Friday, 17 May 2024
ไอติมพริษฐ์

‘ไอติม-ปิยบุตร’ ผิดหวังร่างรธน. ไม่ผ่านสภา ขอโทษประชาชน 1.3 แสนคน ดันภารกิจไม่สำเร็จ 

วันที่ 17 พ.ย. นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า และ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แกนนำกลุ่ม Re-Solution ในฐานะผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ….ฉบับภาคประชาชน ที่มีการเข้าชื่อจำนวน 135,247 คน ร่วมกันแถลงภายหลังที่ประชุมร่วมรัฐสภา มีมติไม่รับหลักการในร่างฯ

นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าผิดหวัง ตรงที่ข้อเสนอของเราไป ถูกนำไปปฏิบัติในสังคม ขอย้ำอีกครั้งว่า ข้อเสนอเราไม่ได้สุดโต่ง หรือพยายามให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบ เราไม่อยากให้ติดกับดักวาทกรรมสุดโต่ง ที่พูดกันในสภาฯ วานนี้ (16 พ.ย.) หรือมี ส.ว. บางคนทำให้เราเข้าใจผิดเช่นนั้น เพียงแต่ต้องการสร้างระบบการเมืองที่ควรจะเป็น คือ 

ค. คืนศักดิ์ศรีให้กับสถาบันการเมือง ที่กำลังเสื่อมศรัทธา โดยให้เป็นสภาฯ เดี่ยว และที่มาของศาล องค์กรอิสระ ให้มีความเป็นกลาง สามารถเป็นที่พึ่งพาของประชาชน 

ว. ไว้ใจ สร้างระบบการเมืองที่ไว้ใจประชาชนให้กำหนดอนาคตตัวเอง มีอิสระเสรีภาพในการเลือกนโยบายพรรคการเมือง สามารถลงโทษพรรคการเมืองที่ไม่ทำตามนโยบายที่สัญญาไว้ มากกว่ามียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มาครอบงำ 

และ ร. ระบบกติกาที่เป็นกลาง สามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรีเป็นธรรม รวมถึงทุกรัฐบาลต้องถูกตรวจสอบโดยศาล องค์กรอิสระที่เป็นกลางจริง ตนต้องขอโทษประชาชน 135,247 คน ที่มาร่วมเดินทางกับเรา รวมถึงที่ติดตามการอภิปราย คาดหวังจะให้ร่างฯ ของเราผ่าน

“ยอมรับว่า ภารกิจเรายังไม่ได้สำเร็จ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงต้องเดินหน้าต่อไป ถ้ายังมีรัฐธรรมนูญที่มีที่มา กระบวนการเนื้อหาไม่ชอบธรรม มันไม่สามารถแก้ไขวิกฤตทางการเมืองได้ ผ่านมาเกือบ 3 ปีแล้ว ตั้งแต่เลือกตั้งปี 2562 มีการแก้ไขร่างฯ มา 3 ครั้ง ผ่านฉบับเดียว คือ การแก้ไขระบบเลือกตั้ง ที่ไม่ใช่สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 60 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจ นี่หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศไว้ว่า เป็นนโยบายเร่งด่วน พรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรคได้กล่าวไว้ว่าจะเป็นเงื่อนไขร่วมรัฐบาล หวังว่า คงไม่ใช่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญใด ๆ ก็ตาม ที่ไม่แตะ ส.ว. กลไกสืบทอดอำนาจ ก็ไม่สามารถแก้วิกฤตได้” นายพริษฐ์ กล่าว

‘ไอติมรสส้ม’ ผู้ก้าวไม่พ้นวังวน แก้รธน. - ม.112 กับหมุดหมาย ‘เท่าเทียม’ หรือแค่สนองความอยาก

ดูเหมือนว่าความสนใจของไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้เปลี่ยนสีจากสีฟ้าบลูเบอรี่มาเป็นไอติมรสส้มจะโฟกัสอยู่เพียงสองจุดคือการแก้ไขมาตรา 112 และการแก้รัฐธรรมนูญ เรียกว่าเป็นเนื้อเดียวแนบแน่นกับพรรคก้าวไกล จึงไม่น่าแปลกใจที่ไอติมจะได้ตำแหน่งผู้จัดการการรณรงค์สื่อสารนโยบายของพรรคก้าวไกล เพราะรูปสมบัติและคุณสมบัติเอื้อทุกด้าน ทั้งหน้าตาดี วาทกรรมเด่น แถมมาจากครอบครัวเก่าแก่ อย่าคิดว่าพรรคที่ชูนโยบายเรื่องความเท่าเทียมจะเท่าเทียมอย่างที่อ้าง เพราะหลายครั้งหลายหน ชาวโลกเห็นสมาชิกพรรคสีส้มออกมาแฉว่าความเท่าเทียมที่พร่ำอ้างกันนั้นไม่มีอยู่จริง 

