Friday, 10 May 2024
อัครเดช_วงษ์พิทักษ์โรจน์

'โฆษก รทสช.' ขอบคุณ 'นายกฯ' สานต่อนโยบาย 'ลุงตู่' อนุมัติช่วยชาวนาไร่ละ 1 พัน เชื่อ!! ช่วยลดภาระได้มาก

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 66 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อราย จะมีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (28 พ.ย.66) ว่า ขอขอบคุณรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน แทนชาวนาทั้งประเทศ ที่รัฐบาลเห็นชอบจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา 

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่ดี ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับชาวนา เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เนื่องจากขณะนี้ต้นทุนการผลิตสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ย หรือยาฆ่าหญ้า 

ดังนั้น การที่รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา 1,000 บาท ต่อไร่ จึงถือเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับชาวนาคลายความเดือดร้อนได้บางส่วน แม้จะเป็นเงินจำนวนน้อยก็ตาม แต่ในปีต่อไปก็อยากจะให้เดินหน้าโครงการนี้ต่อช่วยเหลือชาวนาให้ได้มากกว่าไร่ละ 1,000 บาท ขอเป็นไร่ละ 2,000 บาท ถือเป็นสิ่งที่ชาวนาเรียกร้องมา จากการที่ตนได้ลงพื้นที่มีเสียงสะท้อนกลับมาขอไร่ละ 2,000 บาท ถือว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสม ในการช่วยเหลือชาวนา เพื่อลดภาระให้กับเกษตรกร

สำหรับนโยบายดังกล่าวนี้ ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 14 พ.ย.66 ภายหลังจากที่ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือชาวนาค่าเก็บเกี่ยวข้าว ว่า ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในฐานะที่ตนรับผิดชอบ โดยเรื่องข้าวทางคณะกรรมการนโยบายข้าวได้ประชุมและให้ส่วนที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หลังคุยได้สรุปและนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันเดียวกัน โดยเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท จำนวนทั้งหมดไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครัวเรือน ครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการนับตั้งแต่มติ ครม.ออก รอเพียงให้ ธ.ก.ส.เคลียร์รายละเอียดประชุมบอร์ด จากนั้นเกษตรกรก็จะได้รับเงินตรงนี้ต่อเนื่องไป

'กมธ.อุตฯ' เรียกสอบหน่วยงาน แก้ไขกฎขออนุญาตตั้งโรงงาน หลัง 'โรงงานพลุ-คลังเก็บดอกไม้ไฟ' ระเบิดถี่ขึ้นในช่วงหลัง

เมื่อวานนี้ (18 ม.ค. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์โรงงานพลุระเบิดใน จ.สุพรรณบุรีว่า ขอแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์โรงงานพลุระเบิดที่ จ.สุพรรณบุรี ประเทศไทยเรามีเหตุการณ์จากโรงงานพลุระเบิดและโรงงานเก็บดอกไม้ไฟระเบิดมาหลายครั้งมากและเกิดถี่ขึ้นในช่วงหลัง ตนเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบการขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตพลุดอกไม้ไฟทั่วประเทศเสียใหม่

ประธานกมธ.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เดิมที พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้ว่า เครื่องจักรที่น้อยกว่า 50 แรงม้า หรือมีคนงานน้อยกว่า 50 คนไม่ต้องขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟส่วนใหญ่จะอยู่นอกเหนือการตรวจสอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถึงแม้จะเรียกว่าโรงงาน แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เนื่องจากอยู่นอกเหนือกฎหมาย แต่หลังจากเกิดเหตุโรงงานพลุดอกไม้ไฟระเบิดอยู่บ่อยครั้งได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องสังคายนากฎระเบียบนี้เสียใหม่

นายอัครเดช กล่าวว่า จากนี้ไปจะต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้ที่ออกใบอนุญาตมาประชุมหารือว่าถึงเวลาจะต้องแก้ไขระเบียบใหม่หรือยังเพื่อให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักในการติดตามตรวจสอบโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้แรงงานในโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟ รวมถึงบ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟ

ไม่เช่นนั้นจะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้อยู่เป็นประจำ และสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งกมธ.อุตสาหกรรมจะรับเรื่องนี้มาพิจารณาเพื่อเสนอให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป เราจะปล่อยให้เกิดเหตการณ์ระเบิดในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ได้

‘อัครเดช’ เผยวิปรัฐบาลมีมติให้ รทสช. เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้สภาฯ พิจารณาทบทวนมาตรการอารักขาถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จฯ

เมื่อวานนี้ (12 ก.พ. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมวิปรัฐบาลได้มีมติเห็นชอบให้พรรครวมไทยสร้างชาติ เสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาทบทวนมาตรการอารักขาถวายความปลอดภัยขบวนเสด็จพระราชดำเนินของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ให้มีความปลอดภัย เพื่อป้องปรามพฤติกรรมขัดขวางขบวนเสด็จอันก่อให้เกิดอันตราย หรือเสื่อมเสียพระเกียรติยศจะเสนอโดยนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ในวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 โดยจะขอที่ประชุมพิจารณาญัตติดังกล่าวเป็นเรื่องแรกก่อนพิจารณาพรบ.อีก 2 ฉบับ

