชันนารีได้ร้องเรียนว่า ที่ดินของวัดผืนหนึ่งเป็นของตนมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิคังซีแล้ว แต่ได้ถูกทิ้งร้างไปนาน ชาวบ้านในท้องถิ่นรู้สึกว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับตน เพราะเดิมเป็นวัดประจำหมู่บ้านแต่ต้องมาสร้างโบสถ์ในที่ดินของวัดแทนที่ จึงเกิดการจลาจลขึ้น โดยชาวบ้านได้จับมิชชันนารีเป็นตัวประกัน ทำลายโบสถ์นั้นและก่อการกบฏขึ้น ทั้งมีการจับกุมชาวอังกฤษในพื้นที่อีกด้วย 

ทหารจีนในกองทัพหลวงของรัฐบาลราชวงศ์ชิง

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการรวมกลุ่มของชาวจีนผู้รักชาติซึ่งเรียกว่า ‘กบฏนักมวย’ ขึ้น อันเป็นขบวนการของชนชั้นรากหญ้าซึ่งออกโจมตีและสังหารผู้ถือสัญชาติต่างประเทศ ทั้งชาวต่างประเทศที่เป็นหมอสอนศาสนา (มิชชันนารีชาวตะวันตก) และชาวจีนที่เป็นคริสต์ศาสนิก และเผาโบสถ์ ฯลฯ ทั่วทั้งภาคเหนือของประเทศจีน ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2442-43 (ค.ศ. 1899 - 1900) โดยนักมวยจีนจะฝึกกังฟูด้วยเชื่อว่าจะสามารถต่อสู้กับผู้รุกรานจาก ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นได้ ‘กบฏนักมวย’ได้ทำการลอบสังหาร และประณามชาวต่างชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจากพระพันปีฉือสี่ (พระนางซูสีไทเฮา) ทั้งส่งกองทัพหลวงซึ่งมีกำลังราวหนึ่งแสนนาย ช่วยสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ หลังจาก ‘กบฏนักมวย’ ถูกปราบได้ไม่นานราชวงศ์ชิงก็ถูกโค่นล้ม 

Clemens von Ketteler บาทหลวงชาวเยอรมัน

หลังจากจีนแพ้สงครามจีน-ญี่ปุ่น จักรพรรดิกวางสูจึงทรงทำการปฏิรูปร้อยวัน ทำให้พระพันปีฉือสี่ (พระนาซูสีไทเฮา) ทรงเข้ายึดพระราชอำนาจแล้วนำจักรพรรดิกวางสูขังไว้ และทรงร่วมมือกับ ‘กบฏนักมวย’ซึ่งมีความคิดอนุรักษนิยมเช่นเดียวกับพระนาง จนประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ‘กบฏนักมวย’ได้ต่อสู้กับกองกำลังนานาชาติในเมืองเทียนจินและกรุงปักกิ่ง ทางสถานทูตสหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และญี่ปุ่น ที่อยู่ในสถานทูตในกรุงปักกิ่ง ได้นำกำลังมาปิดล้อมพระราชวังต้องห้าม การกระทำเช่นนี้ทำให้ ‘กบฏนักมวย’ จึงได้สังหาร Clemens von Ketteler บาทหลวงชาวเยอรมัน ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) วันต่อมาพระพันปีฉือสี่ (พระนาซูสีไทเฮา) ทรงประกาศสงครามกับชาวต่างชาติเพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของชาวต่างชาติ แต่พวกข้าหลวงตามหัวเมืองกลับปฏิเสธการประกาศสงคราม ทั้งพวกปัญญาชนในเมืองเซี่ยงไฮ้ก็ยังได้ให้ความช่วยเหลือข้าหลวงในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนที่ต่อต้านการประกาศสงครามด้วย

สมาชิกของกลุ่มกบฎนักมวย ซึ่งมีทั้งหมดราว 300,000 คน

รัฐบาลของราชวงศ์ชิงและกองทัพสนับสนุนการปฏิบัติการของบรรดา ‘กบฏนักมวย’ ซึ่งมีราว 200,000 คน ทั้งยังยินยอมให้กองกำลัง’กบฏนักมวย’ ซึ่งนำโดยพลเอก หรง ลู่ (ขุนนางและรัฐบุรุษของจีนในยุคปลายราชวงศ์ชิง) เข้าปิดล้อมทูตานุทูตและพลเรือนต่างชาติซึ่งหลบภัยอยู่ในเขตค่ายพักของสถานอัครราชทูตต่างชาติในกรุงปักกิ่ง พันธมิตรกองทัพต่างชาติพยายามป้องกันค่ายดังกล่าวภายใต้คำสั่งของบาทหลวงชาวอังกฤษ เมื่อ’กบฏนักมวย’บุกเข้าไปในกรุงปักกิ่งได้สังหารชาวจีนที่เป็นคริสเตียนกว่าหนึ่งหมื่นคนและจับกุมชาวต่างชาติไปเป็นเชลยจำนวนมาก ข่าวการจลาจลจำนวนมากถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทั้งใน จีน ญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกา 

การบุกครั้งแรกภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้าย กองกำลังพันธมิตรแปดชาติประมาณ 2,000 คน ภายใต้การบัญชาการของนายพลเอ็ดเวิร์ด เซมอร์ ได้ส่งกำลังไปกรุงปักกิ่ง โดยการเดินทางจากท่าเรือต้ากูไปเมืองเทียนจินนั้นได้รับความร่วมมืออย่างดีจากข้าหลวงเมืองเทียนจินเป็นอย่างดี แต่การเดินทางจากเทียนจินไปกรุงปักกิ่งนั้นมีการตรวจตราชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามนายพลเซมอร์ก็สามารถนำทหารเดินเท้าเข้ากรุงปักกิ่งสำเร็จจนได้ แต่กองกำลังดังกล่าวถูกฝ่าย’กบฏนักมวย’ล้อม และทางรถไฟหลายสายถูกทำลาย ในที่สุดนายพลเซมอร์จึงตัดสินใจถอยกำลังกลับเมืองเทียนจินในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900)

การบุกครั้งที่สอง หลังจากนายพลเซมอร์ถอยทัพกลับเมืองเทียนจินแล้ว ทางกองกำลังนานาชาติจึงระดมกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1900 กองกำลังนานาชาติได้สร้างป้อมปราการขึ้นใกล้เมืองเทียนจินและท่าเรือต้ากูขึ้น ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) กองกำลังพันธมิตรแปดชาติ (อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลียของอังกฤษ อินเดียของอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี และญี่ปุ่น) ประมาณ 51,755 นาย ภายใต้การบัญชาการของนายพลอัลเฟรด แกสลี  ประกอบด้วยกำลังจากญี่ปุ่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร  ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี และออสเตรีย-ฮังการี ได้ยึดเข้ายึดเมืองเทียนจินในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) จากนั้นจึงยกกำลังจากเมืองเทียนจิน มายังกรุงปักกิ่ง และได้สู้รบกับกองทัพรัฐบาลของราชวงศ์ชิงหลายครั้งจนมีชัยชนะ สามารถปราบปราม’กบฏนักมวย’และเลิกการปิดล้อมได้เป็นผลสำเร็จ เชลยทั้งหมดก็ถูกปลดปล่อย ในที่สุดกองกำลังพันธมิตรแปดชาติจึงเข้ายึดและปล้นกรุงปักกิ่ง ครั้งนั้นกองกำลังพันธมิตรแปดชาติมีกำลังราว 45,000 คน ที่สุดแล้ว รัฐบาลของราชวงศ์ชิงต้องยอมสงบศึกด้วยการทำพิธีสารนักมวยในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901)

เมื่อกองทัพพันธมิตรแปดชาติบุกและยึดกรุงปักกิ่งเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) บทความวิจัยของ Kenneth Clark นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษ ระบุว่า "หลังจากยึดกรุงปักกิ่งได้ ทหารจากกองทัพพันธมิตรแปดชาติก็ปล้นสะดมกรุงปักกิ่ง ทั้งยังปล้นชิงพระราชทรัพย์จากพระราชวังต้องห้าม ได้สมบัติจากจีนแล้วขนกลับไปยุโรปมากมาย" พระพันปีฉือสี่ (พระนาซูสีไทเฮา) พร้อมด้วยจักรพรรดิกวางสู กษัตริย์จีน และเหล่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่พากันหลบหนีจากพระราชวังต้องห้ามไปยังเมืองซีอานก่อนหน้าแล้ว และทรงส่งหลี่ หงจาง  ราชครู มาเจรจาสงบศึกกับกองทัพพันธมิตรแปดชาติในเวลาต่อมา ในระหว่างและภายหลังการจลาจล มีผู้คนซึ่งไม่ทราบจำนวนซึ่งเชื่อกันว่า เป็นพวกนักมวยถูกตัดศีรษะ เรื่องนี้นิยมนำมาทำเป็นภาพยนตร์สั้นในยุคแรก ๆ กันมาก แต่แม้มีภาพถ่ายยืนยัน พันธมิตรแปดชาติก็ยังคงปฏิเสธการกระทำดังกล่าวมาจนทุกวันนี้

จากบันทึกของนาวิกโยธินอเมริกันนายหนึ่งบันทึกว่า "เขาเห็นเหล่าทหารเยอรมันและรัสเซียเอาดาบปลายปืนแทงสตรีตายหลังจากข่มขืนกระทำชำเราพวกนาง" นอกจากนี้แล้วยังกล่าวกันว่า ในกรุงปักกิ่ง ‘ฝาน กั๋วเหลียง’ (Pierre-Marie-Alphonse Favier) มุขนายกชาวฝรั่งเศสออกประกาศซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ถึง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ว่า คริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกสามารถลักทรัพย์ตามที่จำเป็นเพื่อประทังชีวิตก็ได้ และการลักเงิน 50 ตำลึงหรือต่ำกว่านั้น ไม่ต้องแจ้งและไม่ต้องใช้คืน แต่ตัวมุขนายกปฏิเสธเรื่องนี้
ความสูญเสีย 
- พันธมิตรแปดชาติ: ทหาร 2,500 นาย ชาวต่างชาติ 526 คน และชาวคริสต์จีนอีกนับหมื่นคน 
- จีน: กลุ่ม ‘กบฏนักมวย’ "ทั้งหมด" (ราว 200,000 คน)
- ทหารกองทัพรัฐบาลของราชวงศ์ชิง 20,000 นาย
* มีพลเรือนชาวจีนเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ราว 20,000 คน

พิธีสารนักมวย (Boxer Protocol) หรือชื่ออย่างเป็นทางการในโลกตะวันตกว่า "พิธีสารสุดท้ายว่าด้วยการระงับความวุ่นวายระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี บริเตนใหญ่ อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สเปน สหรัฐ กับจีน ค.ศ. 1900 (Austria-Hungary, Belgium, France, Germany, Great Britain, Italy, Japan, Netherland, Russia, Spain, United States and China—Final Protocol for the Settlement of the Disturbances of 1900)" และชื่ออย่างเป็นทางการในประเทศจีนว่า" พิธีสารซินโฉ่ว" เป็นพิธีสารซึ่งลงลายมือชื่อกัน ณ วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1901 ระหว่างจักรวรรดิชิง ในสมัยพระพันปีฉือสี่ (พระนาซูสีไทเฮา) ฝ่ายหนึ่ง กับพันธมิตรแปดชาติ (ออสเตรีย-ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ) เบลเยียม สเปน และเนเธอร์แลนด์ อีกฝ่ายหนึ่ง ภายหลังกองทัพพันธมิตรแปดชาติสามารถปราบ’กบฏนักมวย’ในประเทศจีนได้สำเร็จ โดยจีนถือว่า พิธีสารนี้เป็นหนึ่งในบรรดาสนธิสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบ (Unequal treaties) โดยพระพันปีฉือสี่ (พระนาซูสีไทเฮา) มีพระราชเสาวนีย์ตั้งเจ้าชายชิง ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดี (Prime Minister) และหลี่หงจาง ซึ่งเป็นราชครู (Grand Tutor) ให้เป็นผู้มีอำนาจเต็มในการลงลายมือชื่อในพิธีสารนี้สำหรับจักรวรรดิชิง ส่วนฝ่ายพันธมิตรแปดชาติและพวกนั้นมี Bernardo de Cólogan y Cólogan และ Alfons Mumm von Schwarzenstein ลงลายมือชื่อในนามของสเปน Ernest Satow ในนามของบริเตนใหญ่ และ Komura Jutarō ในนามของญี่ปุ่น ตามลำดับ ใจความสำคัญเรียกร้องให้ผู้นำการก่อจลาจลที่จะได้รับลงโทษ และการชำระเงินเยียวยาแก่ประเทศที่ได้รับเสียหาย

