Thursday, 2 May 2024
อรรถวิชช์สุวรรณภักดี

‘อรรถวิชช์’ นำทีมพรรคกล้า ลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม ‘นครสวรรค์-ชัยนาท’ แนะรวมแอพแจ้งเตือนน้ำ ประชาสัมพันธ์ควบคู่ผู้นำหมู่บ้าน ให้ประชาชนเตรียมรับน้ำอย่างทันท่วงที 

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า พร้อมด้วย ผศ.ดร.เอราวัณ ทับพลี ผู้อำนวยการพรรคกล้า นายวุฒิชัย แป๊ะหล ผู้เสนอตัวสมัคร ส.ส. นครสวรรค์ นายโอฬาร ตั้งวงศ์กิจ ผู้เสนอตัวสมัคร ส.ส.ชัยนาท นายแสนยากรณ์ สิงห์วีรธรรม โฆษกพรรค และกลุ่มกล้าอาสา ลงพื้นที่หมู่ 11 ต.ลาดยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ พื้นที่หมู่ 5 ต.โพนางดำออก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท พร้อมสำรวจการระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำพลเทพ อ.มโนรมย์ ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มอบอาหารแห้ง น้ำดื่ม หน้ากากอนามัย ให้พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 

ซึ่งสถานการณ์ในพื้นที่อ.ลาดยาวล่าสุด พบว่า ปริมาณน้ำลดลงจากเมื่อวาน (28 ก.ย. 64) แต่บ้านเรือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่เกษตรอย่าง นาข้าว สวนมะม่วง และสวนกล้วย น้ำยังท่วมสูง โดยเฉพาะที่โรงเรียนบ้านหนองจิกรี น้ำท่วมระดับเอว ทั้งนี้เนื่องจากคลองขุดลาด ซึ่งเป็นคลองระบายน้ำรับน้ำจากเทือกเขาแม่วงก์ขาด ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ประชาชนยังคงนำกระสอบทรายวางกั้นหน้าบ้าน และขนของขึ้นที่สูง เพราะเกรงว่าฝนจะตกมาซ้ำทำให้น้ำท่วมอีก 

‘พรรคกล้า’ ค้านแก้ ม.112 ชี้ สถานการณ์ไม่เหมาะ เตือนอย่าสร้างคะแนนนิยม บนความเกลียดชัง

‘พรรคกล้า’ ค้านแก้ ม.112 สถานการณ์ไม่เหมาะ ยิ่งแก้ สังคมยิ่งแตกแยก พรรคการเมืองต้องไม่สร้างคะแนนนิยม บนความเกลียดชัง  

นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า แสดงความไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า ถ้าคิดแบบปฏิบัตินิยมในสถานการณ์ปัจจุบัน หากยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะเร่งความขัดแย้งในชาติให้รุนแรงขึ้นอีก เช่น 

1.) เกิดการดูหมิ่นต่อสถาบันมากขึ้น นำมาสู่ ข้อ 2
2.) เกิดความขัดแย้งสองฝ่าย และจะนำไปสู่การปะทะกันบนท้องถนน 
3.) เกิดวิกฤตการเมืองรอบใหม่ เป็นช่องว่างทำให้เกิดการแทรกแซงทางการเมือง เข้ายึดอำนาจหรือรัฐประหารอีก 

‘อรรถวิชช์’ ชู Govtech ปราบส่วยรถบรรทุก กางข้อมูลผู้เกี่ยวข้อง ไล่เช็กทุจริตได้ทุกเวลา

‘อรรถวิชช์’ ชู Govtech ปราบส่วยรถบรรทุก เปิดเผยเส้นทางเดินรถ เปิดเผยชื่อเจ้าหน้าที่เข้าเวร มีบันทึกทางดิจิทัล ตามเช็กบิลได้ทุกเวลา

(9 ธ.ค. 65) ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวถึงปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล ผ่านเวทีเสวนา ‘อิทธิพลส่วยรถบรรทุกกับการคอร์รัปชัน’ ที่จัดโดยสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยว่า ปัญหาส่วยรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ปราบปรามได้เป็นครั้งคราว แต่ก็มีปัญหามาตลอด เพราะการสมยอม ทั้งผู้ทำผิดกฎหมายและเจ้าหน้าที่รัฐ มีทั้งรูปแบบส่วยสติกเกอร์ เป็นป้ายเคลียร์ไม่ให้ถูกจับ แปะชื่อย่อบริษัท หรือแบบพวงกุญแจสัญลักษณ์ต่าง ๆ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการทุจริตคอร์รัปชันที่พบเห็นกันทั่วไป