นายอัครเดช กล่าวว่า จุดประสงค์ที่เสนอญัตติด่วนในครั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาสังคมเกิดความไม่สบายใจ ที่มีกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนไปกระทำการอันไม่บังควรต่อขบวนเสด็จของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนเกิดความไม่สบายใจและขุ่นข้องหมองใจอย่างกว้างขวาง พวกเราเองในฐานะสส.ฝั่งรัฐบาล จะได้ใช้กลไกของสภาฯ เพื่อพิจารณาทบทวนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง จะได้เพิ่มมาตรการให้มีความเข้มงวดเกี่ยวกับการถวายความปลอดภัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนมีมาตรการที่ชัดเจนดำเนินการกับผู้ที่ขัดขวาง ก่อกวนขบวนเสด็จ

“จะมีการใช้เวทีของสภาฯ อภิปรายเพื่อหาทางออก เพื่อลดความไม่สบายใจและความวิตกกังวลของพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มคนที่แสดงพฤติกรรมขัดขวางหรือก่อกวนขบวนเสด็จพระราชดำเนินซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่บังควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง”นายอัครเดชกล่าว

'อัครเดช-รทสช.' ท้วง 'รองอ๋อง' ไม่เป็นกลาง-เบรกไม่ให้พูด กล่าวหาตนอภิปรายยืดเยื้อ สุดท้ายกระทู้ถาม รมต.ล่ม

(22 ก.พ. 67) ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานสภา เข้าสู่การพิจารณากระทู้ถามทั่วไป ที่นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ถามเรื่องติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และการบริหารจัดการไฟฟ้าส่องสว่างอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ตอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอัครเดชได้อภิปรายเป็นเวลาเกือบ 10 นาที แต่ยังไม่ได้ถามคำถาม นายปดิพัทธ์จึงทักท้วงว่า นายอัครเดชใช้เวลาเกือบ 10 นาทีแล้ว ขอให้ถามคำถามได้แล้ว ทำให้นายอัครเดชไม่พอใจและกล่าวว่า กระทู้ถามทั่วไปไม่ได้ระบุเวลา แต่ตนรู้ข้อบังคับดี เดี๋ยวตนกำลังจะถามคำถามแล้ว ท่านประธานต้องอย่าทำตัวเอียง ต้องวางตัวให้ตรง วินิจฉัยอะไรต้องรับผิดชอบด้วย 

จากนั้นนายปดิพัทธ์จึงกล่าวว่า ตนให้โอกาสในการอภิปรายแต่นายอัครเดชพูดเรื่อง 70 ล้าน 80 ล้านมา 2 รอบแล้วจึงจะเข้าข่ายวนเวียนแล้ว และคิดว่าเราได้ประเด็นของเนื้อหาจึงอยากให้ช่วยบริหารเวลาเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ให้ท่านอภิปราย

นายอัครเดชกล่าวว่า “จริง ๆ กระทู้ถามสดนั้น ผู้ถามมีเวลาถาม 15 นาที และผู้ตอบมีเวลา 15 นาทีในการตอบเช่นเดียวกัน ผมเพิ่งถาม 10 นาที ท่านมาเบรกผม ท่านมีอะไรกับผมเหรอครับ”

นายปดิพัทธ์กล่าวว่า “ท่านมีอะไรกับผมเหรอครับ ไม่มีครับ” แต่คิดว่ากระทู้ถามแต่ละครั้งที่วันนี้ตนให้อภิปรายเกิน 10 นาทีได้ เพราะวันนี้มีกระทู้ของนายอัครเดชคนเดียวที่เหลือเป็นการเลื่อนกระทู้ และตนแค่บอกเฉย ๆ ว่าตอนนี้ควรที่จะต้องเข้าสู่คำถามได้แล้ว เพราะเป็นการอภิปรายที่มากพอแล้ว ตนไม่มีอะไรกับนายอัครเดช ขอให้เข้าสู่เนื้อหาเลย หากจะอภิปรายกับตน ตนคิดว่ามันเสียเวลาของสภา ขอเข้าสู่กระทู้ต่อ

นายอัครเดชกล่าวว่า ตนต้องชี้แจงเพื่อที่ประชาชนจะได้เข้าใจข้อบังคับและสิทธิของ สส. ด้วยความเคารพสิทธิของสมาชิก คือเวลาที่ถามนั้น ตนยังอยู่ในเวลาที่ใช้สิทธิอยู่ และหากไปดูเรื่องข้อบังคับกระทู้ถามไม่ได้ระบุระยะเวลา ตนเคารพสภา โดยการใช้สิทธิตามระยะเวลาที่มีอยู่คือ 15 นาที ฉะนั้น การอภิปรายของตนก็เป็นประโยชน์ต่อรัฐมนตรี ในการให้ข้อมูลของรัฐมนตรีไปบริหารประเทศเพื่อประหยัดงบประมาณเงินภาษีของพี่น้องประชาชน ตนจึงบอกว่า 70 ล้านกับ 10 ล้านมันต่างกัน สิ่งที่ตนอภิปรายเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติดีกว่าที่จะอภิปรายที่ทะเลาะกันไปทะเลาะกันมา แล้วท่านวินิจฉัยกลายมาเป็นประเด็นที่ทะเลาะกัน ตนว่าแบบนั้นเสียเวลามากกว่า ขอให้ท่านได้ทำตามข้อบังคับและเคารพสิทธิของสภาด้วย

นายปดิพัทธ์ชี้แจงว่า กระทู้ถามข้อบังคับบอกว่าต้องไม่เป็นลักษณะการอภิปราย หากนายอัครเดชไม่ถามกระทู้ ขออนุญาตว่าจะไม่ถามก็ได้ และเวลาของนายอัครเดชนั้น ตนเคารพ แต่ตอนนี้นายอัครเดชใช้เวลามากเกินไปกับสิ่งที่ไม่อยู่ในกระทู้

