Monday, 29 April 2024
โลจิสติกส์

“อลงกรณ์” มอบ “กรกอ.” ภาคเหนือเดินหน้ากลยุทธ์โลจิสติกส์ใหม่ ใช้ด่านรถไฟโมฮ่าน - โลว์คอสต์แอร์คาร์โก้ “เชื่อมเหนือ-เชื่อมโลก” เปิดตลาดจีนทุกมณฑล – เอเชียกลาง - ยุโรปภายในสิ้นปีนี้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)เปิดเผยวันนี้(21ต.ค.)หลังจากเข้าร่วมการประชุมทางไกลพร้อมมอบนโยบายให้แก่คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือ(กรกอ.ภาคเหนือ)ซึ่งมีนายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือเป็นประธาน

โดยมีคณะกรรมการทั้งภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการศูนย์ AIC ละภาคเกษตรกรเช่นดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายพิศณุ ไชยนิเวศน์ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ นายสุพจน์ ป้อมชัย ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-2-12 และหน่วยงานกระทรวงเกษตร ในพื้นที่ภาคเหนือ ร่วมประชุมกว่า 50 คน เพื่อบูรณาการทำงานเชิงรุกขับเคลื่อนโครงการสำคัญ ๆ ได้แก่

1.โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ทั้งเฟส 1 และเฟส 2 ปี 2564-2566 ในสินค้าเป้าหมาย 15 ชนิด: ปาล์มน้ำมัน และยางพารา อ้อยโรงงาน ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างระบบเกษตรแปลงใหญ่(Big Farm)ที่กระทรวงเกษตรฯสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่ม และบริหารจัดการแผนการผลิตและจำหน่ายจับคู่กับบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่(Big Brothers)ตามความต้องการของอุตสาหกรรมทั้งด้านปริมาณ คุณภาพและช่วงเวลาการรับซื้อ พร้อมพัฒนากระบวนการจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ

2.โครงการ1กลุ่มจังหวัด 1นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร

3.โครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 (พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก) เช่นโครงการศูนย์พัฒนาผลไม้สดเพื่อการส่งออก ประกอบด้วยโครงการโรงอบไอน้ำและคัดบรรจุมะม่วง 2.โครงการโรงงานแปรรูปแช่แข็งบรรจุมะม่วง วงเงินงบประมาณ 150 ล้าน

4.โครงการพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ (Northern Thailand Food Valley : NTFV)ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย

5.การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือตามแนวคิดใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 13 ว่าด้วยทิศทางการพัฒนาภาคเหนือ ปี 2566 - 2570 ซึ่งเน้น“เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สานสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ สุขภาวะดี วิถีชีวิตยั่งยืน” บนทิศทางการพัฒนาบน “4C” ได้แก่

1.Creative : พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง

2.Connect : สร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศ และอนุภูมิภาค

3. Clean : พัฒนาตามแนววิถีใหม่ (New Normal) บนฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานสะอาด

4.Care : ที่ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในอาเซียนยุทธศาสตร์

ชลบุรี - ‘ผอ.เจ้าท่าพัทยา’ เผยโครงการเดินเรือเฟอร์รี่ชลบุรี-สงขลา กระแสตอบรับดี!! เสริมระบบโลจิสติกส์การขนส่งท่องเที่ยวทางทะเล

นายเอกราช คันธโร ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาพัทยา เปิดเผยถึงโครงการเดินเรือเฟอร์รี่ระหว่างจ.ชลบุรี-จ.สงขลา ว่า กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่าได้มีการผลักดันในส่วนของการเดินเรือคอสอ่าวไทย จากท่าต้นทางท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ (ท่าเรือจุกเสม็ด) ไป ท่าเรือเซ้าท์เธิร์น โลจิสติกส์ 2009 จ.สงขลา โดยเรือเฟอร์รี่ ซีฮอร์ส นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เดิมชื่อ Blue Dolphin มีขนาด 7,003 ตันกรอสส์  ความยาว 136.6 เมตร รองรับรถบรรทุกได้ประมาณ 80 คัน รถยนต์ส่วนตัว 20 คัน ผู้โดยสารประมาณ 586 คน ด้วยความเร็ว 17 น๊อต ใช้เวลาเดินทาง 18-20 ชม. เร็วกว่าทางบกที่ระยะทาง 1,130 กม. ช่วยร่นระยะทาง 519 กม. ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในภาพรวมการขนส่งภายในประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ อีกทั้งเพื่อลดปัญหา ความแออัดของการจราจร ลดการเกิดอุบัติเหตุท้องถนน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