ทหารของกองกำลังพันธมิตรแปดชาติ (อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลียของอังกฤษ อินเดียของอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี และญี่ปุ่น)

ผลจากการกระทำของประเทศตะวันตกเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่จนทุกวันนี้จีนไม่ได้เชื่อถือหรือไว้วางใจชาติตะวันตกเลย แม้ว่า สภาพอาณานิคมในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ ไทยจะหมดไปนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงทิ้งบาดแผล ปัญหา และความขัดแย้งอยู่จนบัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งของกลุ่มชนชาติต่าง ๆ ในเมียนมาร์ ความขัดแย้งในอินโดนีเซีย ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ฯลฯ กรณีพิพาทมากมายหลายเรื่องในภูมิภาคนี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากผลพวงของชาติมหาอำนาจตะวันตกอดีตเจ้าอาณานิคมทั้งสิ้น ทั้งนี้ สังคมไทยในปัจจุบันเองได้มีความพยายามในการบิดเบือนประวัติศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ปลุกปั่นให้เยาวชนหลงผิดคิดว่า การที่ไทยเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร เป็นสาเหตุทำให้ประเทศล้าหลังมาถึงทุกวันนี้ คนไทยพูดภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ ระบบราชการก็ไม่ดี เช่นนี้แล้วเป็นประเทศอาณานิคมดีกว่า หลายคนเทิดทูนบูชาฝรั่งจนอยากให้ไทยเป็นอาณานิคมเลยทีเดียว หากแต่ได้เรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ของประเทศอดีตอาณานิคมในภูมิภาคอาเซียนแล้ว จะพบว่า ลัทธิล่าอาณานิคมนั้น ประเทศเจ้าอาณานิคมเป็นผู้ได้เพียงฝ่ายเดียว ในขณะที่ประเทศที่เป็นอาณานิคมแทบจะไม่เหลืออะไรเลยแม้แต่ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และรากเหง้าของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ ความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมืองนั้น อยู่ที่การพัฒนาตนเองทั้งความคิดและพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้คนในสังคมจะสามารถกำหนดอนาคตของชาติให้เป็นไปอย่างไรต่อไป

รู้จัก ‘Maruti Suzuki’ ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อินเดีย แจ้งเกิดด้วย ‘MARUTI 800’ รถที่คนอยากขับก่อนยอมจ่าย 2 เท่า

MARUTI 800 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลราคาประหยัดแห่งชาติแบบแรกของอินเดีย

ในบรรดารถยนต์รุ่นต่าง ๆ บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะ Ford Model T ของสหรัฐฯ Volkswagen Beetle ของเยอรมัน และ Maruti 800 ของอินเดีย ปัจจัยที่เหมือนกันคือเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลราคาประหยัดรุ่นแรกที่ผลิตภายในประเทศเป็นจำนวนมาก

Sanjay Gandhi และมารดานายกรัฐมนตรี Indira Gandhi

จุดเริ่มต้นของ Maruti ในอินเดียเป็นเรื่องราวที่ไม่เหมือนใครมาจาก Sanjay Gandhi บุตรชายคนเล็กของนายกรัฐมนตรี Indira Gandhi พยายามก่อตั้งธุรกิจรถยนต์ในอินเดีย เขาเสียชีวิตในปี 1980 ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก Indira แม่ของเขาซึ่งขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดียต้องการทำตามความปรารถนาที่ยังไม่สมหวังของเขาในการมีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลราคาประหยัดที่ผลิตในอินเดีย 

ในปี 1981 Maruti Udyog Ltd. ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยรัฐบาลอินเดีย แม้ว่าจะมีบุคลากรที่มากความสามารถอยู่ในทีมมากมาย แต่พวกเขาก็ไม่มีประสบการณ์ในการจัดตั้งบริษัทผลิตรถยนต์มาก่อน แต่ท้ายที่สุดแล้ว โครงการนี้ก็เกิดขึ้นทันทีด้วยความตั้งใจของนายกรัฐมนตรี Indira รัฐบาลอินเดียได้ส่งผู้แทนไปพบกับยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น Fiat, Peugeot, Volkswagen, Renault, Nissan เป็นต้น แต่กลับถูกปฏิเสธจากบริษัทเหล่านั้นทั้งหมด ด้วยบริษัทเหล่านี้เชื่อว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ของอินเดียไม่น่าที่จะเกิดได้และไม่น่าจะมีอนาคตเลย 

แต่หลังจากนั้น Daihatsu บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นก็ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วน และในเวลาเดียวกัน Osamu Suzuki CEO ของ Suzuki ยังได้ส่งทีมงานไปยังอินเดียเพื่อทำข้อตกลงกับ Maruti อีกด้วย Osamu มองเห็นศักยภาพในอนาคตในตลาดอินเดีย ซึ่ง Indira นายกรัฐมนตรีอินเดียดำรงบทบาทเป็นผู้นำในโครงการนี้ โดยมีการสร้างโรงงานใหม่เอี่ยม ฐานซัพพลายเออร์ และเครือข่ายตัวแทนจำหน่าย/การจัดจำหน่ายทั้งหมดถูกจัดตั้งขึ้นภายในเวลาเพียง 14 เดือน Maruti และ Suzuki ได้ลงนามในกิจการร่วมค้าเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1982 กลายเป็น Maruti Suzuki India Ltd.

วันที่ 14 ธันวาคม 1983 อันเป็นวันครบรอบวันเกิด 37 ปีของ Sanjay นายกรัฐมนตรี Indira ได้มอบกุญแจของ Maruti 800 คันแรกมูลค่า 47,500 รูปีให้กับ Harpal Singh (พนักงานของ Indian Airlines) และ Gulshanbeer Kaur สามี-ภรรยาชาวเดลี ซึ่งกลายมาเป็นเจ้าของ Maruti 800 คันแรกของอินเดีย เป็นครั้งแรกในอินเดียที่ประชาชนทั่วไปสามารถบรรลุความฝันที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ได้ ความต้องการ Maruti 800 เพิ่มขึ้นอย่างมากจนผู้คนเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มเป็นสองเท่าของราคาเพื่อแซงคิว

Tata Indica รถยนต์ที่ผลิตในประเทศ 100% คันแรกของอินเดีย

ด้วยการที่นายกรัฐมนตรีอินเดียสนองความต้องการของลูกชายที่ล่วงลับของเธอและมิตรภาพของญี่ปุ่น การปฏิวัติรถยนต์ของอินเดียจึงเริ่มต้นขึ้นด้วยการเกิดขึ้นของ Maruti 800 แล้วอีก 15 ปีต่อมา Rata Tata ผู้ล่วงลับจึงได้เปิดตัวรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ 100% คันแรกของอินเดีย นั่นคือ Tata Indica ในปี 1998 เวลาต่อมารัฐบาลอินเดียได้ค่อย ๆ ลดสัดส่วนการถือหุ้นออกจากธุรกิจ Maruti Suzuki โดยแปลงเป็นบริษัทมหาชนในปี 2003 จากนั้นจึงขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดให้กับ Suzuki Motor Corporation ในปี 2007 

ปัจจุบัน Maruti Suzuki กลายเป็นบริษัทในเครือ Suzuki ที่ใหญ่ที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณการผลิตและยอดขาย ณ เดือนกันยายน 2022 บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดชั้นนำ 42% ในตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของอินเดีย Maruti Suzuki มีโรงงานผลิตสองแห่งในรัฐ Haryana ( Gurugramและ Manesar ) และมีโรงงานผลิตอีกแห่งหนึ่งในรัฐ Gujarat ซึ่ง Suzuki บริษัทแม่จัดหาวัตถุดิบทั้งหมดให้กับ Maruti Suzuki โรงงานผลิตทั้งหมดมีกำลังการผลิตรวมกัน 2,250,000 คันต่อปี (1.5 ล้านคันจากโรงงานสองแห่งของ Maruti Suzuki และ 750,000 คันจาก Suzuki Motor Gujarat โดยในปี 2024 Maruti Suzuki มีรายได้เพิ่มขึ้น 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้น 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรวมส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีพนักงานรวม 40,004 คน

สำหรับบ้านเราแล้ว MARUTI 800 ก็คือรถยนต์นั่ง Suzuki Fronte นั่นเอง

‘แพขยะในมหาสมุทรแปซิฟิก’ เพิ่มขึ้น 10 เท่าในแต่ละทศวรรษ ขยะส่วนใหญ่กว่า 50% มาจากบนแผ่นดินในอเมริกาเหนือและเอเชีย

(The Great Pacific garbage patch : GPGP) 

The Great Pacific garbage patch หรือที่เรียกว่า วงแหวนขยะในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นแพขยะขนาดยักษ์ ซึ่งเป็นจุดที่มีกระแสน้ำวนของเศษขยะในทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง พิกัดอยู่ที่ประมาณ 135 ° W ถึง 155 ° W และ 35 ° N ถึง 42 ° N แหล่งรวมพลาสติกและถังขยะลอยน้ำซึ่งมีต้นกำเนิดจาก Pacific Rim รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ แบ่งออกเป็นสองพื้นที่คือ "Eastern Garbage Patch" ระหว่างฮาวายและแคลิฟอร์เนีย และ "Western Garbage Patch" ซึ่งทอดตัวไปทางตะวันออก จากญี่ปุ่นไปยังฮาวาย

ขยะในทะเลเป้นอันตรายต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลมาก ซากเต่าในภาพกินขยะทะเลจนตาย

แม้จะเป็นที่รับรู้ของสาธารณชนทั่วไปเกี่ยวกับแพขยะขนาดใหญ่ที่มีอยู่ว่าเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีขยะลอยอยู่ แต่ความหนาแน่นต่ำมาก (4 อนุภาคต่อลูกบาศก์เมตร) ซึ่งสามารถป้องกันการตรวจจับด้วยภาพถ่ายดาวเทียม หรือแม้กระทั่งโดยชาวเรือหรือนักดำน้ำทั่วไป เนื่องจากแพขยะดังกล่าวเป็นบริเวณซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วย "พลาสติกขนาดเท่าเล็บมือหรือชิ้นเล็กกว่า" และมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยมักเป็นอนุภาคขนาดเล็กด้านบนของน้ำที่เรียกว่า "ไมโครพลาสติก" นักวิจัยจากโครงการ The Ocean Cleanup อ้างว่า แพขยะนี้ครอบคลุมพื้นที่ 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร พลาสติกบางส่วนในแพขยะมีอายุมากกว่า 50 ปีและรวมถึงสิ่งของต่างๆ (และเศษชิ้นส่วน) เช่น "ไฟแช็คพลาสติก แปรงสีฟัน ขวดน้ำ ปากกา ขวดนม โทรศัพท์มือถือ ถุงพลาสติก และหมอนรองศีรษะ" เส้นใยขนาดเล็กของเยื่อไม้ที่พบทั่วทั้งไป "เชื่อกันว่า มีต้นกำเนิดมาจากกระดาษชำระหลายพันตันที่ถูกทิ้งลงในมหาสมุทรทุก ๆ วัน"

