Friday, 3 May 2024
โบว์ณัฏฐา

‘โบว์’ มอง ‘ลิซ่า’ ร่วมคาท์ดาวน์ ไทยมีแต่ได้ ชี้!! ‘ปัง หรือ พัง’ วัดกันที่รายละเอียดงาน

นางสาวณัฏฐา มหัทธนา หรือ ‘โบว์’ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ไอเดียนำลิซ่ามาเมืองไทยเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยว ถ้าคิดเป็นมูลค่าโฆษณา คุ้มมากค่ะ ปกติหน่วยงานการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ จะมีงบประชาสัมพันธ์แล้วก็เอาไปถ่ายทำซื้อพื้นที่โฆษณาออกช่องโทรทัศน์ต่างประเทศบ้างอยู่แล้ว เงินจำนวนเท่ากันเทียบกับการจ้างลิซ่าแล้วเกิด PR values จากสื่อที่ติดตามลิซ่าและแฟนคลับที่จะต่อยอดไปอีกมหาศาล ย่อมคุ้มกว่าโฆษณารูปแบบอื่นมากอยู่แล้ว แต่จะปั่นขึ้นไปได้ระดับไหนอยู่ที่การออกแบบโปรแกรม เช่น ถ้าดีลให้ลิซ่าทำ vlog ไปลงใน YouTube channel ของตัวเองได้ด้วย จะยิ่งได้ผลไปอีกไกล ซึ่งตรงนี้น่าจะเจรจาได้ ปกติบางที่ไปเที่ยวไหนนานๆ ที่เขาก็ทำอยู่แล้ว และมันจะได้ผลระยะยาว ไม่ใช่แค่ฤดูท่องเที่ยวปีนี้

‘โบว์ ณัฎฐา’ ค้านสังคมตาต่อตา ฟันต่อฟัน ยัน เป็นแนวคิดสวนทางหลักการเสมอภาค

นางสาวณัฏฐา มหัทธนา หรือ ‘โบว์’ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Bow Nuttaa Mahattana ระบุว่า

“บางครั้งการต่อต้านเผด็จการมิได้หมายความว่าคุณจะเป็นประชาธิปไตยไปโดยปริยาย บางครั้งคุณอาจเป็นเพียงศัตรูของเผด็จการกลุ่มหนึ่งรูปแบบหนึ่งเท่านั้น และอาจเป็นเผด็จการอีกแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม”

‘โบว์ ณัฏฐา’ วอนสื่อเลิกบิดเบือนเรื่องวัคซีน หลังโหมข่าวคนตาย จาก ‘สูตรไขว้’ ทั้งที่ยังไม่พิสูจน์

นางสาวณัฏฐา มหัทธนา หรือ ‘โบว์’ นักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว วอนสื่อต้องหยุดบิดเบือนเรื่องวัคซีน โดยระบุว่า เพื่อประโยชน์ของสังคม ขอพูดตรง ๆ และเรียกร้องจรรยาบรรณจากเพจข่าวไทยรัฐทีวีนะคะ สำหรับข่าววันที่ 24 พ.ย. ที่พาดหัวว่า “สูตรไขว้ดับ” ทั้งที่ในเนื้อข่าวผู้ตายเพิ่งฉีดวัคซีนโมเดอร์นามา เป็นเพศชายอายุ 26 อาการก่อนตายที่ญาติบรรยายไว้คล้ายอาการของคนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบซึ่งเป็นอาการที่เกิดยากแต่พบได้กับเพศชายอายุต่ำกว่า 30 ที่ฉีดวัคซีน mRNA อยู่แล้วและเป็นสถิติทางการแพทย์ที่รับรู้ตรงกันทั่วโลก แต่ทั้งที่ยังสรุปสาเหตุการตายไม่ได้ สื่อกลับพยายามชี้นำโดยการพาดหัวให้คนเข้าใจว่าสาเหตุเป็นเพราะวัคซีนสูตรไขว้

