Tuesday, 14 May 2024
เมียนมา

เลือกบทไหน? 'ผู้สนับสนุน' หรือ 'ผู้ต่อต้านการก่อการร้าย' บทบาทไทยต่อเมียนมาที่ต้องเลือกชั่งน้ำหนักให้ดี

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 ในตอนนั้นมีข่าวดังข่าวหนึ่งระบุว่า หน่วยงานความมั่นคงของไทยโชว์หลักฐานเด็ด ซึ่งเป็นวีซีดีการประชุม 'พรรคปาส' จากฝ่ายค้านมาเลย์ โจมตีว่าไทยอยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่กรือเซะ-ตากใบ อีกทั้งในแผ่นซีดีดังกล่าว ยังมีหลักฐานชัดเจนว่า พรรคปาสเป็นผู้สนับสนุนโจรใต้ให้ทำการแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยอีกด้วย  

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้รัฐบาลมาเลย์ถึงกับต้องรีบออกมาปฏิเสธเป็นพัลวันว่าไม่เคยสนับสนุนกองกำลังแบ่งแยกดินแดนในประเทศไทย

ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบัน ล่าสุดเมื่อวานนี้ (9 ก.ย.) มีข่าวจากสำนักข่าว Chindwin News Agency ของเมียนมาลงว่า กองกำลังต่อต้านทหารเมียนมาได้รับอาวุธสนับสนุนอาวุธมาจากไทย  

โดยอาวุธดังกล่าวทางกองกำลังต่อต้านทหารเมียนมา จะนำมาเพิ่มศักยภาพในการสู้รบกับกองทัพเมียนมา ซึ่งเอย่ามองว่า จากข่าวนี้หากชาวโลกมองไทยว่าเป็นผู้สนับสนุนการก่อการร้าย อย่างที่เคยเกิดเหตุกับไทย-มาเลย์มาก่อนในอดีต ก็คงไม่จะผิดนัก

ดังนั้น จากข่าวนี้ คงต้องขอฝากให้ฝ่ายความมั่นคงของไทยทำงานให้หนักแล้ว เพราะถึงแม้การข่าวจากฝ่ายความมั่นคงที่ไปตรวจสอบเรื่องการรับสมัครทหารของกลุ่ม Burma Ranger Force และพบว่าเรื่องทั้งหมดไม่ได้เป็นเรื่องจริง รวมถึงกรณีการประกาศรับสมัครกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งได้ตรวจสอบจากเพจของกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมา ก็ไม่พบว่ามีการเผยแพร่เกี่ยวกับประกาศดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ชัดเจนว่ากลุ่ม FBR (Free Burma Rangers) เป็นผู้จัดทำด้วยหรือไม่

แต่ขณะเดียวกันทางสำนักข่าว Chiangmai News ก็ลงพื้นที่ไปยังบ้านดังกล่าวแล้วพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นอาคารพาณิชย์เป็นที่ทำการของ 'มูลนิธิฟรี เดอะ โอเพรซท' (Free the Oppressed Foundation) หรือ FTO ซึ่งสนับสนุนงานของ FBR และทางมูลนิธิฟรี เดอะ โอเพรซท อ้างว่า FBR เป็นขบวนการเพื่อมนุษยธรรมจากหลายเชื้อชาติ ที่ทำงานเพื่อให้ความช่วยเหลือ ความหวัง และความรักแก่ผู้คนในเขตความขัดแย้งของพม่า อิรัก และซูดาน รวมไปถึงยังทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่สนับสนุนประชาธิปไตยในท้องถิ่น และประสานงานกับทีมบรรเทาทุกข์เอนกประสงค์ที่เคลื่อนที่ การรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่สำคัญ ที่พักพิง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเอกสารด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 

>> หากแต่ก็มีภาพที่เป็นกองกำลังของ Free Burma Ranger ซึ่งมีสัญลักษณ์ที่แขนถืออาวุธปรากฏลงในภาพข่าวที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2014 ใน The Daily Beast ด้วย

ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า Free Burma Ranger คือ กองกำลังติดอาวุธที่ได้รับการช่วยเหลือจากเงินทุนของอเมริกาและเงินจากกลุ่มคริสต์จักรในไทย โดยอ้างว่าเงินดังกล่าวนำมาใช้เพื่อสันติภาพ แต่ความเป็นจริงมีการดำเนินกิจกรรมการฝึกกองทัพต่อต้านรับบาลมานานแล้วนั่นเอง

ช่อง 5 คิดถูกใช่ไหม? เลือกตัดลมหายใจคนเมียนมา แค่เพราะนักกิจกรรมบอก... "นทท.จะนำเงินมาสนับสนุนกองทัพพม่าเพื่อปราบปชช."

ช่อง 5 กับทางเลือกที่ถูกต้อง?