วงแหวนขยะในมหาสมุทรทั่วโลก 

การวิจัยบ่งชี้ว่า แพขยะกำลังสะสมอย่างรวดเร็ว เชื่อกันว่า แพขยะจะเพิ่มขนาดขึ้น "10 เท่าในแต่ละทศวรรษ" ตั้งแต่ปี 1945 (พ.ศ. 2488) พบเศษพลาสติกลอยน้ำคล้าย ๆ กันในมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเรียกว่า กองขยะแอตแลนติกเหนือ แพขยะที่กำลังเติบโตนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ต่อระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่มีสายพันธุ์ทางทะเล พื้นที่ของอนุภาคพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอยู่ใน วงแหวน North Pacific ซึ่งเป็นหนึ่งในวงแหวนมหาสมุทรที่สำคัญ 5 แห่ง มีบทความเมื่อ ปี 1988 อธิบายเกี่ยวกับแพขยะซึ่งจัดพิมพ์โดย National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) การอธิบายนี้มาจากการวิจัยของนักวิจัยจากอะแลสกาหลายคนในปี 1988 ซึ่งวัดพลาสติก neustonic (รวบรวมสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วและขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บนหรือใต้พื้นผิวน้ำ) ในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ นักวิจัยพบว่า ขยะทะเลสะสมในพื้นที่ที่มีกระแสน้ำในมหาสมุทรค่อนข้างสูง จากการค้นพบในทะเลญี่ปุ่นนักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า สภาวะที่คล้ายคลึงกันนี้จะเกิดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งกระแสน้ำที่ไหลผ่านเป็นประโยชน์ต่อการสร้างวงแหวนขยะที่ค่อนข้างเสถียร พวกเขาระบุเฉพาะพิกัด วงแหวนขยะในแปซิฟิกเหนือ

มิถุนายน 2019 Ocean Voyages Institute ซึ่งเป็นองค์กรเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังการสำรวจปี 2009, 2010 และ 2012 ได้ดำเนินการทำความสะอาดวงแหวนขยะ และโดยนำอวนโพลีเมอร์และขยะพลาสติกจากการบริโภคกว่า 84,000 ปอนด์ออกจากมหาสมุทร ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2020 สถาบัน Ocean Voyages ได้ดำเนินการสำรวจและทำความสะอาดวงแหวนขยะ ซึ่งนำพลาสติกจากการสำหรับบริโภคและอวนกว่า 170 ตัน (340,000 ปอนด์) ออกจากมหาสมุทร โดยใช้เครื่องติดตามด้วยสัญญาณดาวเทียม GPS ที่ออกแบบเอง ซึ่งติดตั้งในเรือ โอกาสที่สถาบัน Ocean Voyages สามารถติดตามและส่งเรือล้างทำความสะอาดเพื่อกำจัดอวนได้อย่างแม่นยำ เทคโนโลยีติดตามด้วย GPS ถูกรวมเข้ากับภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อเพิ่มความสามารถในการค้นหาขยะพลาสติกและอวนแบบเรียลไทม์ผ่านภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพในการล้างทำความสะอาดแพขยะด้วย

แหล่งที่มาของขยะพลาสติก ในปี 2015 การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science พยายามค้นหาว่าขยะทั้งหมดนี้มาจากไหน จากข้อมูลของนักวิจัยพบว่าพลาสติกที่ทิ้งแล้วและเศษขยะอื่น ๆ ลอยไปทางตะวันออกจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียจากแหล่งที่มาหลัก 6 แหล่ง ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ศรีลังกา และไทย ในความเป็นจริง Ocean Conservancy รายงานว่า จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ทิ้งพลาสติกในทะเลมากกว่าประเทศอื่น ๆ ทั้งหมดรวมกัน เฉพาะจีนเท่านั้นที่ทิ้งขยะถึง 30% ของขยะมลพิษในมหาสมุทรพลาสติกทั่วโลก ความพยายามในการชะลอการสร้างเศษขยะบนบก และเกิดการสะสมของขยะในทะเลตามมาถูกดำเนินการโดย โครงการการอนุรักษ์ชายฝั่ง วันคุ้มครองโลก และวันทำความสะอาดโลก จากข้อมูลของ National Geographic "ประมาณ 54 % ของเศษขยะใน Great Pacific Garbage Patch มาจากขยะบนแผ่นดินในอเมริกาเหนือและเอเชีย เศษขยะที่เหลืออีก 20 % ใน Great Pacific Garbage Patch มาจากชาวเรือ แท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง และเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่ทิ้งปล่อยเศษขยะลงในน้ำโดยตรง เศษขยะส่วนใหญ่ประมาณ 705,000 ตันคืออวนจับปลา"

ในเดือนกันยายน 2019 เมื่อการวิจัยเปิดเผยว่า มลพิษจากพลาสติกในมหาสมุทรจำนวนมากมาจากเรือบรรทุกสินค้าของจีน โฆษกของ Ocean Cleanup กล่าวว่า: "ทุกคนพูดถึงการช่วยมหาสมุทรด้วยการหยุดใช้ถุงพลาสติกขุ่น และบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวเป้นเรื่องสำคัญ แต่เมื่อขยะในมหาสมุทรนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราพบเสมอไป ขนาด แพขยะ Great Pacific ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น อันเป็นผลมาจากมลพิษทางทะเลซึ่งรวมตัวกันด้วยกระแสน้ำในมหาสมุทร วงแหวนขยะอยู่ในบริเวณที่น้ำค่อนข้างนิ่งกลางมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือล้อมรอบด้วยวงแหวนแปซิฟิกเหนือในละติจูด Horse (ละติจูดม้า หรือ ฮอร์สละติจูด : แถบหรือบริเวณในละติจูดระหว่าง 30° องศาเหนือและ 30° องศาใต้ที่เป็นบริเวณที่มีลมฟ้าอากาศค่อนข้างสงบ) รูปแบบการหมุนของวงแหวนขยะประกอบด้วยวัสดุเหลือใช้จากทั่วแปซิฟิกเหนือโดยผสมผสานกันจากน่านน้ำชายฝั่งนอกอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น เมื่อวัสดุถูกกระแสน้ำและกระแสพื้นผิวที่ถูกพัดด้วยลมจะค่อย ๆ พัดย้ายเอาเศษเล็กเศษน้อยไปยังศูนย์กลางทำให้ขยะจับและก่อตัว

ในการศึกษาในปี 2014 นักวิจัยได้สุ่มตัวอย่างจากพิกัด 1,571 แห่งจากมหาสมุทรทั่วโลก และระบุว่า อุปกรณ์จับปลาที่ถูกทิ้งเช่น ทุ่น สายเบ็ด และอวน คิดเป็นมากกว่า 60% ของเศษพลาสติกในทะเล ตามรายงานของ EPA ประจำปี 2011 "แหล่งที่มาหลักของขยะทะเลคือ การกำจัดขยะหรือการจัดการขยะและผลิตภัณฑ์จากการผลิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งรวมถึงพลาสติก (เช่นการขนและทิ้งขยะอย่างผิดกฎหมาย) เศษขยะจากพื้นแผ่นดินตาม ท่าเรือริมแม่น้ำ ท่าเทียบเรือริมทะเล และท่อระบายน้ำ และเศษซากจากพายุต่าง ๆ เศษขยะถูกสร้างขึ้นในทะเลจากเรือประมง แท่นขุดเจาะ และเรือบรรทุกสินค้า" ซึ่งมีมากมายหลายขนาดตั้งแต่ อวนจับปลาที่ถูกทิ้งร้างยาวหลายไมล์ ไปจนถึงเม็ดพลาสติกขนาดเล็กที่ใช้ในเครื่องสำอาง และสารกัดกร่อน น้ำยาทำความสะอาด การศึกษาจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์คาดการณ์ว่า เศษชิ้นส่วน(ที่สมมุติขึ้น)จากชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯจะมุ่งหน้าไปยังเอเชียและกลับมายังสหรัฐฯในหกปี เศษซากจากชายฝั่งตะวันออกของเอเชียจะไปถึงสหรัฐฯในหนึ่งปีหรือน้อยกว่านั้น ในขณะที่ไมโครพลาสติกคิดเป็น 94% ของชิ้นส่วนพลาสติกประมาณ 1.8 ล้านล้านชิ้น แต่มีปริมาณขยะพลาสติกเพียง 8% จาก 79,000 เมตริกตัน ขยะที่เหลือส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมการประมง ผลการศึกษาในปี 2017 สรุปได้ว่า พลาสติกจำนวน 9.1 พันล้านตันที่ผลิตตั้งแต่ปี 1950 เกือบ 7 พันล้านตัน ซึ่งไม่ถูกใช้งานอีกต่อไป ผู้เขียนประเมินว่า  9% ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ 12% ถูกเผา และอีก 5.5 พันล้านตันที่เหลือยังคงอยู่ในมหาสมุทรและบนบก

บ้านเราติดอันดับที่ 6 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก มากถึง 1 ล้านตันต่อปี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้ว่า ขยะในทะเลส่วนใหญ่มาจากแหล่งท่องเที่ยว เช่น ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว โฟม เป็นต้น ถัดมาคือขยะจากการทำการประมง เช่น อวน เชือก เป็นต้น ยังไม่รวมขยะอื่น ๆ ที่พบได้ในทะเล เช่น ถุงพลาสติก ฝาน้ำ และเศษบุหรี่ไม่เฉพาะแค่การท่องเที่ยว แต่รวมไปถึงขยะที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นจากบุคคล ครัวเรือน อุตสาหกรรม ขยะเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำต่างๆ จากลำคลอง สู่แม่น้ำ ท้ายที่สุดแล้วก็จะมีขยะส่วนหนึ่งลงสู่ท้องทะเล ปัจจุบันเรามีการลดการใช้ขยะอย่างจริงจัง เช่น การห้ามใช้ถุงพลาสติก หรือ การเพิ่มภาษีของบริษัทผู้ผลิตพลาสติก เป็นต้น แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการลงทุนเพื่อการจัดการขยะอย่างถูกวิธีนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การลดขยะยังไม่แพร่หลาย เช่น การออกแบบเพื่อใช้บรรจุภัณฑ์ให้น้อยที่สุด หรือการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้จริง โดยไม่มีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต แต่ท้ายที่สุดแล้วทางแก้ที่ยั่งยืนของปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบ ไปจนถึงการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในระดับบุคคล เช่น มีการจัดการขยะที่ดี การออกแบบที่ใช้พลาสติกให้น้อยที่สุด หรือแม้แต่การที่สาธารณชนมีความตระหนักในการบริโภค ลดและเลิกใช้พลาสติกตั้งแต่ต้นทาง เพราะการจัดการที่ปลายเหตุหลังจากขยะเกิดขึ้นแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

อัตราการเกิดขยะของบ้านเราอยู่ที่คนละราวหนึ่งกิโลเศษต่อวัน หรือวันละกว่าเจ็ดสิบล้านกิโล หรือ 70,000 ตัน หรือปีละ 25.55ล้านตัน ดังนั้นเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ต่างก็ต้องให้ความร่วมมือกันในการจัดการขยะเช่น คัดแยกขยะ และใช้กระบวนการ 3 R : Reduce Reuse และ Recycle ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายก็ต้องมีวิธี และมาตรการที่เอื้อต่อการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องด้วย จิตสำนึกรับผิดชอบในการจัดการขยะของคนไทยเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง และมีผลอย่างมากที่สุดต่อการจัดการขยะทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้น ต้องช่วยกัน ร่วมมือกัน ไม่เช่นนั้นแล้ววันหนึ่งคนไทยจะได้เห็นวงแหวนขยะเกิดขึ้นในอ่าวไทย หรือในทะเลอันดามันอย่างแน่นอน

ยูเครน ช็อก!! นักบินเสียชีวิต หลัง F-16 ลำแรกถูกสอยร่วง อ้างไม่เกี่ยวโดนรัสเซียยิง แต่เครื่องยนต์พังจากเศษอาวุธ

เมื่อ F-16 ของยูเครน...ถูกรัสเซียยิงตก

นับแต่การสู้รบในปฏิบัติการพิเศษทางทหารของสหพันธรัฐรัสเซียกับสาธารณรัฐยูเครนเกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสงครามระหว่างกองทัพของสหพันธรัฐรัสเซียและกองทัพของสาธารณรัฐยูเครนที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และพันธมิตรรวมถึงชาติสมาชิกองค์การ NATO จึงทำให้กองทัพของสาธารณรัฐยูเครนสามารถคงสภาพการรบอยู่ได้จนทุกวันนี้

อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยูเครนได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรสมาชิกองค์การ NATO นั้นมากมายมหาศาลตั้งแต่อาวุธเบาเช่นปืนเล็กยาว ปืนกล ขีปนาวุธนานาชนิด ปืนใหญ่ รถถัง รถหุ้มเกราะ สารพัดชนิดกระทั่งเครื่องบินขับไล่แบบ F-16 (จนอาวุธยุทโธปกรณ์ในคลังสำรองของประเทศเหล่านั้นแทบจะหมดเกลี้ยง) ตามข้อมูลในสื่อนานาชาติ ยูเครนจะได้รับ F-16 รวม 111 ลำ (แต่สื่อบางแหล่งระบุว่า 79 ลำ) โดยมาจากเบลเยียม 30 ลำ เดนมาร์ก    19 ลำ เนเธอร์แลนด์ 24 ลำ นอร์เวย์ 6 ลำ และกรีซ 32 ลำ โดยเครื่องบินเหล่านี้บางส่วนจะถูกส่งไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงตามความจำเป็นก่อนจะส่งต่อไปให้กับยูเครน โดยสหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนการฝึกนักบิน F-16 ของยูเครนในสหรัฐฯ และมีการฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง F-16 ของยูเครนในเดนมาร์กและโรมาเนีย เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 ทั้งหมดที่ เดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และเบลเยียม มอบกับให้ยูเครนจะเป็นรุ่น F-16AM (ที่นั่งเดี่ยว) / F-16BM (ที่นั่งคู่) Block 15 Mid-Life Update (MLU) รุ่นเหล่านี้คล้ายคลึงกับ F-16C/D Block 30/50/52 

ณ เดือนสิงหาคม 2024 ยูเครนได้รับเครื่องบินขับไล่แบบ F-16 จำนวน 10 ลำ และนักบินยูเครน 6 คนได้ผ่านการฝึกอบรมการบิน F-16 แล้ว ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปี 2024 ยูเครนจะมีเครื่องบิน F-16 จำนวน 20 ลำ เครื่องบินที่เหลือจะถูกทยอยส่งมอบให้กับยูเครนเป็นชุด ๆ ตลอดปี 2025 นอกจากนั้นแล้ว 6 มิถุนายน 2024 ตามรายงานของ Le Figaro ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ได้ประกาศการโอนเครื่องบินรบ Mirage 2000-5F จำนวนหนึ่งให้กับยูเครนอีกด้วย

นาวาอากาศโท Aleksey (Oleksiy) Sergeevich Mes (นามเรียกขาน Moonfish)

ต้นเดือนสิงหาคม 2024 เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 ลำแรกเดินทางมาถึงยูเครน ทำให้ชาวยูเครนรู้สึกฮึกเหิมเป็นอย่างมา แต่ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาความรู้สึกดังกล่าวในหมู่ชาวยูเครนกลายเป็นความตกตะลึงเข้ามาแทนที่เมื่อต้องสูญเสีย F-16 ไปหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตของนักบิน เมื่อ นาวาอากาศโท Aleksey (Oleksiy) Sergeevich Mes (นามเรียกขาน Moonfish) นักบิน F-16 คนแรกของยูเครนถูกยิงตกในบริเวณจัตุรัสกลางเมืองเชเปตีฟกา แคว้นคเมลนิตสกีของยูเครน ขณะปฏิบัติการต่อต้านการโจมตีด้วยขีปนาวุธครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของกองทัพรัสเซียต่อยูเครน

Volodymyr Zelenskyy ประธานาธิบดียูเครน กับ Mette Frederiksen นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก
 บนเครื่องบินขับไล่แบบ F-16 ที่จะมอบให้ยูเครน

โดยยูเครนอ้างว่า ก่อนถูกยิงตก ผู้ฝูง Moonfish สามารถสกัดขีปนาวุธได้ 3 ลูก และโดรนอีก 1 ลำ ก่อนที่จะถูกยิงตก โดยนักบินผู้นี้เคยเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อพบปะกับสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ สำหรับภารกิจขอรับการสนับสนุนให้พวกเขาส่ง F-16 ไปช่วยยูเครน ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวถูกปิดเป็นความลับ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากสำหรับรัฐบาลยูเครน เพราะการที่ F-16 ตกในเวลาไม่นานหลังจากได้รับเครื่องบินลำดังกล่าว หมายความว่า ปัญหาดังกล่าว "มีความละเอียดอ่อนมากเป็นสองเท่า หรืออาจจะมากกว่านั้นเสียด้วยซ้ำ ทั้งไม่มีใครออกมาแถลงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการเลย"

เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 ของยูเครน

ทั้งนี้ฟากฝั่งยูเครนพยายามให้ข่าวว่า ผู้ฝูง Moonfish ถูกยิงตก อันเนื่องมาจากความเข้าใจผิดของหน่วยป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนโดยขีปนาวุธพื้นสู่อากาศแบบ Patriot หรือ F-16 บินผ่านกลุ่มเศษซากที่เกิดจากการสกัดกั้นและทำลายขีปนาวุธของรัสเซียได้สำเร็จ แต่เศษซากของขีปนาวุธที่ถูกทำลายเหล่านี้อาจทำให้เครื่องยนต์และชิ้นส่วนอื่น ๆ ของเครื่องบินได้รับความเสียหาย จนทำให้ F-16 ระเบิดออกเป็นชิ้น ๆ ทำให้นักบินเสียชีวิตก่อนที่จะดีดตัวออกจากเครื่องบินได้ โดยวันดังกล่าว กองกำลังของรัสเซียยิงขีปนาวุธและโดรนจำนวนมากไปทั่วประเทศยูเครน ซึ่งกองทัพอากาศยูเครนบอกว่า ส่วนใหญ่ถูกสกัดเอาไว้ได้ โดย ในแถลงการณ์ระบุว่า กองกำลังรัสเซียยิงขีปนาวุธ 5 ลูกและโดรน Shahed 74 ลำไปที่เป้าหมายในยูเครน ระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนสามารถหยุดขีปนาวุธ 2 ลูกและโดรน 60 ลำได้ และคาดว่าโดรนอีก 14 ลำตกลงมาก่อนที่จะถึงเป้าหมาย

ระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานระยะกลาง Buk-M3 ของรัสเซีย

แต่กองทัพรัสเซียระบุว่า F-16 ถูกยิงตกด้วยระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานระยะกลาง (Viking) Buk-M3 ของรัสเซีย ด้วยระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบนี้ในปัจจุบันเป็นวิธีการปฏิบัติมาตรฐานในการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพรัสเซีย มีระยะการตรวจจับเป้าหมายสูงถึง 120 กม. ในภาค 90° สถานีตรวจจับเป้าหมาย (STS) “มองเห็น” ที่ 200 กม. เมื่อใช้สถานีเรดาร์สแตนด์บายภาคพื้นดิน 1L119 ส่วนระบบป้องกันทางอากาศระยะกลาง จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายที่อยู่หลังแนวข้าศึกได้ลึกถึง 360 กม. ทำให้สามารถทำลายการโจมตีทางอากาศและการลาดตระเวนของกองทัพอากาศยูเครนในภาพรวมทั้งหมด ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Buk-M3 มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการพิเศษทางทหารตั้งแต่วันแรกของการรบ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Buk-M3 (พัฒนาโดยสถาบันวิจัยวิศวกรรมเครื่องมือ V.V. Tikhomirov) ดำเนินการโดยโรงงานเครื่องจักรกล Ulyanovsk ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท Almaz-Antey วิสาหกิจของรัฐบาลรัสเซีย โดย Buk-M3 สามารถทำลายเครื่องบิน 3 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 3 ลำ และขีปนาวุธปฏิบัติการทางยุทธวิธีแบบ Tochka -U, UAV แบบ Bayraktar TB2 และขีปนาวุธ HIMARS MLRS อีกเป็นจำนวนมาก"

‘ไทย’ ยังสุ่มเสี่ยงตกเป็นเป้า ‘ก่อการร้ายสากล’ แม้แสดงจุดยืนรักษาความเป็นกลาง สร้างสัมพันธ์ทุกฝ่าย

เหตุการณ์การก่อการร้ายสากลที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

การก่อการร้ายในความหมายกว้าง ๆ คือ การใช้ความรุนแรงต่อผู้ซึ่งไม่ใช่ตำรวจ-ทหาร หรือเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองหรืออุดมการณ์ คำนี้ใช้ในเรื่องนี้เป็นหลักเพื่ออ้างถึงความรุนแรงโดยเจตนาในยามสงบหรือในบริบทของสงครามต่อประชาชนพลเรือนทั่วไป คำจำกัดความของการก่อการร้ายเน้นย้ำถึงความสุ่มเป้าหมายในการสร้างความหวาดกลัวเพื่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างที่มากเกินกว่าผลต่อเป้าหมายที่เป็นเหยื่อโดยตรง ด้วยกลวิธีต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง อุดมการณ์ ความเชื่อ ฯลฯ โดยมักใช้ความหวาดกลัวเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อโน้มน้าวผู้มีอำนาจตัดสินใจ โดยผู้ก่อการร้ายมุ่งเป้าไปที่พื้นที่สาธารณะที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ศูนย์กลางการขนส่ง สนามบิน ศูนย์การค้า แหล่งท่องเที่ยว และสถานบันเทิงยามค่ำคืน เพื่อสร้างความไม่ปลอดภัยในวงกว้าง กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายผ่านการจัดการทางจิตวิทยาและบั่นทอนความเชื่อมั่นในมาตรการรักษาความปลอดภัย

‘การก่อการร้ายสากล’ เป็น การปฏิบัติการ (คุกคามหรือใช้ความรุนแรง) ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มุ่งหวังผลตามเงื่อนไขข้อเรียกร้องทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งส่วนใหญ่จะปฏิบัติการล่วงล้ำเขตแดนหรือเกี่ยวพันกับชาติอื่น การกระทำนั้นอาจเป็นไปโดยเอกเทศปราศจากการสนับสนุนจากรัฐใด ๆ หรือมีรัฐใดหนึ่งสนับสนุนรู้เห็นก็ได้ เมื่อเกิดขึ้นย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์ของชาติ พันธกรณีระหว่างประเทศ นโยบายของชาติทั้งด้านการเมือง และการป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ชื่อเสียงและเกียรติภูมิของชาติ

พลจัตวาชาติชาย ชุณหะวัน (ยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และ
พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เสนาธิการทหารในขณะนั้น ยอมเป็นตัวประกันออกไปกับผู้ก่อการร้าย

ราชอาณาจักรไทย อันเป็นที่รักยิ่งของพี่น้องประชาชนคนไทย แม้จะพยายามวางตัว ดำรงบทบาทเป็นกลางในเวทีโลกก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ก่อการร้ายสากลได้พ้น สำหรับเหตุการณ์การก่อการร้ายที่นับเป็นการก่อการร้ายสากลที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นคือ เหตุการณ์ยึดสถานทูตอิสราเอลโดยกลุ่ม Black September ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 โดยสมาชิกขบวนการก่อการร้ายปาเลสไตน์ในนามของ The Black September Organization จำนวน 4 คน ได้บุกเข้ายึดสถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนหลังสวนกรุงเทพฯ และจับบุคคลที่อยู่ในสถานทูตไว้เป็นตัวประกัน 6 คน โดยยื่นข้อเรียกร้องต่อทางการอิสราเอล  3 ข้อ อาทิ เรียกร้องการปล่อยตัวนักโทษ 36 คนในเรือนจำ เหตุการณ์สงบลงด้วยการเจรจาของรัฐบาลไทย และเอกอัครราชทูตอียิปต์ประจำประเทศไทย และผู้นำทางศาสนาอิสลามของไทย ใช้เวลาเจรจา 19 ชั่วโมง โดยรัฐบาลไทยได้จัดเครื่องบินพิเศษพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่คุ้มกันนำออกไปส่งที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง บุคคลสำคัญที่ยอมเป็นตัวประกันออกไปกับผู้ก่อการร้ายคือ พลจัตวาชาติชาย ชุณหะวัน (ยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น และ พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เสนาธิการทหารในขณะนั้น ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน ผู้ก่อการได้มอบอาวุธปืนเล็กกลที่ใช้ก่อเหตุเป็นของที่ระลึกแก่จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีกระบอกหนึ่ง และอีกกระบอกมอบให้จอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้บัญชาการกองทัพบก ผู้ก่อการปาเลสไตน์ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลอียิปต์ โดยหลังจากที่พวกเขาลงจากเครื่องบิน ผู้ก่อการได้ถูกนำไปขึ้นรถตำรวจโดยไม่ได้ใส่กุญแจมือแต่อย่างได ส่วนสำนักข่าวต่าง ๆในอียิปต์ต่างเรียกพวกเขาเป็นวีรบุรุษ ในด้านของอิสราเอล นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลในขณะนั้น โกลดา เมอีร์ และคณะได้แสดงความชื่นชมและขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างยิ่งสำหรับการจัดการอันระมัดระวังซึ่งทรงประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบอย่างสูง (Active vigilance and supreme responsibility)