ซึ่งในส่วนพื้นที่ทางทะเลนั้นกรมเจ้าท่ามีความพร้อมในการควบคุมการจราจร ความปลอดภัยในการเดินเรือในเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง อีกทั้งทางเทียบเรือต้นทางที่สัตหีบก็มีความพร้อมในการนำเรือเข้าเทียบท่าได้อย่างปลอดภัย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่มีการเปิดให้บริการที่ผ่านมาบริษัทที่รับผิดชอบในการบริการเรือเฟอร์รี่ ซีฮอร์ส เส้นทางชลบุรี (สัตหีบ) - สงขลา พบว่าได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการ ประชาชนที่มีการเดินทางมาท่องเที่ยวจากสงขลาและพัทยามีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่มีผู้มาใช้บริการแบบเต็มลำเรือที่สามารถให้บริการได้ แต่แนวโน้มในภาพรวมเป็นไปในทางที่ดีขึ้นอีกทั้งยอดของจำนวนรถที่เดินทางมาจากสงขลามาพัทยาก็มีจำนวนมากขึ้นจาก 10 คัน เพิ่มาเป็น 20 คัน และเพิ่มมาถึง 30 คัน ซึ่งเป็นรถบรรทุกเทเลอร์ขนาดใหญ่

 

เปิดกลยุทธ์ WICE ขนส่งข้ามแดนแบบครบวงจร ตั้งเป้า!! ขอเป็นโลจิสติกส์ชั้นนำแห่งเอเชียใน 3 ปี

(19 พ.ย. 65) นายชูเดช คงสุนทร กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ WICE ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศแบบครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทมีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำบริการโลจิกติกส์ครบวงจรที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียภายในปี 2568

ทั้งนี้ บริษัทมีแผนระยะกลาง (ปี 2566-2568) มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันมากขึ้นระหว่างบริษัทย่อยทั้งหมด 9 แห่ง เพื่อขยายตลาดให้กับบริษัทในเครือ รองรับปริมาณความต้องการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น อาทิ ประเทศจีน และ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีศักยภาพการเติบโตเป็นอย่างมากทั้งการขนส่งทางทะเลและทางอากาศ โดยมีแผนการขยายสำนักงานและบุคลากร อีกทั้งจุดเด่นของบริษัทในการใช้กลยุทธ์เข้าถึงลูกค้าในพื้นที่ด้วยการบริหารการขนส่ง และบริการหลากหลาย อาทิ การให้บริการส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (Reefer Container) การขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้ (LTL : Less-Than-Truckload)

นอกจากนี้ บริษัทมีแผนความร่วมมือกับพันธมิตร ที่จะเปิดสาขาใหม่ไปยังประเทศในทวีปเอเชียที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาทิ ประเทศเวียดนาม ซึ่งการร่วมมือกันในครั้งนี้ นอกจากเป็นการขนส่งสินค้าและการขยายเส้นทางครอบคลุมทั่วภูมิภาคแล้ว ยังมีผลดีด้านการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรให้กับบริษัทอีกด้วย

