Tuesday, 14 May 2024
เมียนมา

'เมียนมา' ส่งตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด รายสำคัญ กลับไทยสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 2

(9 มี.ค.66) ที่ผ่านมา พลตำรวจโท ปิยะ ต๊ะวิชัย ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค5 พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ป.ป.ส. ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมรอรับตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดจากทางเจ้าหน้าที่เมียนมาบริเวณด่านชายแดนสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่2อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ทางการของเมียนมาสามารถจับกุมตัวนายเจษฎา(สงวนนามสกุล)ผู้ต้องหาคดียาเสพติดรายสำคัญ

ที่ทางการไทยต้องการตัวมาดำเนินคดีซึ่งได้หลบหนีหมายจับหลบซ่อนตัวตามแนวชายแดนฝั่งประเทศเมียนมาโดยสำนักงาน ป.ป.ส.ได้ตั้งรางวัลนำจับนายเจษฎาเอาไว้กว่าล้านบาทตามหมายจับของศาลจังหวัดแพร่ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท1โดยมีไว้เพื่อจำหน่ายเพื่อการค้าและเป็นการก่อให้เกิดการแพร่กระจ่ายในกลุ่มประชาชนสำหรับคดีนี้เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่20กรกฎาคม2566เวลาประมาณ19.00นเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำด่านตรวจยาเสพติดห้วยไร่ สภ.ห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ได้

โกอินเตอร์!! ‘หวยไทย’ โผล่ขายพรึบ!! ที่เมียนมา  คอหวยงงเอาไปขายได้ยังไง? แถมราคาแพงเวอร์

เพจดังแฉ หวยไทยโผล่ขายที่เมียนมา บรรดาคอหวยงง เอาไปขายได้ยังไง! แถมราคาแพงเวอร์ ตั้งแต่ 120-270 บาท ทั้งที่อนุญาตให้ขายที่ไทยในราคา 80 บาทเท่านั้น

เพจเฟซบุ๊ก ไทย – พม่า : เพราะแผ่นดินเราติดกัน ได้นำรูปภาพแผงขายสลากกินแบ่งรัฐบาลของไทย ที่ตั้งอยู่ในเมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา พร้อมทั้งข้อความระบุว่า “เพิ่งสังเกตว่า ในเมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมา มีแผงขายสลากกินแบ่งรัฐบาลของไทยเยอะมาก มีตั้งแผงหลายร้านมาก โดยขายกันตั้งแต่ ใบละ 120 ไปจนถึงใบละ 270 บาทแล้วแต่ความสวยของเลขแต่ละเลข และสลากฯ บางใบก็เป็นสลากฯ ในโควตาที่ถูกปั๊มระบุบนหน้าสลากให้จำหน่ายในราคา 80 บาทด้วย แต่ก็ขายใบละ 120 -270 บาทนะครับ ส่วนการซื้อนั้น แต่ละร้านก็ขายเป็นเงินบาทของไทยนะครับ ใครสนใจเสี่ยงโชคก็เชิญนะครับ เมืองท่าขี้เหล็ก สามารถเดินทางออกข้ามไปจากด่านชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครับ”

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ชาวเน็ตตั้งข้อสังเกตว่า สลากฯ ดังกล่าวเหตุ เป็นสลากฯ ที่ออกโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลของไทย ซึ่งมีรหัสบาร์โค้ดชัดเจน เหตุไฉนจึงไปโผล่ขายยังประเทศเมียนมาได้ หากย้อนไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ได้กำหนดเปิดจุดจำหน่ายสลาก 80 บาท ทั้งสิ้น 1,000 จุด ทั่วประเทศ โดยให้ผู้จำหน่ายสลากฯ ต้องดาวน์โหลด QR Code ยืนยันตัวตน เพื่อจำหน่ายสลากฯ ในราคา 80 บาทเท่านั้น

เปิดเหตุผลที่ ‘เมียนมา’ แห่ทะลักมาทำงานในไทย แม้ต้องเข้ามาแบบผิดกฎหมาย...ก็ยอม!!