เครื่องบินแบบ BAC 1-11 ของฟิลิปปินส์แอร์ไลน์แบบเดียวกับที่ถูกจี้

เหตุการณ์ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2519 ผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิม 3 คน จากขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติโมโรแห่งมินดาเนา (Moro National Liberation Front of Mindanao) ได้จี้และยึดเอาเครื่องบินโดยสารภายในประเทศที่เมืองคากายัน เดอ โอโร พร้อมด้วยผู้โดยสาร 70 คน ไว้เป็นตัวประกันและตั้งข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์ 3 ข้อ ผู้ก่อการร้ายได้บังคับให้กัปตันนำเครื่องบินไปลงที่สนามบินมะนิลา และยินยอมปล่อยผู้โดยสารทั้ง 70 คน ที่ยึดไว้เป็นตัวประกัน ต่อมาการเจรจาระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์ตกลงกันไม่ได้ ผู้ก่อการร้ายจึงบังคับเครื่องบินให้บินออกนอกประเทศตามเส้นทางโกตาคิ นะบาลู รัฐซาบาร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และมาลงดอนเมืองเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2519 ไทยเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างผู้ก่อการร้ายกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในที่สุดผู้ก่อการร้ายได้นำเครื่องบินต่อเดินทางไปลิเบียเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2519          

เครื่องบินแบบ DC-8 ของ Garuda ลำที่ถูกจี้

เหตุการณ์ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2524 ผู้ก่อการร้ายกลุ่มคอมมานโดญิฮาด (Commando Jihad Movement) จำนวน 5 คน ได้ปล้นยึดเครื่องบิน Garuda เที่ยวบิน 206 สายการบินแห่งชาติของอินโดนีเซีย ขณะบินขึ้นจากสนามบินปาเล็มบังไปยังเมืองเมดาน และเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียปล่อยนักโทษการเมืองอินโดนีเซียที่ถูกคุมขังอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศไปส่งยังกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ต่อจากนั้นได้บังคับให้นำเครื่องบินไปจอดแวะเติมน้ำมันและขอเสบียงที่สนามบินปีนัง มาเลเซีย และเดินทางต่อมายังประเทศไทยลงที่สนามบินดอนเมือง ทางฝ่ายไทยและฝ่ายอินโดนีเซียได้เจรจาต่อรองกับผู้ก่อการร้ายจนถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2524 จนในที่สุดได้ตกลงใจที่จะใช้กำลังเข้าช่วยเหลือตัวประกัน โดยฝ่ายไทยเป็นผู้คุ้มกันการปฏิบัติการ และฝ่ายอินโดนีเซียใช้หน่วยจู่โจมเข้าช่วยเหลือตัวประกัน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2524 เวลา 02.35 น. ผลการปฏิบัติการคือ ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บ 1 คน หน่วยจู่โจมอินโดนีเซียเสียชีวิต 1 คน นักบินที่ 1 เสียชีวิต และผู้โดยสาร 43 คนปลอดภัย ปรากฏเป็นข่าวในภายหลังถึงความไม่ชำนาญในปฏิบัติการจู่โจมสลัดอากาศของฝ่ายอินโดนีเซียจึงทำให้มีการเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติและตัวประกันเกิดขึ้น  

สภาพความเสียหายของอาคารหลังจากเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2525

เหตุการณ์ครั้งที่ 4 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2525 มีผู้นำกระเป๋าเอกสารซึ่งบรรจุระเบิดชนิด C4 น้ำหนักประมาณ 10 ปอนด์ ไปทิ้งไว้ในสำนักงานบริษัท เอ.อี.นานา จำกัด เลขที่ 27-29 ถนนอนุวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ซึ่งเคยเป็นที่ทำการของสถานกงสุลกิตติมศักดิ์อิรักประจำกรุงเทพฯ และได้เกิดระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 16.27 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแผนกวัตถุระเบิด กองพลาธิการ กรมตำรวจ กำลังพยายามจะนำกระเป๋าดังกล่าวออกจากตัวอาคารเป็นผลให้อาคารบริษัท เอ.อี.นานา จำกัด ซึ่งเป็นตึก 2 ชั้น 2 คูหา พังถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิต 1 นาย คือ พ.ต.ท.สุรัตน์ สุมานัส หัวหน้าแผนกวัตถุระเบิด เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 4 คน และประชาชนบาดเจ็บ 13 คน ต่อมาในวันที่ 3 ธันวาคม 2525 ผู้ก่อการร้ายขบวนการปฏิบัติการอิสลามแห่งอิรัก (Iraqi Islamic Action Organization) ได้โทรศัพท์แจ้งไปยังสำนักข่าว AFP ในกรุงปารีส อ้างความรับผิดชอบกรณีระเบิดดังกล่าว เหตุการณ์ครั้งที่ 5 เดือนเมษายน พ.ศ. 2531 สมาชิกขบวนการฮิซบอลเลาะห์ (HIZBALLAH) จำนวน  6-8 คน ยึดเครื่องบินของสายการบินคูเวตจากกรุงเทพฯ ไปลงที่เมืองมาชาต ประเทศอิหร่าน จับผู้โดยสารและลูกเรือ 112 คนเป็นตัวประกัน ซึ่งในจำนวนนั้น 3 คนเป็นเชื้อพระวงศ์ของคูเวต ผู้ก่อการร้ายเรียกร้องให้รัฐบาลคูเวตปล่อยตัวนักโทษชาวมุสลิมนิกายชีอะต์ 17 คน ซึ่งถูกคุมขังในข้อหาขับรถบรรทุกระเบิดพุ่งชนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา และวางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในคูเวต 

แท็งก์น้ำภายในบรรจุระเบิดแสวงเครื่องประกอบด้วยระเบิดซีโฟร์ 2 ลูก แอมโมเนียมไนเตรท
พร้อมเชื้อปะทุ

เหตุการณ์ครั้งที่ 6 เดือนมกราคม พ.ศ. 2532 คนร้ายลอบสังหารนายซาเลห์ อัล-มาลิกิ เลขานุการตรีสถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำกรุงเทพฯ เหตุเกิดที่หน้าบริษัทแห่งหนึ่งย่านถนนสาทรใต้ ต่อมาขบวนการก่อการร้ายกลุ่มเดอะ โซลเยอร์ ออฟ จัสติส (THE SOLDIERS OF JUSTICE : TRUTH) กับกลุ่มอิสลามิกญิฮาด (ISLAMIC JIHAD) อ้างความรับผิดชอบ เหตุการณ์ครั้งที่ 7 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 นักศึกษาพม่า 2 คน จี้เครื่องบินของสายการบินพม่าจากเมืองมะริดมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) เข้าเจรจาต่อรอง สุดท้ายคนร้ายได้ยอมมอบตัว เหตุการณ์ครั้งที่ 8 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นักศึกษาพม่า 2 คน จี้เครื่องบินของสายการบินไทย ซึ่งมีกำหนดเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเมืองย่างกุ้ง จากสนามบินดอนเมืองไปลงที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และเรียกร้องให้ทางการพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ สุดท้ายผู้ก่อการร้ายยอมมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่อินเดีย เหตุการณ์ครั้งที่ 9 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 คนร้ายชาวอิหร่าน ขับรถบรรทุกหกล้อ บรรทุกแท็งก์น้ำ ซึ่งภายในบรรจุระเบิดแสวงเครื่องขนาดใหญ่ ประกอบด้วยระเบิดซีโฟร์ 2 ลูก และแอมโมเนียมไนเตรท พร้อมเชื้อปะทุอีกจำนวนมาก หวังบุกพุ่งชนสถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย หรือสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โชคดีเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์รับจ้างเสียก่อน คนขับกับเพื่อนต้องลงมาเจรจา มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ระดมพรรคพวกมากดดันเรียกร้องค่าเสียหาย คนขับรถบรรทุกขอจ่ายเป็นเงินดอลลาร์อเมริกัน มอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่รับ คนขับกับเพื่อนขอตัวไปแลกเงินไทย แต่แล้วก็เดินหายไปไม่กลับมาอีก เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินีสถานที่เกิดเหตุต้องขับรถบรรทุกไปจอดไว้ที่ สน.ลุมพินีไม่ไกลจากจุดเกิดเหตุมากนัก 

ต่อมาอีกหลายวันมีผู้ประกอบการรถเช่ามาสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินีเกี่ยวกับรถบรรทุกหกล้อที่หายไป ก็พบรถคันนั้นพอดี แต่สงสัยว่าแท็งก์น้ำที่บรรทุกอยู่มาจากไหน เจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้นไปเปิดแท็งก์น้ำ ปรากฏว่าช็อกเมื่อพบศพคนขับคนไทยที่ขับรถคันนี้อยู่ประจำ และพบส่วนประกอบระเบิดปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตผสมกับน้ำมันโซลาร์หนักกว่า 1 ตัน มีระเบิดซีโฟร์ขนาด 2 ปอนด์เป็นตัวจุดระเบิด มีสวิตช์กดระเบิดอยู่ในรถ การสอบสวนพบว่าชาวตะวันออกกลางไปเช่ารถคันนี้มาเมื่อหลายวันก่อน เจ้าของขอให้เอาคนขับคนไทยไปด้วย รถคันนี้ไปจอดค้างคืนอยู่ในที่จอดรถห้างเซ็นทรัลชิดลมอยู่คืนหนึ่งก่อนจะขับออกมาเจออุบัติเหตุกิ๊กก๊อกตอนเช้า คาดว่าเป้าหมายของคาร์บอมบ์ครั้งนั้นอยู่ที่สถานทูตอิสราเอลที่ขณะนั้นอยู่ห่างห้างเซ็นทรัลชิดลมไปแยกเดียวเท่านั้น ต่อมาในปี 2538 มีการจับผู้ต้องสงสัยเป็นชาวอิหร่าน 3 คน ปล่อยตัวไป 2 คนในชั้นสอบสวน คงเหลือฟ้องร้องดำเนินคดี 1 คน 

เฮลิคอปเตอร์พร้อมตัวประกันสำคัญคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ (ขณะนั้น)
ไปส่งนักศึกษาพม่าหัวรุนแรง 5 คน ที่บ้านแม่เพี้ยเล็ก

เหตุการณ์ครั้งที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 นักศึกษาพม่าหัวรุนแรง 5 คน บุกยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย จับตัวประกันไว้ 30 คน เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง พร้อมทั้งให้เปิดการเจรจาคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนประชาชน และให้รัฐบาลทหารร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนประชาชนตั้งรัฐบาลผสม ทางการไทยได้เข้าเจรจา โดยจัดเฮลิคอปเตอร์พร้อมตัวประกันสำคัญคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ (ขณะนั้น) ไปส่งที่บ้านแม่เพี้ยเล็ก เขตอิทธิพลของกะเหรี่ยง KNU

เหตุการณ์ครั้งที่ 11 เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังทหารกะเหรี่ยงกลุ่ม "God’s Army" 10 คน บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จับแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยไว้เป็นตัวประกัน เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการปราบปรามชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ทางการไทยได้สนธิกำลังหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลเข้าช่วยเหลือตัวประกัน และยึดพื้นที่คืน ปรากฏว่าทหารก็อดอาร์มีเสียชีวิตทั้งหมด ขณะที่เจ้าหน้าที่ไทยบาดเจ็บ 8 นาย

เหตุการณ์ครั้งที่ 12 เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 เป็นเหตุระเบิดที่เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18.55 น. ตามเวลาในประเทศไทย ที่ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และในวันต่อมาได้เกิดเหตุคนร้ายปาระเบิดลงมาจากสะพานตากสิน บริเวณท่าเรือสาทร ทำให้เรือที่จอด

