Thursday, 28 March 2024
โบว์_ณัฏฐา

'โบว์ - ณัฏฐา' ชี้ ขายออนไลน์แล้วปากจัด เป็นหนึ่งใน 'การสร้างความบันเทิง' ท้ายสุด 'คุณภาพสินค้า' ก็ต้องมาก่อนเป็นที่หนึ่ง

ขายออนไลน์ต้องปากจัด ?

เหตุใดการค้าขายออนไลน์ในสมัยนี้ เหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ขายถึงมักงัด ‘ฝีปาก+ท่าทาง’ หรืออาจจะถึงขั้นทำพฤติกรรมถ่อยๆ ผ่านหน้าจอโซเชียลกันมากขึ้น 

เราจะเริ่มเห็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนหลายกลุ่ม เริ่มขายไปด่าไป บางรายหนักไปจนถึงขั้นท้าลูกค้าตบ แต่เรื่องน่าแปลก คือ แม้ว่าท่าทางและถ้อยคำที่ไม่สุภาพเหล่านั้นจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าอภิรมย์ แต่กลับกันดันมีกลุ่มนิยมและทำให้สินค้า ‘ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า’ 

เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย เกิดอะไรขึ้นกับวัฒนธรรมการค้าขาย และการเสพติดของคนในโซเชียลกันแน่?

เกี่ยวกับประเด็นนี้ ‘คุณโบว์-ณัฏฐา มหัทธนา’ ได้ให้ความเห็นไว้ผ่านรายการ Meet THE STATES TIMES ‘เดอะ ดีเบต’ ว่า…

“การค้าขายในลักษณะนี้ หากมองในหลากหลายมิติ โดยเลือกมองในมิติที่ตื้นสุดแล้ว จะพบว่า การค้าขายเหล่านี้ คือ ‘การสร้างความบันเทิง’ อย่างหนึ่งให้กับผู้รับชม

“มิติต่อมา คือ ‘นี่เป็นของแปลก’ เพราะหากมองย้อนไปการค้าขายในรูปแบบก่อนๆ  ผู้ค้าขายมักจะประพฤติตนด้วยความสุภาพ ให้เกียรติลูกค้า พร้อมตั้งใจบรรยายสรรพคุณต่างๆ แต่พอเป็นสมัยนี้ การค้าขายเปลี่ยนรูปแบบการขายไปด่าไป หรืออาจใช้การแต่งตัวเข้าช่วย ก็ทำให้คนรู้สึกว่าแปลกใหม่ จึงสร้างความสนใจให้กันคน 

'โบว์ ณัฏฐา' แสดงมุมมองต่อกรณี นักแสดงสาว 'แตงโมนิดา' จมน้ำเสียชีวิต พร้อมเตือนสติสื่อ อย่า 'โยนขยะเข้าสู่สังคม' แล้วหวังให้ชาวบ้านใช้วิจารณญาณ

จากกรณี ‘แตงโม นิดา’ หรือ ‘ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์’ อายุ 38 ปี ดารานักแสดงสาวชื่อดังที่พลัดตกแม่น้ำเจ้าพระยาจมหายไป ขณะล่องเรือสปีดโบ๊ตไปเที่ยวกับกลุ่มเพื่อนชาย-หญิง รวม 6 คน กว่า 38 ชั่วโมง จนกระทั่งพบร่างของนักแสดงสาวลอยขึ้นมาใกล้กับโป๊ะเรือในจุดที่จมหายไป ซึ่งกรณีนี้ก็ได้กลายเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง และในเกือบทุกแวดวง ซึ่งรวมไปถึงวงการกฎหมายนั้น

ทางด้าน ‘คุณโบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ได้ให้ความเห็นในมุมมองที่น่าสนใจ ผ่านรายการ MEET THE STATES TIMES เดอะ ดีเบต โดยยกกรณีของดาราสาวมาเป็นบทเรียนว่า...

