Wednesday, 15 May 2024
เมียนมา

กฎหมายที่ดินในเมียนมา ปมลับล้มดีลโรงแรมเซโดนา แรงปรารถนาของนักลงทุน ที่จนมุมกับค่าเช่ามหาโหด

เมื่อต้นเดือนก่อน (มีนาคม 66) มีข่าวหนึ่งที่ดังกระฉ่อนไปทั่วโลก เกี่ยวกับการขายกิจการของโรงแรมเซโดนา โรงแรม 5 ดาวใจกลางเมืองย่างกุ้ง ติดกับทะเลสาปอินยา ซึ่งเชื่อว่าหลายๆ คนที่เคยมาย่างกุ้งต้องเคยมาพักที่นี่

แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องดังกล่าว เอย่า ขอย้อนความ...ด้วยภาวะการระบาดของโควิด 19 ที่สั่นคลอนธุรกิจโรงแรมทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่เมียนมา ทำให้หลายโรงแรมเลือกที่จะยอมปรับตนเองเป็นโรงแรมกักตัวสำหรับชาวต่างชาติในช่วงที่มีการควบคุมของโควิด19

ทว่า 1 ในนั้นไม่ใช่ โรงแรมเซโดนา เพราะด้วยความที่โรงแรมเซโดนามีผู้เข้าพักแบบ Long stay มากเป็นอันดับต้นๆ ในเวลานั้น ทำให้ตัวโรงแรมพอมีรายได้อยู่บ้างแม้ไม่มาก แต่ก็เพียงพอที่จะไม่ต้องรับเป็นโรงแรมกักตัว เพราะในช่วงเวลานั้นๆ หลายคนก็ไม่มีใครอยากนอนในโรงแรมที่เป็นโรงแรมกักตัวด้วยเหตุที่ระบบแอร์เป็นระบบแอร์รวม ทำให้หลายคนกังวลว่าจะติดเชื้อผ่านทางระบบปรับอากาศได้

แต่แล้วเมื่อต้นเดือนมีนาคม บริษัท Keppel Corp.​ ได้มาให้ข่าวว่าบริษัทแห่งนี้ได้บรรลุข้อตกลงในการขายกิจการโรงแรมพร้อมสิ่งปลูกสร้าางทั้งหมดของโรงแรมเซโดนา ย่างกุ้งให้กับกลุ่มบริษัท Spring Blossom Venture ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการบริการในสิงคโปร์ โดยตามแผนในข่าวระบุว่าดีลจะสิ้นสุดสำเร็จภายในครึ่งปีแรกของปี 2023 นี้ 

อย่างไรก็ตาม ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็มีข่าวเปรี้ยงออกมาให้คนตกใจว่าดีลนี้อาจจะไม่ได้จบง่ายๆเสียแล้ว เพราะติดปัญหาเรื่องความไม่ลงตัวกับเจ้าของที่ดินที่โรงแรมเซโดนาปลูกสร้างอยู่ กลายเป็นว่าดีลนี้จะสำเร็จไม่ได้หากไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่นั่นเอง

จับโป๊ะ!! สื่อ ปชต.ในเมียนมา อ้างพบผู้หลบภัยไปยังวัดพม่าในไทย แต่สุดท้ายเป็นลูกหลานชาวเมียนมาดั้งเดิมที่อาศัยในเชียงใหม่

สื่อเมียนมาที่กล่าวอ้างว่าเป็นฝั่งประชาธิปไตยอย่างสำนักข่าว Irrawaddy news ได้ลงบทความว่า “ชาวเมียนมาหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเฉลิมฉลอง Thingyan” โดยยกภาพการเฉลิมฉลองเทศกาล Thingyan แบบพม่าของ 'วัดทรายมูลพม่า' ใน จ. เชียงใหม่ เมื่อปี 2016 ซึ่งเป็นภาพก่อนเกิดรัฐประหารตั้งหลายปีมาตีแผ่

แต่ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ งานเฉลิมฉลองของ 'วัดทรายมูลพม่า' มีมาก่อนที่จะมีก่อนรัฐประหาร และเจ้าภาพก็คือ ลูกหลานชาวเมียนมา รวมถึงชาวเมียนมาและไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้หลบหนีแต่อย่างใด 

ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวทุกชาติ หากเดินทางเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้อง!!