ย้อนเส้นทางการเมืองของไอติม หลังลาออกจากบริษัทที่ปรึกษาในต่างประเทศ และเดินทางกลับประเทศไทย ได้เริ่มต้นเส้นทางการเมืองของกับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2561 โดยมีบทบาทในการร่วมก่อตั้งกลุ่ม NewDem ซึ่งเป็นกลุ่มนักการเมืองรุ่นใหม่ในพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับ สุรบถ หลีกภัย บุตรชายของ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, พรหม พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ บุตรชายของ พนิช วิกิตเศรษฐ์ และคณวัฒน์ จันทรลาวัณย์

จากนั้น ได้รับมอบหมายจาก พรรคประชาธิปัตย์ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 13 บางกะปิ วังทองหลาง (แขวงพลับพลา) ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเจ้าของที่นั่งก่อนหน้านี้คือนายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน (บุตรชายของนาย บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) 

อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งปี 2562 ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้สูญเสียที่นั่งทุกที่นั่งในกรุงเทพมหานคร โดยเขตเลือกตั้งที่ 13 ซึ่งไอติม ลงแข่งนั้น ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ (พลังประชารัฐ) ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วยอันดับ 2 นายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส (เพื่อไทย) อันดับ 3 น.ส.ณิชชา บุญลือ (อนาคตใหม่) ส่วนไอติม เข้ามาเป็นอันดับที่ 4 เรียกว่าแพ้ราบคาบทั้งตัวบุคคลและพรรค

หลังการเลือกตั้งจบลงก็มีกระแสข่าวว่าสมาชิกรุ่นอาวุโสของ พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมเข้าร่วมรัฐบาลกับ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้ พริษฐ์ และสมาชิกกลุ่ม NewDem จำนวนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ นับเป็นจุดสิ้นสุดของกลุ่ม NewDem[1]

ไอติมเป็นหลานของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะสังกัดพรรคนี้ในช่วงแรก ต่อมาลาออกเพราะพรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เลยสะบัดบ็อบไปซบก้าวไกล 

ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เพราะดูสนิทกันดีกับ  iLaw คณะก้าวหน้า และพรรคก้าวไกล จนเคลื่อนไหวในนามกลุ่ม Re – Solution เพื่อล่ารายชื่อเพื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2560  หลักใหญ่คือ ยกเลิก ส.ว.และยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แล้วมีโอกาสเป็นตัวแทนเสนอหลักการและเหตุผลในการแก้ไขต่อรัฐสภา แต่สมาชิกรัฐสภาลงมติไม่รับหลักการในวาระ 1 ไม่รู้ว่าแค้นฝังหุ่นหรืออย่างไร ถึงวนเวียนอยู่แต่เรื่องแก้รัฐธรรมนูญกับการแก้ไขมาตรา 112

ในส่วนของการแก้มาตรา 112 นั้น ไอติมต้องการลดโทษให้เบาลง โดยมองว่าโทษจำคุก 3-15 ปีหนักเกินไป เอาแค่จำคุกไม่เกินปีเดียว ปรับอีกไม่เกินสามหมื่น แหม โทษเบาแบบนี้ใครจะกลัว นี่ขนาดมีโทษจำคุก บรรดาสามนิ้วยังด่าและข่มขู่สถาบันกษัตริย์อย่างหยาบคายไม่กลัวเกรง หากลดโทษลงแล้ว จะยังมีใครเกรงกฎหมายอยู่ไหมล่ะ แล้วการลดโทษให้น้อยลง จะแก้ปัญหาให้คนที่ทำผิดข้อนี้ซ้ำๆซากๆ สำนึกผิดและเข็ดหลาบไหม ถามจริง

นอกจากนี้ไอติมอยากให้มีการกำหนดผู้ฟ้องที่ชัดเจน เพราะกังวลว่าอาจมีการกลั่นแกล้งทางการเมือง หรือล่าแม่มด เรื่องนี้เป็นการสับขาหลอกที่แท้ทรู เพราะมาตรา 112 อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิดลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แปลแบบบ้านๆ ง่ายๆ คือ ต้องการดึงสมาชิกราชวงศ์มาเป็นคู่กรณีนั่นเอง

‘ไอติม พริษฐ์’ ถามเหล่า ส.ส.กลางรัฐสภา “พร้อมจะเคารพเสียงของประชาชน 14 ล้านคน ที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่”

(13 ก.ค. 66) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายในรัฐสภา ในวาระการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า…

“คำถามที่สำคัญสำหรับสมาชิกรัฐสภา ไม่ใช่คำถามว่าพวกเรา 750 คนนั้น มีความคิดเห็นอย่างไรกับคุณสมบัติของคุณพิธา ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือมีความคิดเห็นอย่างไรกับนโยบายของพรรคก้าวไกล แต่คำถามที่สำคัญที่สุด ต่อหน้าสมาชิกรัฐสภาทุกท่านในวันนี้ ก็คือ พวกเรา 750 คน พร้อมจะเคารพเสียงของประชาชน 14 ล้านคน ที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top