นายอัครเดชกล่าวว่า อยากให้นายปดิพัทธ์ที่ทำหน้าที่ประธาน ท่านจะใช้ดุลพินิจหรือวินิจฉัยอะไร ขอให้ท่านอยู่ในข้อบังคับและรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนด้วย ตนกำลังอภิปรายประเด็นนี้และตนถามกระทู้มาตั้งแต่สมัยที่นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นประธานสภา ตนไม่ได้ถามกระทู้นี้กระทู้แรก และตนไม่เคยมีปัญหาเช่นนี้เพราะตนรู้ข้อบังคับ ทำให้นายปดิพัทธ์ ทักท้วงขึ้นว่า ขอให้เข้าเรื่องได้แล้ว ไม่เช่นนั้นตนไม่อนุญาตให้พูดและคำวินิจฉัยของประธานเป็นที่สิ้นสุด

นายอัครเดชกล่าวว่า หากท่านประธานวินิจฉัยเช่นนี้ ตนขอให้สภาแห่งนี้บันทึกไว้ว่า สส.ที่นำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาอภิปราย แล้วอภิปรายตามข้อบังคับและจะถามรัฐมนตรีตามระเบียบ แต่ท่านใช้ดุลพินิจของท่านวินิจฉัยให้ สส.หยุดอภิปราย จึงขอให้สภาบันทึกไว้ว่าตนมีความตั้งใจที่จะถามกระทู้นี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ หากท่านวินิจฉัยเช่นนี้ ตนขอไม่ถามกระทู้ต่อ

นายปดิพัทธ์กล่าวว่า ตนจำเป็นต้องบริหารเวลาและข้อบังคับให้ชัดเจน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเบรกไม่ให้นายอัครเดชถาม ขอให้ท่านอภิปรายและเข้าสู่คำถามเพราะเห็นว่าอภิปรายได้ครบถ้วนแล้ว ซึ่งก็รอคำถามจากท่านอยู่ ตนเคารพท่านและสภาฯ ก็บันทึกไว้ได้ว่าตนวินิจฉัยเช่นนี้

นายอัครเดชลุกขึ้นทักท้วงอีกรอบว่า ท่านประธานไม่จบ นายปดิพัทธ์จึงกล่าวขึ้นว่า ตนจบแล้ว และไม่อนุญาตให้พูด ขอบคุณรัฐมนตรี ซึ่งผู้ถามไม่ได้ใช้สิทธิ์ถามแล้ว และเจ้าหน้าที่ที่บันทึกการประชุมว่า นายอัครเดชทำผิดข้อบังคับ ไม่เคารพคำวินิจฉัย ตนไม่สามารถให้อภิปรายตัวตนได้เพราะนี่ไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทำให้นายอัครเดชลุกขึ้นประท้วงว่า ตนไม่ได้อภิปรายและขอประท้วงว่าประธานทำผิดข้อบังคับ ท่านเป็นประธานต้องวางตัวเป็นกลาง อย่าเอาอารมณ์เมื่อครั้งที่แล้วมาทำเช่นนี้กับสมาชิก ไม่ถูกต้อง ท่านเป็นประธาน ตนและ ส.ส.เคารพท่านเพราะตำแหน่งท่านแต่การที่ท่านวินิจฉัยและมาขัดการอภิปรายเช่นนี้ ตนถือว่าเป็นสิ่งที่ประธานไม่ควรทำและไม่สร้างสรรค์อย่างยิ่ง

นายปดิพัทธ์ได้ย้ำอีกครั้งถึงเรื่องข้อบังคับสภา ในการถามกระทู้และไม่ได้มีเจตนาที่จะเบรกไม่ให้นายอัครเดชถามกระทู้แต่อย่างใด จากนั้นจึงเข้าสู่วาระถัดไป

‘อัครเดช รทสช.’ ซัด!! ‘รองอ๋อง’ ควรวางตัวเป็นกลาง หลังถูกเบรกอภิปรายยืดเยื้อ

ย้อนความเดือด!! ‘อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์’ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ฉะ!! ‘ปดิพัทธ์ สันติภาดา’ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ในการประชุมสภาฯ พิจารณากระทู้ถามทั่วไป เรื่องติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และการบริหารจัดการไฟฟ้าส่องสว่างอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 67 

นายอัครเดช ได้กล่าวถึงการจัดระเบียบสายไฟในจังหวัดราชบุรีสามารถจัดการได้จนได้ฉายาว่า ราชบุรีโมเดล แต่ในจังหวัดอื่นไม่สามารถจัดการได้ อภิปรายวนไปวนมากว่า 10 นาที แต่ยังไม่ได้ถามคำถาม นายปดิพัทธ์ ประธานในที่ประชุมทักท้วงว่า ใช้เวลาเกือบ 10 นาทีแล้วขอให้ถามคำถามได้แล้ว ทำให้นายอัครเดช กล่าวว่า กระทู้ถามทั่วไปไม่ได้ระบุเวลา ตนรู้ข้อบังคับดี ท่านประธานอย่าทำตัวเอียง ต้องวางตัวเป็นกลาง วินิจฉัยอะไรต้องรับผิดชอบ

นายปดิพัทธ์ จึงกล่าวว่า ตนให้โอกาสในการอภิปราย แต่นายอัครเดชพูดวนเวียนแล้ว และคิดว่าเราได้ประเด็นของเนื้อหาจึงอยากให้ช่วยบริหารเวลาเท่านั้น และไม่ได้ห้ามอภิปราย