ขณะที่แผนการเพิ่มบริการขนส่งสินค้าไปยังประเทศกลุ่มลูกค้าหลักประเทศสหรัฐฯ ท่ามกลางปัญหาด้านค่าระวางเรือที่ปรับตัวลดลง แต่บริษัทมีการบริหารต้นทุนค่าขนสงร่วมกับบริษัทในเครือเพื่อรักษาอัตรากำไร อีกทั้งปริมาณการขนส่งยังคงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน คาดว่เมื่อค่าระวางเรือกลับมาอยู่ในระดับปกติ จะส่งผลปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากสินค้าประเภทกลุ่มชิ้นสวนยานยนต์, กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน บริษัทมีแผนการเพิ่มสัดส่วนการขนสงของสินค้าประเภทอาหารมากขึ้น

เติบโตต่อเนื่อง!! ‘บิ๊กตู่’ สั่ง เสริมศักยภาพ ‘อินทราโลจิสติกส์’ ไทย หวังมุ่งสู่มาตรฐานสากล-ศูนย์กลางอาเซียน

(25 ก.พ. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งยกระดับและส่งเสริมศักยภาพการจัดการคลังสินค้าไทยสู่มาตรฐานระดับสากล หลังแนวโน้มของอุตสาหกรรมระบบการจัดการคลังสินค้าภายในองค์กร หรือ ‘อินทราโลจิสติกส์’ (Intralogistics) ในปี 2566 คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 10-15%

จากข้อมูลโดยสมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทย การเติบโตของระบบการจัดการคลังสินค้าภายในองค์กร (อินทราโลจิสติกส์) ซึ่งในปี 2565 มีมูลค่าถึง 6,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตจากปี 2564 ประมาณ 5-8% พร้อมมองว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2566 ที่เริ่มฟื้นตัว และโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความคืบหน้าเพิ่มเติมจากการที่รัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วน จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทย กับต่างประเทศมากขึ้น และเชื่อว่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอินทราโลจิสติกส์ขยายตัวได้ดีถึง 10-15% เทียบเท่าก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19

สมาคมการจัดการระบบคลังสินค้าไทยยังเตรียมจัดงาน LogiMAT | Intelligent Warehouse 2023 ระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2566 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อแสดงสินค้าชั้นนำที่เกี่ยวกับนวัตกรรมในการวางระบบคลังสินค้า และนำเสนอเทคโนโลยีการจัดการคลังสินค้าในอนาคต โดยจะเป็นงานที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการ ผู้มีศักยภาพด้านการลงทุน และผู้มีส่วนตัดสินใจขับเคลื่อนองค์กร จากทั้งไทยและนานาชาติมากกว่า 100 แบรนด์/บริษัท สามารถดึงดูดนักลงทุนด้านโลจิสติกส์และผู้ที่สนใจได้มากกว่า 6 พันคน ซึ่งจะทำให้มีเงินสะพัดในงานรวมกว่า 1,000 ล้านบาท

“นายกรัฐมนตรียินดีที่อุตสาหกรรมคลังสินค้าอัจฉริยะ หรือ อินทราโลจิสติกส์ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2566 ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์มาโดยตลอด พร้อมยินดีร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับการจัดการคลังสินค้าไทยสู่มาตรฐานระดับสากล เพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการไทย รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต” นายอนุชา กล่าว

‘จีน’ เผย ‘รถไฟการค้าทางบก-ทะเล’ วิ่งครบ 25,000 ขบวนครอบคลุม 61 เมือง ใน 17 ภูมิภาค ยกระดับการขนส่งสินค้า

เมื่อวานนี้ (25 มี.ค. 66) สำนักข่าวซินหัว, หนานหนิง รายงานว่า รถไฟสินค้าเพื่อการขนส่งทางราง-ทะเล ซึ่งวิ่งตามแนวระเบียงการค้าทางบก-ทะเลระหว่างประเทศใหม่ ได้ให้บริการครบ 25,000 ขบวนแล้ว

รถไฟสินค้าเพื่อการขนส่งทางราง-ทะเลขบวนที่ 25,000 บรรทุกสินค้านำเข้า 74 ตู้คอนเทนเนอร์ เดินทางออกจากสถานีท่าเรือชินโจว ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน เมื่อวันพฤหัสบดี (23 มี.ค.) และมีกำหนดเดินทางถึงสถานีเฉิงเซียงในนครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ ภายใน 2-3 วัน