เปลี่ยนป้ายทะเบียนรถในเมียนมา นัยป้องปรามการก่อความไม่สงบ

หลังจากเกิดรัฐประหารในเมียนมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ก็มีประกาศหนึ่งออกมาในเดือนกรกฎาคมปี 2564 คือ ประกาศให้เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องทำเรื่องจดแจ้งเพื่อเปลี่ยนทะเบียนรถจากแบบเดิมเป็นแบบใหม่ทั้งหมด โดยรถยนต์สาธารณะได้นำร่องให้เปลี่ยนก่อน ซึ่งเพิ่งจะสิ้นสุดเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง

ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคล รวมถึงรถจักรยานยนต์จะต้องเปลี่ยนให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ 

เรื่องนี้มีนัยสำคัญอะไร? มีแน่นอน!! แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น วันนี้ เอย่า จะพาไปดูวิวัฒนาการของป้ายทะเบียนในเมียนมากันก่อน...

ป้ายทะเบียนรถในยุคแรกๆ ช่วงปี 1937-1953 จะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 2 ตัวตามด้วยเลข 4 ตัว หลังจากนั้นก็เปลี่ยนแบบเป็นตัวอักษรเมียนมาทับแล้วตามด้วยเลขพม่า 4 ตัว ก่อนจะมาปรับอีกเล็กน้อยในช่วงปี 1988 เป็นขึ้นต้นด้วย เลขพม่าก่อน ตามด้วยตัวอักษรพม่า ทับและตามด้วยเลขพม่า 4 ตัว 

ในปี 2013 มีการปรับอีกครั้งให้เป็น ตัวเลขอารบิก ตามด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ขีดกลาง แล้วต่อด้วยเลขอารบิก 4 ตัว กำกับบนทะเบียนด้วย อักษรย่อแสดงถึงภูมิภาคที่รถคันดังกล่าวจดทะเบียน เช่น ย่างกุ้ง, บะโก, อิรวดี, ฉาน, มัณฑะเลย์ เป็นต้น

ร่วมใจอนุรักษ์ เกร็ดน่ารู้ ‘ก่อเจดีย์ทราย’ ประเพณีร่วม ‘ไทย-เมียนมา’ ร่องรอยมรดกจากอยุธยา ที่ผ่านไป 200 ปีก็ยังมิเลือน

ในช่วงสงกรานต์ หรือ ตะจ่าน ของทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้านสุขะ เมืองมัทดายามัน ภูมิภาคมัณฑะเลย์จะมีประเพณี ‘ก่อพระเจดีย์ทราย’ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การก่อเจดีย์ทรายนั้น ไม่มีกระทำกันสำหรับวัดในเมียนมา หากแต่การก่อเจดีย์ทรายของที่นี่ คือ มรดกทางวัฒนธรรมจากสมัยอยุธยาที่สืบมาจนถึงปัจจุบัน

ในประเทศไทยนั้น ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นประเพณีหนึ่ง ที่มีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปพระเจดีย์ทราย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์

นอกจากประเพณีเพื่อเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของคนในอดีต ให้มีการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสังสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย

แต่สำหรับการก่อเจดีย์ทรายในเมียนมานั้น มีความเชื่อเรื่องพระเจดีย์ทราย ที่ต่างจากไทย โดยทางเมียนมามีความเชื่อว่าเม็ดทราย เสมือนตัวแทน ผู้สำเร็จพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา จำนวน นับไม่อาจประมาณได้เมื่อก่อกองทรายเสร็จ ก็กราบไหว้บูชา เสมือน พระเจดีย์ ในวัด ทั่วไป จนกว่ากองทราย จะยุบและพังในที่สุดโดยกองทรายที่ยุบและพังไปนั้นทางชาวบ้าน ก็นำไปเทไว้ตามธรรมชาติ หรือเทไว้ที่ริมตลิ่งแม่น้ำเพื่อให้ทรายกลับคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

การก่อพระเจดีย์ทรายฝั่งเมียนมาอาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3วัน เพราะต้องมีพิธีสวดอัญเชิญ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ มาสถิตย์อยู่ เสมือนเป็นเจดีย์ทั่วไป ซึ่งในบางชุมชนที่ไม่มีกำลังจะสร้างวัด หรือเจดีย์ เพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่ ก็จะใช้ก่อพระเจดีย์ทรายขึ้นมา เพื่อเป็นการเคารพบูชาแทน พระพุทธเจ้า ไว้กราบไหว้ ในชุมชนนั้นๆ ซึ่งจะแตกต่างจากประเพณีของฝั่งไทยที่เป็นการขนทรายเข้าวัด เพื่อไปก่อสร้างเจดีย์เท่านั้น