ทำให้นายอัครเดช กล่าวว่า กระทู้ถามสดมีเวลาถาม และตอบ 15 นาที ตนเพิ่งถามไป 10 นาที ท่านมาเบรกตน ท่านมีอะไรกับตนไหม ตั้งแต่ครั้งที่แล้ว นายปดิพัทธ์จึงตอบกลับว่า ไม่มี แต่ตนต้องบริหารเวลา วันนี้ตนให้อภิปรายเกิน 10 นาทีได้ เพราะวันนี้มีกระทู้ของนายอัครเดชคนเดียวที่เหลือเป็นการเลื่อนกระทู้ และตนแค่บอกว่าตอนนี้ต้องถามได้แล้ว เพราะเป็นการอภิปรายที่มากพอแล้ว ตนไม่มีอะไรกับนายอัครเดช ขอให้เข้าสู่เนื้อหาเลย คิดว่ามันเสียเวลาของสภาฯ ขอเข้าสู่กระทู้ต่อ

นายอัครเดช กล่าวว่า เป็นสิทธิของส.ส. ตนยังอยู่ในเวลาที่ใช้สิทธิตามระยะเวลาที่มีอยู่คือ 15 นาที เพราะการอภิปรายของตนก็เป็นประโยชน์ต่อรัฐมนตรี ในการให้ข้อมูลรัฐมนตรีไปบริหารประเทศ เพื่อประหยัดงบประมาณเงินภาษีของพี่น้องประชาชน ตนจึงบอกว่า 70 ล้านกับ 10 ล้านมันต่างกัน สิ่งที่ตนอภิปรายดีกว่าที่จะอภิปรายที่ทะเลาะกันไปทะเลาะกันมา แล้วท่านวินิจฉัยกลายมาเป็นประเด็นที่ทะเลาะกัน ตนว่าแบบนั้นเสียเวลามากกว่า ขอให้ทำตามข้อบังคับและเคารพสิทธิของสภาฯ ด้วย

นายปดิพัทธ์ จึงชี้แจงว่า ข้อบังคับระบุว่าต้องไม่เป็นลักษณะการอภิปราย หากนายอัครเดชไม่ถามกระทู้ ขออนุญาตว่าจะไม่ถามก็ได้ แต่ตอนนี้นายอัครเดชใช้เวลามากเกินไปกับสิ่งที่ไม่อยู่ในกระทู้

นายอัครเดช สวนทันควันว่า อยากให้นายปดิพัทธ์ใช้ดุลพินิจอยู่ในข้อบังคับ และรักษาผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนด้วย ตนกำลังอภิปรายประเด็นนี้และตนถามกระทู้มาตั้งแต่สมัยที่นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานสภาฯ ตนไม่ได้ถามกระทู้นี้กระทู้แรก และตนไม่เคยมีปัญหาเช่นนี้เพราะตนรู้ข้อบังคับ ทำให้นายปดิพัทธ์ ทักท้วงขึ้นว่า ขอให้เข้าเรื่องได้แล้ว ไม่เช่นนั้นตนไม่อนุญาตให้พูดและคำวินิจฉัยของประธานเป็นที่สิ้นสุด

นายอัครเดช กล่าวว่า หากท่านประธานวินิจฉัยเช่นนี้ ตนขอให้สภาฯ แห่งนี้บันทึกไว้ว่าส.ส.ที่นำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาอภิปรายตามข้อบังคับ แต่ท่านใช้ดุลพินิจให้ส.ส.หยุดอภิปราย จึงขอให้สภาฯ บันทึกไว้ว่าตนมีความตั้งใจที่จะถามกระทู้นี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ หากท่านวินิจฉัยเช่นนี้ ตนขอไม่ถามกระทู้ต่อ

นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ตนจำเป็นต้องบริหารเวลาและข้อบังคับให้ชัดเจน ไม่ได้มีเจตนาที่จะเบรกไม่ให้นายอัครเดชถาม ขอให้ท่านอภิปรายและเข้าสู่คำถามเพราะเห็นว่าอภิปรายได้ครบถ้วนแล้ว ซึ่งก็รอคำถามจากท่านอยู่ ตนเคารพท่านและสภาฯ ก็บันทึกไว้ได้ว่าตนวินิจฉัยเช่นนี้

นายอัครเดช ลุกขึ้นทักท้วงอีกรอบว่า ท่านประธานไม่จบ นายปดิพัทธ์ จึงกล่าวขึ้นว่า ตนจบแล้ว และไม่อนุญาตให้พูด ขอบคุณรัฐมนตรี ซึ่งผู้ถามไม่ได้ใช้สิทธิ์ถามแล้ว และเจ้าหน้าที่ที่บันทึกการประชุมว่า นายอัครเดชทำผิดข้อบังคับ ไม่เคารพคำวินิจฉัย ตนไม่สามารถให้อภิปรายตัวตนได้เพราะนี่ไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ทำให้นายอัครเดช ลุกขึ้นประท้วงว่า ตนไม่ได้อภิปรายและขอประท้วงว่าประธานทำผิดข้อบังคับ ท่านเป็นประธานต้องวางตัวเป็นกลาง อย่าเอาอารมณ์ เมื่อครั้งที่แล้วมาทำเช่นนี้กับสมาชิก ไม่ถูกต้อง ท่านเป็นประธาน ตนและส.ส.เคารพท่านเพราะตำแหน่งท่านแต่การที่ท่านวินิจฉัยและมาขัดการอภิปรายเช่นนี้ ตนถือว่าเป็นสิ่งที่ประธานไม่ควรทำและไม่สร้างสรรค์อย่างยิ่ง