จำนวนเที่ยวรถไฟสินค้าเพื่อการขนส่งทางราง-ทะเลของระเบียงการค้าทางบก-ทะเลระหว่างประเทศใหม่ เพิ่มขึ้นจาก 178 ขบวน ในปี 2017 เป็น 8,820 ขบวน ในปี 2022 อันเป็นผลมาจากการค้าที่เฟื่องฟู

‘เพื่อไทย’ ชูนโยบาย ‘คมนาคมไทย’

‘เพื่อไทย’ ชูนโยบาย ‘คมนาคมไทย’ ปรับราคาค่าโดยสารให้ถูกลง ยกระดับการเดินทางให้รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย เพื่ออำนวยสะดวกสบายแก่ประชาชนทุกคน พร้อมผลักดันทันที หากได้เป็นรัฐบาล โดยมีนโยบาย ดังนี้

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
ยกระดับคมนาคมในต่างจังหวัด
ยกระดับรถไฟโดยสารทั่วประเทศ
ยกระดับการขนส่งโลจิสติกส์สินค้า
ยกระดับสนามบินสุวรรณภูมิให้ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

‘จีน’ แรงไม่ตก!! ครองอันดับ 1 ‘ตลาดโลจิสติกส์โลก’ 7 ปีซ้อน ฟันมูลค่ารายได้ปี 65 แตะ 61 ล้านล้านบาท เติบโต 4.7%

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 66 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สหพันธ์โลจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีน รายงานว่าตลาดโลจิสติกส์ของจีนครองอันดับหนึ่งของโลกในแง่ขนาดติดต่อกันเป็นปีที่ 7 เมื่อนับถึงปี 2022

รายงานระบุว่าโลจิสติกส์ทางสังคมของจีนโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ 347.6 ล้านล้านหยวน (ราว 1,696.28 ล้านล้านบาท) ในปี 2022

รายได้รวมของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปี 2022 อยู่ที่ 12.7 ล้านล้านหยวน (ราว 61.97 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากปีก่อนหน้า

สำหรับเหตุผลที่จีนเป็นผู้นำของโลกในด้านโลจิสติกส์ ส่วนสำคัญมาจากความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของจีน ทึ่ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตและประสบความสำเร็จอย่างมาก รวมถึงการขนส่งพัสดุในจีนประมาณ 70% เน้นจัดส่งในวันเดียวกัน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่ชอบรอนาน หรือสั่งซื้ออาหารสดที่เน่าเสียได้ ในกลุ่มอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง และสินค้าอื่นๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ผ่านมายักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของจีนอย่าง Alibaba และ JD.com เป็นสองโมเดลธุรกิจที่สร้างโซลูชันการจัดส่งของตนเองที่มีประสิทธิภาพสูงเทียบเคียงได้กับบริษัทจัดส่งชั้นนำอย่าง Amazon ในสหรัฐอเมริกากันเลยทีเดียว

ขณะที่แรงหนุนที่ส่งให้จีนขึ้นชื่อเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์ของโลก นั่นเพราะการมี 5G หนุนกระบวนการสั่งซื้อได้รวดเร็ว / การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้าง / แผนกลยุทธ์การจัดการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศทั้งในหัวเมืองใหญ่และชนบท

All Now เปลี่ยนใช้รถบรรทุกไฟฟ้า กระจายสินค้าเข้า 7-Eleven  เล็งเพิ่มจำนวนรถให้บริการเป็น 100 คัน ภายในสิ้นปี 2567