ดร.อรรถวิชช์ ย้ำว่า การแก้ไขคอร์รัปชันรูปแบบนี้ สามารถใช้ Govtech หรือ Government Technology บูรณาการกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาแก้ปัญหา ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยีภาครัฐแล้ว แต่กลับไม่เชื่อมโยงหน่วยงาน

‘อรรถวิชช์’ ตอบข้อสงสัย นโยบายยกเลิกแบล็กลิสต์ ชี้!! ทำคนตัวเล็กกู้ยาก แนะใช้ระบบ ‘Credit scoring’

‘อรรถวิชช์’ ตอบทุกคำถาม ย้ำแบล็กลิสต์มีจริง!! คนตัวเล็กกู้ยาก ดอกเบี้ยสูง ระบบประมวลข้อมูลเครดิตมีปัญหา ต้องรื้อกฎหมายใหม่ 

(12 ม.ค. 66) ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ได้โพสต์วิดีโอลงช่องทาง TikTok ‘atavit’ และโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก อธิบายถึงนโยบายยกเลิกแบล็กลิสต์ ที่พรรคชาติพัฒนากล้าเพิ่งเปิดตัวไป โดยสรุปได้ว่า…

แบล็กลิสต์บูโร มีจริง!!

>> แบล็กลิสต์มีจริง เพราะระบบการบันทึกข้อมูลเครดิต จะคล้ายกับบันทึกประวัติอาชญากรรม โดยบริษัทข้อมูลเครดิตจะบันทึกและรายงานต่อสถาบันการเงิน ถึง ‘ประวัติพฤติกรรม ทั้ง 3 ปี’ ไม่ใช่แค่สถานะเครดิตปัจจุบันเท่านั้น จะเห็นว่า ‘ความเป็นจริง’ แม้คนที่จ่ายหนี้คงค้างไปแล้ว ก็ยังมีประวัติด่างพร้อยที่ยากต่อการกู้เงินได้ โดยกว่าจะกลับมากู้ได้ปกติ หรือกู้ดอกเบี้ยต่ำได้อีก ต้องใช้เวลายาวนาน คนตัวเล็กเสียเปรียบ ฟื้นตัวยาก

แม้บริษัทข้อมูลเครดิต หรือธนาคารไม่ได้ทำรายการ ‘บุคคลห้ามกู้’ แต่การรายงานประวัติพฤติกรรมสินเชื่อทั้งชุดดังกล่าว ก็ทำให้ธนาคารมีสบช่องปฏิเสธสินเชื่อนั่นเอง

‘นักรบใด ไม่เคยมีบาดแผลบ้าง?’ ถ้าเอาประวัติ ‘เคยผิดนัด’ มารายงาน มันก็คือ ‘แบล็กลิสต์’ นั่นเอง

>> นโยบายยกเลิกแบล็กลิสต์ ของพรรคชาติพัฒนากล้า ไม่ได้ลบประวัติการชำระหนี้ แต่จะไม่รายงานประวัติพฤติกรรมทั้ง 3 ปี ของผู้กู้ แต่จะแจ้งเฉพาะ ‘คะแนน’ ที่สะท้อนสภาพปัจจุบันของผู้กู้ ด้วยเครื่องมือประเมินคุณภาพสินเชื่อ (Credit Scoring) ที่ใช้กันในหลายประเทศ

‘อรรถวิชช์’ จี้ กกพ. ปรับลดค่าไฟลงทันที หลังราคาก๊าซต้นทุนผลิตไฟฟ้า ลดลงตั้งแต่ ธ.ค.65

(17 ก.พ. 66) ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าชาติพัฒนากล้า กล่าวเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) พิจารณาลดค่าไฟฟ้าทันที เพราะราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการผลิตไฟฟ้า ราคาลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว

ดร.อรรถวิชช์ ชี้แจงว่า ราคาก๊าซอ่าวไทย (Gulf Gas) ลดลง 4.38 บาท/ล้านบีทียู อยู่ที่ 238.8008 บาท/ล้านบีทียู, ก๊าซจากพม่า (Myanmar Gas) ลดลงมา 17.68 บาท/ล้านบีทียู อยู่ที่ 375.1649 บาท/ล้านบีทียู, ก๊าซธรรมชาตินำเข้า (LNG) ลดลงมา 117.57 บาท/ล้านบีทียู อยู่ที่ 599.1430 บาท/ล้านบีทียู, รวมถึงราคา Spot LNG ปลาย ม.ค.66 อยู่ที่ 19 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู ราคาต่างกันลิบลับกับช่วง ส.ค.65 ซึ่งอยู่ที่ 55 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู ที่เป็นช่วงที่สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนรุนแรงที่สุด

‘อรรถวิชช์’ ชูนโยบาย ‘ALL Service Center-ยกเลิกแบล็กลิสต์’ เน้น ‘สะดวก-รวดเร็ว-เท่าเทียม-เป็นธรรม’ เปิดโอกาสให้คนทำกิน

(7 มี.ค.66) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวบทเวทีเสวนาเครือเนชั่น เปิดนโยบายพรรคการเมืองที่จะผลักดัน ‘นวัตกรรมนำไทย เชื่อมโลก’ ว่า พรรคชาติพัฒนากล้าเป็นพรรคใหม่ มีแนวคิดแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย เน้นเรื่องการแข่งขัน สร้างโอกาส พรรคอื่นส่วนใหญ่มีแนวคิดเน้นเรื่องรัฐสวัสดิการเท่าเทียม แต่พรรคชาติพัฒนากล้า เน้นเรื่องโอกาสที่เสมอภาค ไม่ว่าจะรวยหรือจน สามารถเข้าถึงโอกาสในการแข่งขันได้ จึงนำเสนอ ‘นวัตกรรมสร้างโอกาส’ 2 เรื่องสำคัญ เรื่องแรกคือ ALL Service Center ราชการ 1 คำขอ จบครั้งเดียว เพราะทุกวันนี้เราใช้ระบบ One Stop Service แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเวลาไปยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการหรือทำธุรกรรมกับรัฐ เกิดปัญหาล่าช้า ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน ประชาชนต้องวิ่งไปยื่นเรื่องตามหน่วยงานต่าง ๆ เอง จะเริ่มประกอบธุรกิจขอใบอนุญาตก็ยากลำบาก 

เราจึงเสนอนวัตกรรมนโยบาย ‘ALL Service Center ราชการ 1 คำขอ จบครั้งเดียว’ ยื่นเรื่องครั้งเดียววิ่งไปทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตามเรื่องได้เหมือน แอปพลิเคชันส่งของ นวัตกรรมนี้จะช่วยเสริมให้การบริการภาครัฐสะดวกรวดเร็วขึ้น สร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้มากขึ้น สร้างการลงทุนกับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น

"สมมุติอยากจะเปิดโรงแรมโฮมสเตย์สปาเล็กๆ สักหนึ่งที่ ถ้าเป็นระบบเดิม ผู้ประกอบการจะต้องวิ่งไปหลายหน่วยงานเพื่อขอใบอนุญาต เช่น ขอใบอนุญาตประกอบโรงแรม ขอใบอนุญาตประกอบกิจการขายอาหาร ขอใบอนุญาตขายสุรา ใบอนุญาตประกอบกิจการสปา แต่ถ้าเป็นระบบ All Service Center ราชการ 1 คำขอ จบครั้งเดียว ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องครั้งเดียว ระบบจะสามารถส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาได้ทันที สมรรถนะของรัฐมีความพร้อม ทั้งเรื่องกฎหมาย ความเข้าใจของประชาชน เทคโนโลยีที่ทั่วถึง สามารถทำให้นโยบายเกิดขึ้นได้จริง สร้างโอกาสให้คนประกอบธุรกิจได้สะดวกขึ้น" นายอรรถวิชช์ กล่าว

‘อรรถวิชช์’ ชี้!! รัฐบาลบริหารไฟฟ้า-พลังงานผิดทาง ลั่น!! ชพก. มีแนวทางแก้ปัญหา-ลดภาระประชาชน