โดยหลักการสื่อไม่ควรสรุปอะไรก่อนการชันสูตรโดยแพทย์ทั้งสิ้นเพราะคุณไม่มีข้อมูลภาวะที่เฉพาะตัวของร่างกายแต่ละคน และโดยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เท่าที่มีจนถึงวันนี้ การเสียชีวิตหลังฉีดเข็มสองก็ไม่สามารถเชื่อมโยงอะไรกับวัคซีนเชื้อตายเข็มแรกที่ฉีดไปได้เลย เพราะวัคซีนเชื้อตายเป็นวัคซีนที่ไม่ซับซ้อนและให้ผลกับร่างกายคนปกติเหมือนการเคยติดเชื้อจริงที่อ่อนแอมาแล้วเท่านั้น แต่สื่อก็ยังพยายามโยงให้คนเข้าใจผิด และการสื่อสารสาธารณะด้วยคำว่า “สูตรไขว้ดับ” โดยสื่อกระแสหลักแบบนี้จะสร้างความหวาดกลัวให้สังคมและอาจมีผลต่อการควบคุมโรคได้

สิ่งที่ควรเป็นที่ทั้งรัฐและสื่อควรทำ คือการให้ข้อเท็จจริงกับสังคมว่าวัคซีนแต่ละชนิดมีความเสี่ยงอย่างไรในสถิติกี่เปอร์เซ็นต์กับกลุ่มอายุและเพศอะไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนตัดสินใจโดยประเมินความเสี่ยงตามข้อเท็จจริงได้เอง และเมื่อเกิดเคสที่ผิดปกติต้องรายงานข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนหรือชี้นำ โดยเฉพาะการชี้นำในลักษณะแบบฟันธงโดยไร้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับอย่างสิ้นเชิงเช่นครั้งนี้ 

‘ประวิตร -โบว์’ ค้าน กลุ่มสามนิ้วแบนลูกหนัง ชี้ เกลียดพ่อแต่ลามไปลูก เป็นแนวคิดที่ล้าหลัง 

นักข่าวอาวุโสข่าวสด ชี้กรณีแบน ‘ลูกหนัง’ คือความเกลียด ตั้ว ศรัณยู ไปลงที่ลูกสาวแทน ย้ำไม่ใช่ความยุติธรรม แต่ล้างแค้นแบบไม่ถูกต้อง ด้านโบว์ ณัฏฐา ชี้ การโจมตีถึงขั้นอยากทำลายอนาคตลูกหลานคือวัฒนธรรมศาลเตี้ยที่ล้าหลัง ไม่เกิดพลังอะไรนอกจากผู้มีอำนาจนั่งยิ้ม

จากกรณีที่ในโซเชียลมีเดียวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่ ลูกหนัง ศีตลา วงษ์กระจ่าง ลูกสาวของ ตั้ว ศรัณยู และ เปิ้ล หัทยา วงษ์กระจ่าง มีกำหนดเดบิวต์อย่างเป็นทางการที่ประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 5 ม.ค. เป็นหนึ่งในสมาชิกของเกิร์ลกรุ๊ปใหม่ เอชวันคีย์ (H1-KEY) จากค่ายจีแอลจี หรือ GLG (Grandline Group) ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมา แต่กลับมีกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้สนับสนุนม็อบราษฎร หรือม็อบสามนิ้ว และผู้สนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำคณะก้าวหน้า กล่าวหาว่าบิดา คือ ตั้ว ศรัณยู ผู้ล่วงลับ เคลื่อนไหวการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้เกิดรัฐประหารถึง 2 ครั้ง และได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ระบุว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบอบเผด็จการทหาร พร้อมติดแฮชแท็ก #แบนลูกหนัง และ #BANSITALA เพื่อไม่ให้มีที่ยืนในสังคมนั้น