(26 ก.ค. 66) นายธเนศ พิริย์โยธินกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ออลล์ นาว (ALL NOW) เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท ออลล์นาว เป็นกลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินธุรกิจบริหารจัดการโลจิสติกส์ครบวงจรโดยมีโมเดลธุรกิจเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้าแบบครบวงจรให้แก่ธุรกิจทั้งในและนอกเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีผนึกกำลังกับซีพี ออลล์ ในการเป็นพันธมิตรด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าทั้งแบบ off-line และ on-line จากศูนย์กระจายสินค้าไปสู่ร้าน 7-Eleven กว่า 10,000 จุดทั่วประเทศ และเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจแบบยั่งยืน จึงได้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำโลจิสติกส์ด้านส่งเสริมการลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยประกาศดำเนินโครงการ EV Vision ด้วยการใช้รถบรรทุก 4 ล้อไฟฟ้าขนาดใหญ่ในการขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังร้านสาขา 7-Eleven โดยรถบรรทุกไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ระยะทาง 200 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้งนอกจากนี้ ตัวรถยังมีขนาดตู้บรรจุสินค้าที่สามารถบรรจุได้มากถึง 16 คิวบ์

“ธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาจากเชื้อเพลิงที่ใช้กับยานยนต์ได้ จากความตั้งใจอย่างจริงจังของกลุ่มบริษัท ออลล์ นาว ที่ต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของการลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้า แทนการใช้พลังงานน้ำมัน โดยมุ่งหวังลดปริมาณการสร้างมลพิษทางอากาศเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ ด้วยการขนส่งสินค้าปริมาณที่มากขึ้นต่อเที่ยว ซึ่งโครงการ EV Vision เป็นโอกาสที่ดีที่กลุ่มบริษัท ออลล์ นาว จะตั้งเป้าเป็นผู้นำทางด้านโลจิสติกส์สีเขียว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต” นายธเนศกล่าว

ปัจจุบัน ออลล์ นาว ได้เริ่มนำร่องขนส่งและกระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทองเป็นแห่งแรก ไปยังสาขา7-Eleven ในกว่า 20 เส้นทาง และวางแผนที่จะขยายเพิ่มเติมไปสู่ศูนย์กระจายสินค้ามหาชัย และ ลาดกระบัง ทำให้สามารถกระจายสินค้าไปได้กว่า 700 สาขา พร้อมกับตั้งเป้าเพิ่มจำนวนรถบรรทุกไฟฟ้าที่จะให้บริการทั้งหมดเป็น 100 คัน ภายในสิ้นปี 2567 พร้อมกันนี้ ออลล์ นาว ยังได้ลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าในพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้าแต่ละแห่ง โดยตั้งเป้าขยายการติดตั้งสถานีไปให้ครอบคลุมครบทุกศูนย์กระจายสินค้าในอนาคต นอกจากนี้ ออลล์นาว ยังวางแผนที่จะขยายการขนส่งและกระจายสินค้าด้วยรถขนส่งไฟฟ้าไปในธุรกิจอื่นๆทั้งในและนอกเครือฯ ต่อไปในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำธุรกิจโลจิสติกส์สีเขียวที่ช่วยส่งเสริมการลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมภายในปี 2568” นายธเนศกล่าว.-สำนักข่าวไทย

‘ทุเรียนไทย’ กลิ่นหอมขจรขจายทั่วนครฮาร์บิน ตอนเหนือของจีน ด้วยการขนส่งก้าวหน้า โดย ‘ขบวนด่วน’ ของทางรถไฟจีน-ลาว

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัว, ฮาร์บิน รายงานว่า ณ ตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรฮาต๋า ซึ่งเป็นศูนย์กลางจัดจำหน่ายผักผลไม้ที่พลุกพล่านที่สุด ในมณฑลเฮยหลงเจียงทางตอนเหนือสุดของจีน มีรถบรรทุกทุเรียน 1,000 กล่อง ถูกรุมล้อมด้วยพ่อค้าแม่ขายที่มารอรับสินค้า โดย ‘เสี่ยวเหิง’ เป็นพ่อค้าคนหนึ่งที่ร่วมรอรับทุเรียน เพื่อขนขึ้นรถส่วนตัวพร้อมกับผลไม้เมืองร้อนอื่นๆ อย่างฝรั่งและมะม่วง