เป็นข่าวกระหึ่ม!! เมื่อรายการ บันทึกท่องเที่ยว The Exclusive ใน EP ล่าสุด ได้พาไปท่องเที่ยวกรุงเนปิดอว์ ออกอากาศ ตอนที่ 1 เมื่อ 5 ก.ย. 2565 และตอนที่ 2 เมื่อ 10 ก.ย. ที่ผ่านมา

โดยในตอนที่ 1 ได้พาไปเที่ยวสถานที่สำคัญของเมืองหลวงกรุงเนปิดอว์ ได้แก่ ถนน 16 เลน, พระมหาเจดีย์อุปปาสันติ, พิพิธภัณฑ์อัญมณี, วัดเม้งหวุ่นเต่า, พิพิธภัณฑ์การทหาร และอื่นๆ  

นอกจากนี้ ในรายการยังได้เข้าพบกับ เตอ่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยว แห่ง SAC และมีการสัมภาษณ์สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศเมียนมาอีกด้วย

และนี่น่าจะเป็นชนวนเหตุ ที่ทำให้ถูกโจมตีจากนักกิจกรรมประชาธิปไตย ว่ารายการได้รับการสนับสนุนจากรับบาลทหารเมียนมา ซึ่งในความรู้สึกของเอย่าเองนั้น ขอบอกว่า นี่มันเป็นเรื่องไร้สาระมาก!!

ถ้าจะให้เอย่าวิเคราะห์แตกเป็นประเด็น จะเล่าให้ฟังเป็นข้อๆ แบบนี้ละกัน...

เนปิดอว์นั้นไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวแต่อย่างใด ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเนปิดอว์ก็จะมาแค่ตามที่รายการบอกนั่นแหละ เพราะเมืองมันไม่ได้มีอะไรจริงๆ สามารถเที่ยวแบบ One Day Trip และกลับไปนอนที่ตองอู ซึ่งในตองอูยังมีอะไรที่น่าสนใจกว่า เช่นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาที่วัดเมียะสิโกง ที่พระเจ้าบุเรงนองอัญเชิญจากอยุธยามาไว้ที่ตองอู เมื่อได้อยุธยาเป็นประเทศราชแล้ว แถมด้วยโรงแรมที่ตองอูก็เป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินของพระราชวังตองอูเก่า ซึ่งมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงอาถรรพ์ที่คนไทยบางคนเคยเจอด้วย แต่บอกเลยว่าโรงแรมนี้สวยงามและไม่เงียบเหงาเหมือนนอนที่เนปิดอว์แน่นอน

การไปขอสัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยว แห่ง SAC ก็ไม่ได้แปลกอะไรเลย เพราะการเดินทางเข้าเมียนมาไปเมืองไหนก็ตาม โดยเฉพาะการไปถ่ายทำรายการหรือภาพยนตร์ ก็ต้องทำเรื่องขออนุญาต ซึ่งการทำเช่นนี้มีมาก่อนยุคสมัยก่อนมีประชาธิปไตยด้วยซ้ำ อย่างตอนที่ผู้กำกับชาวต่างประเทศไปถ่ายภาพยนตร์เขาก็ขออนุญาตเช่นกัน   

ดังนั้นการที่เขาจะได้สัมภาษณ์กับท่านรัฐมนตรี จึงไม่แปลกเพราะเมียนมามีนโยบายที่กำลังจะเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้ามา ซึ่งนั่นน่าจะเป็นสิ่งที่รายการคิดว่า มันเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับผู้ชมด้วยซ้ำ

แต่เรื่องนี้สำนักข่าวประชาไทระบุว่า “กลุ่มนักกิจกรรมการเมืองแสดงความกังวลถึงประเด็นความปลอดภัย และชี้ว่านักท่องเที่ยวจะนำเงินมาสนับสนุนกองทัพพม่าเพื่อปราบประชาชน ผ่านค่าธรรมเนียมการทำวีซ่า จ่ายค่าประกัน และภาษี แม้ว่านักท่องเที่ยวสามารถเลี่ยงการพักในโรงแรม และการขนส่งที่มีกองทัพ และเครือข่ายของกองทัพเป็นเจ้าของก็ตาม นอกจากนี้ กลุ่มนักกิจกรรมขอเรียกร้องให้ประชาคมโลกบอยคอตไม่มาเที่ยวพม่าระหว่างที่กองทัพยังคงบริหารประเทศอยู่” 

ซึ่งในความเป็นจริง ณ วันนี้ เมียนมาประกาศ Free-VISA ให้นักท่องเที่ยวไทยเข้ามาเที่ยวได้ 14 วันเหมือนแต่ก่อน ส่วนเรื่องการซื้อประกันภัยโควิดก็ไม่ได้มีแค่ในเมียนมาเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศเช่นกัน เอาประเทศใกล้ๆ เราอย่าง 'ลาว' ก็ Free-VISA แต่ก็ต้องซื้อประกันโควิดสำหรับใครก็ตามที่เข้าประเทศเช่นกัน