เมื่อวานนี้ (19 เม.ย.66) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) ได้พูดถึงเรื่อง ‘ค่าไฟ แพงแล้ว แพงอยู่ แพงต่อ’ โดยระบุว่า ก็เป็นนโยบายรัฐบาลนะ ลุงตู่บอกว่าเป็นเรื่องของสัญญา เป็นเรื่องของธุรกิจกับธุรกิจที่ต้องเป็นไปตามสัญญา ความจริงมันไม่ใช่แบบนั้นนะครับ ตอนนี้ท่านกำลังบริหารด้านไฟฟ้าและพลังงานผิดเลยนะครับ ราคาพลังงานไฟฟ้า ต้นทุนหลักคือแก๊ส โดยแก๊สกินสัดส่วนอยู่ที่ 56.2% ของภาพรวมทั้งหมด ที่เหลือก็จะเป็นพวกไฟฟ้าสำเร็จรูป น้ำ พลังงานทดแทนต่าง ๆ แก๊สที่ใช้กันอยู่มาจากอ่าวไทย โดยอ่าวไทยกินสัดส่วนอยู่ที่ 63.3% แก๊สจากพม่า 16% และ LNG นำเข้า 20.6% จะเห็นได้ว่าแก๊สจากอ่าวไทยคือหัวใจของเรื่องนี้

ราคาแก๊สจากอ่าวไทยมีราคาลดลงมาตลอดเลย แล้วรัฐมนตรีไปใช้วิธีการทำให้ค่าไฟต่อยูนิตแพงได้ยังไง? การคิดค่าไฟจะคิดทุกๆ 4 เดือน (มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน) ตอนนี้เราอยู่ที่เดือนเมษายน (สล็อตแรก) และค่า Ft ไฟฟ้าอยู่ที่ 0.9343 / หน่วย ซึ่งถือว่าแพงแล้ว แพงกว่าตอนมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน แพงกว่าตอนค่าเงินบาทอ่อนเมื่อปีที่แล้ว แพงกว่าตอนมีวิกฤติส่งแก๊สช้ากว่าปีที่แล้วอีกนะ ตอนนั้นราคาไม่หนักเท่าวันนี้

สิ่งที่ช็อกที่สุด และพี่น้องประชาชนยังไม่รู้คือหากยังบริหารแบบนี้ไปเรื่อยๆ ให้แพงแล้ว แพงต่อ เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม (สล็อตที่ 2) สิ่งที่น่าตกใจคือการทำสำรวจจากกระทรวงพลังงาน เสียงข้างมากร้อยละ 30 ที่เห็นด้วยคือการขึ้นค่าไฟ ขึ้นค่า Ft

อรรถวิชช์ ไม่มุ่งประชานิยม แต่จะสร้าง 'โอกาสนิยม' ย้ำ!! นโยบายทุกอันต้องเป็นแบบสไนเปอร์

(26 เม.ย. 66) ในรายการเลือกตั้ง 2566 ฟังเสียงคนไทย นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ได้ตอบคำถาม ‘ยกระดับรายได้ แก้ปัญหาคนจนเพิ่มอย่างไร’ โดยได้ระบุว่า...

“นโยบายของชาติพัฒนากล้าไม่เน้นแจก และครั้งนี้เสี่ยงมากในทางการเมืองเพราะผมจะไม่ทำนโยบายประชานิยม แต่ผมจะทำนโยบายโอกาสนิยม ซึ่งคำว่าถ้วนหน้าไม่มีสำหรับพรรคนี้ เพราะผมเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน คนมีความแตกต่าง”

นายอรรถวิชช์ ได้กล่าวต่อว่า “เพราะฉะนั้นโอกาสที่อยู่ข้างหน้า คนตัวสูงจะเห็นโอกาสชัด แล้วคนตัวเตี้ยเห็นโอกาสไม่ชัด เพราะฉะนั้นนโยบายทุกอันต้องเป็นแบบสไนเปอร์”