‘เสี่ยวเหิง’ ผู้ค้าขายผลไม้มานานกว่า 10 ปี เล่าว่าเขาเริ่มต้นขายผลไม้ปี 2013 ตอนนั้นชาวฮาร์บินชอบรับประทานทุเรียนกันแล้ว แต่ยังมีของขายไม่มากและราคาไม่ถูก แถมการขนส่งที่ใช้เวลานานทำให้ทุเรียนที่ขนส่งมาถึงเปลือกแห้งและดำ ต่างจากปัจจุบันที่ล่าสุดได้ยินว่าขนส่งด้วย ‘ขบวนด่วน’ บนทางรถไฟจีน-ลาว ทั้งมีคุณภาพดีและราคาลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนๆ

ย้อนกลับเมื่อสิบกว่าปีก่อน ผลไม้เมืองร้อนจากไทยที่วางจำหน่ายในนครฮาร์บิน เมืองเอกของเฮยหลงเจียง ต้องผ่านมือเหล่าพ่อค้าคนกลางในกว่างโจว เสิ่นหยาง ปักกิ่ง และอื่นๆ เพราะไม่มีช่องทางซื้อขายโดยตรง ทำให้ราคาพุ่งสูง ขณะเดียวกันรูปลักษณ์และรสชาติของผลไม้แย่ลงเพราะใช้ระยะเวลาขนส่งยาวนาน

ทว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีน ช่วยลดระยะเวลาขนส่งลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คุณภาพของผลไม้นำเข้าดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แม้แต่เฮยหลงเจียงที่เป็นมณฑลทางเหนือสุดของจีน ยังสามารถเพลิดเพลินกับผลไม้เมืองร้อนเลิศรสที่ส่งมาจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไทย มาเลเซีย และลาว

หากวันนี้ลองเยี่ยมเยือนซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในนครฮาร์บิน คุณจะได้พบทุเรียนหมอนทองสุกพร้อมรับประทานวางเรียงรายดึงดูดลูกค้ามาเลือกซื้อจำนวนมาก โดยมีราคาช่วงโปรโมชันอยู่ที่ราว 43.8 หยวน (ราว 210 บาท) ต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าราคาค้าปลีกในท้องตลาดอย่างมาก

พนักงานซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้เผยว่า ทุเรียนมีราคาถูกเช่นนี้เพราะต้นทุนการขนส่งลดลง โดยทุเรียนจากไทยถูกขนส่งสู่นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ก่อนจะถูกกระจายไปทั่วประเทศ ขณะเดียวกันที่นี่มีบริการปลอกเปลือกทุเรียนฟรีและตรวจดูคุณภาพทุเรียนก่อนจ่ายเงิน เพื่อรับประกับความสดใหม่ทุกลูก

อนึ่ง ทางรถไฟจีน-ลาว ถือเป็นโครงการสำคัญของการร่วมสร้าง ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ (BRI) ที่มีคุณภาพสูง และกลายเป็นช่องทางโลจิสติกส์ที่สะดวกระหว่างจีนและอาเซียน โดยทางรถไฟสายนี้ช่วยให้ขนส่งทุเรียนจากไทยถึงคุนหมิงภายใน 3 วัน ซึ่งช่วยให้ไทยสามารถส่งออกทุเรียนที่สุกมากขึ้นและรสชาติดีขึ้นได้

ปัจจุบันไทยมีทุเรียนกว่า 200 สายพันธุ์ และถือเป็นประเทศส่งออกทุเรียนสดมากที่สุดในโลก โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของไทย ระบุว่าจีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนไทยขนาดใหญ่ที่สุดในปี 2022 ครองส่วนแบ่งร้อยละ 96 ของทุเรียนไทยส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 3.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.05 แสนล้านบาท)

ด้าน ‘ขบวนด่วน’ บนทางรถไฟจีน-ลาว ช่วยลดระยะเวลาขนส่งทุเรียนสู่จีนอย่างมาก โดยกลุ่มสื่อไทยรายงานว่า ‘รถไฟขบวนทุเรียน’ จากสถานีมาบตาพุดไปยังนครกว่างโจวของจีน ทำสถิติขนส่งผลไม้จากไทยสู่จีนเร็วที่สุดครั้งใหม่ และการเน่าเสียระหว่างการขนส่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