อยู่บริเวณใกล้เคียงถูกสะเก็ดระเบิดเล็กน้อย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ก่อนหน้านี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เกิดระเบิดสองครั้งบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามเหนือแยกราชประสงค์ โดยคนร้ายนำระเบิดไปวางไว้บริเวณประตูของจุดบริการด่วนมหานครสำนักงานเขตปทุมวันซึ่งให้บริการด้านทะเบียนราษฎร์ มีผู้บาดเจ็บสามคน โดยเชื่อว่าสาเหตุมาจากการเมือง และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 เกิดเหตุการณ์คาร์บอมที่ชั้นใต้ดินของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้บาดเจ็บ 10 คน โดยผู้ก่อเหตุที่ถูกออกหมายจับทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกันทั้ง 2 คดี โดยมีผู้ต้องหา 17 คน มีคนไทยร่วมขบวนการ 2 คน คือ วรรณา สวนสันต์ กับ ยงยุทธ พบแก้ว (อ๊อด พยุงวงศ์) และจนถึงตอนนี้สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 2 ราย คือบีลาเติร์ก มูฮัมหมัด และไมไรลี ยูซูฟู (ชาวอุยกูร์) ต่อมา นางวรรณา สวนสันต์ ถูกจับ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เหตุการณ์ร้ายที่กล่าวมา ยังไม่นับรวมการจับกุม "ริดวน อิซามุดดิน" หรือ "ฮัมบาลี" แกนนำกลุ่มก่อการร้ายเจไอ และเป็นตัวการประสานงานคนสำคัญระหว่างกลุ่มเจไอ กับ อัล-ไกดา ซึ่งถูกทางการไทยร่วมกับเจ้าหน้าที่ซีไอเอสหรัฐควบคุมตัวได้ขณะกบดานอยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2546 ซึ่งฮัมบาลี ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการสำคัญที่บงการให้มีการวางระเบิดสถานบันเทิงในเกาะบาหลีของประเทศอินโดนีเซีย เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ทางการไทยยังจับกุมนายวิคเตอร์ บูท ชาวรัสเซีย ซึ่งถูกกล่าวหาจากทางการสหรัฐว่า เป็นพ่อค้าอาวุธรายสำคัญ ถูกจับกุมตัวที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 ตามหมายจับของตำรวจสากล ด้วยข้อหาขนส่งอาวุธสงครามให้กับขบวนการค้ายาเสพติดในโคลอมเบีย  ต่อมาศาลอุทธรณ์ไทยมีคำสั่งให้ส่งตัว วิกเตอร์ บูท ไปดำเนินคดีที่สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 และถูกตัดสินโดยศาลแมนฮัตตัน รัฐนิวยอร์ก จำคุกเป็นเวลาอย่างน้อย 25 ปี เหตุระเบิดบ้านเช่าของชาวอิหร่านสามคนในกรุงเทพมหานครเมื่อวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 หน้าโรงเรียนเกษมพิทยา ตั้งอยู่ระหว่างซอยปรีดีพนมยงค์ 33-35 ถนนปรีดีพนมยงค์ (ถ.สุขุมวิท 71) แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กทม. มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 ราย รวมทั้งมือระเบิดที่ได้รับบาดเจ็บจนขาขาด  ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ศาลอาญาตัดสินลงโทษจำเลยชาวอิหร่านในความผิดฐานคดีร่วมกันทำความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดระเบิด ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ พยายามฆ่าผู้อื่น ทำให้เสียทรัพย์ และ พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน พ.ศ.2490 ดังกล่าว โดยนายซาอิด โมราดิ จำเลยที่ 1 อายุ 29 ปี ที่อยู่ในสภาพพิการตาขวาบอด ขาซ้ายขาดจากระเบิดของตัวเอง ถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต  และนายมูฮัมหมัด ฮาซาอิ จำเลยที่ 2 อายุ 43 ปี ถูกตัดสินลงโทษจำคุก 15 ปี

แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้หน่วยงานด้านความมั่นคงจะมีการชี้แจงว่า กลุ่มขบวนการก่อการร้ายไม่ได้มีเป้าหมายที่จะโจมตีประเทศไทยโดยตรง เพียงแต่มีการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน หรือใช้เป็นสถานที่กบดานซ่อนตัวเพื่อก่อนเดินทางไปลงมือปฏิบัติการในประเทศอื่นๆ แต่ทุกเหตุการณ์ไม่ได้ที่เกิดขึ้นชัดเจนว่าประเทศไทยของเราไม่ได้ปลอดภัยจากเหตุการณ์ก่อการร้ายเลย แม้ว่า ประเทศไทยจะไม่ใช่เป้าหมายโดยตรงของการก่อการร้ายสากล แต่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการก่อการร้ายในประเทศได้ ด้วยการก่อการร้ายในปัจจุบันเป็นในรูปแบบที่ไร้ขอบเขตในการปฏิบัติ มีการกระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ และมีอำนาจตัดสินใจปฏิบัติการโดยอิสระมากขึ้น โดยที่ไทยเป็นประเทศเปิดเสรี ทำให้ผู้ก่อการร้ายสากลเคยและสามารถใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่าน แหล่งพักพิงชั่วคราว และแหล่งจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนในการปฏิบัติการ เช่น เอกสารปลอม อาวุธ การอำพรางรูปพรรณและสถานะของบุคคล การรวบรวมข่าวสารและเงินทุน รวมถึงความพยายามในการจัดตั้งเครือข่ายปฏิบัติการ เนื่องจากไทยมีปัจจัยเกื้อกูลหลายประการ เช่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การบังคับใช้กฎหมาย และการรักษาความปลอดภัยที่หย่อนยาน ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ

ความเป็นเอกราชของบ้านเมืองเราแลกมาด้วยความชาญฉลาดและเสียสละของบูรพมหากษัตริย์และบรรพชนไทย เราอยู่รอดมาได้ด้วยเราไม่ดันทุรังทำในสิ่งที่เราไม่เห็นโอกาสว่าจะสำเร็จ สิ่งเหล่านี้รักษาไว้ซึ่งความเป็นชาติเอกราชเพียงชาติเดียวที่รอดพ้นจากลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในอดีต และจะหลุดพ้นจากบ่วงทุนนิยมของโลกเสรีอันเป็นเครื่องมือล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจตามลัทธิการล่าอาณานิคมสมัยใหม่ได้จนตลอด เรื่องที่พึงระวังในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยคือ การตกบ่วงในการเลือกข้างฝักใฝ่เป็นพวกกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลไทยในอดีตเคยกระทำผิดพลาดมาแล้วหลายครั้งหลายหน สำหรับบทบาทท่าทีที่เหมาะสมที่สุดของประเทศไทยคือ การรักษาความเป็นกลางโดยเคร่งครัด การยึดมั่นในข้อตกลงตามสนธิสัญญาต่างๆ ที่ได้ทำไว้กับนานาประเทศ การประณามการใช้ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดการดูหมิ่นและเกลียดชังบนพื้นฐานความเชื่อถือศรัทธาด้านต่างๆ ในความต่างทางเชื้อชาติศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี ด้วยอัธยาศัยไมตรีตลอดจนจารีตประเพณีที่ดีงามของสังคมไทย เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยตลอดจนความมั่นคงของชาติไทยเอาไว้ได้จนทุกวันนี้

รู้จัก ‘MI6’ ต้นสังกัด ‘James Bond 007’ หน่วยข่าวกรองอังกฤษ กับภารกิจ ‘ต่อต้านก่อการร้าย’

Secret Intelligence Service หรือ SIS (Military Intelligence, Section 6: MI6) หน่วยข่าวกรองต่างประเทศแห่งรัฐบาลสหราชอาณาจักร

Sir Ian Fleming ผู้แต่ง James Bond 007

แฟน ๆ ของ James Bond 007 คงสงสัยว่า 007 ยอดสายลับของรัฐบาลสหราชอาณาจักร สังกัดหน่วยงานไหนกันแน่ ด้วยตัวผู้แต่ง Sir Ian Fleming เคยรับราชการในหน่วยข่าวกรองทางเรือของกองทัพเรืออังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีประสบการณ์เกี่ยวกับปฏิบัติการด้านการข่าวมากมาย เมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงไม่นาน โลกก็เข้าสู่ยุคสงครามเย็น ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ (สหภาพโซเวียต) กับฝ่ายประชาธิปไตย (สหรัฐอเมริกา) และมีการส่งสายลับไปทั่วโลก Sir Fleming ได้แนวคิดจะเขียนเรื่องราวเป็นนวนิยายเกี่ยวกับสายลับอังกฤษ โดยกำหนดให้สายลับผู้นั้นที่มีใบอนุญาตสังหารคนได้โดยไม่ผิดกฎหมาย และใช้รหัสการทำงาน 007 ชื่อว่า James Bond โดยนำชื่อมาจากนักปักษีวิทยาผู้หนึ่งที่เขาชื่นชอบ และต้นสังกัดของ James Bond ก็คือ Secret Intelligence Service (SIS หรือ MI6) หน่วยข่าวกรองต่างประเทศแห่งรัฐบาลสหราชอาณาจักร ซึ่งขอเรียกหน่วยงานนี้ว่า MI6 ด้วยชื่อนี้เป็นที่รู้จักมากกว่า SIS 

Thames House สำนักงานใหญ่ของ MI5 (Military Intelligence, Section 5)

รัฐบาลสหราชอาณาจักรมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบงานการข่าวหลายหน่วยคือ Security Service หรือที่เรียกว่า MI5 (Military Intelligence, Section 5) เป็นหน่วยงานด้านการต่อต้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในประเทศ และเช่นเดียวกับ Government Communications Headquarters ( GCHQ) หน่วยข่าวกรองและความมั่นคงที่รับผิดชอบในการจัดหารวบรวมข่าวกรอง (SIGINT) ให้แก่รัฐบาลและกองทัพของสหราชอาณาจักร, Defense Intelligence (DI) ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข่าวกรองทางทหาร แตกต่างจากหน่วยข่าวกรองอื่น ๆ ของสหราชอาณาจักร (MI6, GCHQ และ MI5) ด้วยเป็นหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม (MoD) แทนที่จะเป็นองค์กรแบบแยกเดี่ยว มีการผสมผสานระหว่างเจ้าหน้าที่พลเรือนและเจ้าหน้าที่ทหาร และได้รับงบประมาณจากงบประมาณด้านกลาโหมของสหราชอาณาจักร และ Secret Intelligence Service (SIS หรือ MI6)

ทำไม 007 จึงสังกัด MI6 ทั้ง ๆ ที่ชุมชนการข่าวของอังกฤษมีตั้งหลายหน่วย ซ้ำในอดีตหน่วยงานการข่าวของแต่ละเหล่าทัพแยกกัน ไม่ได้รวมกันเป็น DI เช่นทุกวันนี้ ด้วยเพราะ MI6 ได้รับมอบภารกิจในการรวบรวมและวิเคราะห์ข่าวกรอง (จากแหล่งข่าวที่เป็นบุคคลต่าง ๆ ) ในต่างประเทศ (HUMINT) เป็นหลักในการสนับสนุนความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักร MI6 เป็นหน่วยงานสมาชิกของชุมชนข่าวกรองของอังกฤษ และหัวหน้าหน่วยงานขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหราชอาณาจักร

MI6 ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1909 โดยเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานราชการลับ (Secret Service Bureau) และส่วนงานต่างประเทศส่วนนี้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และใช้ชื่อปัจจุบันอย่างเป็นทางการประมาณปี ค.ศ.1920 ในชื่อ 'MI6' (หมายถึงหน่วยสืบราชการลับทางทหาร แผนกที่ 6) การมีอยู่ของ MI6 ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจนถึงปี ค.ศ.1994 ในปีนั้นได้มีการนำพระราชบัญญัติบริการข่าวกรองปี ค.ศ.1994 (Intelligence Services Act : ISA) เข้าสู่รัฐสภาเพื่อจัดวางองค์กรให้มีรากฐานตามกฎหมายเป็นครั้งแรก เป็นพื้นฐานทางกฎหมายสำหรับการดำเนินงาน ปัจจุบัน MI6 อยู่ในการกำกับดูแลของคณะตุลาการซึ่งมีอำนาจสืบสวน (Investigatory Powers Tribunal) กับคณะกรรมาธิการข่าวกรองและความมั่นคงแห่งรัฐสภา (Parliamentary Intelligence and Security Committee)