เฟซบุ๊ก Pravit Rojanaphruk ของนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส เครือหนังสือพิมพ์ข่าวสด โพสต์ข้อความระบุว่า “ศาลตัดสินลงโทษ ยังลงโทษลูกเมียแทนมิได้ เราจึงมิสมควรลงโทษและบอยคอตหญิงคนหนึ่งเพราะสิ่งที่พ่อเธอก่อ (เธอเป็นเพียงตัวประกอบในการชุมนุมที่ไม่มีใครสนใจ จนกระทั่งจะเดบิวต์กับวง K Pop แล้วพบว่าเป็นลูกตั้ว ศรัณยู - และถามจริงว่าถ้าลูกหนังมิใช่ลูกของตั้ว ศรัณยู จะมีใครสนใจประเด็นนี้ไหม? เกลียดชังขนาดนี้ไหม? ยอมรับเถอะครับมันคือความเกลียดตั้ว ศรัณยู ที่ไปลงที่ลูกสาวแทน เพราะลำพังลูกสาวไปร่วมชุมนุม มิได้มีใครสนใจหรือจดจำ) ผมไม่เห็นด้วยกับการกดดันลูกหนังเพื่อลงโทษกับกรรมที่ตั้ว ศรัณยูทำ นี่มิใช่ความยุติธรรม แต่มันคือการล้างแค้นอย่างไม่ถูกต้อง เราควรจะมองไปในอนาคต มิใช่จมปลักอยู่กับความเกลียดชังในอดีต”

‘ดร.เสรี’ เอ่ยปากชม 'โบว์ ณัฏฐา' ไม่ชนดะ มีตรรกะลดความเกลียดชัง 

3 ก.พ. 65 - ดร.เสรี วงษ์มณฑา ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ดังนี้

อ่านโพสต์ คุณโบว์ (ณัฏฐา มหัทธนา) ระยะหลังนี้ ขอบอกว่าชื่นชมความคิดที่มีเหตุผลของเธอที่จริงใจ ตรงไปตรงมา ดีก็ว่าดี ไม่ดีก็ว่าไม่ดี แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผล มีตรรกะที่ยอมรับได้โดยสนิทใจ

สิ่งที่ถูกใจมากคือความคิดของเธอที่บอกว่าประเทศไม่ควรขับเคลื่อนด้วยความเกลียดชัง และเราไม่ควรจะรักษาระดับความเกลียดชังเอาไว้

โบว์ ณัฏฐา ชี้ การใส่มาตรการกระตุ้นที่ไม่ถึง ก็เหมือนการเข็นรถขึ้นเขา ถ้าเข็นเบาๆ ก็อาจถูกรถไหลทับ ต้องใส่แรงมากพอที่จะส่งรถขึ้นไปได้ มัน คือ การใส่ เพื่อให้เกิดการหมุนต่อ

จากสถานการณ์ความผันผวนของราคาพลังงาน อันเป็นผลพวงของความขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย ที่ทำให้ต้นทุนการผลิต การค้า-บริการต่างๆ ราคาดีดตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพเองก็มีการปรับตัวสูงขึ้นจนเกิดปรากฏการณ์ ‘แพงทั้งแผ่นดิน’ โดยรัฐบาลเองก็ได้เห็นถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้กำหนด 10 มาตรการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนขึ้น ดังนี้ 

1.) การเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้มสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน โดยเพิ่มเงินจากเดิม 45 บาท เป็น 100 บาท/เดือน
2.) ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท สำหรับผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนประมาณ 5,500 คน
3.) ช่วยเหลือค่าน้ำมันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก จำนวน 157,000 คน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 250 บาทต่อเดือน และขอให้กรมการขนส่งทางบกกำกับราคาการให้บริการเพื่อให้ประชาชนที่ต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเท่าเดิม 
4.) คงราคาขายปลีกผู้ที่ใช้ก๊าซ NGV ไว้ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม
5.) ผู้ขับขี่แท็กซี่มิเตอร์ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน สามารถซื้อก๊าซได้ในราคา 13.62 บาท/กิโลกรัม
6.) ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยลดค่า Ft ลง 22 สตางค์ต่อหน่วยในช่วงเดือนพ.ค. - ส.ค.
7.) ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือนเม.ย. 2565 หลังจากนั้น รัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือส่วนที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นครึ่งหนึ่ง
8.) กำกับดูแลการปรับราคาก๊าซหุงต้มในช่วงตั้งแต่เดือนเม.ย.- มิ.ย. โดยใช้กองทุนน้ำมันเข้าไปช่วยลดผลกระทบจากการปรับราคาให้ไม่ขึ้นสูงเกินไป
9.) ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1% เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป
10.) ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1.9% และลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ลงเหลือ 42-180 บาทต่อเดือน

หากแต่ว่าการกำหนดมาตรการเหล่านี้จากรัฐบาล ดูจะสร้างความกังขาต่อประชาชนทั่วไป ว่าแท้จริงแล้ว 10 มาตรการนี้ จะช่วยเหลือประชาชนจริงหรือไม่? โดย ‘โบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ไว้ว่า..