“โบว์ ได้มีโอกาสฟังข่าววิทยุ โดยได้มีสื่อไปสัมภาษณ์ทนายความท่านหนึ่ง ซึ่งบางทีรายการข่าวชอบโทรสัมภาษณ์ทนายเวลาที่มีเคสอะไรขึ้นมา เหมือนเป็นแหล่งอ้างอิง แล้วก็จะใช้ทนายซ้ำๆ อยู่ไม่กี่คน 

“แต่ประเด็น คือ การตอบคำถามของทนายบางครั้งจะเกินเลยไป จนเป็นการสร้างจำเลยสังคมขึ้นมา ซึ่งโบว์บอกเลยในฐานะที่พอรู้กฎหมายบ้าง ถ้าคุณไปถามทนาย 10 คน บางทีก็ตอบไม่เหมือนกันหรอก อีกทั้งความรู้ก็ไม่เท่ากัน อคติต่อแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน แล้วก็ความเชี่ยวชาญต่างกัน”

“ดังนั้นเรื่องนี้ที่ยกขึ้นมาพูดในวันนี้ เพราะอยากจะแนะนำสื่อตรงๆ ว่า ไม่ควรไปยึดทนายคนใดคนหนึ่งมาเป็นสรณะ แล้วชี้นำสังคมผ่านการสัมภาษณ์แบบนี้ โดยที่เขาไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับคดี เพราะเขาอาจจะมโนไป พูดกันเป็นละคร วางเป็นพลอตเรื่องเองกันหมด มันแย่มาก กลายเป็นว่าไม่ใช้ปัญญา ไม่ได้ตั้งอยู่บนความรู้อะไร แต่อยากจะสร้างความบันเทิงจากสิ่งนี้”

“ถ้าคุณอยากสัมภาษณ์ทนายหรือนักกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีจริงๆ ควรมีมากกว่าหนึ่งคน ต้องมี Second Opinion แล้วให้สังคมใช้วิจารณญาณ”

ทั้งนี้ คุณโบว์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตในสาขานิติศาสตร์อีกด้วยว่า “สิ่งหนึ่งที่เห็นว่าอาจจะหายไปในการสอนนิติศาสตร์ในบางสถาบันในปัจจุบัน คือ วิชา ‘นิติปรัชญา’ พอไม่ได้เรียนลึกซึ้ง ถึงระดับปรัชญาของกฎหมาย มันก็จะมีการตีความอะไรทื่อๆ ไปตามตัวอักษร และท้ายที่สุดแล้วจะไม่นำไปสู่ความยุติธรรม” 

'โบว์ ณัฏฐา' ชี้ ในการทำงาน จำเป็นต้องมี Flexibility หรือความยืดหยุ่น เช่นเดียวกับทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

จากกรณีที่นิสิตจากม.ดัง ได้ไปฝึกงานกับโรงแรมแห่งหนึ่ง ก่อนถูกส่งตัวกลับ เพราะก้าวร้าวใส่ผู้บริหาร อีกทั้งทางคณะต้นสังกัดของนิสิตดังกล่าว ดูจะไม่ช่วยอะไรนัก จนอาจทำให้จบไม่ทันเพื่อน และเสียเวลาไปฟรีๆ 1 ปีนั้น ได้ทำให้เกิดการแชร์และถกกันถึงดรามานี้ โดยมีชาวเน็ตแห่มาให้ความเห็นและทำให้เกิดข้อถกเถียง เสียงแตกเป็น 2 ฝั่ง

กรณีดังกล่าว ‘คุณโบว์ - ณัฏฐา มหัทธนา’ ก็ได้ให้ความเห็นผ่านรายการ MEET THE STATES TIMES เดอะ ดีเบต ไว้อย่างน่าสนใจด้วยเช่นกันว่า..