ช่วงนี้เอย่าได้อ่านข่าวเรื่องการตรวจจับคนเมียนมาข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายแทบจะเรียกได้ว่าทุกวัน

เหตุเพราะตอนนี้ คนเมียนมาส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นปัญญาชนหรือไม่ใช่ปัญญาชน ต่างก็มุ่งจะออกไปทำงานต่างประเทศ โดยไม่ได้สนใจว่าจะใช้วิธีที่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

ซึ่งปลายทางในการเดินทางผิดกฎหมายที่พบในข่าวฝั่งเมียนมามากที่สุดคือ ไทย รองลงมาคือ มาเลเซีย  

คำถาม คือ แล้วทำไมเป็นประเทศไทย ที่แรงงานเมียนมาอยากมามากที่สุด

วันนี้เอย่าจะนำข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มแรงงานที่เดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมายในไทยมาให้ทราบกัน...

>> ประการแรกคือ ประเทศไทยนั้นมีเอเยนต์ที่คอยการข้ามแดนของพวกเขา เมื่อชาวเมียนมาเข้ามาแล้ว ก็จะไปวิ่งเต้นในการทำบัตรแรงงานต่างด้าวหรือที่เรียกกันว่าบัตรชมพูให้ด้วย 

ซึ่งนั่นจะทำให้แรงงานเมียนมาที่ข้ามมาได้แล้ว (ได้บัตรชมพู) ทุกอย่างก็จบพวกเขาสามารถทำงานได้เลยเพราะบริษัทหรือห้างร้านในไทยไม่ได้ตรวจสอบการเดินทางเข้ามาเพียงแต่ตรวจสอบเรื่องการมีบัตรชมพูหรือไม่เท่านั้นเอง

>> ประการต่อมา ในประเทศไทย ไม่ว่าคุณจะเข้าเมืองมาแบบใด ไม่ว่าจะมาแบบมีวีซ่าทำงาน หรือ ท่องเที่ยว หรือ แรงงานก็ตาม หากไปทำเรื่องที่สถานทูตเมียนมาก็สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้กับธนาคารที่มีการดีลกับสถานทูตไว้ ซึ่งนี่เป็นอภิสิทธิ์อีกอย่างหนึ่งให้แก่คนเมียนมา

กลับกันหากเป็นในประเทศอื่น การเดินทางเข้าเมืองแบบไม่ถูกต้อง หรือมาแบบท่องเที่ยว การจะเปิดบัญชีธนาคารนั้นจะยากมาก เนื่องจากตามกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศไม่อนุญาตให้กระทำ

เบื้องลึกกองกำลังประชาชนแห่งเมียนมา เมื่อแรงชักจูง ปั่นหัวให้อยากเป็นฮีโร่

เมื่อย้อนกลับไปมองถึงการปฏิวัติของนายพล มิน อ่อง หล่าย ก็เหมือนกับการย้อนดูหนังฮอลลีวู้ดสักเรื่อง นั่นก็เพราะหลังจากที่มีการประท้วงโดยการนำของเหล่าผู้แทนของพรรค NLD รวมถึงมีการเคลื่อนไหวการจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติหรือ National Unity Government (NUG) (หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาล NUG ก็มีการประกาศอะไรต่าง ๆ มากมาย จนแรก ๆ ผู้คนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยคล้อยตามไปกับทางนั้น) ได้มีประกาศที่สำคัญอันหนึ่งคือ การประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติในวันที่ 16 เมษายน 2564 ว่า...

“ทาง NUG จะจัดตั้งกลุ่มติดอาวุธที่จะร่วมมือกับองค์กรติดอาวุธชาติพันธุ์ต่าง ๆ เริ่มการปฏิวัติด้วยอาวุธเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร” ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณแรกของการตอบโต้ โดยตอนนั้นก็เหมือนจะมีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มเห็นพ้องที่จะเอาด้วย  

ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 NUG ได้ประกาศการจัดตั้งกองกำลังชุดแรกว่าเป็น “ผู้บุกเบิกกองกำลังของรัฐบาลกลาง” นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า กองกำลังนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้กับกองทัพรัฐบาลทหารของเมียนมาด้วยความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศ

จากนั้นในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 NUG ได้เผยแพร่วิดีโอพิธีสำเร็จการศึกษาของการฝึกกองกำลังนี้ โดยประกาศว่ากลุ่มติดอาวุธพร้อมที่จะท้าทายกองกำลังของรัฐบาลทหารแล้ว  

และเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 NUG ได้ประกาศเปิดตัว “สงครามป้องกันประชาชน” เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร และเรียกร้องให้ประชาชนลุกฮือต่อต้านรัฐบาลทหารในทุกมุมของประเทศ โดยในประกาศได้อ้างว่า ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะปกป้องตนเองและครอบครัวจากรัฐบาลทหาร ซึ่งนั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกลุ่ม People Defense Force หรือ PDF อย่างเป็นทางการ

เบื้องลึกกองกำลังประชาชนแห่งเมียนมา  เส้นทางแห่งอุดมการณ์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

หลังจากที่หนุ่มสาวหลายคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันเข้าป่าสู่พื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธที่เป็นแนวร่วมกับ NUG ในตอนนั้น…

- หลายคนได้ไปต่อหากมีเงินมีทองพอจะสามารถลี้ภัยต่อไปยังประเทศที่ 3 ได้ 
- หลายคนไปประเทศที่ 3 พร้อมกับทำตัว Low Profile เพื่อให้คดีการเมืองจบ จากนั้นค่อยกลับมาสู่มาตุภูมิเมียนมาอีกครั้งเมื่อทุกอย่างดีขึ้น
- บางคนไปแล้วก็กลายเป็น PDF ชั้นผู้นำ คอยจัดหาทุนจากต่างประเทศมาสนับสนุนกองกำลังที่ต่อสู้

ส่วนหนุ่มสาวอีกจำนวนหนึ่งที่เคยมีชีวิตเมืองแม้จะไปสู่อ้อมกอดของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอุดมการณ์ที่แน่วแน่ แต่ด้วยการใช้ชีวิตที่ต่างกันสุดขั้วหลายคนจึงเลือกที่จะถอนตัวออกมา บางคนยอมมามอบตัวภายใต้กฏอภัยโทษของรัฐบาลทหาร ในขณะที่อีกหลายคนอยู่ในค่ายที่เขาให้เข้าไม่ให้ออกและสุดท้ายเมื่อหนีออกมาแต่ก็ไม่ได้ถึงบ้าน

การดำเนินการของกลุ่ม PDF มีทั้งการก่อการกับทหาร พลเรือนที่ใกล้ชิดทหาร เจ้าหน้าที่รัฐบาล ไปจนถึงคนทั่วไปที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แต่แค่สงสัยว่าเป็นสายลับให้ทหาร รวมไปถึงการสร้างกลุ่มกองกำลังโดยเกณฑ์ชาวบ้านในดินแดนห่างไกลมาเป็นพวก ซึ่งแรกๆ ก็มีการให้ความร่วมมือของชุมชนกับกลุ่ม แต่หลังจากที่มีการระเบิดโรงไฟฟ้า ทำลายเสาสัญญาณโทรศัพท์ ระเบิดสะพาน เผาโรงเรียน ทั้งหมดทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยและเริ่มผละตัวออกจากการเป็นคนช่วยเหลือสนับสนุน NUG ไปอย่างช้าๆ

>> ในภาพของสงครามตัวแทน
จะเห็นได้ชัดว่ารัสเซียเป็นผู้เข้ามาช่วยสนับสนุนทางกองทัพรัฐบาลทหารของเมียนมาในขณะที่ฝั่ง NUG ก็ได้เข้าพบกับรองเลขาธิการของสหรัฐอเมริกาเพื่อขอการสนับสนุนและช่วยเหลือ แต่เหมือนการช่วยเหลือเหล่านั้นเริ่มถูกบีบให้แคบลงหลังจากที่ทางรัฐบาลทหารสั่งปิด NGO ต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งเงินทุนให้กับฝ่ายต่อต้านของเมียนมา ทำให้กิจกรรมการสนับสนุนทุนถูกย้ายมาสู่ NGO ที่อยู่ในประเทศไทยที่เป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับเมียนมายาวที่สุดและยังเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีความเกรงอกเกรงใจเหล่าประเทศทางตะวันตกอยู่ ทำให้คนในแม่สอดหรือข้าราชการในแม่สอดได้เห็นเหล่า พณ ท่านทูตหรือเอกอัคราชทูตทั้งหลายต่างเดินทางมายังแม่สอดด้วยเหตุผลว่ามาเยี่ยมชมค่ายอพยพหรือมาพบกับ NGO ที่ตั้งอยู่แถวนี้ โดยที่ก็น่าสงสัยว่านี่ใช่ภารกิจของทูตที่ต้องมาเยี่ยมชมคนที่ไม่ใช่คนในประเทศตนเองนั้นหรือ