บทบาทที่สำคัญกว่าบทบาทอื่นของ MI6 ตามที่มีระบุไว้ คือ การต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการแพร่กระจายของอาวุธร้ายแรง การให้ข่าวกรองเพื่อสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการสนับสนุนเสถียรภาพในต่างประเทศ เพื่อทำลายการก่อการร้ายและอาชญากรรมอื่น ๆ แต่ MI6 ซึ่งแตกต่างจากหน่วยงานหลักอื่น ๆ คือ Security Service (MI5) และ Government Communications Headquarters (GCHQ) MI6 ทำงานเฉพาะในหน่วยข่าวกรองต่างประเทศ ตามที่พรบ. ISA อนุญาตให้ปฏิบัติการ (เฉพาะกับบุคคลภายนอกเกาะอังกฤษเท่านั้น) การกระทำบางอย่างของ MI6 นับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นประเด็นโต้แย้งสำคัญหลาย ๆ เรื่องเช่น การสมรู้ร่วมคิดและถูกกล่าวหาว่า ทำการทรมาน และลักพาตัวบุคคล

เครื่องเข้าและถอดรหัส Enigma

ผลงานของ MI6 สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประสิทธิภาพของ MI6 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นมีลักษณะผสมผสานกันไป เนื่องจากไม่สามารถสร้างเครือข่ายในเยอรมนีได้ ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่มาจากข่าวกรองทางการทหารและการค้าที่รวบรวมผ่านเครือข่ายในประเทศที่เป็นกลาง ตลอดจนดินแดนที่ถูกยึดครอง และรัสเซีย ช่วงรอยต่อระหว่างสองสงครามโลก ในช่วงหลังสงคราม และตลอดช่วงทศวรรษที่ 1920 MI6 มุ่งเน้นไปที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิบอลเชวิสของรัสเซีย เช่น ปฏิบัติการเพื่อโค่นล้มรัฐบาลบอลเชวิคในปี ค.ศ.1918 รวมถึงความพยายามในการจารกรรมแบบดั้งเดิมมากขึ้นในช่วงต้นของสหภาพโซเวียต และ MI6 ได้รับการแนะนำจากพันธมิตรชาวโปแลนด์ในด้านเทคนิคและอุปกรณ์เพื่อถอดรหัสด้วยเครื่องเข้าและถอดรหัส Enigma รวมทั้งแผ่น Zygalski และการเข้ารหัส 'Bomba' ของเยอรมัน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับความต่อเนื่องและความพยายามของอังกฤษในภายหลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นักเข้ารหัสชาวอังกฤษสามารถถอดรหัสข้อความจำนวนมากที่เข้ารหัสในเครื่อง Enigma ซึ่ง MI6 รวบรวมได้จากแหล่งข่าวที่มีชื่อรหัสว่า 'Ultra' ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการทำสงครามของฝ่ายพันธมิตร 

อุโมงค์สายลับ Berlin ถือเป็นปฏิบัติการข่าวกรองที่น่าทึ่งที่สุดแห่งหนึ่งของช่วงต้นยุคสงครามเย็น ตั้งแต่ปี 1953 ถึง 1955 CIA ของอเมริกาและ SIS (MI6) ของอังกฤษร่วมมือกันในการวางแผนและสร้างอุโมงค์ลับโดยมีจุดประสงค์เพื่อเข้าถึงการสื่อสารทางทหารของสหภาพโซเวียต

สงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากการถอดรหัสจากรหัสเครื่อง Enigma สำเร็จแล้ว MI6 ยังสามารถปฏิบัติงานระบบ 'Double-cross' ซึ่งเริ่มดำเนินการโดย MI5 เพื่อป้อนข้อมูลข่าวกรองที่ทำให้ฝ่ายเยอรมันเข้าใจผิดอีกด้วย (เช่น กรณีปลอมศพนายทหารนาวิกโยธินอังกฤษพร้อมเอกสารลวง)  ในช่วงต้นปี ค.ศ.1944 MI6 ได้จัดตั้ง ส่วน IX ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นส่วนต่อต้านโซเวียตตั้งแต่ก่อนสงคราม และข่าวรั่วไปยัง NKVD เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับของอังกฤษทั้งหมดที่ปฏิบัติการในโซเวียตรวมถึงข่าวสารข้อมูลที่ OSS ของสหรัฐอเมริกาแบ่งปันกับอังกฤษเกี่ยวกับโซเวียตด้วย ในยุคสงครามเย็น MI6 พลาดท่าเสียทีบ่อย ๆ ด้วยเรื่องของสายลับสองหน้า และการแปรพักตร์ ทำให้ข้อมูลสำคัญตกไปอยู่ในมือสหภาพโซเวียต และ MI6 มีส่วนในการโค่นนายกรัฐมนตรี Mohammad Mosaddegh ของอิหร่าน ในปี ค.ศ.1953 ส่งผลโดยตรงกับการปฏิวัติอิสลาม และการล่มสลายของรัฐบาล Pahlavi ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของอเมริกากับ Shah และความเป็นปรปักษ์ของสหรัฐอเมริกาต่อสาธารณรัฐอิสลาม และการแทรกแซงที่แสวงหาผลประโยชน์ของอังกฤษ ทำให้ชาวอิหร่านมองตะวันตกในแง่ร้าย และกระตุ้นให้เกิดความคลั่งไคล้ชาตินิยมจากความไม่พอใจจากการแทรกแซงจากต่างชาติ 

MI6 มีความเกี่ยวข้องกับสงครามโซเวียต – อัฟกานิสถานอย่างมาก จนกลายเป็นการปฏิบัติการลับที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โดย MI6 สนับสนุนกลุ่มต่อต้านอิสลามซึ่งนำโดย Ahmad Shah Massoud และกลายเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการต่อสู้กับสหภาพโซเวียต โดยเจ้าหน้าที่ MI6 สองนายและครูฝึกทหารถูกส่งไปช่วย Massoud และนักรบของเขา พร้อมด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียง วิทยุ และข้อมูลลับที่สำคัญเกี่ยวกับแผนการรบของสหภาพโซเวียต MI6 ยังมีส่วนช่วยในการทำลายเฮลิคอปเตอร์ของโซเวียตในอัฟกานิสถานเป็นจำนวนมากด้วย  

หลังจากการโจมตี 11 กันยายน (911) ในวันที่ 28 กันยายนรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษได้อนุมัติการส่งเจ้าหน้าที่ MI6 ไปยังอัฟกานิสถานและภูมิภาคโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับมูจาฮาดีนในทศวรรษที่ 1980 และผู้ที่มีทักษะทางภาษาและความเชี่ยวชาญในระดับภูมิภาค เจ้าหน้าที่ MI6 จำนวนหนึ่งพร้อมด้วยงบประมาณ 7 ล้านดอลลาร์ได้เดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน ซึ่งพวกเขาได้พบกับนายพล Mohammed Fahim แห่งพันธมิตรภาคเหนือ และเริ่มทำงานกับผู้นำอื่น ๆ ในภาคเหนือและภาคใต้เพื่อสร้างพันธมิตรแห่งความมั่นคง สนับสนุนและติดสินบนผู้บัญชาการของกลุ่มตอลิบานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเปลี่ยนข้างหรือผละจากการสู้รบ นอกจากนั้นแล้ว MI6 ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ ในอาหรับนับแต่สงครามในอิรักอีกด้วย

ปัจจุบัน MI6 ตั้งอยู่ที่ SIS Building, 85 Albert Embankment, Vauxhall, Lambeth, London, สหราชอาณาจักร เรื่องราวของ James Bond 007 ล้วนแล้วแต่เป็นจินตนาการกอปรกับประสบการณ์ของผู้แต่ง Sir Ian Fleming ดังนั้น ‘James Bond 007’ และ ‘ใบอนุญาตฆ่าคนได้โดยไม่ผิดกฎหมาย’ จึงไม่มีอยู่จริง แต่หน่วยงานที่มีอยู่จริงคือ ‘Secret Intelligence Service (SIS หรือ MI6)’ นั่นเอง

มิติพิศวง!! เที่ยวบิน ‘AVIACO 502’ วาร์ปไปไหน 24 นาที ก่อนกลับมาโผล่ ณ จุดเดิม

เครื่องบินโดยสารไอพ่นแบบ Caravelle 10-R แบบเดียวกับเที่ยวบิน AVIACO 502

เที่ยวบิน AVIACO 502 เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์แปลกประหลาดที่สุดที่เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การบินของสเปน AVIACO เป็นสายการบินท้องถิ่นของสเปนที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงมาดริด โดยอยู่ในเครือของ IBERIA สายการบินแห่งชาติของสเปน ก่อตั้งเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 1948 และยุติการดำเนินงานเมื่อ 1 กันยายน 1999

ปกติแล้ว เราท่านต่างทราบกันดีว่า เหตุการณ์ทำนองนี้ ที่ส่งผลให้อากาศยานและเรือสูญหายมักเกิดขึ้นในบริเวณสามเหลี่ยม Bermuda พื้นที่สมมติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว โดยมักอ้างเหตุผลในการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือฐานทัพของสิ่งมีชีวิตนอกโลกในพื้นที่ดังกล่าว

สำหรับกรณีของเที่ยวบิน AVIACO 502 นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนน่านฟ้าของทวีปยุโรป ในวันที่ 31 มกราคม 1978 ผู้โดยสารของเที่ยวบิน 502 ของสายการบิน Aviaco จะเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารไอพ่นแบบ Caravelle 10R จากสนามบิน Manises เมืองบาเลนเซียในแคว้นบาเลนเซียไปยังสนามบิน Sondika ในเมืองบิลเบา แคว้นบาสก์ ซึ่งเป็นเมืองทางตอนเหนือของสเปน ขั้นตอนการขึ้นเครื่อง การโหลดสัมภาระ และการบินขึ้นดำเนินไปโดยไม่มีปัญหาใด ๆ 

ในขณะที่เครื่องบินกำลังบินอยู่เหนือท้องฟ้าของเมืองยูสกาดี และใกล้ถึงจุดหมายปลายทางแล้ว กัปตัน Carlos García Bermúdez ได้สังเกตเห็นเมฆดำปกคลุมอยู่เหนือพื้นดินห่างออกไปราว 1 กิโลเมตร จึงตัดสินใจที่จะรักษาระดับความสูงไว้ที่ 12,000 ฟุต และยังไม่ลงจอด ทั้งนี้เนื่องจากหอบังคับการบิน Sondika แจ้งว่า สนามบินกำลังดำเนินการภายใต้สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย จึงไม่อนุญาตให้ AVIACO 502 ลงจอด 

เมฆ ‘Lenticular’

โดยหอบังคับการบิน Sondika ได้แจ้งให้ AVIACO 502 เปลี่ยนเส้นทางไปยังสนามบิน Santander ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 100 กม. เนื่องจากสภาพอากาศที่สนามบินแห่งนั้นยังเปิดและสามารถลงจอดได้ กัปตัน Bermúdez ปฏิบัติตามคำสั่งและกำหนดเส้นทางไปยังสนามบิน Santander ซึ่งการบินจะใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 15 นาที ทุกอย่างเรียบร้อยดี ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน จนกระทั่งนักบินสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติบางอย่างที่ปรากฏขึ้นอย่างกะทันหันต่อหน้าเครื่องบิน เนื่องจากพวกเขามองไม่เห็น จึงบินโดยใช้ IFR ในกลุ่มเมฆ โดยบินภายใต้กฎการบินด้วยเครื่องมืออย่างเคร่งครัด 

บริเวณที่มีแนวเทือกเขา กระแสอากาศที่ไหลมาปะทะแนวเทือกเขานี้จะถูกบังคับให้ยกตัวสูงขึ้น แต่เมื่อผ่านแนวเทือกเขาไปแล้ว กระแสอากาศก็จะไหลกระเพื่อมเป็นคลื่น

