Tuesday, 14 May 2024
โลจิสติกส์

โอกาสทอง ‘อุตสาหกรรมบรรจุผลไม้ในน้ำเชื่อมไทย’ ผนึก ‘อาร์เจนฯ’ กระจายต่อ ‘ตะวันตก-ยุโรป’ คล่อง

(25 ก.ย. 66) ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ‘Trachoo Kanchanasatitya’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า…

ฝรั่ง งง กันมากกว่า ลูกแพร์ในน้ำเชื่อมทำไมถึงปลูกที่อาร์เจนติน่า แต่ส่งข้ามโลกไปบรรจุที่ไทยแลนด์ แล้วส่งอ้อมโลกมาขายที่อเมริกาและยุโรป ให้มันเสียเวลาเสียต้นทุนไปทำไม ทำไมไม่บรรจุที่อาร์เจนตินาแล้วส่งไปขายเองเลย หรือ ทำไมอเมริกาไม่ปลูกเองบรรจุเองซะเลย

คำตอบ เป็นเรื่องความคิดทางโลจิสติกส์อย่างมาก

1. ลูกแพร์ของอเมริกาไม่อร่อยเท่าปลูกที่อาร์เจนฯ
2. ลูกแพร์ต้องเก็บก่อนสุก 2 สัปดาห์และเกษตรกรต้องเก็บในห้องเย็นตลอดเวลา ซึ่งเปลืองค่าพลังงานมาก หากส่งใส่เรือไปในคอนเทนเนอร์แบบตู้เย็น ต้นทุนค่าทำความเย็นบวกค่าส่ง ถูกกว่า เก็บห้องเย็นที่อาร์เจนฯ เสียอีก
3. การบรรจุผลไม้ในน้ำเชื่อม ไทยแลนด์เก่งมาก เพราะทำส่งขายย่าน South East Asia หลายประเทศ อาร์เจนตินาสู้ต้นทุนไทยไม่ได้
4. รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด คือ ปลูกที่อาร์เจนฯ แพ็กที่ไทย แล้วส่งไปยุโรป อเมริกา ถูกกว่า

โลจิสติกส์ล้วนๆ 

เรื่องบางเรื่อง เราไม่สามารถใช้ Common Senses ไปตัดสินความถูกต้องเหมาะสม เพราะโลกนี้มีวิธีคิดใหม่ ๆ ซับซ้อนมากกว่า Common Senses ของเรา มันคงมีเหตุผลของมัน แค่ เราไม่รู้เท่านั้น

‘รมว.สุริยะ’ กร้าว!! เร่งขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมรอบทิศ ‘ระบบขนส่งราง -โลจิสติกส์ - รถไฟทางคู่ -รถไฟฟ้ากทม.’

(24 ม.ค.67) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อความอุดมสุขของประชาชน ปี 2567-2568 ว่า การสัมมนาในครั้งนี้ได้จัดทำ Action Plan ทุกหน่วยงานจะได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นตลอดช่วงเวลาของการ Workshop โดยผลักดันนโยบาย Quick Win 2567-2568 พบว่ามีโครงการสำคัญ 72 โครงการ

นอกจากนี้กระทรวงได้เร่งรัดทุกหน่วยงานพิจารณานโยบายของนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะเรื่องต่าง ๆ ดังนี้…

1. นโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค 
2. บูรณาการแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับเส้นทางในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับจีนตอนใต้ (รถไฟไทย - สปป.ลาว - จีน) โครงการ EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่น ๆ ให้ความสำคัญกับโครงการแลนด์บริดจ์ เปิดประตูการค้าสองฝั่งสมุทรทางภาคใต้

ตลอดช่วงเวลากว่า 3 เดือน ที่ผมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมทั้ง 2 ท่านเข้ามาปฏิบัติงานที่กระทรวงคมนาคม พวกเราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากทุกท่าน ผมจึงมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าผลที่ได้จากการ Workshop ในครั้งนี้ จะนำไปสู่ Action Plan ที่มีประสิทธิภาพ และ ผลักดันให้นโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ 

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันหลายประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่ามีต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์คิดเป็น 9.5 -9.8 % ของจีดีพี ขณะที่ไทยมีต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์คิดเป็น 11-12 % ของจีดีพี  ซึ่งถือว่าไทยมีปริมาณต้นทุนที่สูง เนื่องจากไทยใช้ระบบถนนเป็นหลัก หากสามารถหันไปใช้ระบบขนส่งทางรางได้ จะช่วยลดต้นทุนขนส่งโลจิสติกส์ได้มากขึ้น เบื้องต้นได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันการใช้ระบบขนส่ง ทางราง เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง โลจิสติกส์ ภายใน 5-6 ปี โดยเฉพาะการเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 และระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะทาง 554 กม.

สำหรับการสัมมนาฯ ในวันนี้ มีความคาดหวังอยากให้ทุกหน่วยงานได้เร่งรัดและบูรณาการโครงการที่จะดำเนินงานในปี 2567 รวมทั้งร่วมกันพิจารณากำหนดโครงการใหม่ที่จะดำเนินการในปี 2568 ตามภารกิจและโหมดการขนส่งในทุกมิติ และเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานได้นำเสนอกรอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุน แยกตามแหล่งเงิน ประโยชน์ที่จะประชาชนจะได้รับ และแผนการดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อนำภาพผลงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้วในช่วง 99 วันที่ผ่านมา มารวมกับผลลัพธ์จากการทำ Workshop ในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนได้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงทิศทางการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในอนาคต ซึ่งสามารถจับต้องได้และสามารถทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม 

‘จีน’ เฮ!! อุตสาหกรรม ‘โลจิสติกส์’ ปี 2023 โตต่อเนื่อง สร้างรายได้ให้ประเทศรวม 66 ล้านล้านบาท

เมื่อวานนี้ (12 ก.พ. 67) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สหพันธ์โลจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีน รายงานว่าภาคโลจิสติกส์ของจีนมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2023

ทั้งนี้ รายงานระบุว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของจีนทำรายได้ในปี 2023 รวม 13.2 ล้านล้านหยวน (ราว 66 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบปีต่อปี

ขณะเดียวกันภาคโลจิสติกส์ของจีนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2023 โดยอัตราส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ทางสังคมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 14.4 ลดลงจากปีก่อนหน้า 0.3 จุด

ส่วนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางโลจิสติกส์ของจีนก้าวหน้ามั่นคงในปี 2023 โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเกี่ยวกับโลจิสติกส์ตลอดปี เช่น การขนส่ง คลังสินค้า และการบริการทางไปรษณีย์ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบปีต่อปี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top