นายปดิพัทธ์ ได้ย้ำอีกครั้งถึงเรื่องข้อบังคับสภาฯ ในการถามกระทู้และไม่ได้มีเจตนาที่จะเบรกไม่ให้นายอัครเดชถามกระทู้แต่อย่างใด จากนั้นจึงเข้าสู่วาระถัดไป

‘รวมไทยสร้างชาติ’ รับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ฟาก ‘อัครเดช’ ยัน!! ไม่มีใครอยากเป็นชนกลุ่มน้อย เชื่อ!! ทุกคนอยากเป็น ‘คนไทย’

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 67 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี เขต 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้อภิปรายเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.. ระบุว่า…

“พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้มีมติในการประชุม สส.ของพรรค ว่า เราจะสนับสนุนเพียงร่างเดียว คือร่างของคณะรัฐมนตรี ที่เสนอเข้ามาให้สภาฯ พิจารณา เหตุผลที่พรรครับเพียงร่างเดียว และทำไมอีก 3 ร่าง พรรคถึงไม่รับ ในส่วนร่างของ ครม. จะเห็นว่าไม่มีคำว่าชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ในร่าง พ.ร.บ. แต่ใช้คำว่า พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ร.บ.ฉบับนี้ตอบโจทย์กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีอยู่ 30-60 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย”

นายอัครเดช เสริมต่อว่า “ทั้งนี้ พรบ.ฉบับ ครม.ตอบโจทย์ความต้องการของทุกชาติพันธุ์ทั้งในสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิที่ดินทำกินและทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิในความเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติสิทธิในการมีส่วนร่วม และสิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ซึ่งสิทธิต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เปรียบเสมือนเป็นคนไทยอยู่แล้ว”

“ทั้งนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เขาอยากเป็นคนไทย เขาไม่ได้อยากเป็นชนกลุ่มน้อย หรือเป็นชนเผ่า ซึ่งเมื่อได้รับรองเป็นคนไทยจะได้สิทธิตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ทุกคนต้องการจะเป็นคนไทยมีชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์จีน ชาติพันธุ์อินเดีย ชาติพันธุ์แขก ชาติพันธุ์มลายู ชาติพันธุ์ม้ง ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ทุกคนถือว่าเป็นคนไทย ตามแต่ละหน่วยงานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ พ.ร.บ.ของคณะรัฐมนตรี ที่ได้เสนอเข้ามาในสภาฯ มีการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้” นายอัครเดชกล่าว

นายอัครเดช กล่าวเพิ่มเติมกรณีไม่สนับสนุนอีก 3 พ.ร.บ. ว่า “เหตุผลที่พรรครวมไทยสร้างชาติไม่สนับสนุนอีก 3 พ.ร.บ. ไม่ว่าจะเป็นร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมือง ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่ง 2 ฉบับนี้เสนอมาในกลุ่มภาคประชาชน ส่วน พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองของพรรคก้าวไกล 1 ฉบับ ทางพรรครวมไทยสร้างชาติจะไม่ลงมติในการรับหลักการ เนื่องจากทั้ง 3 ฉบับมีคำว่าชนเผ่าพื้นเมือง” 

นายอัครเดช อธิบายต่อว่า “อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้ไปแถลงที่สหประชาชาติว่าประเทศไทยไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง ที่ไม่มีชนเผ่าพื้นเมืองเพราะว่า ประเทศไทยของเรามีเผ่าพันธุ์เดียวคือเผ่าพันธุ์ไทย เรามีกลุ่มชาติพันธุ์ 30-60 ชาติพันธุ์ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เรามีเผ่าพันธุ์ไทย คำว่าชนเผ่าพื้นเมืองในหลักสากลในความหมายของสหประชาชาติก็คือชนเผ่าที่อยู่ในพื้นที่ของตนเอง แล้วโดนรุกรานมายึดพื้นที่ เช่นที่อเมริกาอินเดียแดงถือว่าเป็นชนเผ่าพื้นเมืองโดนคนผิวขาวมายึดพื้นที่แล้วตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา อันนี้คือตัวอย่างในนามของสหประชาชาติคือชนเผ่าพื้นเมือง แต่ประเทศไทยเราไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง”

“ประเทศไทยไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง เรามีเผ่าพันธุ์ไทยมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ที่ก่อตั้งชาติ ล้วนแล้วแต่เป็นชาติพันธุ์ ใครที่เป็นลูกหลานคนไทยเชื้อสายจีนอย่างตนก็เป็นคนไทยเชื้อสายจีนมีความภูมิใจในความเป็นคนไทย แต่เราเชื้อสายจีนเป็นชาติพันธุ์จีน หลายท่านในที่นี้ก็มีหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาติพันธุ์แขก ชาติพันธุ์มลายู ชาติพันธุ์ม้ง ชาติพันธุ์ลาว รัฐธรรมนูญมาตรา 70 ให้ความคุ้มครองในความเป็นชาติพันธุ์ ในรัฐธรรมนูญเราก็ไม่ได้ใช้คำว่าชนเผ่าพื้นเมือง ดังนั้นการที่เราจะรับรอง 3 พ.ร.บ.ดังกล่าวก็เสี่ยงจะขัดรัฐธรรมนูญถ้าเราจะใช้คำว่าชนเผ่าพื้นเมือง” นายอัครเดชกล่าว