จากการติดตามของโบว์ ในกรณีดังกล่าว ตัวนักศึกษาฝึกงานเองก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าตัวเองไม่ผิดในกรณีนี้ แต่ตำหนิคณะที่ไม่ส่งไปฝึกงานในที่ใหม่ที่เขาหามาเลย เพื่อที่เขาจะได้ฝึกเสร็จทันในปีนี้ เหมือนกับคนอื่นๆ ไม่ต้องรอไปปีการศึกษาหน้า แต่ขณะเดียวกันทางคณะก็มีเหตุผลของไทม์ไลน์ และขั้นตอนการส่งเอกสาร ว่าทำไมถึงทำให้ในเทอมนี้ไม่ได้

แต่ว่าประเด็นที่กลายเป็นที่ถกเถียงพูดคุยกันในสังคม ก็คือคำถามว่า ‘ผิดหรือไม่’ ที่มีการใช้งานที่นอกเหนือ Job Description เราจะต้องยอมทำให้หรือ ถ้าเกิดทำงานนอกเวลาเราต้องยอมรึเปล่า 

ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นขยายไปไม่ได้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเคสดังกล่าวแล้ว แต่เป็นประเด็นที่คนรู้สึกว่า เวลาไปทำงานเราต้องทำตาม Job Description หรือว่าเราต้องยืดหยุ่นไปทำงานนอกเหนือจากนั้น มันเป็นสิทธิของเราหรือไม่ถ้าเราจะปฏิเสธ อันนี้คือข้อถกเถียง 

'โบว์ ณัฏฐา' ย้อนเจ็บ 'พวกจ้องแต่จะด่า' "จะทวงประชาธิปไตยจากใครได้ เมื่อในใจไม่เคยมี"

วันนี้ (27 ส.ค.) น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ นักกิจกรรมทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ @NuttaaBow ระบุว่า "ได้รับเชิญไปคุยในรายการของ Top News เนื้อหาที่นำเสนอคือทำไมนายกจึงควรลงจากอำนาจ สลิ่มฟังแล้วบอกว่ารับฟังได้ในเหตุผล ส่วนคนที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตยหลายพันคนไม่ได้ฟัง เห็นภาพว่านั่งคุยกับอ.เสรี ก็ทวิตไปด่าพร้อมข้อกล่าวหาสารพัด คุณจะไปทวงประชาธิปไตยจากใครได้ เมื่อในใจไม่เคยมี" กลายเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 ส.ค. โบว์ ณัฏฐา ได้รับเชิญไปออก รายการเรื่องลับมาก ผลิตรายการโดย บริษัท รวมหัวทีวี จำกัด ดำเนินรายการโดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมท็อปนิวส์ ในหัวข้อ "อำนาจเปลี่ยนมือ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งลุงตู่หยุดปฏิบัติหน้าที่ ลุงป้อมรักษาการแทน" 

โดยในตอนหนึ่ง โบว์ ณัฏฐา กล่าวว่า มติศาลรัฐธรรมนูญให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หยุดปฏิบัติหน้าที่ 5 ต่อ 4 นั้นก้ำกึ่งมาก สะท้อนเสียงในสังคมก็มีการถกกันถึงสองมุม เหมือนมีกองเชียร์ทั้งสองฝั่ง คือ ให้อยู่ต่อ หรือให้หยุดเลย ซึ่งส่วนหนึ่งมองว่าเป็นการลดอุณหภูมิ ทำให้หลายคนเบรกเพื่อรอดูก่อน

ส่วนการเรียกว่า "นายกเถื่อน" นั้น โบว์ ณัฏฐา มองว่าเป็นการแสดงอารมณ์ทางการเมือง ซึ่งเชื่อว่ามีคำนี้อยู่ในใจตั้งแต่ปี 2557 เป็นความคิดที่มาจากอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ก็เข้าใจว่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่สบายใจ คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องรับฟังและอดทน แต่ถ้าไม่อยากให้บรรยากาศแย่ไปกว่านี้ จะพูดอะไรก็ถนอมน้ำใจกันนิดนึง เพราะมันก็อยู่ในช่วงที่ต้องรอ

ส่วนที่ว่ามีการเลือกตั้งปี 2562 ทำไมไม่หายไปนั้น เห็นว่าเป็นเพราะเส้นทางเข้าสู่อำนาจ ถ้าเป็นนักการเมืองปกติจะต้องเริ่มจากการหาเสียงทำให้ประชาชนเชื่อมั่นแล้วเลือก ถ้าได้คะแนนเยอะก็เข้าทำงาน ผลงานเป็นอย่างไร จะไปต่อได้ไหมอยู่ที่ผลงานที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ มาด้วยเหตุผลว่าสถานการณ์ตอนนั้น คิดว่าจำเป็นก็เลยยึดอำนาจ คราวนี้พอตั้งต้นมาจากการยึดอำนาจ เหมือนเป็นการตั้งต้นจากต้นทุนที่มาจากกำลังทหาร พอดำเนินการต่อมา ไม่ว่าจะทำอะไรเหมือนตั้งจากต้นทุนนั้น

