Sunday, 28 April 2024
ไฟเซอร์

‘อนุทิน’ โผล่รับมอบไฟเซอร์ 2 ล้านโดสแรก เผยต.ค.มาอีก 6 ล้านโดส ยันสิ้นปีครบ 30 ล้านโดส

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางไปตรวจรับมอบวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 2 ล้านโดส ซึ่งมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 04.35 น. ที่ผ่านมา โดยสายการบิน DHL เที่ยวบิน 3L 350 

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานรับมอบวัคซีนไฟเซอร์ ว่า วัคซีนที่มาถึงประเทศในวันนี้ เป็นล็อตแรกจากทั้งหมดที่รัฐบาลจัดซื้อมา 30 ล้านโดส ซึ่งทางไฟเซอร์จะจัดส่งในเดือน ต.ค.อีก 6 ล้านโดส รวมถึงสิ้นเดือนต.ค.จะมีวัคซีนเข้ามา 8 ล้านโดส และครบทั้ง 30 ล้านโดส ภายในสิ้นปีนี้แน่นอน

“วัคซีนทั้ง 30 ล้านโดส จะมีการจัดส่งได้ภายในปีนี้ ส่วนถึงสิ้นเดือน ต.ค.นี้ จะมีทั้งหมด 8 ล้านโดส โดยจะเข้ามาทุกวันพุธของทุกสัปดาห์ และไฟเซอร์จะทำการจัดส่งไปยังที่หมายตามที่กรมควบคุมโรคกำหนดไว้ทั่วประเทศ เพราะราคาที่จัดซื้อมานี้รวมค่าจัดส่งแล้ว การจัดส่งจะเป็นแบบ door to door” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

ไฟเขียว! ฉีดไฟเซอร์เข็ม 2 ในเด็กผู้ชายอายุ 12-16 ปี ย้ำ สมัครใจ วอน หญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 เหตุ ทั่วโลกพบติดเชื้อแล้วเสียชีวิตสูงขึ้น 

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เด็กชายอายุ 12 – 16 ปี สามารถฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ + ไฟเซอร์ ได้ หลังคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีมติให้สามารถฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2 ในเด็กชายอายุ 12 – 16 ปี โดยเป็นไปตามความสมัครใจและความประสงค์ของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทั่วโลกมีการฉีดให้เด็กแล้วกว่า 100 ล้านโดส ส่วนข้อกังวลเรื่องอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น ทางคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ชี้แจงว่า เกิดขึ้นได้น้อยมาก และรักษาหายได้เร็ว โดยมีข้อสรุป 3R ได้แก่ 1. Real กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดขึ้นจริง ส่วนมากเกิดในเข็มที่ 2 ในเด็กผู้ชายอายุ 12 - 16 ปี 2. Rare เกิดขึ้นได้น้อยมาก ในระดับไม่กี่รายต่อล้านคน พบมากสุดประมาณ 6 ในแสนคน ซึ่งน้อยกว่าโรคโควิด-19 ในเด็กที่ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย (MIS-C) รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3. Recovery ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง มีจำนวนน้อยรายที่อาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล และทั่วโลกรายงานพบผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวกับวัคซีน 1 ราย ขณะที่มีการฟื้นตัวรวดเร็วมากถึง 90%

น.ส.รัชดา กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข จะติดตามอาการหลังฉีดอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจะมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อสร้างความเข้าใจแก่เด็ก และผู้ปกครอง โดยปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ที่เข็มที่ 1 ให้กับเด็กนักเรียนอายุ 12 – 18 ปี แล้ว จำนวน 1,325,527 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2564) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 ในรูปแบบ On-Site

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเร่งเดินหน้าระดมฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในสถานพยาบาลของรัฐในพื้นที่ต่าง ๆ หรือคลินิกฝากครรภ์เพื่ออำนวยความสะดวก ปัจจุบันมีหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนเพียง 75,000 ราย จากเป้าหมาย 300,000 ราย ตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ประมาณ 95% ไม่ได้รับวัคซีน เป็นสาเหตุทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต

 

กรุงเทพฯ - โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ บางนา บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ป้องกัน COVID – 19 ให้กับนักเรียน โดยได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากสำนักอนามัย

วันนี้ ( 25 ต.ค.64) กองทัพเรือ โดยโรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ บางนา กรมแพทย์ทหารเรือ ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID – 19 ไฟเซอร์ (Pfizer) แก่นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปวช. ณ โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ กรมแพทย์ทหารเรือ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID – 19 ให้กับนักเรียนในครั้งนี้ โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ บางนา กรมแพทย์ทหารเรือ ได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อฉีดวัคซีนรองรับการเปิดโรงเรียนในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึง ซึ่งในเบื้องต้นจะทำการฉีดวัคซีนระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ถึง วันที่ 28 ตุลาคม 2564 โดยนักเรียนที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ป้องกัน COVID – 19 ไฟเซอร์ (Pfizer) ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ ปวช ที่สมัครใจฉีดวัคซีน ทั้งหมด 885 คน

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 โรงเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษมสันต์บริหารธุรกิจ  246 ราย

วันที่ 26 ตุลาคม 2564 โรงเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษมสันต์บริหารธุรกิจ  246 ราย

วันที่ 27 ตุลาคม 2564 โรงเรียน ศุภกรณ์วิทยา 174 ราย

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 โรงเรียน อ้ามานะห์ศึกษาศาสน์  23 ราย และ โรงเรียน สรรพาวุธวิทยา 196 ราย

 

สธ. เปิดแผนซื้อ ‘ยาเม็ดต้านโควิด’ ยันเจรจาไฟเซอร์ ผู้ผลิต ‘แพกซ์โลวิด’ นานแล้ว

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ แถลงความคืบหน้าการนำเข้ายารักษาโรคโควิด-19 โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) และยาแพกซ์โลวิด (PAXLOVID) ว่า ตามธรรมชาติของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเข้าสร้างกายแล้วจะอาศัยเอนไซม์โปรตีเอส (protease) ในการเพิ่มจำนวน

ซึ่งยาแพกซ์โลวิดจะเข้ามายับยั้งการสร้างโปรตีนเอส ไม่ให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวได้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไวรัสเข้าไปในร่างกายและมีการเพิ่มจำนวนไวรัส จากนั้นจะเปลี่ยนสายพันธุ์กรรมจาก RNA มาเป็น DNA ซึ่งยาโมลนูพิราเวียร์ จะมายับยั้งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ โดยสรุปคือ ทั้ง 2 ตัว เป็นยาที่ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ครอบคลุมทุกสายพันธุ์

นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อมูลการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน กินยาขนาด 200 มิลลิกรัม (มก.) วันละ 2 เวลา นาน 5 วัน รวม 40 เม็ด พบว่าลดความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาล (รพ.) ร้อยละ 50 และไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนคนที่กินยาหลอก 377 คน พบว่าเสียชีวิต 8 ราย ส่วนผลการศึกษายาแพกซ์โลวิด ในกลุ่มตัวอย่าง 389 คน กินขนาด 150 มก. 2 คู่กับยาริโทนาเวียร์ ขนาด 100 มก. 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน รวมแล้วจะใช้ยาแพกซ์โลวิดทั้งหมด 20 เม็ด บวกกับยาริโทนาเวียร์ 10 เม็ดต่อคน พบว่าลดความเสี่ยงนอน รพ. และเสียชีวิตภายใน 28 วัน

“ทั้งนี้ หากกินยาดังกล่าวภายใน 3 วัน นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะมีประสิทธิภาพลดการนอน รพ. - เสียชีวิตร้อยละ 89 หากเริ่มกินในวันที่ 5 หลังมีอาการจะมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 85 แต่ทั้ง 2 ถือว่ามีเปอร์เซ็นต์สูง ย้ำว่ายาทั้ง 2 ชนิด ออกฤทธิคนละจุดกันจึงไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกันว่ายาตัวไหนดีกว่ากัน เนื่องจากเป็นการวิจัยคนละกลุ่มตัวอย่าง แต่ที่แตกต่างกันคือยาแพกซ์โลวิดจะต้องกินคู่กับยาริโทนาเวียร์ด้วย ขณะที่ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นยาที่ไปยับยั้งเชื้อไวรัสเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เป็นยาที่เจาะจงต่อเชื้อโควิด-19 โดยตรง” นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวและว่า