นายอัครเดช กล่าวต่อไปว่า “นอกจากนั้น ประเทศไทยเราไปรับปฏิญญาว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมือง เพราะประเทศไทยเราเคยประกาศแล้วไปแถลงว่า เราไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง ถ้าเราไปรับว่าเรามีชนเผ่าพื้นเมืองในปฏิญญาสากลว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมือง สามารถแยกไปปกครองตนเองได้ ถ้าเรารับว่าประเทศไทยมีชนเผ่าพื้นเมืองก็จะเป็นภัยต่อความมั่นคงในอนาคตอาจปกครองลำบากเพราะบางพื้นที่อาจขอไปปกครองตนเองได้ อันนี้คือสิ่งที่ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเป็นห่วงในประเด็นนี้ การที่เรามีชนเผ่าพันธุ์เดียวคือเผ่าพันธุ์ไทยมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์นี่คือความภาคภูมิใจในความเป็นไทย แต่เรายอมรับในความหลากหลาย เรามี 30-60 ชาติพันธุ์ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จะทำให้เรารวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยเป็นประเทศไทย”

นายอัครเดช กล่าวย้ำว่า “สส.รวมไทยสร้างชาติ ได้ลงไปสำรวจแล้ว ไม่มีใครอยากเป็นคนชนเผ่า เพราะทุกคนอยากเป็นคนไทย ได้สิทธิเหมือนคนไทย มีความภูมิใจในความเป็นไทย แต่ยังดำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของแต่ละชาติพันธุ์ไว้ ขอเรียกร้องให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้งดใช้คำว่าชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อความมั่นคงของประเทศ แล้วให้ใช้คำว่าชาติพันธุ์แทน ประเทศไทยเราจะได้เข้าสู่ความกลมเกลียว ว่าทุกคนนั้นอยากเป็นคนไทยแล้วก็ได้สิทธิในความเป็นไทยเหมือนกัน คือเหตุผลที่เราไม่รับหลักการในส่วนของ 3 พ.ร.บ.นี้”

นายอัครเดช กล่าวทิ้งท้ายว่า “รัฐธรรมนูญมาตรา 70 ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เราไม่อยากจะเห็นการเอาประเด็นนี้มาหาเสียงทางการเมือง เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศในอนาคต สส.ของพรรครวมไทยสร้างชาติ จึงได้ประชุมกันแล้ว มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ของคณะรัฐมนตรี สามารถตอบโจทย์ความต้องการของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยได้ และไม่รับอีก 3 พ.ร.บ.ที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล และเสนอโดยภาคประชาชน เพราะเราเห็นว่าประเทศไทยไม่ควรมีการใช้คำว่าชนเผ่าพื้นเมือง ทุกคนเป็นคนไทย เคารพในความหลากหลายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 70 ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติสืบต่อไปในอนาคต”

‘สส.อัครเดช’ ชม ‘พีระพันธุ์’ กล้าหาญบี้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งต้นทุน ชี้!! ช่วยป้องกันค้ากำไรเกินควร-สร้างราคาเป็นธรรมให้ ปชช.

เมื่อวานนี้ (15 ม.ค. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์กรณี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ออกประกาศให้ผู้ค้าน้ำมัน หรือโรงกลั่นน้ำมัน ต้องแจ้งข้อมูลต้นทุนน้ำมัน เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร ว่า ถือเป็นความกล้าหาญของนายพีระพันธุ์ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐมนตรีคนใดกล้าทำเช่นนี้มาก่อน

ทั้งนี้ การออกประกาศกระทรวงพลังงานให้ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7 ต้องแจ้งต้นทุนนำเข้าของราคาน้ำมันที่แท้จริง เพราะว่าโรงกลั่นที่นำเข้าน้ำมัน เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ทั้งน้ำมันดิบ หรือน้ำมันที่กลั่นแล้ว จะต้องแจ้งต้นทุนการนำเข้า ส่วนค่าดำเนินการในการกลั่นก็ต้องไปแจ้งต้นทุนการกลั่นกับกรมสรรพากร ทำให้ภาครัฐรู้ต้นทุนที่แท้จริงของโรงกลั่น ทำให้ภาครัฐรู้ว่าโรงกลั่นมีกำไรหรือค่าการกลั่นที่แท้จริงเท่าไรกันแน่

นอกจากนั้น ประโยชน์ที่จะได้ตามมาคือ ทำให้การจ่ายเงินชดเชยของกองทุนน้ำมันสามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริง ทำให้กองทุนน้ำมัน สามารถจ่ายเงินชดเชยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการขาดทุนของกองทุนน้ำมันได้ ตรงนี้ถือเป็นประโยชน์ ต่อประเทศชาติและพี่น้องประชาชนอย่างมากที่นายพีระพันธุ์กล้าหาญทำเช่นนี้

"ที่ผ่านมาไม่มีรัฐมนตรีพลังงานคนไหนกล้าออกประกาศแบบนี้ อาจเป็นเพราะเกรงใจนายทุน แต่ รมว.พลังงานคนปัจจุบัน กล้าหาญที่จะทำ เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมมากในการรักษาผลประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชน ตรงนี้เป็นการตอกย้ำสิ่งที่นายพีระพันธุ์กำลังทำคือ ‘รื้อ ลด ปลด สร้าง’ ตามนโยบายที่ประกาศไว้ เพื่อนำสิ่งที่ดีกว่ามาให้กับพี่น้องประชาชน และถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้จริง หลังจากนี้ก็จะมีการช่วยเหลือประชาชนทยอยออกมาเรื่อย ๆ ถือเป็นการปฏิวัติโครงสร้างราคาพลังงานครั้งใหญ่ของประเทศ" โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าว

'อัครเดช' ยัน!! 'รทสช.' พร้อมใจหนุนร่างกฎหมายงบประมาณฯ ซัดผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวคว่ำงบฯ เพียงเพื่อหวังผลทางการเมือง