ขณะเดียวกัน การที่นักท่องเที่ยวจะจองโรงแรมใดๆ ก็ตาม สามารถ Booking ผ่าน Application หรือ Website ต่างๆ ได้ เหมือนที่เคยทำกันมาสมัยก่อนโควิดระบาด ดังนั้นนักท่องเที่ยวมีสิทธิ์จะเลือกหาข้อมูลโรงแรมใดก็ได้ที่สะดวกและมั่นใจในการใช้ชีวิตในเมียนมา โดยไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับทหาร หรือ ฝ่ายใดเลย

โดยสรุปแล้ว หากการท่องเที่ยวในเมียนมากลับมาคึกคัก จะสร้างเม็ดเงินสะพัดมหาศาลให้แก่นักธุรกิจใหญ่, เจ้าของกิจการ, เจ้าของร้านค้า ไปจนถึงชาวบ้านที่มาขับรถ ขับเรือ ขายดอกไม้ ขับแท็กซี่ ฯลฯ ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนที่อาศัยในเมียนมาแล้วเดือดร้อนจากการระบาดของโรคโควิดและถูกซ้ำเติมจากความขัดแย้งทางการเมือง  

เม็ดเงินเหล่านี้จะยกระดับความเป็นอยู่ของคนเมียนมาให้ดีขึ้น ทำให้ความขัดแย้งบรรเทาลง เพราะคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  

เตือนคนพม่าเข้าไทย หวังย้ายไปประเทศที่ 3 ระวังถูกขายฝัน ปันเงินก้อนสุดท้ายไปให้มิจฉาชีพ

ท่ามกลางกระแสในประเทศไทยที่มีการโหมโรงเรื่องย้ายประเทศกันเถอะ เปิดโอกาสให้คนไทยหลายคนที่เบื่อหน่ายกับรัฐบาลลุงตู่ จนอยากที่จะขอไปตายเอาดาบหน้า แต่จนแล้วจนรอด ส่วนใหญ่คนที่ออกตัวที่จะไปตายเอาดาบหน้า ก็เห็นกลับมาตายเอาที่ประเทศสยามขวานทองเหมือนเดิม เพราะการที่จะย้ายไปใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด

วันนี้เอย่าเลยถือโอกาสขอเล่าเรื่องของการย้ายประเทศ โดยเราจะตัดเรื่องความวุ่นวายในการทำเรื่องย้ายประเทศไปก่อน แล้วมาดูตัวแปรอื่น ๆ กัน 

การที่จะไปใช้ชีวิตในต่างแดนนั้น ไม่ง่าย!! เริ่มจากความต่างของภาษา ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณมีความเก่งกาจในการสื่อสารภาษาอังกฤษพอ การที่จะย้ายประเทศไปอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารคงไม่ใช่เรื่องที่ลำบากมากนัก แต่อย่าลืมว่าประเทศส่วนใหญ่บนโลกนี้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ดังนั้นการย้ายไปในบางประเทศ คุณต้องเรียนรู้ภาษาใหม่ เพื่อให้เอาตัวรอดในการใช้ชีวิตประจำวันได้  

ต่อมาคือเรื่องของอาหารการกิน แม้หลายคนอาจจะถูกปากถูกใจกับอาหารฝรั่ง แต่เราต้องกินอาหารแบบนี้ทุกวัน คือ ต้องอยู่กับมันให้ได้ มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ!! จำได้ว่าเมื่อเอย่ามาถึงเมียนมาครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน เราทานอะไรไม่ได้เลย เอย่าต้องใช้ชีวิตกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จนน้ำหนักลดไปเป็น 10 กิโลตั้งหลายเดือน กว่าจะหลงเสน่ห์อาหารพม่าจนน้ำหนักกลับพุ่งทะยานจนเกินกว่าวันแรกที่เข้ามาเหยียบแผ่นดินเมียนมานี้ 

แค่ 2 เรื่องนี้ยังต้องใช้การปรับตัวแรมปี ไหนจะเรื่องเงินที่ต้องมีพอในการใช้จ่ายก่อนที่จะหาการหางานทำเพื่อหาเงินได้ ซึ่งมันไม่ได้ง่ายเลย

พูดถึงเรื่องย้ายประเทศไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่มีความคิดแบบนี้ แต่คนเมียนมาที่หนีจากการปกครองของระบบทหารก็คิดจะไปหาที่อยู่ใหม่เช่นกัน สำหรับรายที่รวยพอมีเงินหนาพอที่ไม่ต้องไปเป็น PDF เขาก็เลือกที่จะไปใช้ชีวิตใหม่ต่างแดนอย่างสบายใจ แต่คนเมียนมาที่เป็นชนชั้นกลางที่มีความฝันในการสู้แล้วพอช่องทางลี้ภัยจากการช่วยเหลือผ่านองค์กร NGO ต่าง ๆ ที่เข้ามาสนับสนุนทางการเงินให้แก่กลุ่ม นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความฝันที่พวกเขาจะได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตใหม่