และนี่คือมรดกอีกชิ้นหนึ่งที่ยังคงดำรงไว้ให้ลูกหลานแม้เวลาจะผ่านไปนับ 200 กว่าปีแล้วก็ตาม

เรื่อง: AYA IRRAWADEE

เปิดปูม ‘Cynthia Maung’ ผู้ได้รับรางวัล The People Award 2023 หมอแห่ง ‘แม่ตาวคลินิก’ คลินิกฟรีนอกสารบบแพทยสภา

ในงาน The People Award 2023 คงมีแต่คนที่จับจ้อง ‘แบม’ กับ ‘ตะวัน’ ที่ได้รับรางวัล แต่ใครจะรู้ว่าในวันนั้นมีอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

วันนี้เอย่าขอนำเสนอเรื่องราวของแพทย์หญิง Cynthia Maung (ซินเทีย หม่อง) คุณหมอแห่ง ‘แม่ตาวคลินิก’ ซึ่งเป็นคลินิกที่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก...ลองมาดูเรื่องราวของแพทย์หญิงและคลินิกแห่งนี้กัน

เรื่องราวของแพทย์หญิง Cynthia Maung เธอเป็นชาวเมียนมาที่เกิดจากบิดาที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและมารดาที่เป็นชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในย่างกุ้ง เธอเติบโตขึ้นในเมืองเมาะละแหม่งกับพี่น้องรวมกัน 6 คน และเธอได้จบจากโรงเรียนแพทย์ที่ย่างกุ้งและน่าจะมีชีวิตที่ดีหลังจากเรียนจบแพทย์  

>> แต่ด้วยความใฝ่ประชาธิปไตยของเธอ : เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2531 กองทัพพม่าในขณะนั้นเข้ายึดอำนาจ อันเป็นเรื่องราวการปฎิวัติที่คนเมียนมารู้จักกันในนาม ปฏิวัติ 8888 นั้น เธอและเพื่อน ๆ ได้ตัดสินใจหนีเข้าป่าและหนีมากบดานในประเทศไทยและเธอได้เริ่มเป็นหมอรักษา โดยเริ่มจากเป็นหมออาสาในค่ายผู้ลี้ภัยจนสุดท้ายได้มาทำงานในแม่ตาวคลินิก ซึ่งเป็นฟรีคลินิกที่ช่วยรักษาชนกลุ่มน้อย จนทำให้คุณหมอได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น...

Jonathan Mann Award ในปี 1999 รางวัลแมกไซไซ ในปี 2002 ได้ Times’s Asian Heroes ในปี 2003, รางวัล Sydney Peace Prize ในปี 2013 และ UNDP's N-Peace Award ในปี 2018 และรางวัลล่าสุด The People Award ในปี 2023 ซึ่งดู ๆ ไปแล้ว คุณหมอท่านนี้น่าจะเป็นคนทรงคุณค่าท่านหนึ่งเลยทีเดียว

กลับมาที่แม่ตาวคลินิกกันสักนิด หากมาดูว่าคลินิกนี้เป็นของใคร เมื่อเข้าไปดูในเว็บไซต์ ก็พบชื่อมูลนิธิแห่งหนึ่ง ที่ชื่อว่า ‘มูลนิธิสุวรรณนิมิต’ ซึ่งในเว็บไซต์ระบุว่า...

“มูลนิธิสุวรรณนิมิต จดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศล ให้การสนับสนุนแม่ตาวคลินิกในด้านการคุ้มครองทางกฎหมาย การเสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงาน ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทย มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการผลักดันด้านนโยบายด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติและการคุ้มครองเด็กเคลื่อนย้าย”  

นั่นแสดงว่ามูลนิธินี้ น่าจะเป็นมูลนิธิที่ช่วยก่อตั้งแม่ตาวคลินิกหรือไม่? และเมื่อหาข้อมูลต่อไป เอย่าก็พบว่ามูลนิธินี้คือ มูลนิธิอะไร?...