"ถ้าจะมองว่าเป็นข้อได้เปรียบที่นักการเมืองปกติไม่มี พอครบ 5 ปี มีการออกแบบกติกา ทำประชามติ โดยกฎหมายที่ตัวเองออกแบบขึ้น พอได้เป็นต่อผ่านการเลือกตั้งแบบนี้ คนก็สามารถจะมองได้ว่า มาจากต้นทุนที่ไม่ได้เป็นปกติอยู่ดี ไม่ชอบธรรมจากการตั้งต้น เป็นการสะสมความได้เปรียบ พอมาเป็นต่อก็เหมือนมันไม่ปกติ ในอดีตที่ผ่านมาประวัติศาสตร์จากนายกฯ ที่มาจากรัฐประหาร ก็อยู่ด้วยความเจียมเนื้อเจียมตัว รีบที่จะคืนอำนาจ อันนั้นเป็นมาตรฐานในความรู้สึกของคนในระบอบประชาธิปไตย ว่าไม่ควรจะสะสมและใช้ต้นทุนในการที่จะไปต่อ" โบว์ ณัฏฐา กล่าว

โบว์ ณัฏฐา กล่าวว่า ถ้าให้น้ำหนักเชิงอุดมการณ์ในระบอบประชาธิปไตยกับที่มา ผลงานจะไม่สามารถลบได้เลย แต่คนอีกส่วนหนึ่งในสังคมก็มองในแง่ทางปฏิบัติ มองผลงาน แล้วก็บอกว่าผลงานขนาดนี้เขาพอใจ แล้วทำไมเขาจะเลือกให้อยู่ต่อไปไม่ได้ พอคนสองกลุ่มให้น้ำหนักที่ต่างกัน ไม่มีทางที่จะเห็นตรงกัน และว่า ใครที่บอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็คงไปตามความรู้สึก วันนี้อะไรที่มาจากอารมณ์ความรู้สึก เราก็อาจจะแยกไว้ส่วนหนึ่ง แล้วก็มองไปข้างหน้าว่า ถ้าตัดสินอย่างนี้แล้วยังไงต่อ ถ้าตัดสินอีกแบบหนึ่ง สนามการเมืองจะเป็นอย่างไร

เมื่อถามว่า รู้สึกอย่างไรกับการที่มีคนเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ เสียสละลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ไม่เป็นภาระศาลรัฐธรรมนูญ โบว์ ณัฏฐา กล่าวว่า ก็พูดได้ แต่ไม่ใช่เป็นภาระ เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะต้องวินิจฉัย ถ้าเกิดวินิจฉัยให้เป็นบรรทัดฐานมีประโยชน์ เพราะนายกฯ ในอดีตไม่ใช่มีแค่ พล.อ.ประยุทธ์ แต่ยังมีคนอื่นๆ พอศาลมีคำวินิจฉัยออกมา อย่างน้อยจะได้รู้ว่าในอนาคตถ้ามีกรณีคนเข้ามาในการเมืองจะเริ่มนับยังไง ก็เป็นประโยชน์ถ้าศาลวินิจฉัย

ส่วนการเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ลาออก คิดว่าก็เสนอได้ เชื่อว่านายกฯ ก็มีการตีความส่วนตัวแล้วเหมือนกัน ถ้าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ต้องการให้เกิดการสะสมอำนาจ ถ้าตั้งต้นได้ว่ามีอำนาจตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็อาจจะรู้สึกอยากลาออกเองก็ได้ หรือคงคิดว่าให้ศาลสั่ง ไหนๆ ก็เข้ากระบวนการแล้วให้เป็นบรรทัดฐานไป ส่วนตัวก็อยากฟังคำวินิจฉัย เพราะอยากให้เกิดบรรทัดฐาน ไม่ควรจะมีกฎหมายใดตั้งเอาไว้แล้วทั้งประเทศงงกันอยู่แบบนี้