อย่าหลงเชื่อวาทกรรมรบ.ไทยซูเอี๋ยมินอ่องหล่าย แนะศึกษาก่อนโจมตี ปมนางงามโดนถอนพาสปอร์ต

เป็นข่าวดังมากในชั่วข้ามคืนกับเหตุการณ์ที่ ฮันเล มิสแกรนด์เมียนมาถูกยกเลิกพาสปอร์ต  ซึ่งเจ้าตัวกว่าจะรู้ตัวก็ตอนที่เดินทางกลับเข้าไทย โดยทางการไทยปฏิเสธการให้เข้าเมืองเนื่องจากพาสปอร์ตถูกยกเลิก โดยเมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปก็มีสื่อหลายกระแสและประชาชนจำนวนไม่น้อยที่พุ่งเป้ามายังรัฐบาลไทยว่ามีส่วนรู้เห็นจนเป็นที่มาของการถูกถอนพาสปอร์ตดังกล่าว หยาบคายไปถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นลิ่วล้อมิน อ่อง หล่าย จากประเด็นนี้ วันนี้เอย่าจะมาวิเคราะห์แต่ละข้อแต่ละจุดว่ารัฐบาลไทยไปเกี่ยวข้องอะไรไหมให้เข้าใจกัน

1. ประเด็นการเพิกถอนพาสปอร์ตนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่าพาสปอร์ตเปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกโดยประเทศต้นกำเนิดของเจ้าตัว ดังนั้นการเพิกถอนพาสปอร์ตนั้นเปรียบเสมือนการถอนสัญชาติกลายๆ ดังนั้นการกระทำดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ซึ่งต่างจากการเพิกถอนวีซ่า เพราะวีซ่าเสมือนตั๋วที่เป็นใบผ่านให้เข้ามาอยู่ในประเทศปลายทางได้ ดังนั้นในกรณีนี้สมมุติว่าประเทศไทยมีเอี่ยวกับเหตุการณ์นี้จะต้องทำการเพิกถอนวีซ่าไม่ใช่พาสปอร์ต 

2. การที่ไทยปฏิเสธเป็นไปตามมาตรา 12 ในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในข้อ 11 ที่ว่า “ถูกรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างประเทศเนรเทศ หรือถูกเพิกถอนสิทธิการอยู่อาศัยในราชอาณาจักรหรือในต่างประเทศมาแล้ว หรือถูกพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดยรัฐบาลไทยเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีได้พิจารณายกเว้นให้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย” จากข้อนี้ค่อนข้างจะชัดเจนว่าเมื่อทางเมียนมาเพิกถอนพาสปอร์ตก็เปรียบเสมือนการเนรเทศหรือเพิกถอนสิทธิ์การอยู่อาศัยในประเทศต้นกำเนิดดังนั้นพนักงานเจ้าหน้าไม่จึงไม่สามารถให้เข้าประเทศได้ ซึ่งรายนี้ถือว่าได้สิทธิพิเศษในการติดต่อกับ UNHCR เพื่อให้พักพิงชั่วคราวก่อนลี้ภัยต่อไปประเทศที่ 3 โดยการที่ไทยเลือกที่จะไม่ผลักดันออกนอกประเทศทันทีนั้นก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าไทยได้แสดงออกถึงมนุษยธรรมและไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับทางการเมียนมา เพราะถ้าทางรัฐบาลไทยมีความสัมพันธ์พิเศษ ทางไทยสามารถเลือกจับนางงามเมียนมาส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้ทางเมียนมาก็ได้

ออกพรรษาในเมียนมา 'เข้าวัดทำบุญ-ขอขมาผู้ใหญ่' รากเหง้าที่คงอยู่ แต่ดูเลือนลางห่างจากสังคมไทย

ในเดือนตุลาคมนี้เป็นเดือนที่มีวันสำคัญในเมียนมา ซึ่งก็คือ 'วันตะดิงจุด' (Thadingyut) หรือ วันออกพรรษา นั่นเอง ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม ในขณะที่วันออกพรรษาของไทยคือ วันที่ 10 ตุลาคม  

เอย่าเชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามว่าทำไมวันพระพม่ากับวันพระไทยไม่ตรงกัน?