ทั้ง 10 มาตรการที่พูดถึงนั้น คือ มาตรการเดียว นั่นก็คือ ‘มาตรการลดค่าครองชีพ’ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการลดภาระ แต่การลดภาระนั้น ต้องลดลงไปให้รู้สึกได้ว่าภาระนั้น มันถูกยกออกไปมากพอสมควรหรือเปล่า แต่ 10 ข้อที่ไล่มา หากแปลงออกมาเป็นเงินมันได้คนละกี่บาทต่อวัน

อย่างของแม่ค้าหาบเร่แผงลอย ให้เขาเดือนละร้อย เดือนละร้อย 3 เดือน คือ ส่วนลดค่าแก๊ส หารออกมาต่อวันตกวันละ 3 บาท แม่ค้าได้รับการลดภาระค่าครองชีพตกวันละ 3 บาท คำถามคือ ‘เขาจะรู้สึกอะไรไหม?’ ได้รู้สึกว่า ‘ภาระลดลงไปบ้างไหม?’ ประเด็นของโบว์ก็คือ ‘มันคือการลดภาระ ที่ไม่รู้สึกถึงการลดภาระเลย’ 

กรณีค่าไฟก็เช่นกัน การที่ออกมาบอกว่า 300 หน่วย ลด Ft 22 สตางค์ ถามว่าพอแปลงออกมาเป็นเงินแล้วได้กี่บาท เพราะเทียบดูแค่คิดจากค่าแก๊สวันละ 3 บาท ก็รู้แล้ว เพราะฉะนั้นมันเป็นการลดภาระแบบไม่รู้สึก คนรับเขาไม่รู้สึกอะไรเลย เหมือนน้ำซึมบ่อทราย คือเทไปเท่าไหร่ก็ซึมหายหมดไม่รู้สึก

ประเด็น คือ การจะช่วยก็ช่วยไป แต่ถ้าลองถามแม่ค้า เขาอยากให้ลดค่าแก๊สวันละ 3 บาท หรืออยากให้มีลูกค้าเข้ากันแน่ คุณลดให้ค่าแก๊ส 3 บาท แต่มันไม่มีลูกค้าเข้าร้าน เพราะคนไม่มีเงินไปจับจ่าย มันก็จะไม่มีผลในการที่จะทำชีวิตดีขึ้นจริงๆ

กลับกันหากไปมองอย่างนโยบาย ‘คนละครึ่ง’ / ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ นโยบายพวกนี้ คือ นโยบายที่ดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพียงแต่นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาจต้องมีที่ได้ผลมากกว่าเดิม เพราะตอนนี้สถานการณ์ไม่ได้มีแค่โควิด- 19 มันมีเรื่อง รัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกับน้ำมัน แล้วมันเลยยิ่งทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก

'โบว์ ณัฏฐา' มอง!! ดราม่าคุกคามทางเพศกับแรงต่อยอดของสังคมไทย แนะ!! เลี่ยงนำคำตอบของตนไปวนใส่ความคิดของผู้อื่น

'โบว์-ณัฏฐา มหัทธนา’ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

กรณีการคุกคามทางเพศที่เป็นข่าวอยู่นั้นคงแทบไม่เหลือคำถามอะไรมากมาย สิ่งที่น่าสนใจ คือ สังคมจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร ซึ่งก็คงมีอีกหลายคนช่วยกันต่อยอดไปในประเด็นต่างๆ ขอให้กำลังใจทุกคนที่กำลังต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ซึ่งบางครั้งจะเป็นการต่อสู้ในหลายมิติ ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแกร่งภายในและการสนับสนุนจากคนรอบตัวที่ยืนระยะได้ 

สิ่งหนึ่งที่ต้องจำไว้ คือ ความเห็นที่ทิ่มแทงทำร้ายคุณจะโดดเด่นขึ้นมาในสายตาและประทับอยู่ในหัวใจของคุณ แต่สิ่งที่มีมากกว่านั้น คือ แรงใจสนับสนุนที่คุณอาจมองข้ามหรือเห็นไม่ชัดเท่า อย่าลืมมองสิ่งที่มีค่าเหล่านั้นให้เห็นด้วย