เมื่อถามว่า อยู่สาย 57, 60 หรือ 62 (หมายถึงการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกฯ) โบว์ ณัฏฐา กล่าวว่า ต้องตีความตามเจตนารมณ์ แต่เมื่ออ่านบทบัญญัติแล้ว ตอนแรกก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งออกมา ตนเดาว่าคงจะตีความให้เริ่มนับตั้งแต่ปี 2562 เพราะในมาตราที่พูดถึงเรื่อง 8 ปี มีการบอกว่านายกฯ ตามรัฐธรรมนูญนี้ต้องมีที่มาจากบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ และอ้างอิงว่าสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบมาจากมาตรา 159 ซึ่งมีรายละเอียดจำนวนมาก แต่ถ้าตีความตามเจตนารมณ์ต้องยอมรับว่า คนร่างมีเจตนาไม่ต้องการให้เกิดการสะสมอำนาจ และไม่ได้นึกถึงนายกฯ ที่มาจากการรัฐประหาร เพราะระบุว่านายกฯ มาจากสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นคิดว่าเขียนได้สองแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะเขียนแบบไหน ตอนนี้เริ่ม 50-50 แล้ว

เมื่อถามว่า การเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก เพื่อที่จะให้มีการเลือกนายกฯ ใหม่ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ ถือว่าเร็วไปหรือไม่ โบว์ ณัฏฐา กล่าวว่า คิดว่าช่วงที่เหลืออยู่เพียงแค่ไม่กี่เดือน ไม่ควรไปทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลโดยที่ประโยชน์ที่จะได้รับไม่คุ้มกัน ถ้าเราอยู่แต่เรื่องความขัดแย้งทางการเมือง กระทั่งลืมมองว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น แล้วข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ปรับคณะรัฐมนตรีตอนนี้แล้วจะมีผลดีอย่างไร ไม่ว่ากับสนามการเมืองหรือการประชุมเอเปก เหลืออีกไม่กี่เดือน บางทีก็คิดว่าเป็นแค่ข้อเสนอเพื่อเอาใจกองเชียร์ คนที่เสนอก็รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ เราก็อาจจะมองข้ามไป

เมื่อถามว่า รักษาการนายกรัฐมนตรี ตามธรรมเนียมก็ต้องใช้รองนายกฯ คนที่หนึ่ง คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเสียงที่ออกมาในแง่ลบมากกว่าเป็นบวก เหมือนหลบรถสิบล้อไปชนรถเทลเลอร์ มองอุปมาอุปไมยนี้อย่างไร โบว์ ณัฏฐา กล่าวว่า เป็นการสะท้อนทางการเมืองปกติ จริงๆ ไม่ต้องมองแบบนี้ก็ได้ ดูจากผลโพลก็จะรู้ว่า ในผลโพล พล.อ.ประยุทธ์ เหนือกว่า พล.อ.ประวิตร และรองนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ ก็เหนือกว่า พล.อ.ประวิตร ในแง่ของความนิยมทางการเมือง ก็เป็นปกติที่คนจะพูดอะไรแบบนั้น แต่ว่า พล.อ.ประวิตรมีความชอบธรรมที่จะรักษาการนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นเบอร์หนึ่ง ก็ให้มันไปได้อย่างนี้

แต่ถ้ามองอนาคตกันไปยาวกว่านั้น ก็อยากจะเห็น พล.อ.ประยุทธ์ วางมือ เพื่อให้สนามการเมืองคราวหน้าเป็นปกติมากขึ้น เพราะในวันนี้ ส.ว. 250 คนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งมา ยังมีอำนาจโหวตเลือกนายกฯ อยู่เลย เมื่อกล่าวถึงความเป็นไปตามกฎหมายและความชอบธรรม แล้วเราบอกว่า คนที่มีญาติ จะไปทำอะไรกับรัฐ ถ้าเราเป็นผู้มีอำนาจเราไม่ควร เรื่อง ส.ว. 250 คน มีอำนาจโหวตเลือกนายกฯ โดยที่ ส.ว. 250 คน แต่งตั้งโดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็เป็นเรื่องที่ถูกมองมาตลอดไม่ว่าจะฝ่ายไหน เรื่องนี้เป็นปัญหาจริง

