Sunday, 12 May 2024
ไฟเซอร์

สหรัฐฯ อนุมัติ 'ยาเม็ดต้านโควิด' ของไฟเซอร์ สำหรับกลุ่มเสี่ยงอายุ 12 ปีขึ้นไป ใช้รักษาที่บ้านได้

สหรัฐฯ อนุมัติยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดของไฟเซอร์ สำหรับบุคคลกลุ่มเสี่ยงอายุ 12 ปีขึ้นไป ทำให้ยาสูตรนี้เป็นยาต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ใช้รับประทานและใช้รักษาอาการที่บ้านได้สูตรแรก 

แพกซ์โลวิด (Paxlovid) ยาเม็ดต้านไวรัสของไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพเกือบ 90% ในการป้องกันคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงจากการติดเชื้ออาการรุนแรงถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต ตามข้อมูลการทดลองทางคลินิกของบริษัท ขณะที่ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเมื่อเร็วๆ นี้ บ่งชี้ว่ายาตัวนี้ยังคงประสิทธิภาพในการป้องกันตัวกลายพันธุ์โอมิครอนด้วยเช่นกัน

ไฟเซอร์ปรับเพิ่มประมาณการกำลังผลิตปี 2022 เป็น 120 ล้านคอร์สรักษา จากเดิม 80 ล้านคอร์ส และบอกว่าทางบริษัทพร้อมส่งมอบในสหรัฐฯ ในทันที โดยยาชุดนี้ของไฟเซอร์ประกอบด้วยยาสองตัว คือยาสูตรใหม่และยาสูตรเดิมคือริโทนาเวียร์ (ritonavir)

อเมช อดัลจา นักวิชาการอาวุโสของสถาบันความมั่นคงทางสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อปกินส์ ระบุว่า การอนุมัติยาแพกซ์โลวิดเป็นก้าวย่างสำคัญในการรับมือโรคโควิด-19 ได้ดีขึ้น "อย่างไรก็ตาม ยาสูตรนี้มี 2 ประเด็นสำคัญที่ยังค้างคาอยู่ นั่นก็คือมันอาจขาดแคลนในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และผู้ป่วยควรได้รับการรักษาทันทีที่ได้รับการวินิจฉัย ซึ่งมันเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเรายังเผชิญความท้าทายในการตรวจหาเชื้อไวรัสอย่างทั่วถึงอยู่"

ไฟเซอร์ระบุว่า ทางบริษัทมีคอร์สรักษา 180,000 คอร์สที่พร้อมส่งมอบในปีนี้ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำสัญญาสั่งซื้อยานี้จำนวน 10 ล้านคอร์ส ในราคา 530 ดอลลาร์ต่อคอร์ส (ประมาณ 17,900บาท)

การตัดสินใจอนุมัติใช้รักษาในกรณีฉุกเฉินของสำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ ในครั้งนี้ มีขึ้นในขณะที่อเมริกากำลังต่อสู้กับเคสผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นอย่างมาก โดยมีตัวกลายพันธุ์โอมิครอนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ กระตุ้นให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องประกาศมาตรการใหม่ในการต่อสู้การระบาดระลอกใหม่ ซึ่งรวมถึงการจัดส่งชุดตรวจให้ประชาชน 500 ล้านครัวเรือนฟรีตั้งแต่เดือนมกราคม ส่งแพทย์และพยาบาล 1,000 คนของกองทัพไปช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลบางพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโควิดจำนวนมาก จัดส่งสิ่งของจำเป็นให้รัฐที่มีการระบาดรุนแรง เพิ่มศูนย์ตรวจโควิดฟรีและศูนย์ฉีดวัคซีน

"ยาเม็ดนี้ช่วยเติมเต็มช่องว่างการรักษาที่ถูกเปิดแผลโดยตัวกลายพันธุ์โอมิครอน" วิลเลียม ชาฟฟ์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อชั้นนำแห่งโรงเรียนการแพทย์แวนเดอร์บิลต์กล่าว ที่ผ่านมาวิธีการรักษาโควิด-19 ที่ใช้ในวงกว้างที่สุดคือการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนตีบอดี แต่มันพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพน้อยในการต่อสู้กับตัวกลายพันธุ์และมีอุปทานค่อนข้างจำกัด

ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน ถูกพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้และฮ่องกงในเดือนพฤศจิกายน ก่อนแผ่ลามไปทั่วโลกและตอนนี้มันมีสัดส่วนคิดเป็น 70% ของเคสผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งหมดในสหรัฐฯ จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) ในผลการศึกษาต่างๆพบว่าการเคยติดเชื้อมาแล้วและการฉีดวัคซีนช่วยป้องกันโอมิครอนได้เพียงบางส่วน แต่เข็มกระตุ้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน

'วัคซีนเด็กไฟเซอร์' ถึงไทย 26 มค.นี้ เริ่มเข็มแรก ให้เด็ก 5-11 ปี 31 มค. ที่รพ.เด็ก

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เผยในช่วงเช้าวันเดียวกันนี้นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. ชุดใหญ่ เพื่อพิจารณาผ่อนคลายมาตรการ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศมีแนวทรงตัว ถึงแม้จะพบกลุ่มจังหวัดนำร่องติดเชื้อสูง   เมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยลดลง และจะมีการหารือผ่อนคลายมาตรการบางพื้นที่ บางกิจการกิจกรรม และมาตรการเข้าออกประเทศ Test & Go ของนักท่องเที่ยวอีกด้วย "นายกรัฐมนตรีห่วงคลัสเตอร์หลังปีใหม่ร้านอาหาร สถานบันเทิง ผับ บาร์ ที่กรมสอบสวนโรคลงพื้นที่ตรวจสอบสถานบันเทิงที่ไม่ผ่านการประเมิน และเปิดเกินเวลากฎหมายที่กำหนด  จนทำให้พบกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นข้อมูลนำเข้าที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ขอย้ำนักท่องเที่ยวยามราตรีและผู้ประกอบการสถานบันเทิงต่าง ๆ ปฏิบัติตามมาตรการกำหนดไว้ หากอยากให้การท่องเที่ยวกลับมาทุกคนต้องร่วมมือ ร่วมใจกัน หากมีการกระทำที่ผิดกฎหมายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องเข้าไปจับกุมและดำเนินการอยู่แล้ว รัฐบาลพยายามหามาตรการที่มีทางออกที่ดีที่สุด ขอให้ทุกคนอดทน เพราะทุกมาตรการที่ออกมาเพื่อความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก 

‘ไฟเซอร์’ ยอมรับ วัคซีนโควิดเข็ม 4 มีความจำเป็น หลังพบเข็ม 3 ประสิทธิภาพลด เมื่อเผชิญเชื้อกลายพันธุ์

เพื่อขจัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อีกระลอก ประชาชนจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 จากความเห็นของอัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ ที่ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีบีเอสของสหรัฐฯ เมื่อวันอาทิตย์ (13 มี.ค.)

"ตัวกลายพันธุ์มากมายกำลังมา และโอมิครอนเป็นตัวแรกที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่วัคซีนของเรามอบให้ ในแนวทางที่เฉลียวฉลาด" บูร์ลากล่าวกับรายการ "Face the Nation" ของซีบีเอส

"การปกป้องที่เราได้รับจากวัคซีนเข็ม 3 ดีเพียงพอ ดีมากในแง่ของการป้องกันติดเชื้อถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิต" บูร์ลากล่าว แต่ประสิทธิภาพการป้องกันหลังจากฉีดเข็ม 3 "ไม่ดีพอในการป้องกันการติดเชื้อและอยู่ได้ไม่นานนักยามต้องเผชิญกับตัวกลายพันธุ์หนึ่งๆ อย่างเช่นโอมิครอน มันมีความจำเป็นเข็มที่ 4 สำหรับตอนนี้"