เหตุผลที่แท้จริงนั้นไม่แน่ชัด แต่เท่าที่เอย่าเคยได้ยินมา เนื่องจากเมียนมาและไทยอยู่คนละเส้นเวลา ทำให้การคำนวณวันตามจันทรคติไม่ตรงกันด้วย แต่บางข้อมูลบอกว่าพม่านั้นใช้การดูวันที่พระจันทร์เต็มดวงจริงไม่ได้คำนวนตามจันทรคติ ดังนั้นทำให้วันพระของพม่าไม่ตรงกับของไทยที่ใช้ระบบการคำนวนตามจันทรคติ ซึ่งทั้ง 2 แหล่งที่เอย่าได้ยินมาก็ถือว่ามีเหตุผลทั้งคู่ตามแต่ทุกท่านแล้วว่าจะเชื่อใคร

ย้อนกลับมาที่ วันตะดิงจุด หรือ วันออกพรรษาของคนเมียนมานั้น ตอนเช้าทุกคนจะเดินทางไปวัดทำบุญ ซึ่งสังเกตุได้ว่าตามเจดีย์ทุกที่ในวันนี้จะมีคนแน่นตลอดทั้งวัน และในยามค่ำจะมีการจุดเทียนหรือประทีบที่เจดีย์ และที่บ้านเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการต้อนรับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จกลับมาจากดาวดึงส์ โดยประเพณีการจุดดวงประทีปนี้ไม่ได้มีแค่ในเมียนมาเท่านั้น แต่มีในประเทศรอบข้างบ้านเราด้วยเช่น ลาว เป็นต้น

ในวันที่ 15 ค่ำเดือน 11 นี้ในเมียนมาไม่ได้มีตำนานพญานาคพ่นดวงไฟเหมือนที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขง แต่นอกจากการจุดดวงประทีปที่พื้นแล้ว หลายพื้นที่ก็มีการลอยประทีปบนอากาศเช่นกัน เช่น ในรัฐฉาน และบางแห่งก็ลอยดวงประทีปในน้ำเหมือนกับการลอยกระทงของบ้านเราก็มี

นอกจากกิจกรรมทางศาสนาแล้วในวันที่ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ วันนี้ยังเป็นวันที่ผู้น้อยไปเยี่ยมผู้หลักผู้ใหญ่และมีพิธีกรรมที่น่ารักอันหนึ่ง คือ พิธีขอขมา โดยพิธีนี้ผู้น้อยหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่าจะขอขมาผู้ที่มีอายุมากกว่าแลละผู้อาวุโสนอกจากจะอโหสิกรรมให้ในสิ่งที่ผู้น้อยทำผิด ทั้งมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม แล้วผู้ใหญ่บางที่ก็แจกเงิน แจกทองให้ผู้น้อยด้วย ซึ่งพิธีนี้นอกจากทำกันในบ้านแล้วยังกระทำกันในที่ทำงานด้วย

ส่องสถานการณ์เปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเมียนมา เมื่อบิ๊กจีนเทียบท่าใต้พลังงานไฟฟ้าที่ทรงๆ ทรุดๆ

เมื่อไม่กี่วันก่อนมีรายงานข่าวที่น่าสนใจว่าบริษัท Hozon Auto บริษัทรถยนต์สัญชาติจีนที่จัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ NETA ได้ทำ MOU กับบริษัท Grand Sirius Co., Ltd. ในการที่จะเปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการในเมียนมา

เรื่องนี้มีประเด็นให้เล่าพอควร แต่ก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่องของรถไฟฟ้า เรามารู้จักบริษัททั้งสองบริษัทนี้กันก่อน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร?

เริ่มที่บริษัท Grand Sirius จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเมียนมาที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทสสิงคโปร์ โดยกลุ่มบริษัทนี้มี 4 ธุรกิจใหญ่ในเมียนมาได้แก่ บริษัท Ceramic Pro Myanmar เป็นบริษัทสีเซรามิกเคลือบสำหรับรถยนต์ การบินและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสีเคลือบแก้ว   

บริษัทต่อมาคือ V-Kool Myanmar เป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายฟิล์มยี่ห้อ V-Kool ในเมียนมานั่นเอง

ถัดมาคือ บริษัท Moe Zac Auto ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้ารถมือสอง  

และสุดท้ายเป็นดีลเลอร์ของ Hyundai ในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์  

ส่วน Hozon Auto ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 ในจังหวัดเจ้อเจียง ก่อตั้งโดย Beijing Sinohytec และ Zhejiang Yangtze Delta Region Institute of Tsinghua University และตั้งอยู่ในเมืองเจียซิง โดย Hozon Auto มุ่งเน้นในการคิดค้นและวิจัยยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจากบริษัทอื่น ๆ ที่มีการคิดค้นพัฒนายานยนต์ที่ใช้น้ำมันและพลังงานทางเลือกควบคู่กันไป  

แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หาก Hozon Auto นั้นเลือกที่จะเข้ามาเปิดตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย เพราะต้องยอมรับว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าสูง อีกทั้งการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่าง Hozon กับ ปตท. ที่เป็นบริษัทพลังงานเต็มรูปแบบ ก็ทำให้ Hozon มีแต้มต่อเมื่อเข้ามาเจาะตลาดในไทย ยิ่งราคาเปิดตัวในไทยอยู่ที่ประมาณครึ่งล้าน ถูกกว่ารถใช้น้ำมันบางรุ่น ก็ยิ่งทำให้ NETA เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่น่าจับตามองสำหรับชนชั้นกลางที่มีชีวิตในเมือง 

รู้ทัน 'กฎหมายศาสนา' ในเมียนมา เรื่องอ่อนไหว ที่ไม่ควรล่วงเกิน

จากประเด็นล่าสุดที่เกิดขึ้นในเมียนมา คือมีคนนำตุ๊กตายางที่ชายหนุ่มกลัดมันซื้อมาเป็นเพื่อนคลายเหงามาทำเป็นองค์สักการะนัตสุรัสสตีและนัตสิริเทวีประดิษฐานไว้บริเวณด้านล่างของเจดีย์ชเวดากองทางทิศใต้ ซึ่งหากประดิษฐานไว้ที่อื่น เอย่าเชื่อว่าคงไม่มีประเด็นอะไร แต่เนื่องจากเป็นที่เจดีย์ชเวดากอง ดังนั้นดราม่าจึงเกิดขึ้น

ชาวโซเชียลของเมียนมาเริ่มมีการพูดถึงความไม่เหมาะสมในการนำตุ๊กตายางมาสวมชุดเป็นนัตมากขึ้นจนลามไปถึงเรื่องของเจ้าหน้าที่บริหารสถานที่เจดีย์ชเวดากองว่า ทำไมถึงยอมให้มีการนำหุ่นแบบนี้มาใช้เป็นนัตให้คนสักการะ (นัต: ผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่งเทวดาคล้ายเทพารักษ์)

แต่ความจริงเรื่องราวทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นขึ้นถ้าชายหนุ่มผู้บริจาคนัตนี้ให้เป็นองค์สักการะ ไม่โพสต์ใบเสร็จที่ระบุสเป็กของหุ่นว่า ตุ๊กตายางสูง...เซนติเมตร หน้าอกไซส์ใหญ่ 1 และหน้าอกไซส์ธรรมดา 1 ผมสี...ตาสี... ซึ่งแน่นอนเมื่อเขาโพสต์ลงบนโซเชียลเน็ตเวิร์กและเปิดสถานะเป็นสาธารณะแบบนี้ จึงเป็นประเด็นทันที เพราะหากเขาไม่โพสต์ใบเสร็จใบนี้ ชาวเน็ตเมียนมาอาจจะคิดว่าเป็นตุ๊กตาทั่วไปไม่ใช่ตุ๊กตายางสำหรับใช้งานในเรื่องอย่างว่า

สุดท้ายกระทรวงกิจการศาสนาและวัฒนธรรมของเมียนมา จึงดำเนินคดีข้อหาดูหมิ่นพุทธศาสนาต่อผู้ที่นำตุ๊กตายางแต่งเป็นนัตไปให้ประชาชนกราบไหว้บูชาที่ลานจอดรถพระเจดีย์ชเวดากอง รวมถึงดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ผู้อนุญาตโดยพลการด้วย สรุปงานเข้าไปตาม ๆ กัน

ประเด็นศาสนาเป็นเหตุแบบนี้ นี่ไม่ใช่เคสแรกในเมียนมา หากสืบค้นไปแล้วในเมียนมามีกฎหมายประหลาด ๆ หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่นเมื่อหลายปีก่อนมีชาวแคนาดาและชาวสเปนถูกเนรเทศออกจากเมียนมา เพราะสักรูปพระพุทธรูปบนร่างกาย อีกทั้งยังมีเคสอื่น ๆ อีกเช่น มีชาวต่างชาติตะโกนด่าเนื่องจากชุมชนใกล้โรงแรมมีกิจกรรมเทศนาตอนค่ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกปีหลังฝน สุดท้ายชาวต่างชาติคนนั้นถูกจับและดำเนินคดี หรืออย่างอีกเคสหนึ่งเป็นไนท์คลับที่เอารูปพระพุทธรูปมาประดับสุดท้ายก็โดนตำรวจจับและปิดไปตามระเบียบ

จะเห็นได้ว่าประเด็นทางศาสนาเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากสำหรับคนเมียนมาถึงขั้นมีการตราเป็นกฎหมายสรุปคร่าว ๆ ว่า...