'ดร.อนันต์' ชี้ใช้ ‘ไฟเซอร์’ เป็นเข็มกระตุ้น ช่วยป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ดีมาก

16 พ.ย. 64 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เผยผลการศึกษาในอังกฤษ พบการใช้วัคซีนไฟเซอร์ เป็นเข็มกระตุ้น ป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลตาได้ดีมาก โดยระบุว่า

ข้อมูลจากการศึกษาใน UK บอกว่า การใช้ PZ เป็นเข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรที่ได้รับ PZ มาแล้ว 2 เข็ม หรือ AZ 2 เข็ม ประมาณ 5 เดือนหลังเข็ม 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับป้องกันการติดเชื้อเดลตาแบบมีอาการได้ดีมากทั้งคู่

‘อนุทิน’ แจงไทยจัดหาแพกซ์โลวิด-โมลนูพิราเวียร์ ใช้เป็นยาเสริมรักษาโควิด มั่นใจ ทำงานเพื่อประโยชน์ประชาชน ไม่มีช้า

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประเทศไทย ไม่อยู่ใน 95 ประเทศ ที่ได้รับการถ่ายทอดสูตรการผลิตยารักษาโรคโควิด-19 แพกซ์โลวิด (Paxlovid) จากบริษัท ไฟเซอร์ ว่า การที่จะจัดว่าประเทศไหนจะได้รับสิทธิบัตรการผลิตยา ทางบริษัทฯ มีเกณฑ์การตัดสินใจอยู่แล้ว เราทำอะไรไม่ได้ แต่ให้ความมั่นใจว่า สธ. มีแผนจัดเตรียมยา เวชภัณฑ์สำหรับการป้องกันดูแลรักษาโรคโควิด-19 มีการวางแผนสำรอง เช่น วัคซีนโควิด-19 ที่เราเตรียมไว้แล้ว ขณะที่ยาฟาวิพิราเวียร์ ที่เรามีอยู่ก็มีสรรพคุณดูแลรักษาผู้ติดเชื้อได้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาตั้งแต่เริ่มติดเชื้อแรก ๆ จะใช้เวลาการรักษาที่สั้นลง

“การที่เรามีแผนจัดหายาแพกซ์โลวิด หรือยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ก็เป็นการอะเลิร์ท (Alert) ต่อสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเอามาเป็นยาหลัก แต่เอามาเสริมความมั่นทางยา เตรียมความพร้อมเพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาเป็นทางเลือก แต่ไม่ได้หมายความว่ายาที่เรามีอยู่ใช้ไม่ได้ เพียงแต่ยา 2 ตัวนี้เป็นอีกแนวหนึ่ง” นายอนุทิน กล่าวและว่า ขณะนี้ยาแพกซ์โลวิด ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งผู้ผลิตกำลังยื่นขอขึ้นทะเบียนกับทางสหรัฐอเมริกาอยู่เช่นกัน

ครม. เคาะ จัดซื้อ "ไฟเซอร์" เพิ่ม 30 ล้านโดส เล็ง ส่งมอบไตรมาสแรกปี 65 

ที่ทำเนียบรัฐบาล  นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม.มีมติรับทราบการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับปี 2565 จาก บริษัท ไฟเซอร์ จำกัด (Pfizer) เพิ่มเติม จำนวน 30 ล้านโดส และเห็นชอบการลงนามในสัญญา Third Amendment to Manufacturing and Supply Agreement ระหว่างกรมควบคุมโรคและ บริษัท ไฟเซอร์ จำกัด โดยให้อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผู้มีอำนาจลงนามในสัญญาดังกล่าว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอ

นายธนกร กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมควบคุมโรคได้ดำเนินการเจรจาจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดย บจ.ไฟเซอร์ จะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มเติมจำนวน 30 ล้านโดส โดยมีกำหนดส่งมอบในไตรมาสที่ 1 – 3 ของปี 2565 ซึ่งครอบคลุมกรณีที่ บจ.ไฟเซอร์ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงวัคซีนในประเทศไทย (Adapted Product) จากวัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้เป็นวัคซีนที่มีการพัฒนาใหม่ เมื่อมีการพัฒนาสำเร็จ  เป็นวัคซีน Gen ใหม่ที่เป็นวัคซีนสำหรับเด็ก

‘ดร.อนันต์’ เผย ข้อมูลใหม่ ‘โอไมครอน’ พบหลบภูมิคุ้มกันจาก ‘ไฟเซอร์’ ได้ 41 เท่า

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า 

ผลการทดสอบไวรัสโอไมครอนตัวจริงกับซีรัมของผู้ที่รับวัคซีน Pfizer ครบ 2 เข็มทดสอบโดยทีมวิจัยจากแอฟริกาใต้ออกมาแล้วครับ เป็นไปตามคาด โอไมครอนหนีภูมิจาก PZ ได้ 41.4 เท่า หรือมากกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์หนีภูมิเก่งอย่างเบตาที่รู้จักกัน (ภูมิโดยเฉลี่ยจาก 1300+ ลดลงเหลือ 32…) ทีมวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ได้รับวัคซีนอย่างเดียว กับผู้เคยติดเชื้อและได้รับวัคซีนด้วย ภูมิแบบ hybrid immunity แบบหลังจะสูงกว่าชัดเจน และมีมากเพียงพอที่จะยับยั้งการติดเชื้อโอมิครอนได้แม้จะตกมากเช่นเดียวกัน (เส้นสีเขียว)

'หมอยง' มอบทนายแจ้งหมิ่นประมาท หญิงลงคลิป วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้

“หมอยง” มอบทนายแจ้งหมิ่นประมาท!! หญิงลงคลิป วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้ ลง TikTok

จากกรณีมีหญิงอายุ 27 ปี ได้โพสต์คลิป TikTok พูดเสนอความเห็นในลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาหรือให้ข้อมูลอันเป็นที่กล่าวหาใส่ร้าย ศ.นพ.ยง จำนวน 2 คลิป

ล่าสุด “ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ” หรือ “หมอยง” ผู้เสียหาย ได้ตรวจสอบพบว่าคลิปที่โพสต์ใน TikTok พูดเสนอความเห็นในลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาหรือให้ข้อมูลอันเป็นที่กล่าวหาใส่ร้าย ศ.นพ.ยง จำนวน 2 คลิป จึงได้มอบอำนาจให้ นายพยง โชคชัยเสรี มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดี

>> โดยคลิปที่ 1 เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 หลังจากที่มีการนำเสนอข่าว นพ.ยง รับอาสาสมัครฉีดไฟเซอร์-โมเดอร์นา เข็ม 3 แบบครึ่งโดสและเต็มโดส โดยหญิงวัย 27 ปี ได้โพสต์คลิปลง TikTok และวิพากษ์วิจารณ์ถึงสูตรใหม่ดังกล่าว ว่าคนใกล้ตัวเพิ่งเสียชีวิตจากวัคซีนสูตรไขว้ที่ ศ.นพ.ยง เป็นคนคิด พร้อมทั้งระบุว่าให้หยุดคิดวัคซีนสูตรไขว้ เนื่องจากได้รางวัลเยอะแล้ว

อย. อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ ในกลุ่มเด็ก 5 - 11 ปี ปรับลดขนาดเหลือ 1 ใน 3 ของเด็ก 12 ปีขึ้นไป

20 ธ.ค. 64 นายแพทย์ไพศาล ลั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า วันนี้ (20 ธันวาคม 2564) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติการขยายขอบเขตข้อบ่งใช้ของวัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) ของบริษัท ไฟเซอร์ จำกัด สำหรับกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 เป็นที่เรียบร้อย 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top