นักบินสังเกตเห็นว่าชั้นเมฆหนาแน่นขนาดใหญ่ก่อตัวขึ้นรอบ ๆ เครื่องบิน ชั้นเมฆดังกล่าวมีลักษณะที่เรียกว่า ‘เมฆจานบิน (Lenticular) ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาวะปั่นป่วนของอากาศ เมฆก้อนนี้หนาแน่นและสว่างมากจนทำให้กัปตันและนักบินที่สองต้องใส่แว่นกันแดดเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ตามปกติ พวกเขาบินไต่ระดับ 33,000 ฟุตเพื่อข้ามชั้นเมฆหนาดังกล่าว เมื่อบินห่างออกจากสนามบิน Sondika ราว 22 ไมล์ทะเล ภายในไม่กี่วินาที อุปกรณ์การบินและเครื่องมือสื่อสารของเครื่องบินก็ขัดข้อง ความถี่ทั้งหมดที่ใช้ติดต่อกับพื้นดินสูญหายไปโดยสิ้นเชิง และความพยายามของนักบินในการติดต่อกับหอบังคับการบินอีกครั้งก็ไร้ผล ขอบฟ้าเทียมของเครื่องบินซึ่งเป็นเครื่องมือที่นักบินใช้ดูว่าเครื่องบินกำลังบินตรงและอยู่ในระดับใด แสดงให้เห็นว่าเครื่องบินกำลังบินคว่ำหรือกลับหัว และทิศทางการบินนั้นตรงกันข้ามกับเส้นทางที่ควรบินไปยังสนามบิน Santander โดยสิ้นเชิง เพราะบินมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้ระบุอย่างถูกต้องก่อนที่เครื่องบินจะเข้าสู่กลุ่มเมฆ 

ในขณะเดียวกัน นักบินก็ยืนยันว่าเครื่องบินไม่ได้บินไปข้างหน้า เนื่องจากมาตรวัดระยะทางทะเลของเครื่องบินระบุว่าตลอดระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งผ่านไปแล้วระหว่าง 6 ถึง 7 นาที เครื่องบินไม่ได้บินไปข้างหน้า เนื่องจากมาตรวัดได้ระบุตำแหน่งของเครื่องบินในตำแหน่งเดียวกับที่เครื่องบินบินผ่านกลุ่มเมฆ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูเหมือนว่าแทนที่จะบินไปข้างหน้า แต่กลับบินถอยหลัง เครื่องมืออื่น ๆ เช่น เข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์หรือเข็มทิศแบบดั้งเดิม มีอาการผิดปกติโดยสิ้นเชิง เนื่องจากหมุนไม่หยุดเป็นเวลา 7 นาที ทั้งยังหนุนถอยหลัง ราวกับว่าเครื่องบินเริ่มบินถอยหลัง

สถานการณ์นี้ถือเป็นวิกฤตสำหรับกัปตันเบอร์มูเดซ ผู้มีชั่วโมงบินมากกว่า 11,500 ชั่วโมง และตลอดอาชีพการงานของเขาไม่เคยพบประสบการณ์เช่นนี้มาก่อน เขาสิ้นหวังเมื่อเห็นว่าเครื่องบินหายไปโดยสิ้นเชิง โดยไม่รู้ว่าทิศทางหรือตำแหน่งอยู่ตรงไหน และที่เลวร้ายที่สุดคือ ไม่รู้ว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น ในที่สุดเครื่องบินก็ออกจากกลุ่มเมฆ และทุกอย่างก็กลับเข้าสู่สภาวะปกติอีกครั้ง และอุปกรณ์การบินต่าง ๆ ก็เริ่มทำงานเป็นปกติ ทุกอย่างยกเว้นตัวบ่งชี้ระยะทางการบิน ซึ่งน่าแปลกที่ระยะทางที่เดินทางยังคงเท่าเดิมกับตอนที่เข้าสู่กลุ่มเมฆ ตามตัวบ่งชี้ ในช่วงเวลาประมาณ 7 นาทีนั้น เครื่องบินไม่ได้เคลื่อนที่เลย ราวกับลอยนิ่งอยู่ในอากาศโดยไม่เคลื่อนที่เลยแม้แต่เมตรเดียว

เครื่องบินโดยสารไอพ่นแบบ Caravelle 10-R แบบเดียวกับเที่ยวบิน AVIACO 502 
ติดคำว่า IBERIA ซึ่งเป็นบริษัทแม่ไว้บนเครื่องยนต์

AVIACO 502 ก็ลงจอดที่สนามบิน Santander ในเวลาต่อมาโดยไม่มีปัญหาใด ๆ และเมื่อลงจอดบนพื้นดินแล้ว กัปตันก็รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างเที่ยวบินอย่างเป็นทางการ แต่ความประหลาดใจไม่ได้จบเพียงแค่นั้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการบินของเครื่องบินกับหอควบคุม เจ้าหน้าที่ประจำหอควบคุมการบิน Santander และนักบินต่างก็ตกตะลึงเมื่อพบว่าหอควบคุมการบิน Santander สูญเสียการติดต่อกับเครื่องบินเป็นเวลา 24 นาที ไม่ใช่ 7 นาที ตามที่นาฬิกาบนเครื่องบินบันทึกไว้ ทุกคนบนเที่ยวบิน AVIACO 502 สูญเสียเวลาไป 17 นาทีอย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ จนทุกวันนี้เอกสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ยังคงไม่ได้ปิด แต่ยังคงไม่มีข้อสรุป แม้จะมีการสืบสวนสอบสวนทางเทคนิคหลายครั้งหลายหน และขอรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทั่วโลกมากมายแล้วก็ตาม

ชม ARMY-2024 งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ EP#7 อาวุธหนักที่ไม่เป็นรองใครใน ‘อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ’

หลังจากเยี่ยมชม การแสดง การสาธิต และการทดสอบการยิงอาวุธเบาด้วยกระสุนจริงและกระสุนซ้อมยิง ของบริษัท High-Precision Weapons holding ณ สนามยิงปืนซึ่งตั้งอยู่ภายในอนุสรณ์สถาน Patriot park ในช่วงเช้าและรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ช่วงบ่ายเป็นการเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของบริษัท Almaz – Antey Air and Space Defence Corporation มีสำนักงานใหญ่ในกรุงมอสโก และเป็นบริษัทด้านอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศรายใหญ่ ในแง่ของยอดขายอาวุธยุทโธปกรณ์ในระหว่างปี 2013-2016 ครองอันดับ 11-14 อย่างต่อเนื่องจาก 100 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ และก้าวขึ้นเป็นอันดับแปดของโลกเมื่อวัดจากรายได้ในปี 2017 ซึ่งในปีนั้นเอง Almaz-Antey มียอดขายอาวุธถึง 9.125 พันล้านดอลลาร์ 

ผลิตภัณฑ์ของ Almaz – Antey ได้แก่ ระบบป้องกันอากาศยาน, ศูนย์บัญชาการเคลื่อนที่, ระบบนำทาง, ขีปนาวุธ, ขีปนาวุธต่อต้านขีปนาวุธ, ขีปนาวุธร่อน, เรดาร์, ระบบควบคุมอัตโนมัติ, ระบบนำทาง , ระบบจราจรทางอากาศ, สถานีอาวุธระยะไกล, ป้อมปืนอัตโนมัติ, กระสุนปืนใหญ่, อาวุธปืน และ อากาศยานไร้คนขับ ฯลฯ ทั้งยังผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับพลเรือน เช่น อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ระบบนำทาง ระบบจราจรทางอากาศ เรดาร์ตรวจอากาศและจราจรทางอากาศสำหรับการบินพลเรือน อุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมพลังงาน อุปกรณ์คมนาคม-ขนส่ง รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ระบบรักษาความปลอดภัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบทำความสะอาดน้ำเสีย วาล์วระบายอากาศสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์อาหาร ฯลฯ

Antey-2500 (S-300VM)

หนึ่งในระบบป้องกันภัยทางอากาศที่น่าสนของ Almaz – Antey ได้แก่ ระบบ ADMS 'Antey-2500' ซึ่งมีความสามารถในการโจมตีเป้าหมายในระยะไกลและระดับความสูง โดยระบบนี้ใช้งานได้หลากหลายสำหรับการทำลายเป้าหมายทางอากาศพลศาสตร์และขีปนาวุธข้ามทวีปทุกประเภทที่มีพิสัยการยิงสูงสุดถึง 2,500 กม. ได้รับการออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับ :

- เครื่องบินรบทางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ที่มีอยู่และคาดว่าจะมีในอนาคต (รวมถึงเครื่องบินล่องหน)
- ขีปนาวุธทางยุทธวิธี ขีปนาวุธพิสัยใกล้และระยะกลาง
- ขีปนาวุธร่อนและขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
- ระบบเตือนภัยและควบคุมล่วงหน้าทางอากาศ ระบบตรวจจับเป้าหมายและระบบควบคุมการยิง
- เครื่องรบกวนสัญญาณลอยฟ้า

ความสามารถในการโจมตีเป้าหมายทางอากาศ :
ระยะปฏิบัติการสูงสุด :
- เป้าหมายทางอากาศ 350 กม.
- ขีปนาวุธทางยุทธวิธี 40 กม. 
- ขีปนาวุธพิสัยใกล้30 กม.

ระดับความสูง สูงสุด :
- เป้าหมายทางอากาศ 30 กม.
- เป้าหมายที่เป็นขีปนาวุธ 25 กม.
- ความเร็วสู่เป้าหมายกระสุนสูงสุด 4500 ม./วินาที
- พื้นที่ตัดเรดาร์ขั้นต่ำของเป้าหมาย 0.02 ตร.ม.
- ปริมาณของเป้าหมายที่โจมตีพร้อมกันขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องยิงภายในระบบ

S-400 'Triumph'

อีกระบบป้องกันภัยทางอากาศที่น่าสนของ Almaz – Antey ได้แก่ ระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน S-400 พร้อมขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านอากาศยาน 48N6E3 (48N6E2), 40N6E, 9M96E2 และระบบควบคุม 30K6E มีขีดความสามารถในการทำลายเป้าหมายทางอากาศที่มีพิสัยการยิงทั้งหลายช่องทาง ระดับความสูง ความคล่องตัวและความแม่นยำสูง

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ทำลายเป้าหมายทางอากาศทุกประเภทและขีปนาวุธพิสัยไกลที่มีพิสัยการยิงสูงสุดถึง 3,000 - 3,500 กม. S-400 ADMS ออกแบบมาเพื่อทำลายวิธีการโจมตีทางอากาศที่มีอยู่และที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (รวมถึงเครื่องบินล่องหน) ได้แก่
- เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิกส์
- ระบบเตือนภัยและควบคุมทางอากาศ
- เครื่องบินลาดตระเวนที่ทำหน้าที่ทั้งในฐานะปัจเจกและเป็นส่วนหนึ่งของระบบค้นหาเป้าหมายและควบคุมการยิง
- เครื่องบินทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์
- ขีปนาวุธพิสัยใกล้และพิสัยกลาง
- วิธีการโจมตีทางอากาศอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมทางสงครามอิเล็กทรอนิกส์

ลักษณะเด่น
ช่วง (สูงสุด/นาที) :
- เป้าหมายทางอากาศ 380/2.5 กม.
- ต่อต้านเป้าหมายที่เป็นขีปนาวุธ 60/5 กม.
ขีดจำกัดระดับความสูง (สูงสุด/ต่ำสุด) :
- เป้าหมายทางอากาศ 30/0.01 กม.
- ต่อต้านเป้าหมายที่เป็นขีปนาวุธ 25/2 กม.
- ความเร็วสู่เป้าหมายสูงสุด 4,800 ม./วินาที

จำนวนเป้าหมาย/ขีปนาวุธนำวิถีที่ถูกโจมตีพร้อมกัน :
- SAM ในชุดเต็ม สูงถึง 80/160
- แยก ADMS (ฝ่าย) สูงถึง 10/20
ในปี 2017 หนังสือพิมพ์ The Economist ได้ให้คำอธิบายของระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ไว้ว่า “เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ดีที่สุดตั้งแต่เคยมีการผลิตมา”

ซากเครื่องบิน B-52 Stratofortress ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งถูกยิงตกเหนือกรุงฮานอยในปี 1972

ระบบป้องกันภัยของสหพันธรัฐรัสเซียได้รับการพิสูจน์แล้วเมื่อครั้งสงครามเวียดนาม โดยยอดรวมอากาศยานของกองทัพสหรัฐฯ ทุกชนิดทุกเหล่าทัพ (บก-เรือ-อากาศ-นาวิกโยธิน) ประสบความสูญเสียรวมถึง 8,540 ลำ และอากาศยานของกองทัพเวียดนามใต้ประสบความสูญเสียอีก 1,018 ลำ ซึ่งอากาศยานส่วนใหญ่สูญเสียจากการรบ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top