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) ปัจจุบัน ทุกคนที่อายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ของไฟเซอร์มาอย่างน้อยๆ 5 เดือน ควรเข้ารับเข็ม 3 ส่วนบุคคลที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ฉีดวัคซีนโมเดอร์นาครบ 2 เข็ม ควรเข้ารับเข็มกระตุ้นราว 6 เดือนหลังจากฉีดเข็ม 2 ขณะที่บุคคลที่ฉีดวัคซีนเข็มเดียวของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ควรเข้ารับเข็มกระตุ้น หลังผ่านไป 2 เดือน

นอกจากนี้ ข้อมูลของซีดีซีพบว่าบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเล็กน้อยหรือรุนแรง ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทค หรือโมเดอร์นา ไปแล้ว 3 เข็ม ได้รับอนุญาตให้เข้ารับวัคซีนเข็ม 4 ได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าสำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) จะอนุมัติฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 4 สำหรับเยาวชนและประชากรวัยผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรงหรือไม่และเมื่อไหร่ "เราเพิ่งยื่นข้อมูลเหล่านั้นแก่เอฟดีเอ และจากนั้นเราจะรอดูว่าพวกผู้เชี่ยวชาญวงนอกไฟเซอร์จะตัดสินใจอย่างไร" บูร์ลาบอกกับซีบีเอส

ปัจจุบัน เด็กอายุ 5 ถึง 11 ขวบมีสิทธิเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ ในปริมาณสำหรับเด็ก จำนวน 2 เข็ม แต่ยังไม่มีสิทธิเข้ารับเข็มกระตุ้น และเวลานี้ไฟเซอร์กำลังอยู่ระหว่างทดสอบเข็ม 3 กับกลุ่มอายุดังกล่าว

ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ยังไม่มีสิทธิฉีดวัคซีนโควิด-19 แต่ บูร์ลา บอกว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้

ข้อมูลการทดลองในเบื้องต้น ในกลุ่มเด็กอายุ 2 ถึง 5 ขวบ แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีน 2 เข็ม ในปริมาณที่ลดลง วัคซีนขนาดเด็กไม่สามารถมอบภูมิคุ้มกันได้ตามความคาดหมายในเด็กอายุ 2 ถึง 5 ขวบ แม้มันจะมอบประสิทธิภาพการป้องกันได้ตามความคาดหมายกับเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบก็ตาม

‘ฝรั่งเศส’ ส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์แก่ไทย 3.2 ล้านโดส พร้อมข่าวดี สานต่อความสัมพันธ์ทวิภาคี ‘ไทย-ฝรั่งเศส’

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของไฟเซอร์ (Pfizer) จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมีนายตีแยรี มาตู (H.E. Mr. Thierry Mathou) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส 

นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณรัฐบาลฝรั่งเศสสำหรับการสนับสนุนวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 3,268,620 โดส แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. วัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 400,140 โดส และอุปกรณ์การฉีด และ 2. วัคซีนไฟเซอร์ ชนิด Ready to Use (RTU) จำนวน 2,868,480 โดส ทั้งนี้ ไทย-ฝรั่งเศสมีความใกล้ชิดมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมยินดีที่ได้ร่วมมือกันในทุกมิติ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข เพื่อร่วมกันก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไทยจะใช้ประโยชน์จากวัคซีนที่ได้รับ ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และจะสนับสนุนการบริจาควัคซีนให้แก่ประเทศต่างๆ เช่นกัน เพื่อให้ทุกประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ โดยไทยได้บริจาควัคซีน แอสตราเซนเนกา (AstraZeneca) ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ และภูมิภาคแอฟริกา

'CEO ไฟเซอร์' ติดเชื้อโควิด-19 รอบที่ 2 หลังฉีดวัคซีน Pfizer-BioNtech แล้ว 4 เข็ม

นายอัลเบิร์ต บัวร์ลา ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทไฟเซอร์ บริษัทยายักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ว่า เขาติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเคยติดเชื้อโควิด-19 ครั้งแรกไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในขณะที่นายบัวร์ลา ได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของ Pfizer-BioNtech มาแล้ว 4 เข็ม 