ส่วนตัวค่อนข้างสนใจทัศนคติของคนในสังคมเกี่ยวกับ “การมีส่วนในความผิด” ของผู้เสียหายเมื่อมีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น อันที่จริงในแวดวงที่ทำงานกับเรื่องเหล่านี้ก็มีการพูดถึงกันไปอย่างลึกซึ้งแล้วในประเด็น “Victim Blaming” ส่วนตัวไม่ได้มีความรู้หรือความเห็นจะต่อเติมอะไรกับกลุ่มคนที่มีความตระหนักรู้เรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว และไม่ได้มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่าเราไม่ควรด่วนตัดสินใครไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหา แต่อยากพูดกับคนทั่วๆ ไปที่ยังมีความคิดเหล่านี้เป็นอัตโนมัติอยู่...

“ไปคอนโดเขาแล้วคิดว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเนี่ยนะ”
“ชายหญิงอยู่ด้วยกันสองต่อสองคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น”
“ถ้าไม่มีใจจะขึ้นรถไปด้วยทำไม” 
“ก็ไปหาเขาเอง” 

'โบว์ ณัฏฐา' เตือนสติ ‘ฝ่ายสลิ่ม’ ชี้ไม่ควรผลัก 'ชัชชาติ' ให้เป็นสมบัติคนอีกฝั่ง

โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา นักกิจกรรมอิสระ และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ ว่า

ฝ่าย ‘สลิ่ม’ หลายคน ไม่ควรผลักชัชชาติให้เป็นสมบัติของคนอีกฝั่งนะ ดูให้ละเอียด ๆ คุณต้องรู้ว่าเขาแค่เป็นตัวเอง คนที่เลือกเขาก็ไม่ได้มีฝ่ายเดียว ให้เขาเป็นผู้ว่าของทุกคนตามที่มาของเสียงโหวตที่เขาได้รับนั่นแหละ ขยายพื้นที่ของการใช้เหตุผลให้ทุกคนรับฟังกันได้ต่อไปค่ะ อย่าลากกลับไปที่เดิม

อย่างการพูดถึงการชุมนุมเมื่อวานก็พูดไปตามบทบาทหน้าที่หลักการ ไม่ได้หมายความว่าจะสนับสนุนความรุนแรงโดยฝั่งใด เพราะเจ้าตัวคงไม่ทราบรายละเอียดว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ส่วนตัวโบว์สนับสนุนให้ผู้ว่ากทม.ทำหน้าที่ในการรักษาสิทธิของทุกคน อะไรไม่ถูกต้องกล้าพูดไปเลย เชื่อว่าคนกรุงเทพมีเหตุผลพอ


ที่มา : https://twitter.com/NuttaaBow/status/1535888094808854528

'โบว์-ณัฏฐา' ยก 'เสรีรวมไทย' พิชิตเจ้าถิ่น ยิ่งใหญ่มาก หลัง 'เสรี-พรรค' เคารพทุกคะแนนเสียงประชาชน

ควันหลง จากกรณีผลการเลือกตั้งซ่อม ลำปาง เขต 4 อย่างไม่เป็นทางการ ภายหลังปิดหีบลงคะแนน ปรากฎว่า นายเดชทวี ศรีวิชัย ผู้สมัครเบอร์ 1 จากพรรคเสรีรวมไทย ได้คะแนน 55,638 คะแนน ขณะที่นายวัฒนา สิทธิวัง ผู้สมัครเบอร์ 3 จากพรรคเศรษฐกิจไทย ได้ 30,451 คะแนน พร้อมต้องรอกกต. ประกาศรับรองต่อไปนั้น

ด้าน โบว์-ณัฏฐา มหัทธนา นักกิจกรรมอิสระ และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ระบุว่า...