"แต่ไม่ว่าจะไปด้วยเหตุผลไหน ถ้าท่านมองย้อนกลับไปแล้วก็คิดว่าพอแล้ว เหมือนสมัย พล.อ.เปรม (ติณสูลานนท์) ก็น่าจะเป็นจุดตั้งต้นที่ดีสำหรับสนามการเมืองที่จะเป็นปกติมากขึ้น คิดว่าความปกติทางการเมืองเป็นสิ่งที่ประเทศชาติต้องการ แต่ถ้าเกิดว่าศาลบอกว่าอยู่ต่อได้ และตัดสินใจที่จะลงสนามการเมือง ถึงตอนนั้นเราก็ประเมินกันอีกว่าผลของมันจะเป็นยังไง คิดว่าสิ่งที่น่าจะคิดกันก็คือ ผลของการที่ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ลงสนามหน้า ความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะแลนด์สไลด์มีสูง กับบรรยากาศและกระแสตอนนี้ ต้องยอมรับว่า 8 ปี ไม่ว่าจะเป็นนายกฯ ที่เก่งแค่ไหน 8 ปีมันจะเริ่มมีความอ่อนล้าจากสังคม คือความเบื่อ ไม่ว่าจะมีเหตุผลอย่างไร มันเกิดขึ้น แล้วมันจะเป็นกราฟลงแบบนี้ ประกอบกับมีเรื่องการตีความ 8 ปีแบบนี้อยู่ด้วย คิดว่าในสนามเลือกตั้งจะอยู่ตรงจุดไหน แล้วจะสร้างผลอย่างไร" โบว์ ณัฏฐา กล่าว

ในตอนท้าย เมื่อถามว่า นับจากวันนี้ถึงวันที่ศาลวินิจฉัย จะมีการชุมนุมเพื่อกดดันศาลอยู่หรือไม่ โบว์ ณัฏฐา กล่าวว่า คิดว่ามี บางทีเป็นความต่อเนื่อง เป็นอารมณ์คงค้าง ซึ่งถ้าอยู่ในกรอบพอดีก็เป็นปกติ แต่ถ้ามีความพยายามยกระดับหรืออะไร คิดว่าผลกระแสอาจจะตีกลับ เพราะคนก็ไม่รู้สึกถึงความสมเหตุสมผล การเคลื่อนไหวตอนนี้เป็นการสร้างกระแสเพื่อหนุนการเลือกตั้ง ยิ่งเคลื่อนไหวไปแม้จะไม่มีผลในการเปลี่ยนคำวินิจฉัยของศาล แต่จะมีผลต่อการลดความชอบธรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ ถ้าสิ่งที่เขาสื่อสารมีน้ำหนัก ส่งผลไปถึงการเลือกตั้ง คิดว่าเป็นเหตุผลนั้นมากกว่า

‘โบว์ ณัฏฐา’ เตือน ‘หยก’ เป็น ‘นางสาวแล้ว’ อีกไม่นานจะบรรลุนิติภาวะ หวังว่าจะรู้ตัว-กลับบ้าน ก่อนใช้ประโยชน์คำว่า ‘เด็ก’ ไม่ได้อีก

(19 ก.ย. 66) น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ทวิตเตอร์ Bow Nuttaa Mahattana ระบุว่า…

“แทนที่ บุ้ง จะสนับสนุนให้ หยก กลับบ้าน บุ้งกลับสนับสนุนให้หยกออกจากบ้าน แล้วย้ายมาอยู่กับตัวเอง และเปิดบัญชีบริจาคให้คนโอนเงินสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มทะลุวัง เพื่อจะป่วนไปทั่ว สะสมคดีความ ดับอนาคต .. อีกสองสามปีหยกก็จะบรรลุนิติภาวะ ไม่มีคำว่าเด็กเป็นเกราะคุ้มกันอีกต่อไป ในวันที่คดีความของบุ้งสิ้นสุดและเดินเข้าคุก .. หวังว่าหยกจะรู้ตัว กลับบ้าน หรือยอมเข้ากระบวนการช่วยเหลือของรัฐ ไม่ใช้คำว่าเด็กสิ้นเปลืองเกินไปจนหมดเวลา