(22 มี.ค. 67) ที่รัฐสภา นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีมีข่าวจะมีการคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ว่า เป็นการปล่อยข่าวจากผู้ไม่หวังดี ต้องการสร้างความปั่นป่วนและหวังผลทางการเมือง หวังให้เกิดผลกระทบต่อรัฐบาล ในส่วนของพรรครวมไทยสร้างชาติ ขอยืนยันว่าจะลงมติผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ อย่างพร้อมเพรียงกัน เนื่องจากเป็นมติพรรคออกมาแล้ว เพราะเห็นว่างบประมาณมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศ

นายอัครเดช กล่าวว่า อยากให้คนที่ปล่อยข่าวออกมาหยุดพฤติกรรมลักษณะนี้ได้แล้ว เพราะไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม การเมืองควรจะพักเอาไว้ก่อนเวลานี้ประเทศชาติต้องเดินไปข้างหน้า ที่ผ่านมาประเทศและประชาชนรอคอยงบประมาณเพื่อนำงบประมาณออกมาใช้มาพัฒนาประเทศ และขับเคลื่อนภาคส่วนต่าง ๆ แต่กลับมีการปล่อยข่าวในวันที่จะลงมติ จึงขอย้ำว่าให้หยุดการกระทำเพราะไม่มีประโยชน์อะไร

“พรรครวมไทยสร้างชาติขอยืนยันอีกครั้งจะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ อย่างเต็มที่ และพรรคร่วมรัฐบาลพร้อมสนับสนุน คนที่ปล่อยข่าวคงจะหวังผลทางการเมืองหวังสร้างความปั่นป่วนและสร้างความแตกแยกในรัฐบาล แต่จะไม่เป็นผล เพราะถึงอย่างไรงบประมาณก็จะผ่านสภาฯ อยู่แล้ว ขอให้ประชาชนมั่นใจได้” โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าว

‘อัครเดช-รทสช.’ วอน ‘ตร.’ แก้ระเบียบให้ตำรวจชั้นผู้น้อย เบิกค่าเช่าบ้านในภูมิลำเนาตนได้ เพื่อช่วยลดค่าครองชีพ

(27 มี.ค.67) ที่รัฐสภา นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี เขต 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้หารือถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตอำเภอบ้านโป่ง โดยเรื่องแรกตนได้รับการร้องเรียนจากตำรวจชั้นผู้น้อยในเขตจังหวัดราชบุรีว่า ค่าเช่าบ้านตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่สามารถเบิกจ่ายให้กับตำรวจชั้นผู้น้อยที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด และเลือกมาลงที่โรงพักที่ตามภูมิลำเนาได้

นายอัครเดช กล่าวต่อว่า ตรงนี้เป็นความเดือดร้อนของตำรวจชั้นผู้น้อย ที่มีรายได้ไม่ค่อยเพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่แล้ว ดังนั้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือรัฐควรจะดูแลผู้ปฏิบัติหน้าที่

“ผมจึงขอให้ประธานสภาฯ ได้ประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทบทวน กฎระเบียบดังกล่าว เพื่อให้ตำรวจชั้นผู้น้อยสามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้” นายอัครเดช กล่าว

สำหรับ ปัญหาเรื่องที่สอง ขอให้กรมทางหลวงได้ทำโครงการต่อเนื่อง จากที่ตนได้เคยเสนอทำโครงการถนน 4 ช่องจราจรสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่ง รมว.คมนาคมสมัยนั้น ได้รับปากดำเนินการให้ ซึ่งปัจจุบันโครงการถนน 4 เลน จากตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่งมาที่หนองปลาหมอกำลังก่อสร้างอยู่ เป็นสิ่งที่ประชาชนในอำเภอบ้านโป่งดีใจเป็นอย่างมากเพราะรอคอยถนนเส้นนี้มาเป็นหลายสิบปี

“ผมจึงขอให้ทางกรมทางหลวงได้ทำโครงการต่อเนื่องจากหนองปลาหมอ ผ่านตำบลเขาขลุงไปออกที่ท่าม่วงจะได้เป็นถนน 4 เลนตลอดสาย เพื่อลดอุบัติเหตุให้กับประชาชนชาวอำเภอบ้านโป่งด้วย” นายอัครเดช กล่าวย้ำ

'อัครเดช' เผยวิปฝ่ายค้าน เทประชุมวิปสองฝ่าย ปมเงื่อนเวลาอภิปราย เรียกร้องใช้เวทีวิปร่วมสภาฯ เจรจาหาทางออก ไม่ใช่ตอบโต้ผ่านสื่อ

(2 เม.ย. 67) นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะ คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อวานนี้ (1 เม.ย.) นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรได้นัดวิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาลมาร่วมประชุมหารือเพื่อกำหนดรายละเอียดในการเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 โดยการไม่ลงประชามติในวันที่ 3-4 เมษายนนี้ แต่ปรากฏว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านเทไม่ยอมเข้าร่วมประชุมตามที่นัดหมาย นายพิเชษฐ์ในฐานะประธานการประชุมและวิปรัฐบาลก็ได้มานั่งรอเก้อในห้องประชุม