ดีใจกับเสรีรวมไทยจริง ๆ ท่านเสรีและทีมงานไม่เคยหยุดที่จะไปเดินหาเสียงเต็มที่อย่างเคารพทุกคะแนนเสียงทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะผิดหวังมาแล้วกี่สนาม ครั้งนี้ชัยชนะที่ลำปางเหนือเศรษฐกิจไทยที่ส่งเจ้าของพื้นที่เดิมลง มันยิ่งใหญ่มาก 

จะเล่นการเมืองกันยังไงก็อย่าดูถูกประชาชน อะไรเป็นความชอบธรรม ยึดไว้ถือไว้ มันไม่หนักค่ะ

‘โบว์ ณัฏฐา’ ชี้ แค่แก้กฎหมายเลือกตั้ง เปลี่ยนสูตรหารปาร์ตี้ลิสต์ยังไม่พอ หากอยากเห็นการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ต้องตัดอำนาจส.ว.โหวตนายก เพื่อเข้าสู่การบริหารที่ชอบธรรม

น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา Bow Nuttaa Mahattana) ระบุว่า

“ไม่ว่าจะ หาร 100 หรือ 500 ก็จะดีกว่าเดิม แต่ …”

เห็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับสูตรการเลือกตั้งมากมาย พร้อมเกมในสภาที่ขับเคี่ยวกันอย่างเข้มข้น ไม่ใช่ระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล แต่กลับเป็นระหว่างพรรคใหญ่กับพรรคเล็ก นำมาสู่เหตุการณ์สภาล่ม และการตั้งคำถามของคนในสังคมว่า “ประชาชนได้อะไร?”

ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ก็อยากขอร่วมตอบว่า อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าที่สุดบทสรุปจะไปจบที่สูตรหาร 100 หรือ 500 ประชาชนก็จะได้กติกาการเลือกตั้งที่ “ดีกว่าเดิม” แน่นอน 

อย่าลืมว่า กติกาการเลือกตั้งเดิมจากรัฐธรรมนูญ 60 ที่ใช้กันมาในการเลือกตั้งปี 62 นั้น เป็นการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว ประชาชนถูกมัดมือชกให้ต้องเลือกทั้งส.ส.เขตและปาร์ตี้ลิสต์ในกากบาทเดียว พรรคไหนไม่มีกำลังจะส่งคนไปลงหลายๆเขต โอกาสจะได้เก็บคะแนนมารวมเพื่อคำนวณเป็นสัดส่วนส.ส.พึงมีก็น้อยลง เพราะในเขตที่ไม่มีการส่งผู้สมัคร ก็จะไม่มีช่องลงคะแนนของพรรคตนให้ประชาชนได้เลือกกากบาท จึงไม่ได้เป็นการเปิดโอกาสให้พรรคเล็กทุนน้อยจริงๆดังที่อ้าง ทุกอย่างลักลั่นผิดฝาผิดตัวไปหมด ถึงเวลาคำนวณด้วยสูตรพิสดารออกมา ก็เกิดส.ส.ปัดเศษเต็มสภา นำสู่รัฐบาลผสมถึง 19 พรรค และพรรคการเมืองในสภารวมกว่า 25 พรรค ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินกว่าประเทศประชาธิปไตยที่มั่นคงโดยปกติจะมีกัน นำสู่ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล กับสภาที่เต็มไปด้วยงูเห่ากับสวนกล้วยอย่างที่เห็น 

สิ่งที่เกิดขึ้นจึงนำมาสู่บทเรียน และข้อสรุปของทุกพรรคการเมืองว่า “เราต้องแก้รัฐธรรมนูญ และปรับปรุงกติกาการเลือกตั้ง” จึงเป็นที่มาของทางเลือกสูตรหาร 100 หรือ 500 พร้อมบัตรเลือกตั้งสองใบอย่างที่เห็น

ดังนั้น ไม่ว่าจะอย่างไร ประชาชนน่าจะได้กติกาของการเข้าสู่อำนาจ หรือ “กฎหมายเลือกตั้ง” ที่ดีกว่าเดิมแน่นอน 

บัตรเลือกตั้งสองใบในทั้งสองสูตร จะให้พื้นที่กับพรรคเล็กพรรคน้อย ได้มีโอกาสเก็บคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ แม้จะไม่มีกำลังส่งผู้สมัคร ส.ส.เขต มากมาย ประชาชนมีทางเลือก กากบาท “คนที่ชอบ” และ “พรรคที่ใช่” แยกกันได้ตามต้องการ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top