นายอรรถวิชช์ ได้ยกตัวอย่างเสริมว่า “1. ยกเลิกระบบแบล็กลิสต์ ให้เปลี่ยนเป็นการคิดคะแนน เช่นต่อไปนี้บัญชีหนังหมา 3 ปี ปกติติดหนี้แล้วจบเลย แต่เที่ยวนี้คิดเป็นคะแนนส่งให้ เอาข้อมูลดีมาใส่ด้วย เอาข้อมูลจากแอปพลิเคชันของรัฐดี ๆ เอามาใส่คำนวณด้วย มันทำให้เกิดการแข่งขันเรื่องอัตราดอกเบี้ย อันนี้ทำให้ดอกเบี้ยถูกลงได้ งบประมาณ 0”

‘อรรถวิชช์’ ฝาก รบ.ใหม่ควบคุมค่าการกลั่น เก็บภาษีลาภลอย ชี้!! ดีเซลต้องไม่ขึ้น 5 บาท เหตุน้ำมันดิบราคาลดลง

(30 พ.ค. 66) ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวถึงมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ที่กำลังจะสิ้นสุดวันที่ 20 ก.ค.2566 นี้ ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นจาก 32 เป็น 37 บาทต่อลิตร ว่า เป็นเรื่องน่าแปลก เพราะจริงๆ แล้วราคาน้ำมันต้องกลับมาลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกลดลงต่อเนื่อง เดือน พ.ค.ปีที่แล้ว ราคา 113.87 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ปัจจุบันเหลือ 76.94 เหรียญต่อบาร์เรล ลดลงมาถึงร้อยละ 32.43 (https://www.opec.org/opec_web/en/data_graphs/40.htm) ขณะที่โรงกลั่นหลายโรงโกยกำไรไม่หยุดตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงไตรมาสหนึ่งปีนี้ (Q1/2566) เป็นหมื่นล้านบาท บางส่วนก็มีการนำกำไรไปขยายธุรกิจอื่นเพิ่มแล้ว

ดร.อรรถวิชช์ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาปลายเหตุเพื่ออุ้มราคาน้ำมันโดยลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน รายได้ภาษีหายไป 158,000 ล้านบาท ขณะที่กองทุนน้ำมัน แม้จะมีการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องไปแล้ว 1.1 แสนล้าน แต่สถานะยังคงติดลบอยู่ถึง 72,731 ล้านบาท นั่นหมายความว่า รัฐบาลชุดใหม่ต้องไม่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุเหมือนที่ผ่านมา

“ผมขอให้กล้าตัดสินใจ ควบคุมค่าการกลั่น ที่เป็นราคาสมมติให้เหมาะสม หรือออกกฎหมายเก็บภาษีลาภลอย ขึ้นอัตราภาษีนิติบุคคลเฉพาะธุรกิจโรงกลั่น แล้วนำภาษีส่วนนั้นเก็บกลับไปใช้หนี้กองทุนน้ำมัน ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนผู้ใช้น้ำมัน เหมือนที่หลายประเทศเขาทำกัน” ดร.อรรถวิชช์ กล่าว

ดร.อรรถวิชช์ กล่าวอีกว่า เหลือเวลาอีกไม่ถึงสองเดือนแล้วที่มาตรการอุ้มราคาดีเซลจะสิ้นสุดลง ผมมีความหวังที่จะเห็นรัฐบาลใหม่ได้เจรจากับโรงกลั่น เตรียมกฎหมายรื้อโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรม

‘อรรถวิชช์’ ซัด!! ผังเมืองใหม่กรุงเทพฯ ฟังนายทุนมากกว่าประชาชน  ไม่ทำผังเมืองเฉพาะ ปล่อยทุนอสังหาฯ ล่าซอยเล็ก ผุดตึกใหม่ไม่เลิก

(7 ม.ค. 67) จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชน เกี่ยวกับการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่าบรรยากาศในที่ประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด หลังจากที่ กทม. เปิดให้ประชาชนซักถามในประเด็นต่างๆ โดยประชาชนมีความเห็นไปในทางไม่เห็นด้วยกับร่างผังเมืองฉบับดังกล่าว

ทั้งนี้ หนึ่งในเสียงที่พูดแทนประชาชนในวันนั้นได้อย่างดุเดือดมาจากเสียงของ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า และอดีต สส.กทม.เขตจตุจักร พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า...