‘เพื่อไทย’ แนะ ‘นายกฯ’ ยกหูหาผู้นำเมียนมา  ถกคุมการเผา พร้อมชง 7 ข้อแก้ฝุ่นเร่งด่วน 

(27 มี.ค.66) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะกรรมการนโยบายสิ่งแวดล้อม พรรค พท. และ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมาและเลขาธิการพรรค พท. ร่วมแถลงข่าวกรณี PM2.5 กำลังฆ่าคนไทย ส่วนเกี่ยวข้องต้องเคลื่อนไหว ปล่อยตามมีตามเกิดไม่ได้

นายปลอดประสพกล่าวว่า พรรค พท.รู้สึกเป็นห่วงพี่น้องชาวภาคเหนือเป็นอย่างมาก วันนี้ถือเป็นวิกฤตทางมลภาวะทางอากาศที่ประเทศไทยได้ประสบมา ฝุ่น PM2.5 สูงถึง 656 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นตัวเลขที่อันตรายถึงชีวิต โดยฝุ่น PM2.5. ตอนนี้มาจากประเทศเมียนมาทั้งหมด ตามข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ พรรค พท.มีความเห็นว่าวิกฤตครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงมีความจำเป็นที่จะสื่อสารไปถึงนายกรัฐมนตรี พรรคการเมือง หน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อเสนอ ดังนี้ 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องโทรศัพท์ไปถึงผู้นำประเทศเมียนมาและผู้นำประเทศอื่นที่อยู่ใกล้กับ จ.เชียงราย โดยเฉพาะแม่สาย เพื่อขอร้องให้เมียนมาควบคุมการเผาที่ส่งผลให้เกิดฝุ่น PM2.5

นายปลอดประสพกล่าวต่อว่า 2.กระทรวงสาธารณสุขต้องแจกหน้ากากอนามัยคุณภาพดีให้ทั่วถึงโดยทันที 3.กระทรวงมหาดไทยต้องสั่งหยุดงาน ปิดโรงเรียน และประกาศห้ามออกนอกบ้านโดยสิ้นเชิง 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาพัดลมให้ประชาชนเพื่อพัดฝุ่น PM2.5 ออกจากบ้าน 5.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องใช้ความเด็ดขาดและใช้อำนาจตามกฎหมายกับบริษัทต่างๆ เพื่อคุยให้ชัดเจนอย่างตรงไปตรงมา ถึงข้อตกลงที่มาที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะหรือความเสียหายต่อประเทศ

นายปลอดประสพกล่าวว่า 6.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องสั่งการกรมอุทยานแห่งชาติให้ยุติการอนุญาตเลี้ยงวัว 15 ฝูงขนาดใหญ่ ในอุทยานแห่งชาติทันที เพราะกลุ่มผู้เลี้ยงวัวเหล่านี้คือกลุ่มผู้ที่เผาเพื่อให้ได้หญ้ามาเลี้ยงวัว และต้องสั่งห้ามเข้าไปเก็บเห็ดในอุทยาน เพราะผู้ที่เผาทำเพื่อให้เห็ดเกิดขึ้น และ 7.คณะกรรมกการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องมีการประชุมทบทวน เพื่อเปิดทางให้อุปกรณ์ช่วยเหลือฝุ่น PM2.5 เหล่านี้ไปยังประชาชนผ่านทางราชการ เพราะเวลานี้เป็นเรื่องเป็นเรื่องตาย

เบื้องลึกกองกำลังประชาชนแห่งเมียนมา ไทย…'ผู้รับบุญ' หรือ 'แพะรับบาป'

ไทยเราได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ให้การดูแลชาวต่างชาติที่หนีร้อนมาพึ่งเย็นมาช้านานแล้ว

แต่หากนับในยุคปัจจุบันในรัชสมัยของพ่อหลวงล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ก็มี 'เหตุการณ์ที่ท่าแขก' หรือ 'วันท่าแขกแตก' ซึ่งเป็นกลุ่มชาวเวียดนามที่ทางการไทยเรียกว่า 'ญวนอพยพ' การหนีข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวมาฝั่งไทยครั้งนี้เป็นการหนีการปราบปรามของกองกำลังฝรั่งเศสจากเวียงจันทน์ สะหวันเขตและท่าแขก แขวงคำม่วน มายังหนองคาย มุกดาหาร 