ถอดเนื้อหา FARCRY 6 สู่บริบททึ่คล้ายคลึง 'เมียนมา' สันติภาพไม่มีอยู่จริง หากทุกฝ่ายยังชิงชังไม่จบสิ้น

หากใครเป็นคอเกม ย่อมรู้จักเกม FAR CRY เป็นอย่างดี เพราะเป็นซีรีส์เกมที่ออกมาเมื่อไหร่ก็ฮิตเป็นพลุแตกทุกครั้ง โดยในภาคที่ 6 นี้เนื้อเรื่องของภาคนี้เข้มข้นเหมือนกับชีวิตจริงในเมียนมาเสียจนเอย่าต้องขอยกเรื่องนี้มาเขียนเป็นบทความกันเลยทีเดียว

ในเกม FAR CRY 6 นี้จะเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นบนประเทศที่เป็นหมู่เกาะในคาบสมุทรแคริเบียนที่ชื่อว่า 'ยาร่า' เรื่องราวมีอยู่ว่า ในปี 1967 คณะกองโจรปฏิวัติ 'เกอริญ่า' ได้โค่นล้มระบอบการปกครองเผด็จการของประธานาธิบดี เกเบรียล คาสติโญ่ ลงได้สำเร็จ แต่มันก็นำไปสู่วิกฤติการล่มสลายทางเศรษฐกิจของประเทศยาร่า เวลาผ่านไปในปี 2014 ลูกชายของเขา อันตน คาสติโญ่ ได้ขึ้นมารับตำแหน่งประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง และให้คำมั่นสัญญาว่าจะฟื้นฟูประเทศใหม่ โดยคิดค้นสิ่งที่เรียกว่า 'วิวิโร่' ซึ่งเป็นยารักษาโรคมะเร็งชนิดใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากใบยาสูบในประเทศยาร่า และใช้ชื่อโปรเจกต์การฟื้นฟูยาร่าว่า 'บูรณะแดนสวรรค์'

เมื่อเวลาผ่านไป 7 ปี การปกครองของอันตนก็เป็นระบอบเผด็จการเต็มรูปแบบ เขาใช้แรงงานประชาชนเยี่ยงทาส ปกครองประชาชนด้วยเผด็จการเพื่อเกณฑ์กำลังคนมาเป็นกองทัพ และร่วมมือกับหลากหลายหน่วยงานในการสร้างวิวิโร่ขึ้นมา รวมไปถึงสร้างกองกำลังติดอาวุธ Fuerzas Nacionales de Defensa (FND) ขึ้นมา ประชาชนทุกหย่อมหญ้าเดือดร้อนจากการปกครองด้วยระบอบนี้ แดนี่ โรฮาส ตัวเอกในเกมส์ของเราและเพื่อนอีกสองคนคือ ลิต้า ตอร์เรส และอเลโฮ รูอิซ ตัดสินใจที่จะหนีออกจากขุมนรกแห่งนี้ไปยังอเมริกา  

ก่อนการหลบหนี อเลโฮทนไม่ไหวกับการทำตัวป่าเถื่อนของเหล่าทหาร จึงโผล่หน้าออกไปตะโกนด่าทอ ก่อนจะโดนสวนกลับมาด้วยลูกปืนที่ปลิดชีวิตของเขา ลิต้าและแดนี่จึงรีบหลบหนีออกจากเมืองไปยังเรือที่กำลังจะพาผู้คนหนีออกนอกประเทศ แต่เรื่องราวกลับเลวร้ายเมื่อบนเรือนั้น กลับมี ดิเอโก้ ลูกชายของอันตนอยู่ด้วย อันตนจึงนำกองกำลังมาสกัดและพาตัวดิเอโก้กลับไป พร้อมกับสั่งฆ่าประชาชนทุกคนที่อยู่บนเรือ เรือจมลงสู่ใต้ทะเลและแดนี่กับลิต้าก็ถูกพัดมาเกยตื้นบนชายหาดเกาะซานตัวริโอ้ ส่วนลิต้าที่ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตไปอีกคน  

จากการรอดตายครั้งนี้ทำให้แดนี่ได้พบกับคลาร่า การ์เซียผู้นำกองโจรปฏิวัติ ลิเบอร์ตาด เพื่อต่อต้านระบอบการปกครองของคาสสิโญ่ และฮวน คอร์เตซ อดีตสายลับและผู้ผลิตอาวุธที่คอยขัดขวางระบบการผลิตวิวิโร่บนเกาะซานตัวริโอ้ จากนั้นแผนการโค่นล้มระบอบเผด็จการจึงได้เริ่มต้นขึ้น 

และนี่คือเรื่องราวทั้งหมดก่อนจะเริ่มเกม โดยหากใครเล่นเกมจะพบว่ากองทัพปฎิวัตินั้น แยกเป็นหลายกลุ่มซึ่งมีแดนี่เป็นคนดึงให้ทุกกลุ่มมมาอยู่ด้วยกันจนสามารถโค่นล้มประธานาธิบดี อัลตน คาสติโญ่ได้สำเร็จ  

จากเนื้อหาในเกม หากเปรียบเทียบกับสิ่งที่เมียนมาเป็น มีอะไรเหมือนหรือแตกต่างจากเกมบ้าง?