เสี่ยวเหิง เผยทิ้งท้ายว่า เขาขายทุเรียนได้หลายร้อยลูกในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา โดยเขายังมี ‘บริการหลังการขาย’ อย่างเช่น การแลกคืนทันทีหากพบทุเรียนด้อยคุณภาพ ขณะการรับประกันอุปทานและการพัฒนาโลจิสติกส์ช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่เสี่ยวเหิง และเกื้อหนุน ‘กลิ่นหอม’ ของทุเรียนไทยขจรขจายทั่วดินแดนตอนเหนือสุดของจีน

จีนออกแผนปฏิบัติการ มุ่งเสริมสร้าง 'ระบบพาณิชย์ระดับอำเภอ' ส่งเสริมการพัฒนาแบบบูรณาการ ฟื้นฟูภูมิภาคชนบท

(15 ส.ค.66) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (14 ) รัฐบาลจีนได้ออกแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี ที่มุ่งเดินหน้าเสริมสร้างระบบพาณิชย์ระดับอำเภอ ภายใต้ความพยายามส่งเสริมการพัฒนาแบบบูรณาการของพื้นที่ในเมืองและชนบท และฟื้นฟูภูมิภาคชนบทของประเทศ แผนดังกล่าวครอบคลุมการสร้างอำเภอ 'แนวหน้า' จำนวน 500 แห่ง ภายในปี 2025 ซึ่งจะมีศูนย์กระจายโลจิสติกส์ระดับอำเภอ ร้านสะดวกซื้อสำหรับประชากรชนบท และศูนย์พาณิชย์ชนบท เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดกลางและขนาดใหญ่ และตลาดผลผลิตการเกษตร พร้อมทั้งแสวงหาการเปิดช่องทางไหลเวียนแบบสองทางอย่างต่อเนื่องสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่จัดส่งสู่ชนบท และสินค้าเกษตรที่จัดส่งสู่เมือง เพิ่มรายได้เกษตรกรรมและยกระดับแนวโน้มการบริโภคของเกษตรกร รวมถึงช่วยตอบสนองความต้องการด้านชีวิตและการผลิตของประชากรชนบท

แผนข้างต้นมีขึ้นท่ามกลางความพยายามของจีนในการเร่งการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์ที่ด้อยพัฒนาในภูมิภาคชนบท พัฒนาระบบกระจายโลจิสติกส์ใน 'หมู่บ้าน-ตำบล-อำเภอ' โดยชี้แนะบริษัทพาณิชย์และโลจิสติกส์ให้มีการเปลี่ยนผ่านและยกระดับ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาระบบพาณิชย์ที่มีคุณภาพสูงในอำเภอต่างๆ มีการระบุภารกิจเฉพาะมากกว่า 20 ภารกิจใน 7 ด้าน อาทิ การขยายบริการที่ศูนย์การค้าและตลาดชั้นนำสู่หมู่บ้านและตำบล การปรับปรุงศูนย์การค้าและตลาด การยกระดับศูนย์กระจายโลจิสติกส์หรือก่อสร้างขึ้นใหม่ การบ่มเพาะแบรนด์อีคอมเมิร์ซผลผลิตการเกษตรในท้องถิ่น และการเพิ่มขีดความสามารถของโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นสำหรับผลผลิตการเกษตร

อนึ่ง แผนปฏิบัติการนี้ร่วมออกโดยหลายกระทรวงของจีนที่กำกับดูแลงานหลายด้าน อาทิ พาณิชย์ การวางแผนเศรษฐกิจ การคลัง ทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตรและกิจการชนบท วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และบริการไปรษณีย์ โดยจะมีการกำหนดรายชื่ออำเภอแนวหน้าเป็นประจำทุกปีตามคำแนะนำจากหน่วยงานระดับมณฑล เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2023


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top