"ผมรู้สึกสบายดี และไม่มีอาการป่วย" นายบัวร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ ระบุในแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ (24 ก.ย. 65) ถึงอาการป่วยของเขาเองที่ติดเชื้อโควิด-19 เป็นครั้งที่ 2 

นายบัวร์ลา แจ้งด้วยว่า เขายังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดไบวาเลนต์ ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อหวังสู้กับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.5 และ BA.4 ซึ่งขณะนี้เป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในสหรัฐฯ โดยครองสัดส่วนอยู่ที่ 84.8% และ 1.8%

‘สื่อจีน’ ตีข่าว ประเด็นไฟเซอร์ทดลองกลายพันธุ์โควิด หวังกอบโกยเงิน จากการขายวัคซีนต้านไวรัส

สื่อมวลชนจีนออกมาชี้ว่าไฟเซอร์เสี่ยงเผชิญหายนะด้านประชาสัมพันธ์ ด้วยผู้ชมจำนวนมากอาจเชื่อว่าไฟเซอร์กำลังสร้างโควิดตัวกลายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาเพื่อโกยเงินจากการขายยาและวัคซีน หลังกลุ่มเคลื่อนไหวไม่แสวงหาผลกำไร Project Veritas เผยแพร่วิดีโออื้อฉาว เป็นภาพที่อ้างว่าผู้บริหารของไฟเซอร์ ยอมรับกำลังทำเช่นนั้นจริง แม้ผู้ผลิตยาสัญชาติสหรัฐฯ แห่งนี้ออกมาชี้แจงในวันศุกร์ (27 ม.ค.) ไม่ได้ทำการวิจัยแบบ gain-of-function หรือ directed evolution สำหรับกลายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ตามคำกล่าวหาดังกล่าว

รายงานข่าวของสำนักข่าว CGTN สื่อมวลชนจีน ระบุว่าในวิดีโอความยาวเกือบ 10 นาที ส่วนใหญ่เป็นภาพบุคคลรายหนึ่งกำลังพูดเกี่ยวกับปฏิบัติการภายในของไฟเซอร์ ซึ่งในนั้นรวมถึงการวิจัยไวรัสนี้ผ่านเทคนิค directed evolution เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ

บุคคลรายนี้บอกด้วยว่าโควิด-19 คือตัวทำเงินของทางบริษัท พร้อมเปิดเผยว่าทางไฟเซอร์ กำลังพยายามกลายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยเป็นการจงใจทำให้เชื้อกลายพันธุ์ด้วยฝีมือนักวิจัย ไม่ใช่การกลายพันธุ์เองโดยธรรมชาติเหมือนที่ผ่าน ๆ มา

เขายังบอกกับคนที่คุยด้วยอีกว่า "คุณต้องสัญญาว่าคุณจะไม่บอกคนอื่น ๆ" วิดีโอนี้ดึงดูดผู้ชมบนทวิตเตอร์แล้วมากกว่า 23 ล้านวิว

Project Veritas อ้างว่าบุคคลดังกล่าวคือนายจอร์ดอน ทริชตัน วอล์คเกอร์ ผู้อำนวยการของไฟเซอร์ ด้านวิจัยและพัฒนา

ในเรื่องนี้ CGTN ยังไม่สามารถยืนยันตัวตนบุคคลดังกล่าวได้ แต่ระบุว่าในส่วนของไฟเซอร์เองก็ไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธว่า วอล์คเกอร์ เป็นพนักงานของบริษัทหรือไม่ และในถ้อยแถลงชี้แจงของทางไฟเซอร์ก็ไม่ได้พาดพิงถึงคลิปวิดีโอดังกล่าวแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เจมส์ โอคีเฟ หัวหน้ากลุ่ม Project Veritas โพสต์วิดีโอและภาพบันทึกหน้าจอในสิ่งที่เขาอ้างว่า "เป็นเอกสารภายในของไฟเซอร์" แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของวอล์คเกอร์ ในบริษัทแห่งนี้ ตามรายงานของ CGTN