มูลนิธิสุวรรณนิมิตร เป็นมูลนิธิของไทยที่ทำงานผ่านการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรในการให้บริการที่จำเป็นแก่ชุมชนชายขอบที่อาศัยอยู่ตามชายแดนไทย (จังหวัดตาก) – เมียนมา เอย่าจึงคิดขึ้นมาทันทีว่าหากเป็นมูลนิธิที่ถูกต้องจริง จะต้องมีการจดมูลนิธิให้เป็นไปตามการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะถูกคุ้มครองโดยกฎหมายไทย

แต่เมื่อเอย่าเช็กในรายชื่อมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กลับไม่พบชื่อของ ‘มูลนิธิสุวรรณนิมิต’ 

เอาละสิ!! เมื่อเป็นเช่นนั้น เอย่าจึงเริ่มหาข้อมูลเพิ่มขึ้นโดยเข้าไปค้นหาชื่อของแม่ตาวคลินิกในฐานข้อมูลสถานพยาบาลในกระทรวงสาธารณสุขกลับพบว่า ไม่มีชื่อ ‘แม่ตาวคลินิก’ ในฐานข้อมูลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งเมื่อได้เช็กข้อมูลคลินิกจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่มีชื่อของแม่ตาวคลินิก หรือ คลินิกแม่ตาว ทำให้เอย่าคิดได้ว่า อ้าว!!….ถ้าเป็นแบบนี้คลินิกแม่ตาวก็คือ ‘คลินิกเถื่อน’ น่ะสิ!!

ทั้งนี้หากมาดูที่ พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้มีการระบุไว้ในมาตรา 16 ว่า ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และสุดท้ายเมื่อตรวจสอบรายชื่อจากแพทยสภาแล้ว ไม่พบชื่อ แพทย์หญิง Cynthia Maung ในรายชื่อของแพทยสภาในประเทศไทยด้วย

หมู่เกาะโกโก ฝันที่ไม่เคยเป็นจริงของอเมริกา กับการจับตา ‘จีน-เมียนมา’ แบบไร้มารยาท

มีบทความที่เขียนโดย John Pollock และ Damien Symon ตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ Chatham House ในวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา มีใจความน่าสนใจว่า...

“มีภาพถ่ายเมื่อเดือนมกราคม 2566 โดย Maxar Technologies ซึ่งเชี่ยวชาญด้านภาพถ่ายดาวเทียม แสดงให้เห็นกิจกรรมการก่อสร้างบนเกาะ Great Coco ระดับใหม่ สิ่งที่มองเห็นได้คือ โรงเก็บเครื่องบินใหม่ 2 โรง ทางหลวงใหม่ และสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นที่พัก ซึ่งทั้งหมดนี้จะมองเห็นได้ในบริเวณใกล้เคียงกับรันเวย์ และนอกจากนี้ ยังมีสถานีเรดาร์ที่ปรับปรุงใหม่ยาว 2,300 เมตร มองเห็นได้ในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ปลายด้านใต้ของเกาะ Great Coco (หมู่เกาะโกโก) ซึ่งอยู่เลยทางหลวงที่เชื่อมระหว่างเกาะ เป็นหลักฐานของความพยายามในการเคลียร์ที่ดิน ซึ่งบ่งชี้ว่างานก่อสร้างกำลังจะเกิดขึ้น โดยมีการยึดโยงว่าจีนทำการลงทุนเปลี่ยนเกาะ Great Coco เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางตะวันตกของจีน เพื่อใช้สอดแนมฝั่งมหาสมุทรอินเดีย”

อ่านจบถึงตรงนี้แล้ว ต่อให้กองทัพเมียนมาจะสมคบคิดกับกองทัพจีนหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วคือ กองทัพสหรัฐฯ กำลังจับตาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนเกาะนี้อยู่ 

ย้อนกลับไปในปี 2012 ทาง Sydney Morning Herald เคยลงข่าวว่ากองทัพอเมริกาเคยวางแผนที่จะใช้เกาะ Great Coco มาเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการสอดแนมในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเชื่อได้ว่าแผนดังกล่าวนี้น่าจะสำเร็จลุล่วงหากไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นเสียก่อน เพราะมีข่าวแว่วออกมาจากทางเนปิดอว์ว่า ในตอนนั้น นางอองซาน ซูจี เตรียมจรดปากกายกเกาะให้อเมริกาเช่าเป็นฐานทัพ แต่ติดที่กองทัพเมียนมาไม่เห็นด้วย

ประเด็นที่รัฐบาลทหารกลัว จนไม่ออกใบรับรองผลการเรียน สวนทาง!! การสนับสนุนแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ

หลังจากรัฐบาลทหารเมียนมาทำการรัฐประหาร ก็ทำให้มีคนต้องการจะเดินทางไปเรียนหรือทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของความปลอดภัยก็ดี หรือ เรื่องของผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้คนว่างงานสูงขึ้นตาม

เหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้หนุ่มสาวเมียนมาเดินทางไปใช้ชีวิตในต่างแดน แต่ชีวิตในต่างแดนนั้น มันไม่ง่ายเหมือนในเมียนมา...

ในเมียนมาหลักฐานการศึกษาที่ใช้เป็นตัวบ่งสถานะจะเป็นใบรับรองที่ระบุเป็นภาษาพม่าว่า ได้จบหลักสูตรตามที่ทางกระทรวงศึกษากำหนดไว้ แต่ไม่มีการให้ใบเกรดหรือใบทรานสคริปต์ ซึ่งแตกต่างจากหลาย ๆ ประเทศในเอเซีย และใบทรานสคริปต์นี่แหละคือเอกสารสำคัญหรือเป็นใบเบิกทางที่ใช้ในการศึกษาต่อหรือทำงานตามสิ่งที่ไปเรียนมา

ในช่วงแรกที่มีการปิดไม่ให้ใบทรานสคริปต์หลายคนเข้าใจได้ว่าภายในรัฐบาลยังสับสน เจ้าหน้าที่หลายคนทำอารยะขัดขืน หรือ CDM (Civil Disobedient Movement) โดยการไม่ไปทำงาน 

แต่เมื่อเวลาผ่านไปจากเดือนเป็นปี จากเหตุการณ์วุ่นวายจนเหตุการณ์สงบ คำสั่งลับที่ไม่มีการประกาศนี้ ก็ไม่มีท่าทีจะเปลี่ยนหรือยกเลิกไป

สุดท้ายจึงทำให้เกิดมิจฉาชีพขึ้น หลายคนเลือกซื้ออนาคตด้วยการติดต่อทำทรานสคริปต์ปลอม ในขณะที่หลายคนพยายามติดต่อสถาบันการศึกษาที่ตนสำเร็จมา แต่ผลตอบกลับมาคือ ทำได้แค่รอหากต้องการทรานสคริปต์กับสามารถออกอีเมลรับรองให้ว่าได้ผ่านการศึกษาวิชานั้นวิชานี้ ซึ่งในหลักสากลไม่สามารถนำมาใช้ในการสมัครศึกษาต่อหรือสมัครงานได้เลย

รัฐบาลทหารพม่า สั่งโจมตีทางอากาศ พิกัด สนง. ใหม่ กองกำลังต่อต้านรัฐบาล

รัฐบาลทหารพม่าสั่งโจมตีทางอากาศ กลางพิธีเปิดสำนักงานใหม่กองกำลังต่อต้านรัฐบาล ทำยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 50 ราย 

เมื่อวันอังคาร (11 เมษายน 66) สื่อพม่ารายงานข่าวด่วน การโจมตีทางอากาศของกองทัพรัฐบาลทหารพม่าในหมู่บ้านปาซี จี ในจังหวัด ซะไกง์ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า เวลาประมาณ 8.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในขณะที่กำลังมีพิธีเปิดสำนักงานใหม่ของกลุ่มกองกำลังป้องกันประชาชน (People's Defence Force) ภายในศาลาว่าการชุมชนประจำหมู่บ้าน ความรุนแรงของการโจมตี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 53 คน ในจำนวนนั้นนี้ผู้หญิง 15 คน และเด็กๆ จำนวนหนึ่ง  

ทั้งนี้ กองกำลังป้องกันประชาชน เป็นกลุ่มกองกำลังติดอาวุธที่จัดตั้งขึ้นหลังเหตุรัฐประหารในพม่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีเป้าหมายเพื่อโจมตีกองทัพรัฐบาลทหารพม่า โดยมีสมาชิกเป็นประชาชนจากหลากหลายพื้นฐาน ทั้งแรงงาน, แม่บ้าน, นักธุรกิจ และ กลุ่มเยาวชน เน้นการใช้ยุทธวิธีแนวกองโจร ปัจจุบันเป็นกองกำลังส่วนหนึ่งภายใต้การดูแลของ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ที่รัฐบาลของนายพล มิน อ่อง หล่าย ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรก่อการร้าย

สำหรับเหตุการณ์นี้ ทาง รัฐบาลทหารพม่า ได้ยืนยันการโจมตีทางอากาศในหมู่บ้าน ปาซี จี ว่าเกิดขึ้นจริง แต่ปฏิเสธว่า ไม่ได้มีเป้าหมายที่ชุมชนของพลเรือน และผู้เสียชีวิตไม่ได้เกิดจากโจมตีของฝ่ายกองทัพเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากแรงระเบิดของคลังเก็บดินปืนของกลุ่มกองกำลังป้องกันประชาชน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทำเหมืองภายในพื้นที่ คาดว่าน่าจะปะทุขึ้นจากแรงระเบิดที่ทิ้งลงมาจากเครื่องบินรบของกองทัพ

ชาวบ้านผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์เล่าว่า มีการทิ้งระเบิดลูกใหญ่กลางศาลาว่าการชุมชน ต่อด้วยการกราดยิงจากปืนกลลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ในขณะที่ชาวบ้านกำลังหนีออกจากอาคารที่ถูกทำลาย

ด้าน วอลเกอร์ เทิร์ค หัวหน้าฝ่ายสิทธิแห่งองค์การสหประชาติ กล่าวว่า เขารู้สึกสยดสยองกับการโจมตีทางอากาศอันโหดร้ายครั้งนี้ เนื่องจากในจำนวนเหยื่อผู้เสียชีวิต มีกลุ่มเด็กนักเรียนที่กำลังร้องรำบนเวที ในพิธีที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน และเรียกร้องให้หน่วยงานสากลไต่สวนหาผู้รับผิดชอบอย่างถึงที่สุด

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ออกมาประณามการโจมตีของกองทัพพม่าอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน และย้ำให้ยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชนพม่าทั่วประเทศโดยทันที 

การโจมตีทางอากาศครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดอีกครั้งของการใช้กำลังทางทหารกับพลเรือนพม่า และหากนับตั้งแต่เกิดเหตุรัฐประหาร ปี 2564 ในพม่า ที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองทั่วประเทศ มีผู้เสียชีวิตไปแล้วหลายพันคน และมีประชาชนอีกราว 1.4 ล้านคนต้องละทิ้งที่อยู่อาศัย 

ตราบาปของกองทัพเมียนมาต่อชาวไทใหญ่ การตัดสินใจสุดท้าทายของ ‘มิน อ่อง หล่าย’

หลังจากที่เอย่าได้นำเสนอเรื่องราวการสร้างหอคำหลวงแสนหวีและหอคำหลวงเชียงตุงแก่ชาวแสนหวี ล่าเสี้ยวและเชียงตุงแล้ว อีกเรื่องเรื่องหนึ่งที่เป็นกรณีพิพาทครั้งสมัยนายพลเนวิน ที่สร้างตราบาปให้แก่กองทัพเมียนมาต่อประชาชนชาวไทใหญ่คือการจับ เจ้าส่วยแต๊กและยึดหอเจ้าฟ้าเมืองยองห้วย

แต่ก่อนจะมาพูดถึงเรื่องนี้ เรามารู้จักเจ้าส่วยแต๊กก่อนว่าท่านผู้นี้คือใคร เจ้าส่วยแต๊ก หรือ เจ้าคำศึก พระนามเต็มในฐานะเจ้าฟ้าไทใหญ่แห่งเมืองยองห้วยคือ ‘เจ้าฟ้ากัมโพชรัฐสิริบวรมหาวงศาสุธรรมราชา’ ท่านเป็นประธานาธิบดีแห่งสหภาพพม่าพระองค์แรกหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ และท่านเป็นเจ้าฟ้าพระองค์สุดท้ายของเมืองยองห้วย พระองค์เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงทางการเมืองในหมู่ประชาชนชาวไทใหญ่ พระองค์สิ้นพระชนม์จากการถูกจับขังในคุกในย่างกุ้งหลังจากการรัฐประหารโดยนายพลเนวินในปี พ.ศ. 2505 และในอีก 2 ปีต่อมา หอเจ้าฟ้าเมืองยองห้วยก็ถูกยึดเป็นสมบัติของกองทัพ 

ต่อมา เจ้าเห่หม่า แต๊ก ธิดาของเจ้าส่วยแต๊ก ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลเมียนมาและรัฐบาลรัฐฉาน ขอให้ “คืน” สิทธิ์ครอบครองหอเจ้าฟ้าเมืองหยองห้วยกลับมาให้เธอ ในฐานะทายาทโดยชอบธรรมของเจ้าส่วยแต๊ก

ซึ่งเธอได้ยื่นเรื่องทวงคืนครั้งแรกตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีเต็งเส่ง ตั้งแต่ปี 2556 ต่อมาได้ยื่นอีกในปี 2557, 2558, 2560 และ 2562 แต่เธอก็ไม่เคยได้รับคำตอบใด ๆ จากรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่งเลย นั่นก็เพราะว่าปี 2556 รัฐบาลเมียนมาได้มอบกรรมสิทธิ์ให้รัฐบาลรัฐฉานเป็นผู้รับผิดชอบหอเจ้าฟ้าหยองห้วย โดยรัฐบาลรัฐฉานได้เปิดหอเจ้าฟ้าให้เป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงรูปภาพ 91 รูป ข้าวของเครื่องใช้ของเจ้าฟ้า 338 ชิ้น รวมถึงเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายของเจ้าฟ้า 138 ชุด จากนั้นก็ให้เจ้าเห่หม่า แต๊ก กับผู้ช่วยอีก 6 คน คอยดูแล และเป็นผู้อธิบายเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทใหญ่ แก่ผู้ที่มาเยือน

‘เลขาฯ ป.ป.ส.’ ชื่นชม ‘เมียนมา’ หลังทลายโรงงานผลิตเฮโรอีน สะท้อนการประชุมแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ สัมฤทธิผล

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 66 นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) เปิดเผยว่า ผลจากการเข้าร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และหารือเกี่ยวกับการพิจารณารับร่างแผนแม่น้ำโขงปลอดภัย เพื่อการควบคุมยาเสพติด 6 ประเทศ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 - 2570) โดยมีผู้แทนจาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย, กัมพูชา, จีน, ลาว, เมียนมา และเวียดนาม เข้าร่วมประชุม ในระหว่างวันที่ 5 – 7 เม.ย 2566 ที่ผ่านมานั้น

เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า สำนักงาน ป.ป.ส. โดยศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัย (Safe Mekong Coordination Centre : SMCC)  ได้เสนอแผนความร่วมมือให้ทั้ง 6 ประเทศ ลดปัญหายาเสพติดในภูมิภาคด้วยการผนึกกำลังร่วมกัน โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การลดศักยภาพการผลิตยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยมุ่งเน้นมาตรการในการสกัดกั้นปราบปราม
ยาเสพติด การควบคุมสารตั้งต้นเคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด รวมถึงการร่วมกันสืบสวนขยายผลจับกุมกลุ่มผู้ค้าสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ และเครือข่ายการค้ายาเสพติด ไม่ให้กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ โดยประสานข้อมูลการข่าว และปฏิบัติการในประเทศตนเองอย่างเคร่งครัด

นายวิชัย ไชยมงคล เลขาธิการ ป.ป.ส. เผยว่า ผลจากการประชุมได้ทำให้แต่ละประเทศตื่นตัวเพิ่มมากขึ้น และพร้อมที่จะดำเนินมาตรการตามแผนปฎิบัติการร่วมกัน โดยเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2566 ทางการเมียนมาได้รับรายงานว่ามีโรงงานผลิตยาเสพติดในบริเวณหมู่บ้านห่างจากเมืองน้ำคำ รัฐฉาน ไปทางตะวันตกประมาณ 6.7 กม. เจ้าหน้าที่เมียนมาได้เข้าตรวจสอบพบเพิงพักชั่วคราวที่ประกอบขึ้นเป็นโรงงานจำนวน 4 แห่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตเฮโรอีน และสามารถตรวจยึดฝิ่นสกัดจำนวน 60 ลิตร พร้อมสารตั้งต้นเคมีภัณฑ์ ได้แก่ เอทิลอีเทอร์ (Ethyl Ether) จำนวน 80 ลิตร เบนซีน (BenZene) จำนวน 60 ลิตร โซเดียมคาร์บอเนต จำนวน 3 กก. โซเดียมไนเตรท จำนวน 4 กก. และ โพรเทสเซียม 15 กก. พร้อมอุปกรณ์การผลิต

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างประสานข้อมูลการข่าวกับประเทศรอบข้างรวมทั้งประเทศไทยเพื่อขยายผลต่อไป เนื่องจากเมืองน้ำคำ ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว อยู่ติดชายแดนประเทศจีน และห้ามคนต่างชาติ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top