ในเกมประธานาธิบดีอัลตน พยายามแยกชาวยาร่าว่ามี 2 กลุ่มคือชาวยาร่าแท้ ๆ กับอีกกลุ่มที่ในเกมระบุว่าเป็นพวกชายขอบ ซึ่งเนื้อหาจุดนี้คล้ายกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมา ตรงที่มีปัญหาจากความแตกต่างของชาติพันธุ์เป็นทุนเดิม แต่ในเมียนมานั้น ทางรัฐบาลทุกรัฐบาลแม้กระทั่งรัฐบาลทหารก็มีท่าทีที่จะรวบชาติพันธุ์ให้เป็นหนึ่งเดียวกับชาติพันธุ์เมียนมา ไม่ได้แบ่งแยกเหมือนในเกม

กลุ่มผู้ต่อต้านกระจายกันอยู่ต่างฝ่ายต่างมีแนวทางของตัวเอง มีเพียงในเกมเท่านั้นที่มีสถานการณ์ที่ทำให้ทุกฝ่ายรวมกันเป็นกลุ่มเดียว แต่ในความเป็นจริงนั้นทำได้ยากมาก

เพราะเรื่องจริงนั้นมักจะมีมือที่สามให้การสนับสนุนทั้งฝ่ายรัฐบาลของอัลตนและฝ่ายเกอริญา โดยในเกมระบุว่าฝ่ายรัฐบาลนั้นมีแยงกี้เป็นผู้สนับสนุนในการลงทุนการทำฟาร์มยาสูบวิวิโร่ ส่วนฝ่ายต่อต้านได้เงินและการสนับสนุนอาวุธจากการค้าของเถื่อน

นอกจากนี้ ผู้ทรยศก็ล้วนมีอยู่ทุกฝ่าย หากใครเล่นเกมจะเห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีผู้ทรยศต่อฝ่ายตัวเอง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งสถานการณ์ในเมียนมาก็มีไม่น้อยที่ทหารหลายคนแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับฝั่งของมินอ่องหล่ายและฝ่ายต่อต้านก็มีหลายคนที่เลือกที่จะหยุดไม่สนับสนุนการต่อต้านอีกต่อไปด้วยเหตุผลส่วนตัวของเขาเช่นกัน

อย่างไรซะ ไม่ว่าจะในเกมหรือชีวิตจริง ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงบาดเจ็บและสียชีวิตก็คือชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ที่อยู่ในเขตสู้รบ

การทำโฆษณาชวนเชื่อ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดึงมวลชนมาเป็นพวกของตน ไม่ว่าจะเป็นทั้งฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายต่อต้านไม่ว่าจะในเกมหรือในชีวิตจริงเรื่องนี้เป็นจริงเสมอ

แม้แม่ทัพใหญ่จะตาย เกมจะจบ แต่สงครามของความขัดแย้งไม่มีวันจบ เพราะจะมีคนมาแทนเสมอ  เฉกเช่นเดียวกันกับที่แม้ฝั่งกองทัพเมียนมาจะสังหารหัวกะทิแม่ทัพตายไปมากมายเท่าไรก็ตาม ก็จะมีคนใหม่มาแทนเสมอ

แม้ประธานาธิบดีอัลตนจะตายไปแต่ยาร่า ก็ไม่ได้มีเสรีภาพตามที่เกอริญาคาดหวังไว้อยู่ดี เพราะสุดท้ายก็จะมีกลุ่มที่เคยให้การสนับสนุนประธานาธิบดีอัลตนกำเนิดขึ้นมาเป็นกลุ่มต่อต้านพวกเกอริญา ซึ่งเป็นบทสรุปว่าสงครามไม่เคยนำพาสันติภาพไม่ว่าจะในรูปแบบใด แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้แสวงหาประโยชน์จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในสงครามเท่านั้น

"มัณฑะเลย์” ตำนานอาถรรพณ์การสร้างเมือง | THE STATES TIMES STORY EP.91

เรื่องราว "มัณฑะเลย์” ตำนานการสร้าง 'กรุงมัณฑะเลย์' เมืองหลวงใหม่ของราชวงศ์คองบอง
.
กับตำนานความโหดเหี้ยมสยดสยองของธรรมเนียมพม่า ที่ต้องเลือกคนมาฝังทั้งเป็น ก่อนจะลงเสาหลักและเริ่มการก่อสร้างเพื่อให้วิญญาณเหล่านั้นเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง!!
.
เรื่องราวสุดสยดสยองแห่งตำนานนี้เป็นอย่างไร ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top