จาก 'เหตุการณ์ที่ท่าแขก' ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 ครั้งนั้น นับเป็นการอพยพครั้งใหญ่ของชาวเวียดนามมายังไทย ทำให้ชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ที่ท่าแขกได้หนีข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยประมาณ 50,000 คน รวมทั้งชาวลาวอีก 4,000 คน โดยชาวเวียดนามเกือบทั้งหมดยังคงลี้ภัยและพำนักอาศัยอยู่ในภาคอีสานของไทยต่อมาจวบจนปัจจุบัน หรือจะเหตุการณ์ที่คอมมิสนิสต์มีชัยในดินแดนอินโดจีนในช่วงประมาณปี 2517 ก็มีชาวเวียดนาม ลาว เขมรจำนวนไม่น้อยที่เดินทางมาลี้ภัยในประเทศไทย และไทยก็เปิดศูนย์รับผู้ลี้ภัยเพื่อรอวันที่พวกเขาเหล่านั้นเดินทางกลับ  และอีกหลายคนก็เลือกที่จะใช้ชีวิตในไทย

>> สงครามกะเหรี่ยงกับภาระของไทย
สงครามระหว่างกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมามีมาตั้งแต่ปี 2492 โดยรัฐบาลไทยเคยใช้รัฐกะเหรี่ยงเป็นรัฐกันชนกับพม่า ซึ่งหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยเกรงภัยจากคอมมิวนิสต์ที่ได้ตั้งพรรคทั้งในไทยและเมียนมาหรือพม่าในขณะนั้น ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีน ไทยและสหรัฐฯ ที่สนับสนุนกบฏกะเหรี่ยง และในช่วง พ.ศ. 2503 – 2533 สหรัฐฯ ยังให้การสนับสนุนรัฐบาลเมียนมาในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ด้วย 

โบเมียะกล่าวว่า รัฐกะเหรี่ยงเป็นรัฐกันชนที่ไม่ให้คอมมิวนิสต์ในไทยและเมียนมารวมตัวกัน นโยบายของรัฐไทยเปลี่ยนไปในช่วง พ.ศ. 2533 เมื่อเมียนมาได้เป็นสมาชิกอาเซียนใน พ.ศ. 2540 ไทยจึงได้ยุติการให้ความช่วยเหลือกองกำลังกะเหรี่ยง ในแง่ของผู้อพยพจากสงครามพบว่ามีชาวกะเหรี่ยงเริ่มอพยพเข้าสู่ไทยใน พ.ศ. 2527 สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ประโยชน์จากค่ายผู้อพยพในไทยในฐานะเป็นที่หลบภัยและเป็นแหล่งสนับสนุนอาหารและวัสดุอื่นๆ ผ่านสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย มีชาวกะเหรี่ยงราว 2 แสนคนอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย ตามแนวชายแดนไทย-เมียนมามีชาวกะเหรี่ยง 73,775 คน  และเมื่อหลังจากการปฎิวัติชาวกะเหรี่ยงและเมียนมาอีกจำนวนไม่น้อยที่อพยพมาตามชายแดน ซึ่งนี่ไม่รวมถึงผู้ที่ข้ามแดนมาอย่างผิดกฎหมาย

ในวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 อ.แม่สอด, กองกำลังนเรศวร, เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง จ.ตาก และฝ่ายปกครอง อ.แม่สอด พร้อมหน่วยข่าวด้านความมั่นคงนำกำลังเข้าควบคุม อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น เกือบ 40 คูหา ย่านชุมชนหนาแน่น ถนนตาลเดี่ยว ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก

หลังจากสืบทราบว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา กลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะ PDF ซึ่งหนีข้ามมาจากฝังเมียนมาเข้ามาเช่าบ้านหลบอาศัยอยู่ในพื้นที่แม่สอดกันอย่างอิสระจำนวนมาก เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมีรายงานว่ามีชาวต่างชาติ และองค์กรระหว่างประเทศเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยเมื่อตรวจค้นภายในอาคารพบสัมภาระทางทหาร อุปกรณ์ทางทหาร เครื่องแบบทหาร โลโก้หน่วยทหารกลุ่มต่อต้านต่างๆ รวมทั้งโดรนขนาดต่างๆ อุปกรณ์ควบคุม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่สำคัญพบกระสุนปืนจำนวนหนึ่ง 

กรณีศึกษา Nestle ถอนตัวออกจากเมียนมา   สะท้อน!! ไม่มีใครทำร้ายชาติเราได้เท่าคนในชาติตัวเอง

เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีข่าวที่ดังไปทั่วเมียนมาเมื่อบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่อย่าง Nestle ที่ตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 ถอนตัวออกจากเมียนมา โดยมีแถลงการออกมาจากทาง Nestle ว่าทางบริษัทจะยุติการดำเนินการทั้งสายโรงงานและการปฏิบัติงานในส่วนของออฟฟิศทั้งหมด  

ข่าวนี้สร้างแรงกระเพื่อมต่อเศรษฐกิจของเมียนมาพอสมควร โดยทาง Nestle อ้างว่าการที่บริษัทตัดสินใจเช่นนี้เป็นเพราะบริษัทมีปัญหาในเรื่องการนำเข้าและปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน 

พออ่านมาถึงจุดนี้ คือต้องมาเอ๊ะ เดี๋ยวก่อน….เราควรมาดูข้อมูลรอบตัวของข่าวนี้ก่อนดีไหม? เริ่ม!!

ข้อแรก Nestle เป็นบริษัทของสวิตเซอร์แลนด์ แต่การดำเนินการของ Nestle เมียนมานั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของ Nestle สาขาประเทศไทย ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์เป็น 1 ในประเทศคู่ค้าของกลุ่ม EU ที่ทำการแซงชันเมียนมา โดยการแซงชันของ EU นั้น นอกจากเน้นไปที่ตัวบุคคลแล้วยังเน้นไปยังกลุ่มธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของเช่น อัญมณี เหมืองแร่ น้ำมันและก๊าซรวมถึงป่าไม้ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าธุรกิจเหล่านั้นได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแซงชันดังกล่าว โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันและก๊าซในเมียนมาที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีคนนอกในการผลิตและแปรรูป  

จึงไม่แปลกที่ธุรกิจของประเทศในกลุ่มดังกล่าวจะโดนกดดันจากฝั่งเมียนมา ซึ่งบางธุรกิจเช่นธุรกิจผลิตวัตถุดิบบางอย่างของสัญชาติอเมริกันก็เลือกที่จะปิดตัวเองเลย ซึ่งแม้บริษัทเหล่านั้นอาจจะมีการทำ Political Insurance ไว้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเงินสินไหมจะทดแทนกับมูลค่าที่ลงทุนและโอกาสทางการตลาดที่เสียไปได้หรือไม่

กลับมาที่ Nestle เมียนมา ก็ต้องขอปรบมือให้ทีมบริหารที่ใช้ความพยายามในการผลักดัน เพราะตลอดระยะเวลา 2 ปีในขณะที่หลายๆ บริษัท ทั้งบริษัทที่เป็นของชาวต่างชาติก็ดี หรือของคนเมียนมาเองก็ดี ต่างทยอยปิดตัวลงจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น แทบจะเรียกได้ว่า Nestle เป็นบริษัทท้ายๆ ที่ใช้เหตุผลนี้มาปิดบริษัท เพราะตอนนี้ก็เหมือนเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตต่างๆ เริ่มคลี่คลายลงแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากหลายๆ บริษัทในเขตนิคมเองก็เปิดมากขึ้น  

อย่างไรก็ดีด้วยประเด็นของการที่ประเทศในกลุ่มอียูมีนโยบายแซงชันเมียนมา จึงเป็นอะไรที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เนสเล่ ที่เจ้าของคือ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งผู้เป็นคู่ค้ารายสำคัญของกลุ่มประเทศอียูจะโดนบีบให้ปฏิบัติตามด้วยก็ไม่แปลก เพราะหากเทียบความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเมียนมากับมูลค่าที่จะสูญเสียในยุโรปนั้น Nestle บริษัทแม่เลือกไม่ยากเลยที่จะเลือกปิดโรงงาน ลอยแพคนงานเมียนมาและหันกลับมาใช้ระบบตัวแทนจำหน่ายที่เป็นบริษัทเมียนมาแทน  

ธุรกิจการ์เมนต์เมียนมาสะเทือน เมื่อ 3 เจ้าใหญ่ต่างทยอยถอนตัว

นับจากการประกาศของ Mark & Spencer เมื่อปีที่แล้วที่จะถอนธุรกิจออกจากเมียนมาในเดือนมีนาคมนี้ ล่าสุดทางนิเกอิ ก็ได้รายงานว่า บริษัทฟาสต์ รีเทลลิงของญี่ปุ่น เจ้าของแบรนด์ 'ยูนิโคล่' (Uniqlo) ได้กลายเป็นอีกบริษัทที่ตัดสินใจถอนธุรกิจออกจากเมียนมาด้วยเช่นกัน 