ถ้าหยกอายุต่ำกว่า 9 ปี รัฐจะสามารถดำเนินคดีพ่อแม่ข้อหาทอดทิ้งบุตรได้ แต่เมื่ออายุเกิน 9 ปี กระบวนการช่วยเหลือจึงซับซ้อนกว่านั้น และยากขึ้นไปอีกเมื่อเด็กไม่ให้ความร่วมมือ จนถึงยากที่สุดเมื่อมีกลุ่มการเมืองคอยจับผิดและพร้อมจะมีปัญหากับหน่วยงานรัฐ ในขณะที่มีเด็กอีกมากมายที่ต้องการและสมควรได้รับการช่วยเหลือและทุ่มเททรัพยากร

ความร่วมมือของหยกเองซึ่งเป็น ‘นางสาว’ แล้วไม่ใช่ ‘เด็กหญิง’ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาด้วย แต่ที่ผ่านมา หยก ปฏิเสธทุกอย่าง เพราะมีแนวร่วมและกลุ่มการเมืองคอยทำให้เขาเชื่อว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นคือความกล้าหาญที่น่ายกย่อง … แต่สุดท้ายคนที่จะต้องรับผลของการตัดสินใจเลือกนั้นคือตัวหยกเอง และโดยลำพัง ในวันที่ไม่เหลือคำว่าเด็กไว้ให้ใครหาประโยชน์อีกต่อไป”

'โบว์-ณัฏฐา' สะท้อน!! โลกนี้มีผู้ฟังอยู่ 2 ประเภท ฟังแล้วนำมุมดีไปใช้ต่อ กับฟังแล้วตีโพยตีพาย 

จากกรณี CK Cheong (ซีเค เจิง) CEO เว็บไซต์ Fastwork ได้แสดงความคิดเห็นเรื่อง ทุกคนมีเวลาเท่ากัน อย่าอ้างว่าไม่มีเวลา แต่สามารถดูสตรีมมิ่งได้ 8 ชม. การดูสตรีมมิ่งไม่ผิด แต่อย่าลืมเอาเวลามาพัฒนาตัวเอง ซึ่งหลังจากวิดีโอถูกแชร์ออกไป ชาวเน็ตก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมาย มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนกลายเป็นกระแสดรามา

ล่าสุด (8 ก.พ.67) น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน ก็ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องนี้ด้วยว่า...

เห็นมีคนพูดเรื่องการบริหารเวลา แนะนำให้จัดลำดับความสำคัญ ถ้าคุณมีเวลาดูซีรีส์ อย่าบอกว่าไม่มีเวลาจะทำอะไรเพื่อพัฒนาตัวเอง…แล้วก็มีคนโวยวาย เข้าไปด่า

โลกนี้มีคนที่ฟังอะไรแล้วหยิบส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ต่อ กับคนที่ฟังอะไรแล้วตีโพยตีพาย จับผิดคนพูดแทนการจับประเด็น เพราะอยากได้การโอ๋มากกว่าความจริง อยากได้ข้ออ้างให้กับความล้มเหลวของตัวเองมากกว่าแรงผลักดันเพื่อพัฒนา 

มีพี่คนนึงเคยพูดไว้ว่าถ้าเราให้ความสำคัญกับอะไร เราจะมีเวลาให้มันเสมอ ตอนจีบใคร ยุ่งแค่ไหนก็หาเวลาไปดูหนังได้ ไปเจอกันได้ ดังนั้นในชีวิตอย่าอ้างว่าไม่มีเวลาที่จะทำสิ่งที่ควรทำ ซึ่งจริงมาก…แต่ตอนนั้นไม่มีทัวร์ลง เพราะมันยังไม่มีเทรนด์ของการโยงทุกอย่างเข้ากับคำว่าความเหลื่อมล้ำ เพื่อจะบอกว่าชีวิตฉันดีขึ้นไม่ได้หรอกถ้าคนยังไม่เท่ากัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top