สำนักข่าว CGTN รายงานต่อว่า ทาง Project Veritas ได้โพสต์อีกคลิปหนึ่งลงบนยูทูบ เป็นภาพของบุคคลเดียวกันกำลังคว้าแล็ปท็อปไปจาก โอคีเฟ และเขวี้ยงมันลงกับพื้นด้วยความไม่พอใจ หลังจาก โอคีเฟ เปิดคลิปที่ทั้ง 2 พูดคุยกันให้เขาดู

เสียงในวิดีโอได้ยินบุคคลรายดังกล่าวพูดว่า "คุณไม่ควรบันทึกคลิปคนอื่นแบบนี้" และบอกกับ โอคีเฟ ด้วยว่า "เขาพูดโกหก" ในวิดีโอที่ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อหวังสร้างความประทับใจแก่อีกฝ่าย

ไทย รับมอบวัคซีนโควิดรุ่นใหม่จากเกาหลีใต้กว่า 5 แสนโดส เตรียมฉีดเป็นเข็มกระตุ้น จนท.ด่านหน้า ปลาย ก.พ.นี้

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบวัคซีนไฟเซอร์ bivalent จำนวน 501,120 โดส จากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสครบรอบ 65 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เกาหลี เตรียมจัดสรรให้ทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร สิ้นเดือน ก.พ. นี้ ใช้ฉีดเป็นเข็มกระตุ้นในเจ้าหน้าที่ด่านหน้า อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่ม 608  ที่เสี่ยงเกิดอาการป่วยรุนแรง

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข รับมอบวัคซีนโควิด 19 รุ่นใหม่ ไฟเซอร์ bivalent จำนวน 501,120 โดส จากรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลี 

โดยมี นาย มุน ซึงฮยอน (Moon Seoung-hyun) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย นาย จอน โจยอง (Jeon Joyoung) อัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย และคณะ เป็นผู้แทนส่งมอบ นายอนุทิน กล่าวว่า ในนามรัฐบาลไทย และกระทรวงสาธารณสุข ขอขอบคุณรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีที่มีความปรารถนาดีให้กับประเทศไทยเสมอมา รวมทั้งความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการแก้ไขสถานการณ์โรคโควิด 19

โดยสาธารณรัฐเกาหลีเคยสนับสนุนวัคซีนแอสตราเซนเนก้าให้กับไทยเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2564 จำนวน 470,000 โดส ช่วยลดการป่วยหนักและเสียชีวิตให้กับคนไทยและคนเกาหลีที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี สำหรับวัคซีนที่สนับสนุนเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ เป็นวัคซีนรุ่นใหม่ของไฟเซอร์ ชนิด bivalent ซึ่งจะเป็นล็อตแรกของประเทศไทยที่จะนำมาใช้สร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเสี่ยงและประชาชน

ผลวิจัยล่าสุดระบุ!! ฉีดวัคซีน mRNA 'ไฟเซอร์-โมเดอร์นา' เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

(20 ก.พ.67) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Warat Gap' ระบุว่า...

การวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับผลของวัคซีนโควิด ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างถึง 99 ล้านคน มากที่สุดเท่าที่เคยทำมา ยืนยันว่า คนที่ฉีดวัคซีน mRNA (ไฟเซอร์-โมเดอร์นา) เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และคนฉีดวัคซีน Viral Vector (Astra Zeneca) เพิ่มความเสี่ยงการเกิดเส้นเลือดสมองตีบ

โดยกลุ่มผู้รับวัคซีนที่เกิดอาการมากที่สุด คือกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนโมเดิร์นน่า 2 เข็ม รองลงมาคือคนฉีดวัคซีนโมเดิร์นน่า 1 เข็ม และ 4 เข็ม 

...วัคซีนเทพอ่ะนะ คนที่เรียกร้อง ด่าทอรัฐบาลตอนนั้น ไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นอะไรหน่อยเหรอครับ 

https://www.msn.com/en-us/money/other/largest-covid-vaccine-study-yet-finds-links-to-health-conditions/ar-BB1iuvvi 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top