นายอัครเดช กล่าวว่า เดิมเท่าที่ทราบวิป 2 ฝ่ายได้มีการหารือกันไว้คร่าว ๆ คือ ฝ่ายค้านได้เวลา 22 ชั่วโมงในการอภิปราย ทางรัฐบาลโดยรัฐมนตรีได้เวลาชี้แจง 6 ชั่วโมง แต่เมื่อดูจากการอภิปรายทั่วไปของวุฒิสภาตามมาตรา 153 ทางประธานวิปรัฐบาลได้รับทราบปัญหาจากครม.ว่า รัฐมนตรีมีเวลาชี้แจงแค่ 3 ชั่วโมงต่อ 1 วันนั้น ไม่เพียงพอต่อการชี้แจงข้อซักถามของสมาชิกวุฒิสภา ทางคณะรัฐมนตรีจึงแจ้งมาทางประธานวิปรัฐบาลว่า การประชุมที่ผ่านมาทางสว.ใช้เวลาอภิปรายมากรัฐมนตรีมีเวลาชี้แจงน้อย ไม่สมดุลกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของพี่น้องประชาชนที่รับฟังการอภิปรายและมีผลต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลได้

ดังนั้นการอภิปรายของสภาผู้แทนราษฎรใช้เวลา 2 วันแล้วจัดสรรให้ ครม.ชี้แจง 6 ชม. ก็จะมีเวลาไม่เพียงพอก็จะเกิดปัญหาเหมือนการประชุมอภิปรายวุฒิสภาที่ผ่านมาคือรัฐมนตรีไม่มีเวลาเพียงพอในการชี้แจงข้อสงสัยหรือข้อกล่าวหา ของสมาชิกที่อภิปราย แม้แต่นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ มีเวลาชี้แจงเมื่อการอภิปรายของวุฒิสภาเพียงแค่ 2 นาทีในบางครั้ง ถ้าเป็นเช่นนี้จะเป็นผลเสียต่อรัฐบาล อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเพราะไม่มีเวลาชี้แจง ทางรัฐบาลจึงมาหารือในวิปรัฐบาลว่ารัฐบาลควรมีเวลามากขึ้นจาก 6 ชั่วโมงเป็น 10 ชั่วโมง ฝ่ายค้านเดิมจาก 22 ชั่วโมงเหลือ 18 ชั่วโมง เพื่อให้ทางรัฐมนตรีมีเวลาชี้แจงมากขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเป็นการอภิปรายฝ่ายเดียว จะเป็นผลเสียต่อตัวรัฐมนตรีและรัฐบาลด้วย

“เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้น จึงได้นัดประชุมวิปฝ่ายค้านและวิปรัฐบาลเพื่อมาพูดคุยให้เกิดความเข้าใจ แต่ปรากฏว่าฝ่ายค้านไม่มาร่วมประชุม แต่ไปตอบโต้ผ่านสื่อมวลชน ทำให้ผมและเพื่อนสมาชิกที่เป็นวิปรัฐบาลไม่สบายใจ กลายเป็นภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อสภาฯ ทางประธานสภาฯ จึงขอประธานสภาฯ นัดหมายมาประชุมใหม่ในวันพรุ่งนี้ (3 เม.ย.) ในเวลา 08.00 น. ถ้ายังพูดคุยไม่รู้เรื่องก็ต้องมีการเสนอให้โหวตในที่ประชุมสภาฯ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการประชุมร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ผมจึงขอเรียกร้องให้ฝ่ายค้านได้เข้าร่วมประชุมวิป 2 ฝ่ายในวันพรุ่งนี้เช้าก่อนมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย” นายอัครเดชกล่าว

ทั้งนี้ การอภิปรายตามมาตรา 152 เป็นการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงและเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีสส.รัฐบาลก็มีความต้องการอภิปรายด้วย เพื่อเสนอแนะปัญหาที่ได้ไปพบมาในการลงพื้นที่ เพื่อนำปัญหามาเสนอต่อครม. สส.รัฐบาลได้ท้วงติงมาว่าทำไมไม่ให้พวกเขาอภิปรายด้วย ดังนั้นในการประชุมช่วงเช้าวันพรุ่งนี้ก็ต้องหารือกันถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องมีการโหวตกันในสภาฯ เพื่อขอเวลาให้สส.ฝ่ายรัฐบาลอภิปรายด้วย ถ้าตกลงไม่ได้แล้วมีการโหวตจะเป็นผลเสียต่อการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่ายในอนาคต

นายอัครเดช กล่าวว่า ในที่ประชุมวิปรัฐบาลได้มีวิป บางท่านเสนอว่าเวลาอภิปราย 28 ชั่วโมงควรจะแบ่งกันฝ่ายละ 14 ชั่วโมงไปเลย เพื่อให้โอกาส สส.ฝ่ายรัฐบาลได้อภิปรายนำปัญหาของประชาชนมาหารือซักถามชี้แนะ คณะรัฐมนตรีด้วย ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ของสมาชิก ถ้าเป็นเเบบนั้นจะทำให้ฝ่ายค้านเวลาลดลงไปอีก 

ดังนั้นในวันพรุ่งนี้ช่วงเช้าจึงขอให้ฝ่ายค้านได้เข้ามาร่วมประชุม ใจเย็นมาพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล โดยไม่ต้องลงมติในสภาฯ จะดีกว่า ซึ่งถ้าถึงขั้นลงมติเพื่อแบ่งเวลากันจะทำให้การทำงานร่วมกันในอนาคตไม่ราบรื่น ฉะนั้นจากนี้ไปจึงอยากให้สองฝ่ายเคารพเหตุผลซึ่งกันและกัน ไม่อยากเห็นการตอบโต้ไปมาผ่านสื่อ 

อย่างไรก็ตามฝ่ายรัฐบาลไม่อยากให้ฝ่ายค้านเอาประเด็นนี้มาเล่นเกม รัฐบาลไม่ขอเล่นเกมด้วย เพราะเราคำนึงถึงเหตุผล ทำอย่างไรให้การอภิปรายตามมาตรา 152 ราบรื่นเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top