“จากที่มาร่วมสังเกตการณ์ พบว่าสีที่กำหนดในผังเมืองต่างๆ เป็นการกำหนดที่เอื้อกลุ่มนายทุนอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่หรือไม่ และการรับฟังความเห็นประชาชนที่กำหนดไว้ก็ให้เวลาน้อยเกินไป ทำให้เนื้อหาในผังเมืองที่จะต้องทำผังเมืองเฉพาะ ไม่สามารถระบุเฉพาะเจาะจงลงไปได้เลย”

“ขอยกตัวอย่างเขตจตุจักรและพญาไท ซึ่งเป็นเขตที่ตนคุ้นเคยนั้น ถนนส่วนมากในตรอกซอกซอยมีความกว้าง 6 เมตร แต่ในความจริงทั้งสองข้างทางมีกระถางต้นไม้วางเรียงเป็นแนวยาวตลอดช่วง ทำให้ความกว้างถนนเหลือเพียง 4.5 เมตรเท่านั้น แต่บริเวณนี้มีการอนุญาตให้สร้างตึกได้ตลอดเวลา เพราะเมื่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์เข้ามา การวัดพื้นที่จะวัดแบบกำแพงชนกำแพง ไม่ได้สะท้อนข้อเท็จจริงในพื้นที่ ซึ่งการจะห้ามไม่ให้บริษัทเหล่านี้เข้ามาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ โดยไม่พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมรอบข้างได้ ก็คือ การระบุลงไปในผังเมืองนั่นเอง

หรือย่านถนนพหลโยธิน แถวซอยราชครู และ ซอยสายลม ย่านนี้มีรถไฟฟ้าผ่าน ก็มีข่าวลือว่า จะมีการขยายถนนด้านหลังตรอกซอกซอยเหล่านี้ เพื่อรองรับโครงการพัฒนาของบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่เจ้าหนึ่ง ทั้งๆ ที่ซอยมีขนาดเล็ก… ปัญหาทั้งสองนี้ มีปัญหาทุกพื้นที่ เพราะบริษัทอสังหาริมทรัพย์มีความต้องการพื้นที่เหล่านี้ ทำให้เวลาทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงไม่สะท้อนข้อเท็จจริง ซึ่งการจะทำผังเมืองเฉพาะ กทม.ต้องลงมาฟังเสียงประชาชนให้ครบถ้วน”

“อีกปัญหาหนึ่งคือ ทางลัดต่างๆ ยกตัวอย่างแถวคลองเปรมประชากรที่มาคู่กับรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต หากกำหนดให้ทำสะพานเล็กข้ามสันเขื่อนคอลงเปรมประชากร การจราจรจะสามารถไหลไปสู่เขตหลักสี่ ทุ่งสองห้อง ไปเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงทุ่งสองห้องได้ แต่ปัจจุบันไม่มีการดำเนินการ หรือเขตจอมทองที่มีถนนราชพฤกษ์ บริเวณ ซอยเอกชัย 30 และ เอกชัย 33 ซึ่งสามารถทำทางลัดทะลุได้ แต่ กทม.กลับมาแผนก่อสร้างถนนขนาดใหญ่ ถนนสายใหม่ เชื่อมถนนสุขสวัสดิ์-เพชรเกษม-กาญจนาภิเษกแทน และชาวบ้านไม่เอาโครงการนี้”

นายอรรถวิชช์ กล่าวอีกด้วยว่า “สุดท้ายความเป็นเมืองซับน้ำของกรุงเทพฯ ก็จะหายไป จากการขยายพื้นที่สร้างบ้านจัดสรรและที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น” พร้อมตั้งคำถามอีกว่า “บางจุด ยกตัวอย่างเขตเกาะรัตนโกสินทร์ ทำไมยกเป็นเขตสงวนได้? จริงๆ แล้วพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพฯ ควรจะต้องประกาศเป็นเขตสงวนแล้ว ไม่เช่นนั้น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ จะผุดโครงการใหม่ๆยัดในซอยเล็กๆ อีก”

“กทม.ควรขยายเวลารับฟังประชาชนมากกว่านี้ เพราะถ้าไม่ขยายเวลาออกไป กทม.จะไม่รับทราบข้อมูลจากประชาชน แต่จะได้ข้อมูลแต่จากบริษัทอสังหาริมทรัพย์” นายอรรถวิชช์ ทิ้งท้าย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top