Thursday, 25 April 2024
ศิริกัญญา_ตันสกุล

ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. หญิงคนแรก หาก ‘ก้าวไกล’ กล้าดันวัดศรัทธาคนกรุง

ภายหลังจบศึกสมรภูมิการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ทั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), สมาชิกสภาเทศบาล และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพิ่งจบไปหมาด ๆ นั้น

สมรภูมิถัดไปที่น่าจะแวะเวียนมาในเวลาอันใกล้ คงต้องเป็นคิวของเวทีเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2565 เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะครบวาระในปี 2566

พูดถึงสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนกรุง ก็ต้องบอกว่าถูกแช่แข็งมานาน ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อปี 2557 นั่นจึงทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ครั้งที่จะถึงนี้ น่าจะมีความคึกคัก และดุเดือดมากกว่าครั้งไหน ๆ เพราะน่าจะเป็นการวัดพลังของบรรดาพรรคใหญ่ชื่อดังทั้งเก่าและใหม่ ว่าใครคือตัวจริงที่ยังยึดพื้นที่เมืองหลวงเป็นฐานที่มั่นไว้ได้ในรอบนี้ได้

>> สังเวียนวัดพลัง ‘พรรค’ ผู้อยู่เบื้องหลังเจ้าเมืองบางกอก

อย่างไรซะ แม้ตอนนี้จะยังไม่มีกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไร? แต่หลายพรรคการเมืองก็เริ่มเคลื่อนไหวกันแล้ว ทั้งพรรคเพื่อไทย, พลังประชารัฐ, ก้าวไกล และประชาธิปัตย์ เพียงแต่ยังอุบชื่อแคนดิเดตกันไว้อยู่

ทว่าถึงพรรคเหล่านี้จะยังอุบชื่อตัวผู้สมัครไว้ แต่วงในการเมือง เขาก็พอจะรู้กันเนือง ๆ ว่าพรรคไหนจะส่งใคร หรือจะสนับสนุนใคร

ถ้าใครที่พอจะติดตามข่าวสารการเมืองอยู่บ้าง คงทราบว่าเต็งหนึ่งในสนามเลือกตั้งผู้ว่ากทม. รอบนี้ คงเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ฉายารัฐมนตรีที่แกร่งที่สุดในปฐพี ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะทำโพลล์สำรวจกี่ครั้ง คนกรุงเทพฯ ก็ยังเทคะแนนให้เป็นอันดับแรกทุกครั้ง 

ถึงกระนั้นก็คงต้องตามกระแสลมของ ‘พรรคเพื่อไทย’ ดูไว้หน่อยว่าจะส่งผู้สมัครผู้ใดเข้าแข่งด้วยหรือไม่ เพราะถึงแม้ ‘ชัชชาติ’ จะมีสัมพันธ์อันดีกับพรรคเพื่อไทย แต่ในการลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ในครั้งนี้ เจ้าตัวลงสมัครในนามอิสระ และยืนยันมาตลอดว่า ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทยอีกแล้ว

ข้ามฟากมา ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ซึ่งยืนยันมาตลอดเช่นกันว่า จะไม่ส่งผู้สมัครชิงตำแหน่ง แต่หากพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่ากทม.คนปัจจุบัน ตัดสินใจลงแข่งเพื่อเป็นผู้ว่าอีกสมัย ก็ต้องวัดใจผู้ใหญ่ในพปชร. ว่าจะสนับสนุนต่อหรือไม่ หรือ จะมีทางเลือกอื่น ซึ่งตอนนี้เริ่มมีชื่อ ‘ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร’ หรือ ผู้ว่าหมูป่า ขึ้นมาเป็นแคนดิเดตอีกคน

ขณะที่ ‘พรรคประชาธิปัตย์’ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เก่ามายาวนานหลายปี ก่อนที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะถูกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตาม ม.44 ปลดพ้นตำแหน่ง เมื่อปี 2559 ก็ดูเหมือนจะหมายมั่นปั้นมือที่จะกลับมาทวงคืนศรัทธาจากคนกรุงอีกครั้ง หลังจากเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อปี 2562 พรรคประชาธิปัตย์ถูกเท ไม่ได้แม้แต่เก้าอี้เดียวในกทม. เพราะเจอทั้งกระแส ‘ลุงตู่ฟีเวอร์’ กับ ‘ความแรงของพรรคอนาคตใหม่’ 

กล่าวโดยสรุปแล้ว รายชื่อของผู้สมัคร ก็คงไม่น่าจะหนีจากกระแสข่าวหลักมากนัก ยิ่งไปกว่านั้นเหล่าคอการเมืองคงทราบกันดีว่า สมรภูมิการเลือกตั้งในกทม. นั้น จะต้องอาศัยทั้งชื่อชั้นของผู้สมัคร และ ความนิยมในพรรคการเมืองที่สังกัด จึงจะได้รับเสียงสนับสนุนจากคนกทม. ได้อย่างแท้จริง

>> โจทย์หินเจ้าเมืองบางกอก ต้องลอกคราบพรรคการเมือง

ฉะนั้นแม้จะมีภาพพรรคการเมืองอุ้มหลังแต่เก่าก่อน หากแต่วันนี้จะเว้าวอนให้คนกรุงเทใจให้ บรรดาผู้สมัครก็คงจะต้องสลัดพันธุกรรมการเมืองเมื่อคิดลงสู่สนามนี้ เหมือนที่ ชัชชาติ ประกาศชัดว่า จะลงผู้ว่ากทม. โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด นั่นเพราะไม่ต้องการให้ติดภาพความสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย เพราะยังมีคนกรุงจำนวนไม่น้อยที่ต่อต้านพรรคอยู่ เรียกว่าวัดกันที่แสงส่วนตัวไปเลยเพียว ๆ

นั่นก็เพราะภาพการเมืองที่ผ่านมาหลายปี มันทำลายหวังของคนกรุงไปพอควร ฉะนั้นหากต้องการให้กรุงเทพฯ มีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา การให้โอกาสคนที่มีความรู้ความสามารถ สอดแทรกขึ้นมาบริหารกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นใหม่หรือเก่า แต่ไร้กลิ่นการเมืองเกาะกาย ก็คงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

'ก้าวไกล' ฉะ 10 มาตรการเร่งด่วนรัฐบาล ช่วยน้อยเหมือนไม่ช่วย สะท้อนรัฐบาลถังแตก

น.ส. ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณี 10 มาตรการเร่งด่วนที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงวานนี้ (22 มี.ค. 65) ว่า เป็นการรับสารภาพว่า รัฐบาลเงินหมดหน้าตัก ไม่สามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตรได้ถึงเดือน พ.ค. ตามที่เคยให้สัญญาไว้ และจะสิ้นสุดการตรึงราคาสิ้นเดือนเม.ย.นี้ รวมถึงจะทยอยขึ้นราคาก๊าซหุงต้มตามมา จึงออกมาตรการช่วยเหลือแบบกะปริบกะปรอยแก้ขัด ส่วนใหญ่เป็นการต่ออายุมาตรการเดิม ก้อนใหญ่สุดคือลดเงินสมทบประกันสังคม แต่รัฐบาลไม่ยอมใช้คืนกองทุน ทำสถานะการเงินกองทุนกระง่อนกระแง่น เสี่ยงขาดทุนเร็วขึ้น

'ศิริกัญญา' ชำแหละ!! รัฐบาลเอื้อทุนผูกขาด ยกดีลควบรวม 'ทรู-ดีแทค' รัฐไม่ทำอะไรเลย

'ศิริกัญญา' ร่ายยาวชำแหละรัฐบาลเอื้อทุนผูกขาด ถามรัฐบาลทำเต็มที่แล้วหรือยัง ป้องกันดีลควบรวมผูกขาดทรู-ดีแทค ทำค่าบริการพุ่ง ประชาชนสงสัยไม่ทำอะไรเลย เพราะท่านได้ประโยชน์จากดีลนี้ใช่หรือไม่

ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรณีเศรษฐกิจผูกขาด โดยมีชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) เป็นผู้ตอบแทน พล.อ.ประยุทธ์

โดย ศิริกัญญา เกริ่นนำว่า ระบบผูกขาดเกิดขึ้นในเศรษฐกิจไทย ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหลังวิกฤตโควิด สิ่งนี้จะเป็นตัวฉุดรั้งการพัฒนาประเทศ โดย 8 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การบริหารงานของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ส่งเสริมให้กลุ่มเจ้าสัวที่รวยสุดของประเทศ 50 รายแรก รวยขึ้น 2 ล้านล้านบาท แต่ 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์เช่นเดียวกัน ก็ทำให้หนี้ครัวเรือนของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.6 ล้านล้านบาท เท่ากับประชาชนรายได้ลด แต่หนี้เพิ่มไม่หยุด

"ถ้าความร่ำรวยของเจ้าสัวเหล่านี้ เกิดขึ้นจากความสามารถเก่งกาจจะไม่ว่าอะไรสักคำเลย แต่ความร่ำรวยที่เกิดขึ้นจากการผูกขาดโดยการเอื้อประโยชน์ของรัฐนั้น เท่ากับว่าเงินที่หายไปจากกระเป๋าประชาชนได้ถูกถ่ายเทไปเป็นความร่ำรวยของนายทุน แถมตลอดการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ก็มีแนวโน้มเอื้อทุนใหญ่มาโดยตลอด" ศิริกัญญากล่าว

โดยศิริกัญญายกตัวอย่างการเอื้อกลุ่มทุนใหญ่-ทุนผูกขาด ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้แก่...

- ยืดหนี้ให้กลุ่มทุนโทรคมนาคมจ่ายค่าประมูลคลื่น 4G ดอกเบี้ย 0% เป็นเวลา 10 ปี จนรัฐเสียหาย เอกชนฟันผลประโยชน์ไป 2 หมื่นล้านบาท
- อุ้มเอกชนที่ผูกขาด Duty Free โดยแก้สัญญาสัมปทานแบบด่วนทันใจก่อนช่วยประชาชนเสียอีก ทั้งลดค่าสัมปทานและยืดอายุ จนรัฐเสียผลประโยชน์หลายพันล้านบาท
- อ้างโควิดเช่นกัน ในการยอมให้แก้ไขสัญญาสัมปทาน PPP รถไฟฟ้าความเร็วสูง 3 สนามบิน ยอมให้ผ่อนจ่ายค่าสิทธิ์บริหารจัดการ Airport Rail Link แบบดอกเบี้ยแสนถูก ให้รัฐบาลสมทบทุนเร็วขึ้นเพื่อช่วยออกค่าก่อสร้างแทนที่จะไปออกเงินตอนก่อสร้างเสร็จแล้ว
- รัฐบาลยังปล่อยให้มีการควบรวมห้างค้าปลีก-ร้านสะดวกซื้อ ทำให้เพิ่มการผูกขาดในตลาดมากขึ้น ทำให้ประชาชนหมดทางเลือก
- กรณีล่าสุด ควบรวมทรู-ดีแทค จะผูกขาดขั้นสุด ประชาชนต้องแบกรับค่าบริการ กระทบค่าครองชีพให้มากขึ้นไปอีก แต่ก็ยังมีรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้ออกมาพูดจาสนับสนุนการควบรวมครั้งนี้ว่าเป็นสิทธิ์ของเอกชน
- ล่าสุดของล่าสุด การขออนุญาตควบรวมกิจการอินเตอร์เน็ต AIS-3BB

ศิริกัญญาจึงตั้งคำถามว่า ตกลงแล้วรัฐบาลชุดนี้คิดว่ามีปัญหาการผูกขาดในเศรษฐกิจหรือไม่?

แล้วรัฐบาลนี้นโยบายป้องกันการผูกขาดและส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมบ้างหรือไม่? ถ้ามี คืออะไร เป็นอย่างไรบ้าง ท่านคิดว่าทำดีพอแล้วหรือยัง? เป็นธรรมต่อ SMEs และประชาชนผู้บริโภคที่ควรจะเป็นรากฐานสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศนี้แล้วหรือยัง?

ศิริกัญญา เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม ว่าแต่เดิมค่าบริการโทรศัพท์มือถือของคนไทยก็สูงอยู่แล้วแม้ว่าจะมีหน่วยงานกำกับดูแลอยู่ก็ตาม ตัวเลขจาก Internation Telecommunication Union (ITU) เปิดเผยว่าสำหรับแพคเกจใช้น้อย อยู่อันดับที่ 111  ส่วนแพคเกจใช้มาก อยู่อันดับที่ 87 จาก 182 ประเทศ ถ้าหากการควบรวมครั้งนี้สำเร็จก็จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเข้าไปอีก

เมื่อดูเฉพาะอินเตอร์เน็ต ถ้าเราอยากส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดขึ้นจริง ค่าบริหารก็จะต้องไม่แพง เพื่อส่งเสริมทั้งฝั่งผู้ประกอบการและผู้บริโภค แต่ปรากฏว่าเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ คนไทยต้องทำงาน 2 วันเพื่อจ่ายค่าอินเตอร์เน็ตรายเดือน ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ทำงาน 1 วัน หรือน้อยกว่านั้น

สำหรับผลการศึกษาการควบรวมครั้งนี้ออกมาแล้วจาก 5 หน่วยงาน ทั้งจากหน่วยงานที่ทรู-ดีแทค จ้างศึกษา มีทั้งสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา รวมถึงคณะอนุกรรมการของ กสทช. เอง ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าขั้นต่ำคือ 10% แต่ถ้าการควบรวมนี้มีการฮั้วกันก็จะทำให้ค่าบริการยิ่งแพงขึ้นไปอีก โดยคณะอนุกรรมการของ กสทช. เองศึกษาแล้วพบว่าค่าบริการจะพุ่งสูงขึ้นถึง 49-200% หมายความว่าถ้าทุกวันนี้เราจ่ายค่ามือถือและอินเตอร์เน็ตอยู่ 100 บาท อาจจะต้องจ่าย 150-300 บาท แบบนี้กระทบค่าครองชีพประชาชนอย่างเต็มที่ ซ้ำเติมเงินเฟ้อที่ยังขึ้นไม่หยุดด้วย แล้วประชาชนและธุรกิจดิจิทัลเหล่านี้จะพัฒนากันต่อได้อย่างไร

ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า ตนเองทราบดีว่าเป็นหน้าที่กำกับดูแลโดย กสทช. แต่ในฐานะรัฐบาล ท่านได้ศึกษาประเมินบ้างหรือไม่ว่ามูลค่าความเสียหายของเศรษฐกิจดิจิทัลจะอยู่ที่กี่พันล้านบาท งานของประชาชนคนไทยจะหายไปกี่ตำแหน่ง และถ้าผลกระทบมากขนาดนี้ ท่านคิดว่ากฎหมาย กฎระเบียบ ประกาศ ที่มีอยู่นั้นพอหรือไม่ที่จำเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือไม่

"ดังนั้น เรายังไม่มีความเชื่อใจ มั่นใจ ว่า กสทช. จะกำกับราคาได้เลย วันนี้เราหวังว่าให้ควบรวมไปก่อนแล้วค่อยไปกำกับดูแลราคาทีหลัง มันไม่ได้!"

'พิธา - ศิริกัญญา' เข้าพบกลุ่มไฟฟ้าฯ สอท. ร่วมหาแนวทางยกระดับเทคโนโลยีประเทศไทย

ในวันที่ 20 กันยายน 2565 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลในฐานะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจของสภาผู้แทนราษฎรได้เข้าพบ ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ

พิธากล่าวว่า หลังจากปิดสมัยประชุมสภาตนก็ได้นั่งรถไฟไปพบกับมุขมนตรีและสภาอุตสาหกรรมของปีนัง เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ต่อเนื่องกันในวันนี้จึงได้ขอเข้าพบประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ ซึ่งภาคอิเล็กทรอนิกส์เป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญกับประเทศ เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกกว่า 2.2 ล้านล้านบาท และจ้างงานถึง 750,000 คน ในวันนี้จึงได้มาหารือถอดบทเรียนการพัฒนาอุตสาหกรรมตลอด 40 กว่าปีที่ผ่านมา และทำให้ได้เข้าใจถึงสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมในไทยต้องสู้มาตลอดหลายสิบปี ในเรื่องเช่น

'ก้าวไกล' ซัดรัฐแถลง ศก.ดี เพราะอ้างตัวเลขไตรมาส 3 ปี 65 แต่เชื่อ ศก.วันข้างหน้าจะดีแน่ ถ้ามี 'นายกฯ-รัฐบาลใหม่'

'ศิริกัญญา' โต้รัฐบาล ที่แถลงเศรษฐกิจดี เพราะใช้ตัวเลขปีก่อน ซึ่งมีฐานต่ำ เนื่องจากฟื้นตัวจากโควิดช้าสุดกว่าทุกประเทศ เชื่อเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะดีถ้ามีรัฐบาลใหม่

(21 ม.ค.66) ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้ความเห็นต่อกรณีที่รัฐบาลออกมาแถลงข่าวที่ว่า นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยจะโตพุ่ง โดยอ้างอิงจากตัวเลขเศรษฐกิจของไตรมาส 3/65 (เดือน มิ.ย.-ก.ย. 65) ที่โต 4.5% เท่ากับเป็นจับแพะชนแกะว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะดี เพราะนั่นเป็นการเติบโตจากฐานที่ต่ำจากปีก่อนหน้า เนื่องจากประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิดช้าที่สุดเพราะรัฐบาลเยียวยาไม่ถูกจุด ทำเศรษฐกิจไทยโตฝืด

ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ ต้องยอมรับว่าไม่น่าจะพุ่งเนื่องมาจากปัจจัยเศรษฐกิจโลก เพราะภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ทำให้ทุกประเทศขึ้นดอกเบี้ยเผื่อแตะเบรกเงินเฟ้อ

'ก้าวไกล' เย้ย!! ทางตัน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ปรับเงื่อนไขไร้กระตุ้น ศก. ลั่น!! รอบนี้ฝ่ายค้านใจดี แต่เปิดสมัยประชุมหน้า จองกฐินถล่ม

(26 ต.ค. 66) ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลที่มีการปรับลดเงื่อนไขว่า ปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องมีการปรับหลักเกณฑ์โดยการที่คัดกรองคนรวยออก ก็ชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลน่าจะมีปัญหาเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้กับนโยบายนี้แน่นอนจึงจำเป็นต้องทำจำนวนคนที่ได้รับผลประโยชน์ให้ลดลง ซึ่งถึงแม้ว่าจะลดลงแล้วก็ยังมีคนที่จะได้รับอยู่ที่ประมาณ 43-49 ล้านคนอยู่ดีดังนั้นโอกาสที่จะใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ก็มีค่อนข้างน้อย และมีข้อเสนอออกมาอีกว่าจะใช้งบผูกพันปีละ 1 แสนล้านบาทภายใน 4 ปี ตนคิดว่าก็ยิ่งชัดเจนว่างบประมาณปี 2567 มีที่ว่างให้ทำนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตเพียงแค่ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น

“กรณีจำเป็นที่ต้องผูกพันไปถึง 4 ปี ก็เท่ากับว่าจะมีร้านค้าบางส่วนที่ไม่ได้เงินสดไปทันที และต้องรอแลกเป็นหลายรอบปีงบประมาณ ก็จะกระทบกับร้านค้า อาจจะไม่มีแรงจูงใจมากพอ ถ้าหากต้องการเงินสดมาหมุนเวียนในร้านค้าของตนเอง ก็อาจจะไม่เข้าร่วมโครงการด้วยซ้ำไป” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตนพูด ตอกย้ำว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตมาถึงทางตันแล้ว เนื่องจากไม่สามารถให้ธนาคารของรัฐ ธนาคารออมสินดำเนินโครงการนี้ไปก่อนได้ จึงติดข้อจำกัดหลักที่เป็นตอใหญ่คือเรื่องแหล่งที่มาของเงิน ซึ่งตนคิดว่าการปรับเงื่อนไขครั้งนี้ต้องพิจารณาด้วยว่ายังคงสามารถทำได้ตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมผลที่คาดว่าจะได้รับดั้งเดิมหรือไม่ ถ้าเงื่อนไขเปลี่ยนไปหมดแล้ว อาจจำเป็นที่ต้องทบทวนวิธีการใหม่ทั้งหมด ทบทวนนโยบายใหม่ทั้งหมด

เมื่อถามว่าการปรับเงื่อนไขทำให้จำนวนผู้ได้รับลดลงมากน้อยอย่างไร และสะท้อนอะไรบ้าง น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่าลดไปได้นิดเดียวเองสำหรับคนที่มีเงินเดือนเกิน 25,000 บาท รวมถึงเงื่อนไขบัญชีเงินฝาก ลดไปได้ 13 ล้านคน

“ถ้าเกิดเงินเดือนเกิน 50,000 บาท ยิ่งลดไปได้น้อยใหญ่เลย ลดไปได้แค่ 7 ล้านคน ดังนั้น เกณฑ์นี้อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมากนักในแง่ของการที่จะประหยัดงบประมาณลง ก็เป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงว่าจะทำอย่างไรกันต่อ” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวอีกว่า ถ้าสุดท้าย รัฐบาลกลับไปทางเลือกที่ 3 ที่ให้เฉพาะคนที่ได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตนมองว่าอาจจะไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยซ้ำไป อาจจะเป็นโครงการประคับประคองเยียวยาค่าของชีพคนที่มีรายได้น้อยหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแทน จะกลายเป็นการเปลี่ยนรูปแบบวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นชัดเจน ย้ำว่าคำว่าทบทวนหมายถึงอาจจะให้เปลี่ยนวิธีการมากกว่ายกเลิกโครงการ ตนเข้าใจดีว่าสัญญาที่เคยให้ไว้กับประชาชนก็สำคัญ

“ดิฉันเข้าใจว่าเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ แต่ก็สามารถที่จะบอกกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมาว่าติดปัญหาในเรื่องอะไรดิฉันคิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจได้ว่ารัฐบาลได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่มีอุปสรรคชิ้นใหญ่คืองบประมาณ” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

เมื่อถามว่าสุดท้ายจะเหมือนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือไม่ น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ต้องรอดูว่าจะเป็นรูปแบบนั้นหรือไม่ตอนนี้งบประมาณที่ไปทบทวนในแต่ละหน่วยงานของรัฐทำการเสร็จแล้ว และเริ่มทยอยส่งกลับมาที่สำนักงบประมาณดังนั้น สำนักงบประมาณมีข้อมูลอยู่ในมือแล้วว่าจะสามารถที่จะตัดลดงบหรือไกล่เกลี่ยงบประมาณปี 2567 ได้เท่าไหร่

“ดังนั้น ถ้าไม่ทำงบประมาณผูกพันข้ามปีทางออกทางเดียวก็คือให้เฉพาะคนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มันก็จะไม่ใช่โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกต่อไปเป็นเพียงแค่เยียวยาค่าของชีพ” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ฝ่ายค้านจะยังรอให้มาติผลการประชุมกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ออกมาก่อน เรายังใจดีให้รัฐบาลกลับไปคิดทวนลงรายละเอียดทุกอย่าง และให้คณะกรรมการชุดใหญ่มีข้อเสนอกับคณะรัฐมนตรี เราจะได้ทำการตรวจสอบกันต่อไป หลายกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรก็รอที่จะพูดคุยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงปิดสมัยประชุม แต่หากเปิดสมัยประชุมเราก็จะมีการพูดคุยเรื่องนี้กันอย่างแน่นอน พร้อมย้ำสื่อมวลชนให้สอบถามร้านค้าว่าหากมีการทยอยจ่ายเงินสดไม่ได้ทันที ร้านค้าเข้าร่วมโครงการอยู่หรือไม่

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวด้วยว่า ตอนนี้แหล่งเงินจากธนาคารออมสินไม่สามารถใช้ได้แล้ว ถ้าจะใช้ธนาคารออมสินต้องแก้ไขกฎหมาย ส่วนการออก พ.ร.ก.กู้เงินเหมือนช่วงโควิดนั้น เป็นทางออกที่ง่ายที่สุด แต่ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่า พ.ร.ก. จะออกได้เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น ซึ่งต้องกลับไปถามสำนักบริหารหนี้สาธารณะว่าจะยอมหรือไม่ ในกรณีที่ไม่ได้มีความจำเป็นเร่งด่วนและเสี่ยงต่อการขัดต่อรัฐธรรมนูญ บอกว่าอาจเป็นการฆ่าตัวตายได้

'ภูมิธรรม' ปูด 'ศิริกัญญา' สมัยช่วงจับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ขอ 'เพื่อไทย' ให้ทำ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' พร้อมปรับลดเพดานเงินลง

(12 พ.ย.66) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายค้านถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่า การวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ หากเป็นประโยชน์กับประเทศและประชาชน รัฐบาลยินดีรับฟังอยู่แล้ว เราไม่ได้ดื้อดึงอย่างที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ซึ่งโครงการนี้มีการปรับเปลี่ยนก็เพราะหลายส่วนวิพากษ์วิจารณ์เข้ามา แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลรับฟังทุกฝ่าย หากฝ่ายค้านจะเสนอแนะวิธีการในโครงการนี้ก็สามารถทำได้ แต่หากจะวิจารณ์แค่ว่าเราผิดหรือแค่หาทางลงนั้น ตนไม่อยากให้คิดแค่เพียงนำความได้เปรียบทางการเมืองมาดิสเครดิตรัฐบาล

ทั้งนี้ รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย (พท.) ตั้งใจทำตามสัญญา ซึ่งหัวใจของโครงการนี้ไม่ใช่เพื่อการแจกเงิน แต่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีปัญหามาอย่างยาวนาน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ด้วย

นายภูมิธรรม กล่าวอีกว่า เราพยายามเดินหน้าโครงการด้วยความรอบคอบ เราได้มอบหมายคณะกรรมการกฤษฎีกาประสานงานกับแบงก์ชาติ ว่าจะใช้วิธีการใด จะต้องกู้หรือไม่ ทุกอย่างจะดำเนินการให้ถูกกฎหมายและทุกฝ่ายเห็นชอบ ส่วนที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ระบุว่ารัฐบาลกำลังกลืนน้ำลายเพราะจะกู้เงินมาทำโครงการ แล้วจะกลายเป็นจุดล้มละลายทางความน่าเชื่อถือของรัฐบาลเองนั้น เรายืนยันว่าเป้าหมายของโครงการนี้คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ประชาชนเป็นกำลังซื้อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ หากรัฐบาลทำถูกต้อง ท่านก็ไม่ควรต้องติดใจ

“ส่วนที่คุณศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) วิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลกำลังหาทางลงให้กับโครงการนี้ สมัยตอนที่พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล จับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล คุณศิริกัญญาเองก็ขอให้เราทำโครงการนี้ เพียงแต่ขอให้ปรับลดเพดานเงินลง แสดงให้เห็นว่าคุณศิริกัญญา ก็เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ผมจึงไม่อยากให้นำความได้เปรียบทางการเมืองมาดิสเครดิตกัน ซึ่งมันไม่มีประโยชน์อะไร ประชาชนก็ไม่ได้ประโยชน์ ผมถามว่าพวกคุณเห็น ด้วยหรือไม่ว่าประเทศไทยขณะนี้ต้องการการกระตุ้นเศรษฐกิจ“ นายภูมิธรรม กล่าว

'ศิริกัญญา' เตือนรัฐ ระวังเสียเหลี่ยมฝ่าย ขรก.ยัดไส้งบฯ ยัน!! ก้าวไกลไม่ใช้เวทีนี้ซักฟอก แต่อาจหนักไม่แพ้กัน

(29 ธ.ค. 66) น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้ความเห็นถึงกรณีที่รัฐบาลออกมาดักคอฝ่ายค้านว่า อย่าหลงประเด็นใช้การอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 เป็นเวทีซักฟอก ว่า เราไม่เคยใช้เวทีอภิปรายงบประมาณ เป็นเวทีอภิปรายซักฟอกแม้แต่ครั้งเดียว ฝ่ายรัฐบาลที่เคยร่วมฝ่ายค้านมาก่อนก็น่าจะทราบดี ว่าเราโฟกัสแต่เรื่องงบประมาณ ซึ่งสะท้อนมาที่นโยบาย และการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อาจจะมีหลุดมาบ้างในเรื่องของนโยบาย ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชัน แต่ไม่ใช่เวทีซักฟอกแน่นอน แต่ความหนักอาจจะไม่แพ้เวทีซักฟอก เนื่องจากเราทำการบ้านมาอย่างหนัก และวิเคราะห์กันอย่างเข้มข้น

เมื่อถามว่า ฝ่ายค้านจะเตือนรัฐบาลในเรื่องใดบ้างหรือไม่? น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณ เป็นการประลองกำลังระหว่างฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการ หากฝ่ายการเมืองไม่เท่าทันฝ่ายราชการ เราก็จะเจอปัญหาอย่างที่เรากำลังเผชิญกัน ซึ่งฝ่ายการเมืองอาจจะได้แค่สั่ง แต่ไม่สามารถติดตาม ขับเคลื่อน ผลักดันให้นโยบายของรัฐบาลเกิดขึ้นจริง หรือปรากฏเป็นโครงการอยู่ในงบประมาณได้ ก็จะเป็นการเสียเหลี่ยมทางการเมือง และที่สำคัญ ในการรู้เท่าทันเรื่องอื่น ๆ เช่น การจัดสรรงบไว้ไม่เพียงพอ หากรัฐบาลไม่รู้เท่าทันอีกฝ่าย ฝ่ายราชการอาจจะยัดไส้อะไรบางอย่างเข้ามา โดยที่ตนเองก็ไม่อาจทราบ และอาจจะเกิดผลร้ายได้ในภายหลัง

'ศิริกัญญา' นำทีม 'สส.ก้าวไกล' ลาออก 'กมธ.แลนด์บริดจ์' ซัด!! ถามถึงความคุ้มค่าไปแค่ไหน ก็ยังไม่เคยได้คำตอบ

(12 ม.ค.67) น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ได้มีการซักถามค้างอยู่กับทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และที่ปรึกษาที่จัดทำรายงานโครงการแลนด์บริดจ์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า คุ้มค่ามากน้อยแค่ไหนทั้งปริมาณสินค้า เส้นทางการเดินเรือ ซึ่งยังไม่ได้คำตอบ

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายในการพิจารณารายงาน แต่ยังได้คำตอบไม่ครบถ้วน และประธานพยายามลงมติเพื่อรับรายงานจึงขอออกจากคณะกรรมาธิการแลนด์บริดจ์เพื่อไม่ให้เป็นตรายางในการอนุมัติรายงานฉบับนี้

ด้านนายจุลพงษ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ยังมีเรื่องท่อส่งน้ำมันที่ไม่ชัดเจน เรื่องการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาสิ่งแวดล้อม 2-3 ปีนี้รัฐบาลใช้งบศึกษาดูงาน 68 ล้านบาทแต่ยังไม่เห็นอะไร และรายงานที่ยังไม่สมบูรณ์

ซึ่งคณะกรรมาธิการที่ลาออกมี 5 คน เป็น สส.พรรคก้าวไกล 4 คนและเป็นอาจารย์จากภายนอกอีกหนึ่งคน คือ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล, ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์, นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์, และนายจุลพงษ์ อยู่เกษ

ด้านนายศุภณัฐ กล่าวว่า ในรายงานเลือกใช้ตัวเลขจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือ (สนข.)เพียงตัวเดียว  ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้ประเทศเพราะการที่นำข้อมูลด้านเดียวไปขายให้ต่างประเทศ หากต่างประเทศย้อนมาว่าศึกษาแล้วไม่คุ้มทุน ตามที่รัฐบาลพยายามไปขายจะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อถามว่า หากไม่ได้อยู่ในคณะกมธ.แลนด์บริดจ์แล้วจะสามารถตรวจสอบโครงการได้อย่างไร นายศุภณัฐ กล่าวว่า หากรายงานเข้าสู่สภาฯ ทางพรรคก้าวไกลจะใช้การอภิปรายในสภาแทน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top