โดย Uniqlo ได้ถอดรายชื่อกลุ่มพันธมิตรในเมียนมาออกจากรายชื่อโรงงานผลิตเสื้อผ้า ซึ่งที่ผ่านมาฟาสต์ รีเทลลิงรายนี้ ได้จ้างผลิตเสื้อแจ็กเก็ตและเสื้อเชิ้ตสำหรับแบรนด์ GU แต่ก็จะยุติการผลิตสินค้าสำหรับฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวปี 2566 ไปโดยปริยาย  

ไม่เพียงเท่านั้น ด้านบริษัทเรียวฮิน เคคะคุ เจ้าของแบรนด์ 'มูจิ' (Muji) จากญี่ปุ่น ก็มีแผนที่จะยุติการจ้างผลิตเสื้อแจ็กเก็ตและสินค้าชนิดอื่น ๆ จากเมียนมาภายในเดือนสิงหาคมนี้ด้วย 

สำหรับการถอนตัวของแบรนด์ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ มาจากเหตุผลเพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือ บริษัทไม่สามารถละเลยต่อการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นในเมียนมาได้ 

'รบ.เมียนมา' ดัน 'เทศกาลตะจ่าน' ขึ้นเป็นมรดกโลก เรื่องดีๆ ที่ถูกฝ่ายประชาธิปไตยดิสเครดิตแบบไร้สติ

'ตะจ่าน' หรือ 'ติงจ่าน' ถือเป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวเมียนมา โดยตรงกับช่วงวันสงกรานต์ของไทย 

ดังนั้นสำหรับช่วงเวลานี้รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดยาว 10 วัน เพื่อให้ผู้คนได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตน ซึ่งบางคนต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 วันเต็มๆ ในการเดินทาง
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทศกาลนี้ คือ ล่าสุดทางกระทรวงกิจการวัฒนธรรมและศาสนาของเมียนมากำลังจัด

ทำเอกสาร เพื่อยื่นขอจดทะเบียน 'เทศกาลตะจ่าน' เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสนับสนุนการท่องเที่ยวในเมียนมาในระยะยาว  

แต่สุดท้ายก็ไม่วายที่จะถูกสำนักข่าวฝั่งตรงข้ามใส่สีตีข่าวเพื่อดิสเครดิต!!

หากมองกันตามตรงโดยไม่เอาอคติเรื่องเผด็จการหรือประชาธิปไตยมาตั้ง ถามว่าการกระทำครั้งนี้ของรัฐบาล ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและมองการณ์ไกล ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ทางรัฐบาลได้ประกาศขอความร่วมมือในการงดดื่มสุราของมึนเมาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเทศกาลนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะช่วยลดการบาดเจ็บและสูญเสียจากการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน

ทว่าในข่าวฝั่งประชาธิปไตยพยายามตีแผ่ว่า ในเทศกาลตะจ่านที่ผ่านมา มีคนเล่นน้ำน้อย เพราะไม่มีใครอยากเล่นน้ำในรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งความจริงนั้นตรงกันข้าม...

ทางเพจ Look Myanmar เคยนำเสนอเรื่องราวในช่วงเทศกาลตะจ่านปีก่อนไว้ว่า การที่คนไม่เล่นน้ำตามบูธที่รัฐบาลจัด เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยของตนเองมากกว่า เนื่องจากในช่วงเวลานั้นในเมืองใหญ่อย่าง ย่างกุ้งหรือมัณฑะเลย์ ก็ยังมีเรื่องระเบิดให้เห็นอยู่ประปราย 

ดังนั้นคนจึงเลือกเดินทางออกไปยังต่างจังหวัด เช่น ทะเล หรือ น้ำตก เพื่อพักผ่อนในช่วงเวลาดังกล่าว และปีนี้ก็เช่นกัน มีการรายงานว่าที่พักที่ชายหาดชองตาและชายหาดงุยเซาในรัฐอิรวดีได้เต็มหมดแล้ว เช่นเดียวกับที่ชายหาดงาปาลีก็เต็มแล้